Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มาทำความเข้าใจในเรื่อง "มรรค" ตอนที่ 1 ,ตอนที่ 2 อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.พ.2008, 12:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มรรค ตอนที่ 1...............
ในเรื่องของมรรคนี้ จะแบ่งออกเป็น 4 ตอนเพราะมีความยาวเพื่อให้งานได้อรรถรส ไม่เบื่อ ดังต่อไปนี้
มรรค คือ หนทางหรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์นั้น ในทางพุทธศาสนาย่อมมีปัจจัยหรือมีสิ่งประกอบในการที่จะปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ได้นั้น บุคคลต้องประกอบไปด้วย ความมีสติ คือ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจการใดใด(คัดความจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎก), สัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัว ทั้งสองสิ่งเป็นผลแห่ง ความมีสมาธิ, ความมีจิตใจที่ดี ด้วยการรักษาศีล , ความมีสติ คือ ความระลึกได้ ,นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจการใดใด ,สัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัว อันเป็นผลแห่ง ความมีสมาธิ, ย่อมก่อให้เกิดความคิดที่ดี นำไปสู่การมีความเห็นในทางที่ถูกที่ควร,ตลอดจนการระลึกนึกถึงความรู้ ตามหลักวิชา ตามประสบการณ์ รวมไปถึง ความเข้าใจในความรู้ ตามหลักวิชาและประสบการณ์เหล่านั้น,ซึ่งทำให้เกิดมีความตั้งจิตมั่น , ก่อให้เกิดการพูดหรือการติดต่อสื่อสารที่ดี ที่ถูกที่ควร ,เป็นเหตุให้เกิดการกระทำการใดใดอันเกิดคุณต่อตนเองและผู้อื่น, แล้วแปรเปลี่ยนเป็นการเลี้ยงชีพชอบหรือเป็นอาชีพที่สุจริต, ล้วนต้องประกอบด้วยความเพียรหรือความขยันหมั่นเพียรหรือความพยายามในอันที่จะทำให้สำเร็จ,(คัดและตัดต่อความจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับเจ้าคุณธรรมปิฎก)
สำหรับ มรรค อันมีองค์ 8 หรือหนทาง หรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ในทางพุทธศาสนานั้น มีองค์ประกอบ 8 ประการ ดังต่อไปนี้.-
ดำริชอบ ในข้อมรรคทางพุทธศาสนานั้น หมายถึง ความคิด คือความคิดที่จะออกจากกาม ความคิดในอันไม่พยาบาท ความคิดในอันไม่เบียดเบียน ตนเองและผู้อื่น คำว่า กาม นั้นหมายถึง “ความใคร่ หรือ ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่, กามมี ๒ คือ ๑.กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่ ๒.วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่” (พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับเจ้าคุณธรรมปิฎก) ดังนั้น ความคิดใดใด ย่อมต้องประกอบไปด้วยความรู้ ความเข้าใจว่า อะไรเป็นความใคร่ หรือความอยาก อะไรคือสิ่งที่ต้องการ อะไรคือสิ่งที่มุ่งหมาย หรืออยากได้ สิ่งเหล่านั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ในทางสังคมทั่วๆไปเรียกว่า ปัจจัยสี่ อันได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม,ที่อยู่อาศัย,อาหาร,และยารักษาโรค เป็นพื้นฐานอันดับแรก และยังมีเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆซึ่งเป็นวัตถุที่อยากได้หรือต้องการจะมี ตามยุคกระแสโลกาภิวัตน์ การที่บุคคลจะมี ปัจจัยสี่ได้อย่างครบถ้วน ก็ยังต้องอาศัยปัจจัยทางสังคม เช่นการมีงานทำ การประกอบการ ประกอบอาชีพ ฯ เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์เพื่อใช้จ่ายในการซื้อหา ปัจจัยสี่และเครื่องอำนวยความสะดวก ความคิดที่จะต้องการในปัจจัยสี่และอื่นๆย่อมเป็นไปตามค่านิยมของสังคมนั้นๆ ย่อมเป็นความคิด ที่เปรียบเป็นเหมือนกับ ดำริชอบ คือ ความคิดที่จะออกจากกาม ความคิดในอันไม่พยาบาท ความคิดในอันไม่เบียดเบียน ตนเองและผู้อื่น เมื่อความคิดเกิดขึ้นแล้วว่าควร มีงานทำ หรือประกอบการ ประกอบอาชีพ ฯ เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์เพื่อใช้จ่ายในการซื้อหา ปัจจัยสี่และเครื่องอำนวยความสะดวก ความคิดที่จะต้องการในปัจจัยสี่และอื่นๆเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิต หรือประกอบการ หรือดำเนินการ ฯ หรือความคิดในอันที่จะขจัดหรือดับซึ่งกิเลสอันได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความมี สัมมาทิฎฐิ หรือความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม ก็เกิดขึ้น
เพราะ สัมมาทิฎฐิ หมายถึง ความเห็นชอบ ตามทำนองคลองธรรม เห็นชอบตามหลักธรรมชาติ เห็นชอบตามความเป็นจริงในสังคม ในครอบครัว ในชุมชน จนไปถึงระดับรัฐ อันต่อเนื่องมาจากดำริชอบหรือความคิด เช่นเมื่อบุคคลมีความคิดดีแล้วว่าจะดำเนินการ ประกอบอาชีพ หรือทำงานที่สุจริต หรือมีความคิดที่จะขจัดหรือดับซึ่ง กิเลส อันได้แก่ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ย่อมเกิดความเห็นชอบในความคิดที่ได้กล่าวไป อันเป็นความเชื่อมโยง ไปสู่การระลึกชอบ หรือสัมมาสติ
สัมมาสติ หรือ ระลึกชอบ หมายถึงการนึกถึงหรือคิดถึงหรือพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เท่าทันในความเป็นจริง กำกับดูสิ่งต่าง ๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส (ถอดความจากพจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับเจ้าคุณธรรมปิฎก) อันเป็นสิ่งที่เกิดต่อเนื่องจากความเห็นชอบ หรือสัมมาทิฎฐิ นั่นย่อมหมายความว่า บุคคลใดใด ย่อมต้องมีความคิดถึงหรือนึกถึง ความรู้ในหลักวิชาการ ประสบการณ์ ในด้านต่างๆ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน ประกอบอาชีพ หรือประกอบการใดใด หรือสามารถใช้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการขจัดหรือดับความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ในระดับหนึ่ง อันจักทำให้เกิดมี จิตตั้งมั่นชอบ เกิดขึ้น
จบมรรค ตอนที่1
ตอนที่ 2...........
สัมมาสมาธิ คือ จิตตั้งมั่นชอบ มีความหมายในทางพุทธศาสนาว่า มีสมาธิ ตามแนวฌาน ๔ ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา นั่นหมายความว่า บุคคลใดใด เมื่อมีความคิด ความเห็น ความระลึกนึกถึง ก็ย่อมต้องเกิดมี การไตร่ตรอง พิจารณา สอบสวน, ตรวจตรา, คิดการ, กะการ, จัดเตรียม, จัดแจง, ดูแล, จัดดำเนินการ แล้วก็เกิดความสำราญ หรือสบายใจ แล้วจึงมีความแนวแน่อยู่ในอารมณ์เดียว คือสมาธิ(คัดความจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎก) ไม่ฟุ้งซ่าน จิตตั้งมั่นในอันที่จะกระทำ จิตตั้งมั่นในอันที่จะแก้ปัญหา จิตตั้งมั่นในอันที่จะพิจารณาความรู้ในด้านต่างๆให้เกิดความเข้าใจ ในการที่จะดำเนินกิจกรรมใดใดตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตามคุณลักษณะทั้ง 3 ประการได้อย่างสำเร็จครบถ้วน แต่ในการดำเนินกิจกรรม ในการกระทำ ในการประกอบการ ในการประกอบอาชีพ ล้วนต้องมีการติดต่อสื่อสาร หรือการเจรจาติดต่อซึ่งกันและกัน เมื่อบุคคลเกิดมีจิตตั้งมั่นชอบแล้ว การเจรจาติดต่อซึ่งกันและกันในทางที่ชอบก็เกิดขึ้น เพราะเมื่อเกิดมี การไตร่ตรอง พิจารณา สอบสวน, ตรวจตรา .คิดการ, กะการ, จัดเตรียม, จัดแจง, ดูแล, จัดดำเนินการ ตามหลักจิตตั้งมั่นชอบแล้ว การประกอบการ การทำงาน การประกอบอาชีพ หรือการขจัดหรือดับความทุกข์ หรือขจัดหรือดับกิเลส อันได้แก่ความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น ล้วนต้องอาศัยการเจรจาเพื่อติดต่อสื่อสารในการดำเนินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรึกษา หารือ ระดมสมอง วางแผน ฯลฯ
สัมมาวาจา หรือเจรจาชอบ หมายถึง เว้นจากการประพฤติชั่วด้วยวาจา, ประพฤติชั่วทางวาจามี ๔ อย่างคือ ๑.มุสาวาท พูดเท็จ ๒.ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด ๓.ผรุสวาจา พูดคำหยาบ ๔.สัมผัปปลาป คือ พูดเพ้อเจ้อ, พูดเหลวไหล, พูดไม่เป็นประโยชน์ ไม่มีเหตุผลไร้สาระ ไม่ถูกกาลถูกเวลา(พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับเจ้าคุณธรรมปิฎก) เป็นปัจจัยที่จำเป็นอย่างหนึ่งในการดำเนินกิจกรรม ในการประกอบอาชีพ การประกอบการ ในการทำงาน เป็นปัจจัยในการขจัดหรือดับกิเลสอันได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ทั้งตนเองและผู้อื่น
เมื่อบุคคล มีความคิด มีความเห็น มีการระลึกนึกถึง มีจิตตั้งมั่น และมีการติดต่อสื่อสาร ที่ดีแล้ว ก็ย่อมต้องมีการกระทำ มีการปฏิบัติ ตามความคิด ความเห็น การระลึกนึกถึง ด้วยจิตตั้งมั่นและมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน อันเรียกตามหลักพุทธศาสนาว่า สัมมากัมมันตะ
สัมมากัมมันตะ คือ ทำการชอบ หรือการงานชอบ กระทำการไปด้วยความสุจริต ไม่ประพฤติชั่ว เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม การที่บุคคล จะทำการชอบ หรือการงานชอบ หรือปฏิบัติในทางที่ชอบได้นั้น ก็ล้วนต้องมีปัจจัย อันได้แก่ มีความคิดชอบ, มีความเห็นชอบ, มีการระลึกนึกถึงชอบ, มีจิตตั้งมั่นชอบ, และมีการติดต่อสื่อสารที่ดี
เมื่อบุคคลประกอบไปด้วยปัจจัยที่ได้กล่าวไปแล้วนี้ การงานชอบ หรือทำการชอบ หรือ สัมมากัมมันตะ ก็เกิดขึ้น และการเกิดของ สัมมากัมมันตะ หรือการงานชอบ หรือ ทำงานชอบนี้ ก็คือ สัมมาอาชีวะ ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในข้อ มรรค ตามหลักอริยสัจสี่
จบมรรค ตอนที่ 2
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง