bansadet
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 03 มี.ค. 2008
ตอบ: 13
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่
|
ตอบเมื่อ:
05 มี.ค.2008, 11:21 am |
  |
ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะธรรมที่ทำให้พระอริยะ และความเป็นพระอริยะอันบุคคลนั้นยังไม่เห็น ดังนี้. สองบทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ความว่า ไม่ฉลาดในอริย
ธรรมอันแยกออกเป็นสติปัฏฐาน เป็นต้น.
ก็ชื่อว่า วินัย มี ๒ อย่าง แต่ละอย่างในแต่ละประเภท มี ๕ เพราะความไม่มีวินัยทั้ง ๒ นั้น อันนี้ท่านเรียกว่า อวินีต ในคำว่า อริยธมฺเม อวินีโต นี้.
วินัย ๒ อย่าง
จริงอยู่วินัยนี้มี ๒ อย่าง คือ สังวรวินัย ๑ ปหานวินัย ๑. เละวินัยแต่ละอย่าง ในวินัยแม้ทั้ง ๒ นี้ แยกออกเป็น ๕. จริงอยู่ แม้สังวรวินัยมี ๕ คือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร เละวิริยสังวร. แม้ปหานสังวร ก็มี ๕ อย่างเหมือนกัน คือ ตทังคปหาน วิกขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน และนิลสรณปหาน.
สังวรวินัยทั้ง ๕ นั้น สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุเข้าถึงด้วยปาฏิโมกข์สังวรนี้ นี้เรียกว่า สีลสังวร.
สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ คือ ถึงการสำรวมในจักขุนทรีย์ นี้เรียกว่า สติสังวร.
สังวรที่ตรัสไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอชิตะ กระแส(ตัณหา) เหล่าใด ในโลกมีอยู่ สติย่อมเป็นเครื่อง ห้ามกระแสเหล่านั้น เราตถาคตกล่าวสติว่าเป็น เครื่องระวังกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นอัน บุคคลย่อมละด้วยปัญญา. นี้เรียกว่า ญาณสังวร.
สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุ ย่อมอดทนต่อหนาวและร้อน นี้เรียกว่า ขันติสังวร.
สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุย่อมหยุดกามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ นี้เรียกว่า วิริยสังวร
อนึ่ง สังวรนี้แม้ทั้งหมด ท่านเรียกว่า สังวร เพราะเป็นเครื่องระวังกายทุจริต และวจีทุจริต เป็นต้น ที่ตนต้องระวังตามหน้าที่ของตนและเรียกว่า วินัย เพราะเป็นเครื่องขจัดกายทุจริต และวจีทุจริต เป็นต้นที่ตนต้องขจัดตามหน้าที่ของตน. สังวรวินัยพึงทราบว่า แยกออกเป็น ๕ ดังอธิบายมานี้ก่อน.
ปหานะ ๕
อนึ่ง การละองค์นั้นๆ ย่อมมีด้วยวิปัสสนาญาณนั้น ๆ เพราะเป็นปฏิปักษ์ในวิปัสสนาญาณ มีนามรูปปริเฉทญาณ เป็นต้น ดุจการกําจัดความมืด ย่อมมีได้เพราะแสงสว่างแห่งประทีปฉะนั้น. คือ ละสักกายทิฏฐิ ด้วยการกําหนดนามรูป, ละทิฏฐิที่ไม่มีเหตุและมีเหตุไม่เสมอกันด้วยการกำหนดปัจจัย, ละความสงสัยด้วยการข้ามความสงสัย อันเป็นส่วนภายหลัง แห่งการกำหนดปัจจัยนั้นนั่นเอง ละความยึดถือว่าเราของเรา ด้วยการพิจารณากลาปะ ( กลุ่ม, กอง ), ละสัญญาในธรรมที่ไม่เป็นมรรคว่าเป็นมรรค ด้วยการกำหนดมรรคและอมรรค, ละอุจเฉททิฏฐิด้วยการเห็นความเกิดขึ้น, ละสัสสตทิฏฐิด้วยการพิจารณาเห็นความเสื่อม, ละความสำคัญว่าไม่น่ากลัวในสิ่งที่น่ากลัวด้วยการพิจารณา เห็นภัย, และความสำคัญว่าชอบใจ (ยินดี) ด้วยการพิจารณเห็นโทษ, ละอภิรติสัญญา (ความสำคัญว่าน่ายินดียิ่ง) ด้วยนิพพิทานุปัสสนา, ละความเป็นผู้ไม่อยากจะหลุดพ้นด้วยญาณคือความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไป, |
|
_________________ สังวรที่ตรัสไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน อชิตะ กระแส(ตัณหา) เหล่าใดในโลกมีอยู่ สติย่อมเป็นเครื่องห้ามกระแสเหล่านั้น http://bansadet.9f.com |
|