Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ว่าด้วยเรื่องพญานาคเอรกปัต--จากพระไตรปิฎก อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.พ.2008, 10:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ฯ
ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโตสัมมา ฯ
สัมพุทธัสสะ ฯ


พระธรรมบทกัณฑ์ที่ ๑๖๔
ว่าด้วยเรื่องพญานาคเอรกปัต
กิจฺโฉ มนุสฺสปฺปฏิลาโภติ อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา พาราณสี อุปนิสฺสาย สตฺตสิริสรุกฺขมูเล วิหรนฺโต เอรกปตฺตํ นาคราชํ อารพฺภกเถสีติ.
ณ บัดนี้ อาตมาภาพจักได้แสดงเรื่องพญานาคเอรกปัต ตามคัมภีร์พระธรรมบท สืบต่อไป เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตามสมควรแก่เวลา

เรื่องพญานาคเอรกปัต
ดำเนินความตามคัมภีร์พระธรรมบทว่า เมื่อสมเด็จพระบรมศรีสุคตศาสดา ประทับอยู่ที่โคนต้นซึก ๗ ต้น อาศัยเมืองพาราณสีเป็นที่บิณฑบาตทรงปรารภพญานาคเอรกปัต ให้เป็นต้นเหตุ จึงตรัสพระธรรมเทศนาอันนี้ไว้ว่า กิจฺโฉ มนุสฺสปฺปฏิลาโภ ดังนี้
ดังได้สดับมาว่า เมื่อก่อนพญานาคนั้น ได้เป็นภิกษุหนุ่ม
อยู่ในพระศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า เมื่อลงเรือไปในแม่น้ำคงคา ได้จับในตะไคร้น้า ที่พุ่มตะใคร้น้ำพุ่มหนึ่ง ถึงเมื่อเรือไปโดยเร็วก็ไม่ได้ปล่อยใบตะไคร้น้ำนั้น ฯ ใบตะไคร้นั้นก็ขาดไป ฯ ภิกษุนั้นก็ไม่แสดงอาบัติ ด้วยคิดว่านี่เป็นของเล็กน้อย ถึงกระทำสมณธรรมอยู่ในป่าตลอด ๒ หมื่นปีก็ตาม ในเวลาจะตาย ก็ยังเป็นหมือนใบตะไคร้น้ำพันอยู่ที่คอ แม้ประสงค์จะแสดงอาบัติก็
ไม่เห็นภิกษุอื่น จึงเกิดความกินแหนงว่า ศีลของเราไม่บริสุทธิ์ เวลาจุติแล้ว ก็ได้ไปเกิดเป็นพญานาค ประมาณเท่าเรือโกลนลำหนึ่ง ฯ ชื่อของพญานาคนั้นว่า เอรกปัต ฯ พญานาคนั้นได้แลดูอัตภาพในขณะที่ตนเกิดนั่นเอง ก็เกิดความเสียใจว่า เราทำสมณธรรมอยู่ตลอดเวลาถึงเพียงนั้น ก็ยังมาเกิดในที่มีกบ มีเขียด เป็นอาหาร ในกำเนิดที่ไม่มีเหตุ ฯ ต่อมาภายหลัง พญานาคนั้นก็ได้
เกิดธิดาผู้หนึ่ง จึงแผ่พังพานขึ้นที่หลังน้ำ กลางแม่น้ำคงคา ให้
ธิดายืนฟ้อนรำอยู่ที่พังพานนั้น ฯ ได้ยินว่า พญานาคนั้นคิดว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น เราจักได้ยินความเกิดขึ้นของพระองค์ด้วยอุบายนี้เป็นแน่ ผู้ใดนำเพลงมาโต้เพลงของเราได้ เราจักยกธิดาพร้อมทั้งเมืองนาคอันใหญ่ให้แก่ผู้นั้น พญานาคนั้น ให้ธิดายืนอยู่ที่พังพาน ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือน ฯ ธิดานั้นก็ยืนฟ้อนรำอยู่ที่พังพานนั้นทั้งขับเพลงอันนี้ว่า
กึ สุ อธิปตี ราชา กึง สุ ราชา รชสฺสิโร
กถํ สุ วิรโช โหติ กถํ พาโลติ วุจฺจติ
ซึ่งมีคำแปลว่า บุคคลเป็นใหญ่ในอะไร ชื่อว่าเป็นใหญ่ในพระราชา พระราชาอย่างไรชื่อว่ามีธุลีในพระเศียร อย่างไรพระราชานั้นจึงชื่อว่าผู้ปราศจากธุลี บุคคลอย่างไรจึงเรียกว่าผู้เป็นพาล ดังนี้ ฯ ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นต่างก็คิดว่า เราจักเอานางนาค จึงได้มาขับเพลงตอบตามกำลังปัญญาของตน ๆ ฯ นางนาคนั้น ก็ได้ปฏิเสธเพลงนั้นเสียว่า ไม่ถูกต้อง ฯ เมื่อนางนาคนั้น ยืนขับร้อง
อยู่ที่พังพานทุกกึ่งเดือนอย่างนั้น ก็ล่วงไปได้ ๑ พุทธันดร ฯ ต่อมาภายหลัง เมื่อพระพุทธองค์เกิดขึ้นในโลกแล้ว ทรงพิจารณาดูโลกในเวลาจวนสว่างวันหนึ่ง ก็ได้เห็นอุตตรมาณพ และพญานาคเป็นต้น เข้าไปภายในข่ายพระญาณของพระองค์ จึงทรงรำพึงว่า จักเป็นอย่างไรหนอ ก็ได้ทรงทราบว่า วันนี้เป็นวันที่พญานาคเอรกปัต ให้ธิดาฟ้อนรำอยู่บนพังพาน อุตตรมาณพนี้ ได้ขับร้องเพลงแก้ที่เราสอนไว้แล้ว ก็จักเป็นพระโสดาบันจักนำเอาเพลงนั้นไปหาพญานาค พญานาคได้ฟังเพลงนั้นแล้ว ก็จักรู้ว่า พระพุทธเจ้าได้เกิดขึ้นในโลกแล้ว แล้วก็จักมาหาเรา เมื่อพญานาคนั้นมาแล้ว เราจักกล่าวคาถาในสมาคมใหญ่ ในเวลาจบคาถาลง การสำเร็จธรรมวิเศษก็จักมีแก่บุคคลถึง ๘ หมื่น ๔ พันคน ฯ องค์พระสรรเพชญพุทธเจ้า จึงได้เสด็จไปในที่นั้น มีต้นซึก ๗ ต้นอยู่ไม่ไกลจากเมืองพาราณสี พระองค์ก็ทรงประทับนั่งอยู่ที่โคนต้นซึกต้นหนึ่ง ชาวชมพูทวีป ก็นำเอาเพลงแก้เพลงไปประชุมกัน องค์สรรเพชญศาสดาได้ทรงเห็นอุตตรมาณพ เดินผ่านไปในที่ใกล้ จึงตรัสเรียกอุตตระ ฯ อุตตระจึงกราบทูลว่า อะไร พระเจ้าข้า ฯ ตรัสตอบว่า จงมานี่ พออุตตรมาณพกราบแล้วนั่งลง จึงตรัสถามว่า เธอจักไปไหน ? กราบทูลว่า ข้าพระองค์จักไปที่ร้องเพลงแห่งธิดาพญานาค ผู้ชื่อว่าเอรกปัต ฯ เธอรู้จักเพลงแก้แล้วหรือ ? รู้แล้ว พระเจ้าข้า ฯ จงว่าไปดูที ลำดับนั้น อุตตรมาณพก็ว่าไปตามที่ตนรู้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า อุตตระ นี่ไม่ใช่เพลงแก้
เราจักสอนเพลงแก้ให้เธอ เธอจงจำเอาเพลงนี้ไป ฯ ดีแล้ว พระเจ้าข้า ฯ ลำดับนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่า อุตตระ ในเวลาที่นางนาคขับเพลงแล้ว เธอต้องว่าเพลงแก้อันนี้ว่า
ฉทฺวาราธิปตี ราชา รชมาโน รชสฺสิโร
อรชํ วิรโช โหติ รชํ พาโลติ วุจฺจติ
ซึ่งมีคำแปลว่า ผู้เป็นใหญ่ในทวาร ๖ ชื่อว่าพระราชา พระราชาผู้ยินดี ชื่อว่ามีธุลีในพระเศียร ผู้ไม่ยินดี ชื่อว่าผู้ปราศจากธุลี ผู้ยินดีเรียกว่า ผู้เป็นพาล ดังนี้
ก็เนื้อความแห่งเพลงของนางนาคว่า ผู้เป็นใหญ่ในอะไรชื่อว่าพระราชา พระราชาอย่างไรชื่อว่ามีธุลีในพระเศียร อย่างไรพระราชานั้นจึงชื่อว่าผู้ปราศจากธุลี บุคคลอย่างไรจึงเรียกว่าผู้เป็นพาล ดังนี้ ฯ ส่วนความหมายแห่งเพลงขับว่า ผู้เป็นใหญ่ในทวาร ๖ ชื่อว่าพระราชานั้น คือผู้ใดได้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง ๖ ไม่ถูกอารมณ์ มีรูปเป็นต้นครอบงำ แม้ในทวารเดียว ผู้นั้นชื่อว่า พระราชา ฯ คำว่า ยินดี ชื่อว่าผู้มีธุลีในศีรษะนั้น คือ ผู้ใดยินดีในอารมณ์เหล่านั้น ผู้ยินดีนั้นชื่อว่าผู้มีธุลีในศีรษะ ฯ คำว่า ผู้ไม่ยินดี คือส่วนผู้
ไม่ยินดี ชื่อว่าผู้ปราศจากธุลี ฯ คำว่า ผู้ยินดี คือผู้ยินดี เรียกว่า พาล ดังนี้
ครั้นองค์พระชินศรีศาสดา ประทานเพลงให้แก่มาณพนั้น อย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า อุตตระ เมื่อเธอขับเพลงนี้แล้ว นางนาคจักขัยเพลงต่อเพลงของเธอว่า
เกนสฺสุ วุยฺหติ พาโล กถํ นุทติ ปณฺฑิโต
โยคกฺเขมี กถํ โหติ ตํ เม อกฺขาหิ ปุจฺฉิโต
ซึ่งมีคำแปลว่า ผู้เป็นพาลถูกอะไรพัดไป ผู้เป็นบัณฑิตกำจัดด้วย
อะไร อย่างไรจึงเรียกว่า ผู้ปลอดโปร่งจากเครื่องเกาะเกี่ยว ท่านผู้ที่เราถามแล้ว จงบอกแก่เรา ดังนี้ ฯ ลำดับนั้น เธอต้องขับเพลงตอบนางนาคนั้นว่า
โอเฆน วุยฺหตี พาโล โยคา นุทติ ปณฺฑิโต
สพฺพโยควิสํยุตฺโต โยคกฺเขมีติ วุจฺจติ
ซึ่งมีคำแปลว่า ผู้เป็นพาลย่อมถูกห้วงน้ำพัดไป ผู้เป็นบัณฑิตย่อมบรรเทาจากเครื่องเกาะเกี่ยว ผู้ปราศจากเครื่องเกาะเกี่ยวทั้งสิ้น เรียกว่าผู้ปลอดจากเครื่องเกาะเกี่ยว ดังนี้
เนื้อความแห่งเพลงแก้นั้น ผู้เป็นพาลย่อมถูกห้วงน้ำ ๔ อย่าง มีห้วงน้ำคือ กามารมณ์เป็นต้นพัดไป บัณฑิตย่อมกำจัดน้ำนั้นด้วยการประกอบอันได้แก่ด้วยความเพียรชอบ บัณฑิตนั้นหลุดพ้นจากเครื่องเกาะเกี่ยว มีเครื่องเกาะเกี่ยว คือ กามารมณ์เป็นต้น ชื่อว่าผู้ปลอดโปร่งจากเครื่องเกาะเกี่ยว ดังนี้
เมื่ออุตตรมาณพเรียนเพลงแก้นี้อยู่ ก็ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ครั้นอุตตรมาณพนั้น เป็นพระโสดาบันแล้ว ก็จำเอาคาถานั้นไปบอกคนทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้านำเพลงแก้มาแล้ว
ท่านทั้งหลายจงให้โอกาสแก่ข้าพเจ้า แล้วก็ได้เดินคุกเข่าเข้าไปท่ามกลางมหาชนซึ่งยืนอยู่ติดๆ กันไป ฯ เมื่อนางนาคยืนฟ้อนรำอยู่บนพังพานของบิดาก็ขับเพลงว่า กึ สุ อธิปตี ราชา ฯ อุตตรมาณพก็ขับเพลงตอบว่า ฉทฺวาราธิปตี ราชา ฯ นางนาคก็ขับเพลงต่อไปว่า เกนสฺสุ วุยฺหตี พาโล ฯ อุตตรมาณพก็แก้ว่า โอเฆน วุยฺหตี พาโล ฯ พญานาคพอได้ฟังเพลงดังนั้นแล้ว ก็รู้ว่าพระพุทธเจ้าเกิดแล้ว จึงดีใจว่า เราไม่เคยได้ยินถ้อยคำเช่นนี้ ตลอด ๑ พุทธันดรแล้ว พระพุทธเจ้าได้เกิดขึ้นแล้วในโลกแล้ว
หนอ จึงฟาดน้ำด้วยหาง ฯ ลูกคลื่นใหญ่ก็ตั้งขึ้น ฝั่งน้ำทั้ง ๒ ก็พังลง ฯ คนทั้งหลายก็จมลงในน้ำ ในที่ประมาณ ๑ อุสภะ คือ ๑ เส้นกับ ๕ วา ทั้งข้างโน้นข้างนี้ ฯ พญานาคนั้น ก็ให้มหาชนถึงเพียงนั้น ขึ้นอยู่บนพังพานแล้วยกขึ้นวางไว้บนบก ฯ พญานาคนั้น จึงไปถามอุตตรมาณพว่าองค์พระศาสดาอยู่ที่ไหน ? อุตตรมาณพตอบว่า มหาราช องค์พระศาสดาประทับอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ฯ พญานาคจึงว่า เธอจงมาไปกับเรา แล้วก็ไปกับอุตตรมาณพ ฯ ฝ่ายมหาชนก็ได้ไปด้วยกัน ฯ พญานาคไปถึงแล้ว ก็
เข้าไปสู่ระหว่างพระรัศมี ๖ ประการ ถวายบังคมแล้ว ก็ยืนร้องไห้อยู่ ฯ ครั้งนั้น องค์พระศาสดาจึงตรัสถามว่านี่อย่างไรกันมหาราช ฯ ทูลตอบว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ได้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้เช่นพระองค์ ได้กระทำสมณธรรมอยู่ตลอด ๒ หมื่นปี สมณธรรมนั้น ไม่อาจรื้อฟื้นข้าพระองค์ออกจากโลกได้ ข้าพระองค์ได้ถืออเหตุกปฏิสนธิ เกิดในที่ไปด้วยอกเพราะอาศัยเหตุ เพียงความขาดไปแห่งในตะไคร้น้ำ เล็กน้อยเท่านั้น ข้าพระองค์ไม่ได้เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ๑ พุทธันดร ทั้งไม่ได้
ฟังพระสัทธรรมไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้เช่นพระองค์ พระเจ้าข้า ฯ องค์พระศาสดาได้ทรงสดับคำของพญานาคนั้นแล้ว จึงตรัสว่า มหาราช อันความเป็นมนุษย์ เป็นของได้ยากทีเดียว การฟังพระสัทธรรมก็เหมือนกัน ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน เพราะสิ่งนี้บุคคลย่อมได้ยาก ได้ลำบาก เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
กิจฺโฉ มนุสฺสปฺปฏิลาโภ กิจฺฉํ มจฺจานชีวิตํ
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
ซึ่งมีคำแปลว่า ความได้เป็นมนุษย์เป็นของยาก ความมีชีวิตอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นของยาก การฟังธรรมของสัปปุรุษเป็นของยาก ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นของยาก ดังนี้
เนื้อความในพระคาถานั้นว่า อันความได้เป็นมนุษย์ ชื่อว่าเป็นของยาก คือเป็นของได้ยาก เพราะบุคคลได้ด้วยความพยายามใหญ่ ด้วยกุศลใหญ่ ถึงการมีชีวิตอยู่แห่งบุคคลทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นของยาก เพราะต้องกระทำการงาน มีการทำนาเป็นต้นอยู่เสมอไป จึงสืบต่อไปแห่งความเป็นชีวิตได้ ทั้งเพราะชีวิตเป็น
ของน้อย ถึงการฟังธรรมแห่งสัปปุรุษ ก็ชื่อว่าเป็นของยาก เพราะได้บุคคลผู้แสดงธรรมยาก แม้ในกัล์ปตั้งหลายกัล์ป ส่วนความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นของยากอย่างยิ่ง เพราะต้องสำเร็จด้วยอภินิหาร ด้วยความพยายามใหญ่ ต้องได้ด้วยหลายโกฏิกัล์ป ดังนี้
ในเวลาจบเทศนาลง การสำเร็จธรรมวิเศษ ก็ได้มีแก่บุคคลถึง ๘ หมื่น ๔ พัน ฯ ฝ่ายพญานาคควรได้โสดาปัตติผลในวันนั้น แต่ไม่ได้ เพราะเป็นดิรัจฉาน ฯ นาคทั้งหลายที่ถือเอาสรีระ
ของนาคย่อมลำบากใน ๕ สถาน คือ การถือปฏิสนธิ การลอกคราบ การนอนหลับ การส้องเสพเมถุนธรรมกับนางนาคด้วยกัน การจุติเหล่าใดมีอยู่ พญานาคนั้น ถึงซึ่งความไม่ลำบากในสถานทั้ง ๕ นั้น ได้เที่ยวไปด้วยรูปร่างแห่งมาณพ ดังนี้ ฯ จบเรื่องพญานาคผู้ชื่อเอรกปัตเพียงเท่านี้
ขอท่านผู้ฟังทั้งหลายจงจำไว้เถิดว่า ความผิดธรรมวินัย ถึงมีเพียงเล็กน้อย ก็ยังให้โทษเหมือนกับพญานาคนั้น เป็นอุทาหรณ์ ทั้งจงจำไว้ว่า ของ ๔ อย่าง คือ การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ๑ การมีชีวิติอยู่ ๑ การฟังธรรมของสัปปุรุษ ๑ การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า ๑ เหล่านี้ เป็นของได้ยากทั้งนั้น แล้วท่านทั้งหลายจงนึกว่า เวลานี้เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ได้มีชีวิตแล้ว ได้พบพระพุทธศาสนาแล้ว ควรจะตั้งใจฟังเสมอไปจึงจะเป็นการดี จะไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา ดังนี้ สิ้นเนื้อความในเทศนากัณฑ์นี้เพียงเท่านี้
เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ชินภพ พิมพะกร
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 ธ.ค. 2006
ตอบ: 67

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.พ.2008, 7:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง