ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
07 พ.ค.2008, 8:35 pm |
  |
เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ - เทวดา เห็นว่าทั่วๆไปมีผู้ให้ความสนใจ
ฉะนั้น จะคัดลอกเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวจากหนังสือพุทธธรรม หน้า 455
มาลงไว้สำหรับศึกษากันต่อไป
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
07 พ.ค.2008, 8:48 pm |
  |
ถ้าถามว่า ในทัศนะของพระพุทธศาสนา อิทธิปาฏิหาริย์ ก็ดี เทวดาหรือเทพเจ้าต่างๆ ก็ดี
มีจริงหรือไม่
และถ้าตอบตามหลักฐานในคัมภีร์มีพระไตรปิฎกเป็นต้น โดยถือตามตัวอักษร ก็ต้องว่า มี
หลักฐานที่จะยืนยันคำตอบนี้มีอยู่มากมายทั่วไปในคัมภีร์ จนไม่จำเป็นจะต้องยกมาอ้างอิง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาเกี่ยวกับความมีหรือไม่มี และจริงหรือไม่จริงของสิ่งเหล่านี้
เป็นสิ่งยากที่จะทำให้คนทั้งหลายตกลงยอมรับคำตอบเป็นอย่างหนึ่งอย่างเดียวกันได้
และหลายท่าน มองเห็นโทษของความเชื่อถือในสิ่งเหล่านี้ว่า ทำให้เกิดผลเสียหายมากมาย
หลายประการ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
07 พ.ค.2008, 8:50 pm |
  |
พระพุทธศาสนาก็มีหลักการที่ได้วางไว้แล้วอย่างเพียงพอที่จะปิดกั้นผลเสีย ซึ่งจะพึงเกิดขึ้น
ทั้งจากการติดข้องอยู่กับการหาคำตอบว่ามีหรือไม่ จริงหรือไม่จริง
และทั้งจากความเชื่อถืองมงายในสิ่งเหล่านั้น
พูดอีกอย่างหนึ่งว่า มนุษย์จำนวนมากตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน มีความเชื่อถือหรือ
ไม่ก็หวั่นเกรงต่ออำนาจผีสางเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์อิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
07 พ.ค.2008, 8:52 pm |
  |
พระพุทธศาสนากล้าท้าให้สิ่งเหล่านั้นมีจริงเป็นจริง โดยประกาศอิสรภาพให้แก่มนุษย์
ท่ามกลางความมีอยู่ของสิ่งเหล่านั้น
พระพุทธศาสนา ได้วางหลักการต่างๆไว้ ที่จะทำให้มนุษย์ได้รับผลดีในการเกี่ยวข้อง
กับเรื่องเหนือสามัญวิสัย อย่างน้อยก็ให้มีผลเสียน้อยกว่าการที่จะมัวไปวุ่นวายอยู่กับปัญหาว่า
สิ่งเหล่านั้นมีจริงหรือไม่
จุดสำคัญในเรื่องนี้อยู่ที่ว่า เราเข้าใจหลักการที่พระพุทธศาสนาวางไว้และได้นำมาใช้ปฏิบัติกัน
หรือไม่
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 8:12 am |
  |
สรุปเบื้องต้นในตอนนี้ว่า พระพุทธศาสนาไม่สนใจกับคำถามว่า อิทธิปาฏิหาริย์มีจริง
หรือไม่ เทวดามีจริงหรือไม่ และไม่วุ่นวายไม่ยอมเสียเวลากับการพิสูจน์ความมีจริง
เป็นจริงของสิ่งเหล่านี้เลย
สิ่งที่พระพุทธศาสนาสนใจ ก็คือมนุษย์ควรมีท่าทีและควรปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้น
อย่างไร
พูดอีกอย่างหนึ่งว่า สำหรับพระพุทธศาสนา ปัญหาว่าผีสางเทวดา อำนาจลึกลับ
อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ มีอยู่จริงหรือไม่ ไม่สำคัญเท่ากับปัญหาว่า ในกรณีที่มีอยู่จริง
สิ่งเหล่านั้นมีฐานะอย่างไรต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ และอะไรคือความสัมพันธ์อัน
ถูกต้องระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหล่านั้น |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 ส.ค. 2009, 12:24 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 8:14 am |
  |
อาจมีบางท่านแย้งว่า ถ้าไม่พิสูจน์ให้รู้แน่เสียก่อนว่ามีจริงหรือไม่ จะไปรู้ฐานะและวิธีปฏิบัติ
ต่อสิ่งเหล่าได้อย่างไร
ก่อนจะตอบ ควรแย้งกลับเสียก่อนว่า เพราะมัวเชื่อถือและยึดมั่นอยู่ว่าจะต้องพิสูจน์เสียก่อนนี้
แหละ จึงได้เกิดข้อผิดพลาดในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ขึ้นแล้วมากมาย
โดยที่จนกระทั่งบัดนี้ ก็ยังพิสูจน์กันไม่เสร็จ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 8:18 am |
  |
คำตอบในเรื่องนี้แยกออกได้เป็นเหตุผล 2 ข้อใหญ่
ประการแรก
เรื่องเหนือสามัญวิสัยเหล่านี้ ทั้งเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ก็ดี เทพไท้เทวา ก็ดี
จัดเข้าในประเภทสิ่งลึกลับ ที่พูดอย่างรวบรัดตามความหมายแบบชาวบ้านว่า พิสูจน์ไม่ได้
คือ เอามาแสดงให้เห็นจริงจนต้องยอมรับโดยเด็ดขาดไม่ได้ ทั้งในทางบวกและในทางลบ
หมายความว่า
ฝ่ายที่เชื่อ ก็ไม่อาจพิสูจน์จนคนทั่วไปเห็นจะแจ้งจนหมดสงสัยต้องยอมรับกันทั่วทั้งหมด
ฝ่ายที่ไม่เชื่อ ก็ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นชัดแจ้งเด็ดขาดลงไปจนไม่ต้องเหลือเยื่อใยไว้ในใจ
ของคนอื่นๆว่ายังอาจจะมี
ทั้งสองฝ่ายอยู่เพียงขั้นความเชื่อ คือเชื่อว่ามี หรือเชื่อว่าไม่มี หรือไม่เชื่อว่ามี
(ถึงว่าได้เห็นจริง ก็ไม่สามารถแสดงให้คนอื่นเห็นจริงอย่างนั้นด้วย)
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 8:19 am |
  |
ยิ่งกว่านั้น ในสภาพที่พิสูจน์อย่างสามัญไม่ได้นี้ สิ่งเหล่านี้ยังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่ง
คือ เป็นของผลุบๆ โผล่ๆ หรือลับๆ ล่อๆ หมายความว่า
บางทีมีเค้าให้ให้ตื่นใจว่าคราวนี้ต้องจริง แต่พอจะจับให้มั่น ก็ไม่ยอมให้สมใจจริง
ครั้นทำบางอย่างได้สมจริง ก็ยังมีแง่ให้เคลือบแคลงต่อไป เข้าแนวที่ว่า ยิ่งค้นก็ยิ่งลับ
ยิ่งลับก็ยิ่งล่อให้ค้น ค้นตามที่ถูกล่อก็ยิ่งหลงแล้วก็หมกมุ่นวนเวียนอยู่กับสิ่งเหล่านั้น
จนชักจะเลื่อนลอยออกไปจากโลกของมนุษย์
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 8:21 am |
  |
ในเมื่อเป็นสิ่งที่ไม่อาจพิสูจน์ เป็นสิ่งลับล่อและมักทำให้หลงใหลเช่นนี้
การมัววุ่นวายกับการพิสูจน์สิ่งเหล่านั้น ย่อมก่อให้เกิดโทษหลายอย่างทั้งแก่บุคคลและสังคม
นอกจากเสียเวลาและเสียกิจการเพราะความหมกมุ่นวุ่นวายแล้ว เมื่อต้องมัวรอกันอยู่จนกว่า
จะพิสูจน์ได้ว่ามีจริงหรือไม่ และก็พิสูจน์กันไม่เสร็จสักที
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 11:33 am |
  |
ผู้ที่เชื่อและไม่เชื่อก็ต้องมาทุ่มเถียงหาทางหักล้างกัน แตกสามัคคีทะเลาะวิวาทกันเพราะเรื่อง
ที่ไม่ชัดเจน และในระหว่างนั้น แต่ละพวกละฝ่ายต่างก็ปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นไปตามความเชื่อ
และไม่เชื่อของตน ไม่มีโอกาสที่จะแก้ไขการปฏิบัติต่างๆที่เกิดโทษก่อผลเสียแก่ชีวิตและ
สังคม เพราะต้องรอให้พิสูจน์เสร็จก่อน จึงจะยุติการปฏิบัติให้ลงเป็นอันเดียวกันได้
ซึ่งก็ยังพิสูจน์กันไม่เสร็จจนบัดนี้ จึงเป็นอันต้องยอมรับผลเสียกันอย่างนี้เรื่อยไป
ไม่เห็นที่สิ้นสุด ฯลฯ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 11:35 am |
  |
อีกอย่างหนึ่ง
ในเมื่อสิ่งเหล่านี้อยู่เพียงในระดับแห่งความเชื่อของปุถุชน ก็ย่อมผันแปรกลับกลายได้
ดังจะเห็นได้ว่า บางคนเคยไม่เชื่อถือสิ่งเหนือสามัญวิสัยเลย
(คือ เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีไม่เป็นจริง)
และดูถูกดูหมิ่นความเชื่อนั้นอย่างรุนแรง ต่อมาได้ประสบเหตุการณ์ลับล่อที่เป็นเงื่อน
ต่อแห่งความเชื่อนั้นเข้า ก็กลับกลายเป็นคนที่มีความเชื่ออย่างปักจิตฝังใจตรงข้ามไปจากเดิม
และเพราะเหตุที่ไม่มีหลักส่องนำทางในการปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้น ก็กลายเป็นผู้หมกมุ่น
หลงใหลในสิ่งเหล่านั้นยิ่งไปกว่าคนอื่นๆ อีกมากมายที่เขาเชื่ออย่างนั้นแต่เดิมมา
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 5:15 pm |
  |
ในทำนองเดียวกัน บางคนที่เคยเชื่อถือมั่นคงอยู่ก่อน ต่อมาได้ประสบเหตุการณ์ที่ส่อว่า
สิ่งที่เชื่อจะไม่เป็นไปสมจริงหรือไม่แน่นอน ความเชื่อนั้นก็กลับสั่นคลอนไป หรือบางที
อาจกลายเป็นผู้ไม่เชื่อไปเสียก็มี
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 5:17 pm |
  |
ในกรณีเหล่านี้ มนุษย์ทั้งหลายล้วนแต่มัววุ่นวายกับปัญหาว่า มีหรือไม่มี จริงหรือไม่จริง
เชื่อหรือไม่เชื่อเท่านั้น พากันขาดหลักการในทางปฏิบัติที่จะเตรียมป้องกันผลเสียต่อชีวิต
และสังคมจากความ เชื่อหรือไม่เชื่อของพวกตน
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ มุ่งสอนสิ่งที่ทำได้ ให้มนุษย์ได้รับประโยชน์
พอกับทุกระดับแห่งความพร้อมหรือความแก่กล้าสุกงอมของตนๆ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 5:20 pm |
  |
สำหรับเรื่องเหนือสามัญวิสัยเหล่านี้ พระพุทธศาสนาก็ได้วางหลักการในทางปฏิบัติไว้อย่าง
ชัดเจนว่า เมื่อสิ่งเหล่านั้นมีจริง มนุษย์ควรวางตัวหรือปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างไร
และที่วางตัวหรือปฏิบัติอย่างนั้นๆ ด้วยเหตุผลอะไร เหมือนดังพูดว่า ท่านจะเชื่อหรือไม่เชื่อ
ก็ตาม แต่ท่านควรปฏิบัติต่อสิ่งนั้นให้ถูกต้อง ผู้ที่เชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม สามารถและ
สมควรทำตามหลักปฏิบัติที่พระพุทธศาสนาแนะนำไว้นี้ได้ เพราะตามหลักการปฏิบัตินี้
ทั้งผู้เชื่อและผู้ไม่เชื่อจะประพฤติตนต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างแทบไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย
จะผิดแปลกกันบ้าง ก็เพียงในสิ่งหยุมหยิมเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนั้นยังเป็นวิธีปฏิบัติที่ทำ
ให้เกิดผลดีแก่ทุกฝ่าย โดยที่ทั้งผู้เชื่อและไม่เชื่อต่างก็มีความเอื้อเฟื้อเอื้อเอ็นดูต่อกัน
ผู้ที่เชื่อก็ปฏิบัติไปโดยไม่เกิดผลเสียแก่ชีวิตและสังคม
ผู้ไม่เชื่อ ก็สามารถปฏิบัติต่อผู้ที่เชื่อได้ถูกต้องและสามารถแนะนำผู้ที่เชื่อให้ปฏิบัติต่อสิ่ง
ที่เขาเชื่อในทางที่จะเป็นประโยชน์ ทั้งสองฝ่ายต่างมีเมตตาเคารพซึ่งกันและกัน
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 5:22 pm |
  |
หลักการในทางปฏิบัติหรือความเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัตินี้แหละที่เป็นคุณพิเศษ
ของพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธศาสนาได้ริเริ่มขึ้นใหม่ อันทำให้ต่างจากศาสนาปรัชญา
ทั้งหลายอื่น ตลอดจนลัทธินิยมอุดมการณ์ทั้งหลายแม้ในสมัยปัจจุบัน
หลักการจำเพาะในกรณีนี้ คือ สำหรับสิ่งที่ไม่อาจพิสูจน์และมิใช่ธรรมสำหรับเข้าถึง
ให้ใช้การวางท่าทีหรือวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง เมื่อคนทั้งหลายปฏิบัติตามหลักการที่
พระพุทธศาสนาและนำไว้แล้วอย่างนี้
ถ้ายังมีคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดสนใจที่จะค้นคว้าพิสูจน์ความมีจริงเป็นจริงของสิ่งเหล่านี้ต่อไป
ก็นับว่าเป็นงานอดิเรกของคนเหล่านั้น ซึ่งคนทั่วไปอาจวางใจเป็นกลาง และปล่อยให้เขาทำ
ไปเท่าที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียใดๆ แก่สังคม เปรียบได้กับนักค้นคว้าวิจัยในวิชาการสาขาต่างๆ
อย่างอื่นๆ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 5:24 pm |
  |
เท่าที่กล่าวมา เห็นได้ชัดอยู่แล้วว่า เหตุผลในข้อแรกมุ่งที่ประโยชน์ในทางปฏิบัติของมนุษย์
ทั้งหลาย
อย่างไรก็ตาม การที่พระพุทธศาสนาไม่สนใจปัญหาเกี่ยวกับความมีอยู่จริง หรือไม่ของ
ฤทธิ์ปาฏิหาริย์และเทพเจ้าทั้งหลาย จนถึงขั้นที่ว่าเมื่อวางท่าทีและปฏิบัติตนถูกต้องแล้ว
ใครจะสนใจค้นคว้าพิสูจน์เรื่องนี้ต่อไป ก็ปล่อยเขาไปตามเรื่องนั้น
ท่าทีเช่นนี้ย่อมเกี่ยวเนื่องถึงเหตุผลประการที่สอง ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับหลักการขั้นพื้นฐาน
ของพระพุทธศาสนาด้วย กล่าวคือ ความมีอยู่จริงหรือไม่ของสิ่งเหล่านี้ ไม่กระทบต่อหลักการ
สำคัญของพระพุทธศาสนา หมายความว่า
ถึงแม้ว่าอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์และเทพเจ้าจะมีจริง แต่การปฏิบัติตามหลักการและการเข้าถึง
จุดหมายของพระพุทธศาสนาย่อมเป็นไปได้ โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งเหนือสามัญวิสัย
ทั้งสองประเภทนั้นแต่ประการใดเลย |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2008, 9:24 am |
  |
สำหรับเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ พึงอ้างพุทธพจน์ว่า
พระพุทธเจ้า: นี่แน่ะ สุนักขัตต์ เธอเข้าใจว่าอย่างไร ? เมื่อเราทำอิทธิปาฏิหาริย์ซึ่งเป็น
ธรรมของมนุษย์ยิ่งยวดก็ตาม ไม่ทำก็ตาม ธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อประโยชน์มุ่งหมายใด
จะนำออกไปเพื่อ (ประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น คือ) ความหมดสิ้นทุกข์โดยชอบได้หรือไม่ ?
สุนักขัตต์: พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์ทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ที่เป็นธรรม
ของมนุษย์ที่ยิ่งยวด ก็ตาม ไม่กระทำก็ตาม ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วเพื่อ
ประโยชน์มุ่งหมายใด ก็ย่อมจะนำออกไปเพื่อ (ประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น คือ) ความหมดสิ้น
ทุกข์โดยชอบได้
ฯลฯ
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2008, 9:37 am |
  |
ขอแทรกความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับการปฏิบัติกรรมฐานตรงนี้หน่อยก่อน
พุทธพจน์นั้นให้ข้อคิดแก่ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานไม่ว่าจะใช้รูปแบบใดก็ตาม
เมื่อบริกรรมภาวนาไปถึงระดับหนึ่งแล้ว ได้ประสบกับสภาวธรรมแปลกๆ ซึ่งตนไม่เคยพบเห็น
จึงหลงคิดหลงสอนกันว่าเป็นเทพเจ้า หรือกรรมเวรแต่ปางหลังตามมาดลบันดาล
หรือกลั่นแกล้งให้เป็นไปอย่างนั้น ๆ ได้โปรดรับรู้ไว้ด้วยว่า ท่านเข้าใจผิดแนะนำกันและกันผิด
แล้ว
ที่ถูกท่านต้องกำหนดรู้สภาวะนั้นตามที่มันเป็น รู้แล้วปล่อย
ตัวอย่างมีมากมาย เช่น
http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=28&topic=รวมสภาวะของผู้เริ่มภาวนา
บอร์ดที่สอนภาวนาแล้วเกิดอาการต่างๆ มีฟ้อนรำขับร้อง เป็นต้น
แต่ผู้สอนรู้มาผิดสอนผิด หรือเจตนาจะสอนให้ผิด (ไม่แน่ใจ) จึงแก้อารมณ์กรรมฐานพลาด
และเกิดผลเสียแก่ผู้ปฏิบัติเอง
เช่นที่นี่
http://www.dmbd.org/scruple_2.php
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2008, 10:02 am |
  |
ส่วนเรื่องเทพเจ้าจะได้พิจารณาเหตุผลเป็นแง่ๆต่อไป เฉพาะในเบื้องต้นนี้
พึงพิจารณาพุทธภาษิตว่า
การถือไม่กินปลาไม่กินเนื้อ ก็ดี การประพฤติเป็นชีเปลือย ก็ดี ความมีศีรษะโล้น ก็ดี
การมุ่นมวยผมเป็นชฎา ก็ดี การอยู่คลุกฝุ่นธุลีก็ดี การนุ่งห่มหนังเสืออันหยาบกร้านก็ดี
การบูชาไฟก็ดี การบำเพ็ญพรตหมายจะเป็นเทวดาก็ดี การบำเพ็ญตบะต่างๆมากมาย
ในโลกก็ดี พระเวทก็ดี การบวงสรวงสังเวยก็ดี การบูชายัญก็ดี การจำพรตตามฤดูก็ดี
จะชำระสัตว์ผู้ยังข้ามไม่พ้นความสงสัย ให้บริสุทธิ์ไม่ได้
ขุ.สุ. 25/315/374
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2008, 10:04 am |
  |
ที่กล่าวมานี้ เป็นหลักการทั่วไปที่ควรทราบไว้ก่อน ต่อจากนี้ ถ้ายอมรับว่า อิทธิปาฏิหาริย์และ
เทวดามีจริง ก็พึงทราบฐานะของสิ่งเหล่านั้นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติ
ที่ถูกต้องต่อสิ่งเหล่านั้น ดังต่อไปนี้
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|