Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การนั่งสมาธิ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ปีโป้
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2008
ตอบ: 14

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2008, 12:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำถามครับ........
การนั่งสมาธิแบบที่ กำหนดลมหายใจ รู้เข้า-ออกที่ปลายจมูก (พุทโธ)
กับนั่งสมาธิ แล้วกำหนด ยุบหนอ พองหนอที่ท้อง โดยกำหนดรู้ ที่สะดือ ต่างกันอย่างไรครับ
และอย่างไหนที่ ปฏิบัติแล้วได้ผลดีกว่ากัน (ตอนนี้ผมปฏิบัติ รู้ลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูกอยู่ครับ)
แนะนำด้วย.......ขอบคุณครับ.... สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2008, 4:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


คุณปิโป้ลงมือปฏิบัติโดยตรงเลย อย่างนี้เข้าใจเรื่องกรรมฐานง่าย ไม่ยากเหมือนคนอ่าน

ตำราอย่างเดียวครับ แต่คำถามคุณขออนุญาตตอบถัดจากนี้ไปครับ

ตอนนี้ กรัชกายต้องการให้คุณศึกษากรรมฐานโดยมุมกว้างก่อน ระหว่างนักปฏิบัติจริง กับ

นักปริยัติล้วนๆว่า เค้ามีความรู้สึกนึกคิดต่อกรรมฐานอย่างไร ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2008, 4:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(พิจารณาข้อเขียนซึ่งระบายความรู้สึกซึ่งเกิดจากการปฏิบัติกรรมฐาน ของนักปฏิบัติท่านหนึ่ง

ตัดเอาแต่สาระมา ดังนี้)



ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผม สามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน

แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้ายังไงเราลอง

เปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่าผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นสมถะแบบอัปปมัญญา ๔

(ที่ผมเปลี่ยนเป็นวิธีนี้เพราะก่อนหน้านี้เคยอ่านหนังสือเรื่องสมถะ ๔o วิธีแล้ว รู้สึกว่าเราน่าจะ

เหมาะกับวิธีนี้ คือ เกิดความรู้สึกนี้ขึ้นเอง)

แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า

จากนั้นก็เบื้องหลัง จากนั้นก็เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย แล้วก็เบื้องขวา พอครบทุกทิศแล้ว

ก็กำหนดแผ่ไปในทุกทิศพร้อมกันไม่มีประมาณ กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นผมก็

รู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ ความรู้สึก

นี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว กายขยายไปทุกทิศจนรู้สึกว่ากายหายไป คือไม่มีกาย

เวลานี้รู้สึกว่าความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปีติ มีแต่ความสุขไปหมด จากนั้นผมก็คิด

ขึ้นมาว่า "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลก

ที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก (ส่วนใหญ่)มัวแต่วุ่นวาย

อะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ

มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก

อยู่กับตัวเองแท้ๆ คน (ส่วนใหญ่)ในโลกกลับไม่รู้"
จากนั้น ผมก็สังเกตลม

หายใจก็รู้สึกว่า ลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบลม

หายใจละเอียดว่าเป็นยังไง
ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปีติ คือ ปีติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็น

นิมิตอะไรทั้งสิ้นเลยนะครับ แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้

พร้อมอยู่
จากนั้น ผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วคิดไปเรื่อยว่า

"นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่น

ป่วน

หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง (คาดว่าน่าจะดูบอล) ผมก็เลยหลุดออกมา

จากสภาวะนั้น


นำมาจากลิงค์นี้ ครับ

http://larndham.net/index.php?showtopic=27390
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2008, 4:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ส่วนที่ลิงค์นี้

http://larndham.net/index.php?showtopic=32047&st=4

ตรงข้ามจากข้างบน คำเห็นปริยัติล้วนๆ

หากคุณมีเวลา เน้นอ่าน ที่ คห. 4-5 และ 13

เพราะโยงกับที่คุณถาม อ่านแล้วมีอะไรสงสัยอีก คุณนำมาถามต่อได้ครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2008, 4:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(นำความเห็นจากลิงค์ดังกล่าวตั้งให้คุณดูโดยสังเขป ดังนี้)


ในปัจจุบันนี้ หาผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานจนสำเร็จฌานได้ยาก เพราะจิตใจของบุคคลสมัยนี้

เต็มไปด้วยอำนาจของกิเลสนิวรณ์ และกามคุณอารมณ์ก็อุดมสมบูรณ์

ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่ฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิดหรือให้

กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียง

ทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนาตามคำสอนของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

นั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน

นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด

ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2008, 4:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ทำบริกรรมว่า พองหนอ ยุบหนอ ก็เป็นสมมุติบัญญัติ ไม่ใช่สภาวะของจริง

ไม่ใช่ปรมัตถธรรม เรากำหนดอย่างนั้นได้ในขั้นดำเนินขั้นต้น ให้จิตได้ตั้งมั่นเป็น

สมาธิ ไม่ให้จิตซัดส่ายไปนอกตัวเอง เมื่อจะขึ้นมาเพื่อปัญญาเกิดขึ้น กำหนดให้ลึกซึ้งลงไป

ถึงความรู้สึก ความตึง ความหย่อน ความไหว นั่นเป็นตัวปรมัตถ์ อย่างที่หน้าท้องนี่

หายใจเข้าท้องตึง หายใจออกท้องหย่อน ที่จริงนั้นความจริง ๆ มันคือความตึง

ความหย่อน ความไหว นั่นแหละเป็นปรมัตถธรรม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2008, 4:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ข้อความตัวอย่างจากลิงค์ข้างบน อ่านแล้วข้องใจตรงไหนอีก ถามเสริมได้ครับ

ไม่ต้องเกรงใจ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2008, 8:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

การนั่งสมาธิแบบที่ กำหนดลมหายใจ รู้เข้า-ออกที่ปลายจมูก (พุทโธ)
กับนั่งสมาธิ แล้วกำหนด ยุบหนอ พองหนอที่ท้อง โดยกำหนดรู้ ที่สะดือ ต่างกันอย่างไรครับ
และอย่างไหนที่ ปฏิบัติแล้วได้ผลดีกว่ากัน


เพื่อให้เห็นภาพการปฏิบัติกรรมฐานกว้างขึ้น พึงเข้าใจคำว่า “กรรมฐาน” ก่อน

กรรมฐาน แปลว่า ที่ทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน ฯลฯ

กรรมฐานก็มีมากมาย ในแบบมี 40 อย่าง นอกแบบก็นำมาเป็นกรรมฐานได้ เช่นวัตถุใดเมื่อ

จิตเข้าไปเพ่งพินิจแล้วเกิดความสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ก็ใช้วัตถุนั้นได้

แต่คำถามเจาะจงที่ลมหายใจเข้า-ออก (อานาปานสติกรรมฐาน- พุทโธ)

กับท้องพอง-ยุบ ภาวนาพองหนอ ยุบหนอ (ภาวนาตามอาการท้องพองและยุบ ไม่ใช่เน้นที่

สะดือนะครับ ตามดูรู้ทันอาการพอง-ยุบโดยรวม)

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2008, 8:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ถามว่าทั้ง 2 วิธีนั้น ต่างกันอย่างไร ?

ประเด็นนี้เคยมีผู้ถามก่อนหน้านี้เหมือนกันที่

http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=3&topic=การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน%20แบบกำหนดลมหายใจกับแบบกำหนดท้องพองยุบ%20เหมือนหรือต่างกันอย่างไร


จะตอบอีกทีหนึ่ง

ตอบว่า มีที่เหมือนและที่ต่าง

ที่เหมือนกันก็คือใช้ลมหายใจเข้า-ออกเป็นกรรมฐานเหมือนกัน

พุทโธ ใช้ลมหายใจเข้าออกโดยตรงเลย

แต่พอง-ยุบใช้ลมหายใจโดยอ้อม คือ ลมเข้าท้องพอง ลมออกท้องยุบ โยคีพิจารณาอาการ

ท้องพองและยุบนั้นเป็นกรรมฐาน นี่ประเด็นเหมือน หรือ คล้ายๆกัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2008, 9:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


แต่ที่ต่างกันมีมากมาย คือ ผู้ใช้พุทโธ ๆ อารมณ์เดียว ไม่บริกรรม เวทนา จิต และธรรม

(= นิวรณ์) ด้วย เหมือนผู้ใช้พองยุบ เป็นกรรมฐาน นี่คือความต่าง

เพราะสอนสืบๆกันมาอย่างนั้น

พุทโธ ว่าหายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ”

พุทโธๆ ไปเรื่อย ๆ เมื่อจิตแวบออกไปนอกลมหายใจรู้สึกตัวก็ดึงกลับมาพุทโธๆไปใหม่

นี่แนวพุทโธ สอนกันมาอย่างนี้ เท่าที่ตามสังเกตดู



แต่ผู้ใช้พองยุบเป็นต้นเป็นกรรมฐาน ท่านปฏิบัติคล้อยตามหลักสติปัฏฐาน 4 เลย

ตัวอย่าง เช่น ขณะที่กำหลังภาวนาพองหนอ ยุบหนออยู่ เวทนา เป็นต้นเกิด ระลึกรู้ ให้กำหนด

เวทนาเป็นต้นนั้นด้วย รู้สึกอย่างไรกำหนดอย่างนั้นตามที่รู้สึก ไม่หลอกตนเอง

เกิดง่วงเหงาเศร้าซึมก็เช่นกัน กำหนดตามนั้น เอาอาการนั้นเป็นกรรมฐานอีก


โดยสรุปก็คือพองยุบเป็นฐานกาย พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ....แล้วสิ่งใดเกิดจิตแวบไปรับรู้

ก็ใช้สิ่งนั้นเป็นกรรมฐานด้วย

นี่วิธีปฏิบัติแบบพองยุบ ท่านปฏิบัติคล้อยตามสติปัฏฐาน 4 อย่างนี้


ศึกษาสติปัฏฐานลิงค์นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 มิ.ย.2008, 10:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(ที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดอีกอย่างหนึ่ง คือ เดินจงกรม ดูหลักผู้ใช้พุทโธเดิน)


ขั้นตอนของการเดินจงกรม

1. เส้นทางเดินจงกรม ทางสถาบันฯ ได้จัดไว้เป็นช่องทางมีตัวอักษรอยู่ที่จุดเริ่มต้น

2. ระยะทางเดินจงกรมไม่เท่ากัน เพราะจัดให้พอเหมาะกับสถานที่ๆ มีอยู่

3. ยืนตรงจุดเริ่มต้นทางเดินจงกรม พนมมือระหว่างอกแล้ว หลับตากล่าวคำอธิษฐานการเดิน

จงกรมในใจว่า “ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ” พุทโธ พุทโธ พุทโธ

แล้วยกมือที่พนมสูงขึ้นระหว่างคิ้ว กล่าวในใจว่า “ สาธุ ”

4. เอามือลง ใช้มือขวาจับมือซ้าย ห้อยมือพอสบายไม่เกร็ง

5. กำหนดจิตไว้ที่หน้าผาก ไม่ต้องหลับตา ตามองทางเดินจงกรมไกลกว่าตัวประมาณ

1.5 – 2 เมตร

6. เริ่มบริกรรมคำว่า “ พุทโธๆ ” อยู่ในใจ พร้อมก้าวเท้าขวาเดินตามด้วยเท้าซ้าย ไม่ช้าหรือ

เร็วเกินไปเดินในลักษณะเดินปกติ

7. เมื่อเดินสุดทางจงกรม ให้ค่อยๆ หมุนตัวกลับทางขวา ยืนทรงตัวตรง แล้วจึงเริ่มก้าวด้วย

เท้าขวาเหมือนตอนเริ่มต้น

8. เมื่อครบตามเวลาที่กำหนด ให้ยืนตรงจุดเริ่มต้นเดิน พนมมือระหว่างอก กล่าวในใจว่า

“ สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ ”

ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุข ๆ เถิด

แล้วยกมือที่พนมขึ้นระหว่างคิ้วแล้วกล่าวในใจว่า “ สาธุ ” เป็นอันจบพิธีการเดินจงกรม.


นำมาจากที่นี่

http://www.samathi.com/content/view.php?id=0014
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 มิ.ย.2008, 10:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เป็นวีดีโอคลิบก็มี

http://www.samathi.com/meditation/showthread.php?t=208
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 มิ.ย.2008, 10:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ที่ต่างกันอีก คือ เดินจงกรมระหว่างพุทโธกับพอง-ยุบ

แบบพุทโธ ก็ตัวอย่างที่นำมาให้ดู ซึ่งมากพิธีรีตอง รูปแบบตายตัวเหมือนท่องสูตรคูณ

กำลังเดินอยู่ก็ท่องพุทโธ ๆ

อนึ่ง ผู้ใช้ลมหายใจเป็นกรรมฐาน (พุทโธ) ส่วนมากมักไม่เดินจงกรม และที่เดินต่างไป

จากนั้นก็ยังมีอีกครับ


ผู้ใช้พองยุบเป็นกรรมฐาน เดินจงกรมไม่ไม่มากพิธี เดินก็ปล่อยวางพองยุบ ไม่นึกถึง

พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ฯลฯ ไม่ แต่ใช้อิริยาบถเดินเป็นกรรมฐาน ตามดูรู้ทันการเดินซึ่ง

เป็นปัจจุบันอารมณ์แต่ละขณะๆ

อนึ่ง เมื่อทำงานอะไรๆอื่น ก็ใช้งานนั้นเป็นกรรมฐานได้หมด หมายความว่า เอางานเป็น

อารมณ์ฝึกระลึกรู้สึกตัวได้เลย


จงกรมสำหรับผู้ใช้พองยุบลิงค์นี้ครับ

http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=4&topic=เดินจงกรม

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 มิ.ย.2008, 3:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อ้อ..ที่เหมือนกันอีกอย่างหนึ่ง คือ ใช้คำบริกรรมภาวนาด้วยกัน

คำภาวนานี้เอง ที่ทำให้สัมปยุตธรรม หรือจิตรวมตัวได้เร็ว คือจิตเป็นสมาธิเร็วขึ้น

ก็จึงเกิดสภาวธรรมแปลกๆปรากฏแก่ผู้ปฏิบัติ อย่างที่รวมๆไว้ที่

http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=28&topic=รวมสภาวะของผู้เริ่มภาวนา


และคำภาวนานั้น ก็มิใช่มีแต่พุทโธ กับ พองหนอ ยุบหนอเท่านั้น ยังมีใช้คำอื่นๆอีก

รวบรวมไว้ที่

http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=27&topic=คำบริกรรมภาวนา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 มิ.ย.2008, 4:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ก่อนตอบคำถามที่ว่า และอย่างไหนที่ ปฏิบัติแล้วได้ผลดีกว่ากัน

ขออนุญาตบอกให้คุณสังเกตว่า การปฏิบัติกรรมฐานหรือปฏิบัติธรรม

เท่าที่พบอยู่ตอนนี้ มีสองแบบ คือ ใช้คำบริกรรมแบบหนึ่ง กับไม่ใช้คำใดๆแบบหนึ่ง

ดังนั้นผลการปฏิบัติทั้งสองแบบนี้ จึงต่างกันโดยภาวะที่สัมผัสได้ทางมนายตนะ

เช่น ตัวอย่างห้อง 2 ภาวะนั่นเกิดและเข้าถึงได้ด้วยภาวนามัยเท่านั้น


จึงได้ตั้งข้อสังเกตการปฏิบัติทั้งสองแบบไว้ที่

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13918
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2008, 8:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อ้างอิงจาก:
และอย่างไหนที่ ปฏิบัติแล้วได้ผลดีกว่ากัน (ตอนนี้ผมปฏิบัติ รู้ลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูกอยู่)


อย่างไหนปฏิบัติแล้วได้ผลดีกว่ากัน ?


(ก่อนลงในรายละเอียด พึงทราบจุดหมายสูงสุดของการปฏิบัติกรรมฐาน

ในพุทธศาสนาเสียก่อน อาจมองเห็นภาพคำตอบคำถามได้ง่ายขึ้น

คุณปิโป้พิจารณาพุทธพจน์นี้ ครับ)


สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ

สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือ

มีสติกำกับอยู่บ้าง ฯลฯ

โดยหลักการ ก็คือ การใช้สติ หรือ วิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดี

ที่สุด อย่างที่กล่าวถึงในพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์

ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์

และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน


นี้ คือ สติปัฏฐาน ๔
”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2008, 3:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


การปฏิบัติกรรมฐานที่ตรงกับพุทธประสงค์ต้องปฏิบัติเพื่อ …



เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย

เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ

เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส

เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม

เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2008, 5:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ธรรมะเมื่อหยิบข้อใดข้อหนึ่งขึ้นอธิบายแล้วจะโยงถึงกันหมด เพราะ

สัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผลกันและกัน คำตอบจึงยาวไปหน่อยขออภัยด้วย

ครับ

ถึงตรงนี้พอๆสรุปคำถามที่ว่า ระหว่าง พุทโธ กับ พองหนอ

ยุบหนอ...เมื่อ ปฏิบัติแล้วอย่างไหนได้ผลดีกว่ากัน ?



ตอบ...การปฏิบัติระดับต้นๆ ยังเดินอยู่บนเส้นทางเดียวกัน ผลจึงพอๆ

กัน (ดูผลการปฏิบัติผู้ใช้ ลมหายใจ คห. 2 ประกอบ)

แต่ก้าวต่อๆไป ผู้ใช้พอง-ยุบ เป็นต้น ได้ผลดีกว่า เหตุเพราะมีหลัก

การปฏิบัติคล้อยตามแนวสติปัฏฐาน 4 (ดูพุทธพจน์ดังกล่าวประกอบ)


ศึกษาผลการปฏิบัติสติปัฏฐานลิงค์นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16232
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 มิ.ย.2008, 7:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ห้องข้างบนกล่าวถึงกรณีกรรมฐานที่ผู้ฝึกถูกต้องตามพุทธพจน์

นั้นเท่านั้นนะครับ

หากปฏิบัติสะเปะสะปะไร้จุดหมาย อาจหลุดโลกความเป็นจริงได้

ไม่ว่าจะใช้คำภาวนาพุทโธ หรือพอง-ยุบ หรือ อื่นๆ ดังกล่าวข้างต้น

เช่นตัวอย่างนี้ครับ



ในต้นปี2545 ประมาณ 1 อาทิตย์ก่อนวัน วันวิสาขบูชาหรือ วัน ประสูติตรัสรู้และ ปรินิพพาน ของ พระพุทธเจ้า

ผมได้ถอดจิตออกจากร่าง ตอนนั้นรู้สึกว่าจิตผมนิ่งมาก
และผมเห็นว่าตัวผมกำลังลอยออกจากร่างลิ่วๆ ผมมองดูรอบๆข้างกายเป็นเหมือนอวกาศ มืดๆ แล้วตัวผมก็ตกแผละ
ลงในที่ที่หนึ่ง ผมก็ไม่รู้ว่าที่ไหน ในขณะที่ตัวผมตกลงบนพื้น
ผมไม่รู้สึกเจ็บ ผมมองเห็นอวกาศที่ผมผ่านมาเป็นห้วงๆกวงๆ
รูปทรงกระบอกคล้ายๆ Worm Hole แล้วก็หายไปเหลือแต่อวกาศธรรมดา

และผมก็มองรอบๆข้างกายผม เห็นเป็นสถานที่โล่ง สลัวๆ ผมพอที่จะเห็นอะไรต่างได้ ไม่มีสิ่งก่อสร้างอะไรเลย แต่ผมเห็น

โอ้ผมมองไปเห็น พระท่านนั่งอยู่ 3 พระองค์นั่งเรียงกันอยู่
พอผมเห็นปั๊บ ผมรู้ปั๊บเลยว่าท่านทั้ง 3 พระองค์คือใคร
จิตคนที่มี_าจะรู้ได้ เพราะว่าจิตมีสภาพรู้

-องค์แรกซ้ายสุดของผมนั่งอยู่หน้าสุด คือ พระพุทธเจ้าสมณโคดม
-ถัดไปทางซ้ายของพระพุทธเจ้า ออกไปทางด้านหลัง ออกมืดๆ คือหลวงพ่อฤาษี ลิงดำ พระอรหันต์แห่งวัดท่าซุง
-ถัดไปอีกทางช้ายของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ แต่ท่านนั่งอยู่ทางด้านหน้า ระดับเดียวกับพระพุทธเจ้า คือ หลวงปู่แหวน สุจินโณ พระอรหันต์แห่ง
วัดดอยแม่ปั๋ง

ผมเห็นเหมือนพระตัวจริงๆอยู่ในสภาพเหมือนคน

ตามปกติเวลาผมถอดจิตออกเที่ยว ถ้าผมไปพบใคร สิ่งแรกที่ผมจะทำคือผมจะกราบ 3 ครั้ง
แต่ครั้งนี้ ผมไม่กราบเป็นเพราะว่า ผมคิดเป็นใครปลอมตัวมาเป็น
พระพุทธเจ้าหลอกผมและเป็นนิมิตรหลอกผม
ผมก็วางเฉย แต่การถอดจิตครั้งนี้สมาธิผมนิ่งมากๆผมรู้สึกมีกิเลศน้อยและไม่ค่อยสังสัยอะไรมากเหมือนการถอดจิตที่ผ่านๆมา
ผมก็ลองดูปฏิกิริยาตอบโต้ที่จะมีมา ผมกำลังสังเกตดูว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นหรือว่าเป็นภาพลวงตาผมเล่น

ผมก็เริ่มสังเกตดูท่าน
-สิ่งแรกที่ผมตั้งใจสังเกตคือผมมองหน้าพระพุทธเจ้า ท่านนั่งนิ่งมากๆ ผมก็เลื่อนตัวผมไปมองหน้าท่านทางด้านซ้ายของพระพุทธเจ้า ท่านก็นั่งเฉยปล่อยให้ผมสังเกตท่าน
ผมสังเกตเห็นพระพุทธเจ้า ท่านหน้าเรียวและหน้าคม หน้าไม่ออกแขก ท่านถือว่าหล่อ หน้าท่านจะไม่เหมือนแขกขาวในอินเดียและไม่เหมือนแขกดำ แต่ที่แน่ๆคือหน้าท่านเป็นคนเอเซีย และออกมาทางไทยแต่หน้าคมกว่าคนไทยปกติ ผิวท่านขาวเหลือง ผมลืมสังเกตทรงผมของท่าน และ ผมลืมสังเกตหูของท่าน ผมคิดว่าหูของท่านไม่ได้ยาวเหมือนในพระพุทธรูป เพราะว่าไม่เป็นจุดเด่นจนให้ผมสังเกตได้

-หลวงปู่แหวน ท่านนั่งนิ่งมาก หน้าท่านดูเฉยๆ ดูท่านยังหนุ่มมาก และไม่ใส่แว่นตา

-ส่วนหลวงพ่อฤาษีลิงดำก็ไม่ใส่แว่นและดูหนุ่ม ผมเห็นลางๆนะ เพราะท่านนั่งอยู่ทางหลังออกสลัวๆ



http://board.palungjit.com/showthread.php?p=1280745#post1280745
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ปีโป้
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2008
ตอบ: 14

ตอบตอบเมื่อ: 17 มิ.ย.2008, 1:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณมากครับคุณกรัชกาย..................ที่ได้มอบความรู้และทำให้ผมเข้าใจมากยิ่งขึ้นในเรื่องของการทำสมาธิทั้ง 2 แบบ และยังให้ข้อมูลของเว็ปต่าง ๆ ที่เข้าไหความรู้เพิ่มเติมได้อีก ผมมีความตั้งใจในการปฏิบัติจริง แต่บางครั้งเวลาที่สงบหายาก เพราะยิ่งมีลูกอยู่ที่บ้านด้วยแล้ว (2ขวบ)เสียงดังตลอด ทำให้สมาธิไม่เกิดครับ บางครั้งกำลังทำสมาธิได้ 5 นาทีก็เรียก ทั้งลูกทั้งแฟน แต่วันไหนได้ไปที่วัดก็จะขอหลวงพ่อนั่งสมาธิ ในวิหาร อันนีดีหน่อย ถ้าที่บ้านบางครั้งก็ต้องลูกหลับก่อนแต่ก็ดึก พอควรครับ แต่ไม่เป็นไรครับ ความพยายามอยู่ที่ไหน สักวันก็ต้องมีความสำเร็จตามมา.........ถ้างั้นผมขอถามคุณกรัชกายอีก 1 ข้อนะครับ
คือ เวลาก่อนที่จะทานข้าว ผมได้แผ่เมตตาดังนี้ครับ....อิทังเม สัพพะสัตตานังโหตุ สุขิตาโหนตุ สัพเพสัตตา ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายที่ได้ให้ข้าพเจ้าได้กินเป็นอาหารเพื่อประทั้งชีวิตอยู่ จงมีความสุข ถ้วนหน้ากันเทอญ ไม่ทราบว่าเราทำบทนี้ถูกต้องใหมครับ เพราะก่อนที่ปฏิบัติได้มีหลวงพ่อแนะนำมาครับ ถ้าไม่ถูกม่เป็นไร ใช้ไหมครับ..ถ้างั้นมีบทที่ ถูก ช่วยแนะนำด้วยนะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง