Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลักการเจริญ สมาธิ วิปัสสนา (พระอาจารย์ชัยรัตน์ สุธมฺโม) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 11:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลักการเจริญ สมาธิ วิปัสสนา

ทำจิตให้เข้าสู่อุปจารสมาธิจนชำนิชำนาญ จากนั้นพึงยกอุปจารสมาธิไว้เสียส่วนหนึ่ง เอาจิตไว้ส่วนหนึ่ง พึงถอยเข้า ถอยออก โดยอนุโลม ปฏิโลม จนชำนาญ ใช้จิตที่มีกำลังดีแล้วแยกกายออกเป็นส่วนๆ ว่านี่คือ ผม ว่านี่คือ ขน ว่านี่คือ เล็บ ไปจนครบอาการ 32 ย้อนกลับหน้าหลังโดยอนุมาน เพ่งว่านี่คือ ธาตุ เป็นสภาวะอันมีเหตุปัจจัยเข้ามาปรุงแต่ง ว่ามิได้เป็นตัวเราของเรา

เมื่อเพ่งดูโดยพอประมาณแล้วจิตจะมีอาการอ่อนกำลังลงไป พึงยกจิตเข้าสู่อุปจารสมาธิสร้างจิตให้มีกำลัง เมื่อรู้ว่าจิตมีกำลังพอแล้ว

พึงยกจิตและอุปจารสมาธินั้นไว้เสียต่างหากอีกเหมือนเดิมแล้วกลับเข้ามาเพ่งในกายคตาฯ อันมีอาการ 32 ต่อว่า มันสักว่าเป็นธาตุ เป็นของปฏิกูล เป็นของโสโครก เป็นของน่าเกลียด เป็นอสุภะ มิใช่เป็นตัวตนของเราแต่อย่างใดสิ้น พึงดำเนินไปตามนี้ กลับหน้าหลัง โดยอนุมานทั้งเข้าสมาธิและเพ่งพิจารณาธาตุขันธ์ ดำเนินไปจยกว่ามรรคจะเข้าประชุมกันอันจะตัดกิเลสได้เสียเป็น สมุเฉทปหาน

พระอาจารย์ชัยรัตน์ สุธมฺโม
16 ธันวาคม 2544
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 4:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ครับ สาธุ



กายคตาสตินี้ ถ้าเป็นระดับพระพุทธวจนะจากพระสูตร จัดอยู่ในหมวดกายานุปัสนาสติปัฏฐาน ที่เป็นทั้ง อุบายแห่งสมถะ และ วิปัสสนา อยู่ในตัว

แต่ ถ้าเป็นคัมภีร์รุ่นหลังบางเล่ม จะจัดให้กายคตาสติเป็นเพียง อุบายแห่งสมถะ เพียงอย่างเดียว... จนมีผู้ปฏิบัติธรรมบางท่าน ที่อิงกับคัมภีร์รุ่นหลัง กล่าวว่า ผลจากการเจริญกายคตาสติเป็นเพียงแค่สมาธิ ไม่ใช่ปัญญา.... และ เหมือนจะกล่าวว่า ไม่ควรเจริญกายานุปัสนา ให้เสียเวลาเลย



มาดูจากพระสูตร กันดีกว่า

กายคตาสติ มีอานิสงส์ ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นฌานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนือง ๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ คือ
(๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
(๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วด้วย ฯ
(๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ต่อสัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาก ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้ ฯ
(๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก ฯ
(๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอกภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ ไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ โดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ
(๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่ไกล และที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ฯ
(๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคคตะหรือจิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ
จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่ารู้วาจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น
จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ
(๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้ เป็นอเนกประการ คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้างหลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวักวิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุข และทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น
แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ฯ
(๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ........... ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ฯ
(๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯ กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นฌานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนือง ๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้แล ฯ"


อานิสงส์9ข้อแรกเป็นผลของสมถะโดยตรง
อานิสงส์ข้อ10 คือ ถึงพระอรหัตตผล เป็นผลจากวิปัสสนา


พระมหาสาวก ที่ใช้กายคตาสติเป็นหลักในการภาวนา คือ ท่านพระอานนท์ พุทธอนุชาผู้ทรงพหูสูต

ในพระวินัยปิฎก เล่ม 7 จุลวรรคภาค 2 ขันธกะ
ระบุถึงการบรรลุพระอรหันต์ของท่าน ดังนี้

[617] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุม
ข้อที่เรายังเป็นเสกขบุคคลอยู่จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้น ไม่ควรแก่เรา
จึงยังราตรีเป็นส่วนมากให้ล่วงไปด้วย กายคตาสติ
ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีจึงเอนกายด้วยตั้งใจว่า จักนอน
แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนและเท้ายังไม่ทันพ้นจากพื้น
ในระหว่างนั้น จิตได้หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม ฯ



ท่านพระอานนท์ ตอนที่ตั้งใจเจริญกายคตาสตินั้น ท่านบรรลุเป็นพระโสดาบันมานานแล้ว(ท่านบรรลุโสดาบัน ตั้งแต่ ฟังธรรมจากท่านพระปุณณมันตานีบุตร เมื่อคราวอุปสมบทใหม่ๆ).

ในคืนก่อนวันปฐมสังคายนาที่ท่านพระอานนท์บรรลุอรหัตตผล ท่านเจริญกรรมฐานส่วนใหญ่ด้วยกายคตาสติ.... คือ ท่าน เร่งภาวนาเพื่อให้บรรลุอรหัตตผลในคืนนั้น

กรรมฐานที่พระโสดาบันที่ทรงพหูสูตรที่สุดเลือกในการมุ่งอรหัตตผล ย่อมน่าสนใจมากครับ... และ ไม่น่าจะเป็นเพียงแค่ อุบายแห่งสมถะกรรมฐานอย่างเดียว(โดยไม่มีส่วนของวิปัสนาอย่างที่บางท่านเข้าใจ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 4:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กายคตาสติ.....สนามรบของผู้มุ่งนิพพาน


หลวงปู่แหวนท่านได้เล่าถึงหลักการภาวนาที่หลวงปู่มั่นได้เมตตาแนะนำว่า

"......การแนะนำให้ศิษย์ปฏิบัติภาวนานั้น หลวงปู่มั่นท่านย้ำอยู่เสมอว่า

จะใช้"พุทโธ"เป็นบทบริกรรมสำหรับผูกจิตก็ได้ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้วให้วางบทบริกรรมเสีย.....

แล้วพิจารณาร่างกาย ครั้งแรกให้พิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่เราสามารถจะเพ่งพิจารณาได้อย่างสะดวกในอาการ๓๒ เมื่อพิจารณาจนเกิดความชัดเจน กลับไป-กลับมา หรือที่เรียกว่าอนุโลม-ปฏิโลมแล้ว

เมื่อหายสงสัยในจุดที่พิจารณานั้นแล้ว จึงค่อยเปลี่ยนเป็นจุดอื่นต่อไป.อย่าพิจารณาเป็นวงกว้างทั้งร่างกาย ความชัดเจนจะไม่ปรากฏ....ต้องค่อยเป็นค่อยไป.....

เมื่อพิจารณาจนเกิดความชำนาญแล้ว เมื่อเราเพ่งปัญญาลงไปจุดใดจุดหนึ่ง ความชัดเจนจากจุดอื่นๆก็จะปรากฏเป็นนัยเดียวกัน.....

เมื่อพิจารณาพอสมควรแล้ว ให้น้อมจิตเข้าพักอยู่ในความสงบ....เมื่อพักอยู่ในความสงบพอสมควรแล้วให้ย้อนกลับออกมาพิจารณาร่างกายอีก

ให้เจริญอยู่อย่างนี้ จึงจะเจริญทางด้านปฏิบัติ....

เมื่อจิตมีความชำนาญเพียงพอแล้ว......... คำบริกรรม"พุทโธ"ก็ไม่จำเป็น เพียงกำหนดจิตก็จะสงบเข้าสู่สมาธิทันที....."
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 8:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ

พระอาจารย์ชัยรันต์ สุธมฺโมเป็น ลูกศิษย์

พระเดชพระคุณ หลวงพ่อมหาวิบูลย์ พุทธญาโณ ๆ เป็นลูกศิษย์

หลวงปู่แหวนครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 8:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

RARM
ตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 11:04 am เรื่อง: หลักการเจริญ สมาธิ วิปัสสนา (พระอาจารย์ชัยรัตน์ สุธมฺโม)

--------------------------------------------------------------------------------

หลักการเจริญ สมาธิ วิปัสสนา

ทำจิตให้เข้าสู่อุปจารสมาธิจนชำนิชำนาญ จากนั้นพึงยกอุปจารสมาธิไว้เสียส่วนหนึ่ง เอาจิตไว้ส่วนหนึ่ง พึงถอยเข้า ถอยออก โดยอนุโลม ปฏิโลม จนชำนาญ ใช้จิตที่มีกำลังดีแล้วแยกกายออกเป็นส่วนๆ ว่านี่คือ ผม ว่านี่คือ ขน ว่านี่คือ เล็บ ไปจนครบอาการ 32 ย้อนกลับหน้าหลังโดยอนุมาน เพ่งว่านี่คือ ธาตุ เป็นสภาวะอันมีเหตุปัจจัยเข้ามาปรุงแต่ง ว่ามิได้เป็นตัวเราของเรา

เมื่อเพ่งดูโดยพอประมาณแล้วจิตจะมีอาการอ่อนกำลังลงไป พึงยกจิตเข้าสู่อุปจารสมาธิสร้างจิตให้มีกำลัง เมื่อรู้ว่าจิตมีกำลังพอแล้ว

พึงยกจิตและอุปจารสมาธินั้นไว้เสียต่างหากอีกเหมือนเดิมแล้วกลับเข้ามาเพ่งในกายคตาฯ อันมีอาการ 32 ต่อว่า มันสักว่าเป็นธาตุ เป็นของปฏิกูล เป็นของโสโครก เป็นของน่าเกลียด เป็นอสุภะ มิใช่เป็นตัวตนของเราแต่อย่างใดสิ้น พึงดำเนินไปตามนี้ กลับหน้าหลัง โดยอนุมานทั้งเข้าสมาธิและเพ่งพิจารณาธาตุขันธ์ ดำเนินไปจยกว่ามรรคจะเข้าประชุมกันอันจะตัดกิเลสได้เสียเป็น สมุเฉทปหาน


ตรงนี้คาดว่าน่าจะเป็นอุปจารฌาน ( เป็นสมาธิที่อยู่ระหวางอุปจารกับอัปปนาสมาธิ ) ไม่ใช่อุปจารสมาธิ เพราะสมาธิระดับอุปจารสมาธิยังตั้งมั่นไม่นานพอ ตรงนี้ครูบาฯท่านคงไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดไว้ว่า เมื่อเข้าสู่อัปปนาสมาธิ ต้องมีสติมากพอถึงจะถอยออกมาได้ ถ้าถอยไม่ได้ก็จะไปติดนิ่งจนกว่าสมาธิจะคลายตัวออกมาเอง ต้องเริ่มทำตั้งแต่ฌาน 1 จนถึงฌาน 4 ถ้าสติไม่มากพอ จะถอยออกถอยเข้าสมาธิแบบนั้นไม่ได้ จากฌาน 4 ถ้าตกลงมาก็ฌาน 3 จาก 3 ลงมา 2 จาก 2 ลงมา 1 จะวนๆอยู่แบบนี้ บางท่านได้ศึกษาปริยัติมา เช่นครูบาฯที่ท่านให้ยกเรื่องแยกกายออกเป็นส่วนๆ ว่านี่คือ ผม ว่านี่คือ ขน ว่านี่คือ เล็บ ไปจนครบอาการ 32 ย้อนกลับหน้าหลังโดยอนุมาน เพ่งว่านี่คือ ธาตุ เป็นสภาวะอันมีเหตุปัจจัยเข้ามาปรุงแต่ง ว่ามิได้เป็นตัวเราของเรา
แต่ถ้าคนที่ไม่ได้ศึกษามาก็เพียงดูตามความเป็นจริงที่เกิด เพราะสมาธิตรงนี้จะตั้งมั่นอยู่นาน และมีความรู้ตัวตลอดเวลา เมื่อพละ 5 พร้อม ก็จะเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นมาเอง

แต่ไม่ว่าจะเป็นสมาธิระดับไหน ย่อมไปถึงพระนิพพานได้เหมือนๆกัน เพียงแต่จะช้าหรือเร็วแตกต่างกันไปเนื่องจากกุศลที่สร้างสั่งมาไม่เหมือนกัน วิบากกรรมของแต่ละคนด้วย
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง