ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2008, 3:26 pm |
  |
มีความสงสัยของผมอยู่พอสมควร และต่างกันสิ้นเชิงกับข้อเขียนที่พี่ว่าไว้อะนะ
และมาตั้งกระทู้แยกนิดนึง
ข้อเขียนเดิมของพี่ ในกระทู้
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=68941#68941
โดยผมยก quote มาบางส่วน เฉพาะที่เกี่ยวข้อง .. ดังนี้
อ้างอิงจาก: |
คุณ"thammathai" ครับ
ข้อความของคุณ
" รู้ว่าเราคือจิตบริสุทธิ์....และใส่วิชชาลงไป = นิพพาน
นิพพานจึงอยู่พ้นโลกเหนือโลกจึงไม่เป็นอัตตาและอนัตตา "
ขออนุญาตชี้แนะนะครับ
1 รู้ว่าเราคือจิตบริสุทธิ์ นั้นถูกต้องแล้ว แต่เดิมเราอยู่ในนิพพานอยู่แล้ว แต่พวกเราต้องการ
เรียนรู้ภพภูมิอื่นๆด้วย เราจึงสร้างจักรวาล นรก สวรรค์ และสร้างกฎแห่งปฏิจจสมุปบาทขึ้นมา
|
ตรงที่ใส่สีแดงนี่ล่ะพี่ ผมว่ามันไม่ถูกต้อง
ต้องใช้คำว่า อย่างแรง
เดี๋ยวไปดูของอาจารย์มั่นก่อน อาจารยืว่าไว้ชัดแจ๋วเลย
อ้างอิงจาก: |
มุตโตทัย
๑๐. จิตเดิมเป็นธรรมชาติใสสว่าง แต่มืดมัวไปเพราะอุปกิเลส
ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฐํ
ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เสื่อมปภัสสรแจ้งสว่างมาเดิม แต่อาศัยอุปกิเลสเครื่องเศร้าหมองเป็นอาคันตุกะสัญจรมาปกคลุมหุ้มห่อ จึงทำให้จิตมิส่องแสงสว่างได้ ท่านเปรียบไว้ในบทกลอนหนึ่งว่า "ไม้ชะงกหกพันง่า(กิ่ง) กะปอมก่ากิ้งก่าฮ้อย กะปอมน้อยขึ้นมื้อพัน ครั้นตัวมาบ่ทัน ขึ้นนำคู่มื้อๆ" โดยอธิบายว่า คำว่าไม่ชะงก ๖,๐๐๐ ง่านั้นเมื่อตัดศูนย์ ๓ ศูนย์ออกเสียเหลือแค่ ๖ คงได้ความว่า ทวารทั้ง ๖ เป็นที่มาแห่งกะปอมก่า คือของปลอมไม่ใช่ของจริง กิเลสทั้งหลายไม่ใช่ของจริง เป็นสิ่งสัญจรเข้ามาในทวารทั้ง ๖ นับร้อยนับพัน มิใช่แต่เท่านั้น กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะทวียิ่งๆ ขึ้นทุกๆ วัน ในเมื่อไม่แสวงหาทางแก้ ธรรมชาติของจิตเป็นของผ่องใสยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด แต่อาศัยของปลอม กล่าวคืออุปกิเลสที่สัญจรเข้ามาปกคลุมจึงทำให้หมดรัศมี ดุจพระอาทิตย์เมื่อเมฆบดบังฉะนั้น อย่าพึงเข้าใจว่าพระอาทิตย์เข้าไปหาเมฆ เมฆไหลมาบดบังพระอาทิตย์ต่างหาก ฉะนั้น ผู้บำเพ็ญเพียรทั้งหลายเมื่อรู้โดยปริยายนี้แล้ว พึงกำจัดของปลอมด้วยการพิจารณาโดยแยบคายตามที่อธิบายแล้วในอุบายแห่งวิปัสสนาข้อ ๙ นั้นเถิด เมื่อทำให้ถึงขั้นฐีติจิตแล้ว ชื่อว่าย่อมทำลายของปลอมได้หมดสิ้นหรือว่าของปลอมย่อมเข้าไปถึงฐีติจิต เพราะสะพานเชื่อมต่อถูกทำลายขาดสะบั้นลงแล้ว แม้ยังต้องเกี่ยวข้องกับอารมณ์ของโลกอยู่ก็ย่อมเป็นดุจน้ำกลิ้งบนใบบัวฉะนั้น |
เพราะอาจารย์มั่นบอกชัดว่า
จิตเดิม หรือจิตปภัสสร นั้นไม่ได้อยู่ในนิพพาน (มาจากไหนก็ไม่รู้อะนะ ยังหาไม่เจอ)
จิตเดิม นั้นเป็นเพียงจิต ที่ยังไม่มีตัวรู้ มีสิทธิหลงอีก ต้องทำให้มันรู้โดยอุบายแห่งวิปัสสนา จึงจะนิพพาน
จิตนิพพาน มีตัวรู้ ไม่หลงอีก ไม่กลับมาอีก
จิตมันก็คงมีคุณสมบัติเหมือนกัน
แต่ต่างกันตรง รู้ และไม่รู้ นี่ล่ะคับ
เมื่อรู้แจ้ง ย่อมไม่มีอวิชชาใดมาเกาะจับได้อีก
ไม่เกิดอีก ปฎิจสมุปบาทดับลง
จิตไม่รู้แจ้ง จึงยังคงผสมกับอวิชชา
แล้วกลับมาเกิดอีกในปฎิจสมุปบาท
จิตแบบพระผู้เป้นเจ้าที่พี่ว่ามา จึงไม่ใช่จิตเดียวกับกับนิพพาน
เพราะต่างกันที่ตัวรู้
จิตที่มีตัวรู้ ย่อมไม่สนใจในสิ่งไม่เที่ยงทั้งปวง
คุณ thammathai ว่าไว้ถูกแล้ว
" รู้ว่าเราคือจิตบริสุทธิ์....และใส่วิชชาลงไป = นิพพาน |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2008, 6:10 pm |
  |
คุณคามินธรรมครับ
ลองตีความคำพูดของหลวงปู่มั่นใหม่ซิครับ หลวงปู่มั่นเปรียบจิตเป็นเหมือนพระอาทิตย์
และเปรียบกิเลสเป็นเมฆ เมฆไหลมาบดบังพระอาทิตย์ แต่พระอาทิตย์มันก็ยังเป็นพระอาทิตย์อยู่ไม่ใช่หรือครับ
ผมเปรียบจิตเดิมแท้เหมือนเพชรครับ จิตแท้ของเราไปตกอยู่ในโคลนตม เราจึงต้องขจัดโลนตมให้หมดไป
จะเป็นพระอาทิตย์หรือเพชรก็ตาม พระอาทิตย์หรือเพชรนั่นคือ นิพพาน เมฆหรือโคลนตม
พวกเราเหล่าพระเจ้า(พุทธะ)เป็นผู้เนรมิตมันขึ้นมาเอง สิ่งที่เราเนรมิตขึ้นมาทั้งหมดเป็นมายา
เป็นสังขตธาตุ สิ่งเหล่านี้เป็นอนัตตา หรืออุปทาน หรือมายา พวกเราเหล่าพระเจ้า(พุทธะ)คือ อสังขตธาตุ |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2008, 6:15 pm |
  |
คุณคามินธรรมครับ
ผมขอย้ำอีกครั้งว่า พวกเราทำให้เกิดจักรวาลและโลก ซึ่งเป็นสังขธาตุขึ้นมา แล้วพวกเราก็ลงมาเกิดมาเพื่อ....
1. เล่นเกมค้นหาตัวเอง ถ้าเราค้นหาตัวเองไม่พบ เราก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏต่อไปไม่มีสิ้นสุด พวกเราก็คือ (อนุ)พุทธะ หรือพระอรหันต์ หรือพุทธบุตร
ศาสนาคริสต์เรียกว่า พระบุตรของพระเจ้า เป็น 1 ใน 3 ของพระเจ้าที่ปรากฏออกมาให้รับรู้
ชาวพุทธเรียกว่าพระรัตนตรัย คริสต์เรียกว่า ตรีกานุภาพ
เมื่อพวกเราค้นหาตัวเองพบแล้ว เราทุกจิตก็จะเข้าถึงความบริสุทธิ์เหมือนเดิมก่อนออกมาเล่นเกม
พูดง่ายๆ พวกเราจะกลับไปเป็นพุทธะ หรือ อรหันต์ หรือ พระบุตรของพระเจ้า หรือ พระเจ้าเหมือนเดิมนั่นเอง
หลวงพ่อฤาษีลิงดำเรียก นิพพานว่า กลับบ้านเก่า
หลวงพ่อสดเทศน์ว่า ช้าเร็วทุกคนก็ต้องเข้านิพพานกันหมด
นั่นเป็นเพราะอะไรล่ะครับ ก็เพราะว่า จิตเดิมของเราทุกจิตเป็นจิตประภัสสร ก็อย่างที่ผมบอกไปแล้วว่า
พวกเราเคยอยู่ในนิพพานมาแล้วทั้งนั้น พวกเราเพียงแต่ออกมาเล่นเกมค้นหาตัวเองเท่านั้น ใครค้นหาตัวเอง
เจอแล้ว ก็เข้านิพพานไปก่อน ถ้ายังหาตัวเองไม่เจอ ก็ต้องเล่นเกมกันต่อไป
2. พวกเราเกิดมาเพื่อรับรู้สุขทุกข์ในภพภูมิต่างๆทั้ง 31-32 ภูมิ เปรียบเทียบกับความไม่ทุกข์ในนิพพาน
และเปรียบเทียบความสุขและความทุกข์จากการใช้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือขันธ์ 5 ของเรา
รับรู้ความสุขทุกข์จากอายตนะภายใน 6 และภายนอก 6 เมื่อเปรียบเทียบกับ ความไม่ทุกข์หรือความสุขบริสุทธิ์ในนิพพานของเรา
3 พวกเราเกิดมาเพื่อลองใช้สิ่งที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือขันธ์ 5 และสังขาร ที่เป็นสิงที่ไม่อมตะ ลองเกิด แก่ เจ็บ ตาย ในภพภูมิต่างๆดู เทียบกับการไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตาย หรือความเป็นอมตะภาวะของเราในนิพพาน |
|
|
|
  |
 |
guest
บัวบาน

เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2008, 8:23 pm |
  |
ขออนุญาตร่วมแสดงความเห็นครับ
ตามความคิดผมเป็นอย่างนี้ครับ
๑.ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจโข อาคนฺตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกิลิฏฺฐํ แปลว่า จิตเดิมผ่องใสแต่อาศัยกิเลสที่จรเข้าจรออก กิเลสจรมาจรไป แล้วก่อให้เกิดเชื้อไฟกับไฟประสานกันลุกเป็นเปลวไฟขึ้นมาภายในจิตใจของสัตว์ ท่านจึงเรียกว่ากิเลสเผาหัวใจสัตว์โลก
ซึ่งจิตประภัสสร คือ "จิตผ่องใส" รับกิเลสที่จรมาจรไปแล้วเกิดปฏิกิริยาคือเปลวไฟบนหัวใจสัตว์
๒.จิตพระอรหันต์ เป็น "จิตบริสุทธิ์" กิเลสเวลาจรมาจิตพระอรหันต์ ซึ่งเป็นจิตบริสุทธิ์ ก็จะเหมือนน้ำตกลงบนใบบัว น้ำตกลงบนใบบัวแล้วกลิ้งตกไปฉันใด กิเลสตั้งขึ้นในจิตพระอรหันต์ก็กลิ้งตกไปทันทีทันใดเช่นเดียวกัน
จิตพระอรหันต์เป็น "จิตบริสุทธิ์" ซึ่งต่างจากจิตเดิม หรือจิตประภัสสร คือ "จิตผ่องใส" ตรงกิเลสจรมาจรไปแล้วจิตบริสุทธิ์จะไม่เกิดปฏิกิริยากับกิเลส ส่วนจิตประภัสสรจะเกิดปฏิกิริยากับกิเลส |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2008, 8:36 pm |
  |
[quote="guest"]ขออนุญาตร่วมแสดงความเห็นครับ
ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจโข อาคนฺตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกิลิฏฺฐํ
จิตเดิมผ่องใสและเป็นจิตประภัสสรอยู่แล้ว กิเลสมันจะจรเข้ามาได้อย่างไร ถ้าเราไม่อนุญาตให้มันเข้ามา เราเป็นผู้อนุญาตให้มันเข้ามาเอง
เนื่องจากพวกเราไม่เชื่อว่า สภาวะนิพพานที่ไม่ทุกข์ของเรานั้นดีที่สุดแล้ว
พวกเราเหล่าพุทธะ หรือ พระอรหันต์ ต้องการลองของเอง อยู่เป็นพระเจ้าตลอดกาลโดยไม่รับรู้ภาวะอื่น
เปรียบเทียบ มันมองไม่เห็นความจริง ทุกอย่างมันเป็นสัมพัทธ์ ต้องเปรียบเทียบ จึงจะรู้ความจริง |
|
|
|
  |
 |
guest
บัวบาน

เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2008, 8:59 pm |
  |
จิตเดิมเป็นอวิชชาครับพอกิเลสจรมาก็หลงตาม ไม่อนุญาตก็ไม่ได้ครับเพราะเป็นอวิชชา คือไม่รู้ครับ และรู้ไม่ทันด้วยครับ
แล้วถ้าว่าจิตเดิมเป็นนิพพานอยู่แล้ว ถ้าเช่นนั้นนิพพานจะเที่ยงอยู่ได้อย่างไรล่ะครับ เพราะนิพพานแล้วก็ต้องออกจากนิพพาน แล้วก็ต้องดั้นด้นเข้านิพพานอีก พอเข้าก็ต้องออกมาิอีกเข้า ๆ ออก ไม่รู้จบสิ้น |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2008, 11:39 pm |
  |
guest พิมพ์ว่า: |
จิตเดิมเป็นอวิชชาครับพอกิเลสจรมาก็หลงตาม ไม่อนุญาตก็ไม่ได้ครับเพราะเป็นอวิชชา คือไม่รู้ครับ และรู้ไม่ทันด้วยครับ
แล้วถ้าว่าจิตเดิมเป็นนิพพานอยู่แล้ว ถ้าเช่นนั้นนิพพานจะเที่ยงอยู่ได้อย่างไรล่ะครับ เพราะนิพพานแล้วก็ต้องออกจากนิพพาน แล้วก็ต้องดั้นด้นเข้านิพพานอีก พอเข้าก็ต้องออกมาิอีกเข้า ๆ ออก ไม่รู้จบสิ้น |
นิพพานนั้นเที่ยงครับ ดวงอาทิตย์หรือเพชรมันก็เป็นดวงอาทิตย์หรือเพชรวันยังค่ำ เพียงแต่เรายังไม่รู้ว่า
เราเป็นดวงอาทิตย์หรือเพชรเท่านั้นเอง แต่ก็อย่างว่าแหละครับ คนที่ยังไม่รู้ว่าตนเองเป็นดวงอาทิตย์หรือเพชร
(มีจิตพุทธะอยู่กับตัวเอง) อธิบายยังไงก็คงไม่เข้าใจ
เหมือนแบบตัวเลขทุกตัว เช่น +1+2 (คนดี คนดีมาก) หรือ -1 กับ-2 (คนชั่ว คนชั่วมาก) มันมีเลข 0 กำกับอยู่ทั้งนั้น
+1+2 (คนดี คนดีมาก) หรือ -1 กับ-2 = +1(+0)+2(+0) (คนดี(มีพุทธะซ่อนอยู่) คนดีมาก(มีพุทธะซ่อนอยู่) )
หรือ -1(+0) กับ-2(+0) คนชัว (มีพุทธะซ่อนอยู่) คนชั่วมาก(มีพุทธะซ่อนอยู่)
แต่เราไม่เคยพูดถึง เลข 0 ที่ซ่อนอยู่อยู่ใต้ตัวเลข หรือ ไม่เคยคิดถึงพุทธะที่ซ่อนอยู่ในตัวเรา เราก็เลย
คิดว่า ตัวเลขทุกตัวเป็นอิสระจาก 0 หรือคนต่างจากพระเจ้า (หรือพุทธะ) |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
14 ก.ค.2008, 12:12 am |
  |
คุณguestครับ
คัดจากhttp://www.agalico.com/board/showthread.php?t=6310
จิตเดิมแท้หรือจิตหนึ่ง
คำนี้ปรากฏอยู่ในคำสอนของเซ็น ซึ่งท่านอาจารย์พุทธทาสนำมาให้เรารู้จัก
ด้วยการแปลหนังสือ สูตรของเว่ยหล่าง และคำสอนของฮวงโป
ความหมายก็น่าจะใกล้เคียงกับ "จิตว่าง" ที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
เดิมผมก็เชื่อตามๆ กันมาว่า
คำว่าจิตเดิมแท้ ไม่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก
แต่เป็นสิ่งที่เซ็นบัญญัติขึ้นเอง
จนเมื่อไม่นานมานี้ คุณดังตฤณ ไปพบ กามภูสูตรที่ 2
พระสุตตันตปิฎกเล่ม 10สังยุตนิกาย สฬายตนะวรรค
มีข้อความพาดพิงถึง จิตแท้(จิตดั้งเดิม)
หรือที่พระไตรปิฎกบาลีเรียกว่า จิตตํ ภาวิตํ
คราวนี้ก็มาถึงปัญหาที่ว่า จิตหนึ่งหรือจิตเดิมแท้ ของเซ็น
กับ จิตแท้หรือจิตดั้งเดิม ของเถรวาท คืออันเดียวกันหรือไม่
เรื่องนี้คงต้องพิจารณาถึงความหมาย
หรือคำอธิบายของแต่ละฝ่าย แล้วนำมาเปรียบเทียบกันดู
ท่านฮวงโปสอนเรื่องจิตเดิมแท้หรือจิตหนึ่งเอาไว้มาก
เช่นสอนว่า "จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้
เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้
ไม่มีทั้งปรากฏการณ์ อยู่เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด"
"จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นอยู่ตำตาแท้ๆ
แต่ลองไปใช้เหตุผลว่ามันเป็นอะไร
เราจะหล่นสู่ความผิดพลาดทันที
สิ่งนี้เป็นเหมือนความว่างอันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน
ซึ่งไม่อาจหยั่ง หรือวัดได้"
"จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ"
แต่สัตว์โลกไปยึดมั่นต่อรูปธรรม จึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก
ซึ่งไม่สามารถแสวงหาได้เลย ถ้าเขาเพียงแต่หยุดความคิดนึกปรุงแต่ง
และความกระวนการวายเพราะการแสวงหา
พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา"
"เพียงแต่ลืมตาตื่น พุทธะก็ปรากฏตรงหน้า"
สรุปแล้ว จิตเดิมแท้หรือจิตหนึ่งของเซ็น
ก็คือธรรมชาติรู้ที่เหนือความปรุงแต่ง และไม่เกิด ไม่ตาย
(หากศึกษาอย่างไม่ระมัดระวัง ก็อาจจะหลงสรุปว่า
จิตเดิมแท้คืออาตมัน หรืออัตตา หรือเต๋า
เพราะนิยามของสิ่งสูงสุดนั้น
เมื่อกล่าวเป็นคำพูดแล้ว คล้ายคลึงกันอย่างที่สุด)
************************************
สำหรับจิตแท้หรือจิตดั้งเดิมในพระไตรปิฎกนั้น
อยู่ในเรื่องเกี่ยวกับการเข้านิโรธสมาบัติ ดังนี้
[๕๖๓] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ... ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเกิดมีได้อย่างไร ฯ
พระกามภู : ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
เรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วบ้าง
โดยที่ถูกก่อนแต่จะเข้า
ท่านได้อบรมจิตที่จะน้อมไปเพื่อความเป็นจิตแท้ (จิตดั้งเดิม) ฯ
(พระไตรปิฎกบาลีใช้คำว่า จิตตํ ภาวิตํ - ปราโมทย์)
ข้อความในพระไตรปิฎกที่ยกมานั้น
ท่านพระกามภู มุ่งกล่าวถึงวิธีเข้านิโรธสมาบัติหรือสัญญาเวทยิตนิโรธ
ว่าไม่ได้เข้าด้วยการคิดว่าจะเข้า กำลังเข้า หรือเข้าแล้ว
เพราะถ้าคิด ก็เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ เนื่องจากนิโรธสมาบัติปราศจากความคิด
หากแต่ก่อนจะเข้า ผู้เข้าได้อบรมจิตของตนให้น้อมไปเพื่อความเป็นจิตแท้
เมื่อจิตน้อมไปเองสู่ความเป็นจิตแท้ จึงเข้านิโรธสมาบัติได้
แต่จิตแท้ หรือจิตตํ ภาวิตํ นี้ ก็ไม่พบคำอธิบายในชั้นพระไตรปิฎก
ผมลองค้นลงถึงชั้นอรรถกถา ก็ไม่พบเช่นกัน
(ไม่พบ ไม่ใช่ไม่มีนะครับ อาจมี แต่ผมยังค้นไม่พบก็ได้)
มิหนำซ้ำ เมื่อศึกษาลงถึงอภิธัมมัตถสังคหะ
ก็ไม่ปรากฏคำอธิบายถึง จิตแท้ นี้เช่นกัน
มิหนำซ้ำยังกล่าวว่า ในนิโรธสมาบัติไม่มีจิตเสียอีก ดังนี้ |
|
|
|
  |
 |
guest
บัวบาน

เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
|
ตอบเมื่อ:
14 ก.ค.2008, 11:43 pm |
  |
พอดีผมอยู่ต่างจังหวัดยังไม่สะดวก ถ้ามีเวลาผมจะช่วยค้นหาขอมูลอีกแรงครับ |
|
|
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
15 ก.ค.2008, 1:36 pm |
  |
แต่ผมว่านิพพานไม่ใช่จิต แต่น่าจะเป็นสภาวะของจิตครับ |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
15 ก.ค.2008, 8:15 pm |
  |
natdanai พิมพ์ว่า: |
แต่ผมว่านิพพานไม่ใช่จิต แต่น่าจะเป็นสภาวะของจิตครับ |
ได้ พระพุทธองค์ตรัสกับพระมหากัสสป ในตอนที่พระองค์ประทับ
นั่งท่ามกลางพุทธบริษัทว่า
...กัสสปะตถาคตมีธรรมจักษุครรภ์อันถูกต้อง และนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริง ย่อมไม่มีลักษณะเธอพึงรักษาไว้ให้ดี
ย้ำ! นิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริง ย่อมไม่มีลักษณะเธอพึงรักษาไว้ให้ดี |
|
|
|
  |
 |
kokorado
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 12 ก.ค. 2008
ตอบ: 104
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
15 ก.ค.2008, 8:28 pm |
  |
แล้วกิเลสมาจากไหน ใครเป็นคนสร้างขึ้นมา |
|
_________________ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม |
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
16 ก.ค.2008, 12:39 am |
  |
kokorado พิมพ์ว่า: |
แล้วกิเลสมาจากไหน ใครเป็นคนสร้างขึ้นมา |
แต่เดิมคุณกับผมและทุกจิต ล้วนอยู่ในนิพพาน พวกเราเป็นจิตประภัสสร พวกเราเป็นพระเจ้า(อณูของ
พระเจ้า หรือถ้าเรียกให้ถูกคือ อณูของพระพุทธเจ้าต้นธาตุ) พวกเราต้องอยู่ในจักรวาลชั่วนิรันดร
ตามลำพัง โดยไม่มีสิ่งใดอยู่เลย ทุกอย่างมันว่างเปล่า เป็นสุญญตา
เราไม่เคยรับสภาวะอื่นใดเลยนอกจากนิพพาน เนื่องจากจิตเราเป็นประภัสสร ไม่มีกิเลส อวิชชา
เข้ามาได้ ถ้าเราไม่ให้มันเข้ามา เราจึงจำเป็นต้องลองให้กิเลส อวิชชา เข้ามาในจิตของเรา
การที่กิเลส อวิชชา จะเข้ามาได้ พวกเราต้องลืมไปก่อนว่า พวกเราเป็นพระเจ้า แล้วเราก็
สร้างขันธ์ 5 สร้างโลกและจักรวาล สวรรค์ นรก และพรหมโลก รวมทั้งกาลเวลา และกฎเกณฑ์ต่างๆขึ้นมา
ทั้งนี้เพื่อรองรับกับความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์แห่งภูมิของดวงจิตดวงนั้น หลังจากนั้น เราซึ่งเป็นเพชรหรือเป็น
พระอาทิตย์ก็จะค่อยๆคัดกิเลส และอวิชชาออกไป เพื่อกลับไปเป็นพระเจ้าตามเดิม |
|
|
|
  |
 |
RARM
บัวบาน

เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417
|
ตอบเมื่อ:
16 ก.ค.2008, 7:05 am |
  |
แต่เดิมคุณกับผมและทุกจิต ล้วนอยู่ในนิพพาน พวกเราเป็นจิตประภัสสร พวกเราเป็นพระเจ้า(อณูของ
พระเจ้า หรือถ้าเรียกให้ถูกคือ อณูของพระพุทธเจ้าต้นธาตุ) พวกเราต้องอยู่ในจักรวาลชั่วนิรันดร
ตามลำพัง โดยไม่มีสิ่งใดอยู่เลย ทุกอย่างมันว่างเปล่า เป็นสุญญตา
--
จากข้อความข้างต้น ในเมื่อเราหรือจิตอยู่ในนิพพานแล้ว ไม่มีทุกข์ แล้ว
ทำไม จิตจึงต้องแสวงหาทุกข์อีก
แสดงว่า พระเจ้า เข้าๆ ออก ๆ นิพพานได้น่ะซิครับ
นี่เป็นหลักคำสอนของศาสนาไหนล่ะครับ ไม่เห็นพระพุทธเจ้าได้ทรงสอนแบบนี้เลย ครับ
งง
 |
|
|
|
  |
 |
thammathai
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 35
ที่อยู่ (จังหวัด): สังขตธาตุ
|
ตอบเมื่อ:
16 ก.ค.2008, 9:07 am |
  |
ผมว่าที่คุณพลสักดิ์กล่าวน่าจะเป็นศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูครับ
เพราะกล่าวว่าเราเป็นอณูของพระเจ้า(อาตมัน) เมื่อทำถึงที่สุดแล้วอณูทุกอณู(อาตมัน)จะเข้ารวมกับพระเจ้าเดิมคือพระพรหม(ปรมาตมัน)....อะไรทำนองนี้ละครับ.....ไม่ใช่พุทธศาสนา
อ้างอิงจาก: |
คุณพลศักดิ์กล่าวว่า...
แต่เดิมคุณกับผมและทุกจิต ล้วนอยู่ในนิพพาน พวกเราเป็นจิตประภัสสร |
ผมย้ำบอกแล้วว่า....
"จิตเดิมเราเป็นจิตปภัสสร บริสุทธิ์จริง....แต่ไม่ใช่จิตในนิพพานเพราะยังมีอวิชชาจึงต้องเข้าสู่สังสารวัฏ เมื่อมีวิชชาแล้วจึงเข้าสู่นิพพาน...จิตที่มีวิชชา หรือจิตนิพพานจะไม่มาเกิดอีกแล้ว" |
|
_________________ เราคือใจที่บริสุทธิ์ |
|
  |
 |
thammathai
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 35
ที่อยู่ (จังหวัด): สังขตธาตุ
|
ตอบเมื่อ:
16 ก.ค.2008, 9:33 am |
  |
kokorado พิมพ์ว่า:
อ้างอิงจาก: |
แล้วกิเลสมาจากไหน ใครเป็นคนสร้างขึ้นมา |
จิตเดิมที่มีอวิชชานี่แหละเป็นผู้สร้างเพราะคุณสมบัติข้อหนึ่งของจิต
จิตมีคุณสมบัติ
1.เวทนา.....รู้สึก เดิม รู้สึกได้ว่าเราคือ จิต
2.สัญญา.....จำ จำได้ว่าเราคือจิต
3.สังขาร......คิด คิดได้ว่าเราคือจิต
4.วิญญาณ...รับรู้ รับรู้ว่าเราคือจิต
5.อภิชฌา...เพ่ง เพ่งพลังให้จิตอื่นรู้ว่าเราคือจิต
คุณสมบัติเรื่องรู้สึก จำ รับรู้ ว่าเราคือจิต ทำได้แค่นั้นเพราะแต่เดิมยังไม่เคยมีอะไรเลยมากไปกว่า จิต
แต่คุณสมบัติเรื่อง คิด สามารถคิดได้ว่า ถ้ามีอะไรมากไปกว่าจิตจะเป็นอย่างไร เพรามันคิดได้เอง (เช่นเราคิดว่าไปดวงจันทร์ ย่อมคิดได้ใช่ไหม....แต่รู้สึกว่าไปดวงจันทร์ จำว่าไปดวงจันทร์นั้นทำไม่ได้เพราะยังไม่เคยไปนั่นเอง แต่ย่อมคิดเองได้ ปรุงแต่งเองได้)
การคิดว่าอะไรมากกว่าจิตจะเป็นอย่างไร.....ตัวนี้แหละทำให้เกิดกิเลส
ในปฏิจจสมุปบาทจึงกล่าวว่า อวิชชา ทำให้เกิด สังขาร
จิตอวิชชาจึงใช้อภิชฌาเพ่งพลังสร้างอะไรที่มากไปกว่าจิตคือสังขารธรรม
(เช่นจักรวาล โลก พระอาทิตย์ เป็นต้น)
จิตเดิมเป็นอมตธาตุ....อย่าถามนะว่าใครสร้าง เพราะถ้ามีใครสร้างก็ไม่ใช่จิตเดิม (ผู้มีปัญญา กล่าวแค่นี้ย่อมเข้าใจ)
จิตเดิมมันมีอยู่ของมันอยู่แล้ว อะไรที่มากไปกว่าจิต คือโลกธรรม คือสังขารธรรม คือสังขตธาตุ แล้วแต่จะเรียก ซึ่งย่อมแปรปรวนไปตามกฏไตรลักษณ์ เพราะใช้พลังเพ่งสร้างมา ก็ต้องสลายไป(action=reaction)
อะไรที่มากไปกว่าจิตจึงเป็นอนัตตา แต่เราหลงคิดว่ามันเป็นอัตตา ดังนั้นคำว่าอัตตาและอนัตตาจึงเป็นคำคู่ทางโลกที่เราใช้เรียกเปรียบเทียบกันเช่น ขาวกับดำเป็นต้น
ดังนัน นิพพานเป็นภาวะพ้นโลก เป็นหนึ่งเดียว ไม่มีเปรียบเทียบ จึงไม่ใช่อัตตาและอนัตตา จิตเดิมยังไม่ใช่นิพพานเพราะยังมีอวิชชาอยู่
เจริญในธรรมครับ |
|
_________________ เราคือใจที่บริสุทธิ์ |
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
16 ก.ค.2008, 11:59 am |
  |
คุณ"RARM"ครับ
ในเมื่อเราหรือจิตอยู่ในนิพพานแล้ว ไม่มีทุกข์ แล้ว
ทำไม จิตจึงต้องแสวงหาทุกข์อีก
แสดงว่า พระเจ้า เข้าๆ ออก ๆ นิพพานได้น่ะซิครับนี่เป็นหลักคำสอนของศาสนาไหนล่ะครับ ไม่เห็นพระพุทธเจ้าได้ทรงสอนแบบนี้เลย ครับ
งง [/b]
1. คุณถามผิดครับ ตอนที่อยู่ในนิพพาน คุณไม่เชื่อว่าภาวะนิพพานของคุณดีที่สุดแล้ว คุณเลยออกมา
ตอนนี้คุณรู้แล้วว่า นิพพานที่ไม่มีทุกข์ดีกว่า คุณเลยอยากกลับเข้าไปใหม่ แต่เข้าไม่ได้ต่างหาก
ทุกอย่างต้องมีการเปรียบเทียบ คุณรู้ได้อย่างไรว่านั่นสีขาว คุณรู้ได้เพราะมีสีดำ สีแดง ฯลฯ มาเทียบให้เห็น
2. พวกเราเหล่าพระเจ้าไม่ยอมทรงสภาวะพระเจ้า เพราะเราต้องอยู่แบบนั้นชั่วนิรันดร เลยกระจายตัวออกมา
เล่นเกมกันชั่วกาลปาวสานก็ไม่เป็นไร เนื่องจากกัลปาวสามันน้อยกว่านิรันดร
3. พระเจ้าเข้าๆ ออก ๆ นิพพานได้ถ้าพระองค์ต้องการ แต่นิพพานชุดหลัง ผมยังไม่เห็นใครออกมาเลย
ออกมาแค่จิตเดียว คือ พระอวโลกิเตศวร(กวนอิม) พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "เจิ่น ฝ่า หมิง ยู ไล้"
หรือพระสัทธรรมวิทยาตถาคต ด้วยพระมหาปณิธานที่เปี่ยมด้วยมหากรุณาคุณอันยิ่งใหญ่ มีพุทธประสงค์จะนิรมิต
พระโพธิสัตว์จํานวนมหาศาล แต่แล้วจึงบังเกิดเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์(องค์เดียว )
เพื่อช่วยทุกสรรพสัตว์ให้เข้านิพพานให้หมดก่อน แล้วพระองค์ค่อยเข้านิพพาน
4. พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เฉพาะตามที่สาวกต้องการ เถรวาทยุคนั้นต้องการดับทุกข์ให้เร็วที่สุด
พระองค์จึงเริ่มสอนจากจุดอวิชชา และปฏิจจสมุปบาท มหายานเป็นพวกอยากรู้อยากเห็นมาก
ถ้าพระพุทธเจ้าตอบเขาไม่ได้ เขาไม่เชื่อหรอกครับ พระพุทธเจ้าจึงสอนเรื่องอาทิพุทธเจ้า
(พระไวโรจนพุทธเจ้า พระสยัมภูพุทธเจ้าให้)
ผมเป็นผู้ที่อยากรู้มากกว่านั้นอีก ต้องการรู้เรื่องใบไม้นอกกำมือของพระพุทธเจ้า ผมจึงต้องรอมาถึง
2600 ปี จนโลกเจริญก่อน พระพุทธเจ้าจึงเปิดเผยเรื่องที่สุดลึกซึ้นให้ |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
16 ก.ค.2008, 12:21 pm |
  |
คุณ"thammathai" ครับ
ผมว่าที่คุณพลสักดิ์กล่าวน่าจะเป็นศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูครับ
เพราะกล่าวว่าเราเป็นอณูของพระเจ้า(อาตมัน) เมื่อทำถึงที่สุดแล้วอณูทุกอณู(อาตมัน)จะเข้ารวมกับพระเจ้าเดิมคือพระพรหม(ปรมาตมัน)....อะไรทำนองนี้ละครับ.....ไม่ใช่พุทธศาสนา
ที่ผมบอกคือพระพุทธศาสนาของแท้ขึ้งลึกซึ้งครับ ที่คุณรู้คือพุทธศาสนาเบื้องต้น ที่ฮินดูรู้คือ พระพุทธเจ้า
ต้นธาตุให้เขารู้ แต่เขาไม่เข้าใจ เพราะปฏิบัติไม่ถึงขั้น พระเจ้าคือพระพรหม(ปรมาตมัน)จริงๆ แต่ไม่ใช่
รูปพรหมหรืออรูปพรหม แต่เป็นพรหมภูต คือ แม้แต่พระพรหมก็ยังไม่เห็นท่าน พระเจ้าก็คือพระพุทธเจ้า
ดูที่พระพุทธเจ้าตรัสสิครับ
จากที.ปา. ๑๑/๕๕/๙๒/พ.ศ. ๒๕๒๕ มีข้อความตอนหนึ่งว่า
ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ
พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิฯ
ดูกรวาเสฏฐะ และภารทวาชะ เพราะคำว่า ธรรมกายก็ดี ว่า พรหมกายก็ดี
ว่าธรรมภูตก็ดี ว่าพรหมภูตก็ดี เป็นชื่อของตถาคตฯ
คือพระพุทธเจ้าตรัสว่า เพราะคำว่า "ธรรมกาย" ก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดี คำที่เป็นชื่อต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นชื่อของพระพุทธเจ้าทั้งนั้น"
ปรมาตมันหรือพรหมันก็คือ พรหมภูต นั่นเอง |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
16 ก.ค.2008, 12:47 pm |
  |
คุณ"thammathai"ครับ
ข้อความของคุณ
"จิตเดิมเราเป็นจิตปภัสสร บริสุทธิ์จริง....แต่ไม่ใช่จิตในนิพพานเพราะยังมีอวิชชาจึงต้องเข้าสู่สังสารวัฏ เมื่อมีวิชชาแล้วจึงเข้าสู่นิพพาน...จิตที่มีวิชชา หรือจิตนิพพานจะไม่มาเกิดอีกแล้ว"
จิตเดิมที่มีอวิชชานี่แหละเป็นผู้สร้างเพราะคุณสมบัติข้อหนึ่งของจิต
จิตมีคุณสมบัติ
1.เวทนา.....รู้สึก เดิม รู้สึกได้ว่าเราคือ จิต
2.สัญญา.....จำ จำได้ว่าเราคือจิต
3.สังขาร......คิด คิดได้ว่าเราคือจิต
4.วิญญาณ...รับรู้ รับรู้ว่าเราคือจิต
5.อภิชฌา...เพ่ง เพ่งพลังให้จิตอื่นรู้ว่าเราคือจิต
คุณสมบัติเรื่องรู้สึก จำ รับรู้ ว่าเราคือจิต ทำได้แค่นั้นเพราะแต่เดิมยังไม่เคยมีอะไรเลยมากไปกว่า จิต
แต่คุณสมบัติเรื่อง คิด สามารถคิดได้ว่า ถ้ามีอะไรมากไปกว่าจิตจะเป็นอย่างไร เพรามันคิดได้เอง (เช่นเราคิดว่าไปดวงจันทร์ ย่อมคิดได้ใช่ไหม....แต่รู้สึกว่าไปดวงจันทร์ จำว่าไปดวงจันทร์นั้นทำไม่ได้เพราะยังไม่เคยไปนั่นเอง แต่ย่อมคิดเองได้ ปรุงแต่งเองได้)
การคิดว่าอะไรมากกว่าจิตจะเป็นอย่างไร.....ตัวนี้แหละทำให้เกิดกิเลส
ในปฏิจจสมุปบาทจึงกล่าวว่า อวิชชา ทำให้เกิด สังขาร
จิตอวิชชาจึงใช้อภิชฌาเพ่งพลังสร้างอะไรที่มากไปกว่าจิตคือสังขารธรรม
(เช่นจักรวาล โลก พระอาทิตย์ เป็นต้น)
จิตเดิมเป็นอมตธาตุ....อย่าถามนะว่าใครสร้าง เพราะถ้ามีใครสร้างก็ไม่ใช่จิตเดิม (ผู้มีปัญญา กล่าวแค่นี้ย่อมเข้าใจ)
จิตเดิมมันมีอยู่ของมันอยู่แล้ว อะไรที่มากไปกว่าจิต คือโลกธรรม คือสังขารธรรม คือสังขตธาตุ แล้วแต่จะเรียก ซึ่งย่อมแปรปรวนไปตามกฏไตรลักษณ์ เพราะใช้พลังเพ่งสร้างมา ก็ต้องสลายไป(action=reaction)
อะไรที่มากไปกว่าจิตจึงเป็นอนัตตา แต่เราหลงคิดว่ามันเป็นอัตตา ดังนั้นคำว่าอัตตาและอนัตตาจึงเป็นคำคู่ทางโลกที่เราใช้เรียกเปรียบเทียบกันเช่น ขาวกับดำเป็นต้น
ดังนัน นิพพานเป็นภาวะพ้นโลก เป็นหนึ่งเดียว ไม่มีเปรียบเทียบ จึงไม่ใช่อัตตาและอนัตตา จิตเดิมยังไม่ใช่นิพพานเพราะยังมีอวิชชาอยู่
เจริญในธรรมครับ
ผมขอแยกไปตอบในกระทู้ใหม่ในวันหลัง แต่ในกระทู้นี้ผมขอบอกคุณแค่ว่า จิตมี 2 ชนิด
1. จิตในปฏิจจสมุปบาท หรือจิตในพระอภิธรรม นี่คือ จิตที่ติดอยู่ในอวิชชา
2. จิตในพระนิพพาน เป็นจิตที่ไม่ติดอยู่ในอวิชชา จิตตัวนี้เป็นผู้สร้างจิตตัวแรก คุณตีความว่า
จิตประภัสสรไม่ใช่นิพพานจิต แต่พระอรหันต์ทั้งหมดตีความว่า จิตประภัสสรเป็นนิพพานจิต
ไว้วันหลังผมจะนำคำเทศน์ของพระอรหันต์สึก 3 คนมาลง
ส่วนเรื่องอัตตาอนัตตาผมตอบไปมากแล้ว คุณยังเอาอัตตาอุปทาน หรืออัตตาทิฏฐิมาเป็นอัตตาอีก
อัตตาที่พระพุทธเจ้าพูดถึงในอนัตตลักขณสูตร ผมได้อธิบายอย่างละเอียดแล้ว |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
16 ก.ค.2008, 12:58 pm |
  |
ผมนำคำตอบในกระทู้รุกฆาตผู้ที่เชื่อว่า นิพพานเป็นอนัตตามาลง เพราะกระทู้นั้นโดนลบไปแล้ว
ข้อความ
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 124
ตอบเมื่อ: 15 ก.ค.2008, 7:28 pm
--------------------------------------------------------------------------------
ตอนที่อยู่ในเว็บธรรมะของเมเนเจอร์และเว็บพลังจิต ผมและท่านผู้รู้ท่านหนึ่ง รุกฆาต พวกที่เชื่อว่า นิพพาน
เป็นอนัตตาจนจนมุม ผมคิดว่าให้ พระธรรมปิฎก และคุณเสถียรพงศ์ ซึ่งเป็นผู้ทำให้ชาวพุทธหลงผิดว่า
นิพพานเป็นอนัตตามาโต้เอง ก็คงไม่สามารถแก้เหตุผลของผม กับเพื่อนผู้รู้ท่านนั้นไม่ได้ว่า นิพพานเป็นอัตตา
และ อัตตาคือ ธรรมธาตุหรืออสังขตธาตุ นั่นเอง
A. ผมขอเริ่มแสดงเหตุผลที่จุดนี้นะครับผมกล่าวว่า
1. บท "สัพเพ ธัมมา อะนัตตา"นั้นเป็นบทที่ขึ้นหัวข้อของสังขารและขันธ์ 5 เท่านั้น ลองไปดูก็ได้ ครับ
สัพเพ ธัมมา นี้หมายถึง ธรรมที่อยู่ในบทนั้น สมมุติสงฆ์และฆราวาสของไทยมั่วกันหนัก เอาไปตีความว่า
นิพพานเป็นอนัตตาด้วย คนที่ตีความว่า นิพพานเป็นอนัตตา เท่ากับไม่รู้ความหมายของอนัตตา และทำ"สัทธรรมปฏิรูป"
2. พระพุทธเจ้าให้นิยามว่า"อนัตตา" ต้องไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ส่วนนิพพานนั้นเที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าเรียกสิ่งนี้ว่า "อัตตา"
...........................................................................
คนที่ใช้ชื่อว่าเพื่อนแสงธรรมเข้ามาช่วยผม เขาเขียนดีมากเขาเขียนว่า
B. ผมขอแสดงความเห็นบ้าง ทนอ่านมานานแล้ว
"สัพเพธัมมา อะนัตตา" "ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน"
สัพเพ ธัมมา "ธรรมทั้งปวง"
สัพเพ "ทั้งปวง"
...... ธรรมในที่นี้หมายถึง สังขตธรรม
ที่บางคนแย้งว่านิพพานไม่ใช่ "ธรรม" ?
...... คุณแสงธรรม(ผม)อธิบายไปแล้วว่า บท "สัพเพ ธัมมา อะนัตตา" เป็นบทที่ขึ้นหัวข้อของสังขาร/ขันธ์ 5
เป็นบทของสังขตธรรม ส่วนนิพพานเป็นอสังขตธรรม อสังขตธรม มีคุณลักษณะที่เป็นอมตะ(เที่ยง)
ไม่เสื่อม ไม่แปรปรวน สิ่งนี้เป็นธรรมธาตุ ( ธรรมขันธ์ หรือ ธรรมกาย )
อัตตาคือ ตัวธรรมธาตุ ตัวอสังขตธาตุ
สังขตธรรมเป็นขันธ์ 5 ไม่เที่ยง มีทุกข์แปรปรวน เสื่อม
อสังขตธรรม มีขันธ์เป็นธรรม เที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวน ไม่เสื่อม
ใครจะนำอนัตตาไปใช้กับอสังขตธรรมไม่ได้เด็ดขาด เรียกว่า เข้าใจพุทธศาสนาไม่ถูกต้อง
.........................................................................
C. เขายังให้หลักฐานประกอบในพระสูตรสังขตธรรมอสังขตธรรมด้วย ชัดเจนจริงๆ
..สังขตสูตร [๔๘๖]ดูกรภิกษุทั้งหลายสังขตลักษณะของสังขตธรรม๓ ประการ
สังขตธรรม๓ประการเป็นไฉนคือ
ความเกิดขึ้นปรากฏ๑
ความเสื่อมปรากฏ๑
เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายสังขตลักษณะของสังขตธรรม๓ประการนี้แลฯ
..ติกนิบาต - ปฐมปัณณาสก์ - จูฬวรรค - อสังขตสูตร พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน อสังขตสูตร [๔๘๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขต ลักษณะของอสังขตธรรม ๓ประการนี้ ๓ ประการ เป็นไฉน คือ
1. ไม่ปรากฏความเกิด ๑
2. ไม่ปรากฏความเสื่อม ๑
3. เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปร ปรวน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แลฯ
.......................................................................
D. ในอนัตตลักขณะสูตร พระพุทธเจ้ากล่าวถึงสิ่งที่เป็นอัตตาว่า
" สิ่งใดเที่ยง, ไม่มีทุกข์, ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา สามารถบังคับบัญชาให้เป็นอย่างใจหวังได้ สิ่งนั้นก็ย่อมเป็น อัตตา "
ด้วยเหตุฉะนี้ นิพพานจึงเป็นอัตตา ส่วนข้อที่ สามารถบังคับบัญชาให้เป็นอย่างใจหวังได้
สิ่งนั้นก็ย่อมเป็น อัตตา เพราะในนิพพานก็มี รูปกับนาม เหมือนกัน รูป คือธรรมกาย(อายตนะนิพพาน)
ธรรมกายจะให้รูปเป็นอะไรมีลักษณะอย่างไรก็ได้ ส่วนนาม คือ จิตนิพพานที่บริสุทธิ์
--------------------------------------------------------------------------------
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 124
ตอบเมื่อ: 15 ก.ค.2008, 7:47 pm
--------------------------------------------------------------------------------
ผมเคยอธิบายเรื่องนี้ในอีกกระทู้หนึ่งในเว็บพลังจิต เลยนำมาลงพร้อมไปกับกระทู้นี้
ไม่เข้าใจเรื่องอนัตตาธรรม จะเข้าใจอนัตตาและอัตตาได้อย่างไร???
ในอนัตตลักขณสูตร พระพุทธเจ้าให้นิยามของคำว่า อนัตตา และ อัตตา ไว้อย่างชัดเจนที่สุด
แต่อวิชชาและมารเขาบังจิตเราไว้ ไม่ให้เห็นความจริงเรื่องนี้ ผมอ่านคำตอบต่างๆในกระทู้ อนัตตา คืออะไร???
ผมเห็นว่าคำตอบต่างๆที่เพื่อนๆสมาชิกตอบนั้นถูกต้องทั้งนั้น แต่ยังไม่สมบูรณ์ เพราะผมบอกแล้วว่า
พระไตรปิฎกเถรวาทของเรานี้ มารเขาใช้อวิชชาบังจิตเราไว้ ไม่ให้รู้ความจริง ด้วยเหตุนี้ ผมจึงขอ
เปิดเผยความลับของฟ้าอีกครั้งหนึ่ง
"อนัตตาธรรม" ก็คือ สุญญตา ในสุญญตาหรืออนัตตาธรรม มีความจริงอยู่ 2 อย่าง
1. อนัตตา ตามความหมายในอนัตตลักขณสูตร พระพุทธเจ้าให้นิยามว่า
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ตามปรารถนา
สิ่งนั้นคือ อนัตตา จากคำสอนที่พระพุทธองค์ตรัสสอนปัญจวัคคีย์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
หรือที่เรียกว่า ขันธ์ 5 (เบญจขันธ์) ได้แก่ รูป-นามทั้งหมดนั่นแหละเป็น อนัตตา
คำว่า อนัตตา ในขันธ์ 5 นี้เป็นสิ่งที่ชาวโลกหลงเข้าใจผิดว่ามันเป็น อัตตา ของโลก แต่ความจริง
อัตตาของโลกนี้ พระพุทธเจ้าเรียกมันว่า อุปทาน หรือ มายา หรือ อนัตตา
2. อัตตา ตามความหมายในอนัตตลักขณสูตร พระพุทธเจ้าให้นิยามว่า
" สิ่งใดเที่ยง, ไม่มีทุกข์, ไม่ปรวนแปรเป็นธรรมดา สามารถบังคับบัญชาให้เป็นอย่างใจหวังได้
สิ่งนั้นก็ย่อมเป็นอัตตา "
ดังนั้น จากคำสอนที่พระพุทธองค์ตรัสสอนปัญจวัคคีย์ อัตตา ที่พระพุทธเจ้าพูดถึง คือ นิพพาน
เพราะนิพพานเป็นสิ่งเดียวที่ เที่ยง, ไม่มีทุกข์, ไม่ปรวนแปรเป็นธรรมดาสามารถบังคับบัญชาให้เป็นอย่างใจหวังได้
อย่างไรก็ตาม นิพพานเป็นจิต ชี้ให้ดูไม่ได้ พระพุทธองค์ตรัสกับพระมหากัสสป ในตอนที่พระองค์ประทับ
นั่งท่ามกลางพุทธบริษัทว่า
...กัสสปะตถาคตมีธรรมจักษุครรภ์อันถูกต้อง และนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริง ย่อมไม่มีลักษณะเธอพึงรักษาไว้ให้ดี
ในปารมิตาหฤทัยสูตรพระโพธิสัตว์อวโอกิเตศวรตอบพระสารีบุตรว่า ธรรมกายก็คือปรัชญาปารมิตา
ซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งพระตถาคตตรัสรู้ ก็คืออายตนะนิพพานนั้นเอง ย่อมปราศจากการมาในอดีตฤาการไป
ในอนาคต แลในปรัตยุบันกาล
อดีตพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)อธิบายว่า
" พระธรรมกาย ได้เแก่พระกายอันบริสุทธิ์ไม่สาธารณะแก่เทวา และมนุษย์ หมายถึงจิตที่พ้นจากกิเลสแล้ว
เป็นพระกายที่เที่ยงแท้ไม่สูญสลาย อินทรีย์ของพระอรหันต์ประณีตสุขุมแม้ตาทิพย์ของเทวดาก็มองไม่เห็น"
และอธิบายเพิ่มว่า
พระธรรมกายนี้เป็นพระพุทธเจ้าที่จริงแท้เป็นพระกายที่พ้น เกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นพระกายที่เที่ยงแท้ถาวร
ไม่สูญสลาย
ในปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรของมหายาน
เขาใช้คำว่า ธรรมทั้งปวงเป็นศูนยตา แทนคำว่า อนัตตาธรรมส่วนศาสนาพุทธเถรวาทของเรา
พระใหญ่ๆดังๆทั้งนั้น นำอนัตตาธรรมไปมั่วกับคำว่า อนัตตา ในขันธ์ 5
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต เทศน์ว่า
" สูญในพระนิพพานมีขอบเขตสูญจากกิเลสเท่านั้นรสของพระนิพพานมีอยู่ พระนิพพาน ไม่เกิดไม่ดับไปไหน
เป็นอนัตตาธรรมเราจะเอาพระนิพพานมาเป็นอนัตตา เหมือนขันธ์ ๕ และกิเลสทั้งหลายมันก็ไม่ถูก
เรียกว่าแยกอนัตตาธรรมไม่ถูก
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต อธิบายเพิ่มว่า
เราเอามารวมไว้ในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว ซึ่งปะปนกันอยู่แต่เราก็สามารถแยกออกได้ในเวลาที่ต้องการแยก
คือแยกอนัตตาออกจากอนิจจังกับทุกขังซะเพราะเหตุว่ารสชาติของพระนิพพานเป็นอนัตตาธรรมอันเย็นสนิท
ไม่ผสมกับอะไรใดๆ
ด้วยจะเอาอนิจจังกับทุกขังในฝ่ายกองนามรูป ไปบวกกับอนัตตาอนุปาทิสสนิพพานที่ดับกิเลสไปด้วยพร้อม
เบญจขันธ์ก็ไม่ถูก เป็นมิจฉาทิฏฐิในชั้นอันละเอียด เพราะไม่เป็นหน้าที่จะเอาจิตไปบวกกับอนุปาทิสสนิพพานธรรม
ก็เรียกว่าไม่รู้จักฐานะของธรรมเอาธรรม ที่เป็นนามขันธ์ไปบวกกับธรรมอันพ้นจากรูปขันธ์นามขันธ์ไปแล้ว
เดี๋ยวก็จะถูกกล่าวตู่ว่าไม่แตกฉานในธรรม ไม่มีปฏิสัมภิทาญาณในตัว
เพื่อความเข้าใจ ผมขออธิบายเสริมเป็นสำนวนของผมดังนี้
อนิจจัง และทุกขัง เป็นคุณสมบัติของอนัตตาในขันธ์ 5 สิ่งนี้เป็นตัวไม่เที่ยงและเต็มไปด้วยความทุกข์
อย่างไรก็ตาม อนัตตา ตัวที่พ้นจากไตรลักษณ์ในขันธ์ 5 โดยตัวของมันเองเป็น สิ่งที่เที่ยง ไม่มีทุกข์
อนัตตาที่พ้นจากขันธ์ 5 เปรียบเหมือนกับเพชร ทีขจัดโคลนตม และสิ่งโสโครกออกแล้ว มันจึงบริสุทธิ์ผุดผ่อง
จิตเดิมแท้ของเราที่เป็นประภัสสร ก็คือนิพพานหรือเพชรนั่นเอง
สรุปอนัตตาธรรม = ศูนยตา(สุญญตา)
อนัตตาธรรม แบ่งเป็น
1. อนัตตา(อุปทานหรือมายาหรืออัตตาของโลก) สิ่งนี้เป็นสิ่งชั่วคราว มีทุกข์ และบังคับบัญชาไม่ได้ดังใจ
อนัตตาในขันธ์ 5 ก็คือกิเลส ตัญหา และอวิชชานั่นเอง
2. อัตตา(แท้) สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ ถาวร ไม่มีทุกข์ และบังคับบัญชาได้ดังใจอัตตา(แท้) แบ่งเป็น
นิพพาน(เป็นจิต) และอายตนนิพพานเป็นนามกาย(ธรรมกาย)
อัตตา(แท้)เป็นเพชรบริสุทธิ์ ไร้สิ่งโสมม ไร้สิ่งปนเปื้อนใดๆ ที่เรียกว่า จิตเดิมแท้ หรือ จิตประภัสสร
และก็เป็นสิ่งที่ชาวพุทธเรียกว่า นิพพาน นั่นเอง
พูดอีกนัยหนึ่ง
อนัตตาที่พ้นจากขันธ์ 5 ก็คือ อัตตา ที่พระพุทธเจ้าพูดถึงในอนัตตลักขณะสูตร เป็นเพรชที่ไม่เปื้อนโคลนตมแล้ว
ส่วนอนัตตาในขันธ์ 5 เป็นเพชรที่ยังเปื้อนโคลนตมอยูในขันธ์ 5
***** กรุณาอ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ***** ครั้งแรกจิตท่านถูกมารครอบงำ ครั้งที่ 2 อาจพ้นจากการครอบงำแล้วก็ได้
RARM
บัวใต้น้ำ
เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 338
ตอบเมื่อ: 15 ก.ค.2008, 8:57 pm
--------------------------------------------------------------------------------
2. พระพุทธเจ้าให้นิยามว่า"อนัตตา" ต้องไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ส่วนนิพพานนั้นเที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าเรียกสิ่งนี้ว่า "อัตตา" ฯลฯ --->ไม่เรียก
แต่เรียกว่า
เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เช่น เพราะมี พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
จึงมี ---> รุกฆาต พวกที่เชื่อว่า นิพพานเป็นอนัตตา
เพราะสิ่งนี้ไม่มี (ไม่มี พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ ) สิ่งนี้ (รุกฆาต พวกที่เชื่อว่า นิพพานเป็นอนัตตา) จึงไม่มี
เรียก อนัตตา
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 124
ตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2008, 12:18 am
--------------------------------------------------------------------------------
คุณRARMครับ
ผมขอนำอนัตตลักขณสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนปัญจวัคคีย์มาลง
อนัตตลักขณสูตร
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร เรื่องอนัตตาในขันธ์ ๕ ต่อเหล่าพระปัญจวัคคีย์ทั้ง๕ จนสำเร็จพระอรหันต์[๒๐]
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
รูปเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตา(มีตัวตน หรือเป็นของตัวตน อย่างแท้จริง)แล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ
(ความเสื่อม ความเจ็บไข้ ความแปรปรวน) และบุคคลพึงได้(หมายถึง ย่อมบังคับบัญชาได้ตามปรารถนา)ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา(ไม่มีตัวตน ที่เป็นแก่นแกนอย่างแท้จริง - ไม่ใช่ตัวใช่ตนแท้จริง -
หรือกล่าวอีกอย่างที่มีความหมายเดียวกันว่า มีตัวตนแต่ไม่เป็นแก่นเป็นแกนแท้จริง)ฉะนั้นรูปจึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ(แปรปรวน เช่น เจ็บป่วย) และบุคคลย่อมไม่ได้(หมายถึง ย่อมบังคับบัญชาไม่ได้ตามปรารถนา)ใน
รูปว่า รูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. (กล่าวคือ ถ้ารูปนั้นเป็นของตัวของตน
จริงๆแล้วไซร้ จะต้องควบคุมบังคับได้ตามปรารถนา ต้องควบคุมบังคับให้ไม่แปรปรวนหรือดับไปตามสภาวธรรม
ได้ด้วยตัวตนของตนเองอย่างแท้จริงและแน่นอน)
เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้นเวทนาจึง เป็นไปเพื่ออาพาธ(แปรปรวน) และบุคคลย่อม
ไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ใน
สัญญาว่าสัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้วสังขารเหล่านี้
ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ เราจงเป็นอย่างนี้เถิด
สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่าวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้นวิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อม
ไม่ได้ในวิญญาณว่าวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์
[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
(โยนิโสมนสิการจากปฎิจจสมุปบาท และพระไตรลักษณ์ จะพบความจริงได้ด้วยตนเองในที่สุดว่า สุขทุกข์เพราะความไม่เที่ยง ย่อมเป็นทุกข์ในที่สุดทั้งสิ้น)
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
(ในเมื่อรู้แล้วว่า มันเป็นตัวทุกข์ แล้วไปเก็บไปเอามันว่า เป็นของตัวของตนทำไมให้เป็นทุกข์)
ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้
ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา
นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
............................................................................................................................
สรุปก็คือความหมายของอัตตากับอนัตตาซ่อนอยู่ในอนัตตลักขณสูตร
1. พระพุทธเจ้าพูดถึงขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นเป็น อนัตตา
2. พระพุทธเจ้าพูดถึงความหมายของอัตตา เอาไว้ด้วย แต่ตัวนี้ผู้ที่เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพาน
จะรู้และเข้าใจได้ เมื่อผู้ที่เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพานแล้ว ไปอ่านพระไตรปิฎกอีกครั้ง จะตรัสรู้ธรรม
ด้วยตนเองเลยว่า สิ่งที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตายนั้น มีขันธ์หรือกายเหมือนกัน เรียกว่าธรรมขันธ์
หรือธรรมกาย อายตนะนิพพานก็คือธรรมกายนี่เอง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เที่ยง....ที่ผมกล่าวว่า
" สิ่งใดเที่ยง, ไม่มีทุกข์, ไม่ปรวนแปรเป็นธรรมดาสามารถบังคับบัญชาให้เป็นอย่างใจหวังได้ สิ่งนั้นก็ย่อมเป็นอัตตา "
คุณไม่เข้าใจตอนนี้ ก็คงไม่เป็นไร สักวันหนึ่งหรือชาติใดชาติหนึ่ง เมื่อคุณมีบุญบารมีพร้อมจะเข้าถึง
แก่นธรรม คุณย่อมเข้าใจเอง ผมไม่อยากไปยัดเยียด หรือบังคับอะไรให้คุณ ผู้เป็นบัญฑิตที่ใช้สมองคิด
และตีความพระไตรปิฎกอย่างเดียว ให้เชื่อตามผม
คุณRARMลองอ่านข้อความสุดท้ายซิครับ
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า
ตอนนี้ ผมจะลองถามใหม่ว่า
ก็สิ่งใดเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
คุณจะตอบว่าอะไรครับ
ข้อนั้นควรเลย พระพุทธเจ้าข้า
สรุป "อัตตา"ที่พระพุทธเจ้าพูดถึงนั้น ไม่ใช่อัตตาทางโลก อัตตาทางโลกไม่มี อัตตาทาง
โลกเป็นอุปทาน หรือมายา มันจึงเป็นอนัตตา แต่มีอัตตาแท้ๆอีกตัวหนึ่งที่พระพุทธเจ้าให้ความหมายไว้ว่า สิ่งที่จะเป็นอัตตาได้ต้องเที่ยง ไม่มีอาพาธ ไม่แปรปรวน เป็นไปได้ดังใจหวัง
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 124
ตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2008, 12:24 am
--------------------------------------------------------------------------------
คุณรามและคุณธรรมะไทยครับ
ขันธ์ 5 เป็นอายตนะของสังขตธาตุ
ธรรมชันธ์ หรือธรรมกาย เป็นอายตนะนิพพาน หรืออายตนะของอสังขตธาตุ
ในปารมิตาหฤทัยสูตร พระโพธิสัตว์อวโอกิเตศวรตอบพระสารีบุตรว่า ธรรมกายก็คือ ปรัชญาปารมิตา
ซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งพระตถาคตตรัสรู้ ก็คืออายตนะนิพพานนั้นเอง ย่อมปราศจาก
การมาในอดีตฤาการไปในอนาคต แลในปรัตยุบันกาล |
|
|
|
  |
 |
|