Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง "จิตเดิม" "จิตว่าง" อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 30 ส.ค. 2008, 6:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จากหนังสือ พุทธวิทยาน่ารู้(๑๐)
โดย พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง โชติปาโล)



วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง "จิตเดิม"
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10126

http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10128




คำว่า "จิตเดิม หรือจิตดวงเดิม" นั้น เกิดเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันมาเป็นเวลานานแล้วจนกระทั่งบัดนี้ก็ยังเอายุติที่แน่นอนยังไม่ได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เห็นจะเป็นเพราะเหตุที่ว่า ผู้ที่เป็นหัวหน้าบัญญัติเรื่องนี้ยังไม่พร้อมที่จะพบกันนั่นเอง


คิดว่าถ้าผู้ที่เป็นต้นบัญญัติของปัญหานี้ ได้พยายามหาโอกาสหันหน้าเข้าหากันแล้วพยายามอ้างคัมภีร์และหลักฐานมาเทียบเคียง ก็พอมีโอกาสที่จะตกลงกันได้ ทั้งจะไม่ทำให้บริษัทบริวารของแต่ละฝ่าย เกิดความสับสนวุ่นวายอย่างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้


อันที่จริงปัญหาเกี่ยวกับ "จิตเดิม หรือจิตดวงเดิม" นั้น ถ้าพูดในฝ่ายเถรวาทคัมภีร์พุทธของเราโดยตรงแล้วไม่มีใช้ เห็นมีใช้เรียกกันอยู่ก็แต่เฉพาะปฐมภวังค์ ที่เกิดหลังปฏิสนธิจิตเท่านั้น แต่นั้นก็ไม่ใช่จิตดวงเดิม


เหมือนกับปัญหาที่เขาถกเถียงกันอยู่ เพราะคำว่า "จิตดวงเดิม" ที่กำลังเกิดเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้นั้น ท่านผู้ที่ก่อปัญหาท่านหมายถึง จิตปภัสสร คือ จิตที่บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสตัณหาทั้งปวง เป็นอมตะที่เรียกว่า "อาตมัน หรือ ปรมาตมัน"


ในทัศนะของท่านผู้เป็นต้นกำเนิดปัญหาโดยท่านให้อรรถาธิบายว่า ที่จริงจิตดวงเดิมนั้น เป็นจิตที่บริสุทธิ์ไม่มีกิเลสตัณหา หรือมลทินแปดเปื้อนเลยแม้แต่น้อย ครั้นเวลากาลผ่านมาใช้คิดนึกไปนาน ๆ เข้า ก็กลับกลายเป็นจิตที่เศร้าหมอง


เพราะฉะนั้นเพื่อความบริสุทธิ์หมดจด ก็จะต้องปฏิบัติให้ถึงจิตดวงเดิม จึงจะถึงจุดหมายปลายทางของการปฏิบัติได้ แต่คำอธิบายดังกล่าวนี้ ไม่มีในศาสนาฝ่ายเถรวาทของเรา แต่ไปมีอยู่ในสูตรเว่ยหล่างที่อาจารย์ท่านพุทธทาสภิกขุได้แปลออกมาเผยแพร่ฉบับพิมพ์


พ.ศ. ๒๕๒๐ โดยคณะ ผ.ช.ป. ณ ๕/๑-๒ ถนนอัษฎางค์ ก.ท. ผู้ประสงค์จะทราบเรื่องนี้โปรดเปิดดูได้ในหนังสือเล่มดังกล่าวนั้น หมวดที่ ๗ หน้า ๑๒๒ บรรทัดที่ ๘ มีข้อความตอนหนึ่งว่า


ภิกษุจิหว่าง ถามต่อไปว่า "อาจารย์ของท่านได้กล่าวสรุปความในเรื่อง ธยานะ และสมาธิไว้อย่างไรเล่า?"


ภิกษุอันแช็ก กล่าวตอบว่า "คำสอนของอาจารย์มีว่า ธรรมกาย เป็นสิ่งที่เต็มเปี่ยมและสงบ ตัวแท้และการทำหน้าที่ของธรรมกาย ย่อยอยู่ในสภาวะแห่ง "ความคงที่เสมอ" ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของว่างโดยแท้จริง


และอายตนะภายนอกทั้ง ๖ เป็นของไม่มีอยู่ ในสมาธิไม่มีทั้งการเข้าและไม่มีทั้งการออก ไม่มีทั้งความเงียบ และไม่มีทั้งความวุ่นวาย ธรรมชาติของธยานะ ไม่ใช่เป็นการเข้าอยู่ ดังนั้นเราควรจะขึ้นไปให้เหนอภาวะแห่ง


"การเข้าอยู่ในความสงบแห่งธนายะ" ธรรมชาติของธยานะนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ใครจะสร้างขึ้นได้ ดังนั้น เราควรจะขึ้นไปให้เหนือความคิดแห่ง "การสร้างภาวะของธยานะ" ภาวะของจิตนั้นอาจเปรียบได้กับอวกาศ แต่มันเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัด, ดังนั้น จิตจึงมีอยู่โดยปราศจากการจำกัดเขตของอวกาศ"


เมื่อได้ฟังดังนั้น ภิกษุจิหว่างจึงออกเดินทางไปยังโซกายเพื่อไต่ถามพระสังฆปริณายก เมื่อพระสังฆปริณายกถามว่ามาแต่ไหนแล้ว ภิกษุหว่างก็ได้เล่าเรื่องราวที่ตนได้สนทนากับภิกษุอันแช็กให้พระสังฆปริณายกฟัง โดยละเอียด


พระสังฆปริณายก ได้กล่าวว่า "ข้อความที่อันแช็กพูดนั้น ถูกต้องทีเดียว จงทำใจของท่าน ให้อยู่ในสภาพเหมือนกับความว่างอันหาขอบเขตไม่ได้, แต่อย่าให้มันเข้าไปติดในทิฐิว่า "ดับสูญ" จงให้ใจทำหน้าที่ของมันอย่างอิสระ,


ไม่ว่าท่านจะกำลังทำงานหรือหยุดพัก จงอย่าให้ใจของท่านเกาะเกี่ยวในสิ่งใด จงอย่าไปรู้สึกว่า มีความแตกต่างระหว่างตัวผู้กระทำกับสิ่งที่ถูกกระทำ จงปล่อยจิตเต็มแท้ และสิ่งทั้งปวงไว้ในสภาพแห่ง "ความเป็นเช่นนั้น" แล้วท่านก็จะอยู่ในสมาธิตลอดเวลา"


เมื่อได้ฟังดังนั้น จิหว่างก็มีความสว่างไสวในใจถึงที่สุด


ข้อความทั้งหมดตามที่ผู้อ่านได้อ่านมานี้ขอให้ตั้งใจกำหนดไว้ในใจด้วยว่าเป็นเรื่องของอาจริยวาท คือ เป็นพุทธฝ่ายมหายาน เมื่อข้าพเจ้าเอาสีดำมาระบายเป็นพื้นฐานไว้แล้ว จากนี้ไปจะได้ใช้สีขาว คือ ความรู้ของเถรวาทในพุทธศาสนาฝ่ายหินยานมาทาทับเพื่อให้ชัดเจนต่อไป


คำว่า "ปภัสสร" คำนี้เป็นพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าตรัสโดยตรง เพราะในพระคาถานั้นมีคำว่า "ภิกฺขเว" อยู่ด้วย อย่างอักษรบาลีที่ว่า "ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฐ"


แปลว่า "ภิกษุทั้งหลายจิตนี้ปภัสสร ก็จิตนั้นแล ถูกอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมาทำให้เศร้าหมองแล้ว" (เอกนิบาต อังคุตตรบาลี ฉบับฉัฏฐะ เล่ม ๑ หน้า ๙ ข้อ ๔๙/๕๐)


เพื่อต้องการจะทราบความหมายของจิตปภัสสร จึงขอยกเอาข้อความในอรรถกถาธรรมบทขุททกนิกายฉบับฉัฏฐะ ภาค ๑ หน้า ๑๕ มาขยายเสียในที่นี้ทีเดียว


ก็คำที่ว่าถูกโทษประทุษร้ายแล้ว ท่านหมายถึงโทษทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้น ที่จรมาประทุษร้ายแล้ว


ขยายความต่อไปว่า ก็ใจตามปกติ คือภวังคจิต ภวังคจิตนั้นยังไม่ถูกโทษประทุษร้าย เปรียบเหมือนน้ำใสที่ถูกสีเขียวเป็นต้น จรมาทำให้เศร้าหมองไป ก็เลยกลายเป็นน้ำสีเขียว แล้วจะว่าน้ำใหม่ก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นน้ำเก่าก็ไม่ใช่ ที่จริงก็เป็นน้ำใสเดิมนั่นแหละ


ข้อนี้ฉันใด แม้จิตนั้น ก็ฉันนั้น เมื่อถูกโทษมีอภิชฌาเป็นต้น จรมาประทุษร้าย จะว่าเป็นจิตใหม่ก็ไม่ใช่ เป็นจิตเก่าก็ไม่ใช่ ที่จริงก็คือภวังคจิตนั่นแหละ


ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ปภัสสร ก็จิตนั้นแล ถูกอุปกิเลสที่จรมา ทำให้เศร้าหมองแล้ว"


ตามข้อความที่พระอรรถกถาจารย์ได้ขยายไว้นี้ บางทีอาจจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจยังไม่ได้ เพื่อความกระจ่างของข้อความนี้ จึงใคร่ขอยกคำบางคำมาเน้นเสียให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นคำว่า "จิตปภัสสร" หรือคำว่า "จรมา"


ก่อนอื่นที่จะพูดถึงคำสองคำนี้ใคร่ขอชักชวนให้ผู้อ่านหวนไปนึกถึงเรื่องกิเลส คือ ความเศร้าหมองเสียก่อน กิเลสในฝ่ายเถรวาท ท่านจัดไว้ ๓ จำพวก คือ

๑. กิเลสอย่างหยาบ หมายถึง ทุจริตที่แสดงออกมาทางกาย และวาจา
๒. กิเลสอย่างกลาง หมายถึง กิเลสที่รัดรึงใจ ได้แก่ ตัวนิวรณ์ มีกามฉันท์เป็นต้น
๓. กิเลสอย่างละเอียด หมายถึง อนุสัย มีกามราคานุสัยเป็นต้น


เมื่อท่านได้รับทราบกิเลสตัวที่ทำให้เศร้าหมองถึง ๓ อย่างแล้ว ก็จะได้ถือโอกาสพูดถึงเรื่องความผ่องใสของจิตต่อไป

ก็คำที่ว่า "จิตปภัสสร หรือจิตผ่องใส" ในที่นี้ท่านหมายถึง จิตที่เป็นภวังค์ ซึ่งจะเกิดได้ทีหลังปฏิสนธิ ต้นวิถีจิต หรือท้ายวิถีจิต หรือขณะนอนหลับสนิทๆ โดยไม่มีการฝันเลยแม้แต่น้อย นั่นแหละจิตดวงนั้นแหละท่านจัดเป็นจิต "ปภัสสร" ในพุทธภาษิตนี้ ไม่ใช่จิตดวงเดิม หรือจิตที่หมดจดจากกิเลสทั้งปวงทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียด


เพราะถ้าเป็นจิตที่หมดจดจากิเลสทั้งปวงจริงๆ แล้ว มรรค ๔ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ที่ผู้ปฏิบัติทำให้เกิดขึ้น ก็จะกลายเป็นโมฆะไปเปล่าๆ เพราะในวิภาวนีฎีกาปริจเฉทที่ ๗ พระสุมังคลสามีเถราจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องอนุสัยไว้ว่า


ตราบใดที่มรรค ๔ มรรคใดยังไม่เกิดขึ้น อนุสัยกิเลสชนิดละเอียดซึ่งเป็นเสมือนรากเหง้าของกิเลสอย่างกลาง และอย่างหยาบ จะขาดเองโดยพลการไม่ได้


ดังนั้น จึงเป็นข้อความที่ทำให้เข้าใจได้แล้วว่า คำว่า "จิตผ่องใส" ในที่นี้ก็หมายถึง ยังไม่ขุ่นมัวไปด้วยกิเลสอย่างกลางนั่นเอง แต่กิเลสอย่างละเอียด คือ อนุสัยก็ยังมีอยู่อย่างสมบูรณ์


ส่วนคำว่า"จรมา" นั้น ท่านแลไปตามศัพท์ของคำว่า "อาคันตุกะ" เฉยๆ เท่านั้น เพราะกิเลสมิใช่มีที่อยู่เป็นเอกเทศส่วนหนึ่งต่างหาก ที่จริงก็อยู่ในจิตของมนุษย์และสัตว์ทุกดวงนั่นเอง เว้นไว้แต่จิตของพระขีณาสพและโลกุตตรจิตเท่านั้น


กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในจิตทุกดวงดังว่านั้น เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกมีอารมณ์ที่ปรารถนาเป็นต้น ากระทบเข้าก็ทำให้จิตขึ้นวิถี กลายเป็นจิตรัก จิตชัง ที่เราเรียกว่า กิเลสอย่างกลางนั่นเอง


แต่ความรัก และความชังที่เป็นกิเลสอย่างกลางนั้น มันเกิดขึ้นสัมปยุตกับจิตบางครั้งเท่านั้ ท่านจึงเปรียบเหมือนกับแขกที่จรมา


เพียงเท่านี้ก็พอจะทำความเข้าใจให้เกิดขึ้นได้แล้ว แต่เพื่อความสมบูรณ์ของอรรถาธิบาย จึงใคร่ขอยกข้อความจากอรรถกถา เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ภาค ๑ หน้า ๔๕ ข้อ ๔๙-๕๐ ถ่ายทอดมาให้ผู้อ่านรับทราบเสียเลยว่า


บทว่า "ปภสฺสรํ" แปลว่า ผ่องใส คือ บริสุทธิ์


ภวังคจิต ชื่อว่าจิต ถามว่าจิตมีวรรณะหรือ? ตอบว่า ไม่มี เพราะสีเขียวเป็นต้น หรือสีอย่างใดอย่างหนึ่งไม่มี ท่านจึงเรียกว่า ปภัสสร เพราะเป็นจิตที่บริสุทธิ์ ..แม้จิตนี้จัดเป็นจิตที่บริสุทธิ์ เพราะเป็นจิตที่ปราศจากอุปกิเลส ฉะนั้น จึงเป็นปภัสสร


พระดำรัสที่ว่า "ตญฺจโข" ได้แก่ ภวังคจิตดวงนั้น


พระดำรัสที่ว่า "จรมา" หมายถึง เกิดขึ้นในชวนะ ขณะหลังจากที่ไม่ใช่สหชาติ


บทว่า "อุปกิเลสทั้งหลาย" ท่านแก้ว่า ที่ท่านตรัสว่าเป็นจิตเศร้าหมองก็เพราะถูกราคะเป็นต้น ทำให้เศร้าหมอง ขยายความต่อไปว่า


อุปมาเหมือนกับมารดาบิดาหรืออาจารย์และอุปัชฌาจารย์ผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยอาจาระ เมื่อได้รับคำติฉินนินทาเสียชื่อเสียง อันสืบเนื่องมาจากบุตรทั้งหลาย และอันเตวาสิกสัทธิวิหาริกผู้ไม่มีศีล มีความประพฤติชั่ว ไม่มีวัตรฏิบัติก้เพราะค่าที่ตนยังมิได้ฝึก มิได้ให้การศึกษา ให้โอวาท และยังมิทันพร่ำสอนบุตร และอันเตวาสิกสัทธิวิหาริกของตนๆ ข้อนี้ฉันใด


ข้ออุปไมยก็เปรียบเทียบฉันนั้น ควรเห็นว่าภวังคจิตเหมือนมารดาบิดาและอุปัชฌาอาจารย์ผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยอาจาระ ภวังคจิตที่บริสุทธิ์ตามปกติจะต้องมาเป็นจิตที่เศร้าหมองไป เพราะอุปกิเลสที่จรมาซึ่งเกิดขึ้นแก่จิตที่สหรคตด้วยโลภะเป็นต้น มีสภาพรัก ชัง และหลงไปในชวนะขณะ ก็เหมือนกับการได้รับคำติฉินนินทาเสื่อมเสียชื่อเสียงของมารดาบิดาเป็นต้นเหล่านั้น อันสืบเนื่องมาจากบุตรเป็นต้น


"ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ วิปฺปมุตฺติ" ความว่า "ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร ก็จิตนั้นแล หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา"


ในเอกนิบาตอังคุตตรนิกาย อรรถกถา ภาค ๑ หน้า ๔๕ ข้อ ๕๐ ท่านแก้ว่า จิตก็คือ ภวังคจิตนั่นเอง


พระดำรัสที่ว่า "หลุดพ้นแล้ว" หมายถึง เป็นจิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจของกุศลที่สัมปยุตด้วยญาณมีเหตุ ๓ เป็นต้น ได้รับการสรรเสริญ มีชื่อเสียง สืบเนื่องมาจากบุตรเป็นต้น ซึ่งเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยอาจาระ ก็เพราะเหตุที่บุตรเป็นต้นของตนเหล่านั้นั่นแหละ เป็นคนดีงาม ด้วยเหตุที่ได้รับการศึกษาได้รับโอวาทและคำพร่ำสอน ฉันใด


ภวังคจิตดวงนี้ที่พระมหามุนีตรัสว่า "หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา" ก็ด้วยอำนาจแห่งกุศลจิต ซึ่งเกิดขึ้นในขณะของชวนะฉันนั้นฯ


ตามที่ได้ยกข่อความจากอาคตสถานมาแสดงเทียบเคียงให้เห็นดังนี้แล้ว ผู้อ่านก็พอจะทราบได้ว่าอะไรเป็นอะไร


แต่ขอให้ทัศนะไว้นิดหนึ่งว่า ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ บางครั้งถึงกับอุทิศเพศบวชมาเป็นเวลานานก็มี ขอร้องให้พากันเชื่อพระบาลีและอรรถกถาอันเป็นหลักปริยัติฝ่ายเถรวาทเถิด เพราะจะเป็นปัจจัยให้เกิดทิฐิวิสุทธิ คือความเห็นที่ถูกต้องในส่วนของพระปริยัติศาสนาขึ้นได้


แม้จะเกิดศรัทธาให้ลงมือปฏิบัติ ก็เชื่อเหลือเกินว่าต้องไม่ผิดแน่ เพราะเมื่อปริติถูกก็เป็นเหตุให้เกิดปฏิบัติถูก อันเป็นเสมือนเงาตามตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ยอมเชื่อโดยยกตัวเสมอกับอรรถกถาเสียแล้วก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 30 ส.ค. 2008, 6:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

[๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว บุรุษ
ผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้อง
ถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะน้ำไม่ขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง
จักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ
คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วย
จิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว ฯ
[๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นจันทน์ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ารุกขชาติ
ทุกชนิด เพราะเป็นของอ่อนและควรแก่การงาน ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา
ย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใด
นั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ
[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมอง
ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ
[๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ
จบวรรคที่ ๕
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๑๖๑ - ๒๐๙. หน้าที่ ๗ - ๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=161&Z=209&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=42

อรรถกถาสูตรที่ ๙
ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปภสฺสรํ ได้แก่ ขาวคือบริสุทธิ์.
บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ ภวังคจิต.
ถามว่า ก็ชื่อว่าสีของจิตมีหรือ? แก้ว่าไม่มี.
จริงอยู่ จิตจะมีสีอย่างหนึ่งมีสีเขียวเป็นต้น หรือจะเป็นสีทองก็ตาม จะอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านก็เรียกว่าปภัสสร เพราะเป็นจิตบริสุทธิ์. แม้จิตนี้ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะปราศจากอุปกิเลส เหตุนั้น จึงชื่อว่าปภัสสร.
บทว่า ตญฺจ โข ได้แก่ ภวังคจิตนั้น.
บทว่า อาคนฺตุเกหิ ได้แก่ อุปกิเลสที่ไม่เกิดร่วมกัน หากเกิด ในขณะแห่งชวนจิตในภายหลัง.
บทว่า อุปกิเลเสหิ ความว่า ภวังคจิตนั้น ท่านเรียกว่า ชื่อว่าเศร้าหมองแล้ว เพราะเศร้าหมองแล้วด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น.
เศร้าหมองอย่างไร?
เหมือนอย่างว่า บิดามารดาหรืออุปัชฌาย์อาจารย์มีศีลสมบูรณ์ด้วยความประพฤติ ไม่ดุว่า ไม่ให้ศึกษา ไม่สอน ไม่พร่ำสอนบุตร หรืออันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกของตน เพราะเหตุที่บุตรและสัทธิวิหาริกอันเตวาสิกเป็นผู้ทุศีล มีความประพฤติไม่ดี ไม่สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติ ย่อมได้รับการติเตียนเสียชื่อเสียงฉันใด พึงทราบข้ออุปไมยนี้ฉันนั้น.
พึงเห็นภวังคจิตเหมือนบิดามารดาและอุปัชฌาย์อาจารย์ ผู้สมบูรณ์ด้วยความประพฤติ. ภวังคจิตแม้จะบริสุทธิ์ตามปกติก็ชื่อว่าเศร้าหมอง เพราะอุปกิเลสที่จรมา อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่เกิดพร้อมด้วยโลภะโทสะและโมหะซึ่งมีความกำหนัดขัดเคืองและความหลงเป็นสภาวะในขณะแห่งชวนจิต เหมือนบิดามารดาเป็นต้นเหล่านั้นได้ความเสียชื่อเสียง เหตุเพราะบุตรเป็นต้น ฉะนั้นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
แม้ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
จิต ก็คือภวังคจิตนั่นเอง.
บทว่า วิปฺปมุตฺตํ ความว่า ภวังคจิตนั้นไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลง ในขณะแห่งชวนจิต เกิดขึ้นด้วยอำนาจกุศลจิตที่เป็นญาณสัมปยุตประกอบด้วยไตรเหตุเป็นต้น ย่อมชื่อว่าหลุดพ้นจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา.
แม้ในที่นี้ ภวังคจิตนี้ ท่านเรียกว่าหลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสทั้งหลางที่จรมา ด้วยอำนาจกุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนจิต เหมือนมารดาเป็นต้นได้รับความสรรเสริญและชื่อเสียงว่า พวกเขาช่างดีแท้ยังบุตรเป็นต้นให้ศึกษา โอวาท อนุสาสน์อยู่ดังนี้ เหตุเพราะบุตรเป็นต้นเป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยความประพฤติ ฉะนั้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
dd
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2008
ตอบ: 179
ที่อยู่ (จังหวัด): overseas

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 5:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมได้ฟังพระสงฆ์รูปหนึ่งอธิบายตอบโยมรายหนึ่งเรื่อจิตเดิมว่า เป็นสภาพจิต"วิมุติที่ไม่ประกอบดวยวิชา"คล้ายๆกับที่มีผู้โพสต์ไว้ในเวปนี้และดูท่าว่าจะมีรากฐานมาจากคัมภีร์ของพระรูปหนึ่ง ผมออกจะประหลาดใจกับความรู้ใหม่เช่นนี้ แต่ก็ไม่สนใจอะไรมากเพราะหาหลักฐานว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าไมได้ครับ สิ่งใดที่ไม่ได้ปรากฏในพระไตรปิฎก สิ่งนั้นไม่ควรแก่การใส่ใจของผมเลย สาธุ
 

_________________
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 9:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมได้ฟังพระสงฆ์รูปหนึ่งอธิบายตอบโยมรายหนึ่งเรื่อจิตเดิมว่า เป็นสภาพจิต"วิมุติที่ไม่ประกอบดวยวิชา"คล้ายๆกับที่มีผู้โพสต์ไว้ในเวปนี้และดูท่าว่าจะมีรากฐานมาจากคัมภีร์ของพระรูปหนึ่ง ผมออกจะประหลาดใจกับความรู้ใหม่เช่นนี้ แต่ก็ไม่สนใจอะไรมากเพราะหาหลักฐานว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าไมได้ครับ สิ่งใดที่ไม่ได้ปรากฏในพระไตรปิฎก สิ่งนั้นไม่ควรแก่การใส่ใจของผมเลย


คุณเฉลิมศักดิ์ ขอโทษ คุณdd

แสดงหลักฐานให้ดูหน่อยครับ

หมู่นี้ มโนมยิทธิกำลังมาแรง

นะ มะ พะ ธะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 9:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณใช้คำไม่เหมาะสม กรุณาระมัดระวังการใช้ถ้อยคำให้สุภาพด้วยครับ

ทีมงาน
1 ส.ค.2551
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 9:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องจิตเดิม ก็คือ จิตบริสุทธิ์ เช่นเดียวกับ เด็ก คนหนึ่ง ที่ไม่ได้มีความทุกข์

แต่ หากว่า จิตนั้น มีอวิชชา ครอบงำ จึงก่อให้เกิด ความหลง ความทุกข์

และ จิตเดิมนั้น บริสุทธิ์ก็จริง แต่ไม่มีปัญญา ดับและ ถอนอวิชชา จึงก่อให้เกิด ความหลงต่างๆ มากมาย

ถูกต้องแล้วครับ

ก็ให้สังเกตุดูว่า ทำไมตอนเด็ก จึงไม่ค่อยมีความทุกข์ แต่เด็กนั้นก็ไม่มีปัญญาเหมือนผู้ใหญ่ แสดงให้เห็นว่า จิตบริสุทธิ์ นั้นมีอยู่ แต่ไม่เท่าทันต่ออวิชชา หากว่า เราถอนอวิชชา คือ ไม่ปรุง ไม่คิดให้มากมาย ก็จะสามารถทำจิตให้ เข้าถึงความว่างเดี๋ยวนี้ได้

และจะไม่เหมือนเด็กตรงที่ว่า เท่าทันในอวิชชา
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 10:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณใช้คำไม่เหมาะสม กรุณาระมัดระวังการใช้ถ้อยคำให้สุภาพด้วยครับ

ทีมงาน
1 ส.ค.2551
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ


แก้ไขล่าสุดโดย คามินธรรม เมื่อ 01 ก.ย. 2008, 2:56 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 10:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณใช้คำไม่เหมาะสม กรุณาระมัดระวังการใช้ถ้อยคำให้สุภาพด้วยครับ

ทีมงาน
1 ส.ค.2551
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 12:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณใช้คำไม่เหมาะสม กรุณาระมัดระวังการใช้ถ้อยคำให้สุภาพด้วยครับ

ทีมงาน
1 ส.ค.2551
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ


แก้ไขล่าสุดโดย คามินธรรม เมื่อ 01 ก.ย. 2008, 3:59 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
dd
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2008
ตอบ: 179
ที่อยู่ (จังหวัด): overseas

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 12:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตื่นเต้น สงสัย ยิ้ม Mess เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า งงงง!?
 

_________________
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ

แก้ไขล่าสุดโดย dd เมื่อ 01 ก.ย. 2008, 2:33 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 1:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมเห็นด้วยกับคุณ คามินธรรม

เด็กก็มีกิเลสเต็มหัวใจเด็กเช่นเดียวกัน

เพียงแต่ขันธ์ ๕ ของเด็กยังไม่สมบูรณ์

จึงแสดงออกได้เท่าที่เห็น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 9:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณใช้คำไม่เหมาะสม กรุณาระมัดระวังการใช้ถ้อยคำให้สุภาพด้วยครับ

ทีมงาน
1 ส.ค.2551
 


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 01 ก.ย. 2008, 9:18 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 9:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เด็กก็มีปัญญาครับ

เพียงแต่ยังไม่พัฒนาเท่าผู้ใหญ่ตามที่คุณguestกล่าว

สำหรับเด็กที่ปัญญาแบบพิเศษจะพัฒนาช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ

ถ้าน้อยมากจะช่วยตัวเองไม่ได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
อิทธิกร
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 28 ส.ค. 2008
ตอบ: 137
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 10:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คับ
 

_________________
ชีวิตที่รู้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 12:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณใช้คำไม่เหมาะสม กรุณาระมัดระวังการใช้ถ้อยคำให้สุภาพด้วยครับ

ทีมงาน
1 ส.ค.2551
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 2:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณใช้คำไม่เหมาะสม กรุณาระมัดระวังการใช้ถ้อยคำให้สุภาพด้วยครับ

ทีมงาน
1 ส.ค.2551
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 2:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณใช้คำไม่เหมาะสม กรุณาระมัดระวังการใช้ถ้อยคำให้สุภาพด้วยครับ

ทีมงาน
1 ส.ค.2551
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
dd
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2008
ตอบ: 179
ที่อยู่ (จังหวัด): overseas

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 2:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณใช้คำไม่เหมาะสม กรุณาระมัดระวังการใช้ถ้อยคำให้สุภาพด้วยครับ

ทีมงาน
1 ส.ค.2551
 

_________________
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 4:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณใช้คำไม่เหมาะสม กรุณาระมัดระวังการใช้ถ้อยคำให้สุภาพด้วยครับ

ทีมงาน
1 ส.ค.2551
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 5:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณใช้คำไม่เหมาะสม กรุณาระมัดระวังการใช้ถ้อยคำให้สุภาพด้วยครับ

ทีมงาน
1 ส.ค.2551
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง