ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 9:21 am |
  |
อันธรรมดาของการทำงานทุกชนิด ในสมัยปัจจุบัน ล้วนมีการวางแผนงานล่วงหน้า
นั่น หมายความว่า บุคคลใดใด จะทำการใดใด ล้วนย่อมมี จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ที่แน่นเอน เป็นส่วนใหญ่
ศาสนา ทุกศาสนา ก็ล้วนมีจุดประสงค์ จุดมุ่งหมาย เป้าหมาย ที่แน่ชัดเพื่อให้บุคคลผู้ศรัทธาได้รู้ล่วงหน้า ว่า ศาสนานั้นๆ มีวัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมาย เป้าหมาย อย่างไร เช่น
" ศาสนาพุทธ มีวัตถุประสงค์ และจุดมุ่งหมาย เป้าหมาย เพื่อให้บุคคล มีสถานะ เป็น ผู้รู้ เมื่อรู้แล้ว ย่อมเป็น ผู้ตื่น เมื่อ ตื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เบิกบาน "
(ในข้อความเบื้องต้นนั้น จะอธิบายให้เกิดความเข้าใจในครั้งต่อไปว่า ทำไม จึงเรียกว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน และท่านทั้งหลายต้องคำนึงนึกถึงไว้ว่า คำว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน นั้น เป็น ผลแห่งการขจัดอาสวะแห่งกิเลส ได้แล้ว ไม่ใช่ตัวหลักธรรม หรือหลักการ ถ้าจะอธิบายให้เกิดความเข้าใจง่าย ก็คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นคำนิยาม เรียก ลักษณะอาการของผู้ที่สามารถขจัดอาสวะแห่งกิเลสได้ หรือ เป็นลักษณะอาการ สำหรับผู้ที่จะปฏิบัติ จนสามารถขจัดอาสวะแห่งกิเลสได้)
" ศาสนาคริสต์ มีวัตถุประสงค์ จุดุม่งหมาย เป้าหมาย เพื่อ พระบิดา พระจิต และพระบุตร คือ เพื่อได้ไปอยู่กับพระเจ้า "
" ศาสนาอิสลาม มีวัตถุ ประสงค์ จุดมุ่งหมาย เป้าหมาย เพื่อ ให้บุคคล ผู้ประพฤติปฏิบัติ ได้ไปรับใช้พระผู้เป็นเจ้า"
และวัตถุประสงค์ โดยรวม ของแต่ละศาสนา ก็ล้วน มีแนวทางเพื่อให้บุคคล ละความชั่ว ประพฤติดี "
ดังนั้น ในการทำงานทุกชนิด เขาก็จะมีเป้าหมายล่วงหน้า อันเป็นแรงจูงใจ ให้ผู้ร่วมงาน มีแรงกำลังใจ และความมุ่งมั่น ที่จะประกอบการ ดำเนินการ หรือกระทำการ เพื่อให้บรรลุ เป้าหมาย
ศาสนา ก็เช่นกัน การได้รู้ว่า ผู้บรรลุโสดาบัน บรรลุ สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ นิพพาน ที่ถูกต้อง อันสามารถพิสูจน์ได้แล้วว่า มีจริงเป็นจริง
ก็ย่อมสามารถใช้เป็นบรรทัดฐาน หรือข้อเปรียบเทียบ หรือตัวอย่าง ให้บุคคลที่ฝึกปฏิบัติได้รู้ว่า เมื่อฝึกมาเกิดลักษณะอาการอย่างนี้ เรียกว่า โสดาบัน นะ อย่างนี้เรียกว่า อรหันต์ นะ เรียกว่า นิพพาน นะ อย่างนี้เป็นต้น
แต่ ลักษณะของเป้าหมายในทางศาสนานั้น เนื่องด้วย สมอง สติปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ และสภาพสภาวะจิตใจ ของมนุษย์ ไม่เท่าเทียม กัน
เป้าหมายในทางศาสนา จึงจำแนกเป้าหมายไว้ หลายเป้าหมาย เช่น เป้าหมายในทางปุถุชน คนทั่วไป
เป้าหมายสำหรับผู้ มีความรู้ มีความเข้าใจ มีเวลา มีความอดทน และสำคัญที่สุดคือ มีความเชื่อ ว่าสามารถปฏิบัติให้ถึงเป้าหมายได้
ดังนั้น ลักษณะอาการปรากฏการณ์ แห่งเป้าหมายในทางศาสนา ย่อมมีความสำคัญ เป็นบรรทัดฐาน เป็นหลักฐาน อันจักทำให้ศาสนาเจริญรุ่งเรือง
สิ่งที่ได้กล่าวไปทั้งหมด เป็นข้อเตือนสำหรับ วิทยากร ผู้เกี่ยวข้องกับศาสนา ทุกท่าน ได้พึงสังวร และจดจำเอาไว้ว่า " ต้องทำความเข้าใจในศาสนาให้ถ่องแท้ ไม่อย่างนั้น ก็จะกลายเป็นว่า ทำลายศาสนาโดยความรู้เท่าไม่ถึงกาล
หรืออาจจะกลายเป็น ตัวละครใน นิทาน อีสบ เรื่อง
"..........หางด้วน" ขอรับ |
|
|
|
  |
 |
ตะแง๊ว
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 09 ส.ค. 2007
ตอบ: 72
ที่อยู่ (จังหวัด): สุโขทัยธานี
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 2:35 pm |
  |
 |
|
_________________ จงทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือแม้กระทั่ง ตัวของเราเอง |
|
  |
 |
sittidet
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 26 ธ.ค. 2007
ตอบ: 53
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 7:30 pm |
  |
สาธุพ่อของใครใครก็รัก พ่อของใครใครก็ว่าดี ทำความเข้าใจระหว่างศาสนาจะดีกว่าเปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่าง ซึ่งจะนำไปให้เกิดความแตกแยกเปล่าๆครับ สาธุครับท่านพุทธะ  |
|
_________________ ผู้ใดมีตนเป็นที่พึ่งนับว่าหาที่พึ่งอันหาได้ยาก |
|
  |
 |
รุ่งลลิดา สกุลงาม
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 21 ก.ค. 2007
ตอบ: 53
ที่อยู่ (จังหวัด): 75/8 ม.3 ม.จามจุรี 2 ต.ท่ามะกา อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 8:29 pm |
  |
 |
|
_________________ มีสติไว้ |
|
    |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2008, 12:37 pm |
  |
sittidet พิมพ์ว่า: |
สาธุพ่อของใครใครก็รัก พ่อของใครใครก็ว่าดี ทำความเข้าใจระหว่างศาสนาจะดีกว่าเปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่าง ซึ่งจะนำไปให้เกิดความแตกแยกเปล่าๆครับ สาธุครับท่านพุทธะ  |
ความแตกต่างของศาสนานั้น เป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งคนทั่วไปย่อมรู้ดีอยู่แล้ว เมื่อศาสนาเกิดขึ้น ในที่แตกต่างกัน ความแตกต่างทางศาสนาก็ย่อมมี แต่เป็นการแตกต่างในเรืองของศัพท์ภาษา และสำนวนในการสอน ส่วนเรื่องการปฏิบัติ ความจริง มิได้แตกต่างกัน เพราะมีเป้าหมายที่เหมือนกันในทุกศาสนา
แม้เราเห็นว่า ศาสนาหนึ่ง มีการปฏิบัติ รุปแบบหนึ่ง อีกศาสนาก็มีการปฏิบัติอีกรุปแบบหนึ่ง แต่เป้าหมายสุดท้าย ของแต่ละศาสนาเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ศัพท์ภาษาที่ใช้เรียก เช่น ศาสนาพุทธ เรียกว่า อริยะบุคคล
ศาสนา คริสต์ เรียกว่า ได้ไปรับใช้พระเจ้า
ศาสนา อิสลาม เรียกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของพระผู้เจ้า คือถ้าปฏิบัติ แล้วย่อมไปสู่พระผู้เป็นเจ้า
ศาสนา พราหมณ์ คือการ หลุดพ้น ไม่กลับมาเกิดอีก อย่างนี้เป็นต้น
ดังนั้นศาสนาทุกศาสนา จึงมีเป้าหมายเดียวกัน ไม่แตกต่างจากกัน เพียงแต่ผู้ศรัทธาในแต่ละศาสนา ไม่เข้าใจในหลักการหรือเป้าหมายของศาสนาที่ตัวเองศรัทธาอยู่อย่างถ่องแท้
นั่นเพราะ ภาษา และสำนวนในการเขียน การแปลภาษาจาก ภาษาหนึ่ง ไปอีกภาษาหนึ่ง จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิด ฉะนี้ |
|
|
|
  |
 |
ลุงดำ
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 24 พ.ย. 2007
ตอบ: 59
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2008, 8:10 pm |
  |
เหมือนทำกับข้าวไว้หลายอย่าง ไม่รู้จะเสริฟ จานไหน ให้กิน แล้วรู้สึกอร่อย
บางจาน เก็บไว้กินเอง เพราะรู้ว่า คนอื่นคงเคยกินแล้ว
การพยายามอธิบายให้ผู้อื่น ให้เข้าใจ แต่ผู้อื่นกลับไม่เข้าใจ
จึงรู้สึกว่า เสียเวลา เปล่า
ไม่อธิบายเรื่องของโสดาบัน ให้ละเอียด
ไม่อธิบายเรื่องของสกิทาคามี ให้ละเอียด
ไม่อธิบายเรื่องของอนาคามี ให้ละเอียด
ไม่อธิบายเรื่องของอรหันต์(นิพพาน) ให้ละเอียด
ผู้อื่นจึงไม่ทราบว่า ต้องรู้ โสดาบัน ถึง นิพพาน ไหม หรือไม่ (ตามหัวข้อกระทู้ข้างต้น) |
|
_________________ ถ้ามีเวลาว่างเกินไป ก็ไปช่วยเขาทำงานบ้าน บ้าง เอ้อ |
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2008, 8:26 am |
  |
คุณลุงดำ ข้าพเจ้าเคยสอนคุณหลายครั้งแล้วว่า ให้ทำความเข้าใจบริบทของภาษา คุณก็ยังมาเหมือนเดิมอีก
คุณมัวแต่หลงอยู่ในตำรา จนไม่เข้าใจความหมายของศัพท์ภาษาโดยทั่วไปในสังคมมนุษย์
ต่อให้คุณจบเปรียญธรรม 7 ประโยค ก็ยังสู้ คนที่เขาจบ ม.6 แล้วศึกษาธรรมตามธรรมชาติ ไม่ได้ดอกนะคุณ
ไปอ่านกระทู้ให้ดี ว่ากระทู้นี้ มีความหมายหรือบริบทของภาษาในรูปแบบใดใด
แล้วก็เลยเพิ่มเติม ลักษณะของผู้บรรลุโสดาบัน และ อรห้นต์ พอสังเขป ดังต่อไปนี้
พระโสดาบันทรงอารมณ์ยังไงครับ
ตอบ...
ทรงอารมณ์ หมายถึง มีอารมณ์ หรือตั้งอารมณ์ อย่างไร
ผู้บรรลุธรรมตั้งแต่ชั้น โสดาบัน เป็นต้นไป ล้วนย่อมมีสรีระร่างกายเป็นมนุษย์อยู่ ดังนั้น อารมณ์ใดใด ที่จะเกิด กับพระอริยะบุคคลนั้น ล้วนย่อมเกิดจาก ความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ และความจำ ในตัวของพระอริยะบุคคลนั้นๆ เป็นอันดับแรก
นอกเหนือจากนั้น ก็จะเป็น การได้รับการสัมผัสจากภายนอก ร่างกาย คือสัมผัสจากผู้อื่น ทางอายตนะทั้งหลาย ซึ่งล้วนทำให้เกิด รูป รส กลิ่น เสียง แสง สี โผฏฐัพพะ
ผู้บรรลุโสดาบัน เมื่อได้สัมผัส ประกอบกับปัจจัยที่มีอยู่ในตัว ล้วนย่อมมีอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด เฉกเช่น มนุษย์ทั่วๆไป
เพราะผู้บรรลุโสดาบันนั้น ก็เป็นเพียงผู้รู้จักมรรคผล รู้ว่า มรรค เป็นอย่างไร ผลเป็นอย่างไร ซึ่ง ต้องอาศัยการฝึกฝน เพื่อขจัดอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ให้ออกจากสรีระร่างกาย
ดังนั้น สภาพอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ของผู้บรรลุโสดาบัน ที่เกิดขึ้น บางอย่างก็จะสามารถขจัดออกไปได้ บางอย่างก็ไม่สามารถขจัดออกไปได้
สภาพอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ที่สามารถขจัดออกจากร่างกายได้ ก็ย่อมทำให้ ผู้บรรลุโสดาบันนั้น ว่างเปล่า ไม่คิดสิ่งใด ไม่รู้สึก ไม่มีอารมณ์ ใดใด จะว่า วางเฉย ก็ไม่ใช่ จะว่า ไม่วางเฉยก็ไมใช่ คือรู้สึกตัวอยู่เสมอ แต่ไม่ยินดียินร้าย ต่อสิ่งที่มาสัมผัส นี้กล่าวในแง่ที่ว่า ผู้บรรลุโสดาบันนั้น ขจัดอาสวะออกไปได้
แต่ถ้าหากผู้บรรลุโสดาบัน ไม่อาจสามารถขจัดอาสวะที่ได้รับจากการสัมผัส และจากภายในร่างกายตัวเอง ให้ออกไปจากร่างกายได้ ก็ย่อมมีอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ตามการที่ได้รับสัมผัสนั้นๆ แต่เนื่องจากผู้บรรลุโสดาบัน มีสมาธิ และความรู้อยู่ครบถ้วน จึงไม่แสดงอาการ หรือสามารถควบคุณ อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดเหล่านั้นไว้ได้ ซึ่งก็ย่อมขึ้นอยู่กับสถานะการณ์สิ่งแวดล้อม การครองเรือน หรือหน้าที่การงาน อันเป็นปัจจัยประกอบที่สำคัญ
สุดท้าย อย่าสงสัยว่า ทำไม ถามนิดเดียว แต่ตอบยาว
เพราะ มันเป็นเรื่องที่ต้องอธิบายกันยาว ไม่ใช่มาตอบว่า ละโน้น ละนี้ ละอย่างนั้น ละอย่างนี้ ก็ทรงอารมณ์อย่างนั้น อย่างนี้ นั่นมันอวดอุตริฯ
แต่ที่กล่าวไปทั้งหมด ของจริง เรื่องจริงขอรับ
ส่วนการบรรลุอรหันต์ นั้น คือ การที่บุคคล มีความรู้ ในหลักวิชชา ทางศาสนา ฝึกปฏิบัติ จนสามารถขจัดคลื่นอาสวะแห่งกิเลสออกจากร่างกาย ขณะที่ขจัดอาสวะแห่งกิเลส ก็จะเปล่งเป็นแสงสีต่างๆกัน จะเรียกว่า ฉัพพรรณรังสี ก็ได้ เพราะผู้บรรลุอรหันต์ จะสามารถขจัดอาสวะแห่งกิเลส อันเป็นอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด คลื่นแห่งกามตัณหา ฯลฯ ซึ่ง อาสวะแห่งกิเลสต่างๆเหล่านั้น จะแสดงออกมาเป็นแสงสีตามแต่ อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ฯลฯ ยกตัวอย่างเช่น อารมณ์โกรธ หรือขุ่นมัว ก็จะเปล่งฉัพพรรณรังสี เป็นแสงสีดำ หรือเกีอบจะดำ
ถ้าเป็นขจัดความหลง เช่นได้รู้จัก ได้เห็น ได้พบ ก็จะเปล่งเป็นแสงสีส้ม
ถ้าเป็นการขจัดอาสวะแห่งกิเลสที่เป็นส่วนละเอียด ก็จะเป็นแสงสีขาวนวล
ถ้าเป็นการขจัดอาสวะแห่งกิเลสที่เป็นส่วนละเอียด ระดับอะตอม(เล็กที่สุด) ก็จะเป็นแสงสีขาวใส
อย่างนี้เป็นต้น |
|
|
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 4:14 pm |
  |
แค่แวะเข้ามาดู ง่ะ อมิตพุทธ |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 5:54 pm |
  |
ฮาแตกอีกแล้ว !!
|
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
|