Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
พระประทีปแห่งเมตตา
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ทัพหลวง
บัวเริ่มพ้นน้ำ
เข้าร่วม: 28 มิ.ย. 2008
ตอบ: 161
ตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 9:27 am
นะโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
พระสิทธัตถกุมาร
วันหนึ่งในฤดูร้อน พญาหงส์สีขาวสะอาดตัวหนึ่ง บินนำฝูงผ่านพระอุทยาน ของพระเจ้ากรุง กบิลพัสดุ์ บ่ายหน้า ไปทางทิศเหนือสู่ถิ่นพำนัก ณ ยอดเขาหิมาลัยโพ้น ความขาวของฝูงหงส์ ซึ่งทาบ อยู่บนท้องฟ้าสีคราม ดูประหนึ่งทาง ช้างเผือก ยังความนิยมยินดีให้แก่ผู้ที่ได้พบเห็นยิ่งนัก แต่ สำหรับพระเทวทัตกุมารมิได้เป็นเช่นนั้น น้ำพระทัยของเจ้า ชายองค์น้อยนี้ เป็นพาลเหี้ยมโหดมุ่งแต่ จะทำลายเป็นที่ตั้ง พอทอดพระเนตรเห็นฝูงหงส์ เธอก็ทรงยกลูกศรขึ้นพาด สาย น้าวคันธนูจนเต็ม แรงยิงออกไปทันที ลูกศรนั้นวิ่งขึ้นไปถูกพญาหงส์สีขาว ซึ่งกำลังบินร่อนร่าเริงใจอยู่บนอากาศ ถลา ตกลงสู่เบื้องล่างทันที
ขณะนั้นพระสิทธัตถกุมาร พระโอรสแห่งพระเจ้ากรุงกบิลพัสดุ์ กำลังทรงสำราญอยู่ในพระ อุทยานนั้นด้วย ทรง ทอดพระเนตรเห็นพญาหงส์ ร่วงตกลงมาในเขตพระอุทยาน พระองค์จึงละเสีย จากการเล่นโดยสิ้นเชิง แล้วรีบเสด็จ ออกไปค้นหา ในที่สุดก็พบนกที่น่าสงสารนั้นกำลังดิ้นรน กระเสือกกระสนด้วยความเจ็บปวดอยู่บนพื้น โดยที่ปีกข้าง หนึ่งของมัน มีลูกศรเสียบทะลุคาอยู่ เจ้า ชายองค์น้อยบังเกิดความเวทนายิ่งนัก ทรงอุ้มหงส์นั้นขึ้นจากพื้น ประคอง กอดแต่เบาๆ มิให้วิหค เคราะห์ร้ายตื่นตกใจ ทรงชักลูกศรที่เสียบอยู่บนปีกนั้นออกเสีย แล้วทรงนำใบไม้ที่มีรสเย็น มา ปิด บาดแผลเพื่อให้โลหิตหยุดไหล เจ้าชายน้อยทรงรำพึงถึงความทุกข์ ของพญาหงส์ อันมีกายปรากฏ เป็นบาดแผล ใหญ่แล้ว ก็ทรงทอดถอนพระหฤทัย
พระกุมารนั้นแม้จะมีพระชนมายุเพียง ๘ พระชันษา ยังทรงพระเยาว์นัก ชอบที่จะแสวงสุข อย่างเด็กอื่นๆ แต่พระ องค์กลับคิดใคร่ครวญ ถึงความเจ็บปวดของพญาหงส์ อันความทุกข์สำแดง อยู่ในเวลานั้น จึงทรงปลอบนกด้วยพระ วาจาอ่อนหวาน และอุ้มกอดมันไว้กับทรวงอก ให้อบอุ่น ทั้ง ลูบขนปลอบโยนให้คลายความหวาดกลัว
เมื่อพระเทวทัต ผู้เป็นพระญาติเรียงพี่เรียงน้อง ของพระสิทธัตถกุมาร เสด็จมาพบเข้าก็ทวงคืน ทรงพยายามจะ แย่งนกนั้นไปเสียให้ได้ โดยอ้างว่า ตนเป็นเจ้าของนกตัวนั้น เพราะเป็นผู้ยิงมันตกลง มาได้ พระสิทธัตถกุมารทรง ปฏิเสธ ที่จะมอบนกให้โดยตรัสว่า "ถ้านกตายมันจึงจะเป็นของผู้ยิง แต่ เมื่อมันยังมีชีวิตอยู่ ควรจะเป็นของผู้ที่ให้ ความช่วยเหลือมัน เรามิเคยมีใจที่จะมอบนกตัวนี้ ให้กับ ใครทั้งสิ้นตราบใดที่มันยังคงบาดเจ็บอยู่"
ต่างฝ่ายก็ไม่ยินยอมต่อกัน ในที่สุดเจ้าชายสิทธัตถะจึงเสนอขึ้นว่า "ข้อพิพาทนี้ ควรจักต้องนำ ไปให้ บรรดานัก ปราชญ์ของแผ่นดิน พิพากษาตัดสินชี้ขาดในที่ประชุม" เจ้าชายเทวทัตก็เห็นด้วย
ณ ที่ประชุมนักปราชญ์แห่งนครกบิลพัสดุ์ ในวันนั้นได้ยกกรณีพิพาท เรื่องหงส์ตัวนี้ขึ้นมา พิจารณา มีการถกเถียง กันเป็นอย่างมาก ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า พระเทวทัตควรเป็นเจ้าของนก เพราะเป็น ผู้ยิงมันตกลงมาได้ อีกฝ่ายหนึ่ง มีความ เห็นว่า นกควรเป็นของเจ้าชายสิทธัตถะ เพราะเป็นผู้พบมัน ก่อน และได้ช่วยชีวิตมันเอาไว้ เมื่อมีผู้แสดงความคิดเห็น แตกแยกขัดแย้งกันดังนี้ การประชุมก็ไม่ เป็นที่ยุติลงได้
จนในที่สุดมีนักปราชญ์ท่านหนึ่ง ซึ่งไม่เคยมีใครรู้จักพบเห็นมาก่อน ได้ก้าวออกมาและพูดขึ้น ด้วยน้ำเสียงอันดัง ท่ามกลางที่ประชุมนั้นว่า
"ในโลกนี้ชีวิตเป็นของล้ำค่ายิ่ง ไม่ว่าใครก็ต่างรัก และ หวงแหนชีวิตตน ผู้ที่ช่วยเหลือสัตว์ชื่อ ว่า เป็นผู้ให้ชีวิต แต่ผู้ที่ทำลายชีวิตสัตว์ ให้ดับล่วงไป ได้ชื่อว่า เป็นผู้เข่นฆ่า ผู้ใดกรุณาต่อสัตว์ เป็นผู้ช่วยเหลือสัตว์ บุคคลนั้นจึงสมควรเป็นเจ้าของ ดังนั้นขอให้นก ตัวนี้ จงเป็นของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ที่ช่วยชีวิตมันไว้เถิด"
ทุกคนในที่ประชุมต่างเห็นด้วย กับถ้อยคำอันมีเหตุผลเที่ยงธรรม ของนักปราชญ์ผู้นั้น จึงตัด สินให้เจ้าชายสิทธัต ถะ เป็นผู้รับเอาหงส์ ซึ่งพระองค์ได้ทรงพยายามช่วยชีวิตนั้นไป หลังจากนั้น พระ กุมารน้อยทรงเอาพระทัยใส่ ดูแลนก นั้นอย่างเอื้ออารีที่สุด จนกระทั่งบาดแผลของมันหายสนิท มี กำลังวังชาฟื้นคืนดีแล้ว
พระองค์ก็ทรงปล่อยมัน ให้บินกลับไปอยู่รวมฝูง กับพวกพ้องของมัน ในสระกลางป่าลึกด้วย ความผาสุกสืบไป
พระสิทธัตถกุมารองค์น้อยนี้แหละ ในกาลต่อมาคือ พระบรมศาสดา ผู้ประกาศศาสนาพุทธ ด้วยหลักธรรมแห่ง เมตตา ให้บรรดาเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์ เทพยดา และยักษ์มารอสูร ได้ ประจักษ์แจ้งในสัทธรรมอันสูงสุด พระ ปรีชาญาณ และดวงหทัยอันเปี่ยมไปด้วยมหาเมตตาคุณ ได้ ฉายแสงปรากฏให้ชนทั้งหลายได้ชื่นชม ตั้งแต่ครั้ง กระนั้นเป็นต้นมา
พระเมตตากรุณาต่อปวงสัตว์
เมื่อพระสิทธัตถกุมารเจริญเติบใหญ่ มีพระอนามัยดี มีพระรูปกาย และพระพักตร์งดงาม เป็น ที่รักแก่บรรดาผู้ที่ ได้ประสบพบเห็น ครั้นถึงวัยเข้าเรียน โดยอาศัยการแนะนำของครูอาจารย์ ผู้เชี่ยว ชาญในวิทยาการต่างๆ หลายท่าน เจ้าชายสิทธัตถะก็ได้ศึกษา วิชาความรู้ทุกสาขาได้อย่างรวดเร็ว และดีเยี่ยม จนเป็นที่ฉงนสนเท่ห์ ของทุกคนที่ได้ใกล้ ชิด เรื่องใดที่พระองค์จะต้องศึกษา เรื่องนั้นไม่มี ความยากลำบาก แก่พระองค์เลย เมื่อทรงได้รับการชี้แนะในศิลปวิชา การใดๆ เพียงครั้งเดียว ก็ทรง จดจำได้ทันทีไม่มีลืม
แม้เจ้าชายสิทธัตถะ จะทรงเป็นผู้มีความเฉลียวฉลาด ในการศึกษาถึงเพียงนี้ ทั้งทรงเป็นพระ โอรส ซึ่งจะได้ครอง ราชสมบัติ สืบต่อจากพระราชบิดา ในอนาคตก็ตาม พระองค์ไม่ได้ทรงละเลย ที่ จะแสดงความเคารพนอบน้อม ใน ฐานะเป็นศิษย์ต่อครูบาอาจารย์ทั้งหลาย เพราะทรงระลึกอยู่ เสมอว่า โดยอาศัยบรรดาครูบาอาจารย์ทั้งมวลนี่เอง คน เราจึงได้รับสิ่งมีค่าสูงสุด คือวิชาความรู้ เจ้า ชายมีปกติสุภาพเรียบร้อยเป็นนิสัย ทรงประพฤติต่อทุกๆ คน และโดย เฉพาะ ครูบาอาจารย์เป็น พิเศษ ในการแสดงความสุภาพอ่อนโยน เคารพนบนอบ
ในฐานะที่ได้รับการอบรม อย่างผู้มีกำเนิดในวรรณะกษัตริย์ พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ ในเชิงกีฬาอย่างยิ่ง ทรงเป็นนักขี่ม้าที่มีพระทัยเย็น และกล้าหาญ ทั้งเป็นนักขับรถเทียมม้าที่ สามารถ และเชี่ยวชาญ
ในการแข่งขัน พระองค์เคยชนะคู่แข่ง ที่เก่งฉกาจที่สุด ในแผ่นดินของพระองค์เอง แม้กระนั้น เมื่อคราวแข่งขัน เพื่อชิงความเป็นหนึ่ง พระองค์ก็ยังมีพระเมตตากรุณา ต่อม้าที่เคยช่วยให้พระองค์ มีชัยชนะอยู่เสมอๆ โดยทรงยอม ให้พระองค์ เป็นฝ่ายแพ้เสียเอง แทนที่จะขับเคี่ยวม้าให้มากเกิน กำลังของมัน เพียงเพื่อเห็นแก่ความชนะถ่ายเดียว
เจ้าชายสิทธัตถะมิได้ทรงปราณี แต่เฉพาะม้าของพระองค์เท่านั้นก็หาไม่ แม้แต่สัตว์อื่นๆ ทุก ชนิด ก็ได้รับความ เอื้อเฟื้อ และทรงเมตตากรุณาอย่างเดียวกัน พระองค์เป็นพระโอรสของพระเจ้า แผ่นดิน ไม่เคยทรงประสบความทุกข์ ความลำบากอย่างใดเลยก็จริง แต่น้ำพระทัยของพระองค์ ก็ ยังทรงหยั่งทราบ ถึงจิตใจของสัตว์เหล่าอื่น ด้วยความ เห็นใจว่า สัตว์ทั้งหลาย ย่อมปรารถนาความ สุข เกลียดความทุกข์เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉาน
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=5471
ทัพหลวง
บัวเริ่มพ้นน้ำ
เข้าร่วม: 28 มิ.ย. 2008
ตอบ: 161
ตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 9:29 am
ทะเลทุกข์
เมื่อกาลเวลาผ่านไป เจ้าชายสิทธัตถะ ได้พบเห็นผู้คนทั้งหลาย ที่ต้องแก่ชรา ต้องเจ็บป่วย ต้องล้มตายไป และ นักบวช ผู้ออกแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ พระองค์ทรงเห็นว่า โลกนี้ช่างมีความมืด มนนัก เต็มไปด้วยความไม่รู้ น่าหวาด หวั่นพรั่นพรึง ชีวิตทั้งหลายตกจมอยู่ในห้วงทุกข์ ดุจเดียวกัน ทั้งสิ้น
อนิจจา ใครเล่าจะพ้นความเกิด ความตาย ความว่ายวนอยู่ในวัฏสงสารได้ แม้บรรดาเทพ พรหม ก็ยังเวียนว่าย ตายเกิด ไม่ต่างกับมนุษย์ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย พระองค์ไม่อาจนิ่งเฉย อยู่ในความเพลิดเพลิน ในเมื่อชนทั้งหลาย ยังต้องทุกข์ กระทั่งพระองค์เองก็หาได้หลีกพ้น ความเจ็บไข้ ความชรา และความตายไปได้ไม่ ทรงใคร่ครวญว่า
"อันมหาสมบัติ และความสุขในโลกียวิสัย จะทำให้เราเป็นสุขตลอดไปก็หาไม่ เราจะสละเสียซึ่งความสุขทั้งปวง เพื่อออกไปแสวงหาความจริงอันสูงสุด ค้นหาความลับของชีวิตที่ซ่อนเร้นอยู่ แล้วนำความรู้นั้น มาช่วยชาวโลกทั้งหลายให้พ้นทุกข์ดีกว่า"
เมื่อทรงรำพึงถึงความทุกข์ ในการเวียนว่ายตายเกิด ของเวไนยสัตว์ทั้งหลายแล้ว พระมหา บุรุษ ผู้ทรงอุบัติมา เพื่อนำโลกให้พ้นจากความมืดมน พระหฤทัยก็เต็มเปี่ยมไปด้วย ความรักและ สงสารต่อชาวโลก ทรงตัดสินพระทัยทัน ทีว่า จะยอมเสียสละอำนาจราชสมบัติ และอำลาจากพระ ราชบิดา พระชายา อีกทั้งพระโอรส อันเป็นที่รักยิ่งของพระ องค์เสีย
เจ้าชายสิทธัตถะ ได้เสด็จออกจากพระตำหนัก อย่างเงียบกริบ จนไม่มีผู้ใดตื่นขึ้นมาเห็นเหตุ การณ์ ในท่ามกลาง ความสงัดแห่งเที่ยงคืนนั้น พระองค์เสด็จขึ้นประทับ บนหลังม้าแสนรู้ชื่อกัณฐกะ เสด็จไปสู่ประตูพระนคร มีนายฉัน นะตามเสด็จออกไปด้วย เมื่อเสด็จไปได้หน่อยหนึ่ง พระองค์ก็ทรง ชักม้า ให้เหลียวกลับ ประทับนิ่ง ทอดพระเนตรนคร กบิลพัสดุ์ ในท่ามกลางแสงจันทร์ เป็นครั้งสุด ท้าย แต่พระหฤทัย ยังคงแน่วแน่ปักดิ่ง ในการเสด็จออกอยู่ทุกประการ
เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงควบม้ากัณฐกะสีขาวผ่อง ไปจนกระทั่งลุถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ในเวลารุ่ง อรุณ ณ ที่นั้นพระ องค์ ได้เสด็จลงจากหลังม้า ประทับยืนบนหาดทราย แล้วทรงเปลื้องเครื่องประดับ ทั้งหมด มอบให้นายฉันนะ และ ทรงรับสั่งอย่างเฉียบขาด ให้นายฉันนะ นำเครื่องประดับ พร้อมทั้ง ม้ากัณฐกะ กลับคืนสู่นครกบิลพัสดุ์ เพื่อกราบทูล ให้พระบิดาทรงทราบ ถึงการสละโลกของพระองค์ บัดนี้ เจ้าชายสิทธัตถะโคตมะ แห่งศากยวงศ์ผู้ทรงมีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา ได้เสด็จออกจากเมือง ไปเป็นนักบวชผู้สละโลก เพื่อทรงแสวงหาหนทาง ที่จะทำให้พระองค์ และคนทั้ง ปวงประสบชัยชนะ อยู่เหนือความเจ็บไข้ ความทุกข์โศก และความยากเข็ญทั้งปวง ด้วยอาการอย่างนี้
ทรงยับยั้งการบูชายัญ
ในช่วงหนึ่ง ของการแสวงหาสัทธรรม ขณะที่พระสิทธัตถะ จะเสด็จไปยังชนบท อันเป็นที่พำนัก ของบรรดาฤษี และนักบวชทั้งหลาย ระหว่างทาง ทรงทอดพระเนตร เห็นฝุ่นฟุ้งมาแต่ไกล พร้อมกับ เสียงฝีเท้าสัตว์จำนวนมาก กระทบกับพื้นดิน ครั้นเสด็จใกล้เข้าไป ก็ทอดพระเนตรเห็นแพะและแกะ ฝูงใหญ่ ออกมาจากกลุ่มฝุ่นอันฟุ้งขึ้นดุจเมฆ นั้น ฝูงสัตว์ที่น่าสงสาร กำลังถูกขับต้อน ไปทางในเมือง ตอนท้ายปลายฝูงอันยาวยืดนั้น มีลูกแกะอ่อนตัวหนึ่ง ขาเจ็บ เป็นแผลมีเลือดไหลโทรม ต้อง พยายามโขยกเขยก เดินไปตามฝูง ด้วยความเจ็บปวดทรมาน และทั้งทรงสังเกตเห็น แม่ของมัน กำลังเดินวกวนพะวงหน้าพะวงหลัง ด้วยความห่วงลูกเล็กๆ อีกหลายตัว ดูช่างน่าเวทนายิ่งนัก พระ หฤทัย ของพระองค์ ก็เต็มแน่นด้วยความสงสาร
พระองค์จึงทรงโน้มกายลง อุ้มลูกแกะน้อยที่บาดเจ็บตัวนั้น ไว้ในอ้อมพระหัตถ์ พลางปลอบโยนอย่างปราณี แล้วหันมากล่าวกับแม่แกะว่า "จงเดินไปดีๆ เถิด เราจะอุ้มลูกน้อยของเจ้าไป ให้เอง" แล้วเสด็จพระดำเนินตามฝูงแกะ ไปข้างหลัง
เมื่อทรงทอดพระเนตร เห็นหมู่คนเลี้ยงแกะ ซึ่งกำลังเดินตามมาก็ตรัสถามว่า เขาจะต้อนฝูง แกะเหล่านี้ไปทาง ไหน และทำไมจึงต้อนแกะ ในเวลากลางวันเช่นนี้ แทนที่จะต้อนมัน กลับจากที่ เลี้ยงในเวลาเย็น คนเหล่านั้นได้กราบ ทูลพระองค์ว่า เขาต้องทำตามคำสั่ง ซึ่งให้นำแกะและแพะ อย่างละร้อยตัว ไปสู่พระนคร ในเวลากลางวัน เพื่อให้เป็น การพรักพร้อมทันเวลา ที่พระราชา จะ ประกอบพิธีบวงสรวงบูชายัญในวันนี้ พระสิทธัตถะจึงตรัสว่า "เราจะไปกับท่าน ด้วย" แล้วพระองค์ก็ เสด็จตามฝูงแกะนั้นไป ทรงอุ้มลูกแกะตัวน้อยนั้น ไว้ในอ้อมพระหัตถ์ตลอดทาง
เป็นเวลาเย็น เมื่อพระองค์เสด็จผ่านประตูเมืองมาแล้ว ก็ทรงพระดำเนินต่อไป จนถึงพระราช วัง อันเป็นที่จะ ประกอบพิธี ณ ที่นั้นพระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นราชาแห่งกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่พร้อม กับบรรดานักบวช ซึ่งกำลัง สาธยายมนต์ สรรเสริญคุณเทพเจ้าทั้งหลายอยู่ บนแท่นบูชาได้ติดไฟ ลุก โชติช่วงขึ้นแล้ว ใกล้ๆ กับแท่นบูชานั้นมีแกะ ตัวหนึ่งถูกมัดไว้จนแน่น สัตว์ที่ไร้เดียงสาตัวสั่นเทิ้ม มีน้ำตาไหลออกจากดวงตาทั้งสอง เมื่อเห็นความตายรออยู่เบื้อง หน้า
ขณะที่หัวหน้าของนักบวชกำลังเงื้อมีดขึ้น เพื่อตัดหัวแกะตัวแรก ที่ถูกนำมาสังเวย พระสิทธัต ถะได้ทรงก้าวออก ไป ประทับยืนอยู่เบื้องหน้า และตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นประธานในพิธีว่า
" หยุดก่อนมหาราช อย่าให้ผู้บูชายัญ พล่าชีวิตสัตว์ที่น่าสงสารนี้เลย"
ด้วยพระลักษณะอันสง่าสูงส่ง และพระสุรเสียงอันทรงอำนาจ ได้ครอบงำความรู้สึก ของคนทั้ง หลาย ในที่นั้น อย่างสิ้นเชิง การกระทำ ของนักบวชเพชฌฆาต ถูกยับยั้งให้สะดุดหยุดลงทันที
และแล้วพระองค์ จึงทรงหันมาตรัสถามบรรดานักบวช ผู้ซึ่งต่างถือมีดประหารไว้ในมือว่า " พวกท่านหวัง ประโยชน์อันใด จากการเซ่นสรวงบูชา ด้วยชีวิตสัตว์ผู้บริสุทธิ์มากมายเหล่านี้?"
"ชีวิตสัตว์เหล่านี้ จะสามารถไถ่โทษบาปเวรเคราะห์กรรม ของผู้ที่นำมันมาเซ่นสังเวย เลือดเนื้อ ของมัน จะทำให้ เทวะผู้ยิ่งใหญ่ทรงพอพระทัย และแล้วพระองค์ ก็จะประทานพรแก่พระราชาของ เรา ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ ก็จะพลอย ได้รับความคุ้มครองด้วย ท่านนี้ช่างไม่รู้อะไรเสียเลยจริงๆ" หัว หน้านักบวช กล่าวต่อพระผู้เสด็จมายับยั้งพิธีของตน อย่างขุ่นเคืองใจ
พระสิทธัตถะจึงทรงตรัสต่อไปว่า "นั้นเป็นเพราะ ความหวังประโยชน์ของมนุษย์ แต่เพียงฝ่าย เดียว ก็แล้วสัตว์ทั้ง หลาย ที่ต้องถูกฆ่าอย่างทุกข์ทรมาน จะถือเป็นความชอบธรรมดีแล้วกระนั้น หรือ?"
นักบวชผู้ทำพิธีโต้แย้งทันทีว่า.... "พวกมันไม่ได้ตายไปเปล่าๆ หรอก สัตว์ที่ถูกฆ่าเพื่อการเซ่น สรวงเทพเจ้า วิญญาณของพวกมัน ก็จะได้ไปสู่สุคติ เสวยสุขในแดนสวรรค์ชั่วนิรันดร"
"ท่านเชื่อมั่นว่าการบูชายัญให้ผลเช่นนั้นแน่จริงหรือ?" ....พระองค์ทรงย้ำ
.."แน่ซิ! แน่นอนที่สุด" ...นักบวชผู้เป็นหัวหน้า และเหล่าสานุศิษย์ กล่าวยืนยันความเชื่อของตน
เมื่อได้ทรงสดับอย่างนั้นแล้ว พระจอมมุนี จึงกล่าวต่อบรรดานักบวชเหล่านั้นว่า "พวกท่านยืน ยันเช่นนี้ดีแล้ว ใน ที่นี้ทุกคนล้วนมุ่งหวังให้ตนเอง และบุคคลอันเป็นที่รัก สามารถพ้นบาปเคราะห์ทั้ง ปวง และได้เสวยสุขในสวรรค์ ใช่ หรือไม่"
"ใช่! เป็นอย่างนั้น" นักบวชและมหาชน ที่ห้อมล้อมในพิธี ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกัน
พระผู้ทรงมหากรุณาธิคุณ จึงมีพระดำรัสต่อไปว่า
"หากการฆ่าบูชายัญต่อเทพเจ้า มีผล ประเสริฐกับทุกฝ่าย ถ้า เช่นนั้น ไม่เป็นการดีกว่าหรือหากท่านจะนำเอา บิดามารดา อันเป็นที่รักของ ตนมาฆ่าบูชายัญ เพื่อที่ท่านเหล่านั้น จะ ได้ไปพบความสุขบนสวรรค์เสียในวันนี้ แทนที่จะใช้สัตว์ มากมาย มาเป็นเครื่องบูชา และจงสั่งให้สานุศิษย์บริวาร นำ เอาตัวท่านมาบูชายัญด้วย เพื่อที่ท่าน ทั้งหลายจะได้ไปสู่สวรรค์ โดยมิต้องเสียเวลามาบำเพ็ญถือบวช ให้ลำบากเสีย เปล่าๆ เพราะผู้ฆ่า ย่อมพ้นบาปเคราะห์ทั้งปวง และผู้ถูกฆ่าก็จะไปสู่สุคติ ได้เสวยสุขในแดนสวรรค์อย่างที่ท่านพูด กระทำอย่างนี้ย่อมดีกว่ามิใช่หรือ?"
ด้วยพระวาจาอันเที่ยงธรรม และทรงไว้ซึ่งเหตุและผล ได้ครอบงำความรู้สึก ของคนทั้งหลาย ในที่นั้นโดยสิ้นเชิง หัวหน้านักบวชและสานุศิษย์ต่างนิ่งอึ้ง ปิดปากเงียบสนิท ดังถูกมนต์สะกด แล้ว พระองค์ก็ทรงแก้มัดให้แกะนั้นหลุด ไป หามีใครกล้าขัดขวางไม่
เมื่อทุกคนสงบนิ่ง พระองค์จึงทรงชี้แจง ให้ประชาชนที่ล้อมรอบอยู่ได้ทราบถึง ความมหัศจรรย์ ของชีวิต อันเป็นที่ รักและหวงแหนของมนุษย์ และสัตว์ทั้งหลายว่า "การฆ่าสัตว์นั้น ใครๆ ก็อาจทำ ได้ แต่เมื่อชีวิตถูกทำลายไปแล้ว การ จะทำให้มันกลับฟื้นขึ้นมา มีชีวิตดังเดิม หามีใครทำได้ไม่
มนุษย์ควรเป็นผู้ให้ความกรุณาต่อสัตว์ ด้วยเหตุว่า มนุษย์ย่อมเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย ทั้งทาง อำนาจและสติ ปัญญา ควรหรือ ที่เราจักใช้กำลังที่ตนมีเหนือกว่า ไปปล้นเอาชีวิต อันเป็นที่รักของ มันเสีย ควรหรือ ที่เราจักมาฆ่า ผู้ ป้องกันตัวเองมิได้ สัตว์ทั้งหลาย แม้จะต่ำต้อยน้อยนิดปานใด ก็รัก ชีวิต กลัวต่อความตายเหมือนกัน ต่างรู้สึกเจ็บ รู้ สึกทุกข์โศก ยามต้องพลัดพราก เพียงแต่ไม่ สามารถเอ่ยคำพูด ขอความเห็นใจ คราวที่มนุษย์เองเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ยังร่ำร้อง ขอความช่วย เหลืออย่างเสียขวัญ แต่แล้วตนเองกลับมีใจเหี้ยมโหด กระทำทารุณต่อสัตว์ผู้ไม่อาจออกปากอ้อนวอน.
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=5477
ทัพหลวง
บัวเริ่มพ้นน้ำ
เข้าร่วม: 28 มิ.ย. 2008
ตอบ: 161
ตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 9:31 am
เด็กเลี้ยงแพะผู้แสนสุข
พระสิทธัตถะ ได้เสด็จจาริก ออกท่องไป เพื่อแสวงหาความรู้ จากอาจารย์เจ้าลัทธิต่างๆ พระ องค์ทรงฝึกฝนจิต ตามคำสอนทั้งหลาย จนถึงขั้นสูงสุดของสำนักนั้นๆ แต่ก็มิได้ทรงรู้แจ้ง ในปัญหา ชีวิต ที่ยังข้องพระทัยอยู่ พระองค์ได้ บำเพ็ญตบะ ทรมานตนอย่างรุนแรง ด้วยวิธีต่างๆ แม้กระนั้น ก็ ไม่สามารถพบคำตอบ ที่พระองค์ทรงค้นหา พระมหา มุนีทรงเห็นว่า การทรมานตนนั้น มิใช่ทางที่ถูก ต้อง อันจะนำไปสู่ความบรรลุแจ้ง แห่งสัทธรรมแต่อย่างใด พระองค์จึง เสด็จ ละจากอุรุเวลาชนบท แคว้นมคธ เพื่อไปบำเพ็ญเพียรในป่า ของแคว้นคยา
ในป่าอันเงียบสงัดแห่งแคว้นคยา พระสิทธัตถะเฝ้าแต่ทรงพิจารณา ดูความทุกข์ของตน ดูทาง แห่งทุกข์เหล่านั้น ดูที่มา และที่ไป ของปวงสัตว์ ดูความลึกลับแห่งชีวิตทั้งหลาย พระองค์ทรงนึกอยู่ แต่ดังนี้ จนกระทั่งลืมเสวย ลืม บรรทม มิได้คิดถึงความหิว หลายวันล่วงไป ครั้นรู้สึกองค์ เห็นชามดิน เบื้องหน้า มีเพียงผลไม้ อันนกนำมาทิ้งไว้ ก็ หยิบขึ้นเสวย แต่พอประทังความหิว พระองค์มุ่งบำเพ็ญ เพียร ใช้จิตเพ่งพิจารณา จนมิรู้วันรู้คืน มิได้เสวยแม้แต่น้ำ กระทั่ง เวลาผ่านไป เป็นแรมเดือน มิช้า พระฉวีอันเคยผุดผ่อง ก็หมองคล้ำลง พระกายซูบผอมสิ้นสง่า ด้วยการใช้ ความคิดเกินกำลัง พระมัง สาเหือดหายไป เห็นแต่พระอัฐิขึ้นโก้งเก้งน่าเวทนา ครั้นยกพระหัตถ์ลูบองค์ พระโลมาก็ ร่วงหล่น ติด พระหัตถ์มา ประดุจใบไม้แห้ง ที่ต้องหลุดร่วงจากต้น ด้วยเหตุว่าหาน้ำเลี้ยงมิได้ฉะนี้
เป็นดังนี้นานเข้า วันหนึ่งพระองค์ ก็หมดกำลัง มิอาจทรงกายอยู่ได้ จึงเซถลา ล้มฟาดลงยังพื้น ดิน ดูประหนึ่งสิ้น ลมปราณ ด้วยพระอัสสาสะ (ลมหายใจเข้า) และพระปัสสาสะ (ลมหายใจออก) หยุดหายหามีไม่ ได้แต่บรรทมแน่นิ่ง อยู่อย่างนั้น จนกระทั่ง เด็กเลี้ยงแพะคนหนึ่ง ผ่านมาพบเข้า มี ความเวทนายิ่ง เมื่อเห็นพระกายซูบซีด น่าสงสาร มิ หนำซ้ำ ตะวันยังส่องแสงแผดกล้า มาต้ององค์ เด็กน้อยจึงไปหักกิ่งไม้มาปัก เพื่อให้ร่มเงาแก่พระพักตร์ แล้วรีบกลับ ไป รีดน้ำนมจากแม่แพะ เตรียม จะรินนมลงโอษฐ์ ที่เผยออยู่เล็กน้อย แต่กลับหยุดชะงัก ด้วยหวนคิดไปว่า ตนมีศักดิ์ ต่ำต้อย ได้ชื่อ ว่า เป็นทาสเขา จึงลังเลอยู่ เพราะการกระทำเช่นนั้น จักเป็นโทษแก่ตนเอง ขณะกำลังใคร่ครวญอยู่ ก้านชมพู่ อันตนมีใจ เก็บมาปักบังพระพักตร์นั้น ก็แตกช่อใบออกสล้าง เป็นเสมือนฉัตรแก้วอันล้ำ เลิศ ออกกั้นพระองค์ เด็กน้อยเห็นดังนั้น ก็เข้าใจว่า เป็นเทพยดา จึงยกมือขึ้นประสาน กระทำบูชา ด้วยความเคารพ
เวลานั้น พระสิทธัตถะ รู้สึกพระองค์ ลืมพระเนตรขึ้น และตรัสขอน้ำดื่ม เพื่อดับเวทนา เด็ก เลี้ยงแพะ ได้กราบทูล ว่า "ข้าน้อย มิอาจเอื้อมถวายสิ่งใด ต่อพระเป็นเจ้าได้ เพราะมือของทาส ผู้ ต้อยต่ำนั้น จะเป็นเหตุ ให้มลทินแปดเปื้อน พระองค์ พระเจ้าข้า" พระบรมครูจึงตรัสตอบว่า
"เด็กเอ๋ย เราทุกคน ล้วนมีโลหิตสีแดงเหมือนกัน ไม่ว่าสูงศักดิ์หรือต่ำต้อย ความเมตตากรุณาเท่านั้น ทำให้คนทั้งโลกเป็นญาติพี่น้องกันหมด ไม่ใช่ทุกคนที่เกิดมาจะมีอุณาโลม (ขนที่ขึ้น ระหว่างคิ้วทั้งสอง เป็นขนสีขาว ลักษณะอ่อนเหมือนสำลี เวียนขวาเป็นวงกลม เหมือนก้นหอย แต่ปลายจะชี้ขึ้นไป) ปรากฏที่หน้าผากได้เหมือนกัน การกระทำความดี หรือความชั่วต่างหาก ที่จะทำให้คนเราแตกต่าง กัน"
เด็กน้อยได้ฟังเช่นนั้นแล้ว จึงน้อมถวายน้ำนมแพะ ด้วยความปราโมทย์ยิ่ง
เมื่อพระสิทธัตถะได้ ทรงเสวยแล้ว ธาตุอาหารในน้ำนมแพะ ก็ซาบซ่านเข้าบำรุงเลี้ยงร่างกาย ทำให้พระองค์ฟื้นคืนพระชนม์ สามารถพยุงกายลุกขึ้นนั่ง ได้ บัดนี้พระมหามุนี ทรงรู้สึกสบายพระองค์ขึ้นเล็กน้อย เด็กเลี้ยง แพะได้ก้มศีรษะ กราบนมัสการขอพรจากพระองค์ แล้ววิ่งกลับไปสู่ฝูงแพะของตน ด้วยความสุขใจ อย่างหาที่เปรียบมิได้
เสียงพิณนำทาง
พระสิทธัตถะ ยังคงประทับอยู่ที่โคนต้นไม้นั้น และเจริญภาวนาต่อไป จนพลบค่ำ ตะวันจวนจะ ลับขอบฟ้า ขณะ นั้น พระองค์ได้ทรงสดับเสียงเพลง ของเหล่านักร้องนางรำกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเดินผ่าน มาตามละเมาะไม้ เพื่อเข้าไปในเมือง มีเสียงกระพรวนเงิน ของข้อเท้าดังกรุ๋งกริ๋ง รับกับเสียงกำไลกร แสนเสนาะโสต เป็นที่รื่นเริงใจ ครั้นแล้วนางผู้ถือพิณ สามสายก็ขับร้องบทเพลงขึ้นว่า"ดีดพิณจับ ระบำงาม จงทำสายให้พอดีไม่สูงต่ำพวกเรานี้ จะเต้นรำสำราญใจตึงนัก สายพิณขาด เพลงพินาศ หมดเสียงใสหย่อนนักเสียงหมดไป จงทำสายให้พอดี"
อย่างที่มิได้นึกฝันว่า เพลงที่นางขับนั้น จะไปถึงพระกรรณ พระผู้ประทับนั่ง อยู่ใต้ไม้ริมทาง บัดนั้นเอง แสงสว่าง แห่งปัญญา ก็บังเกิดขึ้นแก่พระองค์ พระจอมมุนี จึงทรงรำพึงขึ้นว่า
"โอ้... แท้ จริงการเรียนรู้ ก็มีอยู่ ท่ามกลางหมู่ชน ทั้งหลายด้วย ถ้านางนี้ไม่มาขับพิณ เราก็คงจะขึงเส้นชีวิต จน ตึงเกินไปดังนี้ สักวันหนึ่ง มันคงจะขาดลงเป็นแน่ ชีวิต ของเรา ก็จักต้องสิ้นไปเสียก่อน ที่ได้บรรลุถึง เป้าหมายที่หวังไว้ เราควรหย่อนลงบ้าง เพื่อถนอมรักษาชีวิตนี้ ไว้ช่วย คน ที่ยังจมอยู่ในห้วงทุกข์ อีก มากมายนัก"
พระสิทธัตถะ ทรงพิจารณาดังนี้แล้ว จึงเลิกปฏิบัติต่อร่างกาย อย่างทารุณ โดยเด็ดขาด หลัง จากนั้น ก็ได้เสด็จ ออกภิกขาจาร ในเวลาเช้า แล้วทรงเสวยอาหาร ตามแต่จะได้มาทุกวัน
ทรงเสวยข้าวมธุปายาส
รุ่งเช้าวันเพ็ญเดือน ๖ ปีระกา ริมธารน้ำในแคว้นคยา มีสตรีนางหนึ่ง ผู้งามพร้อม ทั้งกายและ ใจ นามว่า " สุชาดา" นางเคยบนบาน ต่อรุกขเทวดา ขอให้ได้สามี ที่มีตระกูลเสมอกัน และมีบุตรคน แรกเป็นชาย แล้วนางก็ได้สม ปรารถนา จึงปรุงข้าวมธุปายาสมา เพื่อสังเวยเทพยดา ครั้นพบพระ บรมโพธิสัตว์ ประทับนั่ง ณ โคนต้นไทร มีพระ ลักษณะ งดงามน่าพิศวง ก็เข้าใจว่า เทพยดาปรากฏ กาย มารับเครื่องสังเวยของตน นางก้มลงจุมพิตพื้นธรณี ถวาย อภิวาท แล้วทูลเชิญรับมธุปายาส นางรินน้ำเกสรกุหลาบอันหอมละมุน ลงในพระหัตถ์ ถวายโภชนาหาร อันเป็นทิพย์ สำรวมกาย แล้ว ถอยออกไป หมอบกราบสงบนิ่งอยู่ ด้วยความเคารพ
พระมหาบุรุษเสวยข้าวนั้นแล้ว ก็ตรัสบอกแก่นางว่า "เราหาใช่เทพเจ้าไม่ เป็นแต่เพียงมนุษย์ ธรรมดาคนหนึ่ง ซึ่ง เดิมเป็นราชโอรส แห่งพระเจ้ากรุงกบิลพัสดุ์ บัดนี้เราได้สละสิ่งนั้นเสียสิ้น มาเป็น นักบวชผู้พเนจร เพื่อแสวงหาดวง ประทีป อันจะส่องใจคนให้หายมืดมัว นับตั้งแต่เราสละออกจาก ราชสมบัติ จวบจนกระทั่งเวลาล่วงมาถึง ๖ ปีแล้ว เราใช้เวลาค้นหาดวงประทีปนั้น ทุกวันทุกคืน ผ่านความตรากตรำ จนร่างกายอ่อนล้าโรยแรง เมื่อรับมธุปายาสนี้แล้ว ก็บังเกิดพละกำลัง ชุ่มชื่นใจ นัก
ขอให้สุขยั่งยืน จงบังเกิดแก่นาง ผู้มีสัมมาจริยะและใจสูง ภาระทั้งหลาย อันบุตรบริวารจักนำ มา จงเบาบางลง ขอให้นางจงจำเริญไป โดยสวัสดีเถิด"
นางสุชาดา น้อมกราบสักการะ พร้อมกับทูลว่า "ความปรารถนาของข้าพระองค์ สำเร็จดุจใด สิ่งที่พระองค์ต้อง ประสงค์ ขอให้สำเร็จดุจนั้นเถิด" แล้วนางก็กราบทูลลากลับไป
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=5529
ทัพหลวง
บัวเริ่มพ้นน้ำ
เข้าร่วม: 28 มิ.ย. 2008
ตอบ: 161
ตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 9:33 am
ดวงประทีปอันแจ่มจรัส
ครั้นเสร็จเสวยข้าวมธุปายาส อันนางสุชาดา ผู้มีใจงาม นำมาถวายแล้ว พระสิทธัตถะ ก็เสด็จ จากต้นไทร... ไป ประทับนั่ง บนบัลลังก์หญ้า ณ โคนต้นโพธิ์
พระองค์ได้ทรงอธิษฐานจิต ตั้งพระทัย แน่วแน่ว่า แม้เลือดเนื้อในกาย จะ แห้งเหือดไป ไม่มีอะไรเหลือ แม้หนังเอ็นกระดูกก็ตามที
ถ้ายังมิได้ ตรัสรู้ ในสิ่งที่ทรงประสงค์แล้ว ก็จะไม่ยอมลุกจากที่ นี้ โดยเด็ดขาด
ด้วยเดชะ พระมหาเมตตาบารมีคุณ อันพระองค์ทรงตั้งพระทัย สั่งสมไว้ให้มนุษย์ และสรรพ สัตว์ทั้งปวง ต้นมหา โพธิ์ ก็โอนอ่อนโน้มกิ่งลง บังแสงตะวัน มิให้ส่องมาต้องพระองค์ เหล่าสัตว์ร้าย ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง พากันสงบนิ่ง เลิกการปองร้ายซึ่งกันและกัน พญาเหยี่ยว คาบพาสัตว์ผู้ อ่อนแอบินมา
พอผ่านต้นโพธิ์ที่ประทับ ก็ปล่อยเหยื่อ หุบปีก ลง กระทำการคารวะ วิหคใหญ่น้อยทั้ง หลาย ส่งเสียงร้องเจื้อยแจ้ว ด้วยความหรรษา ต่างก็สรรเสริญในพระทัย อัน หวังประโยชน์สุขต่อ สรรพสัตว์ พากันแซ่ซ้อง
ถวายพระพร ให้ทรงประสบความสำเร็จอันยิ่งยวด ต่างส่งสำเนียงขาน บอก กันว่า "นับแต่นี้ต่อไป เราชาวโลกทั้งหลายจะได้เป็นสุขแล้ว" ณ ราตรีอันแจ่มจรัส ในเดือนเพ็ญ ขณะที่พระบรมโพธิสัตว์ ประทับเข้าสมาธิ หลับพระเนตร สำรวมพระอิริยาบถ นิ่ง อยู่ใต้ร่มโพธิพฤกษานั้น
บรรดาพญามาร คือ กิเลสทั้งหลายรู้ว่า พระผู้ บำเพ็ญเพียร เพื่อช่วยเวไนยสัตว์ กำลังจะ ข้ามพ้นวัฏสงสาร จะบรรลุแจ้งในสัทธรรม อันสามารถ ช่วยเวไนยสัตว์ อย่างมิอาจประมาณ ก็ให้มีจิตริษยา จึงเตรียม พหลพลมารมหาศาลมา เพื่อประจัญ กับพระปัญญา อันสว่างไสวของพระองค์
พญามารเหล่านี้มี ราคะ โทสะ โมหะ และอวิชชา อันมืด คลุ้ม ต่างก็ผาดแผลง สำแดงฤทธิ์ของตนต่างๆ กัน มุ่งจะทำลายขันติ สมาธิของพระผู้ยิ่งนักบวชทั้ง หลาย ให้สิ้นไป
บ้างกระพือพายุมาบดบังอากาศ ให้มืดครึ้มน่าสะพรึงกลัว แล้วส่งเสียงอสุนีบาต ฟาดเปรี้ยงๆ เสียง สะเทือนเลื่อนลั่น ไปทั่วทั้งสามโลก พระธรณีมีอาการประหนึ่ง จะทรุดแตกแยก ทะลายลง
เมื่อพระยังหลับเนตรมิไหวหวั่น ก็เปลี่ยนอุบาย ใช้วจีไพเราะ เป็นเครื่องโลมเล้า ให้รำลึกถึง ความรัก อันหอมหวน
นายมารก็บันดาล ให้อากาศ เสนาะไปด้วยเสียงดนตรี มีเหล่าธิดามารจำแลง ให้ผิวพักตร์ผุดผ่อง มาร่ายฟ้อน กวัก หัตถ์ยั่วเย้า แต่ก็หามีผลไม่ จึงใช้มหาสมบัติแห่งจักรพรรดิ มา เป็นเครื่องล่อ
การอันนี้ ก็ไม่ก่อให้เกิดผลอันใด มันจึง หันไปใช้อุบาย ให้พระบังเกิดความโลเลสงสัย และมืดมัวสับสน ในหนทางแห่งการบำเพ็ญเพียร แต่พระหทัยของพระองค์นั้น ได้รับการฝึกอบรม มาอย่างดีแล้ว จึงมิได้ไหวหวาด ต่อกิเลสทั้งหลายแห่งดวงจิต ไม่ว่า มันจะสำแดง แผลง ฤทธิ์เดช ประการใด พระองค์ก็คงประทับเฉย สงบพระกายนิ่งอยู่ ด้วยเดชแห่งมหาบารมี อันทรงสั่งสมมา เป็น อเนกอ นันตชาติ เหล่าอสุรมารทั้งหลาย ก็พ่ายกระจายพินาศแก่ตนเองไปสิ้น
เวลาจวนรุ่งสาง แล้ว ดวงดาราคล้อยเคลื่อนต่ำลงยังขอบฟ้า ทั่ว ปริมณฑลนั้นสงบนิ่ง แม้ใบพระโพธิ์ก็มิเขยื้อน ให้ระคายโสตของพระองค์ ผู้พิชิตมาร พระพาย รำเพยพัดเย็นมาอ่อนๆ พระสมณโคดมประทับนิ่ง มิไหวองค์ หลับพระเนตรเสีย จากสิ่งภาย นอก แต่พระจักษุภายใน ทรงมองเห็นความเป็นไป ในปางหลังได้อย่างแจ่มแจ้ง ประดุจมีดวงประทีป สุก สกาว ส่อง ให้บุคคล ผู้ยืนอยู่ปลายทาง ให้หันกลับไป มองเห็นอดีตของตน ได้อย่างทะลุปลอดโปร่ง
สมเด็จพระประทีปแก้ว ทรงน้อมพระทัยระลึกย้อนสืบสาว ไปหาต้นกำเนิดแห่งชีวิต ของพระองค์ ทรงระลึกชาติ ต่างๆ ทั้งใกล้และไกลได้ด้วย พระญาณปัญญาอันรู้แจ้ง มองเห็นความเป็นมา และ เป็นไปของปวงสัตว์ ได้อย่าง กระจ่างชัด ปราศจากความขุ่นมัว
พระองค์ทรงเห็นว่า อันความดีชั่วของมนุษย์นี้ เป็นเสมือนกงเกวียน ผู้ใดสร้างสิ่งใดไว้ สิ่งนั้น ย่อมหมุนเวียนตาม สนอง ทำดีก็ได้รับความสุขเบิกบานใจ ทำชั่ว ก็ถึงแก่ความพินาศย่อยยับ จะขูด ลบโยกถอนอย่างใด ก็หาหลุดพ้นไม่ มันย่อมตามมาสนอง ผู้กระทำกรรมอันดีชั่วเสมอไป
เมื่อทรงพบความจริงอันนี้แล้ว ก็ทอดพระเนตรเห็น กว้างไกลออกไป ถึงจักรวาลอื่นๆ ทั่วหมื่น โลกธาตุ
พระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาวทั้งหลาย ต่างกระจาย หมุนอยู่กลางเวหาไกลโพ้น ใน ระยะห่างอันเหมาะเจาะ และ ต่างมีความสัมพันธ์กันอยู่ อย่างไม่ตัดขาด มหาอนันตจักรวาล เกิดมา ตั้งแต่ครั้งไหน และจะดำรงอยู่นานไปอีกสักเท่า ไร ไม่มีใครหยั่งรู้ต้นกำเนิด และอวสานกาล
พระ สัพพัญญูเจ้าทรงรู้แจ้ง ถึงธรรมลักษณะ ของทุกสิ่งทุกอย่าง คือหลัก แห่งสัทธรรม อันเป็นประทีป ส่องให้เห็นความจริงแห่ง "ความเป็นอยู่เอง" เช่นนั้น
อันกฎแห่งธรรมชาติของโลกนั้น อยู่เหนืออำนาจบังคับ ของมนุษย์ และเทพยดาทั้งปวง สรรพ สิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ที่ สุด ก็เสื่อมสลายหมดสิ้นไป
และแล้วก็เริ่มต้นใหม่ การเกิด การทำลาย เป็นไปอยู่ ทุกแห่งหน จักขัดขืนความจริงอันนี้ หาได้ไม่ เวไนยสัตว์ทั้งหลาย ล้วนเกิดมาแล้วก็ต้องตาย ตาย แล้วก็เกิดใหม่ วนเวียนรับทุกข์อยู่อย่างนี้ ไม่มีวันสิ้นสุด
ครั้นล่วงเข้าปัจจุสมัยจวนสว่าง ทรงเห็นความจริงอันหนึ่งคือ "ทุกข์" ซึ่งตรึงสัตว์ทั้งหลาย ให้ แน่นอยู่กับโลก ดุจ เงาอันตามตนอยู่ จะสลัดไป ก็เมื่อชีพสิ้นไปแล้วเท่านั้นทุกข์นั้นคืออะไร?ทุกข์นั้น คือ ความไม่เที่ยงแท้
.... ได้แก่ ชรา โรคาพยาธิทั้งหลาย คือความโกรธ เกลียด โลภ หลง ความยินดียิน ร้าย อันตนตัดไม่ขาด คือ ตัณหา ความกระหาย จะได้ซึ่งสมบัติ ลาภ ยศ และสรรเสริญ สุข รวมทั้ง สิ่งเพลิดเพลินเจริญใจอื่นๆ คือ ความข้องอยู่ในโลก ได้แก่ ความ อยากมีชีวิตไม่รู้จักดับ ความเบื่อ หน่ายแล้วซึ่งโลกนี้ อยากทำลายตนไปเสียให้พ้น อันเป็นการฝืนธรรมดาของโลก ทั้ง หลายเหล่านี้แล คือ ความทุกข์
ทรงหยั่งรู้ว่า ต้นเหตุ ที่ทำให้ชีวิตของคน และสัตว์ทั้งหลาย หมุนเวียนเกิดตาย ไปตามคลื่น แห่งความเปลี่ยน แปลงของโลก
ก็เนื่องจากความรักหลง ยึดติดในความสุขอันเป็นมายา
บุคคลผู้มีปัญญา ได้พิจารณาเห็นความจริงอันนี้ และที่มาของทุกข์ทั้งหลาย จึงไม่ประสงค์ จะ ติดอยู่ในบ่วงของ การเกิดเช่นนี้
แล้วหมั่นเพียรอบรมใจ ให้ระงับตัณหา และความอยาก ที่นำมาซึ่ง ทุกข์ทั้งหลาย ให้หมดสิ้นด้วย ประการทั้งปวง ความสุขอันไม่รู้จักจบ ก็จะบังเกิดแก่เขาผู้นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นผู้ปราศจาก กิเลสตัณหาทั้งปวง ได้บรรลุถึงสิ่งที่ทรงประสงค์ โดย รู้ความจริง ที่ ทำลายรากของความทุกข์ทั้งปวง ในชีวิตให้สิ้นไป
พระองค์ได้ชนะมารเด็ดขาดแล้ว ทรงพบพระธรรมอันล้ำลึก มีแสง สว่างแรงกล้า ยิ่งกว่าดวงตะวัน อันยังโลกให้สว่างอยู่ เป็นนิจนิ รันดร์
บัดนี้ พระสิทธัตถะโคตมะ แห่งศากยวงศ์ ผู้ทรงมีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ได้บรรลุถึง พระ อนุตตรสัมโพธิญาณ ตรัสรู้ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ณ โคนต้นมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเน รัญชรา ในเวลาอรุโณทัย แห่งคืนวิ สาขปุรณมี วันเพ็ญเดือนหก
ดวงประทีปอันแจ่มจรัส ได้อุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=5558
ทัพหลวง
บัวเริ่มพ้นน้ำ
เข้าร่วม: 28 มิ.ย. 2008
ตอบ: 161
ตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 9:36 am
รุ่งอรุณของเวไนยสัตว์
ดูซิ! ทางทิศบูรพาโน้น ดวงตะวันเริ่มไขแสง ลอดออกจากม่านสีดำแห่งราตรี ดาวประจำเมือง ซึ่งเคยฉายแสง กล้าอยู่ ก็หรี่ลงจนลับหายไป รัศมีสีกุหลาบ ของพระสุริยเจ้าค่อยๆ เปล่งแสงสุกใสขึ้น ทุกที จนกระทั่งอาบไปทั่วท้อง ฟ้าสีเทา
บรรดาขุนเขาสูงตระหง่าน ได้เห็นดวงตะวันก่อนใครๆ ทั้งสิ้น สายลมในยามเช้าโชยมา ต้องเหล่าบุปผชาติให้เผยอแย้มกลีบออก รับรุ่งอรุณ อันพิเศษไปกว่ารุ่ง อรุณ ซึ่งเคยมีมาแต่ก่อน เมฆฝนพายุกล้าทั้งหลาย ต่างสงบนิ่ง ลง ถวายอภิวันทนาการ แด่องค์พระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยความเบิกบานหฤหรรษ์
สีทองแห่งพระสุริยเทพ ทอลงจับ น้ำ ในลำธาร ละหานห้วย แลพุ่มพฤกษา เหล่าปักษาน้อยๆ ร้องบอกกันว่า "รุ่งแล้ว! รุ่งแล้ว! ตื่นขึ้นไหว้พระองค์ผู้ตรัส รู้เถิด" สรรพสัตว์ใหญ่น้อย ขานร้องก้องป่าว่า "จงตื่นขึ้น ก้มเกล้าอภิวันท์ และสรรเสริญ พระผู้ ยอดยิ่งมนุษย์ของเรา เถิด พระองค์ได้สำเร็จพระโพธิญาณแล้ว" ทั่วทั้งป่าดังสะท้อนก้อง ด้วยสำเนียง บอกเล่ากันทั่วไปว่า สิ่งใดได้บังเกิดขึ้น แล้ว
....ด้วยเดชะพระบารมีคุณ และพระเมตตาอันใหญ่ยิ่งต่อโลก ความสงบได้แผ่ซ่านไปทั่วบริเวณ ใกล้ไกล อย่างมิเคย มีมาก่อน บุคคลผู้เหี้ยมโหด ก็บังเกิดความอ่อนละมุนขึ้นในใจตน ผู้ที่ลับมีด แสวงคมไว้ หมายจะเข่นฆ่าผู้อื่น ก็กลับ ทิ้งมีดของตนไปเสีย
คนคดโกง ก็กลับเกิดความละอายแก่ใจ ตน คนพาลสันดานหยาบ และใจทุจริตทั้งหมด ก็กลับละ พยศ หวนคืนสู่ความดี ความเมตตากรุณา ความรักความปราณี จากดวงหทัยของพระพุทธองค์ แผ่ขยายไปทั่วพิภพ รุ่งอรุณวันนั้น สายธาร แห่งความสุข ได้หลั่งไหลจากร่มโพธิ์ แห่งแคว้นคยา ออกไปทั่วทิศานุทิศ
....อย่าว่าแต่หมู่มนุษย์เลยหนอ แม้แต่เทพยเจ้า ก็ประกาศก้องกันไปทั่วทุกชั้นฟ้าว่า "พวกเราจง ยินดีเถิด พระ ภควันต์เจ้าสำเร็จโพธิญาณ อันยอดยิ่งแล้ว"
มองลงสู่เบื้องล่าง เหล่าเปรตอสุรกาย ก็ พากันชื่นชมโสมนัส บนแผ่นดิน โลก แม่เสือที่ดุร้าย มีตาเป็นมันวาวเมื่อวานนี้ ในวันนี้ กลับสงบ เสงี่ยม ต้อนรับลูกกวาง ด้วยสันถวไมตรี พญาเหยี่ยวต่างนอนนิ่ง ไม่กังวล ต่อการโฉบเฉี่ยวหาเหยื่อ นกกินปลาไม่ตีปีก ไม่ขยับจะงอยปาก เมื่อเห็นปลาว่ายวนในลำธาร ผีเสื้อทั้งหลายบินวนเวียน รอบ ฝูงวิหค ก็หามีอันตรายไม่
เหล่าสัตว์โลกทั้งหลาย พากันเป็นสุข และรักใคร่ มีใจเอื้อ อารีต่อกัน อย่าง ที่มันไม่เคยมีมาก่อนเลย
ครั้นแล้ว องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงคลายพระอิริยาบถ จากการประทับนิ่งเป็นเวลา นาน เสด็จลุกขึ้น ยืน พระองค์ทรงรู้สึกแจ่มใส และอิ่มเอิบด้วยความปีติ ในรสแห่งพระสัทธรรม ที่ทรง พบแล้ว พระพละกำลัง ซึ่งเคย หายไปแต่ก่อน บัดนี้กลับยิ่งทวีแกร่งกล้า พระองค์ทรงรู้สึก ถึงพลานุภาพแห่งพระธรรม อันยิ่งใหญ่เหนือสิ่งใดทั้งปวง
พระบรมศาสดาทรงเปล่งอุทานว่า
"สังขารเอ๋ย เราได้พบเจ้าแล้วในวันนี้ เราได้ท่องเที่ยวค้นหา มาหลายชาติ แต่ เพิ่งมาพบวันนี้เอง เจ้าเป็นผู้สร้างเรือนจำ อันกักขังจิตเราไว้
แต่นี้ไป เจ้าไม่อาจ สร้างบ้านก่อกำแพง อันเป็นของลวง ห่อหุ้มเราไว้ได้อีกแล้ว สังขาร! เจ้ามีแต่จะผุพังหักไป ความสุข อันยอดยิ่ง ที่เราค้นพบนั้น ไม่มีวันแตกดับ ไม่มีวัน ทำลาย เราได้พบแล้ว เราได้ก้าวพ้นจากทุกข์ทั้งปวงแล้ว
จากนี้ไป เวไนยสัตว์ทั้งหลาย จะได้ตื่นขึ้นรับรู้พระธรรมอันล้ำเลิศ อันจะยังผลให้มีจิตบริสุทธิ์ ผ่องใส และพบเห็น ทางที่สว่างไสวอยู่ตรงหน้า เพราะทุกคนต่างก็มีดวงประทีปแก้ว แห่งปัญญาอยู่กับตนแล้ว"
พระพายยังคงรำเพยพัดอยู่เช่นเดิม มหาสิงขรหิมาลัย และธารน้ำก็ยังคงอยู่ บุปผชาติก็ยังคง บานสะพรั่ง ส่ง กลิ่นหอมอยู่เสมอมิได้ขาด ความจริงในธรรมชาตินี้ เป็นฉันใด พระพุทธธรรมก็เป็น เช่นนั้น พระสัทธรรมอันเที่ยงแท้ ที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้แล้ว ไม่รู้จักความ เสื่อมสลาย ไม่รู้จักความดับสูญ
พระประทีปแห่งเมตตา ธรรมนี้ จักดำรงอยู่ชั่วนิรันดร
อวสาน
ที่มา พระประทีปแห่งเมตตา และอาหารสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม
เรียบเรียงโดย รัศมีธรรม
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=5578
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th