ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 10:56 am |
  |
กระทู้นี้แตกมาจากลิงค์นี้
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17057
สนทนากันยังไม่จบประเด็นดีเร้ย ถูกไส่กุญสะแระ
เห็นที่คุณศุภมณฑา กล่าวว่า= >
อ้างอิงจาก: |
เอ้าแล้วเรื่องปัญญาหล่ะค่ะ ว่าอย่างไร สร้างได้อย่างไร ช่วยตอบ |
ฉะนั้นกระทู้นี้จึงขอเชิญ คุณ ศุภมณฑา คุณ guest ตลอดจนสมาชิก
ท่านอื่นๆ เข้ามาสนทนาเกี่ยวกับปัญญากันต่อน่าจะดีเป็นแน่
จึงขอเปิดประเด็นนำร่องเป็นแนวทางสนทนาว่า ปัญญามี 2 ระดับ คือ
โลกียปัญญา และ โลกุตรปัญญา |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 1:12 pm |
  |
1. สุตตมัยปัญญา - ปัญญาจากได้ยินได้ฟังมา เป้นความรู้ คือจำๆมา ไม่ได้คิดเอง
2. จินตามัยปัญญา - ปัญญาที่ได้คิดเองด้วย เช่นการคิดค้นเรื่องราวต่าง หรือการใช้ความสามารถในการวิเคราะห์
เรียกว่า เอาสุตมัยปัญญามาพัฒนาต่อ
3. ภาวนามัยปัญญา - อันนี้ปัญญาชนิดพิเศษ ได้จากการภาวนา เท่านั้น (เจริญสติปัฏฐาน จนได้สัมมาสติ)
-------------------------------------
ข้อ 1+2 คือปัญญาที่ใช้ในทางโลก เช่นวิทยาการ ศาสตร์ต่างๆ หรือแม้แต่การทำความเข้าใจพระไตรปิฏก ด้วยการฟัง-คิด-อ่าน-เขียน
อยากรวย อยากดัง อยากเก่ง ใช้ปัญญาแบบ 1+2 นี้
ข้อ 3. เป้นปัญญาแบบธรรม
คือคำว่าปัญญาที่เป้นหลักของศาสนาพุทธ
ศีล-สมาธิ-"ปัญญา"
ปัญญานี้ใช้สำหรับหลุดพ้นเท่านั้น
(หากสะกดคำผิด-ขออภัย) |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
ศุภมณฑา
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 07 ม.ค. 2008
ตอบ: 43
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 1:32 pm |
  |
ดิฉันว่า จินตมัยปัญญาอันนี้ดี คือความรู้จากการวิเคราะห์
เพราะความรู้จากการที่ได้ยินได้ฟัง หรือจำมา ก็ดีนะค่ะ แต่ดิฉันเคยเป็น
แบบได้ยินได้ฟังมา จำมา แต่เอามาใช้โดยไม่ได้วิเคราะห์ มันทำให้ผิดพลาดได้ เพราะเรื่องบางเรื่อง จะใช้ประโยชน์ได้ในสถานะการณ์ที่ไม่เหมือนกัน แล้วดิฉันเองก็เป็นคนที่จะวิเคราะห์ไม่ค่อยเป็น เลยทำให้รู้สึกว่ามีความรู้ แต่ไม่มีปัญญา อะไรแบบนี้ (ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดหรือเปล่า) ฝึกฝนอย่างไรดี คืออยากจะฉลาดกับเค้าบ้าง ชิงไหวชิงพริบได้ และถ้าฝึกวิปัสสนา เราจะรู้และเข้าใจ และแก้ปัญหาชีวิตได้ จริงหรือเปล่าค่ะ
เอาเป็นว่า ถ้าเราอยากมีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด มีไหวพริบดี คิดแก้ไขปัญหาได้ถูกต้อง ทำอย่างไร ฝึกอย่างไร
ขออนุโมทนาบุญค่ะ
 |
|
_________________ ขยัน อดทน ทำดี คิดดี พูดดี จะประสบความสำเร็จที่ดี |
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 1:53 pm |
  |
อันนี้ไม่เกี่ยวกับปัญญา
ที่โพสลงมาให้อ่านเพื่อเป็นการเสริมว่า
เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นอาจจะมาจากเหตุปัจจัยดังนี้
แปลเป็นไทยว่าอยากสนทนาด้วยเลยยกขึ้นมาเสียอย่างนั้นเอง
อเหตุกจิต จะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า ผลของกรรมนั้นมีจริง นอกจากเป็นผลให้สัตว์ ต้องไปเกิดในทุคติภูมิ (อบายภูมิ ๔) หรือสุคติภูมิ (มนุษยภูมิ และ เทวภูมิ) ในปฏิสนธิกาลแล้ว ในปวัตติกาล คือภายหลังการเกิดแล้ว ยังทำให้ประสบกับอารมณ์ ทั้งที่ดีและไม่ดี สลับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา ตามแต่โอกาส ในการส่งผลของอดีตกรรม และปัจจุบันกรรมจะมาถึง บางครั้งก็เห็นไม่ดี ได้ยินไม่ดี ได้กลิ่นไม่ดี รู้รสไม่ดี สัมผัสถูกต้องไม่ดี ถูกนินทาว่าร้าย ถูกใส่ความ ฯลฯ เมื่อประสบกับเหตุการณ์เช่นนี้ อย่าเพิ่งไปหลงโกรธผู้อื่นเป็นอันขาด เพราะการประสบกับอนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่ดี) เหล่านี้ ล้วนเป็น ผลของอกุศลกรรม ที่เราเป็นผู้สร้างไว้เอง ในอดีตและปัจจุบัน (ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม) ทั้งสิ้น หาใช่เป็นการกระทำของใครอื่นไม่ และเมื่อใด ที่เราได้เห็นสิ่งที่สวยงาม ได้ยินเสียงที่ไพเราะ หรือเรื่องราวที่ดีๆ ได้กลิ่นหอมๆ ได้ลิ้มรสที่อร่อย และได้รับความสุขกายสบายใจ เหล่านี้ ล้วนเป็นผลของกุศลกรรม ที่เราได้กระทำไว้แล้วในอดีต และปัจจุบัน ทั้งสิ้นเช่นกัน |
|
|
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 2:03 pm |
  |
ความมีปัญญา = อโมหเหตุ
ปัญญา ที่ประกอบในมหากุศลจิตนี้ คือปัญญาที่มีความเห็นถูกต้อง ตามความเป็นจริง ได้แก่ กัมมัสสกตาปัญญา และวิปัสสนาปัญญา อันเป็นเหตุให้มุ่งตรงสู่พระนิพพานเพียงอย่างเดียว
กัมมัสสกตาปัญญา คือปัญญาที่รู้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรม เป็นของตนเอง รู้ว่าชาติหน้ามีจริง นรกสวรรค์มีจริง ชาตินี้ได้เกิดเป็นมนุษย์ แต่ชาติหน้า อาจเกิดเป็นสัตว์ในอบายภูมิ อันได้แก่ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉานก็ได้ การรู้เรื่องเหล่านี้จะเป็นเหตุ ให้เห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นภัย ของการเวียนว่ายตายเกิด ไม่ว่าจะไปเกิดเป็นอะไร ก็มีแต่ทุกข์ทั้งสิ้น ดังนั้น ในขณะที่ทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนา ก็จะตั้งเจตนามุ่งหวัง เพื่อลดกิเลส ละกิเลส ทำลายกิเลส อันเป็นเหตุให้พ้น ไปจากการเวียนเกิดเวียนตาย ทุกครั้ง
วิปัสสนาปัญญา คือปัญญาที่รู้แจ้งความจริงของธรรมชาติ (ปรมัตถธรรม) ว่าแท้จริงแล้วหาได้มีสัตว์ มีบุคคล มีตัวเรา มีของเรา แต่ประการใดไม่ สัตว์ทั้งหลายเกิดจากขันธ์ ๕ มาประชุมกัน ตามเหตุตามปัจจัย ขันธ์ ๕ เมื่อย่อให้สั้น ก็เหลือเพียงกายกับใจ หรือรูปกับนาม ที่เกิดดับสืบต่อกันไป อย่างรวดเร็ว หาสาระตัวตนไม่ได้ เห็นว่ารูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นว่านาม ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ชีวิตทุกๆ ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงผันแปร อยู่ตลอดเวลา ร่างกายนี้ก็มีแต่จะแก่ จะตายลงไป เมื่อตายแล้วก็ต้องเกิดอีก เพราะยังมีกรรม และกิเลสคอยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ตราบใดที่ยังต้องเกิด ตราบนั้นก็ยังต้องทุกข์อยู่ร่ำไป เมื่อใดที่พิจารณาอย่างนี้แล้ว ชื่อว่ามีวิปัสสนาปัญญา เพราะมองเห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นภัยของการมีชีวิต เกิดปัญญาไม่หลงใหลติดอยู่ในโลก มีความปรารถนา ที่จะพ้นจากการเวียนเกิดเวียนตาย ไปให้เร็วที่สุด แม้ขณะทำบุญ ทำกุศล ก็จงตั้งความปรารถนา ให้พ้นจากสังสารวัฏ คือการเวียนเกิดเวียนตาย ทุกครั้งไป |
|
|
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 2:12 pm |
  |
กุศลกรรมทั้งหลาย มีทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ที่มีกัมมัสสกตาปัญญา หรือวิปัสสนาปัญญาเข้าประกอบ และ มุ่งตรงต่อการลดกิเลส ละกิเลส ทำลายกิเลส อันเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน คือพ้นจากการเวียนเกิดเวียนตาย เรียกว่า ติเหตุกกุศลกรรม ซึ่งเป็นกุศลกรรม ที่ประกอบด้วยเหตุ ๓ อันได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ (มีปัญญาเข้าประกอบ) การบริจาคทาน รักษาศีล และการเจริญภาวนา ที่มีปัญญา เข้าประกอบด้วยนั้น จะทำให้รู้เหตุ รู้ผล รู้วิธีวางใจ และตั้งความปรารถนาได้ถูกต้อง เป็นเหตุให้กุศลนั้นมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เป็นวิวัฏฏคามินีกุศล คือเป็นกุศลที่นำพา ให้พ้นไปจาก การเวียนเกิดเวียนตายได้ในที่สุด ผู้ที่มีปัญญาย่อมรู้ว่า กิเลสและกรรม (ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว) เป็นต้นเหต ุให้มีการเวียนเกิดเวียนตาย อย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น เมื่อมีเกิดก็ต้องมีทุกข์เป็นธรรมดา การที่จะพ้นทุกข์ได้ ก็คือต้องไม่เกิดอีก ดังนั้นในการทำกุศลทุกครั้ง จะต้องวางใจให้ถูกว่า ทำเพื่อลดกิเลส ละกิเลส ทำลายกิเลส เพื่อให้พ้นจากการเวียนเกิดเวียนตาย ได้ในที่สุด การตั้งความปรารถนาเช่นนี้ จะทำให้กุศลนี้มีผลมาก เพราะปราศจากกิเลสเข้าเจือปน และยังมีอานิสงส์มาก คือนำให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวง อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา หากเราสามารถทำให้เกิดปัญญาได้อย่างนี้ ทุกครั้งที่ทำบุญ ทำกุศล ปัญญานี้ก็จะสนับสนุน ให้การเวียนเกิดเวียนตายของเรา ลดลงๆ ไปเรื่อยๆ และใกล้พระนิพพานเข้าไปทุกที ๆ (โปรดย้อนไปดูความหมายของ พระนิพพาน ในหนังสือ สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม หน้าที่ ๑๒)
ส่วนกุศลกรรมใดๆ ที่ไม่มีกัมมัสสกตาปัญญา หรือวิปัสสนาปัญญา เข้าประกอบ กุศลกรรมนั้นเรียกว่า ทวิเหตุกกุศลกรรม เป็นกุศลกรรม ที่ประกอบด้วย อโลภเหตุ และอโทสเหตุ เพียง ๒ เหตุเท่านั้น ไม่มีอโมหเหตุ คือปัญญาเข้าประกอบ เช่นการทำบุญของเด็ก การทำบุญให้ทาน ตามเทศกาลประเพณี การรักษาศีล หรือการเจริญภาวนา ที่ปฏิบัติตามๆ กันมา โดยไม่เข้าใจเหตุผลอันแท้จริง มีแต่ศรัทธาเป็นตัวนำเท่านั้น การทำกุศลกรรมในลักษณะนี้ ถือว่าไม่ประกอบด้วยปัญญา มีอานิสงส์น้อย ไม่เป็นเหตุ ให้พ้นไปจากการเวียนเกิดเวียนตาย (เป็นวัฏฏคามินีกุศล) เพราะเป็นการทำบุญ ที่สักแต่ว่าทำ ไม่รู้เหตุ ไม่รู้ผล ไม่รู้อะไรทั้งสิ้น
การทำกุศลใดๆ ไม่ว่าจะเป็นติเหตุกกุศล หรือทวิเหตุกกุศลก็ตาม ความสำเร็จแห่งบุญ จะมีมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเจตนาในกาลทั้ง ๓ ได้แก่
๑. ปุพพเจตนา คือ เจตนาที่เกิดขึ้นก่อนทำกุศล
๒. มุญจเจตนา คือ เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะกำลังทำกุศล
๓. อปรเจตนา คือ เจตนาที่เกิดขึ้นภายหลังจากการทำกุศลแล้ว
การสร้างกุศลต่างๆ มี ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ก่อนทำก็ดี ขณะทำก็ดี หรือภายหลังจากที่ทำแล้วก็ดี หากไม่มีอกุศลใดๆ เข้าแทรกแซง คือมีกุศลเจตนาที่บริสุทธิ์ในกาลทั้ง ๓ ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ที่กระทำนั้น จัดเป็น กุศลชั้นสูง (อุกกัฏฐกุศล) ถ้ากุศลนั้น เป็นติเหตุกกุศลด้วย ก็จะเรียกว่า ติเหตุกอุกกัฏฐกุศล แต่ถ้ากุศลนั้นเป็นทวิเหตุกกุศล ก็จะเรียกว่า ทวิเหตุกอุกกัฏฐกุศล ซึ่งจะให้ผลต่างกันคือ
ติเหตุกอุกกัฏฐกุศล จะนำเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นสูง และ สามารถทำมรรค ผล นิพพาน ฌานสมาบัติ ให้เกิดขึ้นได้
ทวิเหตุกอุกกัฏฐกุศล จะนำเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นกลาง และไม่สามารถทำมรรค ผล นิพพาน ฌานสมาบัติ ให้เกิดขึ้นได้
หากมีอกุศลเข้าแทรกแซง ในระหว่างทำกุศล เช่น เกิดความเสียดายในทรัพย์ (เกิดโลภะ) หรือทำบุญ เพื่อหวังถูกล็อตเตอรี่ (เกิดโลภะ) หรือเห็นพระภิกษุที่มารับบิณฑบาต มีท่าทางไม่สำรวม ก็เกิดความไม่พอใจ (เกิดโทสะ) เป็นเหตุให้กุศลเจตนาในกาลทั้ง ๓ ไม่บริสุทธิ์ บุญกุศลที่กระทำนั้น จัดเป็น กุศลชั้นต่ำ (โอมกกุศล) ถ้ากุศลนั้น เป็นติเหตุกกุศลด้วย ก็จะเรียกว่า ติเหตุกโอมกกุศล แต่ถ้ากุศลนั้นเป็น ทวิเหตุกกุศล ก็จะเรียกว่า ทวิเหตุกโอมกกุศล ซึ่งจะให้ผลที่แตกต่างกัน คือ
ติเหตุกโอมกกุศล จะนำเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นกลาง (ทวิเหตุกบุคคล) และไม่สามารถทำ มรรค ผล นิพพาน ฌานสมาบัติ ให้เกิดขึ้นได้
ทวิเหตุกโอมกกุศล นำเกิดเป็นมนุษย์และเทวดาชั้นต่ำ ที่มีร่างกายและจิตใจบกพร่อง เช่น ตาบอด หรือหูหนวกแต่กำเนิด เป็นใบ้ บ้า ปัญญาอ่อน (จิตที่นำเกิดเป็น มนุษย์ และเทวดาชั้นต่ำนี้ ไม่ใช่มหาวิบากจิต แต่เป็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากจิต)
การให้ผลของอุกกัฏฐกุศล ย่อมให้ผลที่ดีและประณีตกว่าโอมกกุศล ฉะนั้นเจตนาในการทำกุศล จึงควรเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์ในกาลทั้ง ๓ ดังที่กล่าวมาแล้ว
ต้องขออภัยท่านกรัชกายครับถ้าไม่ค่อยตรงตามกระทู้
แตเห็นว่ามีประโยชน์ครับ |
|
|
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 2:14 pm |
  |
|
   |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 2:29 pm |
  |
ศุภมณฑา พิมพ์ว่า: |
ถ้าฝึกวิปัสสนา เราจะรู้และเข้าใจ และแก้ปัญหาชีวิตได้ จริงหรือเปล่าค่ะ |
ต้องถามตัวเองก่อนนะคับว่า
1. อยากหลุดพ้นจากทุกข์ไหม อยากนิพพานไหม
ถ้าต้องการหลุดพ้นถาวร ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก ต้องวิปัสนาเจริญสติปัฏฐาน 4 เท่านั้น
วิปัสนานี้ ปลายทางคืออรหันต์
แต่เป็นอรหันต์แล้วไม่ใช่ว่าจะเป้น super man แล้วสร้างสะพาน
สร้างตึก ทำกระสวยไปอวกาศ ........ เปล่าเลย
พระอรหันต์ทำไม่ได้
แม้วิปัสนาจะไม่ได้ตอบโจทย์ปัญหาชีวิตโดยตรง ไม่ได้แก้ความหิว
ไม่ได้สอนวิธีทำให้รวย ไม่ได้สอนวิธีจีบคน ไม่ได้สอนวิธีทำกับข้าว
แต่การเจริญวิปัสนาทำให้ใจมีภูมิคุ้มกันต่อความทุกข์ใจทั้งปวง
ยิ่งทำมาก ยิ่งทุกข์ใจน้อย
ปัญหาก้ต้องแก้ต่อไป แต่ใจผ่องใส ไม่ทุกข์ ล้มแล้วลุกได้ง่าย
2. ถ้ายังอยากให้ชีวิตปกติ มีครอบครัว ทำงานไป อะไรทำนองนี้
เราก็ใช้แค่ปัญญา 1+2 เท่านั้นเอง (ถ้ามี 3 ด้วยจะดีมาก จะได้ทุกข์ใจน้อย)
ศุภมณฑา พิมพ์ว่า: |
เอาเป็นว่า ถ้าเราอยากมีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด มีไหวพริบดี คิดแก้ไขปัญหาได้ถูกต้อง ทำอย่างไร ฝึกอย่างไร |
- อันนี้คงต้องพึ่งเทคนิคต่างๆของชาวโลกที่เราพัฒนากันขึ้น
ลองเดินดูตามร้านหนังสือใหญ่ หมวด "Self Improvement"
- ความรู้ นี้พอรู้แล้วมันก้ต้องฝึกฝน ต้องผ่านประสบการณ์ ลับบ่อยๆ มันก็คม
ต้อง สุ-จิ-ปุ-ลิ ------- ฟัง คิด อ่าน เขียน
- ถ้าเราทำในสิ่งที่เราชอบ เราจะเก่งกว่าคนอื่นครับ
แต่ถ้าเราหลอกตัวเอง พยามทำไปเพราะเห้นว่าดัง เห้นว่ารวย เห้นว่าได้เงินดี อันนี้จะเหนื่อยหน่อย
ถ้าทำสิ่งที่รัก ไม่เกี่ยงว่ามันต่ำต้อย ไม่เกี่ยงว่าไม่ได้เงินรับประกันว่าวันหนึ่งจะเข้าขั้นอาจารย์ ปรมาจารย์ หรืออัจฉริยะ เงินจะมาเอง ทำงานเหมือนเล่นเพราะมีความสุขที่ได้ทำ
จิตใจก็เบิกบานแจ่มใส ทำงานใช้เวลาน้อยลง ยิ่งทำยิ่งเก่ง ยิ่งทำยิ่งง่าย |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 3:23 pm |
  |
ปัญญามี ๓ ประเภท คือ
๑) ปัญญาที่รู้เรื่องกรรม เรียกว่า กัมมัสสกตาปัญญา รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายนั้นมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นกำเนิด คนหรือสัตว์ทั้งหลายที่ทำกรรมดีกรรมชั่วก็ตาม ย่อมจะต้องได้รับผลของกรรมนั้น แน่นอนทั้งนั้น เช่น ผู้ที่ฆ่าทำร้ายบุคคลอื่น ก็ย่อมจะต้องถูกฆ่า ถูกทำร้ายจากคนอื่นเช่นเดียวกัน บุคคลใดที่ลักขโมยทำลายทรัพย์เขา ทรัพย์ที่ได้มา ก็ย่อมจะได้รับความวิบัติเช่นเดียวกัน ดูได้จากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน แต่ละวันของคนเรา ถ้าเข้าใจในเหตุผล หรือมีความรู้เรื่องกรรมแล้ว ย่อมจะเห็นได้ชัดเจนถึงผลของกรรมแต่ละคนได้ดี
๒) ปัญญาที่รู้เรื่องวิปัสสนา เรียกว่า วิปัสสนาปัญญา จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ได้เข้าปฏิบัติธรรม กำหนดในสติปัฏฐานทั้ง ๔ เป็นอารมณ์ จะมีความเข้าใจชัด ในเรื่องของรูปนาม (ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ สัจจะ ปฏิจจสมุปบาท) ว่า มีลักษณะเปลี่ยนแปลง ไม่มั่นคง และบังคับบัญชาไม่ได้ ตกอยู่ในกฎของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง
๓) ปัญญาที่รู้ในอริยสัจ ๔ เรียกว่า โลกุตตรปัญญา เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้จิตรู้แจ้งแทงตลอด ในความเป็นจริง คืออริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกขสัจ รู้แจ้งว่ารูปนามเป็นทุกข์ มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่สามารถจะทนอยู่ในสภาพเดิมได้ การเกิดนั้นเป็นทุกข์ การแก่เจ็บตายก็เป็นทุกข์ เป็นต้น สมุทัยสัจ รู้แจ้งในเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัวโลภเจตสิก หรือ ตัณหา คือ ความพอใจยินดีติดอยู่ในกามคุณอารมณ์ ทำให้ต้องเวียนเกิดเวียนตายอีก หาที่สิ้นสุดไม่ได้ นิโรธสัจ ปัญญาที่เข้าถึงซึ่งความดับทุกข์ คือนิพพาน เป็นการดับสนิทของตัณหา อันเป็นเหตุทำให้เกิดทุกข์ และการเวียนเกิดเวียนตาย มรรคสัจ การรู้แจ้งทางเดินให้ถึงซึ่งนิพพาน ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น
http://www.buddhism-online.org/Section04A_12.htm |
|
|
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 3:29 pm |
  |
โลกียปัญญา ปัญญาที่ยังข้องอยู่ในโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก รูปโลก และอรูปโลก
โลกุตตรปัญญา ปัญญาที่รู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔
สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน พระธรรมวินัย หรือพระไตรปิฎก
จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการนำเอาสิ่งที่ศึกษามาแล้ว มาคิดพิจารณาเหตุผลตามความเป็นจริง
ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
กัมมัสสกตาปัญญา ปัญญาที่รู้ว่าสัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตนเอง
วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่รู้รูปนามขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน
http://www.buddhism-online.org/Section04A_13.htm |
|
|
|
   |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 3:46 pm |
  |
ปัญญา สร้างได้อย่างไร ? อมิตพุทธ
มีแต่ปรมาจารย์ทั้งนั้น ขอคารวะ  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 3:51 pm |
  |
หลักการสร้างสัมมาทิฏฐิ (ปัญญา) ในพระไตรปิฎก
ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี 2
ประการ คือ ปรโตโฆสะ และ โยนิโสมนสิการ
(องฺ.ทุก.20/371/110 ฯลฯ)
ส่วนปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิก็มี 2 ตรงข้ามจากนี้ คือ ปรโตโฆสะ
(ที่ไม่ถูกต้อง) และ อโยนิโสมนสิการ- (องฺ.ทสก.24/93/201) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 3:53 pm |
  |
(ขยายความ)
1 ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้น หรือ ชักจูงจากภาย
นอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา
คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้
จากผู้อื่น
ข้อนี้เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม ที่มนุษย์
รับเข้ามา ทางตา ทางหู ฯลฯ มีทั้งส่วนที่ดีงามถูกต้อง และ ส่วนที่
ไม่ดีงามไม่ถูกต้อง |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 3:56 pm |
  |
2.โยนิโสมนสิการ = การกระทำในใจโดยแยบคาย=
การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น หรือคิดอย่างมี
ระเบียบ
หมายถึง การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลาย โดยมองตามที่สิ่ง
นั้นๆ มันเป็นของมัน และโดยวิธีคิดหาเหตุผล สืบค้นถึงต้นเค้า
สืบสาวให้ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออกให้เห็น
ตามสภาวะ และตามความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอา
ความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ
ข้อ 2 นี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน ได้แก่ ปัจจัยภายในตัวของ
บุคคลนั้นๆ = วิธีการแห่งปัญญา |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 3:58 pm |
  |
เมื่อชาลีและกัณหา เดินถอยหลังลงไปซ่อนตัวในสระน้ำ ด้วย
เข้าใจว่าผู้ตามหาเห็นรอยเท้าแล้วจะเข้าใจว่า เธอทั้งสองขึ้นมาแล้ว
จากสระน้ำ ความคิดที่ทำเช่นนั้นก็เรียกว่าเป็น ปัญญา
ต่อมาเมื่อพระเวสสันดรทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าของลูกทั้งสองแล้วก็รู้
ทันทีว่าเด็กทั้งสองเดินถอยหลังลงไปซ่อนตัวในสระน้ำ เพราะมีแต่
รอยเท้าเดินขึ้นอย่างเดียว ไม่มีรอยลง อีกทั้งรอยนั้นก็กดลงหนักทาง
ส้นเท้า ความรู้เท่าทันนี้ก็เรียกว่าปัญญา
ในสองกรณีนี้ จะเห็นได้ว่าปัญญามีความรอบคอบและลึกซึ้งกว่า
กัน ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงการที่ปัญญาใช้ประโยชน์จากสัญญา
ด้วย |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 4:01 pm |
  |
การที่เจ้าชายสิทธัตถะ ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย
แล้วทรงคำนึงเห็นความทุกข์ที่มวลมนุษย์ต้องประสบทั่วสากล และ
เข้าใจถึงภาวะที่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้ ล้วนเกิดขึ้นและปรวนแปร
สิ้นสุดด้วยแตกดับ ควรระงับความทุกข์อันเนื่องมาจากสาเหตุเช่นนั้น
เสีย ความเข้าใจนั้นก็เรียกว่าเป็น ปัญญา
เมื่อพระพุทธเจ้าจะทรงประดิษฐ์ฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ ได้
เสด็จไปโปรดพวกกัสสปชฏิล ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวมคธ
ให้เลื่อมใสยอมรับคำสอนของพระองค์ก่อน พระปรีชาอันให้ดำริที่จะทรง
กระทำเช่นนั้น ก็เรียกว่าเป็น ปัญญา
ปัญญาเป็นคำกลาง สำหรับความรู้ประเภทที่กล่าวมานี้ และปัญญานั้น
มีหลายชั้นหลายระดับ เช่น แบ่งเป็นโลกียปัญญา และโลกุตรปัญญา
เป็นต้น มีคำศัพท์หลายคำ ที่ใช้ในความหมายจำเพาะ หมายถึงปัญญา
ในขั้นใดขั้นหนึ่ง ระดับใดระดับหนึ่ง แง่ใดแง่หนึ่ง หรือเนื่องด้วยกิจ
เฉพาะ คุณสมบัติเฉพาะหรือประโยชน์เฉพาะบางอย่าง เช่น
ญาณ วิชชา วิปัสสนา สัมปชัญญะ ปริญญา อภิญญา
ปฏิสัมภิทา เป็นต้น
อนึ่ง ปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป บางทีมีแต่สัญญาและวิญญาณ
หาได้มีปัญญาด้วยไม่ แต่คราวใดมีปัญญาเกิดร่วมด้วยกับสัญญาและ
วิญญาณ คราวนั้นก็ยากที่จะแยกให้เห็นความแตกต่างจากกันและกัน |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 4:11 pm |
  |
ปัญญา ในทางพุทธศาสนาท่านบอกว่า เมื่อคิดนึกปรุงแต่งสารพัดทุกอย่างมีความรู้รอบ เข้าใจทุกสิ่งทุก
ประการตามความเป็นจริงหมดแล้ว มันหยุด การหยุดนั้นแหละเรียกว่าปัญญา เพราะจิตแท้จริงคือ ตัวรู้
มันรู้ทกอย่างอยู่แล้ว
ปัญญาทางโลกนั้นก็คิดไปเถิดไม่มีที่สิ้นสุด ตั้งแต่วันเกิดจนวันตายก็ไม่สงบสักที
วนเวียนอยู่นั่น ไม่รู้สักที ท่านเรียกว่า วัฏฏะ พอหยุดเท่านั้นรู้เลย |
|
แก้ไขล่าสุดโดย พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เมื่อ 12 ส.ค. 2008, 4:20 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 4:19 pm |
  |
ปรโตโฆสะ ดังกล่าวมนุษย์หนีไม่พ้น ตราบเท่าที่ยังมีตา มีหู ฯลฯ และ
ไม่พิการทางจักษุ เป็นต้น
แม้แต่เสพข้อความทางเน็ต นี่ก็เป็นปรโตโฆสะทั้งดีถูกต้องและไม่ดีไม่ถูก
ต้อง ปัจจัยภายใน เป็นโยนิโสมนสิการ หรือ อโยนิโสมนสิการ
ยิ่งเรื่องการเมืองด้วยแล้วเป็นเรื่องใกล้ตัว เป็นเรื่องของคนทุกคน
ไม่พึงปฏิเสธแต่รู้จักเสพด้วยโยนิโสมนสิการ นี่เป็นปัญญาระดับหนึ่ง |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 4:28 pm |
  |
คุณ"กรัชกาย"ครับ
เรื่องการเมืองนั้นควรเสพ แต่ไม่ควรไปยึดติด เรื่องทางโลกก็ควรเสพ แต่ไม่ควรไปยึดติด
ถ้าไม่เสพเรื่องเหล่านี้แล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่า จิตของเราไม่คิดปรุงแต่งแล้ว
พระท่านเข้าไปฝึกในป่า ท่านก็ต้องเสพความคิดความรู้ว่า มีเสือ มีงู ฯลฯ แต่ท่านไม่คิดปรุงแต่ง
ไปด้วยความกลัวกับสิ่งเหล่านั้น จิตของท่านไม่คิดปรุงแต่งเมื่อไร ท่านก็ถึงอรหันต์เมือนั้น |
|
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 4:30 pm |
  |
เมื่อว่าดังนั้นแล้วลองเสพปรโตโฆสะนี้ ดูสิความรู้สึกอย่างอย่างไร
โยนิโสมนสิการทำงานได้ผลหรือไม่  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|