ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
28 ก.ค.2008, 9:14 pm |
  |
คุณกรัชกายคะ ขอสนทนาด้วยค่ะ จากการทำงานของขันธ์ 5 ที่คุณกรัชกายเขียนไว้น่ะค่ะ ที่คุณเมสได้นำมาโพส
...............................
กรัชกาย พิมพ์ว่า:
สัญญา ความจำ บันทึกเก็บไว้ สติดึงออกมาใช้
สัญญา ดี คือรู้จักกำหนดหมายให้ชัดเจน เป็นระเบียบสร้างขึ้นเป็นรูป
ร่างที่มีความหมาย และเชื่อมโยงกันดี (ซึ่งอาศัยความใส่ใจ และ
ความเข้าใจเป็นต้น อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี
สติ ดี คือ มีความสามารถในการระลึก
(ซึ่งอาศัยสัญญาดี และการหมั่นใช้สติ ตลอดจนสภาพจิตที่สงบ
ผ่องใส ตั้งมั่น เป็นต้น อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี
พูดอีกอย่างหนึ่งว่า จะเป็นการเห็น การได้ยิน ตามความหมายจำเพาะ
แง่จำเพาะอย่าง ที่เราใส่ให้แก่สิ่งนั้น ทั้งนี้สุดแต่สังขารที่เป็นปัจจัย
ให้วิญญาณนั้นเกิดขึ้น
ตัวอย่าง เช่น ในท้องทุ่งแห่งหนึ่ง เป็นที่โล่งกว้าง มีต้น
มะม่วงขึ้นอยู่ต้นเดียวเป็นต้นใหญ่มาก แต่มีผลอยู่เพียงไม่กี่ลูก และ
ใบห่าง แทบจะอาศัยร่มเงาไม่ได้
มีชาย 5 คน เดินทางมาถึงต้นมะม่วงนั้นในโอกาสต่างๆ กัน
-คนหนึ่งวิ่งหนีสัตว์ร้าย
-คนหนึ่งกำลังหิวมาก
-คนหนึ่งร้อนแดด กำลังต้องการร่มไม้
-คนหนึ่ง กำลังหาผักผลไม้ไปขาย
-คนหนึ่ง กำลังหาที่ผูกสัตว์เลี้ยงของตน เพราะจะแวะไปธุระในย่าน
ใกล้เคียง
คนทั้ง 5 นั้นมองเห็นต้นมะม่วงใหญ่ทุกคน แต่จะเป็นการเห็นในแง่และ
ขอบเขตความหมายต่างๆกัน วิญญาณ เกิดขึ้นแก่
ทุกคน แต่วิญญาณของแต่ละคนหาเหมือนกันไม่ เพราะแตกต่างกัน
ไปตามเจตน์จำนงของตนๆ ต่อต้นมะม่วง
ในเวลาเดียวกัน สัญญา คือ การกำหนดหมายของแต่ละคนก็จะ
ต่างๆ กันไปภายในขอบเขต
แห่งความหมายที่ตนเห็นในขณะนั้นด้วย
แม้เวทนาที่เกิดขึ้นก็ไม่เหมือนกัน เช่น
-คนที่วิ่งหนีสัตว์ร้าย เห็นต้นมะม่วงใหญ่แล้วดีใจ เพราะเห็น
เครื่องช่วยให้หนีรอดปลอดภัย
-คนที่หิวมาก ก็ดีใจ เพราะผลมะม่วงเพียง 3-4 ลูก ก็จะช่วยให้
ตนอิ่มพ้นอดตายได้
-คนที่ร้อนแดด อาจเสียใจ เพราะผิดหวังที่ไม้ใหญ่ไม่มีร่มให้อย่างที่
ควรจะเป็น
-คนหาผลไม้ไปขาย ก็อาจเสียใจ เพราะผิดหวังต่อจำนวนผลไม้ที่
น้อย
-ส่วนคนหาที่ผูกสัตว์เลี้ยง อาจจะรู้สึกสบายใจแต่เพียงเล็กน้อย
แค่โล่งใจว่าไม่ต้องจูงสัตว์ไปหรือไปหาที่ผูกที่อื่น
....................................................................
จากข้อความตรงนี้ค่ะ
สัญญา ความจำ บันทึกเก็บไว้ สติดึงออกมาใช้
สัญญา ดี คือรู้จักกำหนดหมายให้ชัดเจน เป็นระเบียบสร้างขึ้นเป็นรูป
ร่างที่มีความหมาย และเชื่อมโยงกันดี (ซึ่งอาศัยความใส่ใจ และ
ความเข้าใจเป็นต้น อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี
สติ ดี คือ มีความสามารถในการระลึก
(ซึ่งอาศัยสัญญาดี และการหมั่นใช้สติ ตลอดจนสภาพจิตที่สงบ
ผ่องใส ตั้งมั่น เป็นต้น อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี
พูดอีกอย่างหนึ่งว่า จะเป็นการเห็น การได้ยิน ตามความหมายจำเพาะ
แง่จำเพาะอย่าง ที่เราใส่ให้แก่สิ่งนั้น ทั้งนี้สุดแต่สังขารที่เป็นปัจจัย
ให้วิญญาณนั้นเกิดขึ้น
..........................................................
ผิดตั้งแต่ตรงเรื่องสติแล้วล่ะค่ะ ในการทำงานของขันธ์ 5 จะไม่มีสติเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะการที่เราสติดี การทำงานของขันธ์ 5 จะจบแค่ตาเห็นรูป คืออายตนะภายในภายนอกทำงานร่วมกัน จักขุวิญญาณเกิด ถ้าสติดี การทำงานที่เหลือจะสิ้นสุดแค่นี้คือ แค่ตาเห็นรูป สักแต่ว่าเห็นไม่มีการปรุงแต่ง อันนี้ว่ากันตามการปฏิบัติ แต่ถ้าว่าตามปริยัติ เวทนาทำงาน สัญญาทำงาน แต่สังขารไม่ทำงาน แต่ถ้าสติย้งด้อย การทำงานทุกตัวของขันธ์ 5 จะครบหมดทุกตัวค่ะ
และตรงนี้อีกค่ะ ที่คุณกรัชกายกล่าวว่า สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ อันนั้นมันอยู่ในสมุปฏิจจสมุปบาทค่ะ ถ้าขันธ์ 5 วิญญาณทำงานก่อนอันดับแรกค่ะ สังขารตัวปรุงแต่งทำงานอันดับสุดท้าย
................................................
แล้วก็ตรงนี้อีกค่ะ
คนทั้ง 5 นั้นมองเห็นต้นมะม่วงใหญ่ทุกคน แต่จะเป็นการเห็นในแง่และ
ขอบเขตความหมายต่างๆกัน วิญญาณ เกิดขึ้นแก่
ทุกคน แต่วิญญาณของแต่ละคนหาเหมือนกันไม่ เพราะแตกต่างกัน
ไปตามเจตน์จำนงของตนๆ ต่อต้นมะม่วง
---วิญญาณที่เกิดขึ้นก็คือจักขุวิญญาณ ตาเห็นเหมือนๆกัน วิญญาณย่อมเกิดที่ตา จะไปเกิดที่ตรงอื่นได้ยังไง คะ
แล้วก็ตรงนี้อีกค่ะ
ในเวลาเดียวกัน สัญญา คือ การกำหนดหมายของแต่ละคนก็จะ
ต่างๆ กันไปภายในขอบเขต
แห่งความหมายที่ตนเห็นในขณะนั้นด้วย
--- สัญญาก็คือความจำได้หมายรู้ ในเมื่อทุกคนต่างก็รู้จักว่านี่คือต้นมะม่วง ซึ่งก็บอกอยู่ว่าต้นมะม่วงแต่แรกแล้ว จะให้เขาไปเห็นเป็นสัญญาว่าเป็นอย่างอื่นได้ยังไงคะ |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 29 ก.ค.2008, 8:21 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
28 ก.ค.2008, 11:21 pm |
  |
ตามความคิดของผม ขันธ์ 5 คือ นาม-iรูป
รูป คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นแค่หุ่นยนต์ หรือดินเหนียวที่ถูกปั้นขึ้นมา
นาม คือ สังขารขันธ์ สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ล้วนอยู่ในตัววิญญาณธาตุ หรือเจตภูต
ทั้งสิ้น
ระบบประสาท ระบบสมองในรูป เป็นแค่แม่พิมพ์ พิมพ์วิธีการทำงานและกระบวนการทำงานต่างๆไปสู่
วิญญาณธาตุ หรือเจตภูต
--- สัญญาก็คือความจำได้หมายรู้ คือ วิญญาณขันธ์เป็นคนจำ ส่งต่อให้วิญญาณธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ
เป็นแค่ดินเหนียว จำอะไรไม่ได้
ชาวโลกที่ใช้สมองคิด ย่อมไม่มีทางเข้าใจเรื่องนี้ |
|
แก้ไขล่าสุดโดย พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เมื่อ 28 ก.ค.2008, 11:30 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
28 ก.ค.2008, 11:26 pm |
  |
คนที่ตกนรก เขาโดนไฟนรกเผา ถูกเฆี่ยนตี เขาเจ็บ เพราะว่าวิญญาณธาตุ หรือเจตภูต ได้
ไปสร้างขันธ์ 5 ขึ้นมาในปรโลกหรือโลกวิญญาณ รวมทั้งสร้างรูปใหม่ขึ้นมาด้วยแทนรูปที่เป็นธาตุดิน น้ำ ลม
ไฟ |
|
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
28 ก.ค.2008, 11:31 pm |
  |
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ค.2008, 7:52 am |
  |
คุณพลศักดิ์
ตามความคิดของผม ขันธ์ 5 คือ นาม-iรูป
รูป คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นแค่หุ่นยนต์ หรือดินเหนียวที่ถูกปั้นขึ้นมา
นาม คือ สังขารขันธ์ สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ล้วนอยู่ในตัววิญญาณธาตุ หรือเจตภูต
ทั้งสิ้น
ระบบประสาท ระบบสมองในรูป เป็นแค่แม่พิมพ์ พิมพ์วิธีการทำงานและกระบวนการทำงานต่างๆไปสู่
วิญญาณธาตุ หรือเจตภูต
--- สัญญาก็คือความจำได้หมายรู้ คือ วิญญาณขันธ์เป็นคนจำ ส่งต่อให้วิญญาณธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ
เป็นแค่ดินเหนียว จำอะไรไม่ได้
ชาวโลกที่ใช้สมองคิด ย่อมไม่มีทางเข้าใจเรื่องนี้
คนที่ตกนรก เขาโดนไฟนรกเผา ถูกเฆี่ยนตี เขาเจ็บ เพราะว่าวิญญาณธาตุ หรือเจตภูต ได้
ไปสร้างขันธ์ 5 ขึ้นมาในปรโลกหรือโลกวิญญาณ รวมทั้งสร้างรูปใหม่ขึ้นมาด้วยแทนรูปที่เป็นธาตุดิน น้ำ ลม
ไฟ
................................
เข้าใจค่ะในสิ่งที่คุณพลศักดิ์โพสมา รู้โดยที่ยังมีความคิดอยู่ มันแค่ปัญญาที่ดับทุกข์ได้ชั่วคราว แต่การที่รู้แจ้งออกมาจากจิต ( ปัญญาญาณ ) รู้แล้วมันจบ มันไม่ต้องมาสาธยาย เพราะทุกสรรพสิ่งมันมีแค่รูป นาม สมมติเท่านั้นเอง ดิฉันไม่ถนัดในการพูดหรือสาธยายแบบคุณหรอกค่ะ ตราบใดที่ยังมีเขา มีเรา มันมีเรื่องที่สนทนากันได้ตลอดค่ะ เหมือนที่คุณกล่าวว่า " ชาวโลกที่ใช้สมองคิด ย่อมไม่มีทางเข้าใจเรื่องนี้ " แล้วคุณพลศักดิ์ใช้อะไรคิดคะ คุณพลศักดิ์ไม่ใช่ชาวโลกหรือคะ ขออภัยที่ถาม คุณต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า ... ดิฉันคิดว่าคุณเข้าใจนะ เพียงแต่การพูดแบบนี้อาจจะเป็นรูปแบบของคุณ คุณต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า กุศลของแต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน รู้นั้นย่อมแตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา ถ้ารู้ตรงกันก็คงสนทนาไปแนวเดียวกัน เราต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ไม่ใช่ยึดมั่นถือมั่นในความคิดของตัวเองเพียงฝ่ายเดียว ดิฉันยินดีที่จะฟังข้อติติงคนอื่น ยินดีที่จะสนทนา ไม่คิดจะมาเพ่งโทษใคร กับคุณกรัชกายก็เคยสนทนากันมาก่อน บางทความที่ไม่ได้เรียนปริยัติมาอาจจะทำให้ข้อความนั้นๆทำให้คนบางคนตีความผิดไป ดิฉันก็จะเป็นฝ่ายขอโทษเอง ไม่เคยคิดจะไปโทษคนอื่น ข้อความบางข้อความที่ดิฉันแย้งไป เนื่องจากว่า ในความคิดดิฉันว่ามันไม่ใช่ เราก็มาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกัน ดิฉันเองก็ยังใช้สมองคิดอยู่ค่ะ แล้วอีกอย่างหนึ่ง กัลยาณมิตรที่ดิฉันสนทนาด้วยเป็นประจำ ท่านก็ยึดพระไตรปิฎกเป็นหลักค่ะก็เลยพลอยได้ศึกษาปริยัติจากท่านด้วย ท่านบอกว่า อะไรที่สนทนาแล้ว นอกเหนือพระไตรปิฎก อย่าไปสนใจ เพราะรู้จริงๆนั้นตรงในพระไตรปิฎกทุกอย่าง ถึงแม้ว่าคนๆนั้นจะไม่ได้ศึกษาปริยัติมาเลยก็ตาม ครูบาฯหลายๆท่านก็กล่าวไว้ว่า " ตู้พระไตรปิฎกไม่ต้องไปหาที่ไหน อยู่ในตัวเรานี่เอง " อ่านแล้วอาจจะขัดๆกับคนที่ยึดตำรา ต้องขออภัยด้วยค่ะ แล้วกรุณาอย่าติติงครูบาฯทั้งหลายที่ดิฉันได้นำข้อความของท่านมาโพส หากจะติติง ให้ว่ากล่าวดิฉันคนเดียวพอค่ะ ครูบาฯท่านไม่เกี่ยว |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ค.2008, 8:17 am |
  |
คุณกรัชกาย
สำหรับลิงค์แรกที่คุณนำมาให้อ่าน จากข้อความนี้ค่ะ
มัชเฌนธรรมเทศนา หมายถึงหลักปฏิจจสมุปบาท อันได้แก่กระบวนธรรมแห่งการเกิดขึ้น
พร้อมโดยอาศัยกันและกันของสิ่งทั้งหลาย
กระบวนธรรรมปฏิจจสมุปบาทที่ชี้แจงเรื่องความทุกข์ของมนุษย์
....................................
เท่าที่อ่านมาทั้งหมด แบบว่ามันยาวมากๆ แต่ข้อมมูลสรุปอยู่ตรงท้าย ดิฉันเห็นว่า ...
อันนี้เป็นเรื่องความทุกข์ที่เกิดจากปฏิจจสมุปบาท คือการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร
....................................................
จากข้อความที่คุณกรัชกายนำมาโพส เรื่องความหมายของแต่ละกองขันธ์ทั้ง 5
โดยวิธีแบ่งแบบขันธ์ 5 (The Five Aggregates)
พุทธธรรมแยกแยะชีวิต พร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมด
ที่บัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล
ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ 5 ประเภท หรือ 5 หมวด
เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์ คือ
1. รูป (Corporeality)
ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกายและพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย
หรือสสารและพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และ พฤติการณ์ ต่างๆ ของสสารพลังงาน
เหล่านั้น
2. เวทนา (Feeling หรือ Sensation)
ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือ เฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง 5 และทางใจ
3. สัญญา (Perception)
ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือ หมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ
อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ (object) นั้นๆ ได้
4.สังขาร (Mental Formations หรือ Volitional Activities)
ได้แก่ องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆของจิตมีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว
หรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกายวาจา
ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา
มุทิตา อุเบกขา มานะ ทิฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น (=สังขารเจตสิก 50)
เรียกรวมอย่างง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด
หรือเครื่องปรุงของกรรม
(กรรมในที่นี้ ได้แก่ เจตนาเจตสิก ที่พระพุทธเรียกว่า กรรม นั่นเอง)
5. วิญญาณ (Consciousness)
ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง 5 และ ทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน
การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ
(4 ข้อหลัง ซึ่งเป็นพวกนามขันธ์ หรือ นามธรรม ข้อ 1 เป็นรูปธรรม)
(ตามแนวอภิธรรมแบ่ง รูป 28 เจตสิก 52 จิต 89 หรือ 121 )
1. รูป มี 28 คือ
1) มหาภูตรูป 4 (เรียกง่ายๆว่า ธาตุ 4)
1. ปฐวีธาตุ
(สภาพที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่)
2. อาโปธาตุ
(สภาพที่ดึงดูดซาบซึม)
3. เตโชธาตุ...(สภาพที่แผ่ความร้อน)
4. วาโยธาตุ...(สภาพที่สั่นไหว)
2) อุปาทายรูป 24 คือ (รูปอาศัยหรือรูปที่สืบเนื่องมาจากมหาภูตรูป)
-ปสาทรูป มี 5 คือ
1. ตา
2. หู
3. จมูก
4. ลิ้น
5. กาย
(จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย)
-อารมณ์มี 4 คือ
1.รูป
2.เสียง
3.กลิ่น
4.รส
(รูปะ สัททะ คันธะ รสะ; (โผฏฐัพพะ ไม่นับเพราะตรงกับ ปฐวี เตโช และวาโย)
-ความเป็นหญิง (อิตถีภาวะ= อิตถินทรีย์ )
-ความเป็นชาย (ปุริสภาวะ = ปุริสินทรีย์)
-ที่ตั้งของจิต (หทัยวัตถุ)
-การแสดงให้รู้ความหมายด้วยกาย (กายวิญญัติ)
-การแสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจา (วจีวิญญัติ)
-ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต)
-ช่องว่าง (อวกาศ)
-ความเบาของรูป (รูปลหุตา)
-ความอ่อนหยุ่นของรูป (รูปมุทุตา)
-ภาวะที่ควรแก่การงานของรูป (รูปกัมมัญญตา)
-ความเจริญหรือขยายตัวของรูป (รูปอุปจยตา)
-การสืบต่อของรูป (รูปสันตติ)
-ความเสื่อมตัว (ชรตา)
-ความสลายตัว (อนิจจตา)
-และ อาหาร (หมายถึง โอชา)
-คำว่า หทัยวัตถุ แปลกันว่าหัวใจ และถือว่า เป็นที่ทำงานของจิตนั้น
เป็นมติในคัมภีร์รุ่นหลัง ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก
(ในรูป 28 นั้น แบ่งเป็น โอฬาริกรูป กับ สุขุมรูปอีก
สุขุมรูป มี 16 ได้แก่ อาโป อิตถีภาวะ ปุริสภาวะ หทัยวัตถุ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ
ชีวิตินทรีย์ อาหารรูป อากาศ
วิการรูป 3 คือ ลหุตา มุทุตา กัมมัญญตา และ ลักขณะรูป 4 อุปจยตา สันตติ ชรตา
อนิจจตา.
สุขุมรูป-เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบหรือถูกต้องไม่
ได้ อันนับเนื่องในธรรมายตนะ)
--------------------------------------------------------------------------------
2. เวทนา แบ่งเป็น 3 คือ
1. สุขเวทนา (สุขทางกายหรือทางใจ)
2. ทุกขเวทนา (ทุกข์ทางกายหรือทางใจ)
3. อทุกขมสุขเวทนา (ไม่ทุกข์ไม่สุข คือ เฉยๆ บางทีเรียกอุเบกขา)
อีกอย่างหนึ่ง
แบ่งเป็น 5 คือ
1. สุข (ทางกาย)
2. ทุกข์ (ทางกาย)
3. โสมนัส (ดีใจ)
4.โทมนัส (เสียใจ)
5.อุเบกขา (เฉยๆ)
แบ่งตามที่เกิดเป็น 6 คือ
-เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจักขุ
...ทางโสตะ
...ทางฆานะ
...ทางชิวหา
...ทางกาย
...ทางมโน
--------------------------------------------------------------------------------
3. สัญญา แบ่งเป็น 6 ตามทางแห่งการรับรู้ คือ
1. รูปะสัญญา ความหมายรู้รูป เช่นว่า ดำ แดง เขียว ขาว เป็นต้น
2. สัททะสัญญา ความหมายรู้เสียง เช่นว่า ดัง เบา ทุ้ม แหลม เป็นต้น
3. คันธะสัญญา ความหมายรู้กลิ่น เช่นว่า หอม เหม็น เป็นต้น
4. รสะสัญญา ความหมายรู้รส เช่นว่า หวาน เปรี้ยว ขม เค็ม เป็นต้น
5. โผฏฐัพพะสัญญา ความหมายรู้สัมผัสทางกาย เช่นว่า อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียด
ร้อน เย็น เป็นต้น
6. ธัมมะสัญญา ความหมายรู้อารมณ์ทางใจ เช่นว่า งาม น่าเกลียด เที่ยง ไม่เที่ยง เป็นต้น
--------------------------------------------------------------------------------
4. สังขาร ท่านแบ่งเป็นเจตสิก 52
ถ้าเทียบกับการแบ่งแบบขันธ์ 5 เจตสิกก็ได้แก่เวทนา สัญญา และสังขารทั้งหมด
บรรดาเจตสิก 52 นั้น
เวทนาเจตสิก จัดเป็นเวทนาขันธ์
สัญญาเจตสิก จัดเป็นสัญญาขันธ์
ที่เหลืออีก 50 เป็นสังขารขันธ์
-สังขาร 50 นั้นจัด ดังนี้
1) อัญญสมานาเจตสิก (เจตสิกที่เข้าได้ทั้งฝ่ายดีฝ่ายชั่ว)
มี 11 (เดิมมี 13 คือ เวทนา กับ สัญญา อยู่ในหมวดนี้)
(1) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง)
มี 5 คือ
1.ผัสสะ
2.เจตนา
3.เอกัคคตา
4.ชีวิตินทรีย์
5.มนสิการ
(จำนวนเดิมมี 7 คือ เวทนา กับ สัญญา อยู่ในกลุ่มนี้ )
(2) ปกิณณะกะเจตสิก (เกิดกับจิตได้ทั่วๆไป ทั้งฝ่ายดีฝ่ายชั่ว แต่ไม่ตายตัว)
มี 6
1.วิตก
2.วิจาร
3.อธิโมกข์ (ความปักใจ)
4.วิริยะ
5.ปีติ
6.ฉันทะ
--------------------------------------------------------------------------------
2) อกุศลเจตสิก (เจตสิกที่เป็นอกุศล)
มี 14 คือ
(1) อกุศลสาธารณเจตสิก (เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลทุกดวง)
มี 4 คือ
1. โมหะ
2. อหิริกะ
3. อโนตัปปะ
4. อุทธัจจะ
(2) ปกิณณกอกุศลเจตสิก (เกิดกับจิตที่เป็นอกุศล แต่ไม่ตายตัวทุกครั้ง)
มี 10 คือ
1.โลภะ
2.ทิฏฐิ
3.มานะ
4.โทสะ
5.อิสสา
6.มัจฉริยะ
7.กุกกุจจะ
8.ถีนะ
9.มิทธะ
10.วิจิกิจฉา
--------------------------------------------------------------------------------
3) โสภณเจตสิก (เจตสิกดีงาม คือ เกิดกับจิตที่เป็นกุศลและอัพยากฤต)
มี 25 คือ
(1) โสภณสาธารณเจตสิก (เกิดกับจิตที่ดีงามทุกดวง)
มี 19 คือ
1.ศรัทธา
2.สติ
3.หิริ
4.โอตตัปปะ
5.อโลภะ
6.อโทสะ (= เมตตา)
7.ตัตตรมัชฌัตตตา (ความมีใจเป็นกลางในสภาวะนั้น บางทีเรียกอุเบกขา)
8.กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งนามกายคือกองเจตสิก)
9.จิตตปัสสัทธิ
10.กายลหุตา (ความเบาแห่งนามกายคือกองเจตสิก)
11.จิตตลุหตา
12. กายมุทุตา (ความอ่อนแห่งนามกายคือกองเจตสิก)
13.จิตตมุทุตา
14.กายกัมมัญญตา (ความควรแก่การแห่งนามกายคือกองเจตสิก)
15.จิตตกัมมัญญตา
16.กายปาคญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งนามกายคือกองเจตสิก)
17.จิตตปาคุญญตา
18.กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งนามกายคือกองเจตสิก)
19.จิตตุชุกตา
(2) ปกิณณกโสภณเจตสิก (เกิดกับจิตฝ่ายดีงาม แต่ไม่ตายตัวทุกครั้ง)
มี 6 คือ
1.สัมมาวาจา
2..สัมมากัมมันตะ
3.สัมมาอาชีวะ
(เรียกว่า วิรตีเจตสิก 3)
4. กรุณา
5. มุทิตา
(เรียกว่า อัปปมัญญาเจตสิก 2)
6. ปัญญา
ในพระสูตร (เช่น สํ.ข.17/116/74)
ตามปกติ ท่านแสดงความหมายของสังขารว่า ได้แก่ เจตนา 6 หมวด คือ
-รูปะสัญเจตนา
-สัททะสัญเจตนา
-คันธะสัญเจตนา
-ระสะสัญเจตนา
-โผฐัพพะสัญเจตนา
-ธรรมะสัญเจตนา
แปลว่า เจตน์จำนง หรือ ความคิดปรุงแต่ง เกี่ยวกับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
และ ธรรมารมณ์
--------------------------------------------------------------------------------
5. วิญญาณ แบ่งตามทางที่เกิดเป็น 6 คือ
1.จักขุวิญญาณ
2.โสตะวิญญาณ
3.ฆานะวิญญาณ
4. ชิวหาวิญญาณ
5.กายวิญญาณ
6.มโนวิญญาณ
แปลตามแบบว่า
ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา
...ทางหู
...ทางจมูก
...ทางลิ้น
... ทางกาย
...ทางใจ
ตามแนวอภิธรรม
เรียก วิญญาณขันธ์ ทั้งหมดว่า จิต
และ
จำแนกจิตออกเป็น 89 หรือ 121 ดวง คือ
ก. จำแนกตามภูมิ หรือ ระดับของจิต
เป็น
-กามาวจรจิต 54
-รูปาวจรจิต 15
-อรูปาวจรจิต 12
-โลกุตรจิต 8 (แยก พิสดารเป็น 40)
ข.จำแนกโดยคุณสมบัติ เป็น
-อกุศลจิต 12
-กุศลจิต 21 (พิสดารเป็น 37)
-วิบากจิต 36 (พิสดารเป็น 52)
-กิริยาจิต 20 |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ค.2008, 8:34 am |
  |
หวัดดีครับพี่ๆ ผมอ่านแล้วงงงงง ครับ
ผมขอถามว่าการทำงานของขันธ์ 5 อะไรเริ่มทำงานก่อนครับ
วอนพี่ๆอธิบายสั้นๆพอเข้าใจได้ไหมครับ  |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ค.2008, 8:43 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
เท่าที่อ่านมาทั้งหมด แบบว่ามันยาวมากๆ แต่ข้อมูลสรุปอยู่ตรงท้าย ดิฉันเห็นว่า ...
อันนี้เป็นเรื่องความทุกข์ที่เกิดจากปฏิจจสมุปบาท คือการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร
walaiporn: 29 กรกฎาคม 2008, 8:17 am |
อันนี้เป็นเรื่องความทุกข์ที่เกิดจากปฏิจจสมุปบาท คือ การเวียนว่ายตาย
เกิดในวัฏสงสาร
ด้วยความเกรงใจจริงๆนะครับ
คุณวไลภรณ์ควรศึกษาปฏิจจสมุปบาทใหม่นะครับ
หากมีเวลาอีกบ้างก็ศึกษาพระอภิธรรมอย่างน้อยๆ สัก 3 ชั้นๆ
จูฬ-ตรี-โท-เอก
แนะนำเท่านี้ก่อนนะครับ  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ค.2008, 8:51 am |
  |
มีอีกค่ะ ต้องนำมาให้หมด
ตามแนวอภิธรรมนิยมแบ่งเป็น 3 คือ จิต เจตสิก และรูป
ถ้าเทียบกับขันธ์ 5
จิต=วิญญาณ
เจตสิก= เวทนา สัญญา และ สังขารขันธ์
รูป = รูปขันธ์)
การเกิดขึ้นของนามขันธ์ทั้ง 4 เหล่านั้น ตามปกติจะดำเนินไปตามกระบวนธรรม ดังนี้
เพราะผัสสะ (ตา หู ฯลฯ + รูป เสียง ฯลฯ + วิญญาณ) เป็นปัจจัย
การเสวยอารมณ์ (เวทนา) จึงมี บุคคลเสวยอารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น
(สัญญา)
หมายรู้อารมณ์ใด ย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น (สังขาร)...
(ม.ม.12/248/225)
...........................................................................
คุณกรัชกาย ดูที่ข้อความสุดท้ายค่ะ สรุปการทำงานของขันธ์ 5
เพราะผัสสะ (ตา หู ฯลฯ + รูป เสียง ฯลฯ + วิญญาณ) เป็นปัจจัย
การเสวยอารมณ์ (เวทนา) จึงมี บุคคลเสวยอารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น
(สัญญา)
หมายรู้อารมณ์ใด ย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น (สังขาร)...
(ม.ม.12/
ตรงอื่นๆ เพียงนำมาให้อ่าน เพื่อขยายความหมายของกองขันธ์แต่ละตัวว่าหมายถึงอะไรบ้าง
เรามาสนทนาทีละข้อความดีกว่าค่ะ จากที่คุณกรัชกายได้โพสไว้ว่า
คนทั้ง 5 นั้นมองเห็นต้นมะม่วงใหญ่ทุกคน แต่จะเป็นการเห็นในแง่และ
ขอบเขตความหมายต่างๆกัน วิญญาณ เกิดขึ้นแก่
ทุกคน แต่วิญญาณของแต่ละคนหาเหมือนกันไม่ เพราะแตกต่างกัน
ไปตามเจตน์จำนงของตนๆ ต่อต้นมะม่วง
--- ตกลงเห็นมะม่วง การทำงานขั้นแรกคือ ตาเห็นรูป ( ตาเห็นต้นมะม่วง ) เกิดผัสสะ อ้างอิงจากข้อความตรงนี้ เพราะผัสสะ (ตา หู ฯลฯ + รูป เสียง ฯลฯ + วิญญาณ ถูกต้องไหมคะ ตาเห็นรูป เกิดผัสสะวิญญาณทำงานตัวแรก ( จักขุวิญญาณ ) ถูกไหมคะ
--- แล้วจากข้อความที่คุณกล่าวว่า
ขอบเขตความหมายต่างๆกัน วิญญาณ เกิดขึ้นแก่
ทุกคน แต่วิญญาณของแต่ละคนหาเหมือนกันไม่ เพราะแตกต่างกัน
ไปตามเจตน์จำนงของตนๆ ต่อต้นมะม่วง
--- งงน่ะค่ะตรงนี้ ที่ว่าวิญญาณเกิดขึ้นแก่ทุกคนหาเหมือนกันไม่ ใช้ตาดูไม่ใช่หรือคะ ไม่เมื่อตาเห็นรูป จักขุวิญญาณเกิด ไม่ใช่หรือคะ
วันนี้แค่นี้ก่อนค่ะ ขอทีละกองขันธ์ค่ะ |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ค.2008, 8:52 am |
  |
ฌาณ พิมพ์ว่า: |
หวัดดีครับพี่ๆ ผมอ่านแล้วงงงงง ครับ
ผมขอถามว่าการทำงานของขันธ์ 5 อะไรเริ่มทำงานก่อนครับ
วอนพี่ๆอธิบายสั้นๆพอเข้าใจได้ไหมครับ  |
คุณฌานครับ ขอบคุณที่ติดตามอ่านนะครับ
หากต้องการรู้เรื่องขันธ์ 5 เห็นควรเข้าไปศึกษาตามสำนัก
เรียนปริยัติธรรมที่เปิดสอนให้เป็นกิจลักษณะเถอะครับ
เรื่องยาวๆนำมาพูดสั้นๆ ก็ตีความกันไปตามทิฏฐิอีก แต่เมื่อได้เข้า
ศึกษาอย่างเป็นระบบแล้วการปรับทิฏฐิก็ง่ายขึ้น  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ค.2008, 9:05 am |
  |
ขออภัยค่ะ เปิดหลายหน้า เลยจำผิดค่ะ อีกอย่างเครื่องของดิฉันมีปัญหาอยู่ ตรงหัวข้อของหน้าเว็บด้านบน ของดิฉันมันไม่โชว์ ขออภัยด้วยค่ะ นี่ก๊อปมาจากลิงค์ที่คุณนำมาให้อ่าน เข้าลิงค์ที่ 2 แล้วเข้าอีกลิงค์ที่คุณให้มาอ่าน http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=57093#57093 จากลิงค์นี้ค่ะ มีข้อความดังนี้
มัชเฌนธรรมเทศนา หมายถึงหลักปฏิจจสมุปบาท อันได้แก่กระบวนธรรมแห่งการเกิดขึ้น
พร้อมโดยอาศัยกันและกันของสิ่งทั้งหลาย
กระบวนธรรรมปฏิจจสมุปบาทที่ชี้แจงเรื่องความทุกข์ของมนุษย์
ตรงนี้แหละค่ะ ที่ดิฉันได้เข้าไปอ่านมา แล้วก็สรุปว่าดังนี้ที่โพสไป "เท่าที่อ่านมาทั้งหมด แบบว่ามันยาวมากๆ แต่ข้อมมูลสรุปอยู่ตรงท้าย ดิฉันเห็นว่า ...
อันนี้เป็นเรื่องความทุกข์ที่เกิดจากปฏิจจสมุปบาท คือการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร "
-- แล้วก็เป็นบังเอิญที่คุณก็กำลังอยู่ในเว็บบอร์ดเช่นกัน เลยเจอข้อความที่คุณโพสตอบมา |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ค.2008, 9:10 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
ฯลฯ
--- งงน่ะค่ะตรงนี้ ที่ว่าวิญญาณเกิดขึ้นแก่ทุกคนหาเหมือนกันไม่ ใช้ตาดูไม่ใช่หรือ
คะ ไม่เมื่อตาเห็นรูป จักขุวิญญาณเกิด ไม่ใช่หรือคะ
วันนี้แค่นี้ก่อนค่ะ ขอทีละกองขันธ์ค่ะ
walaiporn:: 29 กรกฎาคม 2008, 8:51 am |
คุณวไลภรณ์ครับ ตาดูถูกแล้ว จักขุวิญญาณเกิดถูกต้อง
ถามว่า แล้วเค้าเหล่านั้น มีเจตนาต่อสิ่งนั้นเหมือนกันไหมเล่า
ยกตัวอย่าง เช่น เราสามคน คือ ตัวคุณเอง กรัชกาย คุณพล
ศักดิ์ มองดูอักษรนี้ =>
ความคิดของผม ขันธ์ 5 คือ นาม-iรูป
รูป คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นแค่หุ่นยนต์ หรือดินเหนียวที่ถูกปั้นขึ้นมา
นาม คือ สังขารขันธ์ สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ล้วนอยู่ในตัววิญญาณธาตุ หรือเจตภูต
ทั้งสิ้น
ระบบประสาท ระบบสมองในรูป เป็นแค่แม่พิมพ์ พิมพ์วิธีการทำงานและกระบวนการทำงานต่างๆไปสู่
วิญญาณธาตุ หรือเจตภูต
--- สัญญาก็คือความจำได้หมายรู้ คือ วิญญาณขันธ์เป็นคนจำ ส่งต่อให้วิญญาณธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ
เป็นแค่ดินเหนียว จำอะไรไม่ได้
ชาวโลกที่ใช้สมองคิด ย่อมไม่มีทางเข้าใจเรื่องนี้
ฉันใดก็ฉันนั้น |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ค.2008, 9:51 am |
  |
คุณกรัชกายคะ
คุณวไลภรณ์ครับ ตาดูถูกแล้ว จักขุวิญญาณเกิดถูกต้อง
ถามว่า แล้วเค้าเหล่านั้น มีเจตนาต่อสิ่งนั้นเหมือนกันไหมเล่า
--- ที่เหลือมันเป็นการทำงานของกอง เวทนา สัญญา สังขารค่ะ สังขารเป็นตัวปรุงแต่งตัวสุดท้ายค่ะ
คุณเล่นสรุปรวบยอดเอาสังขารมาพูดทีเดียวจบ เอาเป็นว่าดิฉันเข้าใจละว่า ทำไมคุณถึงโพสข้อความลักษณะเช่นนั้น
แล้วจากตรงนี้ที่คุณถามมา
ยกตัวอย่าง เช่น เราสามคน คือ ตัวคุณเอง กรัชกาย คุณพล
ศักดิ์ มองดูอักษรนี้ =>
ความคิดของผม ขันธ์ 5 คือ นาม-iรูป
รูป คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นแค่หุ่นยนต์ หรือดินเหนียวที่ถูกปั้นขึ้นมา
นาม คือ สังขารขันธ์ สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ล้วนอยู่ในตัววิญญาณธาตุ หรือเจตภูต
ทั้งสิ้น
ระบบประสาท ระบบสมองในรูป เป็นแค่แม่พิมพ์ พิมพ์วิธีการทำงานและกระบวนการทำงานต่างๆไปสู่
วิญญาณธาตุ หรือเจตภูต
--- สัญญาก็คือความจำได้หมายรู้ คือ วิญญาณขันธ์เป็นคนจำ ส่งต่อให้วิญญาณธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ
เป็นแค่ดินเหนียว จำอะไรไม่ได้
ชาวโลกที่ใช้สมองคิด ย่อมไม่มีทางเข้าใจเรื่องนี้
ฉันใดก็ฉันนั้น
--- อันนี้ คุณพลศักดิ์ พูดถูกนะคะ เพราะพอปฏิบัติถึงจุดๆหนึ่งทุกคนจะรู้เหมือนๆกันค่ะ ถึงไม่ได้เรียนปริยัติมาก็จะรู้เหมือนที่คุณพลศักดิ์กล่าวมาค่ะ
เพียงแต่ข้อความตรงนี้
"ชาวโลกที่ใช้สมองคิด ย่อมไม่มีทางเข้าใจเรื่องนี้ "
คุณพลศักดิ์ อาจจะมีการแบ่งเขา แบ่งเราอยู่ เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ หรืออาจจะเป็นสไตล์การพูดของคุณพลศักดิ์ก็ได้ค่ะ ดิฉันถึงได้แซวคุณพลศักดิ์ไปว่า เขาไม่ใช่ชาวโลกหรือคะ แบบไม่ได้คิดเพ่งโทษค่ะ ล้อเขาเล่น เพราะเข้าใจในสิ่งที่เขาโพสค่ะ
แล้วในมุมมองของคุณกรัชกายล่ะคะ มองดูตัวอักษร แล้วคิดอย่างไร เมื่ออ่านจบแล้ว |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ค.2008, 10:17 am |
  |
คุณ"walaiporn" ครับ
เข้าใจค่ะในสิ่งที่คุณพลศักดิ์โพสมา รู้โดยที่ยังมีความคิดอยู่ มันแค่ปัญญาที่ดับทุกข์ได้ชั่วคราว แต่การที่รู้แจ้งออกมาจากจิต ( ปัญญาญาณ ) รู้แล้วมันจบ มันไม่ต้องมาสาธยาย เพราะทุกสรรพสิ่งมันมีแค่รูป นาม สมมติเท่านั้นเอง ดิฉันไม่ถนัดในการพูดหรือสาธยายแบบคุณหรอกค่ะ ตราบใดที่ยังมีเขา มีเรา มันมีเรื่องที่สนทนากันได้ตลอดค่ะ เหมือนที่คุณกล่าวว่า " ชาวโลกที่ใช้สมองคิด ย่อมไม่มีทางเข้าใจเรื่องนี้ " แล้วคุณพลศักดิ์ใช้อะไรคิดคะ คุณพลศักดิ์ไม่ใช่ชาวโลกหรือคะ ขออภัยที่ถาม
ผมเป็นชาวพุทธที่ปฏิบัติจนเข้าถึงความเป็นพุทธะ เมื่อสมมุติสงฆ์และปถุชนพุทธเถรวาทสอนผิด
และเผยแผ่คำสอนผิดๆสืบกันต่อมาเรื่อยๆ ผมเลยต้องออกมาพูดความจริง มันก็เท่านั้นแหละครับ
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ไม่ใช้สมองคิด แต่ใช้สมองเป็นเครื่องมือประกอบในการหาความรู้
เท่านั้น การหยุดคิดฟุ้งซ่าน จิตนิ่งอยู่จุดเดียวต่างหากเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าเพียรสอน |
|
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ค.2008, 11:58 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
ที่เหลือมันเป็นการทำงานของกอง เวทนา สัญญา สังขารค่ะ สังขารเป็นตัวปรุงแต่งตัวสุดท้ายค่ะ
คุณเล่นสรุปรวบยอดเอาสังขารมาพูดทีเดียวจบ เอาเป็นว่าดิฉันเข้าใจละว่า ทำไมคุณถึงโพสข้อความลักษณะเช่นนั้น
walaiporn: 29 กรกฎาคม 2008, 9:51 am |
สังขารมีเท่าไหร่ อะไรบ้างครับ คุณวไลภรณ์ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ค.2008, 12:00 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
แล้วในมุมมองของคุณกรัชกายล่ะคะ มองดูตัวอักษร แล้วคิดอย่างไร เมื่ออ่านจบแล้ว
walaiporn: 29 กรกฎาคม 2008, 9:51 am |
คุณกรัชกายล่ะคะ มองดูตัวอักษร แล้วคิดอย่างไร เมื่ออ่านจบแล้ว
ที่ถามว่า
...อ่านจบแล้ว คิดอย่างไร ....คิดว่า => กมฺมุนา วตฺตตี โลโก.
ครับ  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ค.2008, 12:43 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
หากมีเวลาอีกบ้างก็ศึกษาพระอภิธรรมอย่างน้อยๆ สัก 3 ชั้นๆ
จูฬ-ตรี-โท-เอก |
อาจารย์ครับหลักสูตรนั้นใช้เวลากี่ปีครับ แนะนำที่ไหนครับ
อ้างอิงจาก: |
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ไม่ใช้สมองคิด แต่ใช้สมองเป็นเครื่องมือประกอบในการหาความรู้
เท่านั้น การหยุดคิดฟุ้งซ่าน จิตนิ่งอยู่จุดเดียวต่างหากเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าเพียรสอน
|
สาธุครับอาจารย์พลศักดิ์ ชอบคำนี้จริงๆครับ
งั้นผมไม่ต้องไปเรียนอภิธรรมก็ได้ใช่ไหมครับ |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ค.2008, 2:42 pm |
  |
คุณ"ฌาณ" ครับ
อ้างอิงจาก: |
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ไม่ใช้สมองคิด แต่ใช้สมองเป็นเครื่องมือประกอบในการหาความรู้
เท่านั้น การหยุดคิดฟุ้งซ่าน จิตนิ่งอยู่จุดเดียวต่างหากเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าเพียรสอน
|
สาธุครับอาจารย์พลศักดิ์ ชอบคำนี้จริงๆครับ
งั้นผมไม่ต้องไปเรียนอภิธรรมก็ได้ใช่ไหมครับ
ตอบ
การเรียนปริยัติ เป็นการเรียนภาคทฤษฎี เพื่อจะนำเอาไปปฏิบัติเท่านั้น ผมขอนำคำเทศน์ของครูบาอาจารย์ 2 ท่านมาเตือนสติให้คุณและทกท่านเร่งปฏิบัติ
1. พระธรรมเทศนา..สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี
ในตำราทั้งหลาย องค์สมณโคดมไม่เคยสอนให้ยึดคำสอนของพระองค์เป็นสรณะ แต่ต้องการให้
ท่านปฏิบัติ จนถึงสภาพแห่งการ"รู้" อันบริสุทธิ์ของพุทธะเป็นสรณะ เพื่อเป็นเรือเป็นการช่วยตัวเอง ให้
พ้นจากกฎแห่งวัฏฏะของทะเลซึ่งมีแต่คลื่นของความบ้าคลั่ง ในกามตัณหา
เพราะฉะนั้น การอ่านพระไตรปิฏก จึงอย่าอ่านเพียงเพื่อคุย ถ้าถามความจริง ขององค์สมณโคดมแล้ว
องค์สมณโคดมจะบอกว่า
"ท่านจงวางหมดทุกตำรา ท่านจงมาค้นจิตในจิต ท่านจงมาค้นกายในกาย เมื่อนั้นท่านจะรู้ว่า
วิญญาณอยู่อย่างไร "
ในแนวแห่งพระสูตรดังกล่าวนั้น อรรถกถาจารย์ ฎีกาจารย์ ในกาลต่อมา ไม่เข้าซึ้งถึง
เรื่องวิญญาณ ไม่เข้าซึ้งถึงเรื่องกรรม จึงเขียนออกมาเช่นนั้นตามหลักแห่งสัจธรรมแล้ว
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เชื่อ ตามหลักแห่งการปฏิบัติจิตเป็นสรณะ ให้ขัดเกลาอกุศลกรรม
ออกจากกาย นี่คือหลักความจริง ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการ
พระไตรปิฏกเพียงแต่เป็นพื้นฐาน ให้อ่านแผนผัง ถ้าท่านยึดท่านก็ยังไม่ถึงธรรม
2. พระธรรมเทศนา..หลวงพ่อชา สุภัทโท
เราควรอ่านตำรับตำรามากๆ หรือศึกษาพระไตรปิฎกด้วยหรือไม่ในการฝึกปฏิบัติ
หลวงพ่อชา ตอบ:
พระธรรมของพระพุทธเจ้านั้นไม่อาจค้นพบได้ด้วยตำราต่างๆ ถ้าท่านต้องการจะรู้เห็นจริง
ด้วยตัวของท่านเองว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไรท่านไม่จำเป็นต้องวุ่นวายกับตำรับตำราเลย
จงเฝ้าดูจิตของท่านเองพิจารณาให้รู้เห็นว่าความรู้สึกต่างๆ (เวทนา) เกิดขึ้นและดับไปอย่างไร
ความนึกคิดเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร อย่าได้ผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลย จงมีสติอยู่เสมอเมื่อมีอะไรๆ
เกิดขึ้นให้ได้รู้ได้เห็นนี่คือทางที่จะบรรลุถึงสัจธรรมของพระพุทธองค์
จงเป็นปกติธรรมดา ตามธรรมชาติทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่าน ทำขณะอยู่ที่นี่เป็นโอกาสแห่งการฝึกปฏิบัติเป็น
ธรรมะทั้งหมดเมื่อท่านทำวัตรสวดมนตร์อยู่ พยายามให้มีสติถ้าท่านกำลังเทกระโถนหรือล้างส้วมอยู่
อย่าคิดว่าท่านกำลังทำบุญทำคุณให้กับผู้หนึ่งผู้ใด มีธรรมะ อยู่ในการเทกระโถนนั้นอย่ารู้สึกว่า
ท่านกำลังฝึกปฏิบัติอยู่ เฉพาะเวลานั่งขัดสมาธิเท่านั้น พวกท่านบางคนบ่นว่า ไม่มีเวลาพอที่จะทำ
สมาธิภาวนา แล้วเวลาหายใจเล่ามีเพียงพอไหมการทำสมาธิภาวนา ของท่านคือ การมีสติระลึกรู้
และการรักษาจิตให้เป็นปกติ ตามธรรมชาติในการกระทำทุกอิริยาบถ |
|
|
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ค.2008, 2:51 pm |
  |
อ้างอิงจาก:
คุณกรัชกายล่ะคะ มองดูตัวอักษร แล้วคิดอย่างไร เมื่ออ่านจบแล้ว
ที่ถามว่า
...อ่านจบแล้ว คิดอย่างไร ....คิดว่า => กมฺมุนา วตฺตตี โลโก.
ครับ
..............................................
อ่านที่คุณกรัชกายโพสมาแล้ว รู้สึกขำๆค่ะ ( เสียดายไม่มีอีโมแสดงท่าทางหัวเราะแบบขำๆ มีแต่รูปหัวเราะแบบน่ารัก )
แต่ยังไงข้อความที่คุณพลศักดิ์ตอบมานั้น --- อันนี้ คุณพลศักดิ์ พูดถูกนะคะ เพราะพอปฏิบัติถึงจุดๆหนึ่งทุกคนจะรู้เหมือนๆกันค่ะ ถึงไม่ได้เรียนปริยัติมาก็จะรู้เหมือนที่คุณพลศักดิ์กล่าวมาค่ะ
ส่วนข้อความตรงนี้ ที่เขาโพสว่า " ชาวโลกที่ใช้สมองคิด ย่อมไม่มีทางเข้าใจเรื่องนี้ " มันเป็นคำพูดที่แรงเกินไปค่ะ แต่อย่างว่า ตัวใครตัวมันค่ะ ไม่คิดจะมีวิบากร่วมกับใครค่ะ
กมฺมุนา วตฺตตี โลโก.
ส่วนใครจะเชื่อใคร ดิฉันมองแค่ว่า ทุกอย่างที่ทำให้เป็นเช่นนี้ ย่อมมีเหตุมาก่อน เขาเคยสร้างเหตุร่วมกันมา
แล้วก็เพียงจะบอกว่า ส่วนดีที่เขามี ( ในความคิดของตัวเราเอง ) จงมองส่วนดีของเขา ส่วนที่เรามองว่าเขาไม่ดี ( ก็ความคิดอีกน่ะแหละ ) เขาอาจจะดูดีในสายตามุมมองของคนอื่น ค่ะ เท่านี้แหละค่ะ ไม่มีอะไรแล้ว |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ค.2008, 3:10 pm |
  |
คุณ"walaiporn"ครับ
ข้อความของคุณ
ส่วนข้อความตรงนี้ ที่เขาโพสว่า " ชาวโลกที่ใช้สมองคิด ย่อมไม่มีทางเข้าใจเรื่องนี้ " มันเป็นคำพูดที่แรงเกินไปค่ะ
ถ้าชาวโลกที่ใช้สมองคิด สามารถทางเข้าใจเรื่องสัจธรรมของธรรมชาติได้ ป่านนี้โลกเราก็มี
พระพุทธเจ้าหลายองค์แล้ว พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ท่านหยุดการใช้สมองคิดปรุงแต่งครับ ท่านจึงรู้
พระพุทธเจ้าพูดความจริง คุณว่าแรงไหมล่ะ ท่านล้มความคิดความเชื่อของศาสนาพราหมณ์เลยนะครับ
แม้แต่คำสอนของอาจารย์ทั้ง 2 ของท่าน ท่านยังบอกว่าผิด ไม่ใช่โมกขธรรม ถ้าคนใจคับแคบ ไม่ต้องการ
การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความรู้จริง มองโลกในแง่ร้าย ย่อมบอกว่าพระพุทธเจ้าเป็นศิษย์เนรคุณครู |
|
|
|
  |
 |
|