|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
weewan
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 26 ส.ค. 2008
ตอบ: 25
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
01 ก.ย. 2008, 11:34 am |
  |
พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร)
โครงการวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติเลือก วัดบ้านค้อ ต้นแบบ
นายสาโรจน์ เราวิลัย ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า จังหวัดอุดรธานี ร่วมกับ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุดรธานี จัดโครงการวัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ ใช้ วัดบ้านค้อ เป็นต้นแบบจัดกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมบำเพ็ญกุศลในวันอาทิตย์ เฉลิมพระเกียรติในหลวง 80 พรรษา โครงการวัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ เข้าวัดปฏิบัติธรรม บำเพ็ญกุศลในวันอาทิตย์ โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้พิจารณาคัดเลือก วัดบ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เป็นวัดต้นแบบเข้าร่วมโครงการวัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ
โดย วัดปัญญานันทาราม ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ได้รับมอบหมายจากพระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร) กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ร่วมกับส่วนราชการ อาทิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินงานโครงการวัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ เข้าวัดปฏิบัติธรรมบำเพ็ญกุศลในวันอาทิตย์ รวม 80 วัดทั่วประเทศ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้วัดร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่น ทั้งภาครัฐและเอกชนในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาวิถีชีวิตแบบชาวพุทธ ที่สุข สงบ ร่วมรื่น โดยเป็นกิจกรรมที่สามารถดึงดูดประชาชนทุกกลุ่มอายุให้เข้าวัดทุกวันอาทิตย์ เพื่อสร้างกลไกการร่มมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวัด การจัดกิจกรรมในวัดปราศจากพุทธพาณิชย์ กิจกรรมหลากหลายผสมผสานวัฒนธรรม และศิลปะให้กับประชาชนทุกกลุ่มอายุ มีกิจกรรมภาคปฏิบัติ ที่ส่งเสริมให้ทาน รักษาศีลและเจริญภาวนา
ด้านนายศิริวัฒน์ จันทรคลัง ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุดรธานี กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการฯ ว่า การดำเนิน โครงการวัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ เข้าวัดปฏิบัติธรรมบำเพ็ญกุศลในวันอาทิตย์ สำหรับวัดนำร่อง 80 วัดทั่วประเทศ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานจากสำนักงานกองทุนการเสริมสร้างสุขภาพ วัดละ 200,000 บาท โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2552 รวม 72 อาทิตย์ สำหรับการดำเนินงานของจังหวัดอุดรธานี ณ วัดบ้านค้อ ได้รับการอำนวยความสะดวก ด้านสถานที่ อุปกรณ์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่จากพระปัญญาพิศาลเถร (หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดบ้านค้อ พร้อมกันนี้ได้กราบอาราธนานิมนต์พระราชวราลังการ (หลวงตาสิงห์ อินทปญฺโญ) เจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี (ธรรมยุต) และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ (พระอารามหลวง) อ.เมือง จ.อุดรธานี ให้โอวาทและแสดงธรรมเทศนาในโอกาสดังกล่าวด้วย
พระปัญญาพิศาลเถร (หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ)
พระราชวราลังการ (หลวงตาสิงห์ อินทปญฺโญ)
หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน ออนไลน์
วันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6486 |
|
_________________ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน โลกบรรลัย |
|
  |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2008, 4:43 pm |
  |
 |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2008, 10:02 pm |
  |
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ย. 2008, 9:22 am |
  |
โพชฌงค์ ๗ จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ให้ความหมายไว้ดังนี้ :
โพชฌงค์ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือองค์ของผู้ตรัสรู้มี ๗ อย่างคือ ๑. สติ ๒. ธัมมวิจยะ (การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม) ๓. วิริยะ ๔. ปีติ ๕. ปัสสัทธิ ๖. สมาธิ ๗. อุเบกขา
อธิบายเพิ่มเติม
โพชฌงค์ คือสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ทำให้การตรัสรู้ หรือโพธิจิต หรือการบรรลุธรรมเกิดขึ้นได้ มี ๗ อย่าง คือ
๑. สติ - ความระลึกได้
๒. ธัมมวิจยะ - การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม การวิจัยธรรม ซึ่งเป็นตัวปัญญานั่นเอง
๓. วิริยะ - ความพากเพียร
๔. ปีติ - ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำในใจ มี ๕ ชนิด คือ
๑) ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อยพอขนชันน้ำตาไหล
๒) ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ รู้สึกแปลบๆ ดุจฟ้าแลบ
๓) โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอก รู้สึกซู่ลงมาๆ ดุจคลื่นซัดฝั่ง
๔) อุพเพคาปีติ ปีติโลดลอย ให้ใจฟูตัวเบา หรืออุทานออกมา
๕) ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ เป็นของประกอบกับสมาธิ
(จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เช่นกัน)
๕. ปัสสัทธิ - ความสงบกายสงบใจ, ความสงบใจและอารมณ์, ความสงบเย็น, ความผ่อนคลายกายใจ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เช่นกัน)
๖. สมาธิ - ความตั้งใจมั่น ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ
๗. อุเบกขา - ความที่จิตมีความสงบระงับเป็นอย่างยิ่ง ไม่กระเพื่อมไหวไปตามสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความสุข ทุกข์ ดีใจ เสียใจ รัก ชัง กล้า กลัว ยินดี ยินร้าย ฯลฯ ซึ่งจะเป็นจิตที่มีความประณีต ละเอียดอ่อน ปลอดโปร่ง เบาสบาย เป็นอย่างยิ่ง
เมื่อธรรมทั้ง ๗ อย่างนี้เกิดขึ้น จิตจะมีทั้งกำลัง (จากวิริยะ และสมาธิ) ความเฉลียวฉลาด (จากธัมมวิจยะ) ความเบาสบาย (จากปีติ ปัสสัทธิ และอุเบกขา) ความเป็นกลาง ไม่ลำเอียง (จากอุเบกขา) โดยมีสติและปัญญา (ธัมมวิจยะ) เป็นเครื่องนำทาง จึงเป็นฐานที่สำคัญของการบรรลุธรรม ซึ่งแน่นอนว่าจิตที่มีสภาพเช่นนี้ เมื่อจะน้อมไปเพื่อทำประโยชน์สิ่งใด ความสำเร็จย่อมอยู่ไม่ไกลเลย |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
08 ต.ค.2008, 3:05 pm |
  |
 |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |