Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิธีแก้ปัญหาแบบพุทธ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2007, 8:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(จัดหน้า-บรรทัดใหม่)

(หนังสือพุทธธรรมหน้า 917 …โดยท่านเจ้าคุณ ป.อ. ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

บางครั้งมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า พุทธศาสนาสอนให้แก้ปัญหาทุกอย่าง แม้แต่ปัญหาทางเศรษฐกิจ

และสังคมที่ภายในจิตใจเท่านั้น ซึ่งน่าจะไม่เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่เพียงพอ หรือได้ผลแท้จริง

สำหรับข้อสังเกตนี้ ควรทำความเข้าใจแยกเป็น 2 ส่วน คือ

-ว่าโดยหลักการ อย่างหนึ่ง

-ว่าโดยแง่เน้นของคำสอน หรือแง่ที่มีเนื้อหาคำสอนมากกว่าเด่นกว่า อย่างหนึ่ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 เม.ย.2008, 12:51 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2007, 9:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-ว่าโดยหลักการ

วิธีการแก้ปัญหาแบบพุทธ

มีลักษณะสำคัญ 2 อย่าง คือ

-เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุปัจจัย อย่างหนึ่ง

-เป็นการแก้ปัญญาของมนุษย์ โดยฝีมือของมนุษย์เอง อย่างหนึ่ง


หรือเป็นการพูดรวมว่า เป็นการแก้ปัญหาของมนุษย์โดยมนุษย์เอง ที่ตรงตัวเหตุปัจจัย

ที่ว่าแก้ตรงเหตุปัจจัย ก็ว่าเป็นกลางๆ ไม่จำกัดเฉพาะข้างนอกหรือข้างใน

และที่ว่าแก้ปัญหาของมนุษย์โดยมนุษย์เอง ก็จะเห็นได้จากการที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้มนุษย์

มองปัญหาของตนที่ตัวมนุษย์เอง

ไม่ใช่มองหาเหตุและมองทางแก้ไปที่บนฟ้า หรือ ซัดทอดโชคชะตา

และให้แก้ไขด้วยการลงมือทำด้วยความเพียรพยายามตามเหตุผล

ไม่ใช่หวังพึ่งการอ้อนวอน หรือ นอนคอยโชค เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 เม.ย.2008, 12:53 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2007, 10:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ว่าโดยแง่เน้นของคำสอน หรือแง่ที่มีเนื้อหาคำสอนมากกว่าเด่นกว่า

ควรย้ำไว้ก่อนว่า พระพุทธศาสนาสอนให้แก้ปัญหาทั้งด้านนอก ด้านใน

ทั้งทางสังคมและทางจิตใจของบุคคล คือ

มีคำสอนขั้น ศีล เป็นด้านนอก และ

ขั้นจิตและปัญญาเป็นด้านใน


จากนี้จึงมาทำความเข้าใจกันต่อไปว่า เมื่อกล่าวตามแง่เน้นของคำสอนเท่าที่มีอยู่

เนื้อหาคำสอนที่บันทึกอยู่ในคัมภีร์

ส่วนที่ว่า ด้วยการแก้ปัญหาด้านในหรือด้านจิตปัญญา มีมากกว่าส่วนที่ว่า ด้วยการแก้ปัญหา

ด้านนอก หรือปัญหาทางสังคม เป็นต้น

พูดอีกด้านหนึ่งว่า เนื้อหาคำสอนเน้นด้านแก้ปัญหาทางจิตใจมากกว่าแก้ปัญหาทางสังคม

หรือด้านภายนอกอย่างอื่น ที่เป็นเช่นนี้ เป็นเรื่องธรรมดาโดยเหตุผลและควรจะเป็นเช่นนั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 เม.ย.2008, 12:57 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2007, 10:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ขอแสดงเหตุผลบางอย่าง เช่น

-โดยความคงตัวแห่งธรรมชาติของมนุษย์:

ปัญหาเกี่ยวกับชีวิตด้านใน หรือปัญหาทางจิตใจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ล้วนๆ

มากที่สุด คือมนุษย์ทุกถิ่นฐานกาลสมัย มีธรรมชาติของปัญหาทางจิตใจเหมือนๆ กัน

ถึงจะต่างสังคมหรือสังคมจะต่างยุคสมัย ธรรมชาติทางจิตปัญญาของมนุษย์

ยังคงเป็นอย่างเดิม คือมนุษย์ ที่เป็นมนุษย์ ที่มีโลภ หลง รักสุข เกลียดทุกข์เป็นต้น

อยู่อย่างเดียวกัน

ส่วนปัญหาด้านนอก เกี่ยวกับสังคมส่วนหนึ่ง เกี่ยวด้วยธรรมชาติของมนุษย์

เมื่อยังเป็นมนุษย์ ก็จะมีลักษณะปัญหาเช่นนั้น แต่ส่วนอื่นๆ นอกจากนั้นเกี่ยวข้องกับปัจจัย

อย่างอื่นๆ

ในสภาพแวดล้อมซึ่งแตกต่างๆ กันไปในส่วนรายละเอียดได้อย่างมากมาย ตามกาละและเทศะ

โดยอาศัยความเป็นจริงเช่นนี้ จึงเป็นธรรมดาอยู่เอง และเป็นอย่างที่ควรจะเป็นว่า

พระพุทธเจ้าทรงสอนเกี่ยวกับการแก้ปัญหาภายในทางจิตปัญญาเป็นหลัก

และมีคำสอนด้านนี้มากมาย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 เม.ย.2008, 1:01 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2007, 8:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ส่วนการแก้ปัญหาด้านนอก ด้านคำสอนระดับศีล ทรงสอนแต่หลักกลางๆ ที่เนื่องด้วย

ธรรมชาติของมนุษย์ เช่น การไม่ควรทำร้ายเบียดเบียนกัน ทั้งทางชีวิตร่างกาย

ทรัพย์สินสิ่งหวงแหน ด้วยกายหรือด้วยวาจา และการช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นต้น


ส่วนรายละเอียดนอกจากนั้น เป็นเรื่องแตกต่างกันไปตามปัจจัยอื่นๆ ในสภาพแวดล้อม

ที่เกี่ยวข้องของต่างถิ่น ต่างยุคสมัยไม่มีเหมือนกัน เป็นเรื่องของมนุษย์ที่รู้หลักการทั่วไป

ของการแก้ปัญหาแล้วจะพึงวางหลักเกณฑ์วิธีการ จัดการแก้ไขตามเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องนั้นๆ
ไม่ใช่เรื่องที่จะไปวางบทบัญญัติไว้ให้มนุษย์เป็นการตายตัว
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 เม.ย.2008, 1:04 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2007, 5:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-ว่าที่จริง ในทางปฏิบัติก็มีตัวอย่าง ที่พระพุทธเจ้าทรงวางระบบการแก้ปัญหา

ของมนุษย์ในด้านภายนอก คือในทางสังคมไว้ คือ สังคมสงฆ์ หรือภิกษุที่ได้ทรงตั้งขึ้นเอง

พระองค์ได้ทรงบัญญัติวินัย ซึ่งเป็นระบบการแก้ปัญหาจากด้านนอก ในแง่สังคมไว้

เป็นอันมาก ให้เหมาะกับความมุ่งหมายจำเพาะของการมีสังคมสงฆ์นั้น และให้เหมาะ

กับการดำรงอยู่ด้วยดีของสังคมสงฆ์ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและยุคสมัยนั้น

และให้เหมาะกับการดำรงอยู่ด้วยดีของสังคมสงฆ์ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น

และยุคสมัยนั้น

ผู้ศึกษาพุทธศาสนาในสมัยปัจจุบัน มักมองข้ามวินัยไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 เม.ย.2008, 1:06 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 ต.ค.2007, 4:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ถ้าเข้าใจสาระของวินัยแล้ว จะมองเห็นแนวความคิดของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับ

การแก้ปัญหาภายนอกในระดับสังคมได้

ขอย้ำว่า ถ้าไม่ศึกษาพระวินัยปิฎก (เฉพาะอย่างยิ่งส่วนนอกปาติโมกข์) จะไม่เข้าใจ

แนวความคิดทางสังคมของพระพุทธศาสนาได้เลย

เป็นการไม่สมเหตุสมผล ที่จะให้พระพุทธเจ้าทรงวางระบบที่มีรายละเอียด

ไว้พร้อมให้แก่ชุมชนอื่น โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยที่เป็นตัวแปรของต่างถิ่นต่างสมัยนั้นๆ

ผู้เข้าใจสาระสำคัญของหลักการนี้แล้ว ย่อมจะจัดวางระบบสำหรับจัดการกับปัญหาและ

เรื่องราวในสังคมแห่งยุคสมัยของตนได้เอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 เม.ย.2008, 1:08 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 ต.ค.2007, 6:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ดังเช่นพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อจะทรงสถาปนาธรรมวิชัย

ในราชอาณาจักร คำสอนของพระพุทธศาสนา ที่เกี่ยวกับปัญหาด้านในของจิตปัญญา

พระองค์ก็ย่อมไม่ต้องการทรงแตะต้องอีก เพียงแต่ส่งเสริมให้เผยแพร่คำสอนที่แท้จริง

ด้วยวิธีและทำนองที่สอดคล้องกับกาลสมัย

แต่ส่วนเรื่องภายนอกด้านสังคม พระองค์นำแต่คำสอนที่เป็นกลางๆ มาตั้งเป็นตัวหลัก

แล้วทรงจัดวางระบบแบบแผน วิธีปกครองและดำเนินกิจการต่างๆ ขึ้นใหม่ให้ได้ผล

สำหรับยุคสมัยนั้น

หรืออย่างในประเทศไทย ตามขัตติยะราชประเพณีในการปกครอง นำเอาคำสอน

ทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับหน้าที่และคุณธรรมของพระมหากษัตริย์ ส่วนที่เป็นกลางๆ คือ

ทศพิธราชธรรม ( 10) จักรวรรดิวัตร 12 ราชสังคหะวัตถุ 4

และพลังของพระมหากษัตริย์ 5 มาวางเป็นหลักและแปลความหมายให้เข้ากับยุคสมัย

ส่วนระบบบริหารราชการเป็นต้น ก็จัดวางขึ้นให้เหมาะสมกับถิ่นและยุคสมัยนั้น ดังนี้ เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 เม.ย.2008, 1:11 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ย.2007, 4:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


โดยความเป็นเอก หรือ ความชำนาญพิเศษ

การแก้ปัญหาจากภายนอกหรือทางด้านสังคมนั้น นอกจากขึ้นต่อปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม

ที่ต่างกันของถิ่นและยุคสมัยแล้ว ยังมีศิลปะวิทยาการ และระบบการอื่นๆ เอาใจใส่

เป็นเจ้าของเรื่องกันอยู่อีกมากมาย

แต่ในทางตรงข้าม ปัญหาเกี่ยวกับชีวิตด้านในทางจิตปัญญาของมนุษย์

กลับได้รับความเอาใจใส่จากศิลปะวิทยาการทั้งหลายน้อยกว่า และเป็นแดนที่ศิลปะวิทยาการ

ทั้งหลายเข้าไม่ค่อยถึง

พระพุทธศาสนา ถือปัญหาระดับนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่ควรเอาใจใส่มากด้วย

ยิ่งถูกวงการอื่นทอดทิ้ง ก็ยิ่งควรเอาใจใส่มาก และเป็นแดนที่พุทธศาสนาเข้าถึงเป็นพิเศษด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 เม.ย.2008, 1:12 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 มี.ค.2008, 2:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


โดยความลึกซึ้ง ยาก และเป็นแก่นแท้ของชีวิต

ปัญหาทางจิตปัญญา เป็นเรื่องลึกซึ้งละเอียดอ่อน เข้าใจยากกว่าปัญหาภายนอกทั้งหลาย

เป็นอันมาก ถ้าเรื่อง ราวภายนอกใช้เวลาอธิบายหรือชี้แจงสัก 1 ชั่วโมง

เรื่องทางจิตปัญญา บางทีอาจต้องใช้เวลาอธิบายสัก 10 ชั่วโมง และต้องเน้นต้องย้ำ

กันอยู่เรื่อยๆ การมีคำสอนด้านนี้ ในอัตราที่สูงกว่าคำสอนเกี่ยวกับปัญญาภายนอก

จึงเป็นเรื่องธรรมดา


อีกประการหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงถือว่าประโยชน์ทางจิตปัญญานี้เป็นแก่นสารเนื้อแท้ของชีวิต

เมื่อเกิดมามีชีวิตแล้ว ก็ควรพยายามให้ได้ให้ถึงไม่ให้สูญสิ้นชีวิตไปเปล่า

และคนก็ไม่ใคร่มองเห็น จึงเป็นธรรมดาที่จะต้องทรงเน้นย้ำมาก

ส่วนประโยชน์ด้านภายนอก คนทั้งหลายเขาใฝ่ปรารถนากันอยู่แล้ว ถึงไม่เน้นย้ำอีก

ก็พอแก่การอยู่แล้ว
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 เม.ย.2008, 1:15 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2008, 9:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


โดยความเนื่องถึงกันแห่งทุกด้านของชีวิต

-ความจริง ปัญหาของมนุษย์ไม่ว่าด้านนอกหรือด้านใน ก็กระเทือนถึงกันทั้งหมด

และในการแก้ปัญหาแต่ละอย่าง ไม่ว่านอกหรือใน ชีวิตทุกด้านของมนุษย์

ก็ต้องเข้าเกี่ยวข้องกันทั้งหมด ยิ่งมาคำนึ่งว่า ชีวิตด้านในของมนุษย์เป็นหลักยืนอยู่

และเป็นพื้นฐานสำคัญอยู่ในส่วนลึก มีอิทธิพลต่อการแก้ปัญหาภายนอกอย่างมาก เช่น

เมื่อจิตใจลุ่มหลงมัวเมา ก็มองปัญหาไม่ตรงตามความเป็นจริง เมื่อกระแสความคิดและ

ปัญญาถูกอิทธิพลของอวิชชาตัณหาครอบงำ หรือถูกตัณหามานะทิฏฐิบิดเบือน

ชักให้เอนเอียง ก็ไม่อาจพิจารณาปัญหาอย่างถูกต้อง

นอกจากแก้ผิดพลาด บางทีอาจขยายปัญหาหรือเพิ่มปัญหาใหม่ขึ้นอีกก็ได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2008, 1:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ดังนั้น การชำระจิต และ การทำปัญญาให้บริสุทธิ์ ไม่บิดเบือน ไม่เอนเอียง จึงเป็นสิ่ง

จำเป็น สำหรับการแก้ปัญหาทุกอย่าง ทั้งภายนอกและภาย ในทุกถิ่นสมัย

ถ้ามนุษย์แก้ปัญหาไม่ถึงระดับนี้ ก็ไม่มีทางจะแก้ปัญหา แม้แต่ระดับสังคม

หรือภายนอกให้ได้ผลแท้จริงได้

ถ้าแก้ปัญหาพื้นฐานระดับจิตปัญญานี้ได้ การแก้ปัญหาภายนอกก็จะง่ายขึ้นอย่างมาก

พุทธศาสนาเน้นการแก้ปัญหาถึงขั้นพื้นฐาน คือ ถึงระดับแห่งจิตปัญญา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2008, 1:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


โดยความต่างแห่งระดับการดำเนินชีวิต

-พระพุทธศาสนาถือว่า สังคมประกอบด้วยมนุษย์ ที่มีพัฒนาการทางจิตปัญญาในระดับต่างๆ

กัน

นอกจากนั้น ยังมีสังคมย่อยหรือชุมชนต่างๆ ซ้อนอยู่ภายใน ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สมัครใจ

เข้าไปดำรงชีวิตในระดับที่แตกต่างกัน เช่น มีสังคมคฤหัสถ์ กับสังคมสงฆ์ เป็นต้น

ชีวิตในสังคมคฤหัสถ์ เน้นด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และการงานหาเลี้ยงชีพ

ส่วนชีวิตในสังคมสงฆ์ เน้นด้านจิตปัญญา เมื่อมองดูสังคมสงฆ์ แม้ว่าจะมีวินัย

ที่ใช้วิธีแก้ปัญหาจากแง่ของสังคม แต่ว่าโดยการเปรียบเทียบ ก็ยังเน้นด้านจิตปัญญาข้างใน

มากกว่า และเน้นด้านนอกน้อยกว่าสังคมคฤหัสถ์

โดยนัยนี้ ถ้าใครจะดูคำสอนสำหรับภิกษุแล้ว เอาเป็นมาตรฐานวัดว่าพุทธศาสนาสอน

ให้คนทั่วไปใช้วิธีแก้ปัญหาอย่างนั้น ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2008, 1:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


หันกลับไปย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า พระพุทธศาสนาสอนให้แก้ปัญหาของมนุษย์โดยมนุษย์เอง

ที่ตรงเหตุปัจจัย และพูดเช่นนี้อย่างเป็นกลางๆ ไม่ได้จำกัดจำเพาะว่าจะแก้แต่ข้างใน

หรือแก้แต่ข้างนอก คือแล้วแต่เหตุปัจจัย

ควรจะย้อนกลับออกไปด้วยซ้ำว่า ศิลปวิทยาและระบบการทั้งหลายเท่าที่มีอยู่นี้ต่างหาก

ที่มักมุ่งแต่จะแก้ปัญญาที่ข้างนอกอย่างเดียวด้านเดียว มองข้ามการแก้ปัญหาด้านภายใน

ไปอย่างแทบจะสิ้นเชิง อันนับว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่สมบูรณ์

อาจพูดอีกอย่างหนึ่งว่า

การแก้ปัญหาตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่แก้ที่ข้างนอก หรือแก้ที่ข้างในอย่างเดียว

แต่ให้แก้ตั้งแต่ในออกมาทีเดียว หมายความว่า มิใช่จะแก้กันแต่ข้างนอกอย่างเดียว

ต้องแก้ข้างในด้วย คือ แก้หมด แก้ที่เหตุปัจจัย ไม่ว่าข้างนอกหรือข้างใน.
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2008, 1:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ปัญหาของมนุษย์ มีต่างๆ มากมาย เมื่อกล่าวให้สั้น ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับความดี-ชั่ว

หรือ ดี-ร้าย และสุข-ทุกข์

ถ้าพูดรวบรัดลงอีก ก็รวมลงในด้านเดียว คือ ทุกข์

แม้ที่พูดว่า มีชีวิตอยู่เพื่อหาความสุข ก็เป็นการบ่งถึงทุกข์อยู่ในตัว และทุกข์นั้น

ยังอาจส่งผลเกี่ยวข้องถึงความดี ความชั่ว และสุขทุกข์ต่อไปอีกหลายชั้นด้วย


มองอีกด้านหนึ่ง ปัญหาเกิดจากมนุษย์มีทุกข์อยู่แล้ว แต่แก้ไขทุกข์ไม่ถูกต้อง

จึงระบายทุกข์นั้นออกไป ทำให้ทุกข์กระจาย เพิ่มขยายปัญหาทั้งแก่ตนและผู้อื่น

ด้วยความเป็นไปเช่นนี้ ทุกข์ที่เป็นสภาวะติดเนื่องมากับความเป็นสังขารของชีวิต หรือทุกข์

และ ปัญหาต่างๆ ชนิดที่เกิดจากฝีมือเสกสรรผันพิสดาร ของมนุษย์ก็เกิดประดังพรั่งพรู

วิจิตรนานัปการ จนแทบจะบดบังให้มนุษย์ลืมปัญหาพื้นฐานของชีวิตเสียทีเดียว
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2008, 1:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


บางคราวมนุษย์เอง ยังคิดหลงไปด้วยซ้ำว่า หากลืมมองปัญหาพื้นฐานของชีวิตนั้นเสียได้

ก็จะสามารถหลุดพ้นไปจากความทุกข์ และชีวิตก็จะมีความสุข

แต่ความจริงยังคงยืนยันอยู่ว่า ตราบใด มนุษย์ยังไม่สามารถจัดการ กับปัญหาพื้นฐาน

แห่งชีวิตของตน ยังวางตัววางใจหาที่ลงไม่ได้ กับความทุกข์ ถึงขั้นตัวสภาวะ

ตราบนั้น มนุษย์ก็จะยังแก้ปัญหาไม่สำเร็จ ยังหลีกไม่พ้นการตามรังควาญของทุกข์


ไม่ว่าจะพบสุขขนาดไหน และจะยังไม่ประสบความสุขที่แท้จริง ซึ่งเต็มอิ่ม สมบูรณ์ในตัว

และจบบริบูรณ์ลงที่ความพึงพอใจ ซ้ำร้าย ทุกข์พื้นฐานที่หลบเลี่ยง และยังไม่ได้แก้นั้น

กลับจะกลายเป็นเงื่อนปมซับซ้อนอยู่เบื้องหลัง คอยส่งอิทธิพลออกมาบีบคั้นรุนเร้า

ให้การแสวงหาและเสวยสุขต่างๆ เป็นไปอย่างเร่าร้อน กระวนกระวาย ไม่รู้จักอิ่ม

และไม่มีความแน่ใจจริง พร้อมทั้งส่งผลในทางจริยธรรม เกี่ยวกับความดีความความชั่ว

ให้รุนแรงยิ่งขึ้นด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2008, 1:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ตัวสภาวะ และ สมมุติ เป็นสิ่งจำเป็น

ตัวสภาวะ (นิยมเรียกกันว่าปรมัตถ์) เป็นเรื่องของธรรมชาติ

ส่วนสมมุติ เป็นเรื่องของประโยชน์ สำหรับความเป็นอยู่ของมนุษย์

แต่ปัญหาเกิดขึ้น เพราะมนุษย์ เอาสภาวะ กับ สมมุติมาสับสนกัน คือ

เข้าไปยึดเอาตัวสภาวะ จะให้เป็นตามสมมุติ จึงเกิดวุ่นวายขึ้น

ตัวสภาวะไม่วุ่น เพราะมันเป็นไปอย่างนั้นเอง ตามปกติธรรมดา

ไม่เกี่ยวกับใครจะไปยึดหรือไม่

มนุษย์เป็นผู้วุ่นไปฝ่ายเดียว และเพราะมันไม่วุ่นด้วย มนุษย์จึงยิ่งวุ่นวาย

ใหญ่ เพราะขัดความปรารถนาถูกบีบคั้นจึงเกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์เอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2008, 1:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทุกข์ มิใช่เพื่อให้เป็นทุกข์ แต่เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่จะดับทุกข์

เพราะทรงรู้ว่า ทุกข์หรือปัญหานั้นเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ดับได้ มิใช่เป็นของเที่ยงแท้แน่นอนจะ

ต้องคงอยู่ตลอดไป

ชีวิตนี้ที่ยังคับข้อง ก็เพราะมีทุกข์มีปัญหาคอยรบกวนอยู่ ถ้าดับทุกข์แก้ปัญหาแล้ว หรือได้

สร้างความสามารถในการดับทุกข์แก้ปัญหาไว้พร้อมแล้ว ชีวิตก็จะปลอดโปร่งโล่งเบา

พบสุขแท้จริง แต่การดับทุกข์หรือแก้ไขปัญหานั้น มิใช่ทำได้ด้วยการหลบเลี่ยงปัญหา

หรือปิดตาไม่มองทุกข์

ตรงข้ามต้องใช้วิธีรับรู้สู้หน้าเข้าเผชิญดูมัน การรับรู้สู้หน้ามิใช่หมายความว่าจะเข้าไปแบก

ทุกข์ไว้ หรือจะให้ตนเป็นทุกข์ แต่เพื่อรู้เท่าทัน จะได้แก้ไขกำจัดมันได้

การรู้เท่าทันนี้คือการทำหน้าที่ต่อทุกข์ให้ถูกต้อง ได้แก่ทำปริญญา คือ กำหนดรู้-
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 เม.ย.2008, 1:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


กำหนดรู้ ทำความเข้าใจสภาวะของทุกข์ หรือปัญหานั้น ให้รู้ว่าทุกข์หรือปัญหาของเรานั้น

คืออะไรกันแน่ อยู่ที่ไหน-

(บางที คนชอบหลบเลี่ยงทุกข์หนีปัญหา และทั้งที่รู้ว่ามีปัญหา แต่จะจับให้ชัดก็ไม่รู้ว่า

ปัญหาของตนนั้นคืออะไร ได้แต่เห็นคลุมๆเครือๆ หรือพร่าสับสน)

มีขอบเขตแค่ไหน เมื่อกำหนดจับทุกข์ได้อย่างนี้ เหมือนแพทย์ตรวจอาการจนรู้จุด

ที่เป็นโรคแล้ว ก็เป็นอันเสร็จหน้าที่ต่อทุกข์

เราไม่มีหน้าที่กำจัดทุกข์หรือละเว้น เพราะทุกข์จะละที่ตัวมันเองไม่ได้ ต้องละที่เหตุของมัน

ผู้จะดับทุกข์ เมื่อเรียนรู้ทุกข์ ก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ รวมถึงสภาวะ

แห่งสังขารโลกที่เกี่ยวข้องด้วย

สาระสำคัญของอริยสัจข้อที่ 1 (= ทุกข์อริยสัจ) คือ ยอมรับความจริงเกี่ยวกับทุกข์

ตามที่มันเป็นอยู่ แล้วมองดูรู้จักชีวิตและโลกตามที่มันเป็นจริง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง