ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
รักแม่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 มี.ค.2005, 10:31 am |
  |
คือว่าผมจะใส่บาตโดยซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาเป็นอาหารคาว
ทีนี้ผมไปอ่านหนังสือชื่อ วิธีการทำบุญตักรบาต(ชื่อทำนองนี้ จำไม่แม่นอาจคลาดเคลื่อนไปบ้างแต่ทำนองนี้ล่ะครับ) เขากล่าวว่าไม่ควรใส่ เพราะไม่มีคุณค่าทางโภชนาการต่อพระเลย ก็เลยหยุดไว้ก่อน(แต่มิได้เลิกล้มความตั้งใจเพราะอ่านหนังสือเล่มนี้นะครับ จะไปหาสิ่งอื่นที่มีประโยชน์มากกว่า คงเป็นข้าวและกับข้าวที่เรากิน) แม่ผมเป็นคนที่ทำบุญตักบาตอยู่เสมอ(เท่าที่จำความได้ก้อสามสิบกว่าปีมาแล้ว)ท่านบอกว่า ของที่เราใส่บาต ถ้าเป็นอาหาร ท่านต้องฉันให้หxxx่อนเที่ยง หลังจากนั้นต้องให้เป็นทานไป(แก่เด็กวัด หรือแก่ผู้ที่มารับทาน อาจเป็นสุนัขหรือแมวในวัดที่ท่านเลี้ยงไว้) ถ้าเป็นมาม่า อย่างนี้คงยากที่ท่านจะเลือกฉัน(ถ้าฉันรวมยิ่งยากใหญ่) ผมใส่บาตกับแม่มานานแต่ไปเพราะแม่ชวนน่ะครับ(บอกตรงๆ) อีกทั้งพระหลายองค์ในวัดแถวบ้าน บางองค์มีครอบครัวแล้วจึงบวช ก็สนิทกันทางครอบครัวของท่าน แม่ก็ให้ผมนำปิ่นโตไปถวาย(เจาะจง)ทุกวันพระครับ หลังจากแม่ปลดเกษียณ (20 ปีมาแล้ว) ท่านจะไปทำบุญที่ศาลาวัดทุกวันพระ(ถ้าเจ็บไข้หรือมีธุระอย่างอื่นก็อาจไม่ได้ไป) แต่ถ้าจะเรียกว่าไปตลอดก็คงไม่ผิด(เพราะน้อยครั้งมากที่ท่านจะไม่ไปใส่บาต) ตรงจุดนั้นท่านบอกว่าเป็นสังฆทาน(ทางวัดจะตั้งสำรับไว้แล้วเราก็นำของที่จะใส่บาตไปใส่ที่สำหรับโดยไม่เจาะจง) ผมมานอนคิดว่าถ้าเราใส่บะหมี่กึ่งสำหรับรูป ท่านฉันหลังเที่ยงไม่ได้อยู่แล้วเก็บไว้ฉันตอนเย็นหรือกลางคืนยิ่งไม่ได้ใหญ่ รบกวนถามท่านผู้รู้ด้วยครับว่า ตอนนี้ผมไม่คิดจะใส่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแล้ว คิดว่าหากใส่ไป ของที่เราใส่อาจจะไปตกแก่เด็กวัดหรือผู้อื่นที่มารับทานจากพระหลังจากที่ท่านฉันเพลเสร็จแล้วก็ได้ คิดมากน่ะครับ ว่า เราใส่บาตไปก็อยากให้พระได้ฉันในสิ่งที่เราถวาย(ความจริงไม่ควรคิดใช่ไหมครับ) และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างที่ในหนังสือบอกจริงๆ (ถ้าไม่ทราบก็จะไม่กังวลแต่พอทราบ จะกังวลน่ะครับ ใส่ไปก็อาจเกิดอกุศลจิตขึ้นในใจว่า เราเอาของที่ไม่สมควรที่จะใส่มาใส่บาต จะรู้สึกว่าพระท่านต้องไม่ได้ฉันแน่ๆเลย ถึงฉัน นั่นก็คือสิ่งที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ) ส่วนเรื่องผลบุญผมไม่ได้คิดครับ ให้เป็นไปตามสิ่งที่ควรจะเป็น ตามคำสอนของพระพุทธองค์
|
|
|
|
|
 |
รักแม่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 มี.ค.2005, 10:43 am |
  |
คำถามคือ ผมเห็นดีด้วยตามคำกล่าวในหนังสือว่าไม่ควรใส่(แต่ไม่เลิกล้มการใส่ จะไปหาเป็นอาหารที่ดีมาใส่แทน ในครั้งแรกที่คิดจะใส่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพราะสะดวกครับ ไปซื้อมาหน่งแพ็ค 10 ซอง ก็แบ่งใส่ได้เลย ไม่ต้องเตรียมอาหารไว้ก่อนตั้งแต่เย็นวันโกนโดยใส่ตู้เย็นไว้แล้วเอามาอุ่นตอนเช้า พูดง่ายๆก็คือ ไม่ต้องตื่นเช้าขึ้นอ่ะครับ) บ้านเดิมผมอยู่ต่างจังหวัดผมมาอยู่ที่กรุงเทพฯจึงไม่คุ้นเคยกับการใส่บาตแถวนี้ ว่า มีอาหารถวายพระขายเป็นชุดหรือไม่ ขายตรงไหน ตอนแรกคิดเพียงว่าจะหาเส้นทางว่าพระท่านจะบิณฑบาตผ่านทางไหน แต่ตอนนี้ต้องคิดเรื่องสิ่งที่จะใส่ด้วย รบกวนท่านผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับ
สำหรับเรื่องบุญผมก็อยากได้อ่ะครับ แต่จะไม่คิดมากในเรื่องนี้ |
|
|
|
|
 |
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 มี.ค.2005, 11:35 am |
  |
ในความคิดผม ผมว่า ถ้าวัดที่พระท่านอยู่ไม่มีเด็กวัด หรือ สาธุชนผู้ใจบุญ อุทิศตนมาบำเพ็ญประโยชน์ ช่วยทำครัวถวายให้ในวัดเลย ก็ควรถวายอาหารสดไปเลยครับ แต่ถ้าวัดไหนมีผู้ใจบุญเช่นนี้ เราก็สามารถถวายอาหารแห้งได้ครับ เพราะเก็บไว้ได้นาน และพ่อครัวแม่ครัวเหล่านั้นก็จะได้บุญไปด้วยอีกส่วนหนึ่งครับ เป็นบุญต่อบุญไงล่ะครับ |
|
|
|
|
 |
พระ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 มี.ค.2005, 6:15 pm |
  |
ขอตอบในนามของพระรูปหนึ่งนะ
มาม่า จากการสั่งเกตของอาตมา พระส่วนใหญ่ไม่ค่อยนิยมฉันกัน อาจจะว่ามีอาหารอย่างอื่นที่บิณฑบาตมาแล้วฉันได้เลย ไม่ต้องปรุงเหมือนมาม่า และฉันมาม่าไม่อิ่มท้องตกตอนเย็นอาจจะหิวได้
ถ้าได้รับมาม่ามาส่วนใหญ่แล้วก็จะเก็บไว้ อย่างที่คุณรักแม่บอกนั้นแหละว่าให้ลูกศิษย์
แต่ถ้าต้องการฉันก็สามารถนำกลับมาฉันได้ แต่ต้องลูกศิษย์จักการปรุงและประเคนให้
พระเองไม่สามารถปฏิเสธของที่ญาติโยมใส่บาตรได้ แต่สามารถเลือกที่ฉันหรือไม่ฉันได้
อาจจะสงสัยว่าทำไมต้องเลือกด้วย ต้องเลือกสิยิ่งในสมัยนี้อาหารบ้างอย่างใช่ว่าจะบริสุทธิ์
ก็ต้องพิจารณาว่าอะไรควรฉันไม่ฉัน ฉันแล้วจะเกิดโทษหรือไม่ เลือกแบบนี้กับเลือกตาม
ใจกิเลสนั้นแตกต่างกัน
อาหารที่จัดวางเป็นชุดๆ ตามสามแยกสี่แยก ญาติโยมที่ใส่บาตรก็ต้องพิจารณาดี อย่าเอาแต่ความสะดวกสบาย เพราะความสะดวกสบายของญาติโยมจะไปส่งเสริมให้เจ้าของร้านเกิดความมักง่าย ไม่ละอายบาป นำอาหารที่จัดขึ้นมาง่ายๆ ขาดคุณภาพ แล้วนำมาขายในราคาปกติ พระรับมาแล้วฉันไม่ได้ พระท่านจะปฏิเสธไม่รับก็ไม่ได้ บางรูปต้องเดินหลีกทางนั้นไป เจ้าของร้านที่ละอายบาปคิดว่า "คนชื้อไม่ได้กิน คนกินไม่ได้ชื้อ" ก็คิดว่าคงไม่เป็นไรน่า อย่างพระในกทม. ทุกวันจะรู้เรื่องนี้ดี แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็รอว่าจะมีหน่วยงานที่หน้าที่รับผิดชอบเข้ามาจักการดูแลให้ความเป็นธรรม ไม่ให้เจ้าของร้านอาศัยพระเป็นเครื่องมือหากินในการค้าขาย
 |
|
|
|
|
 |
พระ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 มี.ค.2005, 6:24 pm |
  |
ตอนเช้าก็จะร้ายของอาหารเปิดให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นขายข้าวต้ม, ข้าวมัน,ไก่ยาง,หมูยาง,น้ำเต้าหู๋,กาแฟ,โอวัลติน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถใส่บาตรได้ทั้งนั้น แล้วก็ต้องไม่นำไปปรุง ถึงวัดก็สามารถนำมาฉันได้เลย ไม่จำเป็นต้องแสวงหาร้านขายของสำหรับใส่โดยตรง
ถ้าหาอาหารประเภทนี้ไม่ได้ ก็ลองหาประเภทขนม,นม,น้ำผลไม้ ก็ได้ ขนมทั้งประเภททำขึ้นวันๆต่อวัน หรือขนมที่เป็นถุงเป็นห่อตามร้านขายของชำ หรือเซเว่นฯ นม บางวัดก็ฉันตอนเย็นได้ ก็จะเป็นวัดที่เป็นมหานิกาย น้ำผลไม้ ฉันได้ตลอดเวลา
ถ้าเราเข้าใจเรื่องของที่จะนำมาใส่บาตรนั้นก็ตัดความกังวลไปได้ |
|
|
|
|
 |
พระ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 มี.ค.2005, 6:50 pm |
  |
วัดในเมืองไทย สามารถแบ่งได้เป็น 3 โชน คือ
1. วัดในเมือง
2. วัดในชนบท
3. วัดป่า
วัดทั้งสามที่กล่าวมานี้จะมีลักษณะการเป็นอยู่ของพระที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน ถ้าได้เข้าไปสัมผัสภายในวัด
ในที่จะกล่าวถึงเรื่องการขบฉัน บางคนอาจจะคิดถึงประโยคที่ว่า "กินเพื่ออยู่ อย่าอยู่เพื่อกิน" หรือว่า "สักแต่ว่ากิน" หรือ .......
เป็นประโยคที่สอนเพื่อให้ความสำคัญกับเรื่องกิน เรื่องฉัน แต่ที่อาตมาจะนำมากล่าวต่อไปนี้ เป็นการเล่าไปตามสภาพความเป็นจริง ส่วนเรื่องละกิเลส ขอไม่เกี่ยวในเรื่องนี้ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องภายในจิตใจ ไม่สามารถมองได้จากภายนอกเพียงอย่างเดียว
1. วัดในเมือง
คนที่อยู่ในเมืองก็จะได้สัมผัสรู้เรื่องเกี่ยวกับการขบฉันของพระในเมืองบ้างแล้ว แต่บางคนที่ไม่ได้อยู่ในเมือง หรืออยู่แต่ไม่เคยรู้รับรู้เลย อาตมาจะนำมาบอกกล่าวแต่พอเป็นสังเขป
วัดในเมือง ในกรุง แต่ละวัดก็จะมีความแตกต่าง ความสมบูรณ์ในเรื่องการขบฉันบ้างพอควร แต่ภาพรวมแล้วคล้ายๆ กันคือมีความสมบูรณ์ จนบางครั้งก็เหลือ จนต้องมีผู้รับในส่วนเหลือคือลูกศิษย์ จะเห็นว่าพระบางรูปก็จะมีลูกศิษย์เยอะ
อาหารที่ได้รับมาจากบิณฑบาตนั้น จะมีมาก อาจจะด้วยความศรัทธาของญาติโยมซึ่งคนจะใส่อาหารหลายๆ ชนิดในครั้งเดียว หรือเป็นเพราะมีญาติโยมใส่บาตรกันมาก จะปฏิเสธไม่รับก็ไม่ได้ ญาติโยมบางคนมองพระบางรูปว่าทำไมท่านจะโลภมากในอาหารบิณฑบาตจัง ลองเข้ามาบวชดูสิแล้วจะรู้ !!
วัดในเมือง หรือในกรุง เวลาฉันจะไม่ฉันกันหมดทั้งวัดอย่างวัดตามชนบท ด้วยเหตุผลว่าพระมีจำนวนมาก,เวลากลับจากบิณฑบาตไม่ตรงกัน,มีธุระหน้าที่ไม่อาจจะรอฉันพร้อมกันได้, วัดแต่ละวัดก็จะแบ่งเป็นโชน ที่เรียกว่าคณะ ด้วยเหตุเหล่านี้จะไม่สามารถมาร่วมฉันพร้อมกันได้อย่างวัดในชนบทที่มีพระน้อย
อาหารที่รับบิณฑบาตมา จะทั้งหxxx็คงไม่ได้ จะหยิบนิดผสมหน่อยก็ไม่ได้ ก็ต้องเลือกอาหารที่ตัวเองต้องการฉัน แล้วฉันอาหารนั้น อาหารที่ฉันนั้นอาจจะไม่ใช่อาหารที่ดีเลิศที่สุดที่ได้รับ อย่างที่เราๆ คิดว่าท่านคงจะเลือกฉันอาหารที่ดีๆ ก่อน บางรูปอาหารฉันอาหารที่เราคิดว่าเป็นพื้นๆ ธรรมดา ๆ แต่อาหารเป็นท่านชอบฉัน บางคนอาหารคิดว่าทำไมต้องเลือกฉันด้วย ก็อย่างที่กล่าวแล้วว่าไม่สามารถฉันอาหารที่มามากได้ทั้งหมด ก็ต้องเลือกฉัน เลือกก็ต้องเลือกอาหารที่ตัวเองชอบฉัน ถ้าไปกินอาหารที่ไม่ชอบก็ฉันข้าวไม่ได้ และพระก็เป็นปุถุชนธรรมดาอย่างเราๆ นี่แหละ ก็ต้องมีสิ่งที่ชอบไม่ชอบเป็นเรื่องธรรมดา
จบพระในเมือง |
|
|
|
|
 |
พระ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
22 มี.ค.2005, 12:04 am |
  |
2. วัดในชนบท
วัดตามชนบท หรือวัดตามชานเมือง และอาจจะรวมทั้งวัดในตัวเมือง ที่มีวิถีชีวิตของพระที่เหมือนกัน
ถ้าเราเป็นคนพื้นที่ หรือได้ไปสัมผัสกับบรรกาศวัดตามจังหวัด ก็จะเห็นความแตกต่างของความเป็นอยู่ การขบฉันของพระ กับวัดในเมือง และวัดในกรุงได้อย่างเด่นชัด จะเห็นความพร้อมเพรียง เมื่อทำกิจวัตรบางอย่าง เช่นการขบฉัน การออกรับบิณฑบาต อาจจะเป็นเพราะมีพระน้อยด้วย จะสามารถกิจวัตรดังกล่าวได้พร้อมกัน
ความนิยมการใส่บาตรของคนต่างจังหวัด (ชานเมือง และชนบท) จะใส่อาหารที่ปรุงเรียบร้อยแล้ว ไม่นิยมใส่อาหารแห้ง เช่นมาม่า ปลากระป๋อง นอกจากจะใส่ในวันสำคัญทางศาสนา เช่นวันออกพรรษา เป็นต้น อาหารที่พระรับมาก็จะฉันให้หมดในวันเดียว เหลือก็ให้ลูกศิษย์ และสัตว์ เพราะอาหารไม่สามารถเก็บได้นานเหมือนอาหารกระป๋อง
ด้วยวิถีชีวิตของคนชนบทไม่ต้องรีบเร่งออกจากบ้านเพื่อไปที่ทำงาน หรือออกก็ไม่ต้องกังวลกับรถติด เลยสามารถมีเวลาที่ปรุงอาหารใส่บาตร และรับประทานก่อนออกไปทำงาน หรือก็จะมีคนเฒ่าคนแก่ที่ตื่นตั้งแต่เช้าลุกขึ้นมาอาหาร เตรียมใส่บาตร
ฉะนั้นการใส่บาตร อาหารใส่บาตร คนชนบทไม่ต้องกังวลกับเวลา สิ่งของ ความเหมาะสมมากนัก
พระวัดในชนบท
|
|
|
|
|
 |
พระ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
22 มี.ค.2005, 12:17 am |
  |
วัดป่า
บางคนที่ไม่เคยรู้จักฟังแล้ว ชักสงสัยว่าคือวัดอะไร ทำไมต้องเรียกว่าวัดป่า
คลิกอ่านรายละเอียดตรงนี้เกี่ยวกับวัดป่า-พระป่า
http://www.dhammajak.net/watpa/pa01.htm
จากที่อาตมาได้เข้าไปสัมผัสมา ไม่ว่าวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การขบฉัน นั้นแตกต่างกันมากกับวัดในเมือง และวัดชนบท (ซึ่งวัดทั้งสองประเภทนี้ วัดป่าจะเรียกว่า วัดบ้าน เรียกตัวเองว่าวัดป่า) ด้วยกฎระเบียบวินัย ที่เรียกว่าข้อวัตรปฏิบัตินั้นค่อนข้างเคร่งครัด เพราะต้องการฝึกหัดดัดนิสัย ละกิเลสโดยตรง วัดป่าจะคติว่า "กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย แต่ทำมาก" ทำมากในที่นี้ก็คือการฝึกฝนกรรมฐาน ด้วยรูปแบบการนั่งสมาธิ เดินจงกรรม เป็นต้น
เรื่องขบฉัน เป็นเรื่องใหญ่และเป็นที่พระป่าให้ความสำคัญไม่แพ้การเจริญกรรมฐาน เราๆ ก็จะมักได้ยินว่าพระกรรมฐาน หรือพระธุดงค์นั้นต้องฉันมือเดียว ฉันในบาตร และต้องเทอาหารร่วมกันทั้งหมดลงในบาตร จะเห็นว่าวิธีการฉันนี้จะแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจากวัดธรรมดาที่เรามักจะเคยชิน
|
|
|
|
|
 |
พระ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
22 มี.ค.2005, 12:30 am |
  |
เมื่อกลับจากบิณฑบาตมาแล้ว ก็จะนำอาหารในบาตรมาเทรวมกัน แล้วให้ผ้าขาว (คนที่โกนผม-นุ่งห่มขาว เข้ามาฝึกหัดเตรียมตัวบวชเป็นพระ) และลูกศิษย์ อาจจะเป็นเด็กเล็กๆ หรือผู้ที่เข้าไปขอพักปฏิบัติธรรม ได้ทำการจัดอาหารให้ใส่ถาด หม้อ ให้เรียบร้อย เพื่อความสะดวกในการตักอาหาร เสร็จแล้วพระก็จะตักอาหารใส่บาตรเพื่อฉัน วิธีตักอาหารใส่บาตรก็มีสองวิธี คือ
วิธีที่ 1 เป็นวิธีดั่งเดิม พระท่านนั่งเป็นแถวเรียงลำดับจากความอาวุโสของพรรษาที่บวช ผ้าขาวหรือลูกศิษย์ก็นำอาหารเข้าไปประเคนจากหัวแถว ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส เจ้าสำนัก หลังจากนั้นก็จะหัวแถวก็ตักอาหารใส่บาตร เสร็จก็ทะยอยส่งมาตามลำดับ จนกระทั่งอาหารหมด และสิ้นสุดท้ายแถว ก็เป็นอันเสร็จ หลังจากนั้นก็เริ่มฉัน-ให้พร หรือให้พรก่อน
วิธีที่ 2 เป็นวิธีตักอาหารสมัยใหม่ ประยุกต์ให้เข้ากับยุกสมัยใหม่ อาหารทุกอย่างใส่ถาด ใส่หม้อวางไว้เป็นโต๊ะยาว ๆ พระถือบาตทะยอยตักอาหาร เสร็จแล้วก็กลับมานั่งที่ตัวเอง รูปสุดท้ายตักเสร็จกลับมานั่งที่ ก็เริ่มฉัน-ให้พร
|
|
|
|
|
 |
พระ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
22 มี.ค.2005, 12:48 am |
  |
เรื่องอาหาร
อาหารที่พระป่าฉัน ได้มาสองประเภทคือ
1. อาหารที่รับจากบิณฑบาตโดยตรง
2. อาหารที่ผู้จัดทำขึ้นภายในวัด
ต้องเข้าใจว่าพระป่าส่วนมากจะตั้งอยู่ในเขตที่ห่างไกลความเจริญ ห่างหมู่บ้าน หมู่บ้านก็จะประชากรน้อย อาหารที่รับจากบิณฑบาตนั้นจึงไม่พอฉัน จึงเป็นที่ของอาหารที่จัดทำขึ้นภายในวัด ที่มาของอาหารที่จัดทำขึ้นในวัดนั้น อาจจะมาจากผู้ที่เข้าไปพักปฏิบัติอยู่ในวัด และผู้ที่ศรัทธาได้ซื้อของที่ยังไม่ได้ปรุงไปถวายวัด เพราะจากที่วัดมีโรงครัว มีคนทำอาหาร และมีเก็บอาหารสดเหล่านั้นได้นาน เมื่อต้องการก็นำมาปรุงแล้วถวายพระ ถ้าวัดป่าแห่งใดอยู่ใกล้ที่เจริญ ญาติโยมใส่บาตรมาก อาหารที่จัดทำขึ้นภายหลังก็จะตัดออกไป ถ้าวัดป่าแห่งใดมีโรงครัว หรือเรือนอุบาสิกา ที่รับหน้าที่ทำอาหารถวายพระ ภายในโรงครัวหรือที่แห่งนั้นก็จะเป็นอาหารที่รอการปรุง ไม่ว่าจะเป็นของสด อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง เป็นต้น
.....
ที่นำมากล่าวนี้ ก็ต้องการบอกกล่าวเล่าเรื่องราวกัน ใครข้อสงสัยอะไรเพิ่มที่เกี่ยวกับเรื่องก็สอบถามได้ ถ้าทราบก็จะตอบ
|
|
|
|
|
 |
รักแม่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
22 มี.ค.2005, 10:59 am |
  |
นมัสการขอบคุณท่านมากครับที่ให้ความรู้อย่างละเอียด(ใช้คำถูกรึเปล่าครับ)
ขอขอบคุณคุณเกียรติด้วยครับ
 |
|
|
|
|
 |
|