ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
น้องนน
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 10 พ.ค. 2007
ตอบ: 47
|
ตอบเมื่อ:
21 ม.ค. 2008, 5:57 pm |
  |
พระธาตุปาฏิหาริย์ พระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุนั้นเป็นปูชนียวัตถุที่มีเทวดารักษา สามารถแสดงปาฏิหาริย์ เช่น การเพิ่มและลดจำนวนได้เอง การเรืองแสง เปล่งแสงในที่มืด การเสด็จลอยวนสถานที่บรรจุ การเสด็จผ่านอากาศไปในทิศต่างๆ เปลี่ยนแปลงสีและรูปร่างได้เอง ฯลฯ
การเกิดของพระธาตุนั้น จะว่าไปก็เป็นปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง คือ กระดูกที่เผาไฟแล้วก็ดี หรือยังไม่เผาไฟก็ดี สามารถแปรเปลี่ยนเป็นผลึก รูปร่างต่างๆ สีสันสวยงาม คล้ายกรวด คล้ายแก้ว ไม่เพียงแต่กระดูกเท่านั้น ผม เล็บ ฟัน หรือ แม้กระทั่งชานหมาก ของท่านเหล่านั้น ก็พบว่าสามารถแปรเป็นพระธาตุได้เช่นกัน
อัฐิพระสงฆ์ในยุคปัจจุบัน ที่สามารถแปรเป็นพระธาตุนั้นก็มีอยู่ด้วยกันหลายรูป แต่ละรูปก็มีลักษณะของพระธาตุจำนวนมากมาย ทรงไว้ด้วยความน่าอัศจรรย์ใจ ดังเช่นการเพิ่มหรือลดจำนวนได้เอง การเปล่งแสง การเปลี่ยนแปลงลักษณะ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า ในเมื่ออัฐิพระในยุคปัจจุบันยังสามารถแปรเปลี่ยนเป็นพระธาตุ เพิ่มหรือลดจำนวนเองได้ แล้วพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระธาตุแห่งองค์พระอสีติมหาสาวก จะยิ่งมิทรงไว้ซึ่งความน่าอัศจรรย์ยิ่งกว่านี้อีกหรือ
ลักษณะการเกิด
การบังเกิดขึ้นของพระธาตุจากส่วนต่างๆนั้น คุณหญิงสุรีพันธ์ มณีวัต ได้สังเกตและจดบันทึกเป็นขั้นตอน ดังนี้
การแปรพระธาตุจากผงอังคาร
พระธาตุหลวงปู่กอง จันทวังโส
วัดสระมณฑล จ.อยุธยา
1. ผงอังคาร (ถ่าน)
2. มีจุดเล็กเหมือนไข่ปลา สีขาวเทาเกิดขึ้น
3. ไข่ปลานั้นเริ่มโตขึ้น สีเทาดำ
4. สีเทาดำ เริ่มขาวขึ้น พระธาตุมีขนาดใหญ่ขึ้น
5. องค์พระธาตุสมบูรณ์ขึ้น ซึ่งจะเข้าลักษณะเมล็ดข้าวโพด
การแปรเป็นพระธาตุจากอัฐิ
ชิ้นอัฐิที่กำลังแปรเป็นพระธาตุ
พระธาตุที่แปรสภาพจากอัฐิ
หลวงปู่เข่ง โฆษธัมโม
วัดป่าสีห์พนม จ.สกลนคร
1. กระดูกตามธรรมชาติ
2. กระดูกเริ่มแปรเป็นพระธาตุแยกเป็น 2 ลักษณะ
2.1 กระดูกที่มีลักษณะเป็นฟองกระดูกเป็นรูพรุน ฟองกระดูกเริ่มหดตัว รวมตัวเข้าเป็นผลึก ฟองกระดูกบางส่วนจะยังคงสภาพอยู่
2.2 กระดูกที่เป็นขิ้นยาว แนวเยื่อกระดูกที่เห็นเป็นเส้นบางๆ ต่อไปจะแปรเปลี่ยนเป็นพระธาตุตามแนวเส้น จะเกิดผลึกขยายขึ้นจนเต็มองค์
3. สภาพใกล้เป็นพระธาตุมากขึ้น
3.1 พระธาตุลักษณะนี้แปรสภาพจาก 2.1 ส่วนที่เป็นผลึกหินปูนจะมากขึ้น ส่วนที่เห็นเป็นฟองกระดูกจะน้อยลง ลักษณะเริ่มมน มีสัณฐานกลม รี เมล็ดข้าวโพด เห็นส่วนฟองกระดูกติดเพียงเล็กน้อย
3.2 พระธาตุลักษณะนี้ มักจะคงรูปกระดูกเดิมไว้ โดยแปรจาก 2.2 เยื่อกระดูกที่เกาะเป็นผลึกหินปูนจะขยายตื้นขึ้นจนเกือบเต็มรูพรุนกระดูก ประมาณเห็นส่วนกระดูกเหลือเพียง 10-20%
4. เป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์
ลักษณะการแปรเป็นพระธาตุจากเกศา
เกศาหลวงปู่สนั่น รักขิตสีโล
วัดป่าสุขเกษมนิราศภัย จ.สกลนคร
1. เส้นเกศาตามธรรมชาติ
2. เส้นเกศาหย่งตัวขึ้นและมารวมตัวกันเข้า ติดกันเป็นแพเล็กๆ
3. แพเหล่านั้นจะรวมเป็นก้อน
4. เริ่มลักษณะเป็นพระธาตุ สีน้ำตาลอ่อนคล้ายพิกุล
5. เป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์ สีพิกุลแห้ง หรือ นวล
นอกจากนี้ การเกิดพระธาตุจากอัฐินอกเหนือจากที่คุณหญิงสุรีพันธ์บันทึกไว้นั้น ยังมีอีก 2 ลักษณะ ที่มีผู้สังเกตไว้ดังนี้
อัฐิพระสุพรหมยานเถร
วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน ลักษณะการแปรเป็นพระธาตุจากอัฐิ
1. อัฐิตามธรรมชาติ
2. เกิดองค์พระธาตุผุดขึ้นมาจากชิ้นอัฐิ
3. องค์พระธาตุมีขนาดใหญ่ขึ้น
4. หลุดออกมาเป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์ |
|
|
|
  |
 |
น้องนน
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 10 พ.ค. 2007
ตอบ: 47
|
ตอบเมื่อ:
21 ม.ค. 2008, 7:17 pm |
  |
|
  |
 |
|