Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มาทำความเข้าใจใน"สติปัฎฐาน4"กันเถอะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 06 เม.ย.2008, 9:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สติปัฎฐาน 4 มีความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับ เจ้าคุณธรรมปิฏก ดังนี้.
"ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่าง ๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ ๑.กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย ๒.เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา, ๓.จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต ๔.ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม; เรียกสั้น ๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม"

ความจริงแล้วหลักการสติปัฎฐาน 4 นี้ ในโลกนี้ มีข้าพเจ้าเพียงผู้เดียวที่สามารถอธิบายให้เกิดความเข้าใจ และถูกต้องได้อย่างชนิดที่ไม่มีใครคาดถึง นี้ไม่ใช่เป็นการยกตัวข่มท่าน และไม่ใช่การคุยโวโอ้อวดนะขอรับ แต่เป็นเรื่องจริง ดังข้าพเจ้าจะอธิบายให้ได้อ่านกันสักเล็กน้อยซึ่งก็คงสามารถทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ที่เคยหลงผิดคิดผิด เกิดความเข้าใจในเรื่องของสติปัฎฐาน4 ได้บ้างไม่มากก็น้อย ดังต่อไปนี้.-
อันหลักการสติปัฎฐาน 4 นั้น หากจะกล่าวกันในแง่คำสอนแล้ว เขาสอนไว้แบบ เอาเฉพาะหัวข้อใหญ่ๆ มากล่าว เพื่อให้อยู่ในรูปของพรหม คือมี 4 ในแต่ละหัวข้อ ต้องมีการแยกแยะรายละเอียดออกไป เช่น การตั้งสติพิจารณากายของตนอยู่เสมอ หรือให้มีความนึกได้ในกายของตนอยู่เสมอ ก็ต้องศึกษาค้นคว้า ในทางสรีระร่างกายของมนุษย์ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) อีกทั้งยังต้องศึกษาในรายละเอียดอันเกี่ยวกับสรีระร่างกาย อย่างละเอียด ทั้งภายในภายนอก และไม่ใช่พิจารณาเฉพาะตัวเอง ต้องพิจารณาเกี่ยวโยงไปถึงผู้อื่นด้วย และ เมื่อพิจารณาแล้ว ก็ต้องพิจารณาในข้ออื่นทำนองเดียวกัน และให้สัมพันธ์กัน ซึ่งล้วนเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญยิ่งหนัก เพราะ คนในสมัยโบราณนั้น เขาชอบสอนแบบซ่อนความลับเอาไว้ ไม่เก่งจริง ไม่มีประสบการณ์ ไม่ฉลาด ก็ย่อมไม่มีทางเข้าถึงหลักธรรมได้
ถึงอย่างไรก็ตาม หลักการทางศาสนาย่อมมีง่ายมียาก มีลำบาก มีสบาย ตามแต่ความคิดของเรา ฉะนี้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง