Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
กินยังไงถึงได้ บาป
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
natdanai
บัวบาน
เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
ตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 2:17 pm
ตอนนี้กระผมกำลังพิจารณา
อาหารเป็นเหตุ
อยู่ครับ พิจารณามาสักระยะหนึ่งแล้วครับ แล้วก็เห็นว่าอาหารนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเวียนตาย เวียนเกิด อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ
เพราะเราเกิดข้นมานั้นก็จะต้องมีปัจจัย 4 เป็นสิ่งที่ใช้ในการดำรงค์ชีวิตให้อยู่ต่อไป ซึ่งในปัจจัย 4 นั้นสิ่งที่ถูกยกมาเป็นอันดับแรกก็คือ
อาหาร
การบริโภคอาหารนั้นเป็นกรรม(การกระทำ)แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ ฉะนั้น การบริโภคอาหารจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการเวียนตายเวียนเกิด ตามกฏแห่งกรรม
ถาม - แล้ว บาป นั้นเกิดขึ้นอย่างไรกับการกินอาหาร?
ตอบ - เกิดขึ้นจากความกำหนัด ยินดี เช่นว่า เราเดินผ่านร้านอาหารทะเล เห็นกุ้งตัวใหญ่อยู่ในตู้ แล้วเกิดอยากจะกินกุ้งเผา(โดยเฉพาะกุ้งตัวที่เห็น)
ถึงตรงนี้ก็เป็นเวรแล้ว
แล้วเราก็เข้าไปนั่งที่ร้านแล้วก็สั่งกุ้งเผามากิน
ถึงตรงนี้ก็เป็นกรรมทันที
เพราะครบทั้ง ใจ วาจา และกาย เพราะเราได้ทำการเบียดเบียนชีวิตกุ้งแล้วด้วยความสมบูรณ์แบบของกรรม
ถาม - แล้วเราจะกินอย่างไรจึงไม่บาป?
ตอบ - อย่าให้ความกำหนัด ยินดี เกิดขึ้น เช่นว่า เมื่อถึงเวลากินก็ให้เรารู้ว่าเราต้องกินเพื่อรักษากายนี้ให้สดอยู่ กินเพียงเพื่อดับเวทนา(ความหิว) และที่สำคัญก็คือ อย่าให้เกิดความพอใจ หรืออร่อย(ภวตัณหา) ไม่พอใจ หรือไม่อร่อย(วิภวตัณหา) กล่าวคือเจตนาในการกินอาหารนั้น หากมีตัณหาก็เป็นกรรมทันที
ดังนั้นเราควรจะมาให้ความสนใจในการบริโภคอาหารกันเถิด จงบริโภคด้วยความไม่ประมาท....
_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
ตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 2:24 pm
ขอคัดเกร็ดจากประวัติหลวงปู่ดุลย์มาให้พิจารณานะคับ
อ้างอิงจาก:
ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ได้เล่าถึงคำสอนของท่านพระอาจารย์ใหญ่(หลวงปู่มั่น)เกี่ยวกับการขบฉันภัตตาหารได้ว่า
"ท่านอาจารย์ใหญ่สั่งสอนไว้ว่า การฉันอาหารต้องฉันอย่างประหยัด มีสติสัมปชัญญะ เพื่อขัดเกลาจิตใจมิให้เกิดความโลภ
วิธีการฉันนั้น เมื่อรับข้าวสุกมากะว่าพออิ่มสำหรับตนแล้ว ให้แบ่งข้าวสุกที่ตนพออิ่มนั้นออกเป็น ๔ ส่วน เอาออกเสียส่วนหนึ่ง แล้วจึงรับเอากับข้าวมาในปริมาณที่เท่ากับส่วนหนึ่งที่เอาออกไป กล่าวคือ ให้มีข้าว ๓ ส่วน กับข้าว ๑ ส่วน แล้วจึงลงมือฉัน ท่านอาจารย์ใหญ่เอง ก็จะฉันภัตตาหารในลักษณะเช่นนี้โดยตลอด
เมื่อมีผู้ใดจะตระเตรียมภัตตาหารในบาตรถวายท่าน ท่านอาจารย์ใหญ่ก็จะแนะนำให้จัดแจงมาในลักษณะเช่นนี้ แล้วท่านจึงฉัน"
_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
ตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 2:27 pm
อีกวาระหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับข้างบน
อ้างอิงจาก:
ครั้นเมื่อภิกษุสามเณรและญาติโยมใส่บาตรให้ท่านแล้ว ท่านก็จะฉันภัตตาหารที่ได้รับจากบาตรนั้น โดยปรกติหลวงปู่ฉันแต่น้อย เป็นผู้เจริญด้วยยถาลาภสันโดษ คือ ยินดีในของบริโภคตามมีตามได้
เมื่อรับการถวายมาอย่างไร ท่านก็ยินดีอย่างนั้น ไม่เดือดร้อนเรื่องการขบฉัน ไม่ฉันพลางดื่มน้ำพลาง เพราะจิตวิญญาณไม่เร้าร้อน ไม่เคยตำหนิหรือชมเชยอาหารที่สาธุชนถวาย ว่า "สิ่งนี้อร่อย - สิ่งนี้ไม่อร่อย" หรือ "เออ! วันนี้มีอาหารถูกปาก อย่างนั้นไม่ถูกโรคกัน" เหล่านี้เป็นต้น
อาหารจะจืดจะเค็มอย่างไรท่านก็ไม่เคยเรียกหาอะไรเพิ่มเติม ประเคนอย่างไรก็ฉันอย่างนั้น ทำให้ภิกษุสามเณรที่อุปัฏฐากท่านถึงกับละเลยเลินเล่อ เมื่อต้อนรับอาคันตุกะอยู่บ่อยๆ
ลูกศิษย์ลูกหาบางท่านมีนิสัยตรงข้าม จึงถูกหลวงปู่ดุเอาว่า "แค่นี้ก็ทนไม่ได้ แล้วจะทำอะไรได้"
ในระหว่างการขบฉัน หลวงปู่มีความสำรวมระวังไม่บกพร่องในข้อวัตรปฏิบัติที่เคยได้รับอบรมมา ไม่นิยมพูดในขณะฉัน เมื่อมีผู้ถามไถ่ท่านก็จะตอบเมื่อจำเป็นและไม่มีคำข้าวอยู่ในปาก ไม่มีการชะเง้อทักทายโหวกเหวกกับญาติโยม
ปริมาณการฉันของท่านก็เป็นไปตามปกติธรรมดา มีน้อยก็ฉันเท่าที่มี มีมากก็ฉันพออิ่มเท่าที่เคย
เมื่อเสร็จจากภัตตกิจแล้ว หลวงปู่มักจะเดินจงกรม ทำตามพระวินัยและข้อวัตร
ปัจจัยอื่นๆ นอกจากอาหารก็ทำนองเดียวกัน เมื่อมีลาภสักการะมาก ท่านไม่เคยสั่งสม คอยดูแลพระเณรที่ขาดแคลนตามวัดต่างๆ อยู่เสมอ ที่ไหนขาดก็แบ่งปันไปให้ทั่วถึง เมื่อถึงคราวมีน้อยก็ว่ากันไปตามมีตามเกิด
หลวงปู่ไม่เคยปรารถนาอยากได้อะไร เช่น "ร้อนมาก ถ้ามีแอร์ก็จะดี" หรือว่า "แก่มากแล้ว ไปมาลำบาก มีรถยนต์นั่งติดแอร์เย็นๆ สักคันก็เหมาะ" ตามแบบอย่างที่เรียกกันขำๆ ทำนองประชดว่า "ยถาโลภะสันโดษ" หรือ "ยถาราคะสันโดษ" คือ ยินดีตามแต่ความโลภหรือความทะยานอยากในกามสุขจะบงการให้เป็นไป อย่างนี้เป็นการไม่สมควร
แต่ในวิสัยสมณะ คือ การเจริญด้วยลาภะสันโดษ หมายถึง การยินดีในของบริโภคตามมีตามได้ มีน้อยก็ใช้น้อย ไม่มีก็ไม่ต้องใช้ มีมากก็ใช้เท่าที่จำเป็น ไม่ดิ้นรนแสวงหา
_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
natdanai
บัวบาน
เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
ตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 2:27 pm
ท่านคามินธรรมครับ
ขอบคุณครับสำหรับความรู้ที่แนะนำ กระผมจะได้เก็บไว้พิจารณาต่อไปครับ
_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
ตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 2:28 pm
๗๑. รสอาหารดีอยู่ที่ใจ
ท่านเจ้าคุณพระโพธินันทมุนี (อดีตท่านพระครูนันทปัญญาภรณ์) เล่าให้ฟังว่าในอดีตท่าน "มีความไม่ค่อยดีอยู่อย่างหนึ่ง" คือ ทั้งๆ ที่พยายามปฏิบัติตามคำสั่งสอนของหลวงปู่และครูบาอาจารย์ทั้งหลาย แต่ก็สังเกตตัวเองได้ว่า ถ้าวันไหนมีภัตตาหารเป็นปกติธรรมดา เช่น น้ำพริกผักต้ม หรืออาหารพื้นบ้านทั่วๆ ไป ก็มีความสุขกายสบายใจเป็นธรรมดาตามความเคยชิน แต่ถ้าวันไหนมีอาหารที่พิเศษพิสดารขึ้นกว่าปกติก็ชักจะรู้สึกสนุกสนานผิดธรรมดาไปหน่อย จนกระทั่งเกิดความรำคาญตัวเองขึ้นมา จึงต้องแก้ไขดัดนิสัยตัวเองด้วยการฉันเฉพาะอาหารผักเสียบ้าง ให้มันรู้สึกยากลำบากต่อการได้มายิ่งขึ้น ให้รสชาติอาหารเป็นธรรมดาๆ มากขึ้น
ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้เกิดความคิดขึ้นมาอย่างหนึ่งว่า พระเถระก็ดีอุบาสกอุบาสิกาก็ดี ที่เจริญด้วยการปฏิบัติธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป ชะรอยจะตัดความยินดีในรสอาหารเสียได้ จึงไม่ยินดียินร้ายในรสอาหารเสียเลย ไม่ว่าจะเป็นอาหารอะไร ล้วนพอใจทั้งสิ้นที่จะได้รับ ไม่รู้สึกรังเกียจไม่รู้สึกอร่อยหรือไม่อร่อย ไม่เรียกร้องการปรุงรสเพิ่มเติม นับว่าเป็นที่น่าชื่นชมควรคารวะยิ่งนัก
ครั้นคิดได้เช่นนี้แล้ว จึงเข้าไปหาหลวงปู่ และกราบเรียนท่านถึงความคิดของตน พร้อมทั้งขอทราบความคิดเห็นของท่าน
หลวงปู่บอกว่า "เข้าใจถูกครึ่งหนึ่ง เข้าใจผิดครึ่งหนึ่ง แต่ก็เป็นการดีแล้วที่มาพบ เพื่อพยายามทำความเข้าใจ"
แล้วหลวงปู่ก็อธิบายต่อไปว่า
"ที่ว่าเข้าใจถูกนั้น ก็คือท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว สามารถตัดความยินดีในรสอาหารได้จริง
ที่ว่าผิดนั้นก็เพราะท่านมีความรู้สึกรับรู้ถึงรสอาหารได้เป็นอย่างดีผิดคนธรรมดาสามัญ ทั้งนี้เนื่องจากขันธ์ธาตุของท่านบริสุทธิ์หมดจดแล้ว สะอาดแล้วด้วยการชำระล้างแห่งธรรมอันยิ่ง ประสาทรับรู้รสอันประกอบด้วยเส้นตั้งพัน ตามที่ปรากฏในพระธรรมบทขุททกนิกายต่างก็ปฏิบัติหน้าที่รับรู้รสของตนได้อย่างอิสระเต็มที่เต็มทาง ตามความสามารถแห่งคุณสมบัติของตน จึงรู้รสชาติต่างๆ ได้อย่างชัดเจนละเอียดลออ ไม่ขาดไปแม้แต่รสเดียว และแต่ละรสมีรสชาติขนาดไหนก็รู้สึกได้ เสียแต่ว่าไม่มีคำพูดหรือภาษาที่บัญญัติไว้ให้พออธิบายได้เข้าใจเท่านั้นเอง ซึ่งด้วยภูมิธรรมของปุถุชนสามัญธรรมดา หากสามารถรับรู้รสชาติเห็นปานนั้นได้ น่าที่จะต้องเกิดคลั่งไคล้ใหลหลงอย่างแน่นอน ถ้าได้บริโภคอาหารที่สมบูรณ์ด้วยคุณค่าและรสชาติจริงๆ
ดังนั้นไม่ว่าอาหารนั้นจะได้รับการปรุงแต่งให้มีรสชาติมาก หรือรสชาติน้อยอย่างไร รสชาติบรรดาที่มีอยู่ในตัวอาหารนั้นๆ ท่านที่ปฏิบัติชอบแล้ว ก็สามารถรับรู้ได้จนครบถ้วนทุกรส แต่เมื่อรับรู้แล้วก็หมดกันเท่านั้น ไม่เกิดความยินดีพอใจสืบเนื่องต่อไป"
_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
kokorado
บัวใต้น้ำ
เข้าร่วม: 12 ก.ค. 2008
ตอบ: 104
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
ตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 5:25 am
เรื่องอาหารนี้มี่แง่คิดในสมัยพทธกาลแล้วว่า พระภิกษุได้โยมอุปัฏฐากผู้บรรลุอนาคามี ถวายอาหารที่ชอบเป็นสัปปายะ ถึงได้ปรรลุอรหัตผล
_________________
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th