Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มาศึกษาจากเรื่องจริง - พระพุทธรูปสำคัญอย่างไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 4:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คัดจากประวัติหลงปู่ดุลย์ จาก wimutti.net
เรื่องนี้ เน้นให้เห็นถึงความสัมพันธ์์ของพระพุทธรูปกับวิถีชีวิต

.................................................................

๓๕. หลวงพ่อพระชีว์ : พระพุทธรูปคู่เมืองสุรินทร์

ปูชนียวัตถุสำคัญที่ถือว่ากำเนิดมาพร้อมกับวัดบูรพาราม และเป็นที่เคารพนับถือว่าเป็นของคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุรินทร์ ก็คือ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ซึ่งเป็นองค์ประธานในวัด ที่เรียกขานกันทั่วไปว่า "หลวงพ่อพระชีว์" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ประดิษฐานอยู่ในมณฑปจัตุรมุขก่ออิฐถือปูน อยู่ด้านตะวันตกของพระอุโบสถปัจจุบัน

สำหรับ หลวงพ่อพระชีว์ องค์นี้นับว่าแปลกอย่างหนึ่ง คือ ไม่สามารถสืบประวัติได้ว่าสร้างขึ้นเมื่อไร และท่านผู้ใดเป็นคนปรารภมา พอถามคนแก่อายุร้อยปี ก็ได้คำตอบว่า เคยถามคนอายุร้อยปีเหมือนกัน เขาก็บอกว่าเห็นองค์ท่านอยู่อย่างนี้มาแล้ว โดยสรุปก็สามารถสืบสาวไปได้แค่ ๒๐๐ ปีก็จบ และไม่ทราบว่าผู้ใดสร้างและสร้างเมื่อไร

สันนิษฐานว่าคงจะสร้างมาพร้อมกับเมืองสุรินทร์ และก็สันนิษฐานกันต่อไปว่าทำไมจึงชื่อว่า "หลวงพ่อพระชีว์" เป็นชื่อแต่เดิม มี "ว" การันต์ คือ "ชีวะ" ก็คงจะเป็น "ชีวิต" ซึ่งอาจยกย่องท่านว่าเป็นเสมือน เจ้าชีวิต หรือเป็น ยอดชีวิต ของคนสมัยนั้นกระมัง

ข้อสันนิษฐานอีกทางหนึ่งก็ว่า อาจจะเกี่ยวกับ ลำน้ำชี เป็นลำน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดสุรินทร์ ที่ได้ชื่อนี้อาจจะได้ไม้พิเศษ หรือดินพิเศษ มาจากลำชี มาปั้นเป็นองค์ท่านกระมัง จึงได้ชื่ออย่างนี้

เคยกราบเรียนถามหลวงปู่ ท่านก็ไม่ทราบประวัติของ หลวงพ่อพระชีว์ เช่นเดียวกัน ท่านว่าก็เห็นองค์ท่านอยู่อย่างนี้แหละ แต่ไหนแต่ไรมา ตั้งแต่เล็กจนโตมาก็ถามคนโบราณเช่นเดียวกัน เขาก็ว่า "ก็เห็นอยู่อย่างนี้"

ถ้าย้อนนึกถึงสมัยก่อน เราต้องยอมรับว่า แถวสุรินทร์ ซึ่งถือเป็นเมืองบ้านนอกมีความอัตคัด เรื่องพระพุทธรูปที่จะกราบไหว้กันเหลือเกิน เมื่อสมัย ๑๐๐ ปี หรือ ๗๐-๘๐ ปีที่ผ่านมา หรือย้อนไปถึง ๒๐๐ ปี จะเห็นว่าแถวนี้ไม่มีพระพุทธรูปสำริด หรือทองเหลือง มีเพียงพระพุทธรูปที่ทำด้วยไม้ หรือดินปั้น ซึ่งก็ไม่ได้ปั้นให้ได้ปุริสลักษณะที่แท้จริง เพียงแต่ทำขึ้นเสมือนหนึ่งว่าสมมติให้เป็นพระพุทธรูปเท่านั้น

สมัยนั้นจึงไม่มีพระพุทธรูปที่งดงามให้กราบไหว้ "ด้วยเหตุนี้กระมัง คนสุรินทร์สมัยนั้นจึงไม่ค่อยสวยงาม ไม่ค่อยมีลักษณะที่ดี เพราะการสร้างพระพุทธรูปไม่ได้พระพุทธรูปที่งาม เมื่อกราบติดอกติดใจก็ไม่ได้ลูกเต้าที่งดงามกระมัง"

ในสมัยนั้น แถวจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ หรือแถบอิสานใต้ ยังไม่มีพระพุทธรูปปั้นองค์ไหนที่งดงาม หรือมีลักษณะที่มีอำนาจและก็ไม่มีขนาดใหญ่เท่ากับหลวงพ่อพระชีว์เลย ด้วยท่านมีขนาดใหญ่และดูเคร่งขรึมมีอำนาจน่าเกรงขาม ชาวบ้านจึงนับถือท่านในด้านความศักดิ์สิทธิ์

แม้ทางราชการ ในสมัยที่ข้าราชการมีการทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ก็ต้องมาทำพิธีต่อหน้า หลวงพ่อพระชีว์ องค์นี้เอง

ด้วยความเคารพนับถือท่านในแง่ความศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนจึงเชื่อว่าท่านสามารถดลบันดาล ให้เขาสำเร็จประโยชน์โสตถิผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้

เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ แถวสุรินทร์ และบุรีรัมย์ ถือว่าเป็นพื้นที่ที่หมิ่นเหม่ต่ออันตราย ด้วยการเป็นเป้าหมายโจมตีทางอากาศ สมัยนั้น พ.ศ. ๒๔๘๘ พวกอาตมายังเป็นเด็ก เรียน ป.๑-ป.๒ จะมีเครื่องบินวนเวียนไปทิ้งระเบิดแถวกัมพูชา และแถบสุรินทร์-บุรีรัมย์ ชาวบ้านตกอกตกใจ ก็ได้แต่ไปกราบไปไหว้ขอบารมีหลวงพ่อพระชีว์เป็นที่พึ่ง ขออย่าให้บ้านเมืองถูกระเบิดเลย หรือเครื่องบินมาแล้วก็อย่าได้มองเห็นบ้านเมือง

นอกจากนี้ชาวบ้านก็มักพากันมาบนบานศาลกล่าวเวลาเกิดยุคเข็ญต่าง ๆ เช่น เมื่อเกิดโรคภัยไข้เจ็บ เมื่ออหิวาตกโรค หรือโรคฝีดาษมีการระบาด ซึ่งสมัยนั้นถ้ามีโรคระบาดมาแต่ละชุด ผู้คนจะล้มตายจำนวนมาก พวกเขาเหล่านั้นก็ได้หลวงพ่อพระชีว์เป็นที่พึ่งทางใจ ให้เขารู้สึกปลอดภัย หรือพ้นภัยพิบัติ คนสุรินทร์จึงนับถือท่านตลอดมา

บางครั้งประชาชนก็มาบนบานศาลกล่าวให้ประสบผลสำเร็จ ประสบโชคดีในลักษณะนี้ก็มี ซึ่งทางวัดก็ไม่ได้สนับสนุน และก็ไม่ได้ปฏิเสธ ในเรื่องความเชื่อถือของประชาชน ก็เพียงแต่โมทนาสาธุการ ถ้าความปรารถนาของเขาประสบผลสำเร็จ และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ากราบไหว้ได้เต็มที่

ในแง่นี้ อาจกล่าวได้ว่า หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ก็ได้อาศัยบารมี หลวงพ่อพระชีว์ ในการพัฒนาวัดบูรพารามให้เจริญรุ่งเรืองโสตหนึ่งด้วย กล่าวคือ เมื่อชาวบ้านพากันเคารพนับถือ หลวงพ่อพระชีว์ เป็นอันมาก ก็เป็นการสะดวกต่อหลวงปู่ของเราที่จะบูรณะวัดให้เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างพระอุโบสถให้สำเร็จ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ลำบากยิ่งในสมัยนั้น
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 5:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กระผมมีความเห็นว่า เป็นวัตถุที่เป็นมงคลครับ

กระผมเห็นว่าในโลกนี้มีวัตถุอยู่ 2 อย่างเท่านั้นครับ
1. เป็นมงคล
2. ไม่เป็นมงคล
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 8:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นเรื่องของสมมุติ กับปรมัตถ์

ผมเองก็กราบไหว้พระพุทธรูป

สมัยที่เรียนอยู่มัธยม มีแหม่มขึ้นไปขี่คอพระพุทธรูปถ่ายรูป

ผมนำเรืองนี้ขึ้นพูดประนามผู้ที่กระทำอย่างมิบังควร เรียกเสียงโห่ร้องสนับสนุนลั่นห้อง เกือบเดินขบวบประท้วงกัน



แต่ในปรมัตถ์ธรรม เป็นสัจจ เป็นความจริง

เป็นอิทัปปัจจยตา ต้องมองในแง่เหตุปัจจัย

เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนีจึงมี

ต้องไม่มีข้อติดยึดอื่นๆใดๆ พ้นจากรูป วัตถุ เป็นเรื่องวิมุติ

แต่ไม่ใช่ลบหลู่พระพุทธรูปได้ และไม่จำเป็นต้องกระทำเช่นนั้นก็สั่งสอนเวไนยสัตว์ได้


อีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นกันชัดๆ

ในทางโลก

การเดินวนขวารอบสถานที่ใดๆเช่นโบสถ์ เจดีย์ ถือว่าเป็นมงคล

ถ้าเดินวนซ้าย ส่วนใหญจะต้องรอบเมรุ ถือเป็นอมงคล


ในทางปรมัตถ์

ตามหลักปฏิจจสมุบาท

การหมุนวนทางขวาคื่อสมุทยวาร คื่อการเกิดของทุกข์

แน่นอน ทุกข์เมื่อเกิดย่อมอมงคล

การหมุนวนทางซ้ายคื่อนิโรธวาร

คื่อนิพพาน

เป็นมงคลสูงสุดแน่นอน


จึงแสดงความคิดเห็นมาเพื่อเป็นเหตุแห่งการสนทนาต่อไป
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 10:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

mes พิมพ์ว่า:
เป็นเรื่องของสมมุติ กับปรมัตถ์

ผมเองก็กราบไหว้พระพุทธรูป

สมัยที่เรียนอยู่มัธยม มีแหม่มขึ้นไปขี่คอพระพุทธรูปถ่ายรูป

ผมนำเรืองนี้ขึ้นพูดประนามผู้ที่กระทำอย่างมิบังควร เรียกเสียงโห่ร้องสนับสนุนลั่นห้อง เกือบเดินขบวบประท้วงกัน



แต่ในปรมัตถ์ธรรม เป็นสัจจ เป็นความจริง

เป็นอิทัปปัจจยตา ต้องมองในแง่เหตุปัจจัย

เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนีจึงมี

ต้องไม่มีข้อติดยึดอื่นๆใดๆ พ้นจากรูป วัตถุ เป็นเรื่องวิมุติ

แต่ไม่ใช่ลบหลู่พระพุทธรูปได้ และไม่จำเป็นต้องกระทำเช่นนั้นก็สั่งสอนเวไนยสัตว์ได้


อีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นกันชัดๆ

ในทางโลก

การเดินวนขวารอบสถานที่ใดๆเช่นโบสถ์ เจดีย์ ถือว่าเป็นมงคล

ถ้าเดินวนซ้าย ส่วนใหญจะต้องรอบเมรุ ถือเป็นอมงคล


ในทางปรมัตถ์

ตามหลักปฏิจจสมุบาท

การหมุนวนทางขวาคื่อสมุทยวาร คื่อการเกิดของทุกข์

แน่นอน ทุกข์เมื่อเกิดย่อมอมงคล

การหมุนวนทางซ้ายคื่อนิโรธวาร

คื่อนิพพาน

เป็นมงคลสูงสุดแน่นอน


จึงแสดงความคิดเห็นมาเพื่อเป็นเหตุแห่งการสนทนาต่อไป


สาธุ สาธุ สาธุ เป็นข้อพิจารณาที่ดีครับ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง