Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
...อย่าสอนคุณธรรมลูกด้วยปาก...
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
นานาสาระ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2008, 4:22 pm
ในอดีตสังคมไทยมีความสงบและเรียบง่าย
ครอบครัวต่างอยู่ด้วยกันพร้อมหน้าปู่ย่าตายาย และลูกหลาน
สื่อทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์
ที่นำพาข่าวสาร ตลอดจนวัฒนธรรมจากต่างถิ่น
เข้ามาสู่ครอบครัวก็มีน้อย
ลูกหลานจะได้พบเห็นแบบอย่างการดำเนินชีวิต
เฉพาะจากวิถีปฏิบัติของผู้ใหญ่ที่อยู่ในครอบครัว
หรือในละแวกบ้านเป็นหลัก
ปัจจุบันครอบครัวไทยไม่ค่อยได้อยู่ด้วยกัน
อย่างพร้อมหน้าเหมือนเมื่อก่อน
สื่อทั้งหลายก็มีมากขึ้นจนจาระไนไม่ไหว
และต่างก็โหมกระหน่ำนำเสนอข่าวสารทุกอย่างเข้าสู่ครอบครัว
วันแล้ววันเล่าไมว่าจะเป็นรูปแบบดำเนินชีวิตของคน ทั้งดีและไม่ดี
วัฒนธรรมแปลกๆ จากแดนไกล
หรือการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า
ในที่สุดเราก็พบว่า ลูกหลานมีพฤติกรรมนอกลู่นอกทางมากขึ้น
ทำไมถึงเป็นเช่นนี้??... มันหมายความว่าพ่อแม่ทุกวันนี้
ไม่ได้อบรมบ่มนิสัยลูกกันแล้วอย่างนั้นหรือ?
โดยส่วนตัวผมมีความเห็นว่า ที่จริงแล้วพ่อแม่ทุกคนในวันนี้
ก็ยังอบรมบ่มนิสัยลูกกันอยู่ ไม่ได้แตกต่างจากคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ของเรา
หรอกนะครับ แต่ปัญหามันเกิดจากวิธีการที่เราใช้ต่างหาก
ที่มันเริ่มไม่ได้ผล
สังคมไทยอบรมลูกหลานด้วยวิธี “สั่ง” และ “สอนด้วยคำพูด”
มาตั้งแต่โบร่ำโบราณแล้ว และทุกวันนี้เราก็ยังคงใช้วิธีการนี้กันอยู่
แต่เราต้องไม่ลืมด้วยว่า ปัจจุบันสภาพสังคมได้เปลี่ยนไปแล้ว
เมื่อสังคมเปลี่ยนวิธีการที่เคยได้ใช้ก็เปลี่ยนไปด้วย
ความรู้ใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความเข้าใจว่า
การปลูกฝังนิสัยที่เหมาะสมให้กับลูกหลาน
หรือภาษาทางวิชาการเข้าใช้คำว่า
“กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม”
หรือ
“Socialization”
ด้วยการสั่งและสอนด้วยคำพูดเพียง
อย่างเดียวนั้นไมได้ผล เพราะพฤติกรรมทางสังคมและนิสัยใจคอของ
มนุษย์นั้นเป็นเรื่องของทักษะ ซึ่งการปลูกฝังทักษะจะต้องมีแบบอย่าง
ให้ผู้ถูกสอนเห็นและจะต้องมีแบบฝึกหัด ให้เขาได้ลงมือปฏิบัติฝึกฝน
หลายคนอาจตั้งคำถามว่าหากการ
“สั่ง”
และ
“สอนด้วยคำพูด”
ไม่ได้ผล
แล้วทำไมผู้ใหญ่อย่างเราๆ ซึ่งได้ผ่านกระบวนการแบบนี้มาแล้ว
ทั้งนั้น ยังสามารถเป็นคนดีของสังคม
และทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้อยู่
หากวิเคราะห์ตามทฤษฎีเซลล์กระจกเงา
ซึ่งเป็นการค้นพบใหม่ทางวิทยาศาสตร์ที่ผมเคยเล่าให้ฟัง
ใน “รักลูก” ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ผมคิดว่าที่เราเป็นคนดีได้เช่นทุกวันนี้
ไม่ใช่การ “สั่ง” และ “สอนด้วยคำพูด” ของพ่อแม่ของเราหรอกครับ
แต่เราดีได้เพราะ “แบบอย่างดีๆ”
ซึ่งพวกเราเห็นได้จากการปฏิบัติตัวของพ่อแม่และปู่ย่าตายายต่างหาก
เมื่อตอนเป็นเด็กเราอยู่กับพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย
และญาติพี่น้องเราได้เห็นการปฏิบัติของพวกท่านอยู่ทุกวัน
ยายให้เราช่วยหิ้วปิ่นโตไปวัด แม่ให้เราเอาแกงไปส่งป้าข้างบ้าน
เมื่อถึงเทศกาลญาติๆ ก็กลับมากราบญาติผู้ใหญ่ของเรา
หรือพ่อแม่ของเราก็พาไปกราบญาติผู้ใหญ่
เราได้เห็นได้ปฏิบัติสิ่งเหล่านี้วันแล้ววันเล่า
แบบอย่างอื่นๆ ที่ไม่ดีก็มีให้เราเห็นน้อย
เราไม่เคยเห็นนักการเมืองออกมาด่าทอปะทะคารมกัน
เราไม่เคยได้เห็นดาราออกมาให้สัมภาษณ์
ว่าเรื่องฟรีเซ็กซ์เป็นเสรีภาพส่วนบุคคล
เราไม่เคยต้องเผชิญกับการโฆษณาสินค้าแบบบ้าเลือด
โดยไม่คำนึงถึงศีลธรรมอย่าง เช่นทุกวันนี้
เราได้พบแต่แบบอย่างที่ดี โดยไม่มีแบบอย่างที่ไม่เหมาะสมมาเจือปน
อันนี้ต่างหากที่ทำให้เราเป็นคนดีได้
ไม่ใช่เพราะ “การสั่งสอน” ของพ่อแม่เรา
พ่อแม่หลายคนบอกว่า ทุกวันนี้ตนก็เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกอยู่แล้ว
แต่ทำไมลูกถึงยังออกนอกลู่นอกทาง?
ผมมีความเห็นในเรื่องนี้ 2 ประการครับ
ประการแรก
คือ น้ำหนักมันไม่พอ
จากรายงานการวิจัยของ “ศูนย์วิจัยรักลูกกรุ๊ป”
เราพบว่าพ่อแม่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลร้อยละ 40
ยังเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกอยู่
แต่ความถี่และน้ำหนักของมันสู้กับแบบอย่างที่ไม่ดีที่มีอยู่ในสังคม
และใน เรื่องรอบๆ ตัวเราไม่ได้
ลูกของเราได้สัมผัสกับพ่อแม่วันละไม่กี่ชั่วโมง
แต่สัมผัสกับโทรทัศน์หรือ อินเตอร์เน็ตวันละไม่น้อยกว่า 3-4 ชั่วโมง
เพราะฉะนั้นแม้เราจะเป็นแบบอย่างที่ดี แต่ก็ไม่มีความหมายอะไร
ประการที่สอง
ผมคิดว่าเราเผลอกันบ่อยครั้ง
บางเรื่องแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่เราไม่ได้ใส่ใจ ปล่อยเลยตามเลย
สุดท้ายลูกก็ซึมซับเอาสิ่งที่เราทำไปเป็นแบบอย่างของเขา
ยกตัวอย่างเช่นเวลาขับรถบางคนชอบสบถ
โดยลืมไปว่าลูกเราก็นั่งอยู่ด้วย
หรือไม่ยอมให้ทางรถคันอื่น เพราะเขามาแบบผิดกฎจราจร
แล้วเราเป็นฝ่ายถูก เราอาจจะบอกตนเองว่า
เราสอนให้ลูกเคารพกฎกติกา
แต่อย่าลืมนะครับลูกเราได้เห็นแบบอย่างของความไม่มีเมตตา
ไม่มีการให้อภัยของเราแล้ว
แล้วเราจะแก้ปัญหาอย่างไร
หากไม่สามารถปลูกฝังสิ่งที่สังคมต้องการให้ลูกของเราได้?
สังคมจะดำรงอยู่ได้ก็ด้วยการที่ทุกคนเคารพและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
ศีลธรรม คุณธรรม ประเพณี ตลอดจนบรรทัดฐานที่สังคมช่วยกันตั้งขึ้น
ผมอยากให้คุณพ่อคุณแม่ลองทำแบบนี้ดูครับ
1. บอกตนเอง
เตือนตนเองอยู่เสมอว่า
เด็กเลียนแบบทุกอย่างที่เราปฏิบัติ
อย่าเผลอทำแบบอย่างที่ไม่ดีให้ลูกเห็น แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ
2. จะสอนอะไรลูก
เราก็ต้องทำแบบนั้นเสมอ
อย่าสอนด้วยคำพูดเพราะมันไม่ได้ผล
3. กันลูกของเราออกจากแบบอย่างที่ไม่ดี
รายการโทรทัศน์ห่วยๆ เกมที่รุนแรง ภาพยนตร์ลามก
เอาออกให้ห่างจากลูกเรา
4. ให้ลูกได้ฝึกฝนทำในสิ่งที่ดีอยู่เสมอ
ต้องคอยให้กำลังใจเขาสนับสนุนเขา
เพราะมันจะทำให้เขาเข้าใจและเข้าถึงสิ่งที่เรียกว่าคุณธรรมได้ดีกว่า
ธรรมชาติของคุณธรรมจะเริ่มมาจากสิ่งง่ายๆ
แล้วพัฒนาไปสู่ความซับซ้อนขึ้นไปเรื่อยๆ
จากขั้นต้นก้าวไปสู่ขั้นยอมรับว่า มันคือ คุณค่าของชีวิต
แต่การที่จะช่วยให้มันเกิดขึ้นและพัฒนาต่อไปในตัวตนของมนุษย์นั้น
จำเป็นจะต้องใช้กระบวนการที่ถูกต้อง
จากประสบการณ์ในอดีตและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ
บอกเราว่า การสอนด้วยแบบอย่างคือสิ่งที่ได้ผลที่สุด
เลิกสอนกฎเกณฑ์และคุณธรรมลูกด้วยการพร่ำบ่นสั่งสอนได้แล้วครับ
หันมาใส่ใจกับการเป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูกอย่างจริงจังกันเสียทีนะครับ
ที่มา.. นิตยสารรักลูก ปีที่ 26 ฉบับที่ 302 มีนาคม 2551
http://www.elib-online.com/doctors51/child_child006.html
บัวหิมะ
บัวเงิน
เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
ตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 8:59 pm
เห็นด้วยอย่างยิ่ง ควรเป็นแบบอย่างที่ดี จะดีกว่า โมทนาสาธุค่ะ
_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
นานาสาระ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th