Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ชีวิตหลังความตายต่อ3
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
โยคี19
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 15 เม.ย. 2008
ตอบ: 29
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
ตอบเมื่อ: 20 เม.ย.2008, 2:38 pm
เห็นเครื่องหมายที่จะนำตนไปสู่สุคติหรือทุคติ อันเป็นที่ ๆ ตนจะต้องไปเกิด ณ ที่นั้น คตินิมิตอารมณ์ที่เป็นฝ่ายกุศล ก็จะเห็นเป็นวิมาน หรือปราสาทราชวัง หรือนางเทพอัปสร วัดวาอาราม เห็นภิกษุสามเณร หรือเห็นครรภ์ของมารดา คตินิมิตอารมณ์ เครื่องหมายที่จะนำตนไปสู่ทุคติ ก็จะเห็นเหว เห็นถ้ำ เห็นปล่องที่น่ากลัว เห็นนายนิรบาล เห็นสุนัข แมว แร้ง กาที่จะมาทำร้ายตน
อารมณ์เหล่านี้ทั้งหมดเหล่านี้ เรียกว่า อารมณ์กามาวจรปฏิสนธิ ผู้ตายจะต้องไปเกิดในกามภูมิ ๑๑ คือ สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย มนุษย์ และเทวดา ซึ่งมีอยู่ ๖ ชั้นด้วยกันจึงรวมเป็น ๑๑
ในเรื่องของกรรม มีพุทธพจน์ปรากฏในอัฏฐสาลินีอรรถกถาว่า
เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรติ กาเยน วาจาย มนสา
แปลเป็นใจความว่า
ภิกษุทั้งหลาย เรา(ตถาคต) กล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นกรรม เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรมโดยทางกาย วาจา ใจ
ในข้อนี้ก็หมายความว่า เจตนาอันได้แก่ความตั้งใจ หรือความจงใจที่จะกระทำกรรมโดยทางกาย วาจา ใจทั้งในทางดีหรือทางชั่วนั่นแหละเป็นตัวกรรม และเจตนานี้ก็ได้แก่ เจตนาที่ในอกุศลจิต ๑๒ และเจตนาที่ในโลกียกุศลจิต ๑๗ รวมเป็นเจตนา ๒๙นั่นเอง
อย่างไรก็ดี ในที่นี้ต้องเว้นเจตนาในโลกุตรกุศล ๔ ได้แก่ เจตนาในมรรคจิต ๔ เพราะเจตนาในมรรคกรรม ๔ นี้ มีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นกรรมที่มิได้ทำให้ต้องท่องเที่ยวอยู่ในภูมิต่าง ๆ แต่เป็นกรรมที่ตัดวัฏฏะ ความเวียนว่ายตายเกิด ดังนั้นจึงต้องตัดเอาออกเสีย
สำหรับเจตนาในวิบาก ซึ่งมีอยู่ ๓๖ ก็จัดเป็นกรรมไม่ได้ เพราะเป็นผล ไม่ใช่ตัวกรรม และเจตนาในกิริยาจิต ๒๐ ก็ไม่จัดเป็นกรรม เพราะสักแต่ว่ากระทำ จึงหาเป็นบุญเป็นบาปได้ไม่
[size=12]
เจตนาในความหมายที่เป็นตัวกรรมนั้นมี ๒๙ ได้แก่จิตเหล่านี้ คือ
เจตนาในโลภมูลจิต ๘ รวมเป็นเจตนาในอกุศลจิต ๑๒
เจตนาในโทสมูลจิต ๒
เจตนาในโมหมูลจิต ๒
เจตนาในมหากุศลจิต ๘ รวมเป็นเจตนาในโลกียกุศลจิต ๑๗
เจตนารูปาวจรกุศล ๕ (ทำจิตเข้าถึงฌาน1,2,3,4.5)
เจตนาในอรูปาวจรกุศล ๔ (ทำจิตเข้าถึงอรูป
ฌาน1,2,3,4)
รูปาวจรกุศล ๕ กับอรูปาวจรกุศล ๔ เป็นจิตที่บุคคลทำสมาธิจนได้ถึงฌานในขั้นต่าง ๆ ทั้งรูปฌาน อรูปฌาน ทำให้กิเลสนิวรณ์ที่มีอยู่ภายในจิตใจสงบลงได้ไม่เฟื่องฟูขึ้นมา ด้วยเหตุนี้ผู้ปฏิบัติได้ฌานถึงรูปาวจรจิต ๕ กับอรูปาวจรจิต ๔ เมื่อตายลงแล้วจึงปฏิสนธิในรูปพรหมและอรูปพรหมภูมิ
[/size]
บุคคลซึ่งใกล้จะถึงแก่ความตายจะต้องมีอารมณ์ และอารมณ์ที่เกิดขึ้นมาก็จะหนีบุญหนีบาปไม่ได้ และ อารมณ์ที่ใกล้ชิดกับความตายนี่เอง ที่เป็นผู้ผลักส่งให้ผู้ตายนั้นไปเกิดใหม่ มีจิต เจตสิก และกรรมชรูป ขึ้นมาในภพชาติใหม่ตามแต่อำนาจของอารมณ์ หรือเจตนาอันเป็นบุญหรือบาปที่เกิดขึ้นเมื่อตอนใกล้จะถึงแก่ความตาย
เมื่อตอนใกล้จะถึงแก่ความตายมีอารมณ์ที่เรียกว่า กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ และคตินิมิตอารมณ์
เกี่ยวกับโลภมูลจิต ๘ ดวงใดดวงหนึ่ง
ผู้ปฏิสนธิในชาติใหม่ก็จะได้ชีวิตจิตใจเป็นเปรต อสูรกาย
เมื่อตอนใกล้จะถึงแก่ความตายมีอารมณ์ที่เรียกว่า กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ และคตินิมิตอารมณ์ เกี่ยวกับโทสมูลจิต ๒ ดวงใดดวงหนึ่ง ผู้ปฏิสนธิในชาติใหม่ก็จะได้ชีวิตจิตใจเป็นสัตว์นรก
เมื่อตอนใกล้จะถึงแก่ความตายมีอารมณ์ที่เรียกว่า กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ และคตินิมิตอารมณ์[
size=18] เกี่ยวกับโมหมูลจิต ๒ ดวงใดดวงหนึ่ง
[/size]ผู้ปฏิสนธิในชาติใหม่ก็จะได้ชีวิตจิตใจเป็นสัตว์เดรัจฉาน
เมื่อตอนใกล้จะถึงแก่ความตายมีอารมณ์ที่เรียกว่า กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ และคตินิมิตอารมณ์ เกี่ยวกับมหากุศลจิต ๘ ดวงใดดวงหนึ่ง ผู้ปฏิสนธิในชาติใหม่ก็จะได้ชีวิตจิตใจเป็นมนุษย์และเป็นเทวดาทั้ง ๖ ชั้น
บุคคลทั้งหลายที่จะทำอะไร หรือจะไปไหนนั้นก็จะต้องคิดนึกเสียก่อน เช่นนึกว่าจะไปถนนตก แล้วก็ไปถนนตก นึกว่าจะไปเชียงใหม่ แล้วก็ไปเชียงใหม่ ถ้าไม่นึกคิดขึ้นมาก่อน หรือเจตนามิได้มีแล้ว ก็จะไป ณ ที่นั้นไม่ได้ ด้วยเหตุนี้อำนาจของกรรมหรืออำนาจของเจตนา จึงมีอิทธิพลมากเพราะเป็นตัวการสำคัญที่ส่งบุคคลนั้นให้ไปยังที่ใด บางคนจึงได้พูดว่า อารมณ์นั้นเป็นหนทาง เช่นอารมณ์ถนนตก และอารมณ์เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการนำทางให้ถึงจุดหมาย เป็นต้น ผู้ที่ใกล้จะถึงแก่ความตายจึงเกิดอารมณ์ขึ้น แล้วจึงได้อาศัยอารมณ์ที่ได้นี้เป็นหนทางไปสู่การปฏิสนธิ ตามแต่อำนาจของอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้น
การให้ผลของกรรมของบุคคลใกล้ตาย
แม้ว่าอารมณ์ทั้งหลายจะเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอดเวลาก็ดี แม้กรรมที่ได้ทำมาแล้วจะเป็นบาปหรือเป็นบุญจะต้องกระทบกับจิตแล้วแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาก็ดี แต่ก็หาใช่ว่าจะเกิดตามชอบใจได้ไม่จะต้องอาศัยเหตุปัจจัย
อารมณ์ที่จะเกิดขึ้นมาได้ง่ายนั้นจะต้องเป็นอารมณ์ที่มีกำลังมาก เช่นมีเรื่องกระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรง มีผู้คดโกงตัวเองอย่างย่อยยับ มีคดีอาญาที่ตนตกเป็นผู้ต้องหาอยู่ในโรงศาลที่ไม่น่าไว้วางใจว่าศาลจะพิพากษาให้ตนชนะได้
อารมณ์ที่ก่อความเศร้าหมองดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ จะมากระทบใจให้อดคิด อดพูดมิได้ และเกิดขึ้นบ่อย ๆ จะเป็นผู้ขาดความสุขไป และอารมณ์ที่เกิดขึ้นมาได้ง่ายช่วงชิงอารมณ์ทั้งหลาย หรือป้องกันอารมณ์ทั้งหลายไว้มิให้เกิดขึ้นได้โดยง่ายนี้ ก็เพราะว่าเป็นอารมณ์ที่มีกำลังมากจึงได้โอกาสจึงชนะในการที่จะกระทบใจ
ด้วยเหตุนี้ท่านทั้งหลายก็จะเห็นได้ว่า กรรมที่ได้กระทำลงไปแล้วนั้น มิได้สาบสูญสิ้นไปไหน หากแต่ยังอยู่ และคอยช่วงชิงเอาชนะซึ่งกันและกันคือกระทบใจออกมาเป็นอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ในผู้ใกล้จะถึงแก่ความตายเหมือนกัน ถ้ายกเว้นกรรมที่เรียกว่า ครุกรรม คือกรรมหนักออกเสียแล้ว กรรมที่เรียกว่า อาจิณกรรม คือกรรมที่ทำอยู่เสมอ ๆ หรือทำอยู่บ่อย ๆ จึงมักจะเกิดขึ้นได้โดยง่าย เช่น ฆ่าสัตว์อยู่เสมอหรือให้ทานอยู่เป็นประจำ
ลำดับแห่งการให้ผลของกรรมนั้นมี ๔ อย่าง คือ ๑. ครุกรรม ได้แก่ กรรมหนัก ๒. อาสันกรรม ได้แก่ กรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย ๓.อาจิณกรรม ได้แก่ กรรมที่ทำอยู่เสมอเนืองนิจ ๔. กฏัตตากรรม ได้แก่ กรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ
๑.ครุกรรม
ครุกรรม คือกรรมที่มีน้ำหนักมาก หรือเป็นกรรมที่มีกำลังมาก
ถ้าผู้ใดทำกรรมชนิดนี้แล้วจะเป็นฝ่ายกุศลหรืออกุศลก็ตาม ย่อมจะส่งผลให้ก่อนกรรมอื่น ๆ ทั้งหมดไม่มีกรรมอะไรมาขวางหน้าได้ และจะต้องให้ผลเมื่อตอนใกล้จะตายก่อให้เกิดผล คือการปฏิสนธิในชาติที่ ๒ อย่างแน่นอน
อกุศลครุกรรม ไก้แก่ นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม คือมีความเห็นผิดอย่างรุนแรง มีอยู่ ๓ คือ นัตถิกทิฏฐิ มีความเห็นว่า จะทำบาปทำบุญประการใดก็ตาม ผลที่จะได้รับย่อมไม่มี เป็นคนไม่เชื่อผล อเหตุกทิฏฐิ เห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่กำลังเป็นไปอยู่นั้นไม่ได้อาศัยอะไรที่เนื่องมาแต่เหตุแต่ประการใดเลย เป็นคนไม่เชื่อเหตุ และอกิริยทิฏฐิ เห็นว่า การกระทำต่าง ๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น สักแต่ว่ากระทำไปไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาปอย่างใดเลย ไม่เชื่อทั้งเหตุและผล
ไม่เชื่อผลของกรรมที่ทำมาแล้วว่าจะนำให้มาเกิดเป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ และได้รับผลเป็นทุกข์เป็นสุขอยู่เสมอ ไม่เชื่อเหตุที่ได้กระทำลงไปว่าจะนำให้เกิดได้ในชาติหน้าแล้วทำให้ผลเป็นทุกข์เป็นสุขได้ และเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายสักแต่ว่ากระทำลงไป หาได้ก่อให้เกิดเหตุผลประการใดไม่
นอกจากนี้ก็ยังมีปัญจานันตริยกรรม ๕ คือ ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำให้พระพุทธเจ้าห้อพระโลหิต และทำสังฆเภทกรรมคือทำให้สงฆ์แตกแยกกัน ส่วนครุกรรมทางฝ่ายกุศลนั้น ได้แก่ มหัคคตกุศลกรรม ๙ คือทำสมาธิจนได้ถึงฌานขั้นต่าง ๆ เมื่อได้ฌานที่สูงขึ้นไป ฌานที่ต่ำกว่าก็หมดโอกาสที่จะให้ผลได้ เช่นผู้ได้ทุติยฌานอันเป็นฌานที่ ๒ ก็จะต้องได้อารมณ์ของฌานที่ ๒ เมื่อเวลาใกล้ตาย ฌานที่ ๑ ปฐมฌานให้ผลไม่ได้ เป็นต้น
สำหรับโลกุตรกุศลกรรม ๔ นั้น ก็จัดว่าเป็นครุกรรมเหมือนกัน แต่ไม่มีหน้าที่นำเกิดได้ มีหน้าที่ทำลายการเกิดเท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี โลกุตรกุศลกรรม เช่นพระโสดาบันบุคคล ก็ย่อมจะไม่ได้อารมณ์ที่ไม่ดีเมื่อตอนใกล้ตาย เพราะผู้ที่ได้มรรคผลทำลายความเห็นผิดของตนได้เด็ดขาดแล้วก็ย่อมจะไม่เกิดในทุคติภูมิ
๒.อาสันกรรม
อาสันกรรม คือ กรรมที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาใกล้ตาย หรือติดชิดกับความตาย
เช่น มีเหตุให้ระลึกถึงสิ่งที่ดีที่ชั่ว บุญหรือบาปขึ้นมาเมื่อก่อนตาย เพราะกรรมที่เกิดขึ้นมานี้ ถ้าเป็นอกุศลอาสันกรรม ก็มีอำนาจส่งไปให้ปฏิสนธิในทุคติภูมิ เมื่อบุคคลใกล้จะถึงแก่ความตาย ก็มีเหตุจูงใจให้ได้โอกาสคิดนึก หรือได้ประสบกับอารมณ์ที่ดีหรือไม่ดี หรือมีผู้จูงใจมาให้อารมณ์ มาพูดคุยให้คิดถึงเรื่องอันเป็นกุศล ถ้าบุคคลใดไม่ได้ทำครุกรรมไว้แล้ว อาสันกรรม คือกรรมใกล้ตายนี้ก็จะเป็นผู้ให้ผล
๓.อาจิณกรรม
อาจิณกรรม เป็นกรรมที่ทำอยู่เสมอ จะเป็นบุญหรือบาปก็ตาม
เช่นการประกอบอาชีพที่ทำจนชำนาญเพราะได้ทำซ้ำ ๆ กันมาในเวลาที่ยาวนาน ถ้าบุคคลใดไม่ได้ทำครุกรรมไว้แล้ว (อีก)ทั้งอาสันกรรมก็มิได้มาให้ผลแล้ว แต่(ถ้า)บุคคลนั้นได้ทำกรรมชนิดไหนลงไปจนเกิดความชำนาญแท้จริง อารมณ์ของผู้ใกล้ตายนั้นก็มีโอกาสที่จะเกิดอาจิณกรรมอยู่เสมอ เพราะสิ่งใดที่ทำมาจนชำนาญแล้ว ก็ย่อมจะเกิดขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย ด้วยเหคุนี้คนที่ใกล้ตายส่วนมากจึงมักจะหนีอาจิณกรรมไปไม่พ้น
๔.กฏัตตากรรม
กฏัตตากรรม ได้แก่ กรรมเล็กน้อย
เป็นการกระทำที่โดยมากไม่ครบองค์กรรมบถหรือไม่ครบองค์ของเจตนา และบางทีก็เป็นกรรมที่เกิดขึ้นมาแล้วในภพก่อน ๆ สัตว์ทั้งหลายย่อมหนีจากกรรมเล็กน้อยเหล่านี้ไปไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นบุญหรือบาปอย่างไรก็ตาม เมื่อใกล้จะถึงแก่ความตาย กรรมเล็กน้อยเหล่านี้ก็มีโอกาสปรากฏขึ้นเป็นอารมณ์ และมีโอกาสชักนำกรรมที่มีกำลังมากทั้งหลายให้เกิดขึ้นมาได้โดยง่าย
ตามที่ผม (อาจารย์ บุญมี เมธางกรู) ได้บรรยายมาแล้ว ท่านก็จะเห็นได้ว่า กรรมทั้งหลายก็มีกำลังหนักหรือเบา ลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ คอยจ้องสนองตอบต่อผู้กระทำอยู่ตลอดเวลา อาศัยเหตุอาศัยปัจจัยก่อให้เกิดผลขึ้นมา ถ้าเหตุปัจจัยยังไม่พร้อมก็สงบอยู่ ผู้ที่มิได้ศึกษาเล่าเรียน ผู้ที่มิได้คิดพิจารณาให้ลึกซึ้งจึงมองไม่เห็น แล้วก็กระทำอะไรต่าง ๆ ลงไปตามแต่ความปรารถนาของจิตใจที่หนุนอยู่ภายในโดยมิได้ไตร่ตรองเสียให้รอบคอบ ซึ่งโดยมากก็จะเป็นไปในทางที่จะก่อให้เกิดผลเสียหาย บังเกิดทุกข์โทษภัยทั้งในชาตินี้และชาติข้างหน้าเป็นอันมาก แต่แม้จะได้รับผลไม่ดีสักเท่าใด ผู้ที่ได้รับผลอันเป็นทุกข์โทษภัยเหล่านั้นก็หาได้ทราบไม่ ว่าผลต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นมาจากกรรมที่ตนได้กระทำไว้ จึงได้เศร้าเสียใจอย่างแสนสาหัส แล้วก็พร่ำพูดโทษคนอื่นหรือสิ่งอื่นว่ามาทำให้ตนเดือดร้อน บางทีก็พูดว่าไม่เคยทำบาปกรรมหนักอะไรมาเลย
การที่บุคคลทั้งหลายไม่ทราบได้โดยง่ายถึงผลแห่งกรรมที่ตนได้รับนั้น ก็เพราะอำนาจของกรรมมีกำลังมีความสามารถต่าง ๆ กัน ต่างก็ช่วงชิงโอกาสที่จะให้ได้ผลก่อน ด้วยเหตุนี้เมื่อได้เห็นผู้ที่ได้กระทำชั่วลงไปแล้ว กลับมีความสุขความสบาย และผู้ที่ได้กระทำความดีมากมาย แต่กลับได้รับผลร้ายอยู่เสมอ จึงคิดว่าผลของกรรมนั้นไม่มี กรรมทั้งหลายให้ผลไม่ได้เลย แล้วบางคนกลับพูดว่า กรรมไม่มีเพราะมองไม่เห็นตัว
เหมือนการปลูกต้นไม้ เมื่อปลูกลงไปแล้วก็จำเป็นจะต้องรอคอยวันเวลาที่มันจะให้ผลขึ้นมา ปลูกวันนี้แล้วจะเอาผลในวันพรุ่งนี้ได้กระไรได้ บางทีก็ต้องรอคอยถึง ๑ ปี ๕ ปี แต่บางชนิดจะต้องคอยถึง ๑๐ ปีหรือมากกว่าก็ได้ อำนาจของกรรมก็เช่นเดียวกัน บางทีก็จะให้ผลในชาตินี้ บางทีก็จะให้ผลในชาติหน้า และบางทีก็จะให้ผลในชาติต่อ ๆ ไปเลยชาติหน้าไปอีกหลายชาติก็ได้
เหตุผลนี้ก็ได้แก่กำลังอำนาจของกรรมว่ามากน้อยเพียงใด และกรรมทั้งหลายที่ผู้กระทำได้ก่อเอาไว้มากมายหลายชาตินั้น ต่างก็ช่วงชิงที่จะให้ผลซึ่งกันและกัน บางทีกรรมของชาติใน ๆ เข้าไปหลายชาติได้โอกาสที่จะแสดงผลของมันขึ้นมาในชาตินี้ก็มี
พระภิกษุองค์หนึ่งประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ประกอบกิจที่เป็นการบุญการกุศล ทั้งบวชมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็กติดต่อกันมา แต่เมื่อถึงวัยชรา มีธุระต้องเดินทางไปต่างจังหวัดโดยรถยนต์ได้เกิดอุบัติเหตุรถยนต์พลิกลงข้างถนน ได้รับบาดเจ็บสาหัสแล้วก็กลายเป็นอัมพาตไปจนตลอดชีวิต ใคร ๆ ก็พากันพูดว่า ท่านไม่ได้ทำบาปทำกรรมอะไรมาตั้งแต่ยังเล็ก ๆ แล้วเหตุไฉนท่านจึงได้รับผลร้ายในบั้นปลายของชีวิตถึงเช่นนี้ กรรมที่ทำดีมาตลอดเวลาอันยาวนานนั้นหายไปไหนเสีย ไม่ช่วยท่านบ้างหรืออย่างไรหรือว่ากรรมไม่มีจึงให้ผลไม่ได้
ใครจะทราบว่า เมื่อ ๒ ชาติที่แล้วมาอายุยังรุ่นคะนองหนุ่มฉกรรจ์นั้น ท่านชอบออกป่าล่าสัตว์กับเพื่อนฝูงหลายครั้ง สัตว์บางตัวได้รับบาดเจ็บสาหัสล้มตายลงไป บางตัวหนีได้ซ่อนตัวอยู่ในสุมทุมพุ่มไม้อดข้าวอดน้ำจนตาย
คนที่ไม่ได้ศึกษาสภาวธรรมให้มีความเข้าใจ ต่างก็คิดและถกเถียงกันไปในแง่มุมต่าง ๆ แต่ก็ไม่อาจจะตัดสินได้ถูกต้อง แม้บางท่านที่ว่าเป็นกรรมเก่าในชาติก่อน ก็พูดไปกระนั้นเอง หาได้มีหลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่จะมาสนับสนุนประกอบคำกล่าวของตนแต่ประการใดไม่ แม้ผู้พูดเองก็ลังเลใจแต่ได้พูดไปตามความคิดนึก เพราะไม่ทราบว่าจะออกทางไหน ยิ่งไปกว่านั้นบางท่านที่ไม่มีความเข้าใจอะไรเลย ก็จะซัดไปยังคนขับรถว่ามีความประมาทซึ่งเป็นกรรมปัจจุบันเท่านั้นเอง
กำหนดเวลาในการให้ผลของกรรมนั้น ย่อมจะมีอยู่ตามอำนาจของกรรม ตามอำนาจของเจตนารมณ์ที่เกิดขึ้นมา ในขณะที่เสพอารมณ์ที่เป็นชวนะในวิถีจิตต่าง ๆ เพราะชวนะที่เสพอารมณ์ดังกล่าวนั้นย่อมจะมีความหนักเบาไม่เหมือนกัน
ดังนั้นกรรมที่มีกำลังน้อยจึงให้ผลได้แต่ในชาตินี้ ให้ผลไปในชาติข้างหน้าไม่ถึง เพราะกำลังไม่พอ กรรมบางประเภทให้ผลในชาติหน้าเท่านั้น และกรรมบางประเภทมีกำลังมากที่สุด จึงสามารถให้ผลได้ตั้งแต่ในชาติที่ ๓ เป็นต้นไป (นับชาตินี้เป็นชาติที่ ๑) และกรรมบางประเภทยกเลิกการไม่ส่งผลเลยก็มี
การให้ผลของกรรมตามวาระ
กำหนดเวลาในการให้ผลของกรรมนั้น ย่อมจะมีอยู่ตามอำนาจของกรรมตามอำนาจของเจตนารมณ์ที่เกิดขึ้นมา ในขณะที่เสพอารมณ์ที่เป็นชวนะในวิถีจิตต่าง ๆ เพราะชวนะที่เสพอารมณ์ดังกล่าวนั้นย่อมจะมีความหนักเบาไม่เหมือนกัน ดังนั้นกรรมที่มีกำลังน้อยจึงให้ผลได้แต่ในชาตินี้ให้ผลไปในชาติข้างหน้าไม่ถึง เพราะกำลังไม่พอ กรรมบางประเภทให้ผลในชาติหน้าเท่านั้น และกรรมบางประเภทมีกำลังมากที่สุด จึงสามารถให้ผลได้ตั้งแต่ในชาติที่ ๓ เป็นต้นไป (นับชาตินี้เป็นชาติที่ ๑) และกรรมบางประเภทยกเลิกการไม่ส่งผลเลยก็มี
วิถีจิตเพื่อประกอบการอธิบายการให้ผลของกรรมตามวาระ มีดังนี้ คือ
อติมหันตารมณ์
ปัญจทวารวิถี (วิถีที่เกิดทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย) .
อตีตภวังค์ (ภวังค์เก่า) .
ภวังคจลนะ(ภวังค์ไหว) .
ภวังคุปัจเฉทะ(ภวังค์ตัด) .
ปัญจทวาราวัชชนะ (ประตูรับอารมณ์ทั้ง ๕) .
ปัญจวิญญาณ(วิญญาณทั้ง ๕) .
สัมปฏิจฉนะ(รับอารมณ์ทั้ง ๕) .
สันตีรณะ(พิจารณาอารมณ์) .
โวฏฐัพพนะ(ตัดสินอารมณ์) .
ชวนะ(เสพอารมณ์) .
ชวนะ .
ชวนะ .
ชวนะ .
ชวนะ .
ชวนะ .
ชวนะ .
ตทาลัมพณะ (ยึดหน่วงอารมณ์จากชวนะ) .
ตทาลัมพณะ
ภวังค์
วิภูตารมณ์
ภวังคจลนะ(ภวังค์ไหว)
ภวังคุปัจเฉทะ(ภวังค์ตัด)
มโนทวาราวัชชนะ
ชวนะ(เสพอารมณ์)
ชวนะ
ชวนะ
ชวนะ
ชวนะ
ชวนะ
ชวนะ
ตทาลัมพณะ (ยึดหน่วงอารมณ์จากชวนะ)
ตทาลัมพณะ
ภวังค์
การให้ผลของกรรมตามวาระที่จะให้ผลได้นั้นมี ๔ ประการ คือ
๑ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ให้ผลได้ในชาติปัจจุบัน
๒ อุปปัชชเวทนียกรรม ให้ผลได้ในชาติหน้า
๓ อปราปริยเวทนียกรรม ให้ผลได้ตั้งแต่ในชาติที่ ๓ เป็นต้นไป
๔ อโหสิกรรม เป็นกรรมที่ไม่ให้ผล
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เป็นกรรมที่ให้ผลได้ในชาตินี้เท่านั้น
จะไม่ติดตามข้ามไปยังชาติหน้าอันเป็นชาติที่ ๒ เลย เพราะมีกำลังไม่เพียงพอ คือ มีกำลังอ่อน
ผม (ท่านอาจารย์ บุญมี เมธางกรู) ได้เคยกล่าวมาแล้วว่า การเกิดอารมณ์ขึ้นทาง ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ที่เรียกว่าปัญจทวาร การเกิดอารมณ์ขึ้นทางใจ ที่เรียกว่า มโนทวารนั้น จะต้องเป็นไปตามลำดับตั้งแต่เริ่มต้น แล้วผ่านชวนะทั้ง ๗ ดวง
อารมณ์ที่เข้ามากระทบตั้งแต่เริ่มต้นเป็นลำดับมาจนถึงโวฏฐัพพณะ และมโนทวาราวัชชนะ ซึ่งเป็นตัวตัดสินว่าเป็นอารมณ์อะไร ดีหรือเลว ชอบหรือไม่ชอบ แล้วชวนะทั้ง ๗ ดวงก็จะเป็นตัวเสพอารมณ์นั้น นั่นก็คือ มีความยินดี ยินร้าย ทุกข์หรือสุข และชวนะทั้ง ๗ ดวงนี่เอง ที่จะเกิดบุญหรือบาปได้ตามแต่อารมณ์ที่ได้รับมาแต่ตอนต้นตามลำดับจนถึงการตัดสินอารมณ์ วิถีจิตทั้งปัญจทวารและมโนทวารก็เกิดขึ้นตามลำดับดังกล่าวนี้มากมาย
ในชวนะทั้ง ๗ ดวงซึ่งเป็นกรรม เป็นตัวบุญหรือบาปนี้ มีกำลังไม่เท่ากัน ชวนะดวงที่ ๑ นั้นมีกำลังน้อยที่สุด ชวนะดวงอื่นก็มีกำลังลดหลั่นกันออกไป ฉะนั้น จึงมีความสามารถให้ผลได้ในเวลาต่างกัน ชวนะดวงที่ ๑ให้ผลในชาตินี้ ชวนะดวงที่ ๗ ให้ผลในชาติหน้า และชวนะดวงที่ ๒ถึงที่ ๖ จะให้ผลในชาติต่อ ๆ ไปเมื่อได้โอกาส คือ ตั้งแต่ชาติที่ ๓ เป็นต้นไป
การให้ผลของกรรมตามชวนะต่าง ๆ นั้น ถ้ายกตัวอย่างของจริงบางเรื่องขึ้นมาก็คงจะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ถ้าเราขว้างก้อนดินก้อนหนึ่งไปข้างหน้า เราก็ขว้างไปได้ไกล เพราะเป็นผู้ใหญ่มีกำลังมาก แต่ถ้าจะให้เด็กเล็ก ๆ ขว้างก้อนดินดังกล่าวแล้ว ก็จะขว้างไปได้ไม่ไกลเลย ทั้งนี้ก็เพราะเด็กมีกำลังน้อย
ถ้าเราปลูกต้นผลไม้ เช่นต้นมะม่วงก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องคอยเวลาจนกว่ามันจะออกผล ซึ่งแน่ละ ก็ต้องใช้เวลานานหลายปีเหมือนกัน แต่เมื่อมันออกผลแล้ว ผลที่มันออกมาปีแรกมันก็จะออกมาไม่กี่ผล จะให้มันดก คือออกผลมากตามใจเราก็ย่อมจะเป็นไปไม่ได้ เราจึงมักพูดกันว่า ต้นมะม่วงมันสาว แล้วจะให้ออกผลมากได้อย่างไร กำลังความสามารถของมันยังไม่เพียงพอที่จะให้เป็นเช่นนั้นได้ แม้เราจะปรนนิบัติมันอย่างไรก็ตาม
ชวนจิตดวงที่ ๑ ก็เช่นกัน จะให้ผลได้ในชาตินี้เท่านั้น จะเลยไปถึงชาติหน้าชาติโน้น มันก็ไม่มีกำลัง การที่ให้ผลน้อยเพราะมันมีกำลังของการให้ผลอ่อน บางทีก็มองไม่เห็นเลย และบางทีก็ให้ผลในชาตินี้ยังไม่ได้ เช่นผู้กระทำกรรมนั้นได้ตายไปเสียก่อนก็มี ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นผู้คนเป็นอันมากกระทำบาปอกุศล แต่ไม่เห็นได้รับผลร้ายอะไรเลย กลับอยู่ดีมีความสุขความสบาย ส่วนคนที่ทำแต่ความดีเป็นบุญเป็นกุศล แต่เห็นได้รับความลำบากทุกข์ยากเหลือหลาย หาความสุขความสบายไม่ค่อยได้ก็มีมาก แล้วเราก็พากันพูดว่า ทำดีไม่ได้ดี แต่ทำชั่วกลับได้ดี
เราจะให้ผลกรรมเห็นทันตาในชาตินี้กระไรได้ มันจะเป็นไปได้อย่างไรเล่า เหมือนเราจะให้เด็กอ่านออกเขียนได้ภายในไม่กี่วัน เราจะให้คนทำงานได้โดยไม่ต้องศึกษาหาความรู้ให้เพียงพอเสียก่อน และเราจะพยายามปลูกต้นมะม่วงวันนี้ แล้วรุ่งขึ้นพรุ่งนี้จะให้มันออกผลเต็มต้น ทั้งนี้ก็เพราะกรรมที่ให้ผลในชาตินี้ คือชวนะดวงที่ ๑ เรียกชื่อว่า ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนั้นมีกำลังน้อย ทั้งไม่มีกำลังเพียงที่ให้เลยไปถึงชาติหน้าได้ด้วย เหตุนี้ถ้าความตายได้เกิดขึ้นแก่บุคคลใดแล้ว ชวนะดวงที่ ๑ที่ยังไม่ให้ผล จึงได้เป็นอโหสิกรรมไป คือเลิก
ให้ผล ข้อยกเว้นสำหรับชวนะดวงที่ ๑ ก็มีเหมือนกัน แต่ก็ไม่มากทั้งทางฝ่ายกุศลและอกุศลซึ่งผู้กระทำที่ได้รับผลทันตาเห็นภายใน ๗วัน เรียกว่า อปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เช่นถวายอาหารแก่พระอรหันต์ที่ออกจากนิโรธสมาบัติ เป็นต้น
สำหรับชวนะดวงที่ ๗ เรียกว่า อุปปัชชเวทนียกรรม เป็นกรรมที่มีกำลังมาก ดังนั้น จึงมีความสามารถส่งผลให้ได้ในชาติหน้า ให้ผลทั้งในปฏิสนธิกาล คือในขณะเกิดในภพใหม่ และให้ผลทั้งในปวัตติกาล คือเกิดขึ้นมาในภพใหม่แล้ว แต่ก็เพียงชาติหน้าชาติเดียวเท่านั้น กำลังอำนาจไม่เพียงพอสำหรับชาติที่ ๓ และชาติต่อ ๆ ไป อำนาจที่ว่ามากนั้น มีกำลังเพียงพอที่จะให้ผู้ตายเกิดขึ้นในชาติใหม่ คือชาติที่ ๒ ได้ เราเรียกกันว่า ให้อำนาจในการปฏิสนธิในขณะกำลังเกิดและให้ผลในปวัตติกาล คือ เกิดขึ้นมาแล้วจึงให้ผล
การที่ชวนะดวงที่ ๗ อันเป็นดวงสุดท้ายให้ผลได้ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาลดังกล่าวแล้ว หรือมีกำลังความสามารถที่จะให้ผลได้จนถึงในชาติหน้าก็ดี ก็ให้เพียงชาติหน้าชาติเดียวเท่านั้นเองที่เราเรียกว่าชาติที่ ๒ แต่ก็หมดความสามารถที่จะให้ผลในชาติที่ ๓ หรือชาติต่อ ๆ ไปได้ทั้งนี้ก็เพราะกำลังไม่เพียงพอที่จะให้ผลไปไกลได้ ด้วยเหตุนี้ เมื่อสิ้นชีวิตลงไปในชาติที่ ๒ แล้ว ตัวกรรมอันเป็นชวนะดวงที่ ๗ ก็เลิกให้ผลเป็นอโหสิกรรมไป การที่ชวนะดวงที่ ๗นี้ให้ผลได้มาก แต่ก็ไม่มากจริงจนไปถึงชาติที่ ๓ หรือชาติต่อ ๆ ไปได้นั้น เปรียบเหมือนต้นมะม่วงที่จะให้ผลน้อยมี ๒ ตอน คือ ตอนต้นยังสาวอยู่ก็ให้ผลน้อย แล้วตอนแก่ก็ให้ผลน้อยเหมือนกัน แต่ก็ยังดีกว่าในตอนต้น ทั้งนี้ก็เพราะกำลังของการให้ผลไม่เพียงพอ
ส่วนชวนะดวงที่ ๒ถึงที่ ๖ นั้นเรียกว่า อปราปริยเวทนียกรรม ให้ผลได้ตั้งแต่ในชาติที่ ๓ เป็นต้นไปจนนับชาติไม่ได้ทุก ๆ ชาติไป แม้แต่เป็นพระอรหันต์กิเลสหมดสิ้นแล้วยังติดตามไปให้ผล ในพระสูตรก็จะพบว่า พระอรหันต์บางองค์ได้รับความลำบากมาก ท่านจึงเปรียบเทียบว่า เหมือนสุนัขไล่เนื้อ มันจะติดตามเนื้อไปไม่หยุดเลยจนกว่าจะทันและจับเนื้อได้
ชวนะดวงที่ ๒ ถึงที่ ๖ นั้นเรียกว่า อปราปริยเวทนียกรรม ให้ผลได้ตั้งแต่ในชาติที่ ๓ เป็นต้นไป เพราะมีกำลังมากจึงให้ผลยาว สามารถให้ผลได้ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล แต่อย่างไรก็ดี ในวิถีเดียวกันนั้น ดวงใดดวงหนึ่งให้ผลปฏิสนธิเสียดวงหนึ่งแล้ว เหลืออีก ๔ ดวง จะให้ผลในปฏิสนธิในอีก ๔ไม่ได้ เพราะในวิถีเดียวกันจะให้ปฏิสนธิดวงเดียวเท่านั้น ที่เหลือต้องให้ผลในปวัตติกาล ให้ความทุกข์ ให้ความสุข หรือแม้จะเข้ามาสนับสนุน หรือตัดรอนการปฏิสนธิก็ได้
ท่านทั้งหลายก็ไม่ต้องเกรงว่า จะไม่มีชวนะอันเป็นตัวกรรมนั้นเข้ามาให้ผลได้ตลอดเวลา ตลอดชีวิต เพราะว่าคนทำกรรมทั้งดีทั้งชั่วครั้งหนึ่งนั้น วิถีจิตเกิดขึ้นมากมาย และชวนะตัวการเสพอารมณ์ก็เกิดขึ้นมานับไม่ไหว
บุคคลทั้งหลายเมื่อแยกออกตามสภาวธรรมแล้วก็มีอยู่ ๑๒ บุคคลคือ [/color
]ทุคติบุคคล ๑ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ทวิเหตุกบุคคล ๑ ติเหตุกบุคคล ๑ รวมเรียกบุคคลทั้ง ๔ ว่า ปุถุชน ๔
โสดาปัตติมรรคบุคคล ๑ สกทาคามิมรรคบุคคล ๑ อนามิมรรคบุคคล ๑ อรหัตมรรคบุคคล ๑ โสดาปัตติผลบุคคล ๑ สกทาคามิผลบุคคล ๑ อนามิผลบุคคล ๑ อรหัตผลบุคคล ๑ รวมเรียกบุคคลทั้ง ๘ นี้ ว่า พระอริยบุคคล ๘
และรวมเรียกปุถุชน ๔ และพระอริยบุคคล ๘ นี้ว่าบุคคล ๑๒
[size=18]ภพภูมิที่สัตว์เกิดขึ้นมาในกามภูมิ๑๑ คือ[/
size]
สัตว์นรก ๑ สัตว์เดรัจฉาน ๑ เปรต ๑ อสูรกาย ๑ รวมเรียก ๔ ภูมินี้ว่า อบายภูมิ ๔
มนุษยภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ รวมเรียก ๔ ภูมินี้ว่า กามสุคติภูมิ ๗
รวมเรียก อบายภูมิ ๔ และ กามสุคติภูมิ ๗ ว่า กามภูมิ ๑๑
จิตของสัตว์ที่จะปฏิสนธิในภพภูมิต่าง ๆ
๑.จิตที่ชื่อว่า อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก ๑ ดวง นำปฏิสนธิในทุคติภูมิ คือเกิดเป็น สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย
๒. จิตที่ชื่อว่า อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก ๑ ดวง นำปฏิสนธิเป็นมนุษย์กับเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ชั้นต่ำสุด และเป็นบุคคลที่ไม่สมประกอบ
๓.จิตที่ชื่อว่า มหาวิบากจิต ๘ ดวง นำปฏิสนธิในมนุษย์ ๑ ภูมิ กับเทวภูมิ ๖ ภูมิ
๔.จิตที่ชื่อว่า มหัคคตวิบาก ๙ นำปฏิสนธิในรูปพรหมและอรูปพรหม
ตามธรรมดาเมื่อเราต้องการทราบว่า กิจการงานของใครดีเด่น หรือบังเกิดความเสียหายอย่าร้ายแรงจนเป็นที่เลื่องลือ เราก็จำเป็นจะต้องค้นหาความจริงของเรื่องนั้นหลายทางด้วยกัน เช่นบุคคลนั้นคือใคร เป็นคนดีหรือไม่ดีอย่างไร อยู่ที่ไหน ในสถานที่นั้นเป็นอย่างไร และบุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลประเภทไหน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ในการแสดงเรื่องจุติปฏิสนธิก็เหมือนกัน ก็จำเป็นที่จะต้องแสดงให้ท่านทั้งหลายทราบว่า บุคคลผู้เกิดขึ้นมานั้นเป็นบุคคลชนิดไหน ทำไมถึงได้เกิดมาในสถานที่นั้น ในสถานที่นั้นเป็นอย่างไร และมีความเป็นมาประการใดบ้างทั้งในอดีตและปัจจุบัน
คำว่า บุคคล นั้น ตามสภาวธรรม มิได้มีความหมายเฉพาะเจาะจง คน เท่านั้น หากแต่หมายถึงสัตว์ทั้งหลายทั่วไปด้วย เช่น สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย มนุษย์ เทวดา หรือแม้พระอริยบุคคลเบื้องต้นไปจนพระอรหันต์ สิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น พื้นแผ่นดิน ภูเขา บ้านเรือน หรือ ต้นไม้ ไม่เรียกว่าบุคคล
คำว่า ปุถุชน นั้น หมายถึงผู้ที่หนาไปด้วยกิเลส มี โลภะ โทสะ โมหะ ครอบงำอยู่ในจิตพร้อมบริบูรณ์ ได้แก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในภพภูมิต่าง ๆ แต่ยกเว้นอริยบุคคล เพราะพระอริยบุคคลไม่ใช่ปุถุชน ด้วยท่านได้ทำลายกิเลสออกไปไปได้เด็ดขาดเป็นบางส่วนจนถึงทำลายจนหมดสิ้นเชิงแล้ว
๑. บุคคลที่ได้ทำอกุศลกรรมไว้เป็นส่วนมากในชาตินี้ หรือทำอกุศลกรรมไว้มากในอดีตชาติ เมื่อใกล้จะถึงแก่ความตาย ก็จะระลึกได้ถึงอกุศลที่ตนได้เคยทำมาราวกับว่าเป็นความฝัน หรือรู้สึกว่าได้เห็น ได้ยินจริง ๆ เช่นเห็นสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่า หรือได้ยินเสียงสัตว์กำลังร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวดอย่างสุดแสน เห็นไฟลุกหรือเห็นป่าเปลี่ยว เห็นเหวลึกที่น่าหวาดเสียว เห็นถ้ำที่น่ากลัวตลอดจนเห็นสัตว์เดรัจฉานชนิดต่าง ๆ การระลึกถึงกรรมในอดีตก็เพราะว่า บางท่านไม่ได้ทำบาปหรือทำบุญไว้ในชาตินี้เด่นชัดมากนัก จึงได้ล้วงเอากรรมในอดีตชาติมาเป็นอารมณ์ ก็เป็นไปได้เมื่อเวลาใกล้จะถึงแก่ความตาย บุคคลดังกล่าวนี้ จะถูกผลักส่งให้ไปเกิดเป็นสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย และเมื่อเกิดในสถานที่ดังกล่าวนี้แล้วก็เรียกว่า อบายภูมิ ๔ อันเป็นที่เกิด อันไม่มีความสุขความสบาย ได้รับความเดือดร้อน และตัวผู้เกิด ณ. อบายภูมิทั้ง ๔ นี้เรียกว่า ทุคติบุคคล
อบายภูมิทั้ง ๔ นี้ ผู้เกิดเป็นบุคคลที่มีกายอันละเอียดเป็นปรมาณู เห็นไม่ได้ สัมผัสไม่ได้ด้วยกายของเรา เรียกว่า โอปปาติกปฏิสนธิ เกิดขึ้นมาตัวใหญ่โตเต็มที่ มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หทยวัตถุ เพศหญิงหรือเพศชายพร้อม (ยกเว้นสัตว์นรกไม่มีเพศ) สัตว์เดรัจฉานที่มีกายหยาบที่เห็นในโลกนี้ ก็รวมเป็นสัตว์ที่อยู่ในอบายภูมิด้วย (สัตว์เดรัจฉานชนิดต่าง ๆ ที่มีกายละเอียดเป็นรูปปรมาณูในโลกนี้ก็มี) จิตของผู้ที่ปฏิสนธิในอบายภูมินั้น เรียกว่า อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก เป็นวิบาก คือ ผลของกรรมที่ได้กระทำอกุศล มี ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากจิตนี้มี ๑ ดวงเท่านั้น เป็นตัวปฏิสนธิในภูมิที่ไม่มีความสุขความสบายในภพภูมิทั้ง ๔ ไม่ว่า สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต หรือ อสูรกาย ก็ตาม แต่ตัวการที่ส่งสัตว์ไปเกิดหรือตัวการที่ให้อำนาจนั้น ได้แก่อารมณ์ที่เกิดขึ้นก่อนจะถึงแก่ความตาย อารมณ์ที่ใกล้จะถึงแก่ความตายเป็นตัวบ่งชี้ว่าสัตว์นั้นจะเกิด ณ ที่ใด
ตามธรรมดาถ้าจิตของบุคคลใดจับอยู่ในอารมณ์ใดต่อ ๆ กันไปเป็นเวลานานแล้ว เราก็พูดกันว่า จิตจับอารมณ์ได้มั่นคง เราก็ถือว่าจิตนั้นมีกำลังมาก จะคิดอ่านจดจำหรือจะศึกษาเล่าเรียนอะไรก็จะได้ผลดี ซึ่งแตกต่างกับจิตของคนที่จับอารมณ์ไม่มั่นคง ซัดส่ายไปมาอยู่เสมอเหมือนไฟเทียนที่อยู่ในที่ ๆ ลมพัด จิตชนิดนี้มีกำลังน้อย จะคิดอ่านจดจำหรือจะศึกษาเล่าเรียนวิทยาการอะไรก็จะจำไม่ค่อยได้ จิตของบุคคลที่ใกล้จะถึงแก่ความตายก็เหมือนกัน มีเหตุหลายประการที่มาทำให้จิตจับอารมณ์ที่เป็นกุศลได้ไม่มั่นคง จึงทำให้บังเกิดความเสียหายเมื่อเกิดขึ้นมาใหม่ในชาติหน้า
๒. บางคนทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนาไปตามคนอื่นที่เขาว่าดี ไม่เคยศึกษา ไม่เคยพิจารณาว่าจะเท็จจริงอย่างไร จิตใจในการทำกุศลจึงไม่มั่นคง บางคนทำกุศลตามธรรมเนียม หรือเป็นผู้หลักผู้ใหญ่หวังจะชักนำผู้อื่นที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาเท่านั้น แต่ตนเองไม่เคยเชื่อผลของการกระทำ หรือเรื่องการตายแล้วเกิดใหม่ได้ บางคนทำกุศลต่าง ๆ ไปด้วย มี โลภะ มีโทสะ มีโมหะ เข้าประกอบปะปนอยู่เสมอ เช่นทำกุศลด้วย โกรธ ทุกข์ร้อน กังวล ห่วงใยไปด้วย หรือทำกุศลเพราะอยากได้ผลดีในชาติหน้า ทำกุศลไปด้วยดื่มสุรามึนเมาไปด้วย
[color=red]บุคคลเหล่านี้มีกำลังของกุศลน้อยเพราะมีอกุศลเข้าไปพัวพันเสีย บุคคลดังกล่าวนี้ เมื่อใกล้จะถึงแก่ความตาย จิตจับอารมณ์ที่เป็นกุศลที่ตนเคยทำมาไม่มั่นคง เพราะจับอารมณ์ไม่เป็นแถวเป็นแนว มีอกุศลเกิดขึ้นมาสลับกันเสีย เช่น จิตเป็นกุศล แล้วเกิดเห็นที่ตัวเคยฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมาแต่สมัยหนุ่ม ๆ เป็นอันมาก กุศลจิตพัวพันกับอกุศลจิตดังนี้ เมื่อเกิดขึ้นมาในภพใหม่ชาติใหม่ เพราะกุศลเป็นตัวนำ จึงได้เกิดเป็นคนหรือเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาต่ำสุด จึงเป็นคนหรือเทวดาที่ไม่สมประกอบ เช่นแข้งขาหรือตาพิการมาตั้งแต่ปฏิสนธิ
(ถ้าผลนั้นเกิดในปวัตติกาล คือภายหลังปฏิสนธิแล้ว เป็นกรรมอีกอย่างหนึ่ง)
บุคคลที่ใกล้จะถึงแก่ความตาย ระลึกกุศลที่ตนทำเอาไว้ได้ แต่ไม่มั่นคงเพราะมีอกุศลโมหะเข้ามาพัวพันเพราะเคยดื่มสุราเมามายมาเป็นเวลานาน แม้กุศลจะเป็นผู้นำเกิดก็จริง แต่ก็ระลึกถึงเรื่องการเมามายที่ตนได้ทำมาเป็นอันมากสลับกันเสีย ทำให้กำลังของกุศลตกไป ดังนั้นจึงไปเกิดเป็นคนหรือเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาต่ำสุด เป็นผู้ไม่สมประกอบทางจิตใจ เป็นผู้มีปัญญาทึบ มีโมหะครอบงำมาก เป็นบ้า เป็นผู้ที่เรียกว่าไม่ค่อยเต็มบริบูรณ์ และปัญญาอ่อน เราเรียกบุคคลดังกล่าวนี้ว่า เป็นพวก สุคติอเหตุกบุคคล เพราะปฏิสนธิด้วยกุศลที่มีกำลังน้อย และชื่อจิตที่ปฏิสนธิเรียกว่า อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก อันเป็นจิตซึ่งเป็นผลของกรรม
๓. บุคคลบางคนทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนา ก็มีจิตใจมั่นคง เพราะความเชื่อในผลของกรรมว่ามาตอบสนองได้ เชื่อมั่นว่า เมื่อชีวิตได้สิ้นสุดลงเมื่อใด จะต้องไปเกิดอีกในภพชาติใหม่ แม้ความเชื่อนี้จะเป็นความเชื่อตาม ๆ กันมาไม่ประกอบด้วยเหตุผลข้อเท็จจริง เพราะมิเคยได้ศึกษาเล่าเรียนสภาวธรรมมาก่อนก็ตาม แต่ก็ตั้งใจทำจริง ๆ เมื่อใกล้จะถึงแก่ความตาย ผลกุศลของบุคคลดังกล่าวจึงจัดว่ามีกำลังมาก (นอกจากจะมีเหตุมารบกวนใจ) ทั้งในขณะจิตนั้น จิตก็เป็น อโลภเหตุ อโทสเหตุ คือไม่มีความโลภ ไม่มีความโกรธ ความเสียใจ ในเวลาที่ทำกุศลอยู่ อกุศลมิได้เข้ามาพัวพันเลย ดังนั้น การปฏิสนธิของบุคคลนี้จึงไปเกิดในภพภูมิใหม่เป็น ทวิเหตุกบุคคล คือบุคคลผู้มีสองเหตุ ได้แก่ อโลภเหตุ ไม่มีเหตุโลภ และอโทสเหตุ ไม่มีเหตุโกรธหรือเสียใจ
บุคคลนี้จะปฏิสนธิ เป็นทวิเหตุกบุคคล ปฏิสนธิ เป็นมนุษย์หรือเทวดาได้ทั้ง ๖ ชั้น ทั้งเป็นบุคคลที่สมประกอบทั้งกายและใจในขณะปฏิสนธิ (ถ้าขาดตกบกพร่องก็จะเป็นในปวัตติกาล ภายหลังจากเกิดแล้ว และเป็นกรรมอย่างอื่น) และชื่อจิตที่ปฏิสนธิเรียกว่า มหาวิบากญาณวิปยุต ๔ ดวง เป็นจิตอันเป็นผลของกรรมที่มาจากมหากุศลที่มิได้ประกอบด้วยปัญญา
๔ บุคคลบางคนเป็นผู้ช่างคิด ช่างพิจารณาในเรื่องปัญหาของชีวิต จึงพอจะมีความเข้าใจในเรื่องของกรรม กับผลของกรรม ตลอดจนเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิด แต่บางคนมิใช่เพียงเป็นคนช่างคิดพิจารณาเท่านั้น หากแต่ได้ศึกษาหาความจริงจากสภาวธรรมเลยทีเดียว กุศลของบุคคลดังกล่าวนี้จึงประกอบด้วยกุศลที่มีปัญญาเจตสิกเข้ามาประกอบ คนโดยมากเรียกว่า ปัญญาบารมี บุคคลดังกล่าวนี้ เมื่อทำบุญให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ก็จะพิจารณาให้จิตของตนเกิดเป็นมหากุศลญาณสัมปยุต โดยพิจารณาเรื่องกรรมและผลของกรรมว่าสามารถให้ผลแก่ผู้กระทำได้ ความทุกข์หรือความสุขที่เกิดขึ้นกับใคร ๆ นั้นก็มาจากอดีตและปัจจุบันกรรมทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังพิจารณาให้เป็นวิปัสสนาญาณ โดยพิจารณาว่า สัตว์ทั้งหลายและสรรพสิ่งสารพัดทั้งปวงไม่เที่ยงแท้แน่นอนทั้งสิ้น เป็นทุกข์เพราะทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนคนสัตว์ สักแต่ว่ามาประชุมกันชั่วคราว แล้ก็บังคับบัญชาไม่ได้ด้วย
ผู้ทำกุศลแล้วพิจารณาให้เกิดปัญญาดังกล่าวนี้อยู่เสมอ ๆ เมื่อใกล้จะถึงแก่ความตาย อารมณ์ที่เป็นกุศลนี้ก็จะเกิดขึ้น และจะเป็นกุศลที่มีปัญญาเข้าประกอบด้วย ยิ่งศึกษาเล่าเรียนให้มาก ๆ ก็ยิ่งจะเป็นการดี เมื่อสิ้นชีวิตลงไปก็จะได้เกิด คือปฏิสนธิด้วยจิตที่ประกอบด้วยปัญญา เรียกว่า ติเหตุกบุคคล ผู้ปฏิสนธิพร้อมด้วยเหตุทั้ง ๓ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ไม่มีความโลภไม่มีความโกรธ ไม่มีความหลงเข้ามาพัวพันใจขณะทำกุศลนั้น ก็มีหวังว่าในการเกิดขึ้นชาติหน้าจะได้รับผลดีมาก และมีปัญญาบารมี สามารถเดินไปในหนทางที่ดีที่สุด ปัญญาจะเป็นผู้คัดท้ายให้ตรงไปสู่เป้าหมาย คือ ความพ้นทุกข์ การเดินทางไกลสะดวกสบาย และจะไม่เถลไถลออกไปนอกทางได้ง่าย (เกิดในชาติใหม่)
ผู้ที่ปฏิสนธิเกิดในภพภูมิที่ดี คือ กามสุคติภูมิ เป็นมนุษย์หรือเทวดาที่สมประกอบทั้ง ๖ ชั้น เรียกบุคคลชนิดนี้ว่า ติเหตุกบุคคล จะมีความสุข ความเจริญ พร้อมทั้งมีปัญญามาก และจิตที่ปฏิสนธินี้ชื่อว่า มหาวิบาญาณสัมปยุตจิต ๔ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง
ท่านสาธุชนทั้งหลาย เรื่องการตายการเกิดที่ผม (ท่านพระอาจารย์ บุญมี เมธางกูร) ได้บรรยายมานั้นเป็นการบรรยายโดยรวบรัด เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดลออมากเหลือเกิน แต่ก็หวังว่าคงจะช่วยให้ท่านบังเกิดความเข้าใจได้บ้าง อย่างน้อยก็พอให้ท่านได้บังเกิดความมั่นคงในใจสักนิดว่า ชีวิตภายหลังความตายนั้นมีจริง ๆ เพียงเท่านี้ก็นับว่าเป็นกุศลอย่างยิ่งแล้ว ขอความเจริญความผาสุก จงมีแก่ท่านทั้งหลาย
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th