Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ฟังเสกสรรค์ ประเสริฐกุลพูดเรื่องพุทธธรรม {1}
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
pornchokchai
บัวผลิหน่อ
เข้าร่วม: 09 ต.ค. 2007
ตอบ: 4
ตอบเมื่อ: 21 ก.พ.2008, 7:20 pm
ฟังเสกสรรค์ ประเสริฐกุลพูดเรื่องพุทธธรรม {1}
โสภณ พรโชคชัย {2}
ผมได้มีโอกาสไปฟัง อ.เสกสรรค์แสดงปาฐกถาข้างต้น ได้ข้อคิดที่น่าสนใจหลายประการ ผมฟังท่าน นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว กล่าวเปิดงานอย่างเปี่ยมเมตตาว่า หน้าที่ของคนแก่ (เช่นท่าน) ก็คือทำอย่างไรให้คนหนุ่มสาวดีกว่าเราให้ได้ นี่เป็นคำพูดที่ท้าทายความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง และได้มาฟังคำกล่าวปิดงานของ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ที่ว่า เราไม่ควรเชื่อสิ่งที่ฟังทันที ควรตั้งคำถามและไตร่ตรองก่อน ผมจึงเขียนบทความนี้และส่งให้ อ.เสกสรรค์ได้ดูในวันรุ่งขึ้นของการแสดงปาฐกถา แต่ท่านก็ไม่ได้ทักท้วงอะไรมา ผมจึงขออนุญาตเผยแพร่ให้เกิดบรรยากาศ สังคมอุดมปัญญา ที่ใช้วิจารณญาณไตร่ตรอง
โลกาภิวัฒน์ที่ถูกทำให้สับสน
อ.เสกสรรค์กล่าวว่าโลกาภิวัฒน์ทำให้วัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมชาติถูกทำลาย ผู้คนนิยมวัตถุกันมากขึ้น กระตุ้นชีวิตแบบไร้รากและอวดอัตตา ผมว่าปรากฏการณ์เช่นนี้มีมานานก่อนกระแสโลกาภิวัฒน์เสียอีก วัฒนธรรมที่เข้มแข็งกว่าย่อมครอบงำวัฒนธรรมที่อ่อนแอกว่า เช่น สาวชนบทนิยมหนุ่มชาวเมือง วัยรุ่นไทยยุค 2500 คลั่งเอลวิส วัยรุ่นสมัย อ.เสกสรรค์ก็เห่อญี่ปุ่น สาวฉันทนาทำงานแลกยีนส์ตัวโปรด หรือพ่อค้าชอบขี่รถเบนซ์ เป็นต้น
นอกจากนั้นที่ อ.เสกสรรค์กล่าวว่าการศึกษาขั้นสูงเป็นเพียงบัตรเครดิต ก็เป็นจริงมาตั้งแต่สมัย ฉันจึงมาหาความหมาย ของ อ.วิทยากร เชียงกูล เมื่อเกือบ 40 ปีมาแล้ว {3} ความเสื่อมถอยของการรักษาศีลธรรมก็ไม่ใช่เพิ่งมีให้เห็นในยุคนี้ ในช่วงสงครามที่ผู้คนต้องช่วงชิงเพื่อความอยู่รอด มีความโหดร้ายและเสื่อมทรามมากกว่าช่วงโลกาภิวัฒน์ยิ่งนัก อาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมของชาติมักถูกเก็บไว้มิดชิดและนำมาแสดงเฉพาะในยามที่ต้องการแสดงอัตลักษณ์ เช่น การรำวงเพื่ออวดอ้างความเป็นไทยในต่างแดน เป็นต้น
การที่บางครั้งผู้ใหญ่กลัวว่าคนหนุ่มสาวจะไม่รู้จักกลั่นกรองเรื่องโลกาภิวัฒน์นั้น โดยหยิบยกเอาข้อด้อยหรือตัวอย่างคนหนุ่มสาวบางกลุ่มมาอ้างอิง เป็นสิ่งที่ควรทบทวนใหม่ คนหนุ่มสาวลองของใหม่แสดงถึงการมีความคิดก้าวหน้า ไม่ย่ำอยู่กับที่ เราต้องเชื่อมั่นในวิจารณญาณในการรับรู้และปรับแก้ของคนหนุ่มสาว เราก็ต้องเชื่อมั่นในกระบวนการขัดเกลาทางสังคมของประชาชนโดยไม่รู้สึกขัดใจกับตัวเราในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่ ไม่เช่นนั้นเราก็จะกลายเป็น ไดโนเสาร์ เต่าล้านปี เช่นที่เราเคยมองผู้ใหญ่ยุคก่อนเรา
รัฐบาลอ่อนแอลง?
ท่านกล่าวว่าโลกาภิวัฒน์ทำให้รัฐชาติอ่อนแอลง แต่ด้านดีก็ทำให้ประชาชนได้รับการปลดปล่อย ท่านยังว่า รัฐบาลประชาธิปไตยหรือเผด็จการของไทยก็ไม่อาจต้านทานกระแสโลกาภิวัฒน์ได้ เพราะผู้บริหารประเทศไม่ได้ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถดังกล่าว ผมไม่แน่ใจว่าในโลกนี้จะมีรัฐบาลใดได้ถูกออกแบบมาดังที่ อ.เสกสรรค์วาดหวัง และผมแปลกใจที่ขนาด อ.เสกสรรค์ในฐานะดุษฎีบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์และอดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ยังไม่เชื่อมั่นในการบริหารกลไกของรัฐ
กรณีการค้าข้ามชาติที่ส่งผลสะเทือนในบางด้านและบางระดับก็มีมานานแล้ว ตั้งแต่สนธิสัญญาบาวริ่ง {4} ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ 100 ปีที่แล้ว เพียงแต่ในสมัยนั้นอัตราความเร็วของความเปลี่ยนแปลงอาจช้ากว่า อย่างไรก็ตามอำนาจรัฐของไทยก็ยังคงอยู่ และจำนวนประเทศเพื่อนบ้านที่เคยเป็นอาณานิคมก็กลับมีอธิปไตยเพิ่มขึ้น การสมคบกันระหว่างชนชั้นนายทุนใหญ่ของไทยกับนายทุนข้ามชาติก็มีมานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมี และการสลายตัวของความเป็นชาติในอนาคต ซึ่งอาจกินเวลาอีกหลายร้อยหลายพันปี ก็คงพอคาดเดาความเป็นไปได้ แต่คงไม่ใช่ในช่วงสั้น ๆ ที่ยังมีการรบพุ่งอย่างเข้มข้นระหว่างชาติและศาสนาเช่นทุกวันนี้
โลกาภิวัฒน์ไม่ได้ดี/เลว
ในความเป็นจริง กระแสและรูปธรรมของโลกาภิวัฒน์ ไม่ได้ดีหรือเลวในตัวมันเอง อ.เสกสรรค์อาจกล่าวว่า อินเตอร์เน็ตก็ไม่เสรี ถือเป็นกองหนุนของทุนนิยมโลก สื่อต่าง ๆ ก็เป็นการโฆษณาสินค้าและความคิดแบบทุนนิยม แต่ความจริงก็คือ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสื่อเท่านั้น ขึ้นอยู่กับคนนำไปใช้ และแน่นอนที่ในยุคที่นายทุนเป็นใหญ่ เวทีของสื่อเหล่านี้ย่อมมีนายทุนเป็นผู้แสดงหลัก แต่ผู้เห็นเป็นอื่นก็สามารถใช้เวทีเหล่านี้เช่นกัน
สิ่งที่พระเจ้ามิลินกับพระนาคเสนถกกันเมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว {5} หรือการเผยแพร่ความเชื่อทางศาสนาที่เพิ่งเริ่มเมื่อมีการตั้งพุทธสมาคมแห่งกรุงลอนดอนเมื่อปี 2467 ที่ อ.เสกสรรค์ยกขึ้นมาอ้าง คงไม่แพร่หลายเท่าปัจจุบันนี้หากไม่มีอินเตอร์เน็ทและกระแสโลกาภิวัฒน์เข้ามาช่วย และจากการแลกเปลี่ยนกันนี้ ทำให้เกิดการบูรณาการธรรมะครั้งใหญ่ที่สกัดเอาแต่แก่นธรรมโดยละทิ้งลักษณะและจารีตของแต่ละนิกายออกไป
เป็นที่น่ายินดีที่เดี๋ยวนี้ พุทธศาสนิกชนก็นำอินเตอร์เน็ตอันเป็นรูปธรรมของโลกาภิวัฒน์มาใช้กันเพิ่มขึ้น แต่สิ่งที่พึงตรวจสอบก็คือ เราได้ทำอย่างเข้มข้น ต่อเนื่อง หรือได้ใช้อย่างหลากหลายหรือไม่ ธรรมกาย เป็นองค์กรหนึ่งที่น่าสนใจยิ่งในการใช้สื่อโลกาภิวัฒน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงยิ่ง มีเว็บไซต์หลากหลาย และยังมีสื่อโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมของตนเองด้วย {6} จนเผยแพร่ความคิดไปได้อย่างกว้างไกลและมีประสิทธิผล แต่เสียดายบางท่านอาจไม่เห็นข้อดีนี้เพราะเพียงแค่ไม่ชอบ ธรรมกาย
อย่างไรก็ตามการที่พุทธศาสนิกชนบางส่วนไม่สามารถเผยแพร่ธรรมะออกไปได้กว้างไกลนั้น ไม่ใช่เพราะขาดทักษะด้านโลกาภิวัฒน์เท่านั้น แต่อยู่ที่การติดกรอบของตนเอง มีอัตตาสูง ซึ่งทำให้คนอื่นปฏิเสธตั้งแต่แรกพบแล้ว เช่น แฟชั่น การแต่งกาย ทรงผม ภาษาและการพูด หรือการแสดงออกที่ตายตัวเฉพาะกลุ่ม ซึ่งผิดกับภาพลักษณ์ของพระพุทธเจ้าที่สามารถทำให้ผู้คนศรัทธาและประทับใจตั้งแต่แรกพบ
ข้อเท็จจริงเรื่องการฆ่าตัวตาย
อ.เสกสรรค์กล่าวว่า การฆ่าตัวตายในประเทศไทยมีเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ นี่เป็นความเข้าใจผิด ในปี 2549 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จประมาณ 5.7 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน เป็นตัวเลขที่ลดลงจากปี 2548 ที่ 6.3 คน ปี 2547 ที่ 6.9 คน และปี 2546 ที่ 7.1 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน {7} และหากเปรียบเทียบกับทั่วโลก ไทยจัดอยู่อันดับที่ 72 จาก 100 ประเทศ ซึ่งถือว่าต่ำมาก ประเทศอันดับต้น ๆ ได้แก่ ลิทัวเนีย (91.7 คน) รัสเซีย (82.5 คน) เบเรรุส (73.1 คน) ศรีลังกา (61.4 คน) ญี่ปุ่น (50.6 คน) และ คิวบา (36.5 คน) ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเครียดหรือปัญหาความมั่นคงภายใน {8}
เรื่องความเชื่อว่าการฆ่าตัวตายมีมากขึ้น อาจดูเป็นเพียงความเข้าใจผิดเล็ก ๆ แต่ที่ผมขอบ่งชี้ก็เพราะว่าเรามักใช้ความเข้าใจผิดที่ขาดข้อมูลและการไตร่ตรองเท่าที่ควรนี้มาสร้างความรู้สึกที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ผู้ที่ฟังโดยศรัทธาในตัวผู้พูดก็อาจเกิดความเชื่อหรือความหลงตาม ๆ กันไปโดยขาดการพิสูจน์หรือใช้วิจารณญาณ
การหันเข้าหาศาสนา
มีปรากฏการณ์ให้เห็นอยู่ทั่วไปที่คนไม่มีศาสนาหันมานับถือศาสนา หรือบางคนก็เปลี่ยนศาสนา ทั้งนี้เป็นเพราะความตกต่ำสุดขีดในชีวิตการงานและครอบครัว อ.เสกสรรค์ก็เคยเล่าว่า . . . เผชิญความทุกข์อันเนื่องมาจากการคิดต่างจากกระแสหลัก การยืนต้านสังคม . . . อย่างต่อเนื่องยาวนาน มันพาผมมาถึงจุดที่หมดแรง กระทั่งนำไปสู่ชีวิตส่วนตัวที่ล้มเหลว . . . ผมกับภรรยาได้แยกทางเดินกัน . . . มันสั่นคลอนความรู้สึกนึกคิดของผมถึงขั้นราก. . . {9} ผมล้มแรง ๆ มาหลายครั้งแล้ว และท่านเองก็เคยรู้สึกเป็น สิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ {10} นี่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของ อ.เสกสรรค์ซึ่งไม่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป
ท่านยังกล่าวว่า (ประมาณปี 2545) . . . ได้พาผมย้ายความคิดจากทางโลกมาสู่ทางธรรมมากขึ้นแบบรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง . . . ผมแปลกใจมากเพราะเดิมเป็นคนที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมาเยอะ อย่าให้ผมพรรณนาเลยว่าทำอะไรมาบ้าง ผมเป็นคนที่ทำบาปมาเยอะมาก วันดีคืนดีพบตัวเองมีจิตใจแบบนี้ มันอธิบายไม่ถูกเหมือนกันว่าเป็นไปได้อย่างไร {11} ข้อนี้พึงอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ไม่น่าแปลกใจ เป็นการกลับเข้าสู่ภาวะปกติของมนุษย์ที่ผ่านการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมาจนเกินควรนั่นเอง
ศาสนากับการเยียวยา
ท่านชี้ให้เห็นว่า คนเราต้องสร้างสันติสุขในใจด้วยการกอบกู้สติสัมปชัญญะ ผมเชื่อว่าคนปกติที่ไม่ยึดติดกับอัตตาจนเกินไปหรือไม่ได้เตลิดไปไกลด้วยฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมากมาย ก็มีสติอยู่แล้ว ในแง่หนึ่งศาสนาสามารถใช้บำบัดผู้ป่วยทางจิตหรือผู้ติดยาเสพติด และยังสามารถใช้เยียวยาสังคมได้ด้วย อย่างไรก็ตามบางครั้งศาสนากลายเป็นสิ่งเสพติดที่ผู้เสพจำนวนหนึ่งรู้สึกดีในขณะเสพ เช่น นั่งสมาธิหรือสมาคมอยู่ในกลุ่มผู้นับถือลัทธินิกายเดียวกัน แต่เมื่ออยู่ในสังคมทั่วไป ก็กลับมารุ่มร้อนเหมือนเดิม
อ.เสกสรรค์บอกว่า พุทธธรรมอยู่เหนือวิทยาศาสตร์ที่ยังอธิบายหลายอย่างไม่ได้ ท่านว่าวิทยาศาสตร์เข้าใจแต่สิ่งภายนอกตัวและกายภาพ แต่ปฏิเสธการดำรงอยู่ของจิต ข้อนี้ผมขอเห็นแย้งเพราะทั้งปรัชญาจิตนิยมและวัตถุนิยมต่างเห็นการดำรงอยู่ของทั้งวัตถุและจิต เพียงแต่ให้น้ำหนักต่างกัน วิทยาศาสตร์แบ่งเป็นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สังคม พุทธศาสตร์ก็เป็นวิทยาศาสตร์สังคมที่สามารถพิสูจน์ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่พระพุทธเจ้าเชื้อเชิญให้พิสูจน์มานับ 2551 ปีแล้ว กาลามสูตรก็แสดงถึงความเป็นวิทยาศาสตร์โดยเนื้อแท้ {12}
ช่วงหนึ่งของปาฐกถา ท่านกล่าวว่าองค์ทะไลลามะแห่งทิเบต {13} ได้รับการยอมรับแม้กระทั่งจากคนในรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา เพราะพระองค์สอนให้คนทั่วโลกรักและเข้าใจจีนทั้งที่จีนจะรังแกทิเบต ข้อนี้ผมขอมองต่างมุม กล่าวคือ การที่สหรัฐอเมริกายกย่ององค์ทะไลลามะ ก็เพื่อเป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมืองระหว่างประเทศกับจีน สหรัฐอเมริกาเชื่อคำสอนของพระองค์จริงหรือ คำสอนของพระองค์เป็นแค่คำหวานหรือไม่ ท่านติช นัท ฮันห์ พระนิกายเซ็นชาวเวียดนามก็ยังเคยพาชาวยิวกับชาวปาเลสไตน์ไปแลกเปลี่ยนความเห็นกันด้วยความรักและความเมตตาเช่นกัน แต่ก็ไม่ได้ผล {14}
ตัวตนของ อ.เสกสรรค์
ท่านเคยเป็นผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 (สมัยนั้นผมเรียนอยู่ ม.ศ.2) เคยเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในช่วง ปี 2518 2523 บุคคลทั่วไปอาจยึดติดกับภาพผู้นำนักศึกษาของท่านมากไป ความจริงมีผู้นำหลายคนในช่วงนั้น และอุดมการณ์ของคนหนุ่มสาวในยุคนั้นก็เป็น แฟชั่น ที่ไม่มีรากหยั่งลึกอะไร และการเข้าร่วมกับพรรคข้างต้น ก็มีผู้เข้าร่วมมากมาย หลายคนสร้างวีรกรรมยิ่งกว่าท่าน ท่านเองก็ไม่ใช่ผู้นำพรรค การพ่ายแพ้ของพรรคก็ไม่ได้เป็นเพราะท่านแต่อย่างใด เราไม่ควรผูกท่านไว้กับภาพลักษณ์ 10 ปีแรก ๆ ของท่าน
แม้ อ.เสกสรรค์มีงานเขียนมากมาย {15} แต่ส่วนใหญ่ไม่ใช่ผลงานทางวิชาการที่ต่อยอดความรู้ทางคณะรัฐศาสตร์ที่ท่านรับราชการอยู่ รายการเอกสารและวีดีทัศน์ของท่าน ณ สำนักหอสมุดกลาง ธรรมศาสตร์ แม้จะมีถึง 58 รายการ แต่ส่วนมากเป็นบทกวีหรืองานอื่น {16} ข้อนี้อาจแตกต่างจากนักวิชาการอื่นที่เป็นอดีตผู้นำนักศึกษาที่มักมีผลงานวิชาการมากมาย เช่น รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ ศ.ดร.สมบัติ ธำรงค์ธัญวงศ์ ศ.ดร.ธงชัย วินิจกุล รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข เป็นต้น ผมเข้าใจว่าฐานะของอาจารย์มหาวิทยาลัยไทยอาจมีอิสรภาพมาก แต่หากเป็นในสหรัฐอเมริกา ข้าราชการที่เขียนหนังสืออื่นออกมาขายอาจถูกตรวจสอบในประเด็นการใช้เวลาและทรัพยากร
การมีส่วนร่วม
ในงานแสดงปาฐกถานี้ ผู้จัดงานขอให้ผู้เข้าร่วมงาน บริจาคตามกำลังทรัพย์ ผมสอบถามดูทราบว่ามีผู้เข้าร่วมประมาณ 200 คน ผมยืนนับเงินที่บริจาคในกล่องพลาสติกได้ประมาณ 6,000 บาท แสดงว่าคนหนึ่งบริจาคเป็นเงิน 30 บาท และผมได้ใส่เพิ่มอีก 1,000 บาท อย่างไรก็ตามเชื่อว่าต้นทุนการจัดงานทั้งค่าดูแลสถานที่ ของชำร่วยวิทยากร การประสานงาน การประชาสัมพันธ์ แรงงานของผู้จัดงาน ฯลฯ รวมกันแล้วคงเป็นเงินจำนวนไม่น้อย
แต่ผู้จัดงานก็คงไม่คิดหวังเอากำไรจากการนี้และยินดีให้เปล่าเพื่อการกุศล แต่ผู้เข้าร่วมก็ควรเล็งเห็นถึงต้นทุนของสิ่งที่เรามารับ ด้วยการร่วมบริจาค เพื่อไม่เป็นการเบียดเบียนและที่สำคัญเป็นการสมทบทุนสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป จิตสำนึกการจ่ายเพื่อรับบริการนี้สำคัญมากในการยกระดับจิตใจโดยเริ่มที่ตัวเราเองก่อนโดยเฉพาะกลุ่มที่มุ่งหวังช่วยคนอื่น เช่น องค์กรอาสาสมัครเอกชนต่าง ๆ
ในตอนท้ายของการแสดงปาฐถกา ทั้ง อ.เสกสรรค์และ อ.สุลักษณ์ต่างก็ชี้ให้เห็นว่า เราต้องศึกษาให้รู้จริงก่อนเชื่อ ถือเป็นคำสอนที่พึงสังวรเป็นอย่างยิ่ง การเชื่อโดยศรัทธาครูอาจารย์โดยขาดการใช้วิจารณญาณก็เป็นข้อเตือนใจหนึ่งในกาลามสูตร ผมเชื่อว่าเราต้องมีข้อมูลที่แน่นหนา ตรวจสอบได้ และมีการศึกษาวิจัยโดยใช้ปัญญาพิจารณา การเชื่อตาม ๆ กันโดยไม่ได้ศึกษาสภาพที่เป็นจริงก็ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่ อ.เสกสรรค์เคยสังกัด พังมาแล้ว อย่าให้พุทธศาสตร์กลายเป็นไสยศาสตร์ จิตนิยมหรือสิ่งที่ปฏิเสธวิทยาศาสตร์ไปเป็นอันขาด
หมายเหตุ:
{1} ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล แสดงปาฐกถาเสมพริ้งพวงแก้ว ครั้งที่ 14 เรื่อง พุทธธรรมในยุคโลกาภิวัตน์ จัดโดย มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2551 ณ เรือนร้อยฉนำ คลองสาน กรุงเทพมหานคร โปรดดู File เสียงที่
http://www.semsikkha.org/semmain/3-report/org_report/ram/sem_lec14th/lecture.wma
หรืออ่านสรุปได้ที่
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11182
{2} โสภณ พรโชคชัย เป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สินและนักวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์และการพัฒนาเมือง จบวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตด้านการวางแผนพัฒนาเมือง จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ขณะนี้เป็นประธานกรรมการมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย กรรมการหอการค้าไทยสาขาอสังหาริมทรัพย์ สาขาจรรยาบรรณและสาขาเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นกรรมการสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินอาเซียน และกรรมการที่ปรึกษาสถาบันประเมินค่าทรัพย์สินสหรัฐอเมริกา Email:
sopon@thaiappraisal.org
{3} อ.วิทยากร เชียงกูล เขียน ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึงมาหาความหมาย ฉันหวังเก็บอะไรไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียวที่
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=birdwithnolegs&month=04-2007&date=17&group=4&gblog=4
{4} สัญญาบาวริ่ง ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดดูที่
http://home.kku.ac.th/history/suwit/course/418113.pdf
{5} โปรดดูรายละเอียดที่ มิลินทปัญหา วรรคที่ 1-7
http://www.dhammathai.org/milin/milin01.php
และ
http://www.geocities.com/i4058980/milin/ml12.htm
{6} โปรดดูรายละเอียดที่
http://www.dmky.com/
{7} ข่าว เผยสถิติฆ่าตัวตายคนไทยลด จับตา ระยอง มาแรงเสี่ยงแซงทุกจังหวัด
http://www.dmh.go.th/sty_libnews/news/view.asp?id=7653
{8} โปรดดูตารางขององค์การอนามัยโลก
http://www.who.int/mental_health/prevention/suicide/suiciderates/en
และดูเพิ่มเติมในแผนที่โลกที่
http://www.who.int/mental_health/prevention/suicide/suicideprevent/en
{9} จากวารสาร ปาจารยสาร ตุลาคม-พฤศจิกายน 2549 หน้า 44-45
{10} โปรดดูบทความ ความปวดร้าวของค้างคาว
http://www.suvinai-dragon.com/way_kwampuad.html
{11} ตามข้อ 8
{12} กาลามสูตร 10 คือ อย่าปลงใจเชื่อ 1.ด้วยการฟังตามกันมา 2.ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา 3.ด้วยการเล่าลือ 4.ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ 5.ด้วยตรรก 6.ด้วยการอนุมาน 7.ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล 8.เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน 9.เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ และ 10.เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา เราจะเชื่อก็ต่อเมื่อพิจารณาเห็นด้วยปัญญา (ที่มาคือ
http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/002684.htm
)
{13} โปรดดูรายละเอียดเกี่ยวกับองค์ทะไลลามะที่
http://www.skyd.org/html/priest/dalai.html
{14} โปรดดู บทความ ธรรมะจากท่านติช นัท ฮันห์
http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=8401&Key=HilightNews
{15} โปรดดูรายการหนังสือประมาณ 30 เล่ม และบทความอีกบางส่วนได้ที่
http://www.geocities.com/siamintellect/intellects/sakesan/articles.htm
{16} โปรดดู
http://search.library.tu.ac.th/ipac20/ipac.jsp?profile=pridi&menu=search&submenu=advanced#focus
และพิมพ์ชื่อ อ.เสกสรรค์ ที่ Author Keyword
ใบโพธิ์
บัวบาน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307
ตอบเมื่อ: 22 ก.พ.2008, 10:47 am
ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
bai_pai
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 09 ก.พ. 2008
ตอบ: 39
ที่อยู่ (จังหวัด): kyeongki-do, korea
ตอบเมื่อ: 06 เม.ย.2008, 5:10 pm
เรือนไม้งาม
บัวผลิหน่อ
เข้าร่วม: 02 พ.ค. 2008
ตอบ: 6
ที่อยู่ (จังหวัด): สุขุมวิท กรุงเทพฯ
ตอบเมื่อ: 02 พ.ค.2008, 5:58 pm
ดีมากครับ อ่านแล้วสบายใจ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนา ด้วยครับ
_________________
การเริ่มต้น....เป็นสิ่งที่ยากที่สุด
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th