Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระพุทธเจ้า : ผู้ประกาศศักยภาพความเป็นมนุษย์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
pornchokchai
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 09 ต.ค. 2007
ตอบ: 4

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.พ.2008, 9:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้า : ผู้ประกาศศักยภาพความเป็นมนุษย์
โสภณ พรโชคชัย *

พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ไม่ได้อวตารหรือถูกส่งมายังโลกนี้ นี่คือความจริงที่ไม่อาจบิดเบือน แต่ในภายหลังพระพุทธเจ้ากลับได้รับการยกฐานะให้แปลกแยกไปจากความเป็นมนุษย์ บทความนี้จึงมุ่งชี้ให้เห็นถึงพระพุทธเจ้าในแง่มุมที่เป็นมนุษย์ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและถือเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุธรรมได้

ผมเขียนบทความนี้จากการอ่านหนังสือ “คือเมฆสีขาว ทางก้าวเก่าแก่ วรรณกรรมพุทธประวัติในทัศนะใหม่” ที่แปลมาจากหนังสือ “Old Path White Clouds: Walking in the Footsteps of the Buddha” ของท่านภิกษุ ติช นัท ฮันห์ และได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาไทยโดย คุณรสนา โตสิตระกูล และคุณสันติสุข โสภณสิริ ซึ่งจัดพิมพ์โดยมูลนิธิโกมลคีมทอง

ฝึกฝนเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า

มนุษย์ผู้กลายเป็นศาสดานี้ ศึกษาจนรอบรู้ทั้งศาสตร์และศิลปอย่างกว้างขวางลึกซึ้ง สมัยที่ยังเป็นเด็กนั้นศึกษาจนเก่งคณิตศาสตร์อย่างหาใครเทียบไม่ได้ มีความตั้งใจเรียนด้านภาษาและประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังฝึกฝนกีฬาจนชนะเลิศในการแข่งขันทุกประเภททั้งยิงธนู ฟันดาบ ขี่ม้าและยกน้ำหนัก พระพุทธเจ้ามีความพยายามอย่างยิ่งยวดในการแสวงหาโอกาสศึกษา

ก่อนตรัสรู้ พระพุทธเจ้ายังศึกษาคัมภีร์ศาสนาอื่นจนหมดสิ้น น้อมใจเป็นศิษย์ในหลายสำนักโดยพำนักแห่งละ 3 เดือนบ้าง 6 เดือนบ้าง จนพลังภาวนาและพลังสมาธิแก่กล้ายิ่งขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถค้นพบหนทางที่แท้จริงได้ในช่วงแรก นี่แสดงชัดว่าผู้ที่จะบรรลุธรรมได้ต้องศึกษาอย่างจริงจังต่อเนื่องจนรู้แจ้งเพื่อนำมาสังเคราะห์ด้วยตนเองในที่สุด

ผู้ตื่นรู้จากความเชื่อเดิม

พระพุทธเจ้าหมายถึงบุคคลผู้ตื่นและมีความรู้แจ้งต่อการเปลี่ยนแปลง ความเป็นเอกภาพของสรรพสิ่งที่มีทั้งความเกื้อหนุน ความขัดแย้งและความสัมพันธ์ต่อกันและกัน พระพุทธเจ้าบรรลุถึงหนทางไปสู่การดับทุกข์ในระดับต่างๆ ตามศักยภาพของมนุษย์แต่ละคน พระพุทธเจ้าสอนว่าบุคคลไม่สามารถข้ามพ้นจากอวิชชาโดยการสวดอ้อนวอนและยัญบูชาอย่างงมงาย และไม่อาจกำจัดความโกรธ ความกลัวได้ด้วยการเก็บกดความรู้สึก ต้องใช้ปัญญาให้เกิดการรู้จริงถึงปัญหา

พระพุทธเจ้ายังกล่าวว่า คำสอนเป็นวิธีการในการบรรลุถึงความจริง แต่มิใช่เป็นตัวความจริงเอง เป็นมรรควิธีแห่งการปฏิบัติ มิใช่เป็นอะไรที่มีไว้สำหรับยึดถือหรือบูชา ดังนั้นใครก็ตามแม้อ่านและจำพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด แต่ไม่ปฏิบัติ ก็ไม่อาจรู้แจ้ง คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นไม่ใช่สิ่งลี้ลับยากเย็น เพราะแม้แต่เด็กๆ วรรณะจัณฑาลผู้ไม่มีการศึกษา ก็ยังฟังเข้าใจ

พระพุทธเจ้าเน้นความเป็นวิทยาศาสตร์โดยกล่าวว่า หากการหมายรู้ของบุคคลถูกต้องแม่นยำ (ด้วยการใช้ข้อมูล ความรู้และปัญญา) ความจริงก็จะปรากฏ พระพุทธเจ้าสอนให้เชื่อและยอมรับต่อสิ่งที่สอดคล้องกับมโนธรรมสำนึก ต่อสิ่งที่บัณฑิตผู้มีคุณธรรมและปัญญายอมรับและสนับสนุน และต่อสิ่งที่เมื่อปฏิบัติแล้วสามารถยังประโยชน์และความสุขแก่ทุกฝ่าย คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่อิงกับศรัทธาความเชื่อที่ห้ามโต้แย้ง พระพุทธเจ้าสอนให้เคารพอย่างแท้จริงต่อเสรีภาพทางความคิด

ความเป็นมนุษย์ของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าก็มีความชอบส่วนบุคคล เช่น โปรดประทับภาวนาท่ามกลางป่าประดู่ลาย มีความไม่พอใจ เช่น เคยดุว่าพระราหุล หรือมีความเศร้าในยามที่ภิกษุกลุ่มหนึ่งไม่ใส่ใจรับฟังคำชี้แนะ พระอรหันต์เช่นพระสาลีบุตรก็แสดงอารมณ์เศร้าโดยการเก็บตัวอยู่แต่ในกุฏินับแต่พระโมคคัลลานะถูกฆาตกรรม จนพระพุทธเจ้าไปเยี่ยมปลอบใจ เป็นต้น

ในด้านศิลป พระพุทธเจ้ายังเป่าขลุ่ยได้ รู้จักชื่นชมในสิ่งอันสุนทรีย์โดยไม่ถูกครอบงำด้วยความสวยงามหรือความน่าเกลียด นอกจากนี้ยังเคยฝึกเลียนเสียงช้างจนเหมือน ซึ่งครั้งหนึ่งนำไปใช้ในยามคับขันที่ช้างดุร้ายเชือกหนึ่งวิ่งตรงเข้ามา พระพุทธเจ้าเปล่งเสียงช้างออกมาดังสะท้านจนช้างเชือกนั้นหยุดชะงักในทันที

พระพุทธเจ้ายังอาจพูดใหม่ แก้ไขให้ถูกต้องได้ กล่าวคือ ครั้งหนึ่งบอกให้พระอหิงสกะ (องคุลิมาล) บอกแก่หญิงผู้หนึ่งว่า ตั้งแต่ตนเกิดมา ไม่เคยประทุษร้ายชีวิตใด พอพระอหิงสกะทักว่า ถ้ากล่าวเช่นนั้นก็เท่ากับพูดเท็จ พระพุทธเจ้าจึงให้พระอหิงสกะกล่าวใหม่ว่า นับแต่วันที่ตนถือกำเนิดในอริยธรรม ไม่เคยประทุษร้ายชีวิตใดเลย เป็นต้น

ต่อครอบครัวและความรัก

พระพุทธเจ้ากล่าวสัจจพจน์สำคัญกว่า “ที่ใดที่รัก ที่นั่นมีทุกข์” เพราะความผูกพัน หากสูญไป ก็เสียดาย โดยเฉพาะความรักที่อยู่บนฐานของราคะ ตัณหา และความยึดติด แต่ก็ยังมีความรักอีกประเภทหนึ่งที่ประกอบไปด้วยความปรารถนาดีและต้องการให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ หรือที่เรียกว่า เมตตาและกรุณา ซึ่งถือเป็นความงามประเภทเดียวที่ไม่จางหายและไม่ก่อให้เกิดความทุกข์

พระพุทธเจ้าแยกแยะเรื่องส่วนตัวกับส่วนรวมเป็นอย่างดี เช่น การระมัดระวังในการปฏิบัติต่อสงฆ์กลุ่มที่เป็นญาติโดยไม่ให้สิทธิพิเศษใด การเข้มงวดแม้กระทั่งภิกษุณีมหาปชาบดี พระราหุลก็ไม่เคยนอนในกุฏิเดียวกับพระพุทธเจ้า พระราหุลยังเคยปรารภว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยปฏิบัติต่อท่านอย่างชื่นชอบเป็นพิเศษ แต่พระอหิงสกะ (องคุลิมาล) กลับได้รับคำยกย่องอย่างสูงยิ่งในฐานะโจรกลับใจผู้มีความอดทนสูงส่ง เป็นต้น

มุมมองใหม่ในสิ่งที่เคยเชื่อ

ปกติเราเชื่อว่าภิกษุไม่ควรสัมผัสสตรี แต่เราก็คงเคยเห็นองค์ทะไล ลามะ หรือท่านภิกษุ ติช นัท ฮันท์ สัมผัสมือกับสตรี ในขณะที่พระพุทธเจ้าไปหาพระนางยโสธรา ก็ยังสัมผัสมือกัน หรือสามเณรราหุลก็ยังเคยสวมกอดพระมารดา เป็นต้น ข้อนี้เป็นกรณีตัวอย่างที่แตกต่างระหว่างพุทธศาสนาแบบไทยกับแบบอื่น ซึ่งแสดงว่าเราควรใช้วิจารณญาณศึกษาเชิงเปรียบเทียบ

กรณีอดีตชาตินั้น มีกล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าเห็นการเกิดและตายทุกครั้งที่ผ่านมา ซึ่งกรณีนี้คงขึ้นอยู่กับการตีความ หากตีความอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ก็หมายถึงว่า “สสารไม่สูญหายไปไหน” พระพุทธเจ้าเคยกล่าวว่า ก่อนที่ตถาคตจะเกิดมาเป็นมนุษย์ ตถาคตเคยเป็นดินและก้อนหิน เคยเป็นต้นไม้ เป็นนก และในชาติปางก่อน พวกเราล้วนเคยเกิดเป็นมอส หญ้า ต้นไม้ ปลา เต่า นก เป็นต้น ดังนั้นพระพุทธเจ้าคงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งเป็นสำคัญ

ปัญหาสังคมในมุมมองใหม่

ในสมัยพุทธกาล ความยากจนของชาวนา ปัญหาเด็กพิการ ขอทาน การเจ็บป่วย เป็นปัญหาที่แม้แต่กษัตริย์ก็ไม่มีอำนาจที่จะแก้ไข อำนาจของกษัตริย์เปราะบางและมีอยู่อย่างจำกัด แม้กษัตริย์จะทราบถึงความละโมบและการฉ้อราษฎร์บังหลวง แต่ก็จำต้องอาศัยพวกขุนนางทุจริตเหล่านี้รักษาบัลลังก์ ขุนนางเหล่านี้ต่างก็ขับเคี่ยวกันเพื่อมุ่งปกป้องและสร้างฐานอำนาจของตนเอง ไม่ใช่มุ่งขจัดความทุกข์ยากให้ผู้ยากไร้

อาจกล่าวได้ว่า การทำทานก็ช่วยบรรเทาทุกข์ผู้ยากไร้ได้บ้าง แต่ไม่ใช่ทางออกที่ดีจริง อาชญากรรมและความรุนแรง เป็นผลพวงของความอดอยาก ยากจน วิธีที่ดีที่สุดในการช่วยเหลือประชาชน และช่วยให้ประชาชนมั่นคงปลอดภัยดี ก็คือการมุ่งสร้างเศรษฐกิจที่สมบูรณ์ โดยการจัดสรรทรัพยากร ทุน และภาษี เป็นต้น

สร้างความเท่าเทียมในหมู่ชน

ในสมัยนั้น ประชาชนถูกครอบงำกดขี่จากพวกพราหมณ์ โดยต้องยอมเสียเงินให้เพื่อรับการทำพิธีที่ถูกต้องแม้ว่าพวกเขาจะยากจนเพียงใด แต่พระพุทธเจ้ากลับมุ่งสร้างความเท่าเทียมในหมู่ชน โดยแสดงออกด้วยการดื่มน้ำแก้วเดียวกับเด็กชายวรรณะจัณฑาลทั้งยังให้เด็กคนนั้นดื่มก่อน และยังรับคนจัณฑาลเข้ามาอยู่ในคณะสงฆ์ แต่ทำไมในทุกวันนี้ พุทธศาสนากับศาสนาพราหมณ์กลับแยกกันแทบไม่ออก ใครเป็นคนทำ ใครเป็นคนเสริมต่อ และใครได้ประโยชน์จากการนี้

การช่วงชิงผลประโยชน์ทางการเมือง และการสงครามของกษัตริย์นครต่างๆ ทำให้ประชาชนเดือดร้อน พระพุทธเจ้าก็เคยห้ามศึกในหมู่ญาติ นี่แสดงว่าหากกษัตริย์หรือข้าราชการไม่ได้รับการควบคุมที่ดี ประเทศไม่ได้เป็น “ประชารัฐ” ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยของคนส่วนใหญ่ ก็ย่อมก่อสงคราม กดขี่และสร้างความไม่เป็นธรรมให้กับประชาชนได้

คำราชาศัพท์กับพระพุทธเจ้า

ในการเขียนถึงพระพุทธเจ้า เรามักใช้คำราชาศัพท์ พระพุทธเจ้าก็เคยเป็นเจ้าชายมาก่อน และหากครองราชย์ ก็อาจเป็นมหาจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ของโลก แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ประสงค์จะอยู่ในวรรณะกษัตริย์ ประสงค์จะใช้ภาษาและคำพูดธรรมดา ดังนั้นการใช้คำราชาศัพท์กับพระพุทธเจ้า แม้ในแง่หนึ่งถือเป็นการแสดงความเคารพสูงสุด แต่ในอีกแง่หนึ่งก็อาจเป็นการไม่นำพาต่อความตั้งใจของพระพุทธเจ้าในการสละวรรณะนี้ การใช้คำราชาศัพท์ก็เท่ากับการผูกพันพระพุทธเจ้าไว้กับวรรณะเฉพาะ

โปรดสังเกตว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่ถือตน โดยสมัยที่ลาจากวรรณะกษัตริย์มาบำเพ็ญเพียร เด็กชายวรรณะจัณฑาลให้หญ้ามาใช้ปูนั่ง ก็ยกมือไหว้ขอบคุณ สมัยเป็นพระพุทธเจ้าก็พนมมือ น้อมกายเป็นการตอบรับ พระพุทธเจ้าเคยช่วยเด็กวรรณะจัณฑาลตัดหญ้าด้วย หรือร่วมกับพระอานนท์ช่วยกันอุ้มภิกษุที่อาพาธขึ้นเตียงและเปลี่ยนจีวรให้ แล้วยังขัดถูพื้นกุฏิและซักจีวรที่เกรอะกรังดินของภิกษุดังกล่าว เป็นต้น

การที่มนุษย์ผู้หนึ่งสามารถบรรลุธรรม จนประกาศศาสนาให้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจมานับได้ 2551 ปีเช่นนี้ ทำให้เห็นชัดถึงศักยภาพของมนุษย์ที่สามารถพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าทั้งทางวัตถุและจิตใจอย่างเอนกอนันต์ได้ เราจึงต้องเชื่อมั่นในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่สามารถเป็นอิสระจากอวิชชาด้วยการศึกษาอย่างจริงจังและเป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาสังเคราะห์ด้วยปัญญาให้รู้จริง

พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ที่เราเข้าถึงได้ และที่สำคัญอย่าลืม “บุคคลไม่สามารถข้ามพ้นจากอวิชชาโดยการสวดอ้อนวอนและยัญบูชา”


* ดร.โสภณ พรโชคชัย เป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สินและนักวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์ ขณะนี้ยังเป็นกรรมการหอการค้าสาขาจรรยาบรรณ ที่ปรึกษาหอการค้าไทยสาขาอสังหาริมทรัพย์ ผู้แทนสมาคมประเมินค่าทรัพย์สินนานาชาติ (IAAO) ประจำประเทศไทย กรรมการบริหาร ASEAN Valuers Association และ ASEAN Association for Planning and Housing และกรรมการสภาที่ปรึกษาของ Appraisal Foundation ซึ่งเป็นหน่วยงานควบคุมวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินในสหรัฐอเมริกาที่แต่งตั้งขึ้นโดยสภาคองเกรส Email: sopon@thaiappraisal.org
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ดุสิตธานี
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2007
ตอบ: 352
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.พ.2008, 5:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
“จงทำจิตให้บริสุทธิ์” ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง “ตัวของเราเอง”
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ต้นไทร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 22

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.พ.2008, 9:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมชื่อต้นไทร เป็นน้องชายพี่ใบโพธิ์ครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ชินภพ พิมพะกร
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 ธ.ค. 2006
ตอบ: 67

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.พ.2008, 10:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรม คือ หน้าที่ คือ ธรรมชาตื คือ สรรพสิ่ง คิดอย่างไม่นำวิทยาศาสตร์มาเป็นหลักการพิจารณา ไม่ตั้งต้นด้วยรูปธรรม คือ การเคารพกฏธรรมชาติ อยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพา ในสภาวะแห่งอนัตตา
พระพุทธเจ้าท่านไม่ปฏิเสธปาฏิหาริย์ แต่ท่านตรัสว่า หากบุคคลประพฤติดี ดวงดาวหรือจะทำอะไรได้ หากบุคคลประพฤติธรรม ธรรมย่อมคุ้มครอง อีกทั้งปาฏิหาริย์เป็นเพียงกระพี้ หากศึกษาให้ถึงแก่นแล้วคือพระพุทธศาสนา ทุกอย่างเป็นอวิชชา ยกเว้นพระพุทธศาสนาแท้จริง แม้กระทั่งวิทยาศาสตร์ ก็คือการเล่นแร่แปรธาตุ อย่าตีความพระศาสนา สิ่งที่ไม่เห็นด้วยตา ไม่อาจกล่าวได้ว่าไม่มีอยู่จริง จิตเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หากไม่ศึกษาอย่างถ่องแท้ ยากจะอธิบาย ถึงจุดหนึ่งแล้ว ทุกศาสนาจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เป็นพระพุทธวจนะ ไม่มีใครได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ อย่าแบ่งเค้าแบ่งเรา พุทธศาสนาที่แท้เปิดกว้าง พระพุทธเจ้าท่านไม่ปฏิเสธ แต่ท่านตรัสว่า ท่านว่าของท่านอย่างนี้ ซึ่งเป็นสัจจธรรมที่ไม่อาจปฏิเสธได้ เพียงแต่อย่ายึดติดกับปาฏิหาริย์ ชาติ ภพ เกิด แก่ เจ็บ ตาย และสามัญลักษณ์ มีหลายครั้งหลายหนที่ระบุว่าพระพุทธเจ้าท่านแสดงปาฏิหาริย์ให้ชฎิลยอมรับนับถือ ตามความเห็น ทุกสิ่งน่าจะปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ร่วมกัน ควรเข้าให้ถึงประโยชน์ส่วนต้น เพื่อมุ่งให้ถึงประโยชน์สูงสุด ใช้สิ่งเหล่านั้นเป็นเครื่องมือให้เข้าถึงแก่นแท้ของพุทธศาสนา ศึกษาให้รู้ ให้หายติดข้อง เพื่อก้าวสู่ระดับแห่งการพัฒนา เปิดจิตให้กว้าง ชาติ ภพ เกิดจากกกรรม กรรมคือการกระทำ วันหนึ่งคนเราเกิดหลายชาติ เกิด ดับ เกิด ดับ (อ้างอิงท่านพุทธทาส) เป็นคนละเรื่องจากชาติที่กำเนิดจากครรภ์มารดาพระอรหันต์สูงสุด สภาวะของการให้ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ควรเปิดใจให้กว้าง นั่นคือวิถีพุทธ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.พ.2008, 10:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรียนคุณ ชินภพ พิมพะกร

วิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องเล่นแร่แปรธาตุ

ธรรมนั้นครอบคลุมถึงวิทยาศาสตร์ด้วย

ในพระไตรปิฎกก็มีบันทึกพระสูตรเกี่ยวเนืองถึงวิทยาศาสตร์ไว้มากมาย

การศึกษาพระธรรมไม่ควรสร้างความจำกัดครับ ด้วยความเคารพท่านจริงๆ

หลายเรื่องในพระสูตรสามารถอธิบายสนับสนุนว่าเป็นจริง

ตามทฤษฎีและการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ชินภพ พิมพะกร
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 ธ.ค. 2006
ตอบ: 67

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.พ.2008, 6:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณครับ คุณ mes ที่ให้ความกระจ่างเรื่องวิทยาศาสตร์ในพุทธศาสนา
การให้คำจำกัดความ เป็นเพราะต้องการอธิบายสิ่งซึ่งสอดคล้องกับหลักพระศาสนาเพียงเพื่อชี้ให้เห็นการตีความในบทความดังกล่าว ซึ่งถึงแม้ว่าตนเป็นผู้มีความรู้เพียงฝอย ก็ยังรู้สึกว่ามันไม่ใช่แนวทาง โดยเฉพาะการได้ประโยชน์เสียประโยชน์ ชาติ ภพ และอีกหลายอย่างในบทความดังกล่าวซึ่งมิใช่มีเพียงด้านเดียว ด้านที่เข้าใจว่าตรงกับสิ่งที่ได้ปฏิบัติและเรียนรู้มาบ้างก็ยังคงมีอยู่
ขอบคุณเรื่องพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งในมุมมองแล้ว กลับคิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ตามพิสูจน์ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ หรือกระทั่งความจริงอันสูงสุดในพุทธศาสตร์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง และยังคงมีวิวัฒนาการเพียงไม่ถึงหนึ่งในสี่ส่วนของสรรพสิ่งในธรรมชาติ ซึ่งคงต้องเรียนรู้โดยการปฏิบัติ เพราะตามพุทธวจนะ ในกาลามสูตร พระพุทธเจ้าท่านว่า พึงอย่าเชื่อเพียงเพราะมีอยู่ในปิฎก (ตำรา) ซึ่งอาจมีการต่อเติมในสมัยหลัง สำหรับข้าพเจ้า ทำแล้วสบายใจ ไม่เบียดเบียน นั่นคือความดี อนุโมทนาครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.พ.2008, 8:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรียนคุณชินภพ พิมพกร

ผมถือโอกาสสนทนากับท่าน

ผมอยากแนะนำให้ท่านลองอ่านหนังสือเรื่อง ไอน์สไตน์พบพระพุทธเจ้าเห็น

ของท.พ.สม สุจีรา จะได้ความคิดในแนววิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนาดีมากครับ

วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีแยกกันไม่ออก จึงเหมือนเป็นฝาแผกกับชีวิต

ความจริงชีวิตก็คือวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่าชีวะวิทยา หมายถึงขันธ์๕ในพุทธศาสนา

สำหรับบทความของท่าน พรโชคชัย อ่านดูแล้วจะทราบว่าไม่ใช่พระ

ธรรมในแนวเถรวาท น่าจะเป็นแนวอาจาริยาวาทหรือเปล่า จึงทำให้รู้ลึกแปลกๆไป แต่ก็น่าศึกษา

ครับ

ในหลักอนุรักษ์สัจจที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ ผมจะไม่กล่าวรายละเอียดของพระสูตร แต่จะเรียน

ว่า

พระพุทธเจ้าทรงให้เราศึกษามากกว่าชี้ถูกชี้ผิดในธรรมต่างๆ

สำหรับตัวผม พระธรรมที่บันทึกเป็นตัวอักษร คือสื่อ หากไม่ระวังจะกลายเป็นการพิจารณาทาง

ตรรกซึ่งจะไม่เกิดมรรคผล

การปฏิบัติธรรมเท่านั้นจึงเป็นอริยะมรรค และเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ตามรอย
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 07 พ.ค.2008, 8:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
พระพุทธเจ้าทรงมีเมตตาต่อสรรพชีวิต
พระมหากรุณาธิคุณพระองค์ สุดหามิได้
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า

เจริญธรรม
 

_________________
อย่าประมาทลืมตน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 07 พ.ค.2008, 9:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ค.2008, 6:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จาก บทความ

อ้างอิงจาก:
"1.......พระพุทธเจ้าก็มีความชอบส่วนบุคคล เช่น โปรดประทับภาวนาท่ามกลางป่าประดู่ลาย มีความไม่พอใจ เช่น เคยดุว่าพระราหุล หรือ
2.มีความเศร้าในยามที่ภิกษุกลุ่มหนึ่งไม่ใส่ใจรับฟังคำชี้แนะ ..."


ผมเห็นดังนี้ครับ


1.การประทับภาวนาท่ามกลางป่าประดู่ลาย นั่นเป็นเพราะพระองค์เองสรรเสริญการไม่คลุกคลีหมู่คณะ และ ทรงสอนสาวกให้เป็นผู้ยินดีในความวิเวก..... จะจัดเป็น "ความชอบส่วนบุคคล"แบบที่ชาวโลกใช้กัน คงไม่เหมาะสม

2.ตอนที่พระพุทธองค์ ปลีกวิเวกไปอยู่ในป่าเนื่องจากพระสงฆ์ในเมืองหนึ่ง ทะเลาะกัน ....จะจัดว่าเป็นเพราะ"ความเศร้า"ของพระอรหันต์หรือ..... โปรดอย่าลืมว่า สุดท้ายพระสงฆ์ในเมืองนั้นก็ยุติทะเลาะกัน




จาก บทความ

อ้างอิงจาก:
"ในด้านศิลป พระพุทธเจ้ายังเป่าขลุ่ยได้ รู้จักชื่นชมในสิ่งอันสุนทรีย์โดยไม่ถูกครอบงำด้วยความสวยงามหรือความน่าเกลียด
1.นอกจากนี้ยังเคยฝึกเลียนเสียงช้างจนเหมือน ซึ่งครั้งหนึ่งนำไปใช้ในยามคับขันที่ช้างดุร้ายเชือกหนึ่งวิ่งตรงเข้ามา พระพุทธเจ้าเปล่งเสียงช้างออกมาดังสะท้านจนช้างเชือกนั้นหยุดชะงักในทันที...."


ผมมีความเห็นดังนี้ครับ

ช้างนาฬาคิรีหยุด เพราะเมตตาจิต ไม่ใช่เพราะพระพุทธองค์ทรงเปล่งเสียงแบบช้างหรอกครับ....
และ ช้างตกมัน ไม่หยุดเพราะเสียงช้างตัวผู้หรอกจะบอกให้.... ขืนไปทำเสียงช้างตัวผู้ ให้ช้างตกมันฟัง มีหวัง.....



จาก บทความ

อ้างอิงจาก:
"ปกติเราเชื่อว่าภิกษุไม่ควรสัมผัสสตรี แต่เราก็คงเคยเห็นองค์ทะไล ลามะ หรือท่านภิกษุ ติช นัท ฮันท์ สัมผัสมือกับสตรี ในขณะที่พระพุทธเจ้าไปหาพระนางยโสธรา ก็ยังสัมผัสมือกัน หรือสามเณรราหุลก็ยังเคยสวมกอดพระมารดา เป็นต้น ข้อนี้เป็นกรณีตัวอย่างที่แตกต่างระหว่างพุทธศาสนาแบบไทยกับแบบอื่น ซึ่งแสดงว่าเราควรใช้วิจารณญาณศึกษาเชิงเปรียบเทียบ..."


ผมมีความเห็นดังนี้ครับ

ขนาด วินัยบังคับไว้ ยังมีผู้ห่มผ้าเหลืองที่ไร้สำนึกบางท่านพากันแหกวินัย ไปเสพเมถุนธรรมกัน.... ถ้าขืนไม่รักษาพระวินัยข้อศีลพรหมจรรย์ไว้ มีหวังเป็นผ้าเหลืองน้อยห้อยหู พระไทยได้พากันมีครอบครัวลูกเมียแบบพระญี่ปุ่นแน่ๆ




คำอวยพร :- เป็นการมองต่างมุมน่ะครับ ขออภัยล่วงหน้า
ถือเสียว่า ความเห็นที่ไม่ตรงกัน ก็สร้างความเจริญได้ ถ้าอยู่บนพื้นฐานของสติปัญญา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2008, 5:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อจินไตย 4 ข้อ 1.
การพยามคิดว่า พระพุทธเจ้า มีความฉลาดแค่ไหน มีวิสัยแค่ไหน
เท่ากับท่านมีส่วนของความบ้าอยู่


เราคนธรรมดา รู้ได้แค่ 10 ก็เอาแค่ 10 เมื่อถึง 10 แล้วยังได้ 11 ก็ค่อยว่ากัน
การไปอยากรู้ว่าคนที่เขาสามารถจะรู้ได้ 100 เขารู้ได้จริงแค่ไหน อย่างไร
จริงหรือเปล่า พิสูจน์ได้ไหม เชื่อได้ไหม ...

ขอให้ท่านญาตธรรมทั้งหลายพึงไม่ประมาท
ถ้าท่านอยากรู้เรื่องพวกนี้มากเกินไป หมายถึง
... ท่านกำลังบ่มเพราะสว่นของความบ้าอยู่
.. คืออยากรู้ในเรื่องที่ไม่สามารถจะรู้ได้
... เหมือนปลาที่กำลังสงสัยในความสามารถของเต่า
ว่าเต่าเห้นอีกโลกนึงจริงหรือไม่ มีภูเขาจริงหรือ มีถนนมีหมู่บ้าน มีนก มีฟ้าจริงหรือ
ปลาก็เถียงกับปลาจนลือสนั่นไปทั้วท้องสมุทร
เต่า (พระพุทเจ้า) ก็อุตส่าห์บอกวิธีว่าทำยังไงจะเห็นเหมือนเต่า
ปลาก็ยังไม่เข้าใจว่าภูเขาคืออะไร มีจริงหรือไม่
ท้องฟ้าคืออะไร มีจริงหรือไม่
มีโลกที่ไม่มีน้ำล้อมรอบหรือ จริงหรือ
ปลาไม่ได้โง่ แต่ปลาไม่มีขา หายใจบนบกไม่ได้ (ไม่มีความสามารถจะรู้ได้)

ท่านทั้งหลายควรละวางจากความเป็นปลาประเภทนี้เสีย
เมื่อไหร่ท่านสามารถจะขึ้นบกมาได้ .. เมื่อนั้นท่านจะรู้ชอบได้ด้วยตัวของท่านเอง
เป้นความรู้อันเหมาะกับเวลาและความสามารถของท่าน และเป็นความรู้อันแท้.
เห้นได้ รู้ได้ แจ้งได้อย่างสิ้นสงสัยด้วยตัวเอง
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง