Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 กรรมของชาติ ของบ้านเมือง ใครรับผิดชอบ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
I am
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.พ.2006, 1:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

...มนุษย์ไม่เคยนึกให้ถึงว่าความรุนแรงที่เกิดแก่ตนบ้าง เกิดแก่คนนั้นคนนี้บ้าง เกิดแก่ประเทศชาติบ้าง นั้นเกิดแต่กรรมไม่ดีใด เพราะผลทุกประการเกิดแต่เหตุ ผลที่ไม่ดีที่แรงมากแรงน้อยต่างๆ นานา ต้องมีเหตุที่ได้กระทำแล้วจริงทั้งนั้น เกิดแก่ผู้ใดก็แสดงว่าผู้นั้นทำเหตุไว้ เกิดแก่ประเทศชาติใดก็แสดงว่าผู้คนในประเทศชาตินั้น ที่จำนวนไม่น้อย ได้ทำเหตุไว้แน่นอน

แต่ผู้ไมมีญาณหยั่งรู้ย่อมไม่รู้ได้ว่าทำเหตุใดไว้ ผู้ใดหรือหมู่คณะใดเป็นผู้ทำไว้ เราทุกคนก็อาจจะเป็นหนึ่งที่ได้ร่วมกระทำเหตุไม่ดีไว้ ทำให้เกิดผลไม่ดีที่ปรากฏให้เห็นทั่วไป ในที่นี้จะพูดถึงที่เป็นผลกว้างขวางครอบคลุมไปในประเทศชาติ ตลอดถึงกระทั่งในโลกทีเดียว

พวกเราที่รวมกันเป็นคนในโลก ในประเทศชาติ เมื่อมีความเดือดร้อนวุ่นวายปั่นป่วนเกิดขึ้นมากมายผิดปกติ ในโลกก็ตาม ในบ้านเมืองของเราก็ตาม น่าจะคิดให้ลึกสักหน่อยว่า ต้องเป็นกรรมที่ไม่ใช่เล็กน้อย นั่นก็คือต้องไม่เป็นกรรมของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น

กรรมที่เกิดแก่ส่วนรวม คือเกิดแก่บ้านเมืองแก่ประเทศชาติ ตามเหตุผลแล้วต้องเป็นกรรมของส่วนรวม ของประเทศชาติ ซึ่งมีเราทุกคนรวมอยู่เป็นหนึ่งแน่นอน ยอมรับว่าความร้อนของบ้านเมืองเรา ซึ่งต้องเกิดแต่กรรมไม่ดีไม่งามแน่นอน เราต้องเป็นหนึ่งในผู้ก่อกรรมอันยังให้ความเดือดร้อนนั้นเกิด

ถ้าทุกคนหรือมากคน ยอมคิดได้เช่นนี้ แล้วยอมแก้ไขด้วยการพยายามทำกุศลกรรม คือทำดี ลดละการทำอกุศล คือทำไม่ดี ให้เต็มสติปัญญาความสามารถ ย่อมยังให้เกิดผลดีได้ มากคนคิดได้ มากคนทำดี มากคนลดละเลี่ยงหลีกการทำความชั่ว การทำบาปอกุศล
ย่อมยังให้เกิดผลดีได้มากเป็นธรรมดา แก่ประเทศชาติ ทำเหตุดีมาก ผลดีย่อมมาก แน่นอน

พระพุทธสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า “บัณฑิตย่อมไม่เพ่งโทษผู้อื่น” อัญเชิญพระพุทธภาษิตนี้มาช่วยประเทศชาติของเราเถิด ถึงเวลาแล้วอย่าปล่อยให้สายเกินไป รู้อยู่แก่ใจ ว่าบ้านเมืองกำลังวุ่น กำลังร้อน อย่าไปมัวเพ่งโทษคนนั้นคนนี้ ว่าไม่ดีอย่างนั้น ไม่ดีอย่างนี้ ควรทำอย่างนั้น ควรทำอย่างนี้

โดยมิได้นึกถึงตัวเองเลยว่าต้องทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้ ที่เป็นบุญเป็นกุศล ไม่เป็นบาปไม่เป็นอกุศล แล้วทำตามที่คิดในทันที การมัวไปเพ่งโทษคนอื่นว่าทำผิดอย่างนั้น ทำไม่ดีอย่างนี้ นอกจากไม่ให้คุณแก่ใครแล้ว ไม่ช่วยประเทศชาติให้ร่วมเย็นเป็นสุขแล้ว ยังให้โทษแก่จิตใจของตนเองด้วย

ดังนั้นจึงทรงมีพระพุทธภาษิตเตือนไว้ว่า “บัณฑิตย่อมไม่เพ่งโทษผู้อื่น” เพราะไม่มีคุณ มีแต่โทษสถานเดียว....

: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
 
จ๋อมแจ๋ม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.พ.2006, 2:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรรมเป็นเผ่าพันธ์ กรรมเป็นพวกพ้อง สาธุ
 
ดัด
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.พ.2006, 6:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ด้วยเหตุนี้กระมั่ง พ. จึง 0 สิ้นไปจากอินเดีย
 
บัวเบลอ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 18 ต.ค. 2005
ตอบ: 86

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.พ.2006, 2:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แน๊ะแน๋ซะจิ๊ง หัวเราะ

ขอถามนิดเจ้าของกทสักนิดว่า ระหว่างสุภาษิต ..

ช้าๆได้พร้าเล่มงาม vs น้ำขึ้นให้รีบตัก

อันไหนผิดอันถูก หรือคนโบราณพูดจาขัดแย้งกันเอง สงสัย

ไม่ใช่บัวเบลอคัดค้าน " บัณฑิตย่อมไม่เพ่งโทษผู้อื่น "
เห็นด้วย 100 % แต่พอเอารวมกับหัวข้อชื่อเรื่อง มันเลยทะแม่งๆอะค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เกต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.พ.2006, 12:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มันต่างกรรมต่างวาระกัน
คำสอนของพระพุทธะก็เช่นกัน
ผู้ศึกษาต้องดูหัวข้อธรรมนั้นๆว่า พระองค์แสดงแก่ใคร อยู่ในสถานการณ์อย่างไร สอนเป็นกลุ่มชนหรือ สอนเฉพาะบุคคล
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง