Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เชื่อเรื่องเวรกรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ysri123
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 07 ส.ค. 2008
ตอบ: 8

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 6:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เชื่อเรื่องเวรกรรม

คนไทยมีความเชื่อมูลฐานในเรื่องเวรกรรม กฎแห่งกรรม หรือสวรรค์นรก โดยเชื่อว่าคนที่มีฐานะและความเป็นอยู่แตกต่างกัน เป็นเรื่องของโชคชะตาฟ้าลิขิต เช่น คนมีฐานะร่ำรวยมีอำนาจวาสนาเพราะเมื่อชาติก่อนหรือแม้กระทั่งชาตินี้ คนนั้นหรือบิดามารดาของคนนั้นได้สร้างบุญกุศลไว้มาก จึงเกิดมารวยและสบาย ตรงกันข้ามคนที่มีฐานะยากจน เพราะเมื่อชาติก่อนได้สร้างบาปกรรมไว้มาก และทำบุญน้อยจึงเกิดมาลำบากหรือเกิดมาใช้เวรใช้กรรมในชาตินี้ ซึ่งเห็นได้จากถ้อยคำที่ว่า ถ้าคนรวยตายเรียกว่า “สิ้นบุญ” แต่ถ้าคนจนตายเรียกว่า “สิ้นเวรสิ้นกรรม” หรือ "หมดเวรหมดกรรม" เป็นต้น และถ้าหากคนใดไม่เชื่อเรื่องเวรกรรมก็จะถูกห้ามหรือเตือนในทำนองที่ว่า "ไม่เชื่ออย่าลบหลู่" นอกจากนี้แล้ว ถ้าสิ่งใดหาคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ ก็จะกล่าวอ้างว่าเป็นเรื่องของสวรรค์นรกบันดาล เช่น ส่วนหนึ่งเห็นได้จากคำว่า "สวรรค์มีตา"

การที่คนไทยเชื่อและยอมรับสภาพความแตกต่างของคนในเรื่องฐานะและอำนาจนั้น มีส่วนสำคัญทำให้คนไทยที่มีฐานะยากจนและไม่มีอำนาจขาดความกระตือรือร้นในการพึ่งตนเองหรือพัฒนาฐานะของตนเอง เพราะเชื่อว่าทำอย่างไรก็ไม่มีทางร่ำรวย มีฐานะ มีหน้ามีตาหรือมีชื่อเสียงขึ้นมาได้ สอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า “แข่งเรือแข่งแพแข่งได้ แต่แข่งบุญวาสนาแข่งไม่ได้” และเมื่อใดก็ตามที่พบอุปสรรค ความยากลำบาก หรือทำสิ่งใดไม่สำเร็จตามใจปรารถนาก็จะเกิดความท้อแท้ใจได้ง่ายพร้อมกับอ้างว่าเป็นเรื่องของเวรกรรม ซึ่งอาจเรียกสั้น ๆ ว่า “ดวง” ซ้ำร้ายยังตีความ "สันโดษ" คลาดเคลื่อนอีกด้วย โดยเข้าใจว่าหมายถึง "พอใจในสิ่งที่มี" ทำให้ไม่ดิ้นรนต่อสู้ ไม่กระตือรืนร้น ปล่อยชีวิตไปตามสบาย ทั้ง ๆ ตนเองที่มีความรู้ความสามารถหรือมีศักยภาพที่จะทำงานอื่นได้อีกมาก แต่ไม่ยอมทำ คำว่าสันโดษนั้นน่าจะหมายถึง "ให้พอใจในสิ่งที่มีถ้าสิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้" เช่น คนบางคนเกิดมาพิการ สันโดษสอนให้คน ๆ นั้นพึงพอใจและยอมรับในสิ่งที่มีและเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้นั้น ในเวลาเดียวกัน ก็ควรพยายามหาสิ่งอื่นมาชดเชยหรือทดแทน เช่น มุมานะทำงานให้เป็นผู้ชำนาญในด้านอื่นที่ไม่ต้องใช้คุณสมบัติที่ขาดไปนั้น

พวกคุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ และ เพราะอะไร

http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=53
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 6:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คนเราทุกข์เพราะความคิด ... แค่นั้นเอง
คิดมากก็ทุกข์มาก .... เขาไม่รู้จักเลือกคิด

กรรมในวินาทีนี้ ปัจจุบันนี้ เป้นตัวกำหนดวินาทีถัดไป กำหนดอนาคต
ถ้าทำดีก็ได้ดี ทำชั่วก็ได้ชั่ว
เป็นมะเร็ง... ก็เพราะปากของชาตินี้เคี้ยวอาหารลงไป ไม่ใช่ปากชาติที่แล้วเคี้ยวแล้วมาป่วยเอาชาตินี้


เรื่องที่รู้ง่ายๆ พิสูจน์ง่ายๆ แก้ไขได้ง่ายๆ ... เขาจะไม่ชอบ
เขาชอบอะไรวิจิตรพิศดาร ขั้นตอนเยอะๆ เปลือกเยอะๆ .. เพราะดูมันเทห์ด
ยิ่งข้ามภพข้ามชาติ ยิ่งชอบใจใหญ่

 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 11:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การมีความเชื่อเรื่องเวร กรรม (กฏแห่งกรรม)นั้นก็เป็นเรื่องดี เพื่อเราจะได้ดำเนินชีวิตโดยความไม่ประมาท(การกระทำในอดีตเป็นปัจจัยส่งผลมาปัจจุบัน การกระทำปัจจุบันเป็นปัจจัยส่งผลไปอนาคต) แต่ความเชื่อนั้นก็ควรจะอยู่บนกรอบของ เหตุและผล มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็น งมงาย ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของศาสนาพุทธ ซึ่งเน้นถึงเรื่องของ เหตุและผล

อย่างอริยสัจที่พระศาสดาตรัสรู้นั้นก็ชัดเจนอยู่แล้ว

ทุกข์ เป็นผล สมุทัย เป็นเหตุ
นิโรธ เป็นผล มรรค เป็นเหตุ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 1:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การเชื่อว่า ทุกอย่างที่เราได้รับอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นผลจากกรรมเก่าแต่ชาติปางก่อนทั้งสิ้น นั้น คือ มิจฉาทิฏฐิ... ของนิครนธ์
เรียกว่า บุปเพเหตุกวาท .
ทำให้คนงอมืองอเท้า ไม่คิดกระทำกรรมปัจจุบันให้ดี

ส่วนการปฏิเสธขาด ว่าอาจจะมีผลกรรมจากอดีตชาติมาให้ผลในปัจจุบันได้ ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิอีกขั้วหนึ่ง เพราะปฏิเสธขาดในเรื่อง สังสารวัฏฏ์



จาก

หนังสือ พุทธธรรม (ฉบับเดิม) หน้า 200-207
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

๕) ทำกรรมเก่าให้เกิดประโยชน์

คนไทยสมัยนี้ได้ยินคำว่า “กรรม” มักจะนึกไปในแง่ว่ากรรมจะตามมา
ให้เคราะห์ให้โทษอย่างไร พูดถึงกรรมก็จะนึกถึงอะไรอย่างหนึ่งที่คอยตามจะลงโทษ หรือทำให้เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ โดยเฉพาะคิดไปถึงชาติก่อน คือ
มองกรรมในแง่กรรมเก่า และเป็นเรื่องไม่ดี
คำว่า “กรรมเก่า” ก็บอกอยู่ในตัวเองแล้วว่า มันถูกจำกัดให้หดแคบเข้ามาเหลือเพียงส่วนหนึ่ง เพราะเติมคำว่า “เก่า” เข้าไป กรรมก็เหลือแคบ
เข้ามา ยิ่งนึกในแง่ว่ากรรมไม่ดีอีก ก็ยิ่งแคบหนักเข้า รวมแล้วก็คือเป็นกรรมที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
ไปๆ มาๆ ก็เลยอะไรๆ ก็แล้วแต่กรรม (เก่า-ที่ไม่ดี)
บางทีถึงกับมีการหาทางตัดกรรม เลยพลัดออกไปจากพระพุทธศาสนา

ความจริง กรรมก็เป็นเรื่องธรรมดาธรรมชาติ คือเป็นเรื่องความเป็นไปตามเหตุปัจจัยของชีวิตมนุษย์ ที่มีเจตนา มีการคิด การพูด และการกระทำ แสดงออก มีความสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลาย แล้วก็เกิดผลต่อเนื่องกัน
ไปในความสัมพันธ์นั้น

ถ้ามัวไปยึดถือว่า แล้วแต่กรรมเก่าปางก่อนอย่างเดียว ก็จะทำกรรมใหม่ที่เป็นบาปอกุศลโดยไม่รู้ตัว
หมายความว่า ใครก็ตามที่ปลงว่า “แล้วแต่กรรม (เก่า)” นั้น ก็คือ
เขากำลังทำความประมาท ที่ปล่อยปละละเลย ไม่ทำกรรมใหม่ที่ควรทำ
ความประมาทนั้นก็เลยเป็นกรรมใหม่ของเขา ซึ่งเป็นผลจากโมหะ


แล้วกรรมใหม่ที่ประมาทเพราะโมหะหลงงมงายนั้น ก็จะก่อผลร้ายแก่เขาต่อไป

ความเชื่อว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่กรรมเก่า กรรมปางก่อน หรือ
กรรมในชาติก่อน คือลัทธิกรรมเก่านั้น เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่เรียกว่าปุพเพกตเหตุวาท
หรือเรียกสั้นๆ ว่า ปุพเพกตวาท ดังพุทธพจน์ที่แสดงแล้วข้างต้น
ท่านไม่ได้สอนว่าไม่ให้เชื่อกรรมเก่า แต่ท่านสอนไม่ให้เชื่อว่าอะไรๆ
จะเป็นอย่างไรก็เพราะกรรมเก่า
- การเชื่อแต่กรรมเก่า ก็สุดโต่งไปข้างหนึ่ง
- การไม่เชื่อกรรมเก่า ก็สุดโต่งไปอีกข้างหนึ่ง


ได้กล่าวแล้วว่า “กรรม” พอเติม “เก่า” เข้าไป คำเดิมที่กว้าง
ครบถ้วนสมบูรณ์ ก็หดแคบเข้ามาเหลืออยู่ส่วนเดียว อย่ามองกรรมที่กว้าง
สมบูรณ์ให้เหลือส่วนเดียวแค่กรรมเก่า

เรื่องกรรมที่เชื่อกันในแง่กรรมเก่านี้ มีจุดพลาดอยู่ ๒ แง่ คือ

๑. ไปจับเอาส่วนเดียวเฉพาะอดีต ทั้งที่กรรมนั้นก็เป็นกลางๆ ไม่จำกัด
ถ้าแยกโดยกาลเวลาก็ต้องมี ๓ คือ กรรมเก่า (ในอดีต) กรรมใหม่ (ใน
ปัจจุบัน) กรรมข้างหน้า (ในอนาคต) ต้องมองให้ครบ

๒. มองแบบแยกขาดตัดตอน ไม่มองให้เห็นความเป็นไปของเหตุปัจจัย
ที่ต่อเนื่องกันมาโดยตลอด คือ ไม่มองเป็นกระแสหรือกระบวนการที่ต่อเนื่อง
อยู่ตลอดเวลา แต่มองเหมือนกับว่ากรรมเก่าเป็นอะไรก้อนหนึ่งที่ลอยตาม
เรามาจากชาติก่อน แล้วมารอทำอะไรกับเราอยู่เรื่อยๆ
ถ้ามองกรรมให้ถูกต้องทั้ง ๓ กาล และมองอย่างเป็นกระบวนการ
ของเหตุปัจจัย ในด้านเจตจำนง และการทำ-คิด-พูด ของมนุษย์ ที่ต่อเนื่อง
อยู่ตลอดเวลา ก็จะมองเห็นกรรมถูกต้อง ชัดเจนและง่ายขึ้น ในที่นี้ แม้จะไม่
อธิบายรายละเอียด แต่จะขอให้จุดสังเกตในการทำความเข้าใจ ๒-๓ อย่าง
๑. ไม่มองกรรมแบบแยกขาดตัดตอน คือ มองให้เห็นเป็นกระแสที่ต่อ
เนื่องตลอดมาจนถึงขณะนี้ และกำลังดำเนินสืบต่อไป
ถ้ามองกรรมให้ครบ ๓ กาล และมองเป็นกระบวนการต่อเนื่อง จาก
อดีต มาถึงบัดนี้ และจะสืบไปข้างหน้า ก็จะเห็นว่า กรรมเก่า (ส่วนอดีต) ก็
คือ เอาขณะปัจจุบันเดี๋ยวนี้เป็นจุดกำหนด นับถอยจากขณะนี้ ย้อนหลังไป
นานเท่าไรก็ตาม กี่ร้อยกี่พันชาติก็ตาม มาจนถึงขณะหนึ่งหรือวินาทีหนึ่ง
ก่อนนี้ ก็เป็นกรรมเก่า (ส่วนอดีต) ทั้งหมด
กรรมเก่าทั้งหมดนี้ คือกรรมที่ได้ทำไปแล้ว ส่วนกรรมใหม่ (ใน
ปัจจุบัน) ก็คือที่กำลังทำๆ ซึ่งขณะต่อไปหรือวินาทีต่อไป ก็จะกลายเป็นกรรม
เก่า (ส่วนอดีต) และอีกอย่างหนึ่งคือ กรรมข้างหน้า ซึ่งยังไม่ถึง แต่จะทำใน
อนาคต
กรรมเก่านั้นยาวนานและมากนักหนา สำหรับคนสามัญ กรรมเก่าที่
จะพอมองเห็นได้ ก็คือกรรมเก่าในชาตินี้ ส่วนกรรมเก่าในชาติก่อนๆ ก็อาจ
จะลึกล้ำเกินไป เราเป็นนักศึกษาก็ค่อยๆ เริ่มจากมองใกล้หน่อยก่อน แล้วจึง
ค่อยๆ ขยายไกลออกไป
อย่างเช่นเราจะวัดหรือตัดสินคนด้วยการกระทำของเขา กรรมใหม่ใน
ปัจจุบันเรายังไม่รู้ว่าเขากำลังจะทำอะไร เราก็ดูจากกรรมเก่า คือความ
ประพฤติและการกระทำต่างๆ ของเขาย้อนหลังไปในชีวิตนี้ ตั้งแต่วินาทีนี้ไป
นี่ก็กรรมเก่า ซึ่งใช้ประโยชน์ได้เลย
๒. รู้จักตัวเอง ทั้งทุนที่มีและข้อจำกัดของตน พร้อมทั้งเห็นตระหนักถึงผล
สะท้อนที่ตนจะประสบ ซึ่งเกิดจากกรรมที่ตนได้ประกอบไว้
กรรมเก่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเราทุกคน เพราะแต่ละคนที่เป็น
อยู่ขณะนี้ ก็คือผลรวมของกรรมเก่าของตนที่ได้สะสมมา ด้วยการทำ-พูด-
คิด การศึกษาพัฒนาตน และความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ในอดีตทั้งหมด
ตลอดมาจนถึงขณะหรือวินาทีสุดท้ายก่อนขณะนี้
กรรมเก่านี้ให้ผลแก่เรา หรือเรารับผลของกรรมเก่านั้นเต็มที่ เพราะ
ตัวเราที่เป็นอยู่ขณะนี้ เป็นผลรวมที่ปรากฏของกรรมเก่าทั้งหมดที่ผ่านมา
กรรมเก่านั้นเท่ากับเป็นทุนเดิมของเราที่ได้สะสมไว้ ซึ่งกำหนดว่า เรามีความ
พร้อม มีวิสัยขีดความสามารถทางกาย วาจา ทางจิตใจ และทางปัญญาเท่า
ไร และเป็นตัวบ่งชี้ว่าเราจะทำอะไรได้ดีหรือไม่ อะไรเหมาะกับตัวเรา เราจะ
ทำได้แค่ไหน และควรจะทำอะไรต่อไป
ประโยชน์ที่สำคัญของกรรมเก่า ก็คือการรู้จักตัวเองดังที่ว่านั้น ซึ่งจะ
เกิดขึ้นได้ ด้วยการรู้จักวิเคราะห์และตรวจสอบตนเอง โดยไม่มัวแต่ซัดทอด
ปัจจัยภายนอก
การรู้จักตัวเองนี้ นอกจากช่วยให้ทำการที่เหมาะกับตนอย่างได้ผลดีแล้ว
ก็ทำให้รู้จุดที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไปด้วย
๓. แก้ไขปรับปรุงเพื่อก้าวสู่การทำกรรมที่ดียิ่งขึ้น แน่นอนว่า ในที่สุด
การปฏิบัติถูกต้องที่จะได้ประโยชน์จากกรรมเก่ามากที่สุด ก็คือ การทำกรรม
ใหม่ ที่ดีกว่ากรรมเก่า
ทั้งนี้ เพราะหลักปฏิบัติทั้งหมดของพระพุทธศาสนารวมอยู่ในไตรสิกขา
อันได้แก่การฝึกศึกษาพัฒนาตน ในการที่จะทำกรรมที่ดีได้ยิ่งขึ้นไป ทั้ง
- ในขั้นศีล คือการฝึกกาย วาจา สัมมาอาชีวะ รวมทั้งการสัมพันธ์
กับสิ่งแวดล้อมด้วยอินทรีย์ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
- ในขั้นสมาธิ คือฝึกอบรมพัฒนาจิตใจ ที่เรียกว่าจิตภาวนาทั้งหมด
และ
- ในขั้นปัญญา คือความรู้คิดเข้าใจถูกต้อง มองเห็นสิ่งทั้งหลายตาม
ความเป็นจริง และสามารถใช้ความรู้นั้นแก้ไขปรับปรุงกรรม ตลอดจนแก้
ปัญหาดับทุกข์หมดไปมิให้มีทุกข์ใหม่ได้
พูดสั้นๆ ก็คือ แม้ว่ากรรมเก่าจะสำคัญมาก ก็ไม่ใช่เรื่องที่เราจะไป
สยบยอมต่อมัน แต่ตรงข้าม เรามีหน้าที่พัฒนาชีวิตของเราที่เป็นผลรวม
ของกรรมเก่านั้นให้ดีขึ้น
ถ้าจะใช้คำที่ง่ายแก่คนสมัยนี้ ก็คือ เรามีหน้าที่พัฒนากรรม กรรมที่ไม่
ดีเป็นอกุศล ผิดพลาดต่างๆ เราศึกษาเรียนรู้แล้วก็ต้องแก้ไข การปฏิบัติธรรม
ตามหลักพระพุทธศาสนา ก็คือการพัฒนากรรม ให้เป็นกุศล หรือดียิ่งขึ้นๆ
ดังนั้น เมื่อทำกรรมอย่างหนึ่งแล้ว ก็พิจารณาวิเคราะห์ตรวจสอบคุณ
ภาพและผลของกรรมนั้น ให้เห็นข้อยิ่ง ข้อหย่อน ส่วนที่ขาดที่พร่อง เป็นต้น
ตามหลักเหตุปัจจัยที่กล่าวแล้วในหัวข้อก่อน แล้วแก้ไขปรับปรุงเพื่อจะได้ทำ
กรรมที่ดียิ่งขึ้นไป
จะพูดว่า รู้กรรมเก่า เพื่อวางแผนทำกรรมใหม่ให้ดียิ่งขึ้นไป ก็ได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
dd
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2008
ตอบ: 179
ที่อยู่ (จังหวัด): overseas

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 9:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ สาธุครับคุณตรงประเด็น สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2008, 11:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เจริญในธรรม สาธุ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง