ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 5:21 am |
  |
-ปัจจุบันชาวพุทธศึกษาหลักธรรม ครบทุกด้านหรือยัง
ทั้งด้านสภาวธรรม และ ด้านจริยธรรม
ได้นำหลักธรรมทั้งสองด้านมาใช้ดำเนินชีวิตอย่างไรหรือไม่ เป็นไปตามพุทธประสงค์หรือยัง
ศึกษาจุดกำเนิดพระศาสนาบ้างหรือไม่ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ
การเมือง ศาสนาที่มีมาก่อนพุทธ ชีวิตความเป็นอยู่ระหว่างผู้มีอำนาจกับประชาชนชั้น
กรรมาชีพในครั้งพุทธกาล
ลองอ่านแล้วพิจารณาความเป็นมาของพระพุทธศาสนาโดยองค์รวม เผื่อว่าจะแลเห็นเค้า
ธรรมะทั้งสองด้านดังกล่าว อีกทั้งพุทธประสงค์ในการเผยแผ่ธรรมแก่หมู่ประชา ฯลฯ
ในหนังสือพุทธธรรม ท่านเจ้าคุณ ป.อ. ประยุทธ์ ปยุตฺโต เขียนลำดับความความเป็นมา
ของพระศาสดา เป็นต้น ไว้คร่าวๆ ดังนี้
บอร์ดใหม่
http://fws.cc/whatisnippana/index.php |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 พ.ย.2010, 10:46 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 5:30 am |
  |
-พระพุทธศาสนานั้น เมื่อมองในทัศนะของคนสมัยใหม่
มักเกิดปัญหาขึ้นบ่อยๆ ว่า เป็นศาสนา (religion)
หรือ เป็นปรัชญา (philosophy)
หรือว่า เป็นเพียงวิธีครองชีวิตแบบหนึ่ง (a way of life)
เมื่อปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นเหตุให้ต้องถกเถียงหรือแสดงเหตุผล
ทำให้เรื่องยืดยาวออกไป
อีกทั้งมติในเรื่องนี้ ก็แตกต่างไม่ลงเป็นแบบเดียวกัน ทำให้เป็นเรื่องฟั่นเฝือ ไม่มีที่สิ้นสุด
ในที่นี้จะมุ่งแสดงแต่ในขอบเขตว่า พุทธธรรมสอนว่า อย่างไร มีเนื้อหาอย่างไรเท่านั้น
ส่วนที่ว่า พุทธธรรมจะเป็นปรัชญาหรือไม่ ให้เป็นเรื่องของปรัชญาเองที่จะมีขอบเขต
ครอบคลุมหรือสามารถตีความให้ครอบคลุมถึงพุทธธรรมได้หรือไม่
โดยที่ว่า พุทธธรรม ก็คือ พุทธธรรม และยังคงเป็นพุทธธรรมอยู่นั่นเอง
มีข้อจำกัดเพียงอย่างเดียวว่า หลักการหรือคำสอนใดก็ตาม
ที่เป็นเพียงการคิดค้นหาเหตุผลในเรื่องความจริง เพื่อสนองความต้องการทางปัญญา
โดยมิได้มุ่งหมายและมิได้แสดงแนวทางสำหรับประพฤติปฏิบัติในชีวิตจริง
อันนั้น ให้ถือว่า ไม่ใช่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างที่ถือว่า เป็นคำสอนเดิมแท้
ของพระพุทธเจ้า ซึ่งในที่นี้เรียกว่า พุทธธรรม
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 5:39 am |
  |
การจะประมวลคำสอนแล้วสรุปลงว่า พุทธธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
และทรงมุ่งหมายแท้จริง เป็นอย่างไรนั้น เป็นเรื่องยาก
แม้จะยกข้อความในคัมภีร์ซึ่งถือกันว่าเป็นพุทธพจน์มาอ้าง เพราะคำสอนในคัมภีร์มีปริมาณ
มากมาย มีแง่ ด้านระดับความลึกซึ้งต่างๆ กัน และขึ้นต่อการตีความของบุคคล
โดยใช้สติปัญญาและความสุจริตใจหรือไม่เพียงไรด้วย
ในบางกรณี ผู้ถือความเห็นต่างกันสองฝ่าย
อาจยกข้อความในคัมภีร์มาสนับสนุนความคิดเห็นของตนได้ด้วยกันทั้งคู่
การวินิจฉัยความจริง ขึ้นต่อความแม่นยำในการจับสาระสำคัญ
และความกลมกลืนสอดคล้องแห่งหลักการและหลักฐานที่แสดงทั้งหมดโดยหน่วยรวมเป็นข้อ
สำคัญ
แม้กระนั้น
เรื่องที่แสดงและหลักฐานต่างๆ ก็มักไม่กว้างขวางครอบคลุมพอ
จึงหนีไม่พ้นจากอิทธิพลความเห็นและความเข้าใจพื้นฐานต่อพุทธธรรมของบุคคลผู้แสดงนั้น
ในเรื่องนี้
เห็นว่า ยังมีองค์ประกอบอีกอย่างหนึ่ง ที่ควรนำมาเป็นเครื่องวินิจฉัยด้วย คือ
ความเป็นไปในพระชนม์ชีพ และพระปฏิปทาขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา
ผู้เป็นแหล่งหรือที่มาของคำสอนเอง บุคลิกและสิ่งที่ผู้สอนได้กระทำ อาจช่วยแสดงความ
ประสงค์ที่แท้จริงของผู้สอนได้ดีกว่าคำสอนที่ปรากฏในคัมภีร์
หรือย่างน้อยก็เป็นเครื่องประกอบความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
หากจะมีผู้แย้งติงว่า องค์ประกอบข้อนี้ ก็ได้จากคัมภีร์ต่างๆ เช่นเดียวกับคำสอน
และขึ้นต่อการตีความได้เหมือนกัน แม้กระนั้น ก็ยังต้องยอมรับอยู่นั่นเองว่า เป็นเครื่อง
ประกอบการพิจารณาที่มีประโยชน์มาก
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 5:43 am |
  |
จากหลักฐานต่างๆทางฝ่ายคัมภีร์และประวัติศาสตร์ พอจะวางภาพเหตุการณ์ และสภาพสังคม
ครั้งพุทธกาล ได้คร่าวๆ ดังนี้
-พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในชมพูทวีป เมื่อประมาณ 2,600 ปีล่วงแล้ว
ทรงประสูติในวรรณะกษัตริย์ พระนามเดิมว่าเจ้าชายสิทธัตถะ
เป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองแคว้นศาสกยะ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ
ของชมพูทวีป ติดเชิงเขาหิมาลัย
ในฐานะโอรสกษัตริย์และเป็นความหวังของราชตระกูล
พระองค์จึงได้รับการปรนปรือด้วยโลกียะสุขต่างๆ อย่างเพียบพร้อม
และได้ทรงเสวยความสุขอยู่เช่นนี้เป็นเวลานานถึง 29 ปี
ทรงมีทั้งพระชายาและพระโอรส
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 5:44 am |
  |
ความเป็นไปในทางการเมือง
-ครั้งนั้น ในทางการเมือง รัฐบางรัฐที่ปกครองแบบราชาธิปไตยกำลังเรืองอำนาจขึ้น
และกำลังพยายามทำสงครามแผ่ขยายอำนาจและอาณาเขตออกไป รัฐหลายรัฐ
โดยเฉพาะที่ปกครองแบบสามัคคีธรรม (หรือแบบสาธารณรัฐ) กำลังเสื่อมอำนาจลงไปเรื่อยๆ
บางรัฐ ก็ถูกปราบรวมเข้าในรัฐอื่นแล้ว
บางรัฐ ที่ยังเข้มแข็งก็อยู่ในสภาพตึงเครียด สงครามอาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้
แม้รัฐใหญ่ที่เรืองอำนาจ ก็มีการขัดแย้งรบพุ่งกันบ่อยๆ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 5:45 am |
  |
-ทางเศรษฐกิจ
-ในทางเศรษฐกิจ การค้าขายกำลังขยายตัวกว้างขวางขึ้น เกิดมีคนประเภทหนึ่ง
มีอิทธิพลมากขึ้นในสังคม คือ พวกเศรษฐี ซึ่งมีสิทธิมีเกียรติยศ
และอิทธิพลมากขึ้นแม้ในราชสำนัก
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 5:49 am |
  |
-ทางสังคม
-ในทางสังคม คนแบ่งออกเป็น 4 วรรณะ ตามหลักคำสอนของพราหมณ์ มีสิทธิเกียรติฐานะ
ทางสังคมและอาชีพการงาน แตกต่างกันไปตามวรรณะของตนๆ
แม้นักประวัติศาสตร์ฝ่ายฮินดูจะว่าการถือวรรณะในยุคนั้น ยังไม่เคร่งครัดนัก แต่อย่างน้อยคน
วรรณะศูทร ก็ไม่มีสิทธิที่จะฟัง
หรือกล่าวความในพระเวทอันเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์ได้
ทั้งมีกำหนดโทษไว้อย่างรุนแรงถึงผ่าร่างกายเป็น 2 ซีกด้วย
และ
คนจัณฑาล หรือ พวกนอกวรรณะ ก็ไม่มีสิทธิได้รับการศึกษาเลย
การกำหนดวรรณะก็ใช้ชาติกำเนิดเป็นเครื่องแบ่งแยก โดยเฉพาะพวกพราหมณ์
กำลังพยายามยกตนขึ้น ถือตนว่าเป็นวรรณะสูงสุด
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 5:53 am |
  |
-ทางศาสนา
-ส่วนในทางศาสนา พวกพราหมณ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นผู้รักษาศาสนาพราหมณ์สืบต่อกันมา
ก็ได้พัฒนาคำสอนในด้านลัทธิพิธีกรรมต่างๆ ให้ลึกลับซับซ้อนใหญ่โตโอ่อ่าขึ้น
พร้อมกับที่ไร้เหตุผลลงโดยลำดับ
การที่ทำดังนี้ มิใช่เพียงเพื่อวัตถุประสงค์ทางศาสนาเท่านั้น
แต่มุ่งสนองความต้องการของผู้มีอำนาจที่จะแสดงเกียรติยศ
ความยิ่งใหญ่ของตนประการหนึ่ง
และ
ด้วยมุ่งหวังผลประโยชน์ตอบแทน ที่จะได้จากผู้มีอำนาจเหล่านั้นอย่างหนึ่ง
พิธีกรรมเหล่านี้ ล้วนชักจูงให้คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเองมากขึ้น
เพราะหวังผลตอบแทนเป็นทรัพย์สมบัติและกามสุขต่างๆ
พร้อมกันนี้
ก็ก่อความเดือดร้อนแก่คนชั้นต่ำ พวกทาสกรรมกรที่ต้องทำงานหนัก
และการทารุณต่อสัตว์ด้วยการฆ่าบูชายัญครั้งละเป็นจำนวนมากๆ
(ดูวาเสฏฐสูตร และ พราหมณ์ธัมมิกสูตร)
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 5:57 am |
  |
-ในเวลาเดียวกัน พราหมณ์จำนวนหนึ่งได้คิดว่า พิธีกรรมต่างๆ ไม่สามารถให้ตน
ประสบชีวิตนิรันดรได้ จึงได้เริ่มคิดเอาจริงเอาจังกับปัญหาเรื่องชีวิตนิรันดร
และหนทางที่จะนำไปสู่ภาวะเช่นนั้น ถึงกับยอมปลีกตัวออกจากสังคม
ไปคิดค้นแสวงคำตอบอาศัยความวิเวกอยู่ในป่า
และคำสอนของศาสนาพราหมณ์ในยุคนี้ ซึ่งเรียกว่า ยุคอุปนิษัท
ก็มีความขัดแย้งกันเองมาก
บางส่วนอธิบายเพิ่มเติมเรื่องพิธีกรรมต่างๆ
บางส่วนกลับประณามพิธีกรรมเหล่านั้น และในเรื่องชีวิตนิรันดรก็มีความเห็นต่างๆกัน
มีคำสอนเรื่องอาตมันแบบต่างๆ ที่ขัดกัน จนถึงขั้นสุดท้ายที่ว่า อาตมัน คือ พรหมัน
ที่เป็นมาและแทรกซึมอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง มีภาวะที่อธิบายไม่ได้อย่างที่เรียกว่า
เนติ เนติ (ไม่ใช่นั่น ไม่ใช่นั่น)
เป็นจุดหมายสูงสุดของการบำเพ็ญเพียรทางศาสนา และพยายามแสดงความหมายโต้ตอบ
ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสภาพของภาวะเช่นนี้ พร้อมกับที่หวงแหนความรู้เหล่านี้ไว้
ในหมู่ของพวกตน
พร้อมกันนั้น
นักบวชอีกพวกหนึ่ง ซึ่งเบื่อหน่ายต่อความไร้สาระแห่งชีวิตในโลกนี้
ก็ได้ไปบำเพ็ญเพียรแบบต่างๆ ตามวิธีการของพวกตนๆ ด้วยหวังว่าจะได้พบชีวิตอมตะ
หรือผลสำเร็จอันวิเศษอัศจรรย์ต่างๆ ที่ตนหวัง
บ้างก็บำเพ็ญตบะทรมานตนด้วยประการต่างๆ ตั้งต้นแต่อดอาหาร
ไปจนถึงการทรมานร่างกายแบบแปลกๆ ที่คนธรรมดาคิดไม่ถึงว่าจะเป็นไปได้
บ้างก็บำเพ็ญสมาธิจนถึงกล่าวว่าทำปาฏิหาริย์ได้ต่างๆ
บ้างก็สามารถบำเพ็ญฌานจนได้ถึงรูปสมาบัติ อรูปสมาบัติ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 6:57 am |
  |
-อีกด้านหนึ่ง นักบวชประเภทที่เรียกว่าสมณะ อีกหลายหมู่หลายพวก
ซึ่งได้สละเหย้าเรือนออกบวชแสวงหาจุดหมายชีวิตเช่นเดียวกัน
ก็ได้เร่ร่อนท่องเที่ยวไปในบ้านเมืองต่างๆ
ถกเถียงถามปัญหากันบ้าง
ตั้งตนเป็นศาสดาแสดงทัศนะของตนต่างๆ กัน หลายแบบหลายอย่าง
จนปรากฏว่า เกิดมีลัทธิต่างๆ ขึ้น เป็นอันมาก...
(ตามหลักฐานในคัมภีร์ ว่า ลัทธิทั้งฝ่ายสมณะ และฝ่ายพราหมณ์ แยกเป็นทิฐิ
หรือ ทฤษฎีได้ถึง 62 อย่าง)
เฉพาะที่เด่นๆ ซึ่งปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนา ถึง 6 ลัทธิ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 7:01 am |
  |
สภาพเช่นนี้ สรุปสั้นๆ คงได้ความว่า ยุคนั้น
คนพวกหนึ่ง กำลังรุ่งเรืองขึ้นด้วยอำนาจวาสนา และ กำลังเพลิดเพลินมัวเมา
แสวงหาทรัพย์สมบัติ และ ความสุขทางวัตถุต่างๆ
พร้อมกับที่คนหลายพวก กำลังมีฐานะ และ ความเป็นอยู่ด้วยลงๆ ทุกที
ไม่ค่อยได้รับความเหลียวแล
ส่วนคนอีกพวกหนึ่ง ก็ปลีกตัวออกไปเสียจากสังคมทีเดียว ไปมุ่งมั่นค้นหาความจริง
ในทางปรัชญา โดยมิได้ใส่ใจสภาพสังคมเช่นเดียวกัน
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 7:10 am |
  |
-เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงได้รับความปรนปรือด้วยโลกียะสุขอยู่เป็นเวลานานถึง 29 ปี
และ
มิใช่เพียงปรนปรือเอาใจเท่านั้น ยังได้ทรงถูกปิดกั้นไม่ให้พบเห็น
สภาพความเป็นอยู่ที่ระคนด้วยความทุกข์ของสามัญชนทั้งหลายด้วย
แต่สภาพเช่นนี้
ไม่สามารถถูกปิดบังจากพระองค์ได้เรื่อยไป ปัญหาเรื่องความทุกข์ความเดือดร้อนต่างๆ
ของมนุษย์อันรวมเด่นอยู่ที่ความแก่ เจ็บ และตาย เป็นสิ่งที่ทำให้พระองค์ต้องครุ่นคิดแก้ไข
ปัญหานี้ คิดสะท้อนออกไปในวงกว้างให้เห็นสภาพสังคม
ที่คนพวกหนึ่ง
-ได้เปรียบกว่า ก็แสวงหาแต่โอกาสที่จะหาความสมบูรณ์พูนสุขใส่ตน
แข่งขันแย่งชิง เบียดเบียนกัน หมกมุ่นมัวเมา อยู่ในความสุข เหล่านั้น
ไม่ต้องคิดถึงความทุกข์ยากเดือดร้อนของใครๆ ดำรงชีวิตอยู่อย่างทาสของวัตถุ
ยามสุขก็ละเมอมัวเมาอยู่ในความคับแคบของจิตใจ
ถึงคราวถูกความทุกข์เข้าครอบงำ ก็ลุ่มหลงไร้สติเหี่ยวแห้งคับแค้นเกินสมควร
แล้วก็แก่เจ็บตายไปอย่างไร้สาระ
ฝ่ายคนที่เสียเปรียบ
-ไม่มีโอกาส ถูกบีบคั้นกดขี่ อยู่อย่างคับแค้น แล้วก็แก่เจ็บตายไปโดยไร้ความหมาย
เจ้าชายสิทธัตถะ
-ทรงมองเห็นสภาพเช่นนี้แล้ว ทรงเบื่อหน่ายในสภาพความเป็นอยู่ของพระองค์
มองเห็นความสุข ความปรนปรือเหล่านั้น เป็นของไร้สาระ
ทรงคิดหาทางแก้ไขจะให้มีความสุขที่มั่นคง เป็นแก่นสาร
ทรงคิดแก้ปัญหานี้ไม่ตก และ สภาพความเป็นอยู่ของพระองค์ ท่ามกลางความเย้ายวน
สับสนวุ่นวายเช่นนั้น ไม่อำนายแก่การใช้ความคิดที่ได้ผล
ในที่สุด
- ทรงมองเห็นภาพพวกสมณะ ซึ่งเป็นผู้ได้ปลีกตัวจากสังคม
ไปค้นคว้าหาความจริงต่างๆ โดยมีความเป็นอยู่ง่ายๆ ปราศจากกังวล
และสะดวกในการแสวงหาความรู้ และ คิดหาเหตุผล
สภาพความเป็นอยู่แบบนี้ น่าจะช่วยพระองค์ให้แก้ปัญหานี้ได้ และบางทีสมณะพวกนั้น
ที่ไปคิดค้นหาความจริงกันต่างๆ
บางคนอาจมีอะไรบางอย่าง ที่พระองค์จะเรียนรู้ได้บ้าง
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 7:17 am |
  |
เมื่อถึงขั้นนี้
เจ้าชายสิทธัตถะจึงเสด็จออกบรรพชา อย่างพวกสมณะที่มีอยู่แล้วในสมัยนั้น
พระองค์ ได้เสด็จไปศึกษาหาความรู้เท่าที่พวกนักบวชสมัยนั้นจะรู้และปฏิบัติกัน
ทรงศึกษาทั้งวิธีการแบบโยคะ
ทรงบำเพ็ญสมาธิจนได้ฌานสมาบัติ ถึงอรูปสมาบัติชั้นสูงสุด
ทรงแสดงอิทธิปฏิหาริย์ได้ ตามวิธีการของโยคะนั้น
ทรงบำเพ็ญตบะทรมานพระองค์
ในที่สุด ก็ทรงตัดสินได้ว่า วิธีการของพวกนักบวชเหล่านี้ทั้งหมด
ไม่สามารถแก้ปัญหา ดังที่พระองค์ทรงประสงค์ได้ เมื่อเทียบกับชีวิตของพระองค์
ก่อนเสด็จออกบรรพชาแล้ว ก็นับว่าเป็นการดำรงชีวิตอย่างเอียงสุดทั้งสองฝ่าย
พระองค์ จึงทรงหันมาดำเนินการคิดค้นของพระองค์เองต่อมา
จนในที่สุดได้ตรัสรู้
ธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบนี้ ต่อมาเมื่อทรงนำไปแสดงให้ผู้อื่นฟัง
ทรงเรียกว่า มัชเฌนธรรม หรือ หลักธรรมสายกลาง
และ
ทรงเรียกข้อปฏิบัติ อันเป็นระบบที่พระองค์ทรงบัญญัติขึ้นว่า มัชฌิมาปฏิปทา
หรือ ทางสายกลาง
จากความท่อนนี้
จะมองเห็นทัศนะตามแนวพุทธธรรมว่าการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม อย่างลุ่มหลงหมกมุ่น
ปล่อยตัวไปเป็นทาสตามกระแสกิเลสก็ดี
การหลีกหนีออกไปโดยสิ้นเชิง ไม่เกี่ยวข้องรับผิดชอบอย่างใดต่อสังคม
อยู่อย่างทรมานตนก็ดี
นับว่า เป็นข้อปฏิบัติที่ผิด เอียงสุดด้วยกันทั้งสองอย่าง
ไม่สามารถให้มนุษย์ดำรงชีวิตอย่างมีความหมายแท้จริงได้
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 7:34 am |
  |
เมื่อตรัสรู้แล้วเช่นนี้
พระองค์ จึงเสด็จกลับคืนมา ทรงเริ่มต้นงานสั่งสอนพุทธธรรม เพื่อประโยชน์แก่สังคม
ของชาวโลกอย่างหนักแน่นจริงจัง และ ทรงดำเนินงานนี้จนตลอด 45 ปี
แห่งพระชนม์ชีพระยะหลัง
แม้ไม่พิจาณาเหตุผลด้านอื่น มองเฉพาะในแง่สังคมอย่างเดียว
ก็จะเห็นว่า พุทธกิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ เพื่อประโยชน์สุขแก่สังคมสมัยนั้น
จะสำเร็จผลดีที่สุด ก็ด้วยการทำงานในบรรพชิตเพศเท่านั้น
พระองค์ จึงได้ทรงชักจูงคนชั้นสูงจำนวนมาก ให้ละความมั่งมีศรีสุข ออกบวชศึกษา
เข้าถึงธรรมของพระองค์แล้ว ร่วมทำงานอย่างเสียสละอุทิศตน
เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ด้วยการจาริกไปเข้าถึงคนทุกชั้นวรรณะ
และ
ทุกถิ่นที่จะไปถึงได้
ทำให้บำเพ็ญประโยชน์ได้กว้างขวาง
อีกประการหนึ่ง
คณะสงฆ์ ก็เป็นแหล่งแก้ปัญหาสังคมได้อย่างสำคัญ
เช่น ในข้อว่า ทุกคนไม่ว่าจะเกิดในวรรณะใด เข้าบวชแล้วก็มีสิทธิเสมอกันทั้งสิ้น
ส่วนเศรษฐี คฤหบดี ผู้ยังไม่พร้อมที่จะเสียสละได้เต็มที่ ก็ให้คงครองเรือนอยู่เป็นอุบาสก
คอยช่วยให้กำลังแก่คณะสงฆ์ ในการบำเพ็ญกรณียกิจของท่าน และ นำทรัพย์สมบัติของตน
ออกบำเพ็ญประโยชน์สงเคราะห์ประชาชนไปด้วยพร้อมกัน
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 7:44 am |
  |
การบำเพ็ญกรณียกิจ ทั้งของพระพุทธเจ้า และ ของพระสาวก
มีวัตถุประสงค์และขอบเขตกว้างขวางเพียงใด จะเห็นได้จากพุทธพจน์
ตั้งแต่ครั้งแรก ที่ส่งสาวกออกประกาศพระศาสนาว่า
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุขของชนเป็นอันมาก
เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทธธรรมนั้น มีขอบเขตในทางสังคมที่จะให้ใช้ได้ และเป็นประโยชน์แก่บุคคลประเภทใด
บ้าง
พึงเห็นได้จากพุทธพจน์ในปาสาทิกสูตร ซึ่งสรุปความได้ว่า
พรหมจรรย์ (คือพระศาสนา) จะชื่อว่าสำเร็จผลแพร่หลายกว้างขวาง
เป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เป็นปึกแผ่น ถึงขั้นที่ว่า เทวดาและมนุษย์ประกาศไว้ดีแล้ว
ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่อไปนี้ครบถ้วน คือ
1. องค์พระศาสดา เป็นเถระ รัตตัญญู ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ
2. มีภิกษุสาวกที่เป็นเถระ มีความรู้เชียวชาญ ได้รับการฝึกฝนอบรมอย่างดี
แกล้วกล้า อาจหาญ บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ
สามารถแสดงธรรมให้เห็นผลจริงจัง กำราบปรัปวาท
(ลัทธิที่ขัดแย้งหรือวาทะฝ่ายตรงข้าม)
ที่เกิดขึ้นให้สำเร็จเรียบร้อย โดยถูกต้องตามหลักธรรม และมีภิกษุสาวกชั้นกลาง
และชั้นนวกะ ที่มีความสามารถเช่นเดียวกันนั้น
3. มีภิกษุณีสาวิกา ชั้นเถรี ชั้นปูนกลาง และชั้นนวกะ ที่มีความสามารถเช่นเดียวกันนั้น
4. มีอุบาสกทั้งประเภทพรหมจารี และประเภทครองเรือนเสวยกามสุข
ซึ่งมีความสามารถเช่นเดียวกันนั้น
5. มีอุบาสิกา ทั้งประเภทพรหมจาริณี และประเภทครองเรือนเสวยกามสุข
ซึ่งมีความสามารถเช่นเดียวกันนั้น
เพียงแต่ขาดอุบาสิกาประเภทครองเรือนเสียอย่างเดียว
พรหมจรรย์ ก็ยังไม่ชื่อว่าเจริญบริบูรณ์เป็นปึกแผ่นดี
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 7:55 am |
  |
ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรม
ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรมนั้น สรุปได้ 2 อย่าง คือ
1. แสดงหลักความจริงสายกลาง ที่เรียกว่า "มัชเฌนธรรม
หรือ เรียกเต็มว่า มัชเฌนธรรมเทศนา
ว่าด้วยความจริงตามแนวของเหตุผลบริสุทธิ์ ตามกระบวนการของธรรมชาติ
นำมาแสดงเพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติในชีวิตจริงเท่านั้น
ไม่ส่งเสริมความพยายามที่จะเข้าถึงสัจธรรม ด้วยวิธีถกเถียงสร้างทฤษฎีต่างๆ ขึ้น
แล้วยึดมั่นปกป้องทฤษฎีนั้น ๆ ด้วยการเก็งความจริงทางปรัชญา
2. แสดงข้อปฏิบัติสายกลาง ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา
อันเป็นหลักการครองชีวิตของผู้ฝึกอบรมตน ผู้รู้เท่าทันชีวิต ไม่หลงงมงาย
มุ่งผลสำเร็จ คือ ความสุข สะอาด สว่าง สงบ เป็นอิสระ
ที่สามารถมองเห็นได้ในชีวิตนี้
ในทางปฏิบัติ
ความเป็นสายกลางนี้ เป็นไปโดยสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆ
เช่น สภาพชีวิตของบรรพชิต หรือ คฤหัสถ์ เป็นต้น
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 8:02 am |
  |
-พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งการกระทำ (กรรมวาท และ กิริยวาท)
เป็นศาสนา แห่งความเพียรพยายาม (วิริยวาท)
ไม่ใช่ศาสนา แห่งการอ้อนวอนปรารถนา หรือ ศาสนาแห่งความห่วงหวังกังวล
การสั่งสอนธรรมของพระพุทธเจ้า ทรงมุ่งผลในทางปฏิบัติ
ให้ทุกคนจัดการกับชีวิตที่เป็นอยู่จริงๆ ในโลกนี้ และเริ่มแต่บัดนี้
ความรู้ในหลักที่ว่า มัชเฌนธรรมเทศนา ก็ดี
การประพฤติตามมรรคาที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ก็ดี
เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในสภาพและระดับชีวิตอย่างใด
สามารถเข้าใจและนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ตามสมควร
แก่สภาพและระดับชีวิตนั้นๆ
ถ้าความห่วงใยในเรื่องชีวิตหลังจากโลกนี้มีอยู่
ก็จงทำชีวิตดีงามอย่างที่ต้องการนั้นให้เกิดมีเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา
ด้วยการประพฤติปฏิบัติแต่บัดนี้ จนมั่นใจตนเองว่าจะไปดี โดยไม่ต้องกังวลหรือหวาดหวั่น
ต่อโลกหน้านั้นเลย
ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันโดยธรรมชาติ ที่จะเข้าถึงผลสำเร็จเหล่านี้
แม้ว่าความสามารถจะต่างกัน
ทุกคนจึงควรได้รับโอกาสเท่าเทียมกันที่จะสร้างผลสำเร็จนั้น
ตามความสามารถของตน และความสามารถนั้น ก็เป็นสิ่งดัดแปลงเพิ่มพูนได้
จึงควรให้ทุกคนมีโอกาสที่จะพัฒนาความสามารถของตนอย่างดีที่สุด
และแม้ว่าผลสำเร็จที่แท้จริง ทุกคนจะต้องทำด้วยตนเอง
โดยตระหนักในความรับผิดชอบของตนอย่างเต็มที่
แต่ทุกคนก็เป็นอุปกรณ์ในการช่วยตนเองของคนอื่นได้
ดังนั้น
หลักอัปปมาทธรรม และหลักความมีกัลยาณมิตร จึงเป็นหลักธรรมที่เด่น
และเป็นข้อที่เน้นหนักทั้งสองอย่าง ในฐานะความรับผิดชอบต่อตนเองฝ่ายหนึ่ง
กับปัจจัยภายนอกที่จะช่วยเสริมอีกฝ่ายหนึ่ง
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 8:12 am |
  |
หากจะยกเอาผลงาน และ พระจริยาของพระพุทธเจาขึ้นมาเป็นหลักพิจารณา
จะมองเห็นแนวทางการบำเพ็ญพุทธกิจ ที่สำคัญหลายอย่าง
เช่น
ทรงพยายามล้มล้างความเชื่อถืองมงายในเรื่องพิธีกรรมอันเหลวไหลต่างๆ
โดยเฉพาะการบูชายัญ ด้วยการสอนย้ำถึงผลเสียหายและความไร้ผลพิธีกรรมเหล่านั้น
ทั้งนี้
เพราะยัญพิธีเหล่านั้น ทำให้คนมัวแต่คิดหวังพึ่งเหตุปัจจัยในภายนอก อย่างหนึ่ง
ทำให้คน กระหายทะยาน และ คิดหมกมุ่นในผลประโยชน์ทางวัตถุเพิ่มพูน
ความเห็นแก่ตน ไม่คำนึ่งถึงความทุกข์ยากเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์และสัตว์ อย่างหนึ่ง
ทำให้คนคิดหวังแต่เรื่องอนาคต จนไม่คิดปรับปรุงปัจจุบันอย่างหนึ่ง
แล้วกลับทรงสอนย้ำหลักการให้ทาน ให้เสียสละแบ่งปันและสงเคราะห์กันในสังคม
สิ่งต่อไปที่ทรงพยามสอนหักล้าง
คือระบบความเชื่อเรื่องวรรณะ ที่นำเอาชาติกำเนิดเป็นขีดขั้นจำกัดสิทธิและโอกาส
ทั้งในทางสังคม และ ทางจิตใจของมนุษย์
ทรงตั้งคณะสงฆ์ที่เปิดรับคนจากทุกวรรณะ ให้เข้าสู่ความเสมอภาคกัน เหมือนทะเล
ที่รับน้ำจากแม่น้ำทุกสาย กลมกลืนเข้าเป็นอันเดียวกัน
ทำให้เกิดสถาบันวัด
ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางเผยแพร่วัฒนธรรม และการศึกษาที่สำคัญยิ่ง
จนศาสนาฮินดูต้องนำไปจัดตั้งขึ้นบ้าง ในศาสนาของตน
เมื่อหลังพุทธกาลราว 1,400 หรือ 1,700 ปี
ทรงให้สิทธิแก่สตรีที่จะได้รับประโยชน์จากพุทธธรรม เข้าถึงจุดหมายสูงสุด
ที่พุทธธรรมจะให้เข้าถึงได้ เช่น เดียวกับบุรุษ
แม้ว่าการให้สิทธินี้ จะต้องทรงกระทำด้วยความหนักพระทัย
และด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะเตรียมการวางรูป ให้สภาพการณ์ได้สิทธิของสตรีนี้
ดำรงอยู่ด้วยดี ในสภาพสังคมสมัยนั้น เพราะสิทธิของสตรีในการศึกษาอบรมทางจิตใจ
ได้ถูกศาสนาพระเวทค่อยๆ จำกัดแคบเข้ามาจนปิดตายแล้วในสมัยนั้น
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 8:19 am |
  |
ประการต่อไป
ทรงสั่งสอนพุทธธรรม ด้วยภาษาสามัญที่ประชาชนใช้
เพื่อให้คนทุกชั้น ทุกระดับการศึกษา ได้รับประโยชน์จากธรรมนี้ทั่วถึง
ตรงข้ามกับศาสนาพราหมณ์ ที่ยึดความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท
และจำกัดความรู้ชั้นสูงไว้ในวงแคบของพวกตนด้วยวิธีการต่างๆ
โดยเฉพาะ คือ ด้วยการใช้ภาษาเดิมของสันสกฤต
ซึ่งรู้จำกัดในหมู่พวกตนเป็นสื่อถ่ายทอดและรักษาคัมภีร์
แม้ต่อมา จะมีผู้ขออนุญาตพระพุทธเจ้า ให้ยกพุทธพจน์ขึ้นสู่ภาษาพระเวท
พระองค์ก็ไม่ทรงอนุญาต ทรงยืนยันให้ใช้ภาษาของประชาชนตามเดิม
(ดูวินัย.7/181/70.) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2008, 8:27 am |
  |
ประการต่อไป
ทรงปฏิเสธโดยสิ้นเชิง ที่จะทำเวลาให้สูญเสียไปกับการถกเถียงปัญหา
ที่เกี่ยวกับการเก็งความจริงทางปรัชญา ซึ่งไม่อาจนำมาพิสูจน์ให้เห็นได้ด้วยวิธีแสดงเหตุผล
ทางคำพูด
ถ้าใครถามปัญหาเช่นนี้ พระองค์จะทรงยับยั้งเสีย แล้วดึงผู้นั้นกลับมาสู่ปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง
ที่เขาจะต้องเกี่ยวข้อง และปฏิบัติได้ในชีวิตจริงโดยทันที
(ดู อง. ทสก. 24/95-96/206-212...)
สิ่งที่จะพึงรู้ได้ด้วยคำพูด ทรงแนะนำด้วยคำพูด
สิ่งที่จะพึงรู้ด้วยการเห็น ทรงให้เขาดู
มิใช่ให้ดู สิ่งที่จะต้องเห็นด้วยคำพูด
และ
ทรงสอนพุทธธรรม โดยปริยายต่างๆ เป็นอันมาก
มีคำสอนหลายระดับ ทั้งสำหรับผู้ครองเรือน
ผู้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม
ผู้สละเรือนแล้ว
ทั้งคำสอน เพื่อประโยชน์ทางวัตถุ
และ
เพื่อประโยชน์ลึกซึ้งทางจิตใจ
เพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากพุทธธรรมทั่วถึงกัน
พุทธกิจที่กล่าวมานี้
เป็นเครื่องยืนยันข้อสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับพุทธธรรมที่พูดมาแล้วข้างต้น
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|