Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 คำสอน "จริตใด เหมาะกับ ภาวนาแบบใด" จากพระสูตร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2008, 7:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลองพิจารณากันจาก หลักธรรมที่ดั้งเดิมสุด
คือ ในระดับพระสูตร กันดูน่ะครับ




อ้างอิง : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=30&start_byte=331064


พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า

บุคคลนี้เป็นราคจริต
บุคคลนี้เป็นโทสจริต
บุคคลนี้เป็นโมหจริต
บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต
บุคคลนี้เป็นศรัทธาจริต
บุคคลนี้เป็นญาณจริต.

พระผู้มีพระภาคตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต.

ตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต.

ทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ตั้งอยู่ในเพราะอุเทศและปริปุจฉา ในการฟังธรรมโดยกาล ในการสนทนาธรรมโดยกาล ในการอยู่ร่วมกับครู.

ตรัสบอกอนาปานัสสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต

ตรัสบอก ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความที่ธรรมเป็นธรรมดี ความที่สงฆ์ปฏิบัติดี และศีลทั้งหลายของตน ซึ่งเป็นนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต.

ตรัสบอกอาการไม่เที่ยง อาการเป็นทุกข์ อาการเป็นอนัตตา อันเป็นวิปัสสนานิมิตแก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต.





ถ้าดูจากพระสูตร

จริต ประกอบด้วย

1.ราคจริต
2.โทสจริต
3.โมหจริต
4.วิตกจริต
5.ศรัทธาจริต
6.ญาณจริต


ราคจริต ถ่วงดุลย์ด้วย อสุภกรรมฐาน

โทสจริต ถ่วงดุลย์ด้วย เมตตาภาวนา

โมหจริต ถ่วงปรับดุลย์ด้วย การฟังธรรมตามกาล หรือ อยู่กับครูบาอาจารย์

วิตกจริต ถ่วงดุลย์ด้วย อานาปานสติ

ศรัทธาจริต ส่งเสริมด้วย พุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ ศีลานุสติ

ญาณจริต ส่งเสริมด้วย การพิจารณาไตรลักษณ์โดยตรง




พึงสังเกตุว่า มีทั้ง การถ่วงดุลย์ และ การส่งเสริม ในเรื่องของจริต
หาใช่มีแต่การถ่วงดุลย์อย่างเดียวไม่

ผมเห็นว่า เรื่อง จริต นี้ ในระดับพระสูตร กล่าวชัดเจน ไม่ต้องตีความ(ให้ ความย้อนกลับมาตีเอา) และ มีความน่าเชื่อถือสูงสุดอยู่แล้วครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2008, 2:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 6:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ

จริต ๖
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/027.htm

http://abhidhamonline.org/aphi/p9/028.htm


กัมมัฏฐานที่เหมาะแก่จริต

http://abhidhamonline.org/aphi/p9/035.htm


ส่วนกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่จริตนั้น เป็นดังนี้

๑. อสุภะ ๑๐ และโกฏฐาส คืออาการ ๓๒ ที่เรียกว่า กายคตาสติ ๑ รวมกัมมัฏฐาน ๑๑ นี้เหมาะสมแก่บุคคลผู้ที่มี ราคจริต

๒. วัณณกสิณ ๔ และ อัปปมัญญา ๔ รวมกัมมัฏฐาน ๘ นี้ เหมาะสมแก่ผู้มี โทสจริต

๓. อานาปาณสติ ๑ ย่อมเหมาะสมแก่ผู้ที่มี โมหจริต และ วิตกจริต

๔. อนุสติ ๖ มี พุทธานุสติ เป็นต้นจนถึง เทวตานุสติ เหมาะสมแก่ผู้ที่มี สัทธาจริต

๕. มรณานุสสติ ๑ อุปสมานุสสติ ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ และ จตุธาตุ ววัตถาน ๑ รวมกัมมัฏฐาน ๔ นี้ เหมาะสมแก่ผู้ที่มี พุทธิจริต

๖. ส่วนกัมมัฏฐานที่เหลือทั้งหมด ได้แก่ ภูตกสิณ ๔ อากาสกสิณ ๑ อโลก กสิณ ๑ และอรูปกัมมัฏฐาน ๔ รวมกัมมัฏฐาน ๑๐ อย่างนี้ ย่อมเหมาะสมแก่บุคคลทั่วไป และแก่ทุกจริต

ในบรรดาสมถกัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ นั้น เฉพาะกสิณ ๑๐ องค์กสิณ คือ ดวงกสิณสำหรับผู้ที่มีโมหจริต ต้องมีขนาดกว้างประมาณเท่าลานข้าว แต่สำหรับผู้ที่มีวิตกจริตมีขนาดเล็กเพียงเท่ากระด้งก็พอ

-----------------------------------------------------


ส่วนจริตสำหรับ การเจริญสติปัฏฐานนั้น อรรถกถาท่านแบ่งไว้ดังนี้

http://larndham.net/index.php?showtopic=23508&st=0

ในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร ท่านจำแนกบุคคลผู้ปฏิบัติสติปัฏฐานเป็น ๒ จำพวก คือ บุคคลตัณหาจริต ๑ บุคคลทิฏฐิจริต ๑ และแม้ใน ๒ จำพวกนี้แต่ละจำพวก ก็ยังจำแนกออกเป็น ๒ อีก คือ พวกที่มีปัญญาทึบ ๑ พวกที่มีปัญญากล้า ๑ แล้วกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
" มนฺทสฺส ตณฺหาจริตสฺส โอฬาริกํ กายานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิมคฺโค, ติกฺขสฺส สุขุมํ เวทนานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ ฯลฯ ฯเปฯ ธมฺมานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิมคฺโค " (สุมงฺคลวิลาสินี ๒/๔๖๘)
แปลว่า " กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นข้อที่หยาบ เป็นหนทางหมดจดสำหรับบุคคลตัณหาจริต ผู้มีปัญญาทึบ, เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นข้อที่ละเอียด เป็นทางหมดจด สำหรับบุคคลตัณหาจริตผู้มีปัญญากล้า, จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งไม่แตกประเภทเกินไปนัก เป็นทางหมดจด สำหรับบุคคลทิฏฐิจริตผู้มีปัญญาทึบ, ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งแตกประเภทยิ่ง เป็นทางหมดจด สำหรับบุคคลทิฏฐิจริตผู้มีปัญญากล้า " ดังนี้

สมถะ-วิปัสสนา
http://larndham.net/index.php?showtopic=26325&per=1&st=2&#entry369546

--------------------------------------------------------


ฝากถึง การตีความของคุณตรงประเด็นในเรื่องต่าง ๆ ด้วยครับ ระวังจะเป็นแบบนี้


อ้างอิงจาก:
16785. อาศัยสมาธิระดับไหนในการทำให้ปัญญาเกิดขึ้น

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16785&postdays=0&postorder=asc&start=0

อ้างอิงจาก:
คุณตรงประเด็นครับ หากไม่เชื่อถือใน อรรถกถา ก็ไม่ต้องไปอ้างหลักธรรมที่ท่านอธิบายไว้นะครับ


หรือจะอ้างก็อ้างที่มาให้ครบ

อนึ่งในแนวทางปฏิบัติแบบ สมถะยานิกะ และ วิปัสสนายานิกะ นี้ มีอธิบายอย่างละเอียดในอรรถกถา

ที่คุณตั้งประเด็นว่า ไม่มีในพระสูตร เพื่อต้องการชี้ประเด็นว่า ไม่ควรเชื่อถือ ?
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ย. 2008, 11:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สงสัย อืมม์ ร้องไห้ อายหน้าแดง สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง