Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ฌาน วิปัสสนา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 5:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เราจะวิปัสสนาขณะอยู่ในฌานสมาบัติได้หรือไม่

ในทางปฏิบัติควรทำอย่างไร
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 9:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าเป็น โลกียฌาณ หรือ โลกียสมาธิ แล้วทำฌาณก็ต้องทำให้หยุดคิด
จะดำเนินวิปัสสนาญาณ ในฌาณไม่ได้ เปรียบเหมือนคนจะนอนแต่ก็คิดนั่นคิดนี่ ก็ไม่หลับ ถึงหลับไปก็หลับไม่เต็มตา แล้วจะเอาประโยชน์จากการพักนั้นได้อย่างไร จุดประสงค์ของการทำฌาณคือ ทำให้กิเลสสงบตัวลง เพื่อให้จิตมีกำลังมากขึ้น ก็จึงจะสามารถทำอะไรได้อย่างคล่องแคล่ว เพราะไม่มีกิเลสคอยกวน

แต่หากว่า เข้าฌาณไปด้วย จะวิปัสสนาไปด้วย แบบนี้ก็ผิด เพราะนั่นไม่ใช่ฌาณ แต่เป็น อุปจารสมาธิ คือ ยังใช้ความคิดอยู่ อันยังมีทั้งวิตก และ วิจารณ์ ทีนี้ถ้าหลายเรื่องเกินไป ก็กลายเป็นความฟุ้งซ่าน

แต่หากว่า เป็น โลกุตระฌาณ คือ สภาวะจิตที่ปราศจากนิวรณ์ ก็เรียกได้ว่าเป็นองค์ฌาณ จะดำเนินวิปัสสนา คือ มองตามความเป็นจริง จิตนั้นก็ยังครองเอกคตาอยู่ ก็ดำเนินวิปัสสนาญาณได้ ขณะที่จิตเป็นสภาวะฌาณ
ก็เรียกว่า เป็น สัมมาสมาธิ คือ พิจารณาอะไรแล้วดับลงได้ทันใด

ก็ ต้องแยกว่า หากจิตยังครองเอกคตา ด้วย โลกุตระสมาธิไม่ได้ ก็อย่าไปเจริญ วิปัสสนาในองค์ฌาณ เพราะมันจะไม่ได้ทั้งฌาณ ทั้งวิปัสสนา

การเข้าสู่ขั้นวิปัสสนานี้ มีวิธีการคือ จะต้องหมั่นละนิวรณ์ และ อยู่ในสถานที่อันควร ค่อยๆ อบรมอินทรีย์ให้กล้าดี คือ สามารถรวบรวมกำลังจิต จดจ่อกับ สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ โดยไม่มีนิวรณ์มาดึงไปได้

เมื่ออินทรีย์กล้าแล้ว ให้พิจารณา ดูความไหวของจิตของกาย ของความคิด ให้เห็นว่า มันเกิดขึ้นเมื่อใด และ ดับไปเมื่อใด มองลงปัจจุบันให้มากที่สุด ก็จะเห็นว่า จิต ความคิด ความจำ ความรู้สึก เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วจี๋
แต่เรา เพิกการสังเกตุสิ่งเหล่านี้เองจึงไม่เคยมอง เมื่อมองจนชำนาญแล้ว จิตจะเห็นความเปลี่ยนแปลง อย่างเป็นไตรลักษณ์ในจิตนี้เอง
นั่นแหละ คือ เข้าสู่วิปัสสนาญาณ

พอมองเข้ามากๆ ทันปัจจุบันอย่างแท้จริงแล้ว เราจะพบกับความขาดสายแห่ง การสืบเนื่องของจิต นั้นแหละ จุดนั้นเรียกว่า โคตรภูญาณ เห็นพระนิพพานตรงนั้น

เอาเท่านี้แล้วกัน ถ้าอยากจะรู้มากกว่านี้ ให้เรียกผมว่าอาจารย์ก่อน แล้วผมจะตอบให้ มากกว่านี้ แต่ถ้าไม่เรียกก็จะตอบเท่านี้ 555
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
จักรวัฏ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 18 ส.ค. 2008
ตอบ: 88
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 11:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 27 ส.ค. 2008, 10:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่เคยวิปัสสนาในฌานครับ
เคยแต่เข้าฌานตามที่ทำได้ แล้วออกมาทรงอารมณ์ที่
อุปจารสมาธิ แล้วค่อยวิปัสสนา
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 8:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบพระคุณทุกคำตอบครับ

ผมว่ายังมีผู้เข้าใจผิดอยู่มากครับเกี่ยวกับสมถและวิปัสสนา

เลยคิดว่าปฏิบัติในคราวเดียวกัน

แท้จริงแล้วเรานำเอาอารมณ์จากฌานสมาบัติมาใช้เท่านั้น

ในหนังสือพุทธธรรมของท่านป.อ.ปยุตโตมีกล่าวเอาไว้ครับ

สรุปย่อๆคือ

เมือสมถภาวนาแล้วจะวิปัสสนาก็แค่ปรับจากการเพ่งมาเป็นการพิจารณา

นิดเดียวเองครับ

อารมณ์ก็ยังเป็นสมาธิอยู่

นอกจากฌานสูงๆอย่างเช่น

เนวสัญญานาสัญญายตนะ

หรือสัญญาเวทยิตนิโรธ

อย่างนั้นคงต้องออกจากฌานสมาบัติเสียก่อน

เพราะในเนวสัญญานาสัญญายตนะหมายถึงสัญญาเกือบจะไม่มีแล้ว

เกือบจะมีแต่ความว่างเปล่า

จึงไม่มีจิตที่จะไปทำหน้าที่พิจารณา

ในสัญญาเวทยิตนิโรธก็มีลักษณะที่ผู้อยู่ในสภาวะสมาบัตินั้นเหมือนซากศพ

มีแค่สัญญานชีวิตเล็กๆที่ดำเนินอยู่เท่านั้น

จึงพิจารณาอะไรคงไม่ได้

สิ่งที่ได้จากฌานที่นำมาใช้สำหรับวิปัสสนาคือ

อารมณ์อันแน่วแน่ มั่นคง ไม่ฟุ้งซานรำคาญ

คือสมาธิ

ความเข้าใจผมอย่างนี้ถูกต้องไหมครับ ท่าน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 11:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถูกต้องที่สุด แล้วครับ คุณ mes เอากำลังที่ได้จากความไม่ฟุ้งซ่าน มาพิจารณา วิปัสสนา

เมื่อวิปัสสนา ก็ให้ดูปัจจุบันธรรมที่สุด คือ อย่าตามสัญญา สังขาร ความคิดความปรุง แต่ให้มองสิ่งเหล่านั้นด้วยการไม่แปลความหมาย แต่มองให้เห็นว่า มันเกิดขึ้นและดับไป เช่นว่า เราระลึกเรื่องราวอะไร นี่พอมีสติก็ให้เห็นว่า เรื่องที่นึก มีกระบวนการคือ หมายมั่นขึ้นมา พอเลิกนึก ก็ดับไป
ทำแบบนี้ ในทุกๆ ผัสสะที่สังเกตุได้ ก็จะแยกรูปนามได้

เมื่อแยกรูปนามได้ แล้ว ก็ให้สังเกตุสู่ตัวที่ละเอียดมากขึ้นไป ในมหาสติปัฎฐานพระพุทธองค์จึงใช้คำว่า ให้พิจารณา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม คือ ให้เจริญ เพื่อมองสิ่งที่ ละเอียดยิ่งไปกว่าสิ่งที่เราเห็น แล้วเราจะเห็นละเอียดไปเรื่อยๆ จน วิมุตติ และจะทราบ ปฏิจสมุบบาทธรรม ว่า ตัณหาที่เกิดขึ้น นั้นแท้จริงแล้วมาจาก อะไรเป็นต้นเหตุ ความไม่พอใจ นั้นมาจากสิ่งใดเป็นต้นเหตุ ก็ด้วยการทวน สิ่งที่ละเอียดยิ่งๆขึ้นไป
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 11:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ ขอบตุณครับ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 8:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สติปัฏฐาน 4 นั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ผู้ที่ปฏิบัติเท่ากับทำทั้งสมถและวิปัสสนาไปพร้อมกัน

1) กายานุปัสสนา (การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย)

2) เวทนานุปัสสนา (การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา)

3) จิตตานุปัสสนา (การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต)

4) ธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม)


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 11:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เคยอ่านในหนังสือของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
ท่านว่า ถ้ายังเป็นปุถุชนจะไม่ใช้คำว่า ฌานสมาบัติ ครับ
เพราะผู้ที่จะเข้าฌานสมาบัติได้จะต้องเป็นพระอริยบุคคล
ชั้นพระโสดาบัน ขึ้นไป แต่ถ้ายังเป็นปุถุชน จะใช้ว่า เข้าฌาน แทน

ท่านว่าไม่มีอะไรต่างกัน ต่างกันแค่ว่าท่านเป็นพระอริยบุคคลหรือยังเท่านั้น

อีกอย่างหนึ่งที่อยากจะแนะนำคือ ถ้าเป็นไปได้น่าจะเข้าฌานตามที่ทำได้ก่อนในแต่ละวัน เพื่อระงับกามฉันทะ (นิวรณ์ ๕) เสียก่อน
หลังจากนั้นก็ค่อยถอยอารมณ์มาทรงที่อุปจารสมาธิ เพื่อทำวิปัสสนา

แต่ก็ควรระวังเพราะปีติ อันเกิดจากฌานจะทำให้ไม่อยากจะทำวิปัสสนา
แต่อยากจะดื่มดำในอารมณ์ฌานอีก เพราะฉนั้นต้องมีสติให้มาก ๆ

ที่อยากจะแนะนำอีกอย่างหนึ่งคือ เมื่อทรงอารมณ์ที่อุปจารสมาธิแล้ว
ก็น่าจะเจริญโพชฌงค์ ๗ เพราะการเจริญโพชฌงค์นั้นก็เป็นวิปัสสนาที่ได้ผลดีเหมือนกัน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 11:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่ว่า สติคือ สมถะและ วิปัสสนาไปพร้อมๆกันนั้น ผมไม่เคยได้ยินคำนี้ นะ
แต่ถ้าจะเอามาพูด ให้มีความหมายฟังแล้วดูเข้าใจว่า มันทำให้เกิดทั้งสมาธิและปัญญา แบบนี้ก็พอได้

แต่สมถะ ก็คือสมถะ วิปัสสนา ก็คือวิปัสสนา
สติ ก็คือ สติ คือการระลึกรู้ แต่หากระลึกรู้แล้ว ไม่ได้ดูคามความเป็นจริงมันก็ยังไม่เข้าถึง มหาสติ มหาปัญญา
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 12:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมทั้งหลายรวมลงที่สติ
เพราะถ้าไม่มีสติก็จะไม่มีอย่างอื่นตามมา
ไม่ว่าจะเป็นสมถะ หรือวิปัสสนา

แต่สติก็ไม่ใช่ทั้งสมถะหรือวิปัสสนา

แต่เราใช้สติ-สัมปชัญญะเข้าควบคุม
เพื่อให้ได้งานทั้งสมถะและวิปัสสนา
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 10:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขันธ์ พิมพ์ว่า:
ที่ว่า สติคือ สมถะและ วิปัสสนาไปพร้อมๆกันนั้น ผมไม่เคยได้ยินคำนี้ นะ
แต่ถ้าจะเอามาพูด ให้มีความหมายฟังแล้วดูเข้าใจว่า มันทำให้เกิดทั้งสมาธิและปัญญา แบบนี้ก็พอได้

แต่สมถะ ก็คือสมถะ วิปัสสนา ก็คือวิปัสสนา
สติ ก็คือ สติ คือการระลึกรู้ แต่หากระลึกรู้แล้ว ไม่ได้ดูคามความเป็นจริงมันก็ยังไม่เข้าถึง มหาสติ มหาปัญญา


ขอขอบคุณท่านขันธ์และขออภัยท่านผู้อ่านและท่านขันธ์

ที่ผมเขียนว่า

Code:
สติปัฏฐาน 4 นั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ผู้ที่ปฏิบัติเท่ากับทำทั้งสมถและวิปัสสนาไปพร้อมกัน


เมือกับมาอ่านตามที่ท่านขันธ์ทักท้วงก็เห็นความผิดพลาดของตนเอง

ที่ใช้ภาษากำกวม

เป็นความด้อยปัญญาและด้อยประสพการณ์

ก็เป็นอย่างนี้แหละครับ

ศึกษาธรรมกับท่านกัลยาณมิตรด้วยการเสวนาธรรมเป็นมงคล

เป็นปรโตโฆษะ

หากไม่เช่นนี้แล้วโอกาสของปุถุชนอย่างผมจะพบอริยะมรรคนั้นยากกว่ายาก



มาถึงสาระ

ในความหมายว่า

สติปัฏฐาน 4 นั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ผู้ที่ปฏิบัติเท่ากับทำทั้งสมถและวิปัสสนาไปพร้อมกัน

นั้นไม่ได้หมายความว่าจะทำสมถไปในเวลาเดียวกับวิปัสสนาได้

แต่หมายความว่าในสติปัฏฐาน4นั้นใช้สหรับในการทำสมถกรรมฐานก็ได้และนำสมาธิที่ได้จากการทำสมถกรรมฐานนั้นก็นำมาใช้ในการวปัสสนาต่อไปในการพิจารณา กาย เวทนา จิต และธรรม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 12:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนากับคุณ mes ครับ
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
อิทธิกร
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 28 ส.ค. 2008
ตอบ: 137
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 2:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ณานคืออะไร
 

_________________
ชีวิตที่รู้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ย. 2008, 1:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโทนาบุญด้วยท่าน mes สาธุ สู้ สู้
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง