ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
โยคี19
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 15 เม.ย. 2008
ตอบ: 29
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
21 เม.ย.2008, 2:39 pm |
  |
การที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุปัจจัยอะไรนั้นก็แล้วแต่ อันไหนเป็นใหญ่เป็นประธานก็เรียกชื่ออันนั้น เช่นมนุษย์เกิดขึ้นด้วยอาศัยกรรม ต้นไม้เกิดขึ้นได้ไม่ใช่อาศัยกรรม แต่ด้วยอาศัยอุตุ เป็นต้น
ป. นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันมีความเห็นว่า ตัวจิตก็คือมันสมองนั่นเอง
จะขอย้ำให้หลานเข้าใจให้ดีเสียก่อน เพื่อทำลายความหลงผิดที่ว่าจิตนั้นเป็นวัตถุ เป็นเซลล์ เป็นมันสมอง
ในพระพุทธศาสนาแสดงเอาไว้ว่าเป็น อนารัมมณํ แปลว่า รู้อารมณ์ไม่ได้ จะ
แสดงความรู้สึกสำนึกคิดหรือถ่ายทอดสัญชาตญาณ หรือสั่งสมอุปนิสัยสันดานสืบต่อมาจากพ่อแม่ไม่ได้เป็นอันขาด
จริงทีเดียวถ้าในเซลล์หนึ่งมีจิตหนึ่งดวง ร่างกายของมนุษย์เรานี้มีเซลล์อยู่หลายพันหลายหมื่นล้านเซลล์ เฉพาะสมองมีประมาณถึง ๑๒ ล้านล้านเซลล์แล้ว
ถ้าเช่นนี้ จิตมิมีหลายล้านด้วยหรือ ? ..เวลาจิตสั่งงานคงจะสั่งวุ่นวายกันพิลึก หรือจะว่าแบ่งหน้าที่กันทำ เช่น สมองส่วนบนมีหน้าที่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อถูกตี เซลล์เป็นแสนเป็นล้านก็จะโกลาหล มิแสดงความเจ็บปวดกันเซ็งแซ่ไปหรือ
ครั้งหนึ่งหลายสิบปีมาแล้ว เมื่อลุงยังเล็กๆ อยู่ ได้เกิดฆาตกรรมกันขึ้นใกล้ๆ วัดที่เสาชิงช้า กรุงเทพฯ โดยคนร้ายใช้อาวุธมีคมเข้าใจว่าเป็นมีดดาบ ฟันคอชายคนหนึ่งขาดออกทันที สถานที่ๆ ศีรษะตกอยู่กับที่ๆ ร่างกายล้มลงนั้นห่างกันหลายวา ตามที่สันนิษฐานนั้นได้ว่า เมื่อชายผู้เคราะห์ร้ายนั้นถูกฟันศีรษะขาดลงแล้ว ร่างที่ปราศจากศีรษะนั้นยังเดินไปอีกหลายวา โดยเห็นได้จากลายมือที่เปื้อนเลือดซึ่งคงจะจับที่คอรู้ว่าศีรษะไม่มีแล้ว จึงคลำเดินไปตามฝาผนังของกำแพง เป็นลายมือประทับด้วยเลือดไปตามกำแพงเห็นได้ชัดเจนจนถึงที่ๆ ลำตัวล้มลง
เวลานั้นมีคนพูดกันมากด้วยความพิศวงงงงวยว่า
หัวไม่มีแล้วยังเดินไปอีกได้ตั้งไกล
เรื่องนี้หลานคงจะไม่เดาเอาว่า เส้นเอ็นกระตุกให้เดินไปเอง เพราะมิได้เดินไปเฉยๆ แต่เอามือที่เปื้อนเลือดคลำไปตามกำแพงด้วยไม่มีตาที่จะมองเห็น
การที่ลุงเอาตัวอย่างมาอ้างเช่นนี้ มิใช่ว่าพระอภิธรรมหมดหนทางที่จะให้หลานเข้าใจในข้อเท็จจริงได้มากกว่านี้อีกแล้ว
สำหรับเรื่องนี้ นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ทดลองกันครั้งแล้วครั้งเล่า จนถึงเป็นบทเรียนที่สอนนักเรียนแพทย์ว่า เมื่อเอามันสมองที่มีหน้าที่สั่งการของสัตว์ออก สัตว์นั้นก็ยังคงมีชีวิตอยู่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง นกพิลาปที่เอามันสมองออกไปแล้วก็ยังคงบินไปได้ จิกอาหารได้
จิตมีหน้าที่สั่งการให้ร่างกายทำอะไรทุกอย่าง ถ้าถือว่ามันสมองคือจิตแล้ว การที่เอามันสมองออกไปเสีย สัตว์นั้นก็จะเป็นเหมือนท่อนไม้เป็นแน่
ล. การที่ตาเรามองดูอะไรแล้วเห็นได้นั้น จะว่าตาเห็นหาได้ไม่
และหูก็โดยทำนองเดียวกัน มิใช่หูได้ยิน
หากแต่ตาและหูเป็นเพียงประตูเข้าไปของรูปและเสียงเท่านั้น
โดยที่การเห็นจะต้องมีรูปอันได้แก่ คลื่นแสง สะท้อนจากรูปมากระทบตาจึงเห็น
และเสียงอันได้แก่ ความสั่นสะเทือนของอากาศมากระทบหูจึงได้ยิน
มีหลายคนเหมือนกันที่เข้าใจว่าเห็นได้ด้วยตา และได้ยินได้ด้วยหู ทางประสาทอื่น เช่น จมูก, ลิ้น, กาย ก็เข้าใจเช่นนี้เหมือนกัน
[size=18]การสำเร็จของ การเห็น การได้ยินนั้น ต้องอาศัยจิตยกขึ้นสู่อารมณ์ ก็คือ ยกจิตเข้าสู่สิ่งที่จะเห็นหรือได้ยินนั่นเอง [/size]
เมื่อหลานเดินไปตลาด รูปต่างๆ ได้เข้าสู่ตาของหลานมากมาย แต่หลานเห็นเพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น
หรือหลานอ่านหนังสือไปได้หน้าหนึ่ง บางทีไม่รู้เรื่องอะไรเลย ตาก็ดูตัวหนังสือทุกตัว แต่เอาเรื่องเอาราวไม่ได้เพราะมัวส่งใจไปที่อื่นเสีย หูก็เช่นกัน หลานมัวสนใจกับลุงเสีย นาฬิกาที่เดินอยู่เสียงดังก๊อก แก๊ก ๆ เสียงนี้ก็ย่อมจะเข้าไปกระทบประสาทหู หลานก็ไม่ได้ยิน
เมื่อสมัยก่อนมีปืนใหญ่ยิงทุกเวลาเที่ยงวันเพื่อบอกเวลาเที่ยงให้แก่ประชาชน เสียงดังสนั่นหวั่นไหว แต่ก็มีมากคน พอตกบ่ายมักถามกันว่า เที่ยงแล้วหรือยัง ข้อนี้เสียงมิได้เข้าไปในหูดอกหรือ
ในเรื่องการเห็น ได้ยิน และคิดนึกนั้น ในพระพุทธศาสนาสอนไว้เป็นอันมาก ทั้งยังแยกแยะออกโดยพิสดารด้วย แต่เพื่อสงวนเวลา แล้วหลานก็เพิ่งจะได้เริ่มต้น ลุงจะขอยกขึ้นมาให้ฟังสักเล็กน้อยพอให้หลานได้เป็นตัวอย่าง
การเห็นจะเกิดขึ้นมาได้นั้นจะต้องอาศัยเหตุ ๔ ประการ คือ
๑. รูปารมณ์ อันได้แก่คลื่นของแสง (แสงเกิดขึ้นอย่างไรก็มีศึกษา) สืบต่อ (สันตติ) เข้ามากระทบกับจิตที่ประสาทตา
๒. อาโลกะ ได้แก่ แสงสว่าง เพราะไม่มีแสงสว่างก็จะเห็นไม่ได้
๓. จักขุปสาทะ ได้แก่ ประสาทตา ประสาทตาคืออะไร ใครผลิตสร้างขึ้น ตั้งอยู่ที่ไหน จะได้ศึกษาภายหลัง
๔. มนสิการะ ได้แก่ จิตใจที่เข้ามาร่วมประชุมด้วย
เหตุทั้ง ๔ ประการนี้มาประชุมพร้อมกันจึงเห็นได้ เป็นขณะๆ ติดต่อกันไปโดยรวดเร็ว เพราะคลื่นของแสงย่อมจะมีความเกิดดับสลับซับซ้อน (สันตติ) เข้ามาร่วมประชุมกัน (ผัสสะ) ถ้าหลานเรียนไปให้มากกว่านี้ ลุงก็จะได้แสดงภาพประกอบ และจะเห็นความลึกซึ้งพิสดาร ซึ่งวิทยาการในทางโลกค้นเข้าไปไม่ถึง ที่ว่านี้เพียง เห็นได้อย่างไร และรู้ในการเห็นนั้นได้อย่างไร หลานก็จะได้ตื่นตาตื่นใจ
ตามที่ลุงกล่าวมานี้ เพื่อจะให้หลานได้ทราบว่า ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย นั้น เป็นเพียงประตูเข้าเท่านั้น เราจะเห็น, ได้ยิน, ได้กลิ่น, ลิ้มรส หรือสัมผัส รู้อารมณ์ได้นั้นต้องอาศัยวิตกยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ถ้าจิตมิได้ยกขึ้นไปสู่อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ก็หาปรากฏได้ไม่
ธรรมทั้งหลายย่อมอาศัยเหตุเป็นแดนเกิดทั้งนั้น เช่นการประชุมของเหตุดังกล่าวแล้ว
เหตุนี้ประสาททั้งหลายก็เป็นเพียงทางหรือสะพานให้ความรู้สึกผ่านเข้าทางนั้น
ส่วนมันสมองเป็นเพียงสถานที่บัญชาการใหญ่ของแม่ทัพ เป็นสถานที่เท่านั้น รู้อารมณ์ไม่ได้เลย มันมีจักรกล มันมีไฟฟ้าหรือสวิทซ์อันละเอียดอ่อนทำหน้าที่ๆ น่าพิศวงที่จะส่งเรื่องทั้งหลายให้แม่ทัพ คือจิต เพื่อทราบ จะได้สั่งการต่อไป ความรับรู้และบัญชาการทัพนี้ต้องเป็นแม่ทัพคนเดียว ผู้อื่นไม่ใช่หน้าที่ ผู้อื่นเป็นลูกน้องตัวเล็กๆ ที่จะพาสิ่งที่ผ่าน ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย มาให้แม่ทัพ คือจิต แล้วรับคำสั่งให้ผ่านออกไปเท่านั้น
ถ้าสถานที่บัญชาการนี้ถูกทำลายลงก็ต้องโยกย้ายไปบัญชาการที่อื่น แต่ความสะดวกนั้นย่อมไม่มีทางและประตูบางแห่งหรือหลายแห่ง อาจชำรุดหรือเสียหายจนผ่านเข้าออกทางนั้นไม่ได้ก็เป็นได้ ฉะนั้น จะให้งานทัพดำเนินไปตามเดิมหาได้ไม่
เหตุนี้สัตว์ที่เอามันสมองออกไปบางส่วนจึงหมดความรู้สึกไปหลายอย่าง เพราะประสาทที่เป็นทางให้ความรู้สึกเช่นนั้นผ่าน หมดหนทางที่จะเข้าไปถึงจิตได้โดยตรง
ฉะนั้นการทดลองในสัตว์เอามันสมองออกโดยมิได้ทำให้สัตว์ตาย และสัตว์นั้นยังคงมีชีวิตอยู่ได้ และรู้อารมณ์ได้บางอย่าง เท่าที่ประสาทส่วนที่เหลือนั้นจะปฏิบัติงานได้ เพราะจิตจะต้องอาศัยประสาทเป็นทางผ่านเข้าไป เช่นประสาทตาชำรุดเสียหาย การเห็นก็จะปรากฏไม่ได้เป็นต้น
ในเรื่องประสาทนั้นในทางธรรมะใช้คำว่า ปสาทะ มีเรื่องที่จะต้องเรียนรู้ ปสาทะคือ ประสาทรับอารมณ์ในทางธรรมะมีอีกมากนัก ครั้นลุงจะอธิบายให้ฟังในวันนี้ หลานก็ยังมิได้ศึกษาเรื่องรูป จึงลำบากที่จะเข้าใจ
ในชั้นนี้หลานจำเอาไว้แต่เพียงว่า อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น จำจะต้องอาศัยระบบประสาท หาไม่แล้วจะเกิดอารมณ์ใหม่ให้รู้ทางทวารทั้ง ๕ ไม่ได้เลย
ป. ถ้าเช่นนั้น คุณลุงก็หมายความว่าจิตตามที่คุณลุงกล่าวนั้น มิได้อยู่ในมันสมองหรือขอรับ
ล. แน่นอน มันสมองมิใช่เป็นตัวจิต
ทั้งจิตก็มิได้อาศัยอยู่ในมันสมองด้วย มันเป็นแต่วัตถุ หรือรูปที่จะให้ความรู้สึกต่างๆ เกิดขึ้นมาเท่านั้น อย่างไรก็ดี ลุงมิได้ว่าเอาเองตามชอบใจ ลุงได้กล่าวกับหลานตามที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้
เรื่องที่ลุงได้อธิบายมาแล้วทั้งหมด พอจะลบล้างความเชื่อของหลานที่ว่ามันสมองคือจิตได้บ้างหรือไม่ สักนิดหนึ่งก็ยังดี
ล. ตามที่ลุงได้กล่าวมาแล้วว่า วัตถุหรือสสารทั้งหลายย่อมจะรู้อารมณ์ไม่ได้ หรือสสารวัตถุ จะเห็น, จะได้ยิน, จะคิดนึกรู้สึกตัว รู้จักดี รู้จักชั่ว รู้จักบุญ รู้จักบาป รู้จักเกลียด รู้จักกลัว รู้จักรัก รู้จักโกรธ รู้จักคิดอ่านจดจำอะไรได้สารพัดก็ย่อมจะเป็นไปไม่ได้แน่
ด้วยเหตุนี้เอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้สอนว่ารูปนั้นเป็นอนารัมณัง ซึ่งแปลว่า ธรรมดารูปหรือสสารย่อมไม่รู้อารมณ์ คือรู้อารมณ์ไม่ได้
หิโนติ ผลํ ปวตฺตีตํ = เหตุ ซึ่งแปลว่า เหตุคือธรรมชาติที่ทำให้ผลเกิด
ล. เรื่องของเหตุในพระพุทธศาสนามีมากเหลือเกิน ลุงจะอธิบายเรื่องจิตให้หลานฟัง
ก็จะยังไม่ยกเอาเหตุโดยพิสดารอะไรออกมาแสดง จะเอาเฉพาะที่ง่ายๆ ใกล้กับเรื่องที่หลานสงสัยเท่านั้น
[size=18]เราแยกเหตุออกเป็น ๒ ประการ คือ
๑. เหตุให้เกิด เรียกว่า สัมปยุตเหตุ
๒. เหตุให้ประจวบ เรียกว่า อุปัตติเหตุ [/size]
[color=red]๑. เหตุให้เกิดนั้น ได้แก่สัมปยุตเหตุ เหตุที่ทำให้เกิดบาปเกิดบุญ คือเหตุที่ทำให้โลภ, ให้โกรธ, ให้หลง และเหตุที่ทำให้ไม่โลภ, ไม่โกรธ ไม่หลง เหตุทั้ง ๖ นี้มีเรื่องราวที่จะต้องศึกษาอีกมากนัก ลุงจะไม่กล่าวในที่นี้ จึงขอเว้นเอาไว้ก่อน [/color]
๒. เหตุประจวบคือ อุปัตติเหตุ ซึ่งหมายถึงมีเหตุมาประชุมพร้อมกัน แล้วผลจึงจะปรากฏขึ้น และเหตุที่มาประชุมกันดังกล่าวนี้ อาจมี ๒, ๓, ๔ หรือ ๕ - ๖ ก็ได้ แล้วแต่จะเป็นในกรณีใด ลุงจะขอถามหลานสักหน่อย
การได้ยินเสียงนั้น ได้ยินได้อย่างไร?
ภาพแสดงการสั่นสะเทือนของเยื่อแก้วหู (สีขาว)เมื่อมีคลื่นเสียงมากระทบ
มีผลทำให้กระดูกรูปฆ้อน(สีแดง) กระดูกทั่ง(สีเขียว) และกระดูกโกลน(สีน้ำเงิน) สั่นไปด้วย
คำว่า สัททารมณ์ ได้แก่อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางหู ซึ่งได้แก่เสียงนั่นเอง
แต่เสียงนั้นมิได้วิ่งเข้าไปกระทบหูได้เหมือนกับวัตถุอะไรที่อยู่ในมือแล้วขว้างออกไป แต่เสียงนั้นเป็นไปโดยอำนาจของสันตติ คือความสืบต่อ ซึ่งหมายความว่าเกิดขึ้นแล้วก็สืบต่อๆ กันไป และปรากฏเป็นเสียงขึ้นมาได้
ถ้าลุงเอาไม้ตีระฆังขึ้น (ถ้ามีฆ้องก็ตีฆ้อง) หลานก็จะได้ยินเสียง
แต่เสียงจะเกิดขึ้นมาเฉยๆ ลอยๆ ก็หาไม่ หากแต่จะต้องมีการร่วมประชุมของเหตุ
เพราะระฆังอย่างเดียวก็จะดังไม่ได้ ต้องมีไม้ตีด้วย มีไม้อย่างเดียวแต่อยู่เฉยๆ มันก็ไม่ดัง จะต้องอาศัยคนด้วย มีแต่คนนั่งอยู่นิ่งๆ เสียงจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร จะต้องมีการตีด้วย
ดังนั้นหลานก็จะเห็นได้ว่า เสียงระฆังที่เกิดขึ้นได้นั้นจะต้องอาศัยเหตุหลายเหตุมาประชุมพร้อมกัน คือมีระฆัง, มีไม้, มีคน, มีการตี ขาดไปเสียอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้เลย
การที่จะได้ยินได้นั้นก็เหมือนกันจะต้องอาศัยเหตุ ๔ ประการมาประชุมร่วมกัน คือ
๑. ต้องมีสัทท = เสียง ซึ่งได้แก่คลื่นแห่งความสั่นสะเทือนของอากาศ
๒. ต้องมีโสตปสาท = ได้แก่ ประสาทหู ซึ่งเกิดจากกรรมชรูป ไม่ใช่ประสาทหูที่นายแพทย์เข้าใจ
๓. ต้องมีวิวรากาส = ได้แก่ ช่องว่างในรูหู เพื่อให้คลื่นเสียงสืบต่อผ่านเข้าไป
๔. ต้องมีมนสิการ = ได้แก่ จิตใจนั่นเอง
เมื่อเหตุทั้ง ๔ ประการนี้มาประกอบพร้อมกันเข้าแล้ว จิตได้ยินก็จะเกิดขึ้น
ทั้งนี้หลานก็ย่อมจะเห็นได้ว่า จิตได้ยินมิได้เกิดเอง ไม่มีการดลบันดาลของท่านผู้ใด มิได้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไหน หากแต่เกิดจากเหตุแท้ๆ ถ้าเหตุเหล่านี้มิได้มาประจวบพร้อมกันเข้าแล้วจะเกิดจิตได้ยินไม่ได้เลยเป็นอันขาด
อย่างไรก็ดี การ ได้ยิน นั้น จิตเป็นผู้ได้ยิน วัตถุหรือสสารทั้งหลายไม่อาจเกิดการได้ยินอย่างแน่นอน
ตามตัวอย่างย่อๆ ที่ลุงได้อธิบายมานี้ ก็เพื่อจะให้หลานได้เห็นว่า จิตใจของสัตว์ทั้งหลายนั้น มิใช่ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่ว่าจะเป็นอมตะไม่รู้จักตาย และมิใช่ว่าจะมีอำนาจทำอะไรได้ทุกอย่างตามที่ปรารถนาโดยมีจิตดวงเดียว เที่ยวได้เห็น ได้ยิน คิดนึกไปได้หมด หากแต่เป็นธรรมชาติอันหนึ่งที่เกิดขึ้นมาได้โดยอาศัยเหตุเป็นแดนเกิดเหมือนกันกับสรรพสิ่งทั้งหลาย เมื่อมีเหตุมาประชุมพร้อมกันก็จะเห็น เมื่อมีเหตุมาประชุมพร้อมกันแล้วก็จะได้ยิน และเมื่อมีเหตุมาประชุมพร้อมกันแล้วก็จะคิดนึก ทั้งนี้เป็นขณะๆ ไป
ล. เมื่อลุงกล่าวมาถึงเพียงนี้แล้ว หลานก็คงจะเห็นความจริงประการหนึ่งว่า
จิตอยู่ที่ไหน เพราะว่าเมื่อ เห็น จิตเห็นก็จะอยู่ที่ตา จิตจะไปอยู่ที่ร่างกายหรือที่อื่นกระไรได้ และเมื่อได้ยิน จิตได้ยินก็จะอยู่ที่ในหู จิตได้ยินจะไปอยู่ที่จมูกที่ปาก จะเป็นไปได้อย่างไร ถ้าจะพูดอย่างง่ายๆ ก็พูดว่า รู้อารมณ์ขึ้นที่ไหน จิตก็จะเกิดอยู่ที่นั้น
สิ่งที่ลุงจะขอให้หลานจดจำไว้ก็คือ เมื่อมีเหตุประชุมจนเกิดผล คือจิต เห็น และ ได้ยิน แล้ว จิตก็ย่อมดับหรือสลายตัวไป ตั้งมั่นอยู่ไม่ได้ เพราะจิตมันก็เป็นอนิจจังคือความไม่เที่ยง เหมือนกันกับสิ่งทั้งหลาย เมื่อมีเหตุมาประชุมกันใหม่มันก็เกิดผลขึ้นมาใหม่ เป็นอยู่ดังนี้เรื่อยๆ ไป
ตามที่ลุงอธิบายมานี้ หลานจะมีข้อข้องใจอะไรก็ว่ามา
ป. ผมไม่ข้องใจอะไรดอกขอรับ จะขอฟังเหตุผลจากคุณลุงไปพลางๆ ก่อน
ส. ในสมัยเมื่อหลานยังเด็กๆ อยู่ คือเมื่อ ๑๐ ปีมาแล้ว มีเหตุการณ์อะไรที่หลานต้องได้รับความกระทบกระเทือนใจแรงๆ จะเป็นทุกข์หรือสุขก็ตาม เวลานี้นึกได้บ้างหรือไม่
ป. นึกได้ขอรับ ครั้งหนึ่งผมเคยตกใจมาก เพราะถูกทำโทษโดยถูกขังไว้ในห้องมืด นึกขึ้นมาครั้งใดก็เหมือนกับเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อวันวาน
ล. หลานทราบหรือไม่ว่า เหตุใดเราจึงจดจำเรื่องราวที่ล่วงมาแล้วมาตั้ง ๑๐ ปีได้อีก
ป. เหตุใดผมก็ไม่ทราบ ทราบแต่ว่าผมจำไว้ในใจขอรับ
ล. ธรรมชาติของจิตนั้น หลานก็ทราบแล้วว่าสามารถรู้อารมณ์ได้ นอกจากนั้นยังเก็บความรู้ต่างๆ ไว้ก็ได้ด้วย ดังเช่นเด็กอ่อนไม่รู้เดียงสาอะไรเลย เมื่อค่อยๆ เติบโตขึ้นความรู้ก็ค่อยๆ แตกฉานขึ้น เก็บสะสมความจำเอาไว้เรื่อยๆ ในข้อนี้หลานจะโต้เถียงหรือไม่ว่า จิตมีความสามารถเก็บความคิดนึกและการกระทำต่างๆ หรือพูดง่ายๆ ว่าจำเอาไว้นั่นเองได้ด้วย
ป. ข้อนี้ผมไม่ขอเถียง ถึงเถียงคุณลุงก็คงจะไม่สำเร็จ มันเกิดกับผมหรือใครๆ ก็ได้ทั้งนั้น
ล. จิตจะเก็บความรู้ไว้ได้ไม่จำกัดจำนวน ไม่รู้จักเต็ม จนแก่เฒ่าและตายจากโลกไปนี้ เมื่อต้องการจะใช้ก็เอาออกมาใช้ การที่สามารถเก็บความจำเหล่านี้ หรือคิดนึกได้ หรือรู้อารมณ์ได้ก็ดี ต้องประกอบด้วยเจตนา ถ้าไม่มีเจตนาจะกระทำ ไม่มีเจตนาจะคิดนึก จะรู้อารมณ์ได้หรือไม่
ป. อ๋อ ไม่มีเจตนาก็จะรู้อารมณ์ไม่ได้ขอรับ
ล. ดังนั้น หลานจะเห็นได้ว่า ไม่มีใครทำอะไรได้ ไม่มีใครคิดนึกอะไรได้ หรือรู้อารมณ์ได้โดยปราศจากเจตนา ดังนั้น ตัวเจตนาก็คือตัวอำนาจหรือกำลังที่ก่อให้เกิดการคิดอ่านการกระทำ เมื่อมีเจตนาแล้วจึงได้กระทำกรรมนั้น คือคิดหรือกระทำขึ้น
ด้วยเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้สอนตามบาลีว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ
เจตนานั้นคือกรรมนั่นเอง และกรรมคือการกระทำทั้งหลายนั้น มิได้สูญหายไปไหนเลย เมื่อได้โอกาสก็จะเกิดขึ้นมาได้เสมอ เช่น หลานเก็บจดจำเรื่องต่างๆ ของหลานเอาไว้ในใจ แล้วก็คิดขึ้นมาได้
ที่นี้หลานเห็นหรือยังว่า กรรม คือ การกระทำที่เก็บเอาไว้ในจิตใจนั้น แม้มันจะไม่มีรูปร่างหน้าตาเป็นตัวเป็นตน สัมผัสถูกต้องไม่ได้ก็จริง แต่มันก็มีอำนาจ หรือมีอิทธิพล มีความสามารถที่จะกระทบกับจิตก่อให้เกิดอารมณ์ขึ้นก็ได้ เหตุนี้หลานจะเห็นได้ว่า จิตก็จะเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ แต่จิตนั้นย่อมเก็บกรรมที่ได้กระทำเอาไว้ด้วย ซึ่งนั่นก็คืออำนาจหรืออิทธิพลนั่นเอง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนเรื่องภูมิ คือที่เกิดของสัตว์ทั้งหลายไว้ทั่วสากลโลกนี้ถึง ๓๑ ภูมิ
แต่มนุษย์บนผิวโลกนี้รู้จักเพียง ๒ ภูมิ
คือมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น
เหลืออีก ๒๙ ภูมิหาได้รู้จักไม่
แม้ผีและเปรตอันมีการละเอียดที่ตาของเราสัมผัสไม่ได้อันเกิดอยู่ในโลกนี้ก็มี
พระองค์ทรงสอนว่าตัวนรกสวรรค์จริงๆ มีอยู่อีกโลกหนึ่งต่างหาก เวลานี้จรวดก็ยังขึ้นไปไม่ถึง สัปดาห์ก็ยังไม่สามารถจะใช้การได้ตามต้องการ
. โลกของเรานี้เราก็ถือว่าใหญ่โต แต่ถ้าจะเปรียบเทียบกับสากลจักรวาลแล้ว ก็เท่ากับน้ำหยดหนึ่งในมหาสมุทร
.เหตุนี้ หลานเอ๋ย จงอย่าประมาท
เพราะวิชาการทางโลกเรียนรู้แต่ในเรื่องของผู้อื่น สิ่งอื่น เรื่องอื่น
เรียนรู้เพื่อก่อให้เกิดความยึดมั่นในตัวตนยิ่งขึ้น และเป็นการเรียนรู้แต่ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ทั้งหมุนเวียนอยู่ในวัฏฏะอันเป็นความทุกข์
สำหรับหลักธรรมนั้นเป็นการเรียนเรื่องของตัวเอง เพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่นในตนเอง
เป็นการเรียนรู้เพื่อหาความเที่ยงแท้แน่นอนและหยุดความหมุนเวียน คือ วัฏฏะซึ่งจะเป็นความสุขตลอดนิรันดร
ผู้ใดได้ศึกษาหรือปฏิบัติแล้ว ก็จะไม่เสียทีที่จะเกิดมาพบระพุทธศาสนาแล้วชาติหนึ่ง
|
|
|
|
  |
 |
พี่ดอกแก้ว
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 07 มิ.ย. 2004
ตอบ: 118
|
ตอบเมื่อ:
23 เม.ย.2008, 9:55 am |
  |
กรุณาบอกที่มาของบทความด้วยนะคะ ว่านำมาจากไหน ใครเป็นผู้เขียนเรื่องนี้ จะขอบคุณยิ่งคะ |
|
_________________ เป็นประธานมูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ |
|
  |
 |
โยคี19
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 15 เม.ย. 2008
ตอบ: 29
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
24 เม.ย.2008, 7:16 pm |
  |
|
  |
 |
p.boon
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 30 พ.ย. 2007
ตอบ: 10
|
ตอบเมื่อ:
24 พ.ค.2008, 9:00 am |
  |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
29 พ.ค.2008, 6:39 am |
  |
"จิต " กับ " การทำงานของสมอง" เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างแยกออกได้ยากสำหรับคนทั่วไปหรือภาวะทั่วไป
ที่ต้องพูดถึง"การทำงานของสมอง" เพราะจะได้ความหมายที่ถูกต้องกว่า
ถ้ากล่าวถึง "เนื้อสมอง"อย่างเดียว จะกลายเป็นเฉพาะโครงสร้างที่ประกอบด้วย เซลล์ประสาท เส้นประสาท ทางเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มเซลล์ประสาท สารสื่อสารระหว่างประสาท.....ซึ่งก็จริงอย่างที่หลายๆท่านกล่าว คือเมื่อคนตายก็เป็นก้อนสมองก้อนหนึ่งที่หยุดทำงานไปแล้ว
แต่ถ้าพูดถึง "การทำงานของสมอง" จะเป็นการมองภาพรวม
จึงขอเสนอ ให้แยกให้ชัดไปเลยว่า เวลาพูดเรื่องจิต(ซึ่งเป็นนามธรรม) ..... ไม่ควรไปพูดเปรียบเทียบกับ เนื้อสมอง(ซึ่งเป็นรูปธรรม)
เดี๋ยวจะสับสน
มีประเด็นที่ถกเถียงกันมาก ในช่วงหลัง เกี่ยวกับเรื่องที่ตั้งของจิตในร่างกายคน(หทัยวัตถุ)
ระหว่าง แนวคิดที่ว่า
"จิตมีที่ตั้งอยู่ที่หัวใจเนื้อ" กับ
"จิตมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบประสาทมากกว่าหัวใจเนื้อ"
แล้วตกลงจิตที่เป็นนามธรรมนี้ ตั้งอยู่ตรงอวัยวะไหนในร่างกายคนกันแน่?
เพราะคนสมัยก่อน ก็เชื่อกันว่าจิตตั้งอยู่ในหัวใจเนื้อ(HEART). โดยมีหลักฐานจากอรรถกถาที่กล่าวระบุอย่างชัดเจนว่า จิตซึ่งเป็นนามธรรมนั้นตั้งอยู่ที่หทัยวัตถุรูป ซึ่งหทัยวัตถุรูปนี้เป็นรูปรมาณู(รูปปรมาณูมีขนาดเล็กเท่าความยาวเมล็ดข้าวเปลือกหารด้วย82,3000,000ส่วน หรือ ประมาณ. 0000001มม.).... และ หทัยวัตถุนี้ไปตั้งอยู่ที่หลุมเล็กๆซึ่งมีขนาดเท่าเมล็ดในของดอกบุนนาค ภายในห้องหัวใจเนื้ออีกที!!!
แต่วิทยาการปัจจุบัน ที่ทราบการทำงานของสมอง จนสามารถทราบว่าพื้นที่ใดในสมองหรือสารชีวเคมีใดในสมองมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดประเภทไหน.....
และ ที่สั่นคลอนแนวคิดที่ว่า หทัยวัตถุรูปหรือที่ตั้งของจิตตั้งอยู่ในหัวใจ ก็เห็นจะไม่มีสิ่งใดเกินการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ!!!.... เพราะปรากฏว่าผู้ที่รับการเปลี่ยนหัวใจจากผู้อื่นก็ยังคงมีความรู้สึกถูกผิดดีชั่ว และ จำได้หมายรู้ เช่นเดียวกับคนเดิม หาใช่ไปเหมือนผู้บริจาคหัวใจไม่.....
ถ้าจิตตั้งอยู่ที่หัวใจจริงๆ.... นาย ก. รับหัวใจมาจากนาย ข. ....หลังผ่าตัดนาย ก.ก็ต้องคิดและรู้สึกเหมือนนาย ข.สิ?
แต่ ความจริงปรากฏว่า หลังผ่าตัด นาย ก. ก็ยังคงมีความรู้สึกถูกผิดดีชั่ว และ จำได้หมายรู้ เช่นเดียวกับคนเดิม
ปรากฏการณ์นี้ ท้าทายคำอธิบายในอรรถกถาเรื่องที่ว่า จิตตั้งอยู่ในหทัยวัตถุรูป..... อย่างรุนแรง....!!!
ถึงขนาดผู้ที่เคยเชื่อว่าทุกจุดในอรรถกถาต้องถูกทั้งหมดบางท่าน ต้องรีบหาคำอธิบายกันเป็นการใหญ่.
ผมจะเรียงลำดับคำอธิบาย ที่ ทางผู้ที่เชื่อว่าอรรถกถาต้องถูกทั้งหมด เคยอธิบายกันมาในช่วงราวๆสัก20ปีนี้ ถึงสิ่งที่ปรากฏในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
คำอธิบายเหล่านี้ เปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆตามเวลา และข้อมูลที่เพิ่มขึ้น.... ดังนี้
1.ทฤษฎีหทัยวัตถุตกค้าง
คำอธิบายนี้ เริ่มใช้กันในยุคต้นๆ ที่การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจไม่ได้เปลี่ยนหัวใจทั้งดวง โดยยังมีส่วนของหัวใจห้องบนขวาเดิมถูกเก็บไว้กับผู้ป่วย......จึงอธิบายว่า เพราะเหตุว่า หทัยวัตถุยังคงตกค้างอยู่กับผู้ป่วย หาได้ถูกเฉือนออกไปไม่.... ด้วยเหตุนี้ผู้รับการเปลี่ยนหัวใจจึงยังคงมีความรู้สึกถูกผิดดีชั่ว และ จำได้หมายรู้ เหมือนเดิม
ดังคำบรรยายถึงเหตุผลของแนวคิดนี้ โดย อ.บุญมี เมธางกูร
หทยวัตถุนี้ ตั้งอยู่ภายในหัวใจของสัตว์ทั้งหลาย ต่อมาได้มีนายแพทย์ได้ทำการผ่าตัดหัวใจของคนไข้ แล้วเอาหัวใจของคนตายใส่เข้าไปแทน ท่านนักศึกษาพระอภิธรรมก็พากันพูดว่าผ่าตัดหัวใจออกแล้ว เหตุใดจึงมีชีวิตอยู่ได้
ในเรื่องนี้ ผมได้นำเอาภาพการผ่าตัดหัวใจในครั้งแรก ที่ลงในหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ พร้อมกับปรึกษาศัลยแพทย์หลายท่านในประเทศไทย ก็ได้ความว่า ไม่ได้ตัดหัวใจทิ้งไปแล้วเอาหัวใจของอีกคนหนึ่งที่ตายมาใส่แทน หากแต่ตัดส่วนล่างออกเท่านั้น
แต่แนวคิดนี้ ก็ต้องยุติลง เพราะปรากฏว่าต่อมา สามารถเปลี่ยนหัวใจได้หมดทั้งดวง.... ทั้งหัวใจมนุษย์ และ หัวใจจักรกล(Abiocor)..... โดยที่ ผู้ที่รับหัวใจ ก็ยังคงรู้สึกนึกคิด เหมือนคนเดิมทุกอย่าง
2.ทฤษฎี หทัยวัตถุแบบปูเสฉวน
คำอธิบายนี้ พัฒนาปรับปรุงต่อจากข้อ1 มาเป็นว่า การที่ผู้รับหัวใจยังคงนึกคิดเหมือนคนเดิมนั้น เพราะหทัยวัตถุได้ย้ายจากหัวใจดวงเดิมที่ถูกตัดออก มาอยู่ในหัวใจดวงใหม่ที่ใสเข้าไปแทน
คล้ายๆ ปูเสฉวนที่ย้ายจากเปลือกหอยเก่า ไปอยู่ในเปลือกหอยใหม่!!!
แต่ ทฤษฎีหทัยวัตถุปูเสฉวนนี้ ก็ยังคงมีปัญหาที่ต้องตอบอีกมากมาย
ที่เห็นง่ายสุด ก็คือ
ในเวลาขณะทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจนั้น
เขาเอาหัวใจดวงเก่าออก.... แล้วเขาใช้เครื่องHEART-LUNG MACHINEมาช่วยพยุงเรื่องการหมุนเวียนโลหิตเป็นช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะนำหัวใจดวงใหม่เข้าติดตั้ง
ในระหว่างนั้น มีจุดต้องพิจารณาคือ
ในขณะที่หัวใจดวงเก่าโดนนำออกไปแล้ว และ หัวใจดวงใหม่ยังไม่ถูกนำมาติดตั้งและทำให้เต้นใหม่....
ขณะนั้น หทัยวัตถุอยู่ที่ใด?? (ในขณะที่บริเวณที่เป็นหัวใจเดิมยังโล่งๆอยู่ )
หทัยวัตถุลอยเคว้งๆอยู่กลางอากาศตรงนั้นหรือ??
หรือว่า หทัยวัตถุย้ายไปอยู่ที่เครื่องHEART-LUNG MACHINE ชั่วคราว??
ที่สำคัญที่สุดก็คือ
คำอธิบาย ในลักษณะที่ว่า ถ้าไม่ใช่แบบ1 ก็จะเป็นแบบ2....ถ้าไม่ใช่แบบ2 ก็จะเป็นแบบ3...4....ๆลๆ นี้.ไม่เป็นผลดีต่อพระศาสนาในยุคที่ผู้คนต้องการความชัดเจนนี้แน่ๆ
ในการวิเคราะห์เรื่อง ที่ตั้งของจิต ในร่างกายมนุษย์นี้
ที่ต้องระมัดระวังก็ คือ การนำสัตว์ชนิดอื่นๆมาเปรียบเทียบกับคน
มันอาจจะเปรียบโดยตรงไม่ได้ เพราะ สัตว์แต่ล่ะชนิด ก็มีสรีระร่างกาย ระบบประสาท ระบบการไหลเวียนที่แตกต่างกันไป
จิตของสัตว์แต่ล่ะชนิด ก็ไม่จำเป็นจะต้องมีที่ตั้งในร่างกายของสัตว์นั้นๆ เหมือนกับคน
เราคงจะงงมาก ถ้าเล่นเอาปลาดาว มาเปรียบเทียบกับคน ว่าจิตของปลาดาวมันควรอยู่ตรงไหน.....
หรือ จะงงมาก ว่าเจ้าไมค์ไก่ไร้หัว ที่โด่งดังในอเมริกา ที่ถูกตัดหัว(แต่เหลือก้านสมอง และหูหนึ่งข้าง)ยังคงสามารถเคลื่อนไหวพื้นฐานของไก่ และ มีชีวิตอยู่ได้ถึง18เดือนได้อย่างไร...
เราควรจะจำกัดวง มาให้อยู่ในเฉพาะ ที่ตั้งของจิตในร่างกายคน
โดยต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่า เรื่อง หทัยวัตถุรูป นี้ กำลังกล่าวจากแหล่งอ้างอิงใด
1.พระสูตร และ พระวินัย กล่าวถึงเรื่องที่ตั้งของจิตไว้หรือไม่? อย่างไร?
2.พระอภิธรรม กล่าวถึงเรื่องที่ตั้งของจิตไว้หรือไม่? อย่างไร?
3.อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องที่ตั้งของจิตไว้หรือไม่? อย่างไร? และ อรรถกถาจารย์ใช้เกณฑ์ใดในการวินิจฉัยเช่นนั้น?
4.คัมภีร์ระดับรองลงมาเป็นระดับๆ จนถึง ความเห็นของอาจารย์แต่ล่ะท่าน จากอดีตจนถึงปัจจุบัน กล่าวถึงเรื่องที่ตั้งของจิตไว้หรือไม่? อย่างไร? และ ใช้เกณฑ์ใดในการวินิจฉัยเช่นนั้น?
5.ข้อมูลทางวิทยาการปัจจุบัน
6.และที่สำคัญคือ
ถ้า รู้ หรือ ไม่รู้ความจริง เรื่องที่ตั้งของจิตที่แท้จริงในร่างกายคนแล้ว จะเป็นปัจจัยให้พ้นทุกข์ หรือ ไม่พ้นทุกข์ หรือไม่? อย่างไร?
# .พระสูตร และ พระวินัย กล่าวถึงเรื่องที่ตั้งของจิตไว้หรือไม่? อย่างไร?
เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมาก
ที่ในระดับพระสูตรและพระวินัย ไม่มีพระพุทธวจนะที่ตรัสถึงคำว่าหทัยวัตถุเลย และไม่พบว่ามีการระบุชัดๆเลยว่า จิตคั้งอยู่ตรงไหนในร่างกาย.
อาจจะมีกล่าวถึงบ้าง เช่น ในกายยาววาหนาคืบ ที่มีสัญญาและใจครอง
หรือ กรณีที่ตรัสถึงจิตที่ว่า "มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย"(คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่๓)
และคำว่า ถ้ำนี้ จะหมายถึงอวัยวะใดกันแน่ ระหว่าง ห้องหัวใจ กับ โพรงกระโหลกศรีษะ
ลองหาดูรูป โพรงกระโหลกศรีษะ ที่มีสมองอยู่ภายในครับ
ชั้นนอกสุดจะเป็นเส้นผม ชั้นถัดเข้ามาจะเป็นผิวหนังและไขมันใต้ผิวหนัง ชั้นถัดเข้ามาเป็นกระโหลกศรีษะ ถัดเข้ามาจะเป็นโพรงในกระโหลกที่บรรจุสมอง
ภาษาอังกฤษ เขาใช้ คำเรียก โพรงกระโหลกศรีษะว่า cranial vault
คำว่า vault จากพจนานุกรม ก หลังคาโค้ง ห้องหรือทางเดินใต้หลังคาโค้ง ห้องใต้ดิน อุโมงค์ ห้องใต้ถุน
กระโหลกศรีษะ ที่คลุมสมองอยู่เหมือนหลังคาโค้งไหมครับ?
โพรงกระโหลกศรีษะ เหมือนถ้ำ หรือ อุโมงค์ไหมครับ?
#.พระอภิธรรมปิฎก กล่าวถึงเรื่องที่ตั้งของจิตไว้หรือไม่? อย่างไร?
มีคำว่า หทัยวัตถุอยู่หลายแห่งในพระอภิธรรมปิฎก... แต่ก็ไม่มีการระบุชัดๆเลยว่า ตั้งอยู่ในส่วนไหนของร่างกาย
#. อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องที่ตั้งของจิตไว้หรือไม่? อย่างไร? และ อรรถกถาจารย์ใช้เกณฑ์ใดในการวินิจฉัยเช่นนั้น?
มีการบรรยายในอรรถกถาอย่างละเอียดยิบ ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น..... แต่ประเด็นอรรถกถาจารย์ใช้เกณฑ์ใดวินิจฉัยเช่นนั้น ก็ยังคงไม่มีใครตอบได้อย่างชัดเจน
#.คัมภีร์ระดับรองลงมาเป็นระดับๆ จนถึง ความเห็นของอาจารย์แต่ล่ะท่าน จากอดีตจนถึงปัจจุบัน กล่าวถึงเรื่องที่ตั้งของจิตไว้หรือไม่? อย่างไร? และ ใช้เกณฑ์ใดในการวินิจฉัยเช่นนั้น?
ที่มีการพูดถึงกันมากในเรื่องนี้ ก็คือ กรณีที่ทางอาจารย์นักอภิธรรมปัจจุบันพากันอธิบายการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ดังในตอนต้นบทความนี้
แต่ก็มี นักอภิธรรม บางท่านในยุคปัจจุบัน ที่มีแนวคิดที่น่าสนใจมาก เช่น บทความของ อ.ระวี ภาวิไล ที่กล่าวว่า
ในขณะเดียวกันหลักฐานจากวิชาสรีรศาสตร์ และการแพทย์ปัจจุบันบ่งชัดเจนว่า ระบบประสาทกลาง ( Central Nervous System - CNS ) ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เนื้อเยื่อสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่แผ่กระจายออกไปทั่วร่างกายของมนุษย์สัตว์มีความสัมพันธ์แน่นอนกับความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์สัตว์ โดยที่ ความชำรุดเสียหายของส่วนใดก็ตามของ CNS นี้จะมีผลกระทบกระเทือนถึง ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมในลักษณะที่ตรวจสอบได้ในปฏิบัติการ
ข้อเท็จจริงนี้ทำให้น่าพิจารณา CNS ในบทบาทที่ตั้งของจิตที่เป็นมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุรวม ๗๙ ดวง การที่ CNS แผ่กระจายอยู่ทั่วร่างกายของมนุษย์สัตว์ หมายความว่า ในขณะใดขณะหนึ่ง บางส่วนของ CNS นี้ จะเป็นที่อาศัยเกิดของจิตบางดวง
ซึ่งสรุปว่า ตัวหทยวัตถุอาจเลื่อนที่ไปที่ตำแหน่งใด ของ CNS ก็ได้
หรือไม่เช่นนั้น CNS ทั้งระบบนั้นเอง คือ หทยวัตถุรูปปรมัตถ์.
# ประเด็นนี้ สำคัญที่สุดครับ
คือ ....ถ้า รู้ หรือ ไม่รู้ความจริง เรื่องที่ตั้งของจิตที่แท้จริงในร่างกายคนแล้ว จะเป็นปัจจัยให้พ้นทุกข์ หรือ ไม่พ้นทุกข์ หรือไม่? อย่างไร?
ผม เห็นว่า ถ้าหาก การรู้ที่ตั้งที่ชัดเจนของจิตในร่างกายของเรา เป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะสามารถพ้นทุกข์แล้ว.... พระพทธองค์ จะต้องทรงเน้นย่ำพร่ำสอนในสิ่งนี้เอาไว้อย่างละเอียด. แต่ปรากฏว่า ในพระสูตรและพระวินัย กลับมีเรื่องเหล่านี้น้อยมาก และ ไมได้ตรัสระบุชัดๆเอาไว้เลย ถึงเรื่อง ที่ตั้งของจิตในร่างกายคน.
ที่เห็นกันมาก ก็จะเป็นพระพุทธวจนะ ที่ทรงเน้นย่ำพร่ำสอนให้สาวก พิจารณาความจริง ของจิต และกาย. ให้เห็นจิตในจิต เห็นกายในกาย และไม่ยึดมั่นถือมั่นทั้งจิตและกาย ว่า เป็นเรา หรือของเรา.... ซึ่งเป็นหนทางไปสู่ การสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งหลาย.
หาใช่ การให้มาคอยหาว่า จิตตั้งอยู่ตรงไหนในร่างกายเรา-ท่าน!!!
คำอวยพร :- มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในยุคปัจจุบัน
ที่จะต้องแยกแยะ สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้โดยตรง ออกจาก สิ่งที่อาจารย์รุ่นหลังรจนากันเพิ่มเข้ามาไว้ในพระศาสนา
เพราะ ถ้าไม่ทำเช่นนั้น จะกลายเป็นมีผู้เข้าใจผิดว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ตรงกับ ความจริงที่วิทยาศาสตร์ปัจจุบันค้นพบ
การเปิดใจกว้าง รับฟังข้อมูลหลายๆทางที่ไม่ตรงกับสิ่งที่ตนเชื่อ ก็มีประโยชน์น่ะครับ
ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
31 พ.ค.2008, 5:49 am |
  |
คุณตรงประเด็นครับ หากคุณไม่เชื่อถือ พระอภิธรรมปิฏก พระอภิธัมมัตถสังคหะ อรรถกถา คัมภีร์ของเถรวาท ก็ไม่เป็นไรครับ แต่ควรพิจารณาให้ดี ในวิชาการทางโลกที่คุณเรียนมา
แต่ถึงอย่างไรการอธิบายของ อรรถกถา หรือ อาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก อย่างท่านอาจารย์บุญมี เมธางกูร ก็มีเหตุผล มีหลักฐาน น่าเชื่อถือกว่า ท่านพุทธทาส ที่สอนแต่เรื่องจิตว่าง ไม่มีตัวกู ของกู แต่ไม่อ้างอิง อรรถกถา
ท่านพุทธทาสเขียนเอาไว้ในหนังสือชื่อ " จิต, กิเลส, สังสารวัฏฏ คืออะไร ? " หน้า ๗-๙ ว่า
" จิตคือสิ่งที่เราไม่รู้ว่ามันคืออะไร ? "
----------------------------------------------------- |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
31 พ.ค.2008, 5:59 am |
  |
เพื่อความเข้าใจเรื่องรูปซึ่งมีทั้งรูปละเอียด(มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เช่น หทยวัตถุ หรือ ร่างกายของโอปปาติกะ) ในทางพระพุทธศาสนามากขึ้น
ขอเชิญศึกษา ใน
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/book.htm
สสารและพลังงานในพระพุทธศาสนา (๑)
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/BM/energy.doc
(รูปสังคหวิภาค พระอภิธรรมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๖)
โดย. ท่านอาจารย์บุญมี เมธางกูร
คำว่าธาตุที่ศึกษากันในวิชาวิทยาศาสตร์นั้น มีความหมายแตกต่างกันกับคำว่ธธาตุในทางธรรมเป็นอันมาก สารหลายอย่าง เช่น ทองคำ ดีบุก ออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอน ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ ในทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า ธาตุ (Element) ธาตุเหล่านี้ร่วมอยู่ด้วยกันมากบ้างน้อยบ้างตามส่วน จึงได้เกิดเป็นสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้ สารหรือสิ่งที่ประกอบกันขึ้นด้วยธาตุเหล่านี้ ในทางวิทยาศาสตร์เรียกว่าสารประกอบ
นักวิทยาศาสตร์เอาคำว่า"ธาตุ" ของธรรมะไปใช้ แล้วไปจำกัดความเสียใหม่
ส่วนคำว่า "ธาตุ" ในสภาวธรรมนั้น แปลว่า "ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน" คำแปลและคำอธิบายเหมือนกับคำว่า "ธรรม" ที่ได้อธิบายมาแล้วทุกอย่าง ซึ่งหมายถึงความจริงที่แท้จริง ด้วยเหตุนี้ คำว่าธาตุในพระพุทธศาสนา จึงกว้างขวางมากทั้งกินความไปได้ทั้ง รูปธาตุ นามธาตุ เช่น ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ สัททธาตุ (เสียง) รสธาตุ(รส) วิญญาณธาตุ(ความรู้อารมณ์ทางตา ทางหู เป็นต้น) และมโนวิญญาณธาตุ(ความรู้อารมณ์ทางใจ)
ในพระพุทธศาสนาได้แยกรูปธาตุ (สสาร) ให้เล็กลงๆ จนในที่สุดถึงอณู ปรมาณู แล้วในปรมาณูหนึ่งนั้น เรียกว่า อวินิพโภครูป ๘ อันหมายถึงรูปที่จำแนกออกไปเป็น ๘ ส่วน คือ
๑. ปถวีธาตุ ธาตุดิน
๒. อาโปธาตุ ธาตุน้ำ
๓. วาโยธาตุ ธาตุลม
๔. เตโชธาตุ ธาตุไฟ
๕. วัณณธาตุ ธาตุสี
๖. คันธธาตุ ธาตุกลิ่น
๗. รสธาตุ ธาตุรส
๘. โอชธาตุ ธาตุที่ย่อยแล้วสร้างความเจริญเติบโตแก่สัตว์ได้
ท่านที่ได้ติดตามเรื่อง รูปธาตุ ในพระพุทธศาสนามาแล้วตั้งแต่ต้น ย่อมจะเห็นได้ว่า "ธาตุ" ที่ใช้กันในวิชาวิทยาศาสตร์นั้น แตกต่างกันกับคำว่า "ธาตุ" ที่ใช้ในทางธรรมอย่างไร ทั้งในคำแปล และในความหมายในทางวิทยาศาสตร์ เพราะเอาคำว่า "ธาตุ" ของพระพุทธศาสนาไปใช้ แล้วบัญญัติคำแปลและความหมายขึ้นมาใหม่
นอกจากนี้จะได้พบคำศัพท์ในธรรมะที่ไปซ้ำกับคำศัพท์ในวิชาวิทยาศาสตร์อีกคือ คำว่า อณูกับปรมาณู ทางวิทยาศาสตร์เอาคำว่า อณู ปรมาณู ซึ่งเป็นภาษาบาลีไปใช้เหมือนกัน
คำว่า อณูและปรมาณู เป็นศัพท์ธรรมะที่ใช้กันมาแล้วหลายพันปีแล้ว คำแปลและความมุ่งหมายที่ใช้ก็เป็นไปในแนวทางที่จะแสดงถึงรูปธาตุ เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจถึงความจริงของรูปทั้งหลายว่า มิได้เป็นไปอย่างที่ตาได้เห็น หรือที่หูได้ยิน รูปทั้งหลายที่เรามองเห็นและสัมผัสได้มาจากหน่วยเล็กๆ ที่เรียกว่า อณู และปรมาณูทั้งนั้น
รูปทั้งหมดล้วนแต่ผันแปรเปลี่ยนแปลงไป ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่เป็นตัวเป็นตน คน สัตว์ ทั้งบังคับบัญชาไม่ได้ทั้งสิ้น ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในรูปนั้นว่าจริงแท้แน่นอน
ผู้บัญญัติศัพท์คำว่า อณู ปรมาณู ในวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ตั้งความมุ่งหมายเน้นหนักไปสู่ความจริงของธรรมชาติในเรื่องของสสาร เพื่อเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตในด้านต่างๆ แม้จะเป็นเรื่องของการย่อยรูปให้เล็กลงๆ เหมือนกันกับในทางธรรมก็ตาม แต่ปรมาณูก็อาจจะเล็กใหญ่กว่ากัน คำอธิบายไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางก็แตกต่างกันมาก
ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อผู้บรรยายธรรมะจะกล่าวถึงคำว่า ธาตุ อณู ปรมาณู (ยังมีคำอื่นอีกมาก) จึงต้องเพิ่มคำพูดขึ้นอีกทุกครั้งว่า พูดถึง ธาตุ อณู ปรมาณู ในทางพระพุทธศาสนา เพื่อมิให้ผู้ฟังหลงผิดไป ซึ่งจะทำให้บังเกิดความเข้าใจไปคนละทิศคนละทางได้ จึงได้ยากแก่การบรรยายเป็นอันมาก
สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนเป็นการประชุมกลุ่มก้อนด้วยโมเลกุล (Molecule) และปรมาณู (Atom) ปรมาณูเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด เป็นหน่วยมูลฐานของสสารต่างๆ เรื่องของปรมาณู นับวันก็จะมีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นในชีวิตประจำวันอย่างหลีกหนีกันไม่พ้น ในสมัยก่อนเราต่างพากันหาว่า ธรรมชาตินั้นเจ้าเล่ห์มายา หลอกลวงสายตาของเราให้หลงใหลเข้าใจผิดต่างๆ แต่ความจริงนั้น ธรรมชาติได้แสดงตัวของมันอยู่ต่อหน้าต่อตาเราตลอดเวลา เราขาดปัญญาที่จะเข้าไปเห็นความลึกซึ้งของธรรมชาติเหล่านั้นเองต่างหาก
เมื่อนักวิทยาศาสตร์พูดถึงวัตถุทั่วไป ก็จะใช้คำว่า "สสาร" หรือ Matter คำว่า สสารหมายถึงเนื้อแท้ของสาร หรือวัตถุนั่นเอง สสารได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
เรื่องของปรมาณูนั้น เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ขนาดของมันก็เหลือเชื่อ เช่นถ้าเราเอาน้ำหยดหนึ่งมาขยายให้โตเท่ากับโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ ปรมาณูในน้ำหยดนั้นจะโตเท่ากับลูกฟุตบอลเท่านั้นเอง หรือถ้าเอาปรมาณูของออกซิเจนมาวางเรียงแถว เรียงหนึ่ง ซึ่งยาวหนึ่งนิ้วฟุต ก็จะต้องใช้ปรมาณูเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า ๘ ล้าน
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า สสารนั้นสร้างขึ้นมาจากปรมาณู แม้ว่าปรมาณูจะมองไม่เห็น ส่องกล้องดูไม่ได้ (ปรมาณูบางชนิดที่จับกลุ่มกันเป็นโมเลกุล หรือเรียงกันอยู่เป็นแถว หรือบางทีก็เป็นตัวๆ นั้น อาจมองเห็นได้โดยใช้กล้อง Electron microscope) แต่ทฤษฎีของปรมาณูนั้นก็ตั้งอยู่บนมูลฐานของข้อเท็จจริง การทดสอบด้วยวิธีการต่างๆ ของนักฟิสิกส์ สามารถทราบได้ถึงจำนวน น้ำหนัก และขนาดของมันทำให้เชื่อถือได้ว่าปรมาณูเกาะเกี่ยวยึดโยงกันอย่างมีระเบียบอย่างไร
ธาตุแต่ละอย่างประกอบไปด้วยปรมาณู ปรมาณูเป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสาร ปรมาณูเป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า และปรมาณูทั้งหลายหาได้นิ่งอยู่เฉยๆ ไม่ หากแต่มีการเคลื่อนตัวหรือสั่นไหวอยู่ตลอดเวลา และการเคลื่อนไหวนั้นเอง ก่อให้เกิดความร้อนขึ้น ยิ่งถ้าทำให้มันเกิดความร้อนมากขึ้น การเคลื่อนไหวก็จะเพิ่มยิ่งขึ้น และถ้าหากสามารถเอาความร้อนออกไปจากปรมาณูให้หมดได้จริง จนอุณหภูมิถึงศูนย์องศาอนันต์แล้ว การเคลื่อนไหวก็จะชะงักลงทันที แต่อย่างไรก็ดี ยังไม่มีใครเอาความร้อนออกได้หมดจริงๆ นอกจากนี้ ปรมาณูของธาตุต่างๆ ย่อมจะมีน้ำหนักต่างกันด้วย
องค์ประกอบของปรมาณูนั้น ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พบว่า ตัวที่เล็กที่สุดของธาตุใดๆ ก็ตามอันมีอยู่แล้วยังรักษาลักษณะ รักษาคุณสมบัติของธาตุนั้นๆ เอาไว้ได้ เรียกว่า ปรมาณูของธาตุนั้น
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เองจึงมีปรมาณูของธาตุต่างๆ เช่น Hydrogen Oxygen Copper Uranium ฯลฯ ปรมาณูของ Hydrogen เป็นปรมาณูที่เบาที่สุด และปรมาณูของ Uranium หนักที่สุด
ปรมาณูทุกๆ ตัวมีหลายส่วนรวมกัน ประกอบด้วยแกนกลางที่แน่นทึบเรียกว่า นิวเคลียส (Neuleus) แล้วมีอิเล็คตรอน(Electron) หลายตัวห้อมล้อมนิวเคลียส และนิวเคลียสประกอบด้วยอนุภาคที่สำคัญสองชนิด คือโปรตอน (Proton) และนิวตรอน (Neutron) และทั้งสองชนิดนี้มีมวล (Mass) เกือบจะเท่าๆ กัน โปรตอนมีประจุไฟฟ้าบวก แต่นิวตรอนไม่มีประจุไฟฟ้าเลย สำหรับอิเล็คตรอนมีประจุไฟฟ้าลบ
ปรมาณูนั้น แต่อดีตเชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่เล็กที่สุด แบ่งแยกไม่ได้ แต่ความจริงปรากฏในปัจจุบันนี้ว่า ตัวปรมาณูมีส่วนประกอบซึ่งแยกออกเป็นอนุภาคได้
ลักษณะของปรมาณูนั้น มิได้หยุดอยู่นิ่งๆ เปรียบคล้ายกับจักรวาลของดาวนพเคราะห์ที่โคจรหมุนเวียนอยู่รอบๆ ดวงอาทิตย์ จึงเปรียบเหมือนดวงอาทิตย์เป็นนิวเคลียส ดาวนพเคราะห์ทั้งหลายที่วิ่งวนเวียนอยู่รอบๆ ดวงอาทิตย์เป็นอิเล็คตรอน
ในพระพุทธศาสนาได้สอนถึงการแยกรูปออกให้เล็กลงๆ ไปเป็นลำดับขนถึงอณู ปรมาณูเหมือนกัน แต่มิได้สอนให้ทำปรมาณูเพื่อช่วยในการผลิตสร้างสิ่งใดในทางสันติ หรือให้ทำลูกระเบิดปรมาณูเพื่อแก่การทำลายกันในเวลาเกิดสงคราม หากแต่สอนเรื่องปรมาณูเพื่อให้บังเกิดความเข้าใจในเรื่องของชีวิต เฉพาะอย่างยิ่งทางฝ่ายรูปธรรม เพื่อให้เข้าใจตามความเป็นจริง จริงๆ (ปรมัตถ์) เพื่อมิให้หลงผิดหรือละเมอเพ้อฝันจนเป็นเหตุให้ตั้งอยู่ในความประมาทในปัญหาของชีวิต แล้วยังเป็นหนทางที่จะเข้าไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ชีวิตหลุดรอดไปจากความทุกข์ด้วย
ปรมาณูในพระพุทธศาสนาแยกจากเม็ดข้าวเปลือกให้เล็กลงๆ ไปเรื่อยๆ จนถึงปรมาณู
ดังคาถาจาปลินิคัณฑุ (อภิธานนัปปทีปิกา) คาถาที่ ๑๙๔ และคาถาที่ ๑๙๕ ในภูมิกัณฑ์ว่า
ฉตฺตึส ปรมาณูน เมโก ณุจ ฉตึ เต
ตชฺชรี ตาปี ฉตฺตึส รถเรณูจฺ ฉตึส เต
ลิกฺขา ตา สตฺต อูกา ตา ธญฺญมาโสติ สตฺเต
๓๖ ปรมาณู เป็น ๑ อณู
๓๖ อณูเหล่านั้น เป็น ๑ ตัชชารี
๓๖ ตัชชารีเหล่านั้น เป็น ๑ รถเรณู
๓๖ รถเรณูเหล่านั้น เป็น ๑ ลิกขา
๗ ลิกขา เป็น ๑ อูกา
๗ อูกาเหล่านั้น เรียกว่า ธัญญามาส
ถ้าจะกลับเสียก็ได้ดังนี้
๑ เม็ดข้าวเปลือก = ๗ อูกา
๑ อูกา = ๗ ลิกขา
๑ ลิกขา = ๓๖ รถเรณู
๑ รถเรณู = ๓๖ ตัชชารี
๑ ตัชชารี = ๓๖ อณู
๑ อณู = ๓๖ ปรมาณู
๑ ปรมาณูนั้น เป็นหน่วยที่เล็กที่สุด ที่สอนกันในพระพุทธศาสนา ขอให้ท่านผู้อ่านลองเปรียบเทียบกันดูกับปรมาณูในทางวิทยาศาสตร์ ว่าจะมีขาดแตกต่างกันอย่างไร การศึกษาปรมาณูในพระพุทธศาสนา มุ่งหมายเพื่อจะให้เห็นว่า รูปทั้งหลายเหล่านั้นล้วนเป็นธาตุ มิใช่สัตว์มิใช่บุคคล
เป็นหน่วยเล็กๆ ที่มองเห็นไม่ได้มาประชุมรวมกันแล้วก็เกิดขึ้นด้วยอาศัยเหตุปัจจัยต่างๆ ไม่ได้เกิดจากการดลบันดาลขึ้นมาของใคร และมีการสลายตัวอยู่ตลอดเวลา ในวินาทีหนึ่งตั้งมากมาย ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้แน่นอนรวมอยู่กันชั่วคราวเท่านั้น ทั้งเปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่เรื่อยไป ไม่มีหยุดเลย จะไม่มีใครมีความสามารถไปบังคับยับยั้งให้มันหยุดการเปลี่ยนแปลงได้เลยเป็นอันขาด เมื่อมันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นนี้แล้ว จึงเอาเป็นที่พึ่งอันถาวรไม่ได้ จึงเป็นทุกข์
ความสำคัญของเรื่องปรมาณูในพระพุทธศาสนาอีกบางประการจะละเลยไม่กล่าวเสียหาได้ไม่ คือ
ในหนึ่งปรมาณูนั้นแยกออกเป็น ๘ อย่างรวมกัน คือมีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ สี กลิ่น รส โอชะ เรียกว่า อวินิพโภครูป และปรมาณูนั้น ย่อมจะมีธาตุทั้ง ๘ นี้อยู่รวมกันเสมอไป จะเอาอันใดอันหนึ่งออกเสียมิได้เลย พูดง่ายๆ ก็ว่า มีปรมาณูอยู่ที่ไหน ธาตุทั้ง ๘ นี้ก็จะอยู่ในที่นั้น
คำว่าปรมาณูในธรรมะแสดงว่าเป็น "รูป" แม้ว่าปรมาณูจะเล็กน้อยกระจ้อยร่อยถึงเพียงนี้ แต่ก็ยังเป็นรูปที่หยาบ เพราะมีสุขุมรูปที่ละเอียดยิ่งกว่านี้อีกถึง ๑๖ รูป ในจำนวนรูปทั้งหมด ๒๘ รูปด้วยกัน |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
31 พ.ค.2008, 6:07 am |
  |
เรื่อง "ชีวิต" นั้นสำคัญยิ่งกว่าสิ่งใดในโลก
โดย อาจารย์บุญมี เมธางกูร
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=11132
เมื่อผมได้ศึกษาเรื่องของชีวิตจิตใจจากในพระอภิธรรมปิฎกก็มีความซาบซึ้งตรึงใจ เพราะค้นคว้าหามากมายมายในวิชาการทางโลก ทางวิทยาศาสตร์ หลายสิบปีก็หาได้พบไม่ ความไม่เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ความไม่เชื่อในเรื่องผีสางเทวดาเพราะเห็นว่าเป็นความเชื่อของคนหัวโบราณคร่ำครึล้าสมัยก็กลับเป็นไปตรงกันข้าม พระอภิธรรมปิฎกมิได้เกรงผู้ใดที่จะเข้ามาศึกษาแล้วพบความจริงอันไม่น่าเชื่อ ไม่ว่าจะจากนักวิชาการชั้นไหน หรือนักปราชญ์ราชบัณฑิตชั้นใด หากแต่เกรงอยู่อย่างเดียวเท่านั้นนั่นก็คือ ผู้ที่ได้แต่ชอบพูดคัดค้าน ชอบหาอะไร ๆ เข้ามาหักล้าง แต่ไม่ยอมศึกษาจริงจังเท่านั้นเอง
บทพิสูจน์เรื่องการเวียนว่ายตายเกิดและผีสางเทวดานั้น นอกจากทฤษฎีที่ได้ศึกษาแล้ว ยังมีการปฏิบัติอีกต่างหากโดยอาศัยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยอาศัยการทำสมาธิ การสะกดจิต และการเข้าทรง (เกี่ยวข้องกับผีสางเทวดาได้เพราะมีอดีตกรรมอุดหนุน) ผมจะเอาตัวรอดโดยการปฏิบัติหนทางพ้นทุกข์โดยหันหลังให้ประชาชนไปง่าย ๆ ผมทำไม่ได้ เพราะผลประโยชน์อันใหญ่หลวงที่ชีวิตจะได้รับนั้นเหลือหลายจริง ๆ จึงได้ดิ้นรนขวนขวายที่จะเผยแพร่ความจริงอันยิ่งใหญ่นี้ออกไปสู่ประชาชนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากอำนาจดังกล่าวแล้ว ก็เพราะว่า ได้ระลึกถึงภารกิจอันหนักในการแก้ปัญหาให้แก่ชีวิตและเห็นอกเห็นใจในความทุกข์ยากของญาติมิตรผู้ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งหลาย จึงได้บังเกิดความเมตตากรุณาจนเปี่ยมล้นอยู่ในหัวใจ จนผมทอดทิ้งไปไม่ได้อย่างแน่นอน
ผมได้ศึกษาตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงเอาไว้จากในพระอภิธรรมปิฎกว่าเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดเป็นความทุกข์อย่างสุดแสนนั้นก็เป็นความจริงแท้แน่นอน ได้พบได้เห็นเพื่อนมนุษย์ผู้ต่อสู้อย่างสุดเหวี่ยงต้องตกระกำลำบากอย่างแสนสาหัส ก็พบอยู่เสมอ ๆ ได้เห็นเขาทั้งหลายต่างก็พากเพียรพยายามเพื่อแก้ปัญหาให้แก่ชีวิตของตนซึ่งมีอยู่ทั่วไปในโลก ก็มิได้เป็นความเท็จ และเมื่อตายลงไปแล้ว ต้องเกิดเป็นเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน และสัตว์นรกก็มีมากมาย แต่ ยากที่ผู้ใดใครทั้งหลายจะมองเห็นได้ จึงได้ประกอบกรรมที่ไม่ดีเป็นส่วนใหญ่
บางคนเห็น เศรษฐีมีล้นฟ้า แต่ร่ำรวยใหญ่ยิ่งขึ้นมาเพราะได้เบียดเบียนจากผู้อื่นแทบทั้งนั้นเมื่อตอนมีชีวิตอยู่ จะชี้นิ้วเอาอะไรก็ได้ ไม่ยากเย็นอะไรเลย แต่ครั้นถึงแก่ความตายผ้าผ่อนจะพันกายแม้แต่สักชิ้นหนึ่งก็ไม่มี ร่างกายก็ผอมโซดำมืดปราศจากสง่าราศรีได้แต่ร้องโหยหวนโอดครวญด้วยความหนาวเยือกเย็นจับใจ หิวโหยและกระจายจนเหลือที่จะอธิบายได้ว่ามีความทุกข์อย่างไร
บางคนเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ บางคนก็เป็นนักการเมืองตัวไม่ใช่ย่อย มีอำนาจล้นฟ้าเหมือนกัน จะชี้นิ้วสั่งการอะไรก็ได้ทั้งนั้น เพราะมีอำนาจเหลือหลาย ครั้นตายลงแล้ว ได้รับอาวุธบาดเจ็บทุกข์ทรมานแสนสาหัส หรือมีไฟลุกท่วมตัวอยู่ตลอดเวลา ต้องร้องดิ้นรนกระวนกระวายปิ่มว่าจะขาดใจตายหรือตายแล้วก็เกิดขึ้นมาใหม่ด้วยอำนาจของกรรมที่เรียกว่า กรรมชรูปได้ผลิตสร้างรูปกายขึ้นมาเรื่อย ๆ ตลอดเวลาอันนานแสนนาน
แม้สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้จะมีร่างกายเป็นปรมาณู แต่ก็มีจิตใจ และมีประสาทสัมผัสความร้อนหนาว หรือความเจ็บปวดได้เหมือนกายหยาบทั่วไป
ความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัสของสัตว์ทั้งหลายมากมายถึงดังนี้ ได้เป็นแรงบันดาลใจ ในเรื่องดังกล่าวก็มิใช่ผู้ใดผู้หนึ่งเท่านั้น ถ้าเขาผู้ซึ่งได้รับการศึกษาพระอภิธรรมมาอย่างซาบซึ้ง และมีประสบการณ์มากเขาผู้นั้นก็ยากที่จะอดทนอยู่ไหว จะต้องเพียรพยายามไขว่คว้าขวนขวายหาวิธีการใดหรือจะเป็นหนทาง ทางไหนก็ตาม ที่จะทำให้คนทั้งหลายมีความเชื่อว่า การเวียนว่ายตายเกิดนั้นมีจริงแท้แน่นอน การเกิดเป็นผีสางเทวดาหรือ นรก สวรรค์ ที่มีแสดงอยู่ทั่วไปในพระไตรปิฎกนั้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้แสดงเองมิได้เป็นศาสนาพราหมณ์แล้วพยายามยกขึ้นมาหลอกลวงเพื่อมิให้คนกระทำบาป อะไรบ้างมันจึงเกิดขึ้นมาได้ และในขณะที่แสดงออกซึ่งสัญชาตญาณนั้นมันทำงานกันอย่างไร ถ้าไม่มีชาติในอดีตแล้วจะเกิดสัญชาตญาณขึ้นมาเองได้หรือ ไม่มีเหตุแล้วจะมีผลเกิดขึ้นมาได้อย่างไรเล่า ในเรื่องนี้ผมได้ประกาศไปว่า ถ้าตอบได้มีรางวัลอันเป็นเงินส่วนตัวของผมเอง ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) จนถึงบัดนี้ก็เป็นเวลา ๒ ปีแล้วก็ยังไม่เห็นว่าจะมีผู้ให้คำตอบได้
ลูกศิษย์ของพระผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเป็นพระภิกษุ พยายามจะช่วยแก้ให้โดยกล่าวโจมตีผมว่า เห็นสอนพระอภิธรรมอยู่ดี ๆ แต่เดี๋ยวนี้เหตุใดจึงได้กลายเป็นพ่อมดหมอผีไปเสียเล่า ท่านไม่เคยได้ศึกษาพระอภิธรรมมาก่อนเลย แม้ในพระวินัยและพระสูตรท่านก็ยกเอาเรื่องผีสางเทวดาออกไปเสีย เพราะท่านเชื่ออาจารย์ใหญ่มิจฉาทิฏฐิของท่าน จึงหาได้ทราบไม่ว่าทั้ง ๓ ปิฎกนั้นสอนเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดและผีสางเทวดาอยู่ทั่วไป มีเหตุมีผล มีข้อเท็จจริง มีบทพิสูจน์พร้อมบริบูรณ์
แม้ในวินัยปิฎกซึ่งเป็นกฎข้อบังคับของสงฆ์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังบัญญัติไม่ปรับอาบัติพระภิกษุเพราะถูกผีเข้า
ท่านไม่เชื่อการเวียนว่ายตายเกิด อันเป็นทุกข์ยิ่งใหญ่มหาศาลของสัตว์ทั้งหลาย เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาแล้ว ท่านเป็นภิกษุขึ้นมาได้อย่างไร เพราะภิกษุหมายถึงผู้เห็นทุกข์โทษภัยในวัฏฏะ คำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาไม่ยอมให้เอาไว้ จะเอาแต่ศีลธรรมจรรยาที่บรรดาโลกเขาก็สอนกันอยู่ทั่วไปเท่านั้นหรือ แล้วหนทางเดินอันเอกอันมีอยู่สายเดียวที่ขึ้นชื่อลือชาเพระสมารถทำให้เกิดปัญญาพาให้พ้นทุกข์ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดไปเสียได้จะมีเอาไว้ทำไม แล้วพระพุทธศาสนาจะตั้งอยู่ต่อได้นานไปอีกสักเท่าใด ใคร ๆ เขาก็พากันเห็นว่า มีแต่ศีลธรรมจรรยาความตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน แล้วพระพุทธศาสนาจะไม่ล้มละลายไปโดยเร็วได้อย่างไร เพิ่งจะได้เพียง ๒๕๐๐ ปีเศษเท่านั้น จะรีบเร่งให้พระพุทธศาสนาสลายตัวไปเร็วนักทำไป แต่ไม่กลัวตกนรกเสียอย่างก็ทำได้ทั้งนั้น
บางท่านบวชมาตั้งแต่หนุ่มจนแก่ชรา แสดงธรรมะไปทั่วประเทศไทย หนังสือพิมพ์ออกจำหน่ายกองโตเป็นภูเขา แต่ไม่เคยแสดงการเวียนว่ายตายเกิดอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาเลยแม้แต่น้อย เฝ้าสอนแต่ศีลธรรมจรรยาไม่เคยได้อธิบายโทษภัยที่จะได้รับในชาติหน้า ประชาชนทั้งหลายก็เลยเข้าใจว่าชาติหน้าคงจะไม่มี เพราะแต่งตัวนุ่งเหลืองเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าก็ไม่เห็นท่านยืนยันแม้แต่สักครั้ง
ผมได้พยายามอยู่ทุกวิถีทางที่จะให้ประชาชนทั้งหลาย ได้ศึกษาความจริงของชีวิตอจิตใจ แต่ก็เป็นการแสนยากยิ่งที่จะให้คนทั้งหลายเห็นความจริงแล้วหันหน้ามาศึกษาได้ เพราะเรื่องของชีวิตจิตใจนั้นไม่ใช่ง่าย ๆ หากแต่ลึกซึ้งเกินกว่าผู้ใดจะคาดคะเนหรือหยั่งถึง ดังนั้น จึงต้องใช้วิธีการต่างๆ เท่าที่จะทำได้ แม้เรื่องนั้น ๆ บางท่านจะเห็นว่าเป็นความเพ้อฝัน ผมต้องยอมเอาอภิธรรมมูลนิธิเข้าไปเสี่ยงกับความเสียหาย แต่แน่ใจว่าประโยชน์ใหญ่จะต้องได้ในโอกาสต่อ ๆ ไป เพราะเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมาก จะเอาผลให้เกิดขึ้นมาโดยรวดเร็วกระไรได้อีกประการหนึ่ง จะให้ผมเอาเรื่องค้นคว้าหามาได้แสนยากยิ่งนั้นฝังจมดินตามผมไปเสียหรือ
--------------------------------------------------------------------
คุณตรงประเด็นครับ หากเชื่อว่า จิต คือการทำงานของสมอง และ ระบบประสาทต่าง ๆ
เมื่อตายเข้าโลง จิตก็ต้องดับสูญสิ้นไปด้วย
บาปบุญ หลักกรรมการเวียนว่ายตายเกิดก็ไม่มี
อย่าเอาอย่างท่านพุทธทาสนะครับ ที่ท่านปฏเสธเรื่องหลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
31 พ.ค.2008, 7:36 am |
  |
เฉลิมศักดิ์1 พิมพ์ว่า: |
คุณตรงประเด็นครับ หากเชื่อว่า จิต คือการทำงานของสมอง และ ระบบประสาทต่าง ๆ
เมื่อตายเข้าโลง จิตก็ต้องดับสูญสิ้นไปด้วย
บาปบุญ หลักกรรมการเวียนว่ายตายเกิดก็ไม่มี
|
การใช้ตรรกะว่า
"จิตต้องมีที่ตั้งอยู่ที่หัวใจ เพราะถ้าจิตไปตั้งอยู่ที่ระบบประสาทกลาง การเวียนว่ายตายเกิด(ชาติ แบบกำเนิด๔)จะไม่มีจริง"
นั้น เป็นตรรกะที่ ผิดอย่างแรง
เพราะ พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า การที่ต้องเกิดใหม่อีก นั้นเป็นเพราะยังมี อวิชชา ตัณหา อุปาทาน อยู่(กุตุหลสาลสูตร).... ไม่เกี่ยวกับการที่ว่า จิตมีที่ตั้งอยู่ที่ไหน ในร่างกายคนเลย
การใช้คำกล่าวของอาจารย์รุ่นหลังพุทธกาล(อรรกถาจารย์)มายืนยัน เรื่อง ที่ตั้งของจิตในร่างกายคน..... จน ทำให้บางท่านเข้าใจผิดว่า เป็นพระพุทธพจน์..... อาจจะทำให้คนรุ่นใหม่ปฏิเสธทั้งหมดของพระพุทธศาสนาเข้า |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
31 พ.ค.2008, 8:04 am |
  |
เกี่ยวกับ กระทู้นี้
ลองค้น กระทู้ไก่ไร้หัว จากลานธรรมเสวนา ที่คุณเฉลิมศักดิ์เคยตั้งเอาไว้ดูน่ะครับ
(ตอนนี้เว็บล่ม ....ถ้าเว็บแก้เสร็จ ผมจะทำลิ้งค์ให้)
คุณเฉลิมศักดิ์ท่านเชื่อว่า เจ้าไมค์ไก่ไร้หัว นั้นไม่เหลือเนื้อสมองติดกับตัวของมันเลย แต่ที่มันยังคงสามารถเดิน ยืน ได้.... ท่านเลยเชื่อว่า นี่ล่ะ คือหลักฐานที่ว่าจิตมีที่ตั้งอยู่ในหัวใจ
ลองอ่าน คห. ของคุณขออนุญาตของแท้ไม่มีสระอิ ให้ดีๆ
ตรงที่คุณขออนุญาตของแท้ไม่มีสระอิ นำหลักฐานการชันสูตรซากของเจ้าไมค์มาลง ว่าที่แท้เจ้าไมค์ยังคงมีสมองส่วนก้านสมอง และ หูข้างซ้าย ติดกับตัวมันอยู่.....
คุณเฉลิมศักดิ์ในตอนแรกๆ(ของกระทู้นั้น)ยังคงไม่ยอมเชื่อ คุณขออนุญาตของแท้ไม่มีสระอิ น่ะครับ.
กว่าที่คุณเฉลิมศักดิ์จะยอมรับว่าตนเองเข้าใจผิดไปเอง ก็ต้องถกกัน ปาเข้าไปไม่รู้กี่ร้อยความเห็น |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
01 มิ.ย.2008, 7:43 am |
  |
ตรงประเด็น พิมพ์ว่า: |
เกี่ยวกับ กระทู้นี้
ลองค้น กระทู้ไก่ไร้หัว จากลานธรรมเสวนา ที่คุณเฉลิมศักดิ์เคยตั้งเอาไว้ดูน่ะครับ
(ตอนนี้เว็บล่ม ....ถ้าเว็บแก้เสร็จ ผมจะทำลิ้งค์ให้)
คุณเฉลิมศักดิ์ท่านเชื่อว่า เจ้าไมค์ไก่ไร้หัว นั้นไม่เหลือเนื้อสมองติดกับตัวของมันเลย แต่ที่มันยังคงสามารถเดิน ยืน ได้.... ท่านเลยเชื่อว่า นี่ล่ะ คือหลักฐานที่ว่าจิตมีที่ตั้งอยู่ในหัวใจ
ลองอ่าน คห. ของคุณขออนุญาตของแท้ไม่มีสระอิ ให้ดีๆ
ตรงที่คุณขออนุญาตของแท้ไม่มีสระอิ นำหลักฐานการชันสูตรซากของเจ้าไมค์มาลง ว่าที่แท้เจ้าไมค์ยังคงมีสมองส่วนก้านสมอง และ หูข้างซ้าย ติดกับตัวมันอยู่.....
คุณเฉลิมศักดิ์ในตอนแรกๆ(ของกระทู้นั้น)ยังคงไม่ยอมเชื่อ คุณขออนุญาตของแท้ไม่มีสระอิ น่ะครับ.
กว่าที่คุณเฉลิมศักดิ์จะยอมรับว่าตนเองเข้าใจผิดไปเอง ก็ต้องถกกัน ปาเข้าไปไม่รู้กี่ร้อยความเห็น |
ขออนุญาต ทำลิ้งค์น่ะครับ
ไก่ไร้หัวแต่มีชีวิตอยู่ได้ ๑๘ เดือน
บทพิสูจน์ สมอง...ไม่ใช่จิต และ จิต...ไม่ใช่สมอง
http://larndham.net/index.php?showtopic=30642&st=0 |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
01 มิ.ย.2008, 8:33 am |
  |
ไก่ไร้หัวแต่มีชีวิตอยู่ได้ ๑๘ เดือน
http://larndham.net/index.php?showtopic=30642&st=0&hl=
บทพิสูจน์ สมอง...ไม่ใช่จิต และ จิต...ไม่ใช่สมอง
---------------------------------------------------------------
คุณหมอตรงประเด็นครับ ผมlink กระทู้มาให้แล้วครับ
คุณจะหัวเราะเยาะ อรรถกถา เหมือนที่คุณเคยทำใน ลานธรรมเสวนา ก็ทำได้นะครับ |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
01 มิ.ย.2008, 9:16 am |
  |
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ว่าด้วยนรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=29&A=488&w=ถ้ำ
------------------------------------------------------------------------------
ความเห็นของคุณหมอตรงประเด็นที่พยายาม เลี่ยงพระบาลี กล่าวตู่พระพุทธพจน์ ในทำนองว่า จิต คือ สมอง และ ระบบประสาท
http://larndham.net/index.php?showtopic=30642&st=46
อ้างอิงจาก: |
พระดำรัส ที่ตรัสเรื่อง "ว่าด้วยนรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย"
ความเห็นส่วนตัวน่ะครับ....
น่าจะเป็นลักษณะ เชิงอุปมาอุปมัย ว่า ผู้หลง(ข้อง)ในกาย ก็ เสมือนผู้ที่ไปหลง(ข้อง)ในถ้ำ.... คือ คนหลงถ้ำนี่มันคงจะมืดมนอนธกาลหาทางออกไม่เจอฉันใด คนที่หลงกายตนเองก็คงมืดมนอนธกาลหาทางออกไม่เจอฉันนั้น
อาจจะไม่สามารถนำมาสรุปว่า ถ้ำ ในพระพุทธวจนะที่ตรัสถึงจิตที่ว่า "มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย" นั้นหมายถึง ทั้งร่างกาย ได้ครับ....
เพราะเป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่า จิตอยู่ใน กายยาววาหนาคืบที่มีสัญญาและใจครอง นี้แน่นอน.....
ประเด็นตอนนี้ เรากำลังโฟกัสเข้าสู่ตรงที่ว่า
ถ้ำซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของจิตนั้น เป็นพระพุทธบรรยายที่บรรยายถึงอวัยวะใดในร่างกาย?
ระหว่าง โพรงกระโหลกศรีษะและช่องไขสันหลัง(อันเป็นที่ตั้งของCNS) กับ ห้องหัวใจ |
-------------------------------------------------------------------------------
คุณหมอครับ ลองทำสมาธิจนได้ฌาน แล้วติดตามดูที่ตั้งของจิต ขณะมีการผ่าตัดดูสิครับ คุณอาจจะเห็นสิ่งเดียวกันกับ อรรถกถาหรือ พระอรหันต์อย่างพระพุทธโฆษาจารย์ อธิบายไว้ก็ได้ในคัมภีร์ วิสุทธิมรรค (อย่าพึ่งไปเชื่อว่าท่านคือผู้ทำลายพระศาสนา ตามที่ท่านพุทธทาสกล่าวโจมตีท่านนะครับ คุณหมอ )
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/060.htm
๓. ปรจิตตวิชานนญาณ หรือ เจโตปริยญาณ ญาณที่รู้จิตใจผู้อื่น ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยอาศัยทิพพจักขุอีกต่อหนึ่ง และทิพพจักขุก็เกิดขึ้นจากการเจริญเตโชกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ หรือ อาโลกกสิณ กสิณใดกสิณหนึ่งใน ๔ กสิณนี้เป็นบาทมาก่อน เมื่อมีทิพพจักขุแล้วจึงจะทำให้เกิด เจโตปริยญาณได้
วิธีบำเพ็ญให้เกิด เจโตปริยญาณ ต้องอาศัยเช่น อาโลกกสิณ เป็นต้น เป็นบาท ก็จะเกิดทิพพจักขุเห็นสีของน้ำ คือ หทยวัตถุอันเป็นที่อาศัยให้เกิดจิต ถ้าเห็นน้ำนั้นเป็นสีแดงขณะนั้นจิตใจของผู้นั้นเป็นโสมนัส น้ำเป็นสีดำจิตเป็นโทมนัส น้ำเป็นสีน้ำมันงาจิตเป็นอุเบกขา เมื่อรู้สมุฏฐานดังนี้แล้ว ก็พึงกระทำเพื่อให้รู้แจ้งโดยเจโตปริยญาณ ในอาการของจิต ๑๖ อย่าง มีจิตที่มีราคะ จิตที่ไม่มีราคะ จิตที่มีโทสะ จิตที่ไม่มีโทสะ เหล่านี้เป็นต้น เช่นเดียวกับใน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดังที่กล่าวไว้ในคู่มือ ปริจเฉทที่ ๗ นั้นแล้ว
(จิต ๑๖ อย่าง มี ๑.จิตที่มีราคะ ๒.จิตที่ไม่มีราคะ ๓.จิตที่มีโทสะ ๔.จิตที่ไม่มีโทสะ ๕.จิตที่มีโมหะ ๖.จิตที่ไม่มีโมหะ ๗.จิตที่มีถีนมิทธะ ๘.จิตที่ฟุ้งซ่าน ๙.จิตที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร ๑๐.จิตที่ไม่ใช่รูปาวจร อรูปาวจร (หมายถึง กามาวจร) ๑๑.จิตที่เป็นกามาวจร ๑๒.จิตที่ไม่ใช่โลกุตตร(หมายถึง รูปาวจร และอรูปาวจร) ๑๓.จิตที่เป็นสมาธิ ๑๔.จิตที่ไม่เป็นสมาธิ ๑๕.จิตที่ประหารกิเลส พ้นกิเลส ๑๖.จิตที่ไม่ได้ประหารกิเลส ไม่พ้นกิเลส)
-----------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------
คัมภีร์วิสุทธิมรรค ( การเจริญวิปัสสนาของผู้ได้ฌาน )
http://www.larnbuddhism.com/visut/3.8.html
อญฺญตรโต วุฏฺาย เมื่อออกจากสมาบัติอันใดอันหนึ่งที่ตนได้จำเริญแล้ว ก็พึงพิจารณาซึ่งองค์แห่งญาณ มีวิตกเป็นอาทิเจตสิกธรรมทั้งปวงแต่บรรดาที่สัมปยุตด้วยองค์แห่งฌานนั้น ให้แจ้งโดยลักษณะแลกิจแลปัจจุปปัฏฐาน แลอาสันนการณ์แห่งองค์ฌานแลธรรมอันสัมปยุตด้วยองค์ฌานนั้นแล้ว ก็พึงกำหนดกฏหมายว่าองค์ฌาน แลธรรมอันสัมปยุตด้วยองค์ฌานนี้ แต่ล้วนเป็นนามธรรมทั้งสิ้น ด้วยอรรถว่าน้อมไปจำเพาะหน้าสู่อารมณ์ เมื่อกำหนดกฏหมายดังนี้แล้ว แลแสวงหาที่อยู่แห่งนามธรรมนั้น ก็จะเห็นแจ้งว่าหทัยวัตถุเป็นที่อยู่แห่งนามธรรม แลเป็นที่อาศัยแห่งนามธรรม ยถา นาม ปุริโส มีอุปมาดุจบุรุษอันเห็นอสรพิษ ณ ภายในเรือน อนุพนฺธมโน บุรุษผู้นั้นติดตามสกัดดู ก็รู้แจ้งว่าอสรพิษอยู่ที่นี่ ๆ และมีอุปมาฉันใด พระโยคาพจรผู้แสวงหาที่อยู่แห่งนามธรรมนั้นก็เห็นแจ้งว่าหทัยวัตถุ เป็นที่อยู่แห่งนามธรรมมีอุปไมยดังนี้
รูปํ ปริคฺคณฺเหติ แล้วพระโยคาพจรเจ้าพิจารณารูปธรรมต่อไปเล่า ก็เห็นแจ้งหทัยวัตถุนั้นอาศัยซึ่งภูตรูปแลรูป ๆ ทั้ง ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย นั้นเป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุ คืออุปาทายรูปอื่น ๆ จากหทัยวัตถุนั้นก็อาศัยภูตรูปสิ้นด้วยกัน
เรียกว่ารูป ๆ นั้น ด้วยอรรถว่ารู้ฉิบหายด้วยอุปัทวะอันตรายต่าง ๆ____________________________________ |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
05 มิ.ย.2008, 9:09 pm |
  |
เรื่อง การไม่เชื่อคัมภีร์ง่ายๆ ตามหลักกาลามสูตร ก็มีประโยชน์น่ะครับ
ตัวผมนั้น ถือหลักจากกาลามสูตร ให้พิจารณาไตร่ตรองคัมภีร์ต่างๆก่อนจะเชื่อ
โดยเฉพาะ คัมภีร์ระดับที่รองลงมาจากพระสูตร-วินัย
ขอยกตัวอย่าง เพิ่มเติม
ถึงเรื่องที่ว่า คัมภีร์ระดับหลังควรพิจารณาให้รอบครอบก่อน จึงเชื่อ
เช่น เรื่อง มาตรวัดความยาว ที่ใช้ในทางคัมภีร์รุ่นหลัง
ในปกรณ์สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาวิภังคปกรณ์ ฌานวิภังค์ไว้ ตอนหนึ่งว่า
๑. ชื่อว่า ปรมาณู ๒. ชื่อว่า อณู
๓. ชื่อว่า ตัชชารี ๔. ชื่อว่า รถเรณู
๕. ชื่อว่า ลิกขา ๖. ชื่อว่า โอกา (อูกา)
๗. ชื่อว่า ธัญญมาส ๘. ชื่อว่า อังคุละ
๙. ชื่อว่า วิทัตถิ ๑๐. ชื่อว่า รตนะ
๑๑. ชื่อว่า ยัฏฐิ ๑๒. ชื่อว่า อุสภะ
๑๓. ชื่อว่า คาวุต ๑๔. ชื่อว่า โยชน์
แปลว่า บรรดาชื่อเหล่านั้น ชื่อว่า ปรมาณู เป็นส่วนแห่งอากาศ(อนุภาคที่เล็กที่สุดซึ่งเห็นด้วยตาเนื้อไม่ได้ เห็นได้ด้วยทิพยจักษุ) ไม่มาสู่คลองแห่งตาเนื้อ ย่อมมาสู่คลองแห่งทิพยจักษุเท่านั้น. ชื่อว่า อณู คือรัศมีแห่งพระอาทิตย์ที่ส่องเข้าไปตามช่องฝา ช่องลูกดาล เป็นวงกลม ๆ ด้วยดี ปรากฏ หมุนไปอยู่. ชื่อว่า ตัชชารี (สิ่งที่เกิดจากอณูนั้น) เพราะเจาะที่ทางโค ทางมนุษย์ และทางล้อแล้วปรากฏพุ่งไปเกาะที่ข้างทั้งสอง. ชื่อว่า รถเรณู (ละอองรถ) ย่อมติดอยู่ที่รถนั้น ๆ นั่นแหละ. ชื่อว่า ลิกขา (ไข่เหา) เป็นต้นปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น.
ก็ในคำเหล่านั้น พึงทราบประมาณดังนี้
๓๖ ปรมาณู ประมาณ ๑ อณู
๓๖ อณู ๑ ตัชชารี
๓๖ ตัชชารี ๑ รถเรณู
๓๖ รถเรณู ๑ ลิกขา
๗ ลิกขา ๑ โอกา
๗ โอกา ๑ ธัญญมาส
๗ ธัญญมาส ๑ อังคุละ
๑๒ อังคุละ ๑ วิทัตถิ
๑๒ วิทัตถิ ๑ รัตนะ
๗ รตนะ ๑ ยัฏฐิ
๒๐ ยัฏฐิ ๑ อุสภะ
๘๐ อุสภะ ๑ คาวุต
๔ คาวุต ๑ โยชน์
๑๐,๐๖๘ โยชน์ ๑ ภูเขาสิเนรุราช.
ธัญญมาสะ หมายถึง ข้าวเปลือก คือขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นจากตัวเหา จะเป็น ขนาดของข้าวเปลือก ด้วยความสัมพันธ์ว่า ตัวเหา (อูกา) 7 ตัว มีขนาดเท่ากับความยาวของเมล็ดข้าวเปลือกหนึ่งเมล็ด
อังคุลี โดยศัพท์ หมายถึง "กิ่งแห่งแขน" ก็คือนิ้ว มีขนาดเท่ากับ เมล็ด ข้าวเปลือก 7 เมล็ด
วิทัตถิ ท่านวิเคราะห์ว่า "นิ้วหัวแม่มือพร้อมทั้งนิ้วก้อยอันบุคคลย่อมกางออก คือว่าย่อมเหยียดออก" หมายถึง คืบ โดยขนาดของวิทัตถิ (คืบ) นั้น เท่ากับ 12 อังคุลี (นิ้ว)
ลองไปค้นดูจากอินเตอร์เน็ต
ว่า ความยาวของเมล็ดข้าวเปลือกยาวเท่าไร
"....เมล็ดข้าวเปลือกยาวไม่น้อยกว่า ๙.๐ มิลลิเมตร..."
http://www.rakbankerd.com/agriculture/standardthaiplants/pratumrice/standard13.htm
"...เมล็ดข้าวเปลือกมีขนาดความยาว; 9.88 มม. กว้าง 3.84 มม.หนา 2.18 มม..."
ข้อมูลพันธุ์พืชกรมวิชาการเกษตร
สรุปว่า ความยาวของเมล็ดข้าวเปลือกหนึ่งเมล็ด จะมากกว่า9 มม.ขึ้นไป
ทีนี้ ลองมาดู มาตรวัดในคัมภีร์น่ะครับ
๗ ธัญญมาส = ๑ อังคุละ
๑๒ อังคุละ = ๑ วิทัตถิ(คืบ)
ดังนั้น ๑คืบ เท่ากับ ๑๒ x ๗ หรือ = ๘๔ธัญญมาศ...ใช่ไหมครับ
๑ธัญญมาศ ประมาณ 9 มม.(ขึ้นไป)
๘๔ ธัญญมาศ ....หรือ ๑คืบ ของทางคัมภีร์ ก็จะเท่ากับ 75.6 ซม. (ขึ้นไป)
ครับ
๑คืบ ของทางคัมภีร์ ก็จะเท่ากับ 75.6 ซม. (ขึ้นไป)!!!
คืบคนน่ะครับ.... ไม่ใช่คืบไดโนเสาร์ จะได้ยาวขนาดนั้น
และ คนในสมัยของคัมภีร์นั้น ก็ไม่ได้ตัวใหญ่ขนาดไดโนเสาร์เสียหน่อย
ลองดูเครื่องใช้ ของคนในสมัยจิ๋นซีสิครับ (ประมาณ200ปี หลังพุทธกาล) ...น่าจะใกล้เคียงกับพระคัมภีร์ ตัวไม่ใช่ใหญ่ขนาดไดโนเสาร์เสียหน่อย
ดังนั้น เรื่อง รูปปรมาณู ที่กล่าวมาทั้งหมดในพระคัมภีร์ยุคหลัง
ต้องไตร่ตรองอย่างละเอียดด้วยน่ะครับ
ปล.... คำว่า รูปปรมาณู ไม่ใช่พุทธพจน์ครับ
ค้นไม่พบในพระไตรปิฎก |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
05 มิ.ย.2008, 9:27 pm |
  |
ส่วน ความเห็นของอาจารย์รุ่นหลัง ที่ว่า
ตัวอ่อนมนุษย์ในระยะแรก ที่เรียกว่า กลละรูปเป็นรูปปรมาณู โดยที่กล้องจุลทรรศน์ส่องไม่เห็น....
ก็ต้องใช้ หลักกาลามสูตร เช่นกันครับ
อ้างอิงจาก: |
ตั้งแต่ปฏิสนธิเป็นต้นไป ทั้งๆ ที่ไม่สามารถมองเห็น หรือส่องกล้องดูได้ เพราะยังเป็นน้ำใส คือ กลละ อยู่ แต่สัตว์นั้นก็มีจิต เจตสิก รูป อยู่พร้อมเพรียง อารมณ์ก็เกิดได้ แต่เป็นอารมณ์อ่อนมาก เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเพิ่งจะได้ตั้งต้นรูปที่เกิดขึ้นด้วยพลังงานของกรรม เพิ่งเริ่มวางรากฐาน
เหตุนี้อารมณ์ที่เกิดขึ้นจึงเหมือนกับเราหลับๆ ตื่นๆ หรือ ฝันไปดีบ้างร้ายบ้าง ไปตามอำนาจของกรรมที่ได้สั่งสมติดตามมา ตื่นขึ้นก็เล่าความฝันไม่ค่อยถูก เวลานี้ผู้ใดได้ประหารเด็กในครรภ์ ก็ได้ชื่อว่าฆ่ามนุษย์แล้วโดยสมบูรณ์ |
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/BM/how.doc
และ คุณเฉลิมศักดิ์กล่าวไว้ว่า
อ้างอิงจาก: |
ด้วยอำนาจกรรมนี้ ได้ผันแปร เชื้อของมารดา บิดา ให้เป็น กลละ อันเป็นรูปปรมาณู |
http://larndham.net/index.php?showtopic=30642&st=73
รูปปรมาณูที่กล่าวถึง ขนาดมิติ ประมาณ 10มม. หารด้วย 82300000 คือ ประมาณ .0000001 มม..... ขนาดเท่านี้ ตาเปล่ามองไม่เห็นแน่ๆ และ กล้องจุลทรรศน์ก็มองไม่เห็นเช่นกัน
แต่ ในเมื่อ กลละรูป หรือ ตัวอ่อนในษย์ในสัปดาห์แรก ขนาดประมาณ0.15มม.... ขนาดเท่านี้ ตาเปล่ามองลำบากครับ แต่ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องเห็นแน่ๆ
แล้ว กลละรูป จะไปกลายเป็นรูปรมาณู ที่ทั้งตาเปล่ามองไม่เห็น และ กล้องจุลทรรศน์ก็ส่องไม่เห็นไปได้อย่างไรครับ???
ลองพิจารณาขนาดดูน่ะครับ
1.ไข่ที่สุกพร้อมจะถูกผสม(เชื้อของมารดา) นี้มีขนาดประมาณ 0.1มม..... และ อสุจิ(เชื้อของบิดา)ที่มีขนาดเล็กว่าไข่มาก
2.ไซโกต ที่เกิดจากการที่ไข่ถูกผสมกับอสุจิ หลังปฏิสนธิกาล นี้มีขนาดประมาณ 0.15มม
อย่าลืมว่า ไซโกต หรือ กลละรูป นั้น เป็นขั้นตอนที่พัฒนาต่อมาจากขั้นตอนของไข่ น่ะครับ....
ไม่มีทางหรอกครับ ที่จู่ๆไข่ขนาด0.1มม ที่กล้องจุลทรรศน์สามารถส่องเห็น จะ กลายสภาพเป็น กลละรูปปรมาณู ขนาด.0000001มม. ที่กล้องจุลทรรศน์ส่องไม่เห็น
กลละรูป คือ ช่วงไหนของตัวอ่อนมนุษย์???
ท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์
กล่าวเรื่อง กลละรูป.....ไว้ อย่างน่าศึกษา
จาก http://www.clinicrak.com/messages/viewmessage.php?id=0147&maintype=บทความเกี่ยวกับคุมกำเนิด-ท้อง-แท้ง
ชีวิตในครรภ์ เป็นอย่างไร ?
ทีนี้ก็ไปดูฝ่าย กลละ อีกทีหนึ่ง เป็นการดูในฝ่ายรูปธรรมในเรื่องนี้ก็มีพระสูตรอีกสูตรหนึ่ง ที่ตรัสว่าด้วยลำดับของชีวิตในครรภ์มารดา ซึ่งเราไปพบคำบาลีเป็นคาถาว่า
ปฐมํ กลลํ โหติ กลลา โหติ อพฺพุทํ
อพฺพุทา ชายเต เปสิ เปสิ นิพฺพตฺตตี ฆโน
ฆนา ปสาขา ชายนฺติ เกสา โลมา นขาปิ จ
(สํ.ส.15/803/303; อภิ.ก.37/1560/524)
นี่คือคำอธิบายว่าด้วยลำดับการเกิดเป็นระยะๆ ทีละช่วงสัปดาห์ หรือช่วงละเจ็ดวันๆ ลำดับแรกที่สุดก็คือ เป็น ปฐมํ กลลํ เป็นกลละก่อน
กลละ นี่ถ้าเป็นคำศัทพ์ในความหมายทั่วไปก็จะได้แก่ พวกเมือก พวกโคลนตม เช่นว่าเหยียบลงไปในโคลนหรือในที่เละ แต่ในที่นี้ กลละ เป็นศัพท์เฉพาะซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับชีวิต และท่านใช้คำเรียกอย่างนั้น ก็เพราะมีลักษณะเป็นเมือก หรือเหมือนอย่างน้ำโคลนเละๆ คือเป็นคำเรียกตามลักษณะแต่ในกรณีนี้ ท่านหมายถึงเป็นเมือกใส ไม่ใช่ข้นอย่างโคลนตม
กลละ นี้ ท่านบอกว่าเป็นหยาดน้ำใส เป็นหยดที่เล็กเหลือเกิน เล็กจนกระทั่งในสมัยนั้นไม่รู้จะพูดกันอย่างไร เพราะยังไม่ได้ใช้มาตราวัดอย่างละเอียดถึงขนาดที่ว่า เป็นเศษส่วนเท่าไรของมิลลิเมตรของเซนติเมตร หรือของนิ้ว ท่านก็เลยต้องใช้วิธีอุปกมาว่า หยาดน้ำใสกลละนี้นะ มีขนาดเล็กเหลือเกินเหมือนอย่างเอาขนจามรีมา จามรีที่เป็นสัตว์อยู่ทางภูเขาหิมาลัย ซึ่งมีขนที่ละเอียดมาก เอาขนจามรีเส้นหนึ่งมาจุ่มน้ำมันงา แล้วก็สลัดเจ็ดครั้ง แม้จะสลัดเจ็ดครั้งแล้วมันก็ยังมีเหลือติดอยู่นิดหนึ่ง ซึ่งเล็กเหลือเกิน ท่านบอกว่านี้แหละเป็นขนาดของกลละ กลละหมายถึงชีวิตในฝ่ายรูปธรรม เมื่อเริ่มกำเนิดในเจ็ดวันแรก ในช่วงเจ็ดวันแรกเป็นเป็นกลละอย่างนี้ก่อน ซึ่งเล็กเหลือเกิน แล้วต่อจากกลละนี้ไปในสัปดาห์ที่สองก็เป็น อัพพุทะ |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
06 มิ.ย.2008, 5:01 am |
  |
ความเห็นของคุณหมอตรงประเด็นที่พยายาม เลี่ยงพระบาลี กล่าวตู่พระพุทธพจน์ ในทำนองว่า จิต คือ สมอง และ ระบบประสาท
http://larndham.net/index.php?showtopic=30642&st=46
อ้างอิงจาก: |
พระดำรัส ที่ตรัสเรื่อง "ว่าด้วยนรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย"
ความเห็นส่วนตัวน่ะครับ....
น่าจะเป็นลักษณะ เชิงอุปมาอุปมัย ว่า ผู้หลง(ข้อง)ในกาย ก็ เสมือนผู้ที่ไปหลง(ข้อง)ในถ้ำ.... คือ คนหลงถ้ำนี่มันคงจะมืดมนอนธกาลหาทางออกไม่เจอฉันใด คนที่หลงกายตนเองก็คงมืดมนอนธกาลหาทางออกไม่เจอฉันนั้น
อาจจะไม่สามารถนำมาสรุปว่า ถ้ำ ในพระพุทธวจนะที่ตรัสถึงจิตที่ว่า "มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย" นั้นหมายถึง ทั้งร่างกาย ได้ครับ....
เพราะเป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่า จิตอยู่ใน กายยาววาหนาคืบที่มีสัญญาและใจครอง นี้แน่นอน.....
ประเด็นตอนนี้ เรากำลังโฟกัสเข้าสู่ตรงที่ว่า
ถ้ำซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของจิตนั้น เป็นพระพุทธบรรยายที่บรรยายถึงอวัยวะใดในร่างกาย?
ระหว่าง โพรงกระโหลกศรีษะและช่องไขสันหลัง(อันเป็นที่ตั้งของCNS) กับ ห้องหัวใจ |
-------------------------------------------------------------------------------
คุณหมอครับ ลองทำสมาธิจนได้ฌาน แล้วติดตามดูที่ตั้งของจิต ขณะมีการผ่าตัดดูสิครับ คุณอาจจะเห็นสิ่งเดียวกันกับ อรรถกถาหรือ พระอรหันต์อย่างพระพุทธโฆษาจารย์ อธิบายไว้ก็ได้ในคัมภีร์ วิสุทธิมรรค (อย่าพึ่งไปเชื่อว่าท่านคือผู้ทำลายพระศาสนา ตามที่ท่านพุทธทาสกล่าวโจมตีท่านนะครับ คุณหมอ )
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/060.htm
๓. ปรจิตตวิชานนญาณ หรือ เจโตปริยญาณ ญาณที่รู้จิตใจผู้อื่น ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยอาศัยทิพพจักขุอีกต่อหนึ่ง และทิพพจักขุก็เกิดขึ้นจากการเจริญเตโชกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ หรือ อาโลกกสิณ กสิณใดกสิณหนึ่งใน ๔ กสิณนี้เป็นบาทมาก่อน เมื่อมีทิพพจักขุแล้วจึงจะทำให้เกิด เจโตปริยญาณได้
วิธีบำเพ็ญให้เกิด เจโตปริยญาณ ต้องอาศัยเช่น อาโลกกสิณ เป็นต้น เป็นบาท ก็จะเกิดทิพพจักขุเห็นสีของน้ำ คือ หทยวัตถุอันเป็นที่อาศัยให้เกิดจิต ถ้าเห็นน้ำนั้นเป็นสีแดงขณะนั้นจิตใจของผู้นั้นเป็นโสมนัส น้ำเป็นสีดำจิตเป็นโทมนัส น้ำเป็นสีน้ำมันงาจิตเป็นอุเบกขา เมื่อรู้สมุฏฐานดังนี้แล้ว ก็พึงกระทำเพื่อให้รู้แจ้งโดยเจโตปริยญาณ ในอาการของจิต ๑๖ อย่าง มีจิตที่มีราคะ จิตที่ไม่มีราคะ จิตที่มีโทสะ จิตที่ไม่มีโทสะ เหล่านี้เป็นต้น เช่นเดียวกับใน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดังที่กล่าวไว้ในคู่มือ ปริจเฉทที่ ๗ นั้นแล้ว
(จิต ๑๖ อย่าง มี ๑.จิตที่มีราคะ ๒.จิตที่ไม่มีราคะ ๓.จิตที่มีโทสะ ๔.จิตที่ไม่มีโทสะ ๕.จิตที่มีโมหะ ๖.จิตที่ไม่มีโมหะ ๗.จิตที่มีถีนมิทธะ ๘.จิตที่ฟุ้งซ่าน ๙.จิตที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร ๑๐.จิตที่ไม่ใช่รูปาวจร อรูปาวจร (หมายถึง กามาวจร) ๑๑.จิตที่เป็นกามาวจร ๑๒.จิตที่ไม่ใช่โลกุตตร(หมายถึง รูปาวจร และอรูปาวจร) ๑๓.จิตที่เป็นสมาธิ ๑๔.จิตที่ไม่เป็นสมาธิ ๑๕.จิตที่ประหารกิเลส พ้นกิเลส ๑๖.จิตที่ไม่ได้ประหารกิเลส ไม่พ้นกิเลส)
-----------------------------------------------------------------------
คัมภีร์วิสุทธิมรรค ( การเจริญวิปัสสนาของผู้ได้ฌาน )
http://www.larnbuddhism.com/visut/3.8.html
อญฺญตรโต วุฏฺาย เมื่อออกจากสมาบัติอันใดอันหนึ่งที่ตนได้จำเริญแล้ว ก็พึงพิจารณาซึ่งองค์แห่งญาณ มีวิตกเป็นอาทิเจตสิกธรรมทั้งปวงแต่บรรดาที่สัมปยุตด้วยองค์แห่งฌานนั้น ให้แจ้งโดยลักษณะแลกิจแลปัจจุปปัฏฐาน แลอาสันนการณ์แห่งองค์ฌานแลธรรมอันสัมปยุตด้วยองค์ฌานนั้นแล้ว ก็พึงกำหนดกฏหมายว่าองค์ฌาน แลธรรมอันสัมปยุตด้วยองค์ฌานนี้ แต่ล้วนเป็นนามธรรมทั้งสิ้น ด้วยอรรถว่าน้อมไปจำเพาะหน้าสู่อารมณ์ เมื่อกำหนดกฏหมายดังนี้แล้ว แลแสวงหาที่อยู่แห่งนามธรรมนั้น ก็จะเห็นแจ้งว่าหทัยวัตถุเป็นที่อยู่แห่งนามธรรม แลเป็นที่อาศัยแห่งนามธรรม ยถา นาม ปุริโส มีอุปมาดุจบุรุษอันเห็นอสรพิษ ณ ภายในเรือน อนุพนฺธมโน บุรุษผู้นั้นติดตามสกัดดู ก็รู้แจ้งว่าอสรพิษอยู่ที่นี่ ๆ และมีอุปมาฉันใด พระโยคาพจรผู้แสวงหาที่อยู่แห่งนามธรรมนั้นก็เห็นแจ้งว่าหทัยวัตถุ เป็นที่อยู่แห่งนามธรรมมีอุปไมยดังนี้
รูปํ ปริคฺคณฺเหติ แล้วพระโยคาพจรเจ้าพิจารณารูปธรรมต่อไปเล่า ก็เห็นแจ้งหทัยวัตถุนั้นอาศัยซึ่งภูตรูปแลรูป ๆ ทั้ง ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย นั้นเป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุ คืออุปาทายรูปอื่น ๆ จากหทัยวัตถุนั้นก็อาศัยภูตรูปสิ้นด้วยกัน
เรียกว่ารูป ๆ นั้น ด้วยอรรถว่ารู้ฉิบหายด้วยอุปัทวะอันตรายต่าง ๆ____________________________________
เรียนท่านสมาชิก ทุกท่าน คุณหมอตรงประเด็นคนนี้แหละครับ ที่ตามคัดค้าน อรรถกถา ในเรื่องของ น้ำเลี้ยงสีของหัวใจตามจริตต่าง ๆ และเรื่อง ที่ตั้งของ จิต คือ หทยวัตถุ จนถึงขั้นหัวเราะเยาะคำสอนของอรรถกถาจารย์
พยายามจะโยงไปสู่วิชากการสมัยใหม่ว่า สมอง คือ จิต
คุณหมอคนนี้รับไม่ได้ เพราะผ่าตัดทีไร ไม่เห็นมีน้ำเลี้ยงดังอรรถาธิบาย
ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจทีไร ก็ต้องเปลี่ยน หทยวัตถุ ไปด้วย
คุณหมอคนนี้แหละครับ ที่คิดจะแก้ไข อรรถาธิบาย ให้ตรงกับวิชาการทางโลกที่ตนเคยเรียนมา
จึงควรระมัดระวัง ความเห็นของคุณหมอคนนี้ให้ดี |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
06 มิ.ย.2008, 5:08 am |
  |
คุณหมอตรงประเด็น มักจะเชื่อถือคำสอนของหลวงปู่หลวงพ่อสมัยหลัง เพราะคิดว่าท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ น่าจะสอนถูกกว่า พระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ของเถรวาททั้งหลาย
จึงพยายามเผยแพร่คำสอนของอาจารย์ เพื่อสร้างความไม่น่าเชื่อถือให้กับ คัมภีร์ของเถรวาท เช่น พระอภิธรรม เป็นต้น
จากลานธรรมเสวนา
http://larndham.net/index.php?showtopic=31840&st=84
จาก หนังสือ ธรรมะน้ำล้างธรรมะโคลน หน้า92
นักอภิธรรมอ้างผู้อื่น-ด่าผู้อื่น
ถาม: ทีนี้ ผมสงสัยว่าทำไมคนที่อ้างตนว่าเป็นนักอภิธรรม แล้วชอบไปอ้างคำของคนอื่น เพื่อด่าคนอื่นด้วยเล่าครับ?
ตอบ: นั่นคุณสงสัย เป็นเรื่องของคุณ ผมไม่ต้องตอบดอก
คนที่เป็นนักอภิธรรมนี้ ปรากฏว่ายังมีที่ด่าคนเก่ง โกรธเก่ง โกรธง่าย โกรธเร็ว หาเรื่องหาเลศได้มาก. และบางทีทำอะไรรุนแรงเกี่ยวกับเรื่องผัวเมีย เรื่องกามารมณ์ด้วย.นี่ไม่ต้องตอบดอก ไม่ต้องตอบเพราะมันจะเป็นเรื่องด่าคนอื่นไปอีก.
โดยคุณตรงประเด็น
---------------------------------------------------------------
อภิธรรมคืออะไร? โดยท่านพุทธทาส (40หน้าแรก)
http://larndham.net/index.php?showtopic=11582&st=0
ทีนี้ถ้าว่าเกินไปกว่านั้น ก็ใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ ขอให้ระวังให้ดี มันจะเผลอถึงกับใช้อภิธรรมเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ แสวงหาเรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติ โดยใช้อภิธรรมเป็นเครื่องมือ อย่างนี้แล้วหมดเลย. มันผิดความประสงค์ มันผิดอะไรหมด ขอให้ระวังในส่วนนี้ด้วย ว่าประโยชน์มันจะเลยขอบเขตไปถึงอย่างนี้. ถ้ามันถึงอย่างนี้แล้วนักอภิธรรมนั้นจะตกอยู่ในธรรมดำ มีจิตใจประกอบไปด้วยกิเลส หวงแหน หรือว่าขายเป็นสินค้า หรือว่าใครไปแตะต้องเข้านิดเดียวก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ. อาตมาพูดประโยคเดียวว่าอภิธรรมมิได้อยู่ในรูปของพุทธวจนะ นี้ถูกด่าตั้งกระบุงโดยพวกที่หวงอภิธรรม. นี่คือมันหลงยึดมั่นถือมั่นเรื่องขลังศักดิ์สิทธิ์มากเกินไปแล้ว.
ทีนี้เลยไปกว่านั้น ก็ว่าเดี๋ยวนี้ถูกเขาใช้อภิธรรมเป็นเครดิตของสำนักวิปัสสนา. สำนักวิปัสสนาไหนต้องยกอภิธรรมขึ้นป้ายเป็นเครดิต เอามาเรียนกันก่อน เป็นนักอภิธรรมกันก่อน. ครั้งพุทธกาลไม่เคย และไม่เกี่ยวกันกับนักวิปัสสนา. อภิธรรมเป็นข้าศึกกันกับวิปัสสนา; เดี๋ยวนี้เอาอภิธรรมมาเป็นป้าย เป็นยี่ห้อ เป็นเครื่องมือ โฆษณาชวนเชื่อของวิปัสสนา.
------------------------------------------------------------------ |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
06 มิ.ย.2008, 5:28 am |
  |
นอกจากคุณหมอตรงประเด็นแห่งลานธรรมนี้ จะไม่เชื่อในเรื่อง หทยวัตถุ น้ำเลี้ยงหัวใจ ยังไม่เชื่อ เรื่อง
ปักขบัณเฑาะก์ (กะเทย)...ที่จิตใจเปลี่ยนตามวงโคจรดวงจันทร์
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16073
เพราะทางวิชาการทางแพทย์ คงจะงึด (ภาษาอีสาน แปลว่า amazing)
แต่ผมว่ากระเทญแบบนี้คงมีจริง แต่ยังไม่มีใครกล้าออกมาแสดงตนเท่านั้น
ในอนาคต คุณหมอตรงประเด็นคงมีเรื่องที่สงสัย คัดค้านอีกหลาย ๆ เรื่องแน่ |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
06 มิ.ย.2008, 7:21 am |
  |
เผื่อใครอยากอ่าน พระสัพพัญญุตาญาณ ของพระพุทธองค์ ที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันตะลึง
(คบล่ะแบบ กับที่บางสำนัก ชอบอ้างข้อมูลวิทยาศาสตร์แบบมั่วๆ พอถูกค้าน ก็โกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง)
ลองอ่าน "ตาทิพย์" เห็นกำเนิดชีวิตในครรภ์
"....ปฐมํ กลลํ โหติ กลลา โหติ อพฺพุทํ
อพฺพุทา ชายเต เปสิ เปสิ นิพฺพตฺตเต ฆโน
ฆนา ปสาขา ชายนฺติ เกสา โลมา นขาปิ จ ...."
จากพระบาลีข้างบนนั้น พอจะถอดใจความได้ว่า
..
ในสัปดาห์แรก -- แห่งการเปฎิสนธินั้น เกิดขึ้นเป็นกลลรูป คือ เป็นหยดน้ำใสเหมือนน้ำมันงา..........
ในสัปดาห์ที่สอง -- หลังจากกลลรูป เกิดเป็นอัพพุทรูป มีลักษณะเป็นฟองสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ........
ในสัปดาห์ที่สาม หลังจากอัพพุทรูป เกิดเป็นเปสิรูป มีลักษณะเหมือนชิ้นเหลวๆ สีแดง.........
ในสัปดาห์ที่สี่ หลังจากเปสิรูป เกิดเป็นฆนรูป มีลักษณะเป็นก้อน มีสัณฐานเหมือนไข่ไก่.......
ในสัปดาห์ที่ ๕ เกิดปุ่มขึ้น ๕ แห่ง เพื่อเป็นมือและเท้าอย่างละ ๒ และเป็นศีรษะ ๑.
ต่อจากนั้น คือระหว่างสัปดาห์ที่ ๑๒ ถึงสัปดาห์ที่ ๔๒ ผม ขน เล็บ เหล่านี้เกิดขึ้น ฯลฯ.......
###ในสัปดาห์แรก
ภาษาบาลีเรียกว่า กลละ
มีประมาณเท่าหยาดน้ำมันงา ซึ่งตั้งอยู่ที่ปลายเส้นด้ายที่ทำด้วยเส้นขนสัตว์ ๓ เส้น ท่านกล่าวหมายความว่าหยาดแห่งน้ำมันงา เนยใส "ใสไม่ขุ่นมัว ฉันใดเขาเรียกกันว่า กลละมีสีคล้ายกัน ฉันนั้น".
ทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเรียกว่า blastocyst ซึ่งตรงกับกลละในภาษาบาลี จะมีชั้นใสๆ ล้อมรอบ(ภาษาคนโบราณที่ว่าใสไม่ขุ่นมัว) ที่วิทยาการปัจจุบัน เรียกว่า zona pellucida (pellucid แปลว่า โปร่งใส) blastocyst จะเต็มวัยเมื่ออายุ5วันนับจากวันปฏิสนธิ หลังจากนั้นชั้นใสๆ ล้อมรอบที่เรียกว่า zona pellucida จะหลุดออก อนึ่ง blastocyst นี้มีขนาดที่เล็กมากๆ ประกอบด้วยเซลล์จำนวนไม่มาก เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2 มม. !!! ซึ่งตามนุษย์เปล่ามองไม่เห็นแน่ๆ
..ก็น่าแปลกใจมากที่คนโบราณท่านทราบลักษณะของกลละว่า ใสไม่ขุ่นมัว ได้อย่างไร
###ในสัปดาห์ที่สอง
เมื่อกลละนั้นล่วงไป ๗ วัน ก็มีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ จึงชื่อว่า อัมพุทะ. ชื่อว่า กลละ ก็หายไป. เมื่อชั้นใสๆ หลุดออกไป ความใสก็หายไป สีก็จะเปลี่ยนไปเป็นสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ
.. ในตำราฝรั่งว่า ในวันที่ 5 ชั้นใสๆ จะหลุดไป และวันที่ 6-7 (เข้าสัปดาห์ที่สอง) blastocyst จะเข้าไปฝังในเยื่อบุผนังมดลูก
..นี่ก็น่าแปลกใจอีกว่าคนโบราณท่านทราบได้อย่างไรว่า zona pellucida หลุดออกไปแล้ว ความใสก็หายไป คือสีจะเปลี่ยนไปในสัปดาห์นี้
###ในสัปดาห์ที่สาม
..อัพพุทะจะมีสีเข้มขึ้น เกิดเป็น เปสิรูป มีลักษณะเหมือนชิ้นเหลวๆสีแดง ส่วนขนาดก็ต้องใหญ่ขึ้นเป็นธรรมดา
###ในสัปดาห์ที่สี่
..เปสิจะแปรสภาพเป็น ฆนะ ก้อนคล้ายไข่ไก่ (ต้องดูรูปตัวอ่อนมนุษย์ในวันที่ 25-26 ของการเจริญเติบโตจากหนังสือเอมบริโอโลยี่ กำกับ)
. ตรงนี้ผมว่า ลักษณะคล้ายไปทางไข่ไก่ก็จริง แต่เหมือนไข่ไก่เอามาต่อส่วนด้านเรียวออกไปอีกหน่อย
. การใช้ภาษาของคนโบราณที่ผ่านมา 2000 กว่าปีแล้ว อาจจะไม่สมบูรณ์นักในการบรรยาย แต่บรรยายได้ขนาดนี้โดยไม่มีแว่นขยายก็มหัศจรรย์แล้ว!!!
###ในสัปดาห์ที่ห้า
.เกิดปุ่มขึ้น ๕ แห่ง เพื่อเป็นมือและเท้าอย่างละ ๒ และเป็นศีรษะ ๑. ตรงนี้ ในตำราปัจจุบัน จะเริ่มเห็น upper limbuds (ส่วนที่จะเจริญไปเป็นแขน)ได้ลางๆ เมื่อวันที่ 26 (ปลายสัปดาห์ที่สี่) แต่จะยังไม่เห็น lower limb buds (ส่วนที่จะเจริญไปเป็นขา)
. lower limb buds จะเห็นในวันที่ 28 (สัปดาห์ที่สี่ ต่อกับสัปดาห์ที่ห้า)
. และจะเห็นเป็นห้าปุ่มอย่างชัดเจนในประมาณวันที่ 29-30 ซึ่งตรงกับต้นของสัปดาห์ที่ห้าในพระบาลีพอดี !!! ในตอนนี้ตัวอ่อนมนุษย์จะวัดความยาวได้ประมาณ 5 มม. ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้สำหรับคนโบราณที่จะมาผ่าศพแม่เพื่อมาดูตัวอ่อนในครรภ์
. เพราะเวลาผ่าลงไปถ้าไม่รู้ว่าจะหาดูอะไร และดูตรงไหน สิ่งขนาดมิติ 5 มม.นี้คงจะหาไม่เจอหรอก
ส่วนที่เหลือ หลังจากนั้นพระบาลีกล่าวไว้คร่าวๆ ตามข้างต้น
..
เมื่อกว่า 2000 ปีก่อน
..คนโบราณเขารู้สิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร
.ถ้าไม่ใช่สิ่งเหนือวิสัยเช่น ทิพยจักษุ
(ผมใช้หนังสือ คัพพวิทยาของมนุษย์ ของ อ.สมบูรณ์ สรุงบุญมี เป็นหลักอ้างอิง)
.........................................
แล้วลอง เปรียบเทียบ กับที่บางสำนัก เชื่ออย่างหัวปักหัวปำกับคำสอนที่ว่า จิตตั้งอยู่ในหทัยวัตถุรูป (ซึ่งเป็นรูปปรมาณู ) และ หทัยวัตถุรูปไปตั้งอยู่ที่หัวใจเนื้อ อีกทีหนึ่งดู....
พระพุทธพจน์ ในอินทกสูตร ที่ตรัสถึง กำเนิดชีวิตในครรภ์ อย่างแม่นยำ ทำให้ผู้ที่ศึกษาวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ตะลึง และ หันมาสนใจศึกษาพุทธศาสตร์กัน
ในขณะที่ คำสอนที่ว่า จิตตั้งอยู่ในหทัยวัตถุรูป (ซึ่งเป็นรูปปรมาณู ) และ หทัยวัตถุรูปไปตั้งอยู่ที่หัวใจเนื้อ อีกที นั้น..... ขนาด อาจารย์ ระวี ภาวิไล ที่ท่านเป็นอาจารย์อภิธรรมเอง ท่านยังไม่เห็นด้วยเลยครับ.... ป่วยการจะไปกล่าวถึงนักวิทยาศาสตร์ทั่วๆไป
การดึงดัน ในเรื่อง จิตตั้งอยู่ในหทัยวัตถุรูป และ หทัยวัตถุรูปไปตั้งอยู่ที่หัวใจเนื้อ อีกที นั้น..... จะสร้างความเสียหาย ระยะยาว ต่อพระศาสนาส่วนรวมครับ |
|
|
|
  |
 |
namsai
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 28 พ.ค. 2004
ตอบ: 5
|
ตอบเมื่อ:
06 มิ.ย.2008, 9:03 am |
  |
คำว่า ที่ตั้ง ไม่ได้แปลว่า ที่อยู่
ขอยกตัวอย่างเช่นว่า กฏหมายต้องตั้งอยู่บนความชอบธรรม
ไม่ได้หมายความว่า ตัวกฏหมายอาศัยอยู่ในนั้น เพราะถ้าเราจะไปค้นหาอย่างไรก็ไม่เจอ
เพราะกฏหมายเป็นนามธรรม
******
พระอภิธรรมท่านก็กล่าวชัดแล้วว่า จิตตั้งอยู่ในหทัยรูป ไม่ได้หมายถึงซุกตัวอยู่ในหทัยรูป
การเปลี่ยนหัวใจ ก็เปลี่ยนไป เพราะจิตไม่ได้อยู่ในนั้นเสียเมื่อไหร่
เปลี่ยนหัวใจใหม่ได้ จิตก็มาตั้งที่หัวใจอันใหม่ได้ อย่าลืมว่าจิตเป็นนามธรรม
จิตเป็นที่เก็บ บุญ-บาป กรรมต่างๆ ที่มาตั้งอยู่ในกายสัตว์หรือ มนุษย์ ก็เพราะวิบากกรรมที่สะสมในจิตแสดงผลออกมาให้ต้องเป็นไป
การตายของร่างกาย จึงไม่ใช่การดับสลายของจิต บุญ-บาป ยังไม่ตาย กรรมยังให้ผลให้ต้องเป็นไปอีก |
|
|
|
  |
 |
|