Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เรียนเชิญมาร่วมช่วยกันชำระคำว่า - อัตตา-อนัตตา -กันนะคับ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2008, 7:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สืบเนื่องจากความไม่แจ่มแจ้งในคำว่า อัตตา และอนัตตา
เพราะตีความ สองคำนี้ในใจไม่เท่ากัน
ทำให้การหาความรู้ ไม่สำเร็จหมดจรดสักที

เหมือนหมู่คนตาบอดคลำช้าง
บ้างว่าช้างมีลักษณะเป้นงวง บ้างว่ามีลักษณะเป็นงา
บ้างว่ามีลักษณะเหมือนหาง

จึงเรียนเชิญทุกท่านมาร่วมต่อ jigzaw นี้ให้สมบูณณ์กันเกิด


ต่อไปนี้เป็นการออกแบบการหาความรู้ของผม เพื่อเป็นไกด์
แต่ท่านโปรดนำเสนอตามแต่เห็นควรเถิด

อัตตา - อนัตตา >>>>>> เกิดได้อย่างไร อยู่อย่างไร ดับอย่างไร
อัตตา - อนัตตา >>>>>> มีไตรลักษณ์หรือไม่ อย่างไร
อัตตา - อนัตตา >>>>>> มีชื่ออื่น เปลี่ยนชื่อเรียกไป เมื่อมีเงื่อนไขอย่างไร
อัตตา - อนัตตา >>>>>> ท่านตีความ ในบริบทใดๆ ว่าอย่างไร
อัตตา - อนัตตา >>>>>> มีความหมายในมิติใดบ้าง
อัตตา - อนัตตา >>>>>> หรือไม่อย่างไร


ขออนุโมทนาในความรู้อันกอปรด้วยเมตตาที่มีแก่กันกัน
ทั้งเบื้องหลัง เบื้องปัจจุบัน และเบื้องหน้าครับ
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2008, 9:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอร่วมสนทนากับท่าน คามินธรรม

นามของท่านแปลว่าอะไรครับ แปลกดี

ว่าด้วยเรื่อง อัตตา อนัตตา ตามความเข้าใจของผม

อัตตา จริงๆนั้นไม่มี มีแต่อนัตตา

ที่เราเรียกขานกันว่าอัตตาเป็นเพียงคำสมมุติโวหาร

เช่นเราเรียก รถ ว่า รถ

ตัวตนที่แท้จริงของรถนั้นไม่มี

มีแต่ส่วนประกอบ ที่มาประกอบขึ้น มาประชุมพร้อมเพียงกัน เท่านั้น เช่น เครื่องยนต์ ล้อ กระบะ พวงมาลัย

เมื่อแยกส่วนประกอบเหล่านั้นออก

ก็จะเหลือแค่ชิ้นส่วน ตัวรถก็หายไป

ตัวชิ้นส่วนเองก็ประกอบขึ้นมาจาก สารประกอบ เป็นโลหะ อโลหะ

โลหะ อโลหะ ทั้งหลาย ประกอบขึ้นมาจากธาตุ

ธาตุทั้งหลายประกอบขึ้นด้วยโมเลกุล

โมเลกุลประกอบขึ้นมาจากหลายๆอะตอมมาเกาะเกี่ยวกัน

ในแต่ละอะตอมประกอบขึ้นด้วย อิเลคตรอน และโปรตรอน

อิเลคตรอน และโปรตรอน เป็นประจุๆไฟฟ้า มีคุณสมบัติคือพลังงานชนิดหนึ่ง

พลังงานทั้งหลายมีการแปลเปลี่ยน ถ่ายเท เกิดดับตลอดเวลา

ที่หายไปเลยก็มี

เช่นจากการตายของดวงดาว หรือ ดวงดาวจุติ

เมื่อดวงดาวถึงอายุขัยจะกลายเป็นพลังงาน และถูกดูดหายไปในหลุมดำ

จักรวาลก็มีอายุขัย

พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ในพระไตรปิฎกอย่างหน้าอัศจรรย์

ท่านที่สนใจคงค้นหาอ่านได้ในพระไตรปิฎก หรือในพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ ของท่านรศ.แสง จันทร์งาม

สุดท้ายนี้ หากท่านกรัชกาย เข้ามาอ่านก็กรุณาเพิ่มเติมให้ในส่วนที่ไม่สมบูรณ์ ก็จักเป็นพระคุณ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 2:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

mes พิมพ์ว่า:
ขอร่วมสนทนากับท่าน คามินธรรม
นามของท่านแปลว่าอะไรครับ แปลกดี


ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน ยินดีคับผม มาเป็นสหายธรรมกัน
คามิน แปลว่า บรรลุ (เช่น บรรลุสภาวะ) .. แต่ก็ไม่แน่ใจ
ที่ชอบเพราะมันฟังดูเป็นเจ้าชายรูปงามดีคับ ยิ้มเห็นฟัน

นามของท่านแปลว่าอะไรคับ

อ้างอิงจาก:

พุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ ของท่านรศ.แสง จันทร์งาม

ิ่
หนังสือนี้ ก็มีผิดพลาดอยู่นะคับ บางแห่งผมว่าก็ serious อยู่

เช่น http://www.84000.org/true/117.html

ถ้าไปเทียบพระสูตร ปรากฎว่าเป็นคนละเรื่องเดียวกัน
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=4590&Z=4653

ประเด็นคือคำว่า พรหม ครับ
ลองอ่านดูนะคับ
ประมาทไม่ได้เลยทีเดียวเชียว
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
thammathai
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 35
ที่อยู่ (จังหวัด): สังขตธาตุ

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 9:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อไปนี้เป็นการออกแบบการหาความรู้ของผม เพื่อเป็นไกด์
แต่ท่านโปรดนำเสนอตามแต่เห็นควรเถิด

อ้างอิงจาก:
อัตตา - อนัตตา >>>>>> เกิดได้อย่างไร อยู่อย่างไร ดับอย่างไร
อัตตา - อนัตตา >>>>>> มีไตรลักษณ์หรือไม่ อย่างไร
อัตตา - อนัตตา >>>>>> มีชื่ออื่น เปลี่ยนชื่อเรียกไป เมื่อมีเงื่อนไขอย่างไร
อัตตา - อนัตตา >>>>>> ท่านตีความ ในบริบทใดๆ ว่าอย่างไร
อัตตา - อนัตตา >>>>>> มีความหมายในมิติใดบ้าง
อัตตา - อนัตตา >>>>>> หรือไม่อย่างไร


ยินดีร่วมตอบตามแนวที่ให้มาครับ...

1.อัตตา - อนัตตา >>>>>> เกิดได้อย่างไร อยู่อย่างไร ดับอย่างไร
เกิดจาก ผัสสะหก อายตนหก นั้นเกิดขึ้น
อยู่ด้วย ผัสสะหกนั้น อายตนหกนั้น
ดับด้วย การไม่เกิดขึ้นของผัสสะหก อายตนหก



2.อัตตา - อนัตตา >>>>>> มีไตรลักษณ์หรือไม่ อย่างไร
อะไรที่รู้ได้ด้วยผัสสะหก อายตนหก มีไตรลักษณ์ทั้งสิ้น
ย่อมเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง และสลายไป



3.อัตตา - อนัตตา >>>>>> มีชื่ออื่น เปลี่ยนชื่อเรียกไป เมื่อมีเงื่อนไขอย่างไร
จากคำตอบข้อ 1 และ 2 ล้วนเป็นสมมติทั้งสิ้น แล้วแต่จะเรียกชื่อ เปลี่ยนชื่อตามเงื่อนไข ตามสมมติบัญญัติ



4.อัตตา - อนัตตา >>>>>> ท่านตีความ ในบริบทใดๆ ว่าอย่างไร
อะไรที่สัมผัสได้ รู้ได้ด้วยผัสสะหก อายตนหก อันเกิดจากจิตอวิชชาล้วนเป็นบริบทแห่งการสมมติอย่างเดียวเท่านั้น



5.อัตตา - อนัตตา >>>>>> มีความหมายในมิติใดบ้าง
มิติเดียวคือ มิติแห่งการสมมติเท่านั้น



6.อัตตา - อนัตตา >>>>>> หรือไม่อย่างไร
คำถามนี้ไม่ชัดเจน ขอกล่าวเองฟรีสไตล์นะครับว่า
เดิมเราคือจิต......(แต่ยังเป็นจิตอวิชชา)


อะไรที่มากไปกว่าจิต.....คือโลก คือสมมติทั้งสิ้น
อยู่ใต้กฏไตรลักษณ์ทั้งสิ้น(รับด้วยผัสสะหก อายตนหก)


การที่คิดว่านิพพานคืออัตตา....คือการที่คิดว่ามีอะไรที่มากไปกว่าจิต
การที่คิดว่านิพพานคืออนัตตา...ก็คือการคิดว่ามีอะไรที่มากไปกว่าจิต
เป็นภาวะอย่างนั้น เช่นนั้น


นิพพานนั้นต้องเป็นอะไรที่ไม่มากไปกว่าจิต....รู้ได้ด้วยจิตที่มีวิชชาอันปราศจากผัสสะหก
เป็นหนึ่งไม่มีเทียบกับสิ่งตรงข้าม(เช่นขาว-ดำ)
ไม่ใช่ภาวะอัตตา-อนัตตา



เมื่อไหร่ที่คุณคิดว่านิพพานเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้...นั่นคือการคิดอะไรที่มากไปกว่าจิต

เจริญในธรรมครับ สาธุ
 

_________________
เราคือใจที่บริสุทธิ์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 12:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คามินธรรม พิมพ์ว่า:
นามของท่านแปลว่าอะไรคับ


mes มาจากคำว่า mess ครับ

mess แปลว่า ความยุ่งเหยิง ความสับสนวุ้นวาย ความบ้า

เมื่อตัดปัจจัย s ออกไป 1ตัว ก็ไม่ครบองค์ประกอบ

จึงยังไม่ยุ่งเหยิง ยังไม่สับสนวุ้นวาย ยังไม่บ้า

จึงต้องระวังไม่ประมาท ให้เกิด s เข้ามาอีกตัวหนึ่ง

ชีวิตก็เป็นเช่นนี้

mes จึงยังไม่มีความหมาย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 12:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สภาวะอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นกับตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ รักโลภโกรธหลง ความหมายมั่น อะไรต่างๆ มีอยู่ ถาวรกับเราหรือไม่

ความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา ถาวร อยู่หรือไม่ ตอบว่า ไม่ถาวร ต้องมีเหตุปัจจัยเข้ามา มันจึงเกิดขึ้นในใจเรา

แล้วถามว่า เมื่อ สิ่งเหล่านี้ไม่มีอยู่ในใจเราเลยหละ จะเรียกว่า เป็นอัตตาของเรา หรืออนัตตาของเรา ได้หรือ

อัตตาคือ การยึดว่า นี้คือเรา นั้นคือเรา
อนัตตา คือ ความไม่มีอยู่จริง ยกตัวอย่างเช่นว่า ความโกรธ มีอยู่จริงหรือไม่ ตอบว่า ไม่ เพราะว่า ถ้าเราพิจารณาดีๆ ความโกรธ นั้นมันสร้างขึ้นมาจากนามธรรมล้วนๆ คือ ความไม่พอใจ แล้วไอ้ความไม่พอใจนี้มันมีตัวตนที่ไหน เราไปสัมผัส สังเกตุมันเอง สร้างขึ้นมาเอง แบบนี้เรียกว่า สิ่งเหล่านั้นเป็น อนัตตา

การยึดสรรพสิ่ง ที่ความจริงเป็นอนัตตาแล้วให้มันตั้งอยู่นั้นแหละคือ อัตตา

พระนิพพานไม่ใช่ ทั้งอัตตาและ อนัตตา พระนิพพานมีอยู่จริง ไม่แปรปรวน ความว่างมีอยู่จริง แต่เราไม่เคยเห็นความว่างเพราะเราไปสังเกตุกับ สมมติ ลองสังเกตุ ความว่างให้เจอในใจเรานี้แหละ

เมื่อสมมติดับไป ความว่างก็ปรากฎ ให้เห็นว่า นี่มันไม่เคยเปลี่ยนไป ไหนเลย ยังสัมผัสสัมพันธ์กับเราตลอดเวลา จึงว่า จิตนี้ไม่เคยตาย แต่สมมติเท่านั้นที่ ตาย
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 1:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

117 อายุของพรหม

ปัญหา ตามศาสนาฮินดู พรหมเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้สร้างสิ่งทั้งปวง มีอยู่ชั่วนิรันดร พระผู้มีพระภาคทรงเห็นอย่างไรในเรื่องนี้ ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนพะกะพรหม ท่านสำคัญอายุใดว่ายาว ก็อายุนั้นสั้น ไม่ยาวเลย ดูก่อนพรหม เรารู้อายุหนึ่งแสนนิรัพพุท (คือเลข ๑ ตามด้วยเลขศูนย์ ๖๘ ตัว) ของท่านได้ดี”

พกสูตรที่ ๔ ส. สํ. (๕๗๐)
ตบ. ๑๕ : ๒๑๐ ตท. ๑๕ : ๒๐๐
ตอ. K.S. I : ๑๘๐


เปรียบเทียบกับ

[/code]พกสูตรที่ ๔
[๕๖๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ
ก็สมัยนั้นแล พกพรหมได้เกิดทิฐิอันชั่วช้าเห็นปานดังนี้ว่า ฐานะแห่ง
พรหมนี้เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา ไม่เกิด
ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็แหละอุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่น
จากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี ฯ
[๕๖๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของ
พกพรหมด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไปในพระเชตวันวิหารแล้วได้ปรากฏในพรหม-
*โลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือคู้เข้าซึ่ง
แขนที่เหยียดออก ฉะนั้น ฯ
พกพรหมได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว ครั้นแล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์จงเสด็จมาเถิด
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นาน
เทียวแลพระองค์ได้กระทำปริยายเพื่อการเสด็จมา ณ พรหมโลกนี้ ข้าแต่พระองค์
ผู้นิรทุกข์ ก็ฐานะแห่งพรหมนี้เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อน
ไหวเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็อุบายเป็นเครื่อง
ออกไปอันยิ่งอย่างอื่นจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี ฯ
[๕๖๘] เมื่อพกพรหมกล่าวเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำนี้กะ
พกพรหมว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอ ท่านผู้
เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอ พกพรหมกล่าวฐานะแห่ง
พรหมที่เป็นของไม่เที่ยงเลยว่าเที่ยง กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่ยั่งยืนเลยว่า
ยั่งยืน กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่ติดต่อกันเลยว่าติดต่อกัน กล่าวฐานะแห่ง
พรหมที่เป็นของไม่คงที่เลยว่าคงที่ กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของความเคลื่อนไหว
เป็นธรรมดาทีเดียวว่า มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา และกล่าวฐานะแห่ง
พรหมอันเป็นที่เกิดแก่ ตาย และเป็นที่จุติและอุปบัติแห่งตนว่า ฐานะแห่งพรหมนี้
ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็แหละย่อมกล่าวอุบายเป็นเครื่องออก
ไปอันยิ่งอย่างอื่นซึ่งมีอยู่ว่าไม่มี ดังนี้ ฯ
[๕๖๙] พกพรหมทูลว่า
ข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์ ๗๒ คน บังเกิดในพรหม
โลกนี้เพราะบุญกรรม ยังอำนาจให้เป็นไป ล่วงชาติชราได้
แล้ว การอุปบัติในพรหมโลก ซึ่งถึงฝั่งไตรเภทนี้เป็นที่สุด
แล้ว ชนมิใช่น้อยย่อมปรารถนาเป็นดังพวกข้าพระองค์ ฯ
[๕๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรพกพรหม ท่านสำคัญอายุใดว่ายาว ก็อายุนั้นสั้น ไม่
ยาวเลย ดูกรพรหม เรารู้อายุหนึ่งแสนนิรัพพุท ๑- ของท่าน
ได้ดี ฯ
[๕๗๑] พกพรหมทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า เราเป็นผู้มีปรกติเห็น
ไม่มีที่สิ้นสุด ล่วงชาติชราและความโศกได้แล้วดังนี้ อะไร
เป็นศีลวัตรเก่าแก่ของข้าพระองค์หนอ ขอพระองค์จงตรัส
บอกศีลวัตรซึ่งข้าพระองค์ควรรู้แจ้งชัด ฯ
[๕๗๒] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
๑. ข้อที่ท่านยังมนุษย์เป็นอันมาก ผู้ซึ่งกระหายน้ำอันแดด
แผดเผาแล้ว ในฤดูร้อนให้ได้ดื่มน้ำกิน เป็นศีลวัตรเก่าแก่
ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้วและตื่นขึ้น
ฉะนั้น ฯ
๒. ข้อที่ท่านช่วยปลดเปลื้องประชุมชน ซึ่งถูกโจรจับพาไป
อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เป็นศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายังระลึก
ได้อยู่ประดุจหลับแล้วและตื่นขึ้น ฉะนั้น ฯ
๓. ข้อที่ท่านข่มขี่ด้วยกำลัง แล้วช่วยปลดเปลื้องเรือซึ่งถูก
นาคผู้ร้ายกาจจับไว้ในกระแสของแม่น้ำคงคา เพราะความ
เอ็นดูในหมู่มนุษย์ ข้อนั้นเป็นศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายัง
ระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้วและตื่นขึ้น ฉะนั้น ฯ
๔. และเราได้เป็นอันเตวาสิกของท่าน นามว่ากัปปมาณพ
เราได้เข้าใจท่านแล้วว่า มีความรู้ชอบ มีวัตร ข้อนั้นเป็น
@๑. นิรัพพุท เป็นสังขยาซึ่งมีจำนวนสูญ ๖๘ สูญ
ศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้ว
และตื่นขึ้น ฉะนั้น ฯ
พกพรหมทูลว่า
พระองค์ทรงทราบอายุนี้ของข้าพระองค์แน่แท้ แม้สิ่งอื่นๆ
พระองค์ก็ทรงทราบได้ เพราะพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า
ฉะนั้น อานุภาพอันรุ่งโรจน์ของพระองค์นี้ จึงยังพรหมโลก
ให้สว่างไสวตั้งอยู่ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๔๕๙๐ - ๔๖๕๓. หน้าที่ ๑๙๘ - ๒๐๑.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=4590&Z=4653&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=566
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๕
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=15&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_15

จุดที่คุณ คามินธรรมเห็นว่าผิด คื่อข้อความไหนครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 1:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยกข้อความแล้วมันจะงงนะคับ เพราะไม่รู้จะตัดแปะยังไง
ถ้าไง ลองตั้งข้อสังเกตุอย่างที่ผมจะเล่าต่อไปนี้ แล้วลองตีความเองดีกว่า

ประเด็นคือ
คำถามที่ผู้เขียนตั้งขึ้นน่ะคับ
ให้นิยามไว้เสร็จสรรพว่า พรหมที่ถามนั้น หมายถึงอะไร

(พรหมเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้สร้างสิ่งทั้งปวง มีอยู่ชั่วนิรันดร)


แต่สูตรที่ยกมาตอบว่า อายุของพรหม นั้น เป็นคนละพรหม
เป็นการตอบของพระพุทธเจ้าที่ตอบ พกพรหม (ตัวตนอะไรสักอย่างหนึ่งที่นิยามตัวเองไว้ในบรรทัด[๕๖๙] )

ซึ่งพกพรหม ถามถึงพรหม(สภาวะ) ที่ตัวเองกำลังอยู่
โดยตัวเองเข้าใจว่า พรหมนี้เที่ยง ไม่ทุกข์

แต่พระพุทธเจ้าบอกว่า "ฐานะแห่งพรหม" มันไม่เที่ยง มัน่ทุกข์ และสภาวะพรหมที่พกพรหมกำลังอยู่นี้มีระยะเวลาอยู่หนึ่งแสนนิรัพพุท

ซึ่งคำว่าพรหม ที่ผู้เขียนถาม
ไม่ใช่ พรหม ที่ยกมาตอบ

ผมจึงบอกว่าเขียนผิด
ประเด็นนี้ค้นพบโดยคุณพลศักดิ์ วังวิวัฒน์
ผมก็ลองศึกษาดูแล้วก็เห็นเป็นจริงด้วยอย่างเช่นนั้น

ถ้าตรึกตรองแล้วเห็นไปยังไงก็รบกวนชำระกันและกันด้วยนะครับ
ผมอยู่ใน mode ปวารณาตัวตลอดคับ ว่ากล่าวตักเตือนได้ ไม่ถือ ไม่เคือง
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 3:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัพเพ ธัมมา อนัตตา....


สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ซึ่ง ใช้บัญญัติศัพท์ว่า "อนัตตา"

(คนล่ะอย่าง กับ ไม่มีตัวตน ที่ใช้บัญญัติศัพท์ว่า "นัตถิตา")

คำว่า ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง หมายถึง ว่า สิ่งทั้งหลายล้วนเป็นไปด้วยเหตุ-ปัจจัย จึง ไม่ได้ดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเอง....

เมื่อ เหตุ-ปัจจัย ยังมีอยู่ สิ่งนั้น ก็จึงยังมีอยู่
เมื่อ เหตุ-ปัจจัย ของสิ่งทั้งนั้นดับลง สิ่งนั้นก็ดับลงตาม


จึงพ้นจาก ทั้งคำว่า มีอยู่อย่างแท้จริง(สัสตวาทะ)....
และ พ้นจาก คำว่า ขาดสูญอย่างไร้เหตุผล(นัตถิกวาทะ)...
เพราะ มันเป็นเรื่องของ เหตุ-ปัจจัย

เหตุ-ปัจจัย ดำรงอยู่ สิ่งนั้นก็ดำรงอยู่
เหตุ-ปัจจัย ดับลง สิ่งนั้นก็ดับลงตาม



เมื่อ ไม่รู้แจ้งในความจริงแห่งอนัตตา จึงเกิด ความเห็นผิดว่า"มีอัตตา" เกิดขึ้น.... ความเห็นผิดนี้ เรียกว่า อัตตานุทิฏฐิ

เมื่อ มีอัตตานุทิฏฐินอนเนื่องอยู่เช่นนั้น ด้วยไม่"รู้ตามจริง" จิตย่อมมีการปรุงแต่งไปในทางเกิดทุกข์(ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายทุกข์เกิด)
เมื่อ เห็นแจ้งชัดในอนัตตา เพราะ"รู้ตามจริง" อัตตานุทิฏฐิก็ถูกเพิ่งถอนไป จิตก็จะไม่มีการปรุงแต่งไปในทางเกิดทุกข์(ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายทุกข์ดับ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 3:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศาสนาพุทธ เป็นเรื่องของ เหตุ-ปัจจัย และผล

ทุกข์ก็เช่นเดียวกัน

เมื่อ เหตุ-ปัจจัยแห่งทุกข์(สมุทัย)ยังดำรงอยู่ ทุกข์จึงยังดำรงอยู่.....
เมื่อเหตุ-ปัจจัย แห่งทุกข์ดับไป ทุกข์ก็ดับตามไปด้วย



พระสารีบุตร ท่านฟังหัวใจอริยสัจจ์จากพระอัสสชิ ที่ว่า

"เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณฯ
“ธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด (เกิดแต่เหตุ)
พระตถาคตเจ้า ทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น"


พระสารีบุตรท่านเป็นผู้มีปัญญามาก ท่านแจ้งชัดในทันทีในใจความนี้ บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยคาถาบทเดียว........
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 3:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประเด็นสำคัญหนึ่ง ที่เห็นว่าน่าสนใจครับ


คือ การเข้าใจผิด คำว่า อนัตตา เป็น "ไม่มีตัวตน".... ซึ่งอาจจะทำให้เข้าใจไขว้เขวว่า ในเมื่อ เราไม่มีตัวตนอยู่จริง แล้วบาป-บุญที่เราทำก็ต้องไม่มีอยู่จริงไปด้วย ....ซึ่งนั่นจะตกเข้าสู่ นัตถิกวาทะ คือ การปฏิเสธบาป-บุญ


จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์

นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี
เช่น เห็นว่า ผลบุญผลบาปไม่มี บิดามารดาไม่มี ความดีความชั่วไม่มี
เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด ที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง;




นัตถิตา นั้นสื่อถึง "ไม่มีตัวตน" หรือ อะไรๆก็ไม่มี

แต่ถ้า กล่าวคำว่า อนัตตา สื่อถึง "ไม่ใช่ตัวตน" .....




ความเห็นแห่ง"นัตถิตา" นำไปสู่ความเห็นที่ว่า"ไม่มีตัวตน".... และ นำไปสู่ ความเห็นที่ว่า "บาป-บุญไม่มีอยู่จริง" (นัตถิกทิฏฐิ) เป็น มิจฉาทิฏฐิ

ความรู้แห่ง"อนัตตา" นำไปสู่ความเห็นที่ว่า "ไม่ใช่ตัวตน"...... และ นำไปสู่ ความเห็นที"เหนือบุญ-เหนือบาป" (อนาสวสัมมาทิฏฐิ)



นัตถิกทิฏฐิ จะเป็นธรรมที่ตรงข้ามกับ สาสวสัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบระดับโลกียะ). คือ เมื่อ พ้นจาก นัตถิกทิฏฐิเสียก่อน แล้วจึงจักเข้าสู่ สาสวสัมมาทิฏฐิ

แต่ อนาสวสัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบระดับโลกุตระ) ไม่ใช่ธรรมที่ตรงข้ามกับ สาสวสัมมาทิฏฐิ.... หากแต่ อนาสวสัมมาทิฏฐิ เป็นการต่อยอดจาก สาสวสัมมาทิฏฐิ. หรือ อนาสวสัมมาทิฏฐิเป็นธรรมที่สูงกว่า สาสวสัมมาทิฏฐิไปอีกระดับนั่นเอง

(อย่างไรเรียก สาสวสัมมาทิฏฐิ และ อนาสวสัมมาทิฏฐิ โปรดอ่านจาก มหาจัตตารีสกสูตรครับ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 3:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ คุณ ตรงประเด็น ยกธรรมมาแสดง ดีแท้
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 5:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พูดถึงเรื่องอัตตา อนัตตา แต่หามีผู้ใดยยกอนัตตลักขณะสูตรมาไม่ พระพุทธเจ้าให้ความหมายเอาไว้ชัดเจน

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่า สิ่งที่จะเป็นอัตตาได้ต้องมีลักษณะดังนี้ :

" สิ่งใดเที่ยง, ไม่มีทุกข์, ไม่ปรวนแปรเป็นธรรมดาสามารถบังคับบัญชาให้เป็นอย่างใจหวังได้ สิ่งนั้น
ก็ย่อมเป็น อัตตา "


ส่วนอนัตตา ผมขอยกท่อนสุดท้ายในอนัตตลักขณสูตรมา พระพุทธเจ้าตรัสว่า

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?


ดังนั้น อนัตตาก็เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับอัตตานั่นเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 5:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมขอนำอนัตตลักขณสูตรฉบับเต็มมาลง


อนัตตลักขณสูตร




ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร เรื่องอนัตตาในขันธ์ ๕ ต่อเหล่าพระปัญจวัคคีย์ทั้ง๕ จนสำเร็จพระอรหันต์[๒๐]
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตา(มีตัวตน หรือเป็นของตัวตน อย่างแท้จริง)แล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็น
เพื่ออาพาธ
(ความเสื่อม ความเจ็บไข้ ความแปรปรวน) และบุคคลพึงได้(หมายถึง ย่อมบังคับบัญชา
ได้ตามปรารถนา)ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา(ไม่มีตัวตน ที่เป็นแก่นแกนอย่างแท้จริง - ไม่ใช่ตัวใช่ตนแท้จริง -
หรือกล่าวอีกอย่างที่มีความหมายเดียวกันว่า มีตัวตนแต่ไม่เป็นแก่นเป็นแกนแท้จริง)ฉะนั้นรูปจึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ(แปรปรวน เช่น เจ็บป่วย) และบุคคลย่อมไม่ได้(หมายถึง ย่อมบังคับบัญชาไม่ได้ตามปรารถนา)
ในรูปว่า รูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. (กล่าวคือ ถ้ารูปนั้นเป็นของตัว
ของตนจริงๆแล้วไซร้ จะต้องควบคุมบังคับได้ตามปรารถนา ต้องควบคุมบังคับให้ไม่แปรปรวนหรือดับ
ไปตามสภาวธรรมได้ด้วยตัวตนของตนเองอย่างแท้จริงและแน่นอน)

เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้นเวทนาจึง เป็นไปเพื่ออาพาธ(แปรปรวน) และบุคคล
ย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
ในสัญญาว่าสัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้วสังขารเหล่านี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ เราจงเป็นอย่างนี้เถิด
สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลาย
ของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่าวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้นวิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อม
ไม่ได้ในวิญญาณว่าวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.


ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์
[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

(โยนิโสมนสิการจากปฎิจจสมุปบาท และพระไตรลักษณ์ จะพบความจริงได้ด้วยตนเองในที่สุดว่า
สุขทุกข์เพราะความไม่เที่ยง ย่อมเป็นทุกข์ในที่สุดทั้งสิ้น)

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

(ในเมื่อรู้แล้วว่า มันเป็นตัวทุกข์ แล้วไปเก็บไปเอามันว่า เป็นของตัวของตนทำไมให้เป็นทุกข์)

ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.





ผมยกอนัตตลักขณสูตรมาเต็มๆเลย เพื่อจะชี้ให้คุณเห็นว่า

1. พระพุทธเจ้าพูดถึงขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นเป็น อนัตตา


2. พระพุทธเจ้าพูดถึงความหมายของอัตตา เอาไว้ด้วย แต่ตัวนี้ผู้ที่เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพาน
จะรู้และเข้าใจได้ เมื่อผู้ที่เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพานแล้ว ไปอ่านพระไตรปิฎกอีกครั้ง จะตรัสรู้ธรรม
ด้วยตนเองเลยว่า สิ่งที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตายนั้น มีขันธ์หรือกายเหมือนกัน เรียกว่า
ธรรมขันธ์ หรือธรรมกาย อายตนะนิพพานก็คือธรรมกายนี่เอง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เที่ยง....ที่ผมกล่าวว่า

" สิ่งใดเที่ยง, ไม่มีทุกข์, ไม่ปรวนแปรเป็นธรรมดาสามารถบังคับบัญชาให้เป็นอย่างใจหวังได้ สิ่งนั้นก็ย่อมเป็นอัตตา "
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 5:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

สืบเนื่องจากความไม่แจ่มแจ้งในคำว่า อัตตา และอนัตตา
เพราะตีความ สองคำนี้ในใจไม่เท่ากัน
ทำให้การหาความรู้ ไม่สำเร็จหมดจรดสักที
คามินธรรม : 20 ก.ค.2008, 7:52 pm



คุณคามินหนุ่มรูปงาม และ คุณmes ที่นับถือครับ

ก่อนสนทนาเรื่อง อัตตา ควรตกลงกันก่อนว่าจะกล่าวถึง อัตตา

นัยบัญญัติหรือนัยปรมัตถ์ (สภาวะ) แยกประเด็นก่อน

เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้ทั้งสองนัย ที่ตรัสในแง่ของบัญญัติ ก็เช่น

ว่า อัตตา หิ อัตตโน นาโถ. แปลว่า ตน แล เป็นที่พึ่ง แห่ง

ตน. นี้ตรัสเรียก อัตตา (ที่แปลว่า ตัว, ตน, ตัวตน) ซึ่งสมมุติ

เรียกกันว่า นาย ก. นาง ข. เป็นต้น ที่หมายรู้ๆกัน ในหมู่มนุษย์นี่เอง

และที่ตรัสในแง่ของสภาวะก็ตัวอย่างเช่นว่า รูป เวทนา สัญญา

สังขาร วิญญาณ - ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

เมื่อแยกประเด็นกล่าวอย่างนี้อาจมองเห็นทางออกกระมัง

ตกลงเราจะพูดถึงอัตตาในแง่ไหนล่ะครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 5:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อจะพูดในแง่กระบวนธรรมว่าดำเนินไปอย่างไร ด้วยเหตุปัจจัย

อะไร เป็นผลอย่างไร ก็พูดไป

หรือจะพูดในแง่ นาย ก. นาง ข. ก็พูดไป

เมื่อพูดในแง่สมมุติ ก็ให้รู้ว่ากำลังพูดในแง่สมมุติ

เมื่อพูดในแง่สภาวะหรือปรมัตถ์ ก็ให้รู้ว่ากำลังพูดในแง่สภาวะ

เมื่อรู้เท่าทันความเป็นจริง และความมุ่งหมายในการพูดแบบนั้นๆ

ไม่เข้าไปยึดติดถือมั่น ไม่เอามาปะปนกัน ก็เป็นอันใช้ได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 5:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตัวสภาวะและสมมุติเป็นสิ่งจำเป็น ตัวสภาวะ เป็นเรื่องของธรรมชาติ

ส่วนสมมุติเป็นเรื่องของประโยชน์สำหรับความเป็นอยู่ของมนุษย์

แต่ปัญหาเกิดขึ้น เพราะมนุษย์เอาสภาวะกับสมมุติมาสับสนกัน

คือ เข้าไปยึดเอาตัวสภาวะจะให้เป็นไปตามสมมุติ จึงเกิดวุ่นวายขึ้น

ตัวสภาวะไม่วุ่น เพราะมันเป็นไปอย่างนั้นเอง ตามปกติธรรมดา

ไม่เกี่ยวกับใครจะไปยึดหรือไม่ มนุษย์เป็นผู้วุ่นไปฝ่ายเดียว

และเพราะมันไม่วุ่นด้วย มนุษย์ยิ่งวุ่นวายใหญ่ เพราะขัดความปรารถนา

ถูกบีบคั้นจึงเกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์เอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 6:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขันธ์ 5 เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท คือ

มีอยู่ในรูปกระแสแห่งปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยสืบต่อกัน

ไม่มีส่วนใดในกระแสคงอยู่ได้ มีแต่การเกิดขึ้นแล้วสลายตัวไป

พร้อมกับที่เป็นปัจจัยให้มีการเกิดขึ้นแล้วสลายตัวต่อ ๆ ไปอีก

ส่วนต่าง ๆ สัมพันธ์กัน เป็นปัจจัยแก่กัน จึงทำให้กระแสหรือ

กระบวนการนี้ดำเนินไปอย่างมีเหตุผลและคุมเป็นรูปร่างต่อเนื่องกัน

ในภาวะเช่นนี้ ขันธ์ 5 หรือชีวิต จึงเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์

คือ อยู่ในภาวะแห่ง

อนิจจตา ไม่เที่ยง ไม่คงที่

อนัตตตา ไม่มีส่วนใดที่มีตัวตนแท้จริง และไม่อาจยึดถือเอาเป็น

ตัวตนได้

ทุกขตา ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัวอยู่ทุกขณะ และพร้อมที่

จะก่อให้เกิดความทุกข์ได้เสมอ

ในกรณีที่มีการเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

ความไม่รู้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 8:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณพลศักดิ์ ครับ

เอาอย่างนี้ครับ อธิบายอีกแง่ครับ

การจะอยู่ในสังสารวัฎ หรือ ไม่อยู่ในสังสารวัฏ ขึ้นอยู่กับจิตของเราครับ

เมื่อเรามีความเห็นว่าสังสารวัฎเป็นอัตตา(มีความเป็นตัวตน) เราก็จะยึดเอาสังสารวัฏเป็นเรือนอยู่ ของเราครับ แต่ในสังสารวัฏนี้มีลักษณะ เป็น อนิจจัง ทุกขัง ถ้าเราเลือกเอาสังสารวัฏเป็นเรือนอยู่เราก็ต้องเผชิญ กับ ความ เป็น อนิจจัง ทุกขัง ตลอดไป

แต่พระพุทธองค์สอนว่า ถ้าเธอต้องการออกจากสังสารวัฏ ที่ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อยู่อย่างนี้ เธอจะต้องเห็นสังสารวัฏนี้เป็นอนัตตา(ไม่เป็นตัวตน หรือ ไม่มีตัวตนก็ได้ ความหมายเดียวกัน) นะ เมื่อจิตเธอเห็นสังสารวัฏเป็นอนัตตา จิตก็ไม่ยึดเอาสังสารวัฏเป็นเรือนอยู่ จึงออกจากสังสารวัฏไป

ดังนั้น สังสารวัฏเป็นของมีอยู่เดิมอยู่แล้ว ถ้าอยากอยู่ในสังสารวัฏก็ให้ทำความเห็นว่าเป็นอัตตา แต่ถ้าไม่อยากอยู่ในสังสารวัฏก็ให้ทำความเห็นว่าเป็นอนัตตา ครับ

ดังนั้น อัตตา หรือ อนัตตาจะเกี่ยวข้อง เฉพาะ สังสารวัฏครับ ไม่เกี่ยวข้องกับนิพพาน

พระพุทธองค์สอนอีกว่า ถ้าเธอออกไปจากสังสารวัฏ เธอจะไปอยู่ที่สภาวะใหม่ สภาวะนี้เรียกว่า นิพพาน นะ

เมื่อไปอยู่นิพพานก็ไม่ต้องทำความเห็น ให้เป็น อัตตา หรือ อนัตตา อีกแล้วครับ เพราะยังไงก็ต้องอยู่ในนิพพานอยู่แล้ว และตลอดอนันตกาลด้วยครับ เพราะในนิพพานมีแต่ นิจจัง สุขขัง ครับ ไม่ต้องไปที่ไหนอีกแล้วครับ

ดังนั้นการจะอยู่หรือไม่อยู่ในสังสารวัฏขึ้นอยู่กับจิตเราเองครับ ว่าเราจะเห็น สังสารวัฏ เป็น อัตตา หรือ อนัตตา

ที่สำคัญนะครับ จิตเดิม อยู่ในสังสารวัฏครับ ไม่ใช่นิพพาน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2008, 9:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คามินธรรม พิมพ์ว่า:
ซึ่งพกพรหม ถามถึงพรหม(สภาวะ) ที่ตัวเองกำลังอยู่
โดยตัวเองเข้าใจว่า พรหมนี้เที่ยง ไม่ทุกข์

แต่พระพุทธเจ้าบอกว่า "ฐานะแห่งพรหม" มันไม่เที่ยง มัน่ทุกข์ และสภาวะพรหมที่พกพรหมกำลังอยู่นี้มีระยะเวลาอยู่หนึ่งแสนนิรัพพุท

ซึ่งคำว่าพรหม ที่ผู้เขียนถาม
ไม่ใช่ พรหม ที่ยกมาตอบ




ตรงนี้ผมจำได้ว่าความหมายคื่อ พรหมมีอายุนานมากๆๆๆๆๆๆ จึงเกิดอุปทานว่าตนเองนั้นมีชีวิตนิรันดร์

ทำให้เข้าใจว่าพวกตนเป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง

แต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นว่า พรหมนั้นก็มีอายุขัยเช่นกัน

คื่ออยู่ในไตรลักษณ์

โดยจุดประสงค์แล้ว ทั้งสองแห่งไม่น่าจะขัดแย้งกัน

คุณ คามินธรรมครับ

ด้วยความเคารพ

พระธรรมทั้งหลาย นำแปลมาจากภาษาบาลี

และมีอายุนานมากๆแล้ว

ถ้าจะเอาหลักนิรุติศาสตร์มาจับผิดจับถูกโดยไม่คำนึงถึงสภาวะสิ่งแวคล้อมของยุคสมัย คงไม่ถูกต้อง

ในความเข้าใจของผม การศึกษาธรรมพึงจับประเด็นของเจตนาของเนื้อหาแห่งธรรมนั้นๆมากกว่า

ตามประเด็นของเจตนาที่เราต้องการจะศึกษา

เป็นต้นว่า

ผมต้องการศึกษาธรรมะเพราะว่าผมอายุมากแล้ว จะตายว่าตายพรุ่งยังไม่รู้

ศึกษาธรรมเพื่อเตรียมตัวตาย

ใน84000พระธรรมขันธ์ ผมคงไม่ไปใช้เวลาที่เหลืออยู่นี้เพื่อพิสูจน์ความถูกผิด

ผมคงต้องรู้จักเลือกเอาพระธรรมที่ใช้สำหรับเวลาใก้ลตาย

คื่อรู้จักอริยสัจจ

มากกว่านั้นคื่อรู้จากทุกข์ และวิธีปฏิบัติตนในการดับทุกข์

ถ้ารู้จักกระบวนการเกิดทุกข์ และ กระบวนการดับทุกข์ก็ยิ่งดี

แต่ถ้าผมต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ทุกข์ที่ว่าเป็นอย่างไรในทางนิรุติศาสตร์

แปลว่าไม่มีความสุขบ้าง แปลว่าตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ถูกบีบคั้นบ้าง

ไม่เห็นตรงกัน

ผมก็คงตายเปล่า

ทั้งนี้สุดแท้แต่เจตนาของการศึกษาธรรมของแต่ละบุคคล

คุณคามินเห็นว่าอย่างไรครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง