Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ความสำคัญ ของการฝึกสมาธิ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2008, 7:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การฝึกสมาธิ หรือการปฏิบัติสมาธินั้น ท่านทั้งหลาย ย่อมมีความรู้กันอยู่บ้างแล้ว ถูกบ้างผิดบ้าง ก็แล้วแต่ความคิดความเข้าใจของแต่ละบุคคล ของแต่ละกลุ่มบุคคล ของแต่ละสำนัก
แต่ทุกกลุ่มทุกคน ทุกหมู่เหล่า ที่รู้จักการปฏิบัติสมาธินั้น หาได้รู้ซึ้งถึงความสำคัญของสมาธิ คงได้แต่รู้เพียงว่า สมาธิคือการฝึกให้เกิดฌาน หรือเกิดอะไร ตามแต่ที่ได้เรียนรู้มา โดยไม่ได้คำนึงถึงหลักความจริง โดยไม่ได้คำนึงถึงยุคสมัย
สมาธิ นั้น มีความสำคัญในการฝึกอภิญญา หรือในการฝึกในรูปแบบอื่นๆตามแต่ที่ศาสนาได้เขียนไว้ และตามแต่ที่แต่ละบุคคลจะเข้าใจ โดยการขาดวิจารณญาณ
ข้าพเจ้าเน้นในเรื่องพื้นฐาน อันเกี่ยวกับสมาธิ ก็เพราะ สมาธิ หรือ ผลแห่งการฝึกสมาธิ อันได้แก่ความรู้สึกตัวและระลึกได้ จะเป็นบันไดพื้นฐานขั้นแรก สำหรับบุคคลทั่วไป ในอันจะก้าวไปสู่ขั้นต่อๆไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
การฝึกสมาธินั้น ตามที่ได้กล่าวไปหลายตอนหลายกระทู้ว่า หมายถึงการ ควบคุม ระบบสรีระร่างกายในส่วนของระบบการหายใจ(หมายเอาเฉพาะผู้ใช้ลมหายใจเป็นเครื่องกำหนด) และควบคุมในระบบของสมอง คือ ความคิด การเห็น การได้ยิน ความรู้สึก อารมณ์ ฯลฯ
การฝึกสมาธิ นั้น เมื่อฝึกได้ผลดีแล้ว คือไม่คิด ไม่เห็น ขจัดความรู้สึก ขจัดซึ่งอารมณ์ อันเกิดจากความคิดได้ดีพอสมควรแล้ว
เมื่อออกจากการฝึกสมาธิ ความรู้สึกตัวและระลึกได้ก็จะเพิ่มพูนขึ้น เมื่อได้ประสบ สัมผัส หรือกระทบกับสิ่งภายนอก ด้วยอายตนะใดใดก็ตาม ควานมีสมาธิ หรือความรู้สึกตัวและระลึกได้ ก็จะเป็นปัจจัยทำให้ระบบของสมองสามารถนำเอาความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ในเรื่องต่างๆ ออกมาใช้ในการขจัด ในการคิด ในการแก้ปัญหา อย่างได้ผลดียิ่ง นี้เป็นพื้นฐานขั้นต้น ที่ท่านทั้งหลายไม่ว่าจะอยู่สถานะ บทบาท หรือหน้าที่ใดใด ควรได้รู้ไว้
เพราะความรู้ จะเป็นปัจจัยทำให้เกิดความเข้าใจ ทำให้เกิดความสามารถในการขจัดอาสวะแห่งกิเลส เมื่อรู้จักขจัดอาสวะแห่งกิเลสขั้นต้นได้แล้ว อภิญญาขั้นต้นก็จะเกิดขึ้น นั้นก็คือ การรู้จักกำหนดจิตผู้อื่น การระลึกชาติได้(หมายถึงการคิดรู้ในความรู้ และประสบการณ์ รวมไปถึงการปรุงแต่งความรู้ต่างๆให้สามารถใช้งาน หรือดำเนินการในการกระทำต่างๆได้เป็นอย่างดี) ฯลฯ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 24 ม.ค. 2008, 10:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมาธิสำคัญมา เอาไว้เป็นกำลังประหารกิเลส
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง