Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ฟ้าสางทางความลับสุดยอด ๓ ท่านพุทธทาส ภิกขุ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ชาญวิทย์
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 04 พ.ค. 2008
ตอบ: 152

ตอบตอบเมื่อ: 12 พ.ค.2008, 9:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การได้เกิดมามีชีวิต ยังไม่ควรจัดว่าบุญหรือบาป แต่ยังเป็นกลางๆ อยู่; แล้วแต่ว่าเราจะจัดให้เป็นอย่างไร คือเป็นบุญเป็นบาป หรือให้พ้นบุญพ้นบาปไปเสียเลยก็ได้ (๔๑)

มนุษย์ที่ไม่เข้าถึง หรือไม่รู้ความลับสุดยอดของมนุษย์ จะเป็นมนุษย์ไปได้อย่างไร; มนุษย์คือผู้ที่อาจจะมีจิตใจสูง อยู่เหนือปัญหาหรือความทุกขืพอสมควรแก่ความเป็นมนุษย ์ หรือเหนือปัญหาและความทุกข์โดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นยอดของมนุษย์ (๔๒)

มนุษย์ไม่ควรบูชาอะไร นอกจากความถูกต้องของความเป็นมนุษย์เอง คือความมีจิตอยู่เหนือปัญหาเหนือความทุกข์โดยประการท ั้งปวง ซึ่งความหมายนี้มีความหมายรวมถึงพระพุทธพระธรรมพระสง ฆ์ อยู่ด้วย ในฐานะเป็นภาวะที่ถูกต้องถึงที่สุด (๔๓)

ถือศาสนาไหนอย่างไร แล้วความทุกข์ไม่มีแก่ท่าน ศาสนานั้นแหละถูกต้องเหมาะสมแก่ท่านอย่างแท้จริง พุทธศาสนารวมอยู่ในศาสนาชนิดนี้ กลัวแต่ว่าท่านจะไม่รู้จักตัวความทุกข์เสียเอง (๔๔)

เมื่ออบรมจิตถึงที่สุดแล้ว จิตจะบังคับกายและตัวมันเองได้ในทุกกรณี สำหรับจะไม่มีความทุกข์ในทุกกรณีอีกเช่นกัน; ขอให้เราศึกษาธรรมชาติ หรือธรรมสัจจะข้อนี้กันเถิด (๔๕)

ความรู้สึกอันเป็นทุกข์ทรมาน กับลักษณะแห่งความทุกข์ทรมาน มิใช่เป็นสิ่งเดียวกัน; คนอาจจะมีทุกขลักษณะโดยที่จิตไม่มีทุกขเวทนา (๔๖)

คนโบราณที่รู้ธรรมะกล่าวว่า "ทั้งชั่วทั้งดีล้วนแต่อัปรีย์ (ไม่น่ารัก)" นั้น มีความจริงว่า ถ้าไปยึดถือเอาด้วยอุปาทานแล้ว ทั้งความชั่วและความดี มันจะกัดผู้นั้นโดยเท่ากัน จงรู้จักมันกันในลักษณะเช่นนี้เถิดทั้งความชั่วและคว ามดี (๔๗)

ทารกและปุถุชนรู้จักทำอะไรๆ ก็แต่เพื่อตนหรืออย่างมากก็เพื่อโลก; แต่สัตบุรุษหรืออริยชน รู้จักทำอะไรๆ ก็เพื่อธรรม คือหน้าที่อันถูกต้องของมนุษย์ (๔๘)

ธรรมะคือหน้าที่ของสิ่งที่มีชีวิตทุกระดับจะต้องทำเพ ื่อความรอด ทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิต ทั้งของตนเองและของผู้อื่น ซึ่งเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน (๔๙)

เมื่อกล่าวโดยพิสดาร คำว่า "ธรรมะ" มี ๔ ความหมาย คือตัวธรรมชาติ - ตัวกฏธรรมชาติ - หน้าที่ตามกฏธรรมชาติ - และผลจากหน้าที่นั้นๆ (๕๐)

ในคนเราคนหนึ่งๆ กายและใจเป็นตัวธรรมชาติ กฏที่บังคับชีวิตหรือกายใจอยู่ เรียกว่า กฏของธรรมชาติ หน้าที่ที่ต้องทำเพื่อความอยู่รอดของกายและใจ เรียกว่า หน้าที่ตามกฏของธรรมชาติ ผลเป็นสุขหรือทุกข์ก็ตามที่เกิดขึ้น เรียกว่า ผลเกิดจากหน้าที่ตามกฏของธรรมชาติ (๕๑)

ธรรมะสามารถช่วยได้ในทุกกรณีอย่างแท้จริง; หากแต่บัดนี้เรายังไม่รู้จักธรรมะและมีธรรมะ อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ โดยนำมาใช้แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและทันแก่เวลา (๕๒)

เราต้องเตรียมตัวไว้อย่างสำคัญที่สุดสักอย่างหนึ่ง คือเมื่อบางสิ่งหรือแม้ทุกสิ่งไม่เป็นไปตามที่เราต้อ งการ แล้วเราก็ยังไม่เป็นทุกข์อยู่นั่นเอง (๕๓)

พวกเราในยุคนี้ ไม่ได้ค้นคว้าพิสูจน์ทดลองธรรมะเหมือนที่เรากระทำต่อ วิชาวิทยาศาสตร์ - ประวัติศาสตร์ - เศรษฐกิจ - ฯลฯ ที่เรากำลังหลงใหลกันนัก; ดังนั้น จึงยังไม่มีธรรมะมาช่วยเรา (๕๔)

เรารู้ธรรมะไม่ได้ เพราะไม่รู้แม้แต่ปัญหาในชีวิตของตัวเอง ที่กำลังมีอยู่ ว่ามีอยู่อย่างไร จึงได้แต่ลูบคลำธรรมะในลักษณะที่เป็นสีลัพพตปรามาส หรือไสยศาสตร์ ไปเสียหมด (๕๕)

คนมีปัญญาแหลมคมอย่างยอดนักวิทยาศาสตร์ ก็มิได้ใช้ความแหลมคมของมัน ส่องเข้าไปที่ตัวปัญหาอันแท้จริงของชีวิต มัวจัดการกันแต่ปัญหาเปลือก อันมีผลทางวัตถุ ร่ำไป (๕๖)

อาจารย์สอนธรรมะ แม้ในขั้นวิปัสสนา ก็ยังสอนเพื่อลาภสักการสิโลกะของตนเองเป็นเบื้องหน้า แล้วจะไม่ให้โมหะครอบงำทั้งอาจารย์และลูกศิษย์ได้อย่ างไร (๕๗)

คนมาเรียนธรรมะวิปัสสนา หวังจะได้อัสสาทะ(รสอร่อย) แก่กิเลสของเขา ตามรูปแบบนั้นๆ ยิ่งขึ้นไป จึงไม่พบวิธีที่จะลิดรอนกำลังของกิเลสเอาเสียเลย (๕๘)

ผู้ที่เรียนโดยมาก ไม่ได้เรียน ด้วยจิตใจทั้งหมด เพราะยังแบ่งจิตใจไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อลองภูมิอาจารย์ หรือ แย่งตำแหน่งอาจารย์ ก็ยังมี ดังนั้น จึงเรียนได้น้อย รับเอาไปน้อย (๕๙)

แม้จะเป็นคนบรมโง่สักเท่าไร เขาก็ยังคิดว่า เขายังมีอะไรที่ดีกว่าอาจารย์ อยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง ; ดังนั้น จึงมองข้ามความรู้ของอาจารย์เสียบางอย่าง หรือมากอย่างก็ยังมี ๖๐

ซึ้ง ยิ้มแก้มปริ ปรบมือ ปรบมือ ร้องไห้ อืมม์ สาธุ สงสัย ขำ
คัดลอกจาก พุทธทาสดอทคอมครับ
 

_________________
ธรรมะคือธรรมชาติ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง