Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
อยากทราบเรื่องฐานจิตครับ
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
Guru
บัวผลิหน่อ
เข้าร่วม: 18 ส.ค. 2006
ตอบ: 2
ที่อยู่ (จังหวัด): Bangkok
ตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2006, 11:46 pm
เห็นเพื่อนนักปฏิบัติธรรม หลายท่านโดยเฉพาะนักปฏิบัติสายสมถะ ตามแนวของพระเกจิอาจารย์ เช่น หลวงพ่อฤษีลิงดำ หลวงปู่มั่น และแม้กระทั่งสายวิปัสนาบางสาย มักจะพูดถึงการกำหนดฐานจิต
กระผมเคยปฏิบัติมาบ้าง แต่ไม่เห็นอาจารย์พูดถึงฐานจิตเลย จึงอยากสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ กับท่านที่ปฏิบัติ ที่มีฐานจิต
๑) อยากทราบว่าฐานจิตมีกี่แห่ง แต่ละแห่งมีหน้าที่อย่างไร แล้วทำไมจึงกำหนดให้ที่ตรงนั้นเป็นฐานจิต
๒) สายการปฏิบัติของอาจารย์ไหนบ้างที่กล่าวถึงฐานจิต
๓) มีหลักฐานอ้างอิงทางเอกสาร หนังสือ เล่มไหนบ้าง ที่น่าศึกษาเพิ่มเติม ช่วยแนะนำด้วยครับ
ปล.กำลังหาข้อมูลประกอบการปฏิบัติครับ
ขอบคุณมากครับ
_________________
ชีวิตมีเพียงปรากฏการณ์ทางอายตนะ เพื่อผ่านไปสู่แดนเกษมจากโยคะ
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2006, 6:45 am
1. สติปัฏฐาน 4 เป็นฐานของจิตหรือที่ให้จิตทำงาน มีอยู่ 4 แห่งในตัวเรานี่แหละ
2. อันนี้พูดยาก เพราะเดี๋ยวนี้เริ่มเป็นสายของตนเองกันมากขึ้น ซึ่งก็คือเอาสายของพระพุทธเจ้า คือ สติปัฏฐาน 4 นั่นแหละมาดัดเสียนิดหน่อย เพื่อให้เป็นสายของตนเอง
3. แนะนำให้อ่านหนังสือพุทธธรรม (ป.อ.ปยุตต์) ลองถามดูที่จุฬาบรรณาคารข้างวัดมหาธาตุฯท่าพระจันทร์
ขอเจริญในสัมมาปฏิบัติครับ
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2006, 12:10 am
หลักการทำสมาธิแบบชาวพุทธ
การตั้งสติระลึกไว้ในฐาน ต่าง ๆ ทุกฐาน ดังจะขอยกเอาพระพุทธพจน์มาให้พิจาณารวม ๆ กันทั้งหมดเสียในตอนนี้ด้วยคือ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น กายในกาย ในภายในบ้าง พิจารณาเห็น กายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็น กายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น ในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม ในกายบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งสติมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยรำลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้ อันตัณหาและทิฐิ ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น ในเวทนาบ้าง ในจิตบ้าง ในธรรมบ้าง พิจาณาเห็น ธรรมคือ ความเสื่อมในเวทนาบ้าง ในจิตบ้าง ในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้ง ความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง ในจิตบ้าง ในธรรมบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนา จิต ธรรม มีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยรำลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิอาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก (มหาสติปัฏฐานสูตร/ที.ม./๑๐/๒๗๓ ๓๐๐)
หลักการฝึกสมาธิแบบชาวพุทธนั้น คือมรรคข้อ สัมมาสติ ซึ่งหมายถึง การระลึกนึกไว้โดยถูกต้อง กล่าวคือ จะต้องตั้งการระลึกนึกไว้ ณ ฐานที่ตั้งแห่งการระลึก ๔ ฐาน อันได้แก่ ฐานกาย ฐานเวทนา ฐานจิต และ ฐานธรรม ดังนั้น สัมมาสติ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งด้วยว่า สติปัฏฐาน ๔ กาย นั้น หมายถึง อายตระทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ส่วน ธรรมนั้นคือสิ่งที่จะผ่านเข้าสู่การรับรู้ทางมโนทวารโดยตรง ซึ่งได้แก่สิ่งที่เรียกกันตามภาษาธรรมดาว่า นามธรรมนั่นเอง ส่วนจิตนั้น ได้แก่ อายตนะ ทั้ง ๖ คือ ใจ ซึ่งอาจมีกิเลสเข้าครอบงำจนอาจจะทำให้เกิดความชอบ ความชัง หรือ ความเฉย แล้วแต่ชนิดของกิเลส ครั้นแล้วก็จะเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ เป็นสุข หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข ตามมา เหล่านี้คือ เวทนา นั่นเอง เมื่อท่านพอจะเข้าใจอย่างคร่าว ๆ แล้วเช่นนี้ ก็จะได้อธิบายความหมายของแต่ละฐานโดยละเอียดต่อไปดังนี้
๑. ฐานกาย หมายถึงการตั้งสติระลึกไว้ที่สิ่งหนึ่งสิ่งใด อันสามารถรับรู้ได้โดยผ่านทางอายตนะทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย สิ่งที่ผ่านมาทางตา คือ รูป ได้แก่สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา ไม่ว่าจะเป็นอะไร การตั้งสติระลึกไว้ในรูปต่างๆ นั้นก็ได้ เป็นวิธีการฝึกสมาธิอย่างหนึ่ง
๒. ฐานเวทนา หมายถึง การตั้งสติระลึกนึกไว้ที่ความรู้สึกเป็นทุกข์เป็นสุข หรือไม่ทุกข์ไม่สุข ที่เกิดขึ้นในขณะหนึ่งขณะใด รวมทั้งในขณะที่จิตมีสมาธิในระดับฌานด้วย เช่น อาการชุ่มฉ่ำและเป็นสุขในปฐมฌาน (ปีติและสุข) เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้ท่านเรียกว่า สุขเวทนาไม่มีอามิส ดังปรากฏในพระพุทธพจน์ต่อไปนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า ภิกษาในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนา อยู่ก็รู้ชัดว่าเรา เสวยสุขเวทนาหรือเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่าเรา เสวยทุกขเวทนา หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือเสวยสุขเวทนามีอามิสก็รู้ชัดว่าเราเสยสุขเวทนามีอามิส หรือเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยทุกขเวทนา ..อทุกขมเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่าเรา เสวยอทุขมสุขเวทนา ไม่มีอามิส (มหาสติปัฏฐานสูตร/ที.ม./๑๐/๒๘๘)
๓. ฐานจิต หมายถึงการตั้งสติระลึกนึกไว้ที่จิตใจของผู้ปฏิบัติเองว่า ในขณะนั้นจิตใจของท่านมีสภาวะอย่างไร เช่นกำลังมีกิเลสเข้าครอบงำ (คือกำลังมีราคะ โทสะ โมหะ) หรือมีเมตตา กรุณา หรือฟุ้งซ่าน หรือสงบเป็นสมาธิ หรือว่าหลุดพ้นแล้วจากอำนาจของกิเลสต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด ซึ่งก็เท่ากับเป็นการมองเข้าไปภายในจิตใจของตนเอง โปรดพิจารณาจากพระพุทธพจน์ต่อไปนี้ประกอบด้วย
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต(สภาพเป็นใหญ่) ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น (มหาสติปัฏฐานสูตร/ที.ม./๑๐/๒๘๙) ฐานจิตนี้เป็นฐานสำคัญที่จะทำให้เกิดสมาธิสูงขึ้นได้จนถึง อรูปฌาน คือในตอนที่ฝึกหัดจนถึงฌาน ๔ แล้วได้ตั้งสติสำรวจดูจิตในฐานจิต จนทราบแน่ชัดแล้วก็สามารถฝึกหัดเกิด อรูปฌานได้อีก ๔ ขั้น โดย มนสิการ อากาสานัญจายตนสัญญา เป็นต้นไปโดยลำดับ
การฝึกปฏิบัติสมาธิบางวิธี เช่นวิธี อานาปาณสติ ก็ไม่มีการกล่าวถึงไว้ว่าเป็นการพิจารณาในฐานจิตดังจะขอยกเอามาให้พิจารณากันดังต่อไปนี้ สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ จิตสังขารหายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่า เราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า (อานาปาณสติ สูตร/ม.อุ./๒๘๘) ในการตั้งสติระลึกถึง เวทนา นั้นก็เช่นเดียวกับ ฐานกาย คือ ท่านให้ระลึกถึงทั้งเวทนาของตนเองที่เป็นภายในและเวทนาของผู้อื่นอันเป็นภายนอกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการนำเอา ฐานธรรม มาผสมผสานด้วย ดังที่ได้กล่าวถึงไว้แล้ว ในเรื่องนี้ใคร่ขอยกเอาพระพุทธพจน์มายืนยันไว้ดังต่อไปนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ความเสื่อม ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง (มหาสติปัฏฐานสูตร/ที.ม./๑๐/๒๘๘ป
วิธีการฝึกสมาธิอีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการตั้งสติระลึกนึกไว้ที่ ฐานจิต วิธีนั้นมีชื่อเรียกว่า อัปปมัญา ๔ หมายถึงการตั้งจิตให้ประกอบไปด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ซึ่งทั้ง ๔ อย่างนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พรหมวิหาร ๔ หวังว่าท่านผู้อ่านคงทราบดีว่า เมตตา หมายถึงการตั้งจิตคิดปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข กรุณา หมายถึงการตั้งจิตคิดปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ มุทิตา หมายถึง การตั้งจิตให้ชื่นชมยินดีในคุณความดีของผู้อื่นโดยไม่อิจฉาริษยาเขา อุเบกขา หมายถึง การตั้งจิตให้วางเฉยเมื่อได้เห็นว่าผู้อื่นกำลังเสวยเคราะห์กรรมโดยไม่คิดทับถมเขา
ก่อนที่จะอธิบายถึงการตั้งสติระลึกไว้ในหัวข้อ อัปปมัญญา ๔ เพื่อให้เกิดสมาธิขึ้นนั้น ใคร่ขอทำความเข้าใจไว้ในตรงนี้ว่า การตั้งสติระลึกใน ฐานจิต (เช่นเดียวกับ ฐานธรรม) เพื่อให้เกิดสมาธิสูงขึ้นนั้น เป็นเรื่องของผู้ที่ได้ฝึกปฏิบัติจนมีสมาธิสูงขึ้นจนถึงระดับ ฌาน อยู่ก่อนแล้ว ซึ่งก็หมายความว่าท่านจะต้องได้ผ่านการฝึกหัดใน ฐานกาย อันเป็น ฐานเริ่มต้นจนได้สมาธิในระดับฌานและเกิดมีความชำนาญ (วสี) ในการเข้า การทรง และการออก จากสมาธิแล้วนั่นเอง พูดง่าย ๆ อีกนัยหนึ่งก็คือ ว่าท่านโปรดอย่าได้เข้าใจว่าใครก็ตามพอตั้งจิตคิดปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข (เมตตา) เป็นต้นแล้ว ก็จะเกิดสมาธิสูงขึ้นไปจนถึงระดับฌานได้โดยไม่ต้องฝึกปฏิบัติให้เกิดสมาธิด้วยวิธีการอย่างอื่นมาก่อนแล้ว
ขบวนการเกิดขึ้นของสมาธิในการตั้งจิตระลึกที่ ฐานจิต และ ฐานธรรม ของผู้ทรงฌาน (เรียกอีกอย่างว่า ฌานลาภียุคคล ) นั้นจะมีลักษณะเดียวกัน คือจะเริ่มจากการมี ความปราโมทย์ ได้แก่ความยินดีว่าเราสามารถตั้งจิตปรารถนาให้ใคร ๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นมิตรหรือศัตรูให้มีความสุขเป็นต้น ความปราโมทย์ยินดีนั้น จะเป็นตัวชักนำให้เกิดปีติ คือความชุ่มฉ่ำในระดับ ปฐมฌาน ขึ้นมาได้ เช่นเดียวกับการตั้งจิตระลึกในฐานธรรม ในเรื่อง อนุสติ ทั้งหลาย ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปนั้น โปรดพิจารณาพระพุทธพจน์ต่อไปนี้ประกอบด้วย
เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอมีใจประกอบด้วยเมตตา ด้วยกรุณา..ด้วยมุทิตา..ด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศที่หนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ที่สี่ก็เช่นกัน ตามนัยนี้ทั้งเบื้องต้น เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั้งสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน นี่ก็เป็นขบวนการเกิดขึ้นของสมาธิใน อัปปัญญา ๔ ซึ่งที่แท้แล้ว ก็เป็นการแผ่เมตตาในขณะจิตเป็นสมาธิในระดับฌานแล้วนั่นเอง การแผ่เมตตาโดยวิธีเช่นนี้จะมีผลดีแก่ผู้ปฏิบัติอย่างมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้หนี้กรรม อันจะทำให้หลุดพ้นไปจากบ่วงแห่งการผูกพันไว้ ในวัฏสงสาร ดังนั้น ท่านจึงเรียกวิธีการนี้ว่าเป็น เมตตาเจโตวิมุติ (กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ก็เรียกเช่นเดียวกัน) ซึ่งก็หมายถึงการหลุดพ้นเพราะเมตตานั่นเอง
๔. ฐานธรรม หมายถึงการตั้งสติระลึกไว้ในสิ่งที่สามารถรับรู้โดยผ่านทางโมนทวารได้เท่านั้น ในทางปฏิบัติก็ได้แก่การหยิบยกเอาหัวข้อธรรมะต่าง ๆ มาขบคิดพิจารณานั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้แก่ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ แลความไม่ใช่ตัวตน ของสรรพสิ่งทั้งหลาย แต่มีข้อสำคัญที่ควรทราบคือ การหยิบยกเอาหัวข้อธรรมะมาพิจารณานั้น ควรต้องกระทำภายหลังที่จิตเป็นสมาธิในระดับอัปนาสมาธิแล้วจึงจะได้ผล ในการรู้แจ้งชัดตามความเป็นจริง อันจะเป็น ภาวนามยปัญญา เกิดขึ้น ข้อนี้สำคัญมาก เพราะถ้าหากว่าจะพินิจพิจารณาไตร่ตรองธรรมะไปโดยไม่ต้องฝึกฝนให้สมาธิเกิดสูงขึ้นจนถึงขนาดที่ใช้การได้เสียก่อนแล้ว พระพุทธเจ้าก็คงจะไม่ต้องทรงบัญญัติ มรรค ในกลุ่มสมาธิขันธ์ เอาไว้เลย
นอกจากนี้แล้ว พระพุทธเจ้าก็คงจะ ไม่ต้องเสด็จออกผนวช และตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิ์ ณ พุทธคยา ทั้งนี้ก็เพราะพระองค์ทรงมีพระปัญญาอันสูงส่ง เฉียบแหลม มาตั้งแต่ ยังทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ถ้าหากจะใช้ความตรึกนึกคิดไปตามธรรมดาได้ก็คงจะ ตรัสรู้เสียแต่ทรงอยู่ในรั้วในวังแล้ว ตามพระพุทธประวัติที่ได้ตรัสเล่าไว้โดยพระองค์เองก็ได้ทรงเล่าไว้ชัดเจนว่า พระองค์ได้ตรัสรู้โดยอาศัยสมาธิในระดับ ฌาน ๔ นอกจากนี้ก็ยังได้เคยมี ผู้กล่าวหาว่าพระองค์ได้ตรัสรู้ด้วยความตรึกนึกคิดไปตามธรรมดา แต่ถูกพระพุทธองค์โต้แย้งไปว่า ใช่เช่นนั้น แล้วยังทรงสำทับด้วยว่า ผู้นั้นหากไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก (มหาสีหนาทสูร/ม.มู./๑๒/๑๕๙) พระพุทธองค์ยังได้เคยตรัสไว้อีกด้วยว่า พระสาวกของพระองค์ก็จะต้อง ตรัสรู้ เช่นเดียวกับพระองค์ทุกประการ
ทรงย้ำเป็นหนักหนาว่าความแตกต่างระหว่างพระองค์กับพระสาวกที่ตรัสรู้แล้วมีเพียงว่า พระองค์ได้ทรงเป็น บุคคลแรกที่ตรัสรู้ก่อนเท่านั้น เปรียบเหมือนทรงเป็นลูกไก่ตัวแรกที่เจาะเปลือกไข่ด้วยจะงอยปากออกสู่โลกภายนอก ลูกไก่ตัวอื่น ๆ จะออกจากเปลือกไข่ ซึ่งเปรียบเสมือน วัฏสงสาร ก็โดยวิธีเดียวกับที่ลูกไก่ตัวแรกออกมาแล้วเท่านั้น ไม่มีวิธีอื่นใดที่แตกต่างไปจากวิธีนี้ เนื่องจาก ฐานธรรม นี้ได้อาศัย ธรรม ต่างๆ มาเป็นที่ตั้งเพื่อระลึกนึกถึง ดังนั้นวิธีการปฏิบัติที่เรียกว่า อนุสติ ทั้งหลายมี พุทธานุสติ ธรรมนุสติ สังฆานุสติ เป็นต้นนั้น ก็ล้วนแต่สงเคราะห์อยู่ใน ฐานธรรม นี้ทั้งนั้น
นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีอื่น ๆ อีกที่นำเอา นามธรรมมาพิจารณา เช่น อาหาเรปฏิกูลสัญญา ได้แก่ การพิจารณาความเป็นปฏิกูลของอาหารที่เรากำลังรับประทานอยู่ จตุธาตถวัฏฐาน ได้แก่ พิจารณาความเป็น ธาตุทั้ง ๔ ในสรรพสิ่งทั้งหลายรวมทั้งร่างกายของเราซึ่งไปเชื่อมโยงกับ ฐานกาย ด้วย อุปสมานุสติกรรมฐาน ได้แก่ นำเอาพระนิพพานมาเป็นที่ตั้งเพื่อการระลึก ดังได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องของ ฐานจิต ว่าการพิจารณาในฐานธรรม นี้จะทำให้เกิดสมาธิขึ้นได้ จะขอยกเอาพระพุทธพจน์เกี่ยวกับเรื่องอนุสติมายืนยันไว้ในตอนนี้ ประกอบด้วย (โปรดสังเกตว่าท่านใช้คำว่า อริยสาวก อย่างชัดแจ้ง) อริยสาวก ในประศาสนานี้ ย่อมตรึกถึงพระตถาคต พระธรรม พระสงฆ์เนือง ๆ ก็สมัยใด อริยสาวก ระลึกถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม พระสงฆ์เนือง ๆ สมัยนั้น
จิตของ อริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว ก็ อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเชนนี้ ย่อมได้ความซาบซึ้งอรรถ ย่อมได้ความซาบซึ้งธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วย ธรรม เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมสบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่นเป็น สมาธิ (มหานามสูตร/อัง.ฉักก./๒๒/๒๘๑) คำว่า อริยสาวก ในพระสูตรนี้ก็ย่อมจะหมายถึงบุคคลที่ได้สมาธิจนถึงระดับอัปนาสมาธิมาแล้วนั่นเอง ฉะนั้นแล้วก็คงจะไม่บรรลุมรรคผลจนได้ชื่อว่าเป็น อริยสาวก นอกจากนี้แล้ว ฌนลาภีบุคคล (หมายถึงบุคคลผู้ได้สมาธิระดับฌานแล้วแต่ยังไม่บรรลุมรรคผล) และอริยสาวก ที่ยังเป็นเสขบุคคล (ยังไม่บรรลุอรหัตผล) ก็ยังอาจจะยกระดับปัญญาของท่านให้สูงขึ้นได้โดย การตั้งสติระลึกในฐานธรรม นี้เอง
ได้คัดลอกข้อมูลนำมาตอบเป็นเพียงบางส่วน ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามลิ้งค์ค่ะ
http://61.19.145.7/student/web42106/513/513-3637/ja.html
Guru
บัวผลิหน่อ
เข้าร่วม: 18 ส.ค. 2006
ตอบ: 2
ที่อยู่ (จังหวัด): Bangkok
ตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2006, 6:24 pm
อื่มม์ ยังไม่โดน
ที่ตอบมา มันกว้างไปครับ เอาระดับแอดวานด์ เจาะจงลงไปเลย ได้มั้ย
แบบประมาณว่า กลางของกลาง กลางของกลาง
เหนือสะดือ สองนิ้ว แบบนั้นอ่ะ
_________________
ชีวิตมีเพียงปรากฏการณ์ทางอายตนะ เพื่อผ่านไปสู่แดนเกษมจากโยคะ
walaiporn
บัวบาน
เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
ตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2006, 1:05 am
สวัสดีค่ะ คุณ GURU
อ้างอิง แบบประมาณว่า กลางของกลาง เหนือสะดือสองนิ้ว
วิธีนี้คือการกำหนดจิตค่ะ ไม่ใช่ฐานจิต กำหนดจิตหมายถึงการตั้งสติรู้ให้เท่าทันจิตค่ะ
_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ยอดไผ่
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2006, 6:02 am
ช่วยตอบอีกแรงนะครับผม มีวัดธรรมงคลครับสอนขั้นตอนระดับจิตทุกขั้นตอน หรือยังไงลองเข้าgoogle แล้วพิมพ์วัดธรรมมงคลครับ อาจช่วยท่านได้บาง
walaiporn
บัวบาน
เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
ตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2006, 5:18 pm
เป็นการสอนแบบสติปัฏฐาน 4 หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน สิงห์บุรีค่ะ
_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2006, 3:31 am
มีผู้ปฏิบัติธรรมบางท่านข้องใจข้อปฏิบัติธรรมะเกี่ยวกับการวางที่ตั้งตามฐานของจิตในการภาวนา จึงได้ไปเรียนถามหลวงพ่อตามที่เคยได้รับรู้ รับฟังมาว่า " การภาวนาที่ถูกต้อง หรือจะสำเร็จมรรคผลได้นั้น ต้องตั้งจิตวางจิตไว้ที่กลางท้องเท่านั้น ใช่หรือไม่? " หลวงพ่อท่านตอบอย่างหนักแน่นว่า " ที่ว่าสำเร็จนั้นสำเร็จที่จิต ไม่ได้สำเร็จที่ฐาน คนที่ภาวนาเป็นแล้วจะตั้งจิตไว้ที่ปลายนิ้วชี้ก็ยังได ้" แล้วท่านก็บอกจำนวนที่ตั้งตามฐานต่างๆ ของจิตให้ฟัง จะเห็นได้ว่าท่านไม่ได้เน้นว่าต้องวางจิตใจที่เดียวที่นั่นที่นี่เพราะฐานต่างๆ ของจิตเป็นทางผ่านของลมหายใจทั้งสิ้น ท่านเน้นที่สติและปัญญาที่มากำกับใจต่างหาก สมดังในพระพุทธพจน์ที่ว่า " มโน ปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยาฯ" "ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่เป็นประธานสำเร็จได้ด้วยใจ "
ธรรมะบรรยาย .........หลวงปู่ดู่
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th