Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิปัสสนากรรมกร (ท่านพุทธทาสภิกขุ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2008, 12:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



90479047.jpg


วิปัสสนากรรมกร

เรื่องทำการงานนี่ เคยพูดกันมา หลายหนแล้ว ถ้ายังไม่เข้าใจ
ก็ตามใจ ทำวิปัสสนา ในการงานนี้ เราต้องการอยู่เสมอ ยังต้อง
การอยู่ จะเป็นครั้งนี้ หรือ ครั้งพุทธกาลโน้น ก็ตามใจ เรื่องมัน
เรื่องเดียว เรื่องวิปัสสนา คือ ต้องเห็นความจริง เห็นข้อเท็จจริง
เห็นความจริงที่ทำลายความเห็นแก่ตัวนี่จะจำจะจดก็จดประโยค
สั้นๆ นี้ว่า วิปัสสนาที่แท้จริง เป็นการเห็นความจริง ที่ทำลาย
ความเห็นแก่ตัว เท่านี้ก็พอแล้ว
นี่คือวิธีที่เราจะเห็นความจริง ชนิดทำลายความเห็นแก่ตัว มีอีก
หลายแบบ หลายอย่าง แล้วมันก็ไม่จำเป็น จะต้องเหมือนกัน ไป
หมด มันปรับปรุงได้ ตามกาละสมัย ข้อนี้ อย่าว่าแต่ ธรรมะเลย
แม้แต่ วินัยพระพุทธเจ้า ท่านก็ตรัสอนุญาตไว้ ว่าถ้าอันไหน ไม่
เหมาะสม จะเพิกถอนแก้ไขก็ได้ พระพุทธเจ้า ท่านตรัสอนุญาต
ไว้อย่างนี้ เมื่อจะปรินิพพาน เมื่อวันจะนิพพาน เราไม่สมัครที่จะ
แก้ไขกันเอง ฝ่ายเถรวาท ยินดีที่จะเอา ตามตัวหนังสือ ไม่แก้ไข
ดัดแปลง อะไร เหมือนพวกมหายาน ถ้าแก้ไข ก็แก้ไขได้ แต่ไม่
อยากจะแก้ไข รักษาไว้ ตามตัวหนังสือ


นี้หมายความว่า สิ่งต่างๆ นั้น ปรับปรุงแก้ไขตามควรแก่กาละ
เทศะได้ เดี๋ยวนี้ แม้พระแต่ละองค์ ก็ไม่ได้เป็นอยู่ เหมือนครั้ง
พุทธกาล เนื่องจาก โลกมันเปลี่ยนแปลง ในระหว่าง ๒,๐๐๐
กว่าปีนี้ โลกมันเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง หลายอย่าง หลาย
ประการ แต่ว่า ส่วนใหญ่ เปลี่ยนแปลง ไปในทางที่ เราจะต้อง
ทำอะไรให้มันเป็นประโยชน์มากขึ้นจะเนิบๆ เนือยอยู่ เหมือน
ครั้งพุทธกาล นั้นไม่ได้ เราทำผิด หรือทำถูก ก็ตามใจ แต่ว่า
เราทิ้งอะไรบางอย่าง จากครั้งพุทธกาลกันก็มี ในส่วนการเป็น
อยู่ หรือการทำประโยชน์ผู้อื่น อย่างนี้เราทิ้ง แต่ หลักธรรมนั้น
ทิ้งไม่ได้ นี่ หลักวิปัสสนา หลักธรรมะทิ้งไม่ได้ ต้องเป็นหลักที่
ทำลายความเห็นแก่ตัว ถอนความเห็นแก่ตั ว ถอนความรู้สึกว่าตัว
ในที่สุด อันเดียว คงไว้ ส่วนวิธีการต่างๆ ที่จะให้สำเร็จผล
ตามนั้น ก็ต้องปรับปรุงได้ ต้องเป็นสิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะ
แก่ กาละสมัยได้ แล้วก็ต้องเป็นคนที่มี ความเข้าใจถูกต้อง
ในวัตถุประสงค์ ไม่คุ้มดีคุ้มร้าย เหมือนพระเหล่านี้ ผมพูดตรงๆ
เรียกว่า เขาเป็น คนคุ้มดีคุ้มร้าย มีความเห็นแก่ตัวมาก
เราถือเอาตามหลักธรรมะ ที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้แล้ว มันมี
ทางมากทาง ไปอ่านดูใหม่ ในเรื่องนิมิตตายตนสูตร ทางแห่งนิมิต ๕ ประการ นั้น
ไป อ่านดู ด้วยการเรียน ด้วยการฟัง ด้วยการสอน
ด้วยการคิดนึก ด้วยการ ทำความเพียร มันมีได้หลายทาง แต่ว่า
ตลอดเวลานั้น ต้องให้มี ความพอใจ ในการกระทำ ของตัว ว่าถูก
ต้อง ที่เรียกว่า ปีติ (ให้เกิดความอิ่มใจ) คือ ทำใจคอ ให้ปกติ ถ้า
ใจคอปกติ ก็เป็นสมาธิ เท่าที่จำเป็น หรือ พอเหมาะ พอดี ที่จะรู้ว่า
อะไรเป็นอะไร ไม่ใช่สมาธิ เหลือเฟือ ให้มันพอดี กับเวลา ใช้เวลา
ไม่มาก ดอก ก็จะได้ความรู้ ที่เป็น การบรรลุธรรม เป็นการตรัสรู้
ในเวลานั้น เพราะทุกอย่าง มันเป็นไปเท่าที่ ธรรมชาติ ต้องการ
พอเหมาะพอดี ไม่มากไม่เกิน


เปรียบเทียบวิธีการวิปัสสนา

ทีนี้จะยกตัวอย่างให้ฟัง ได้ง่ายๆ เหมือนกับเราหาไม้ มาเยอะแยะ
ไปหมด หาอิฐ หาปูนซิเมนต์ หาเหล็ก มาเยอะแยะไปหมด แล้วก็
ไม่ได้ใช้ ไม่ได้ทำ เพราะไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ก็มี ที่จะให้เป็นเรือน
เป็นกุฎิ อะไรขึ้นมา เพราะไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ก็มี หรือว่า เพราะ
หลงใหล แต่ในการหา สะสมไม้ สะสมอิฐ สะสมเหล็ก สะสมปูน
สะสมทัพพสัมภาระ อย่างเดียว แล้วก็ไม่ได้ทำ จนกระทั่ง ของนี้
ผุพังไปในที่สุด จนกระทั่ง สมภารนี้ก็ตายไป ไม่ได้ทำกุฎิ หรือทำ
บ้านทำเรือน ของคนชาวบ้าน นี้อย่างนี้
ทีนี้ อีกอย่างหนึ่ง ก็ตรงกันข้าม คือหาไม้มา ๔-๕ อัน ทำเข้าไป
หมด หาไม้มาอีก ๔-๕ อัน ทำเข้าไปหมด หาอิฐมา ๑๐๐-๒๐๐
ก้อน ทำเข้าไปหมด หากระเบื้องอะไร ทำเข้าไปหมด พอหมดก็
จบกัน ของก็หยุดหา อย่างนี้ก็มี นี่เรียกว่า พอดี ทำพอดี แล้วทำ
ตาม common sense ง่ายๆ คือ ตามความคิดนึกธรรมชาติ ง่ายๆ เพราะเราไม่ได้หามาก แล้วไม่มัวหลง แต่ที่จะหาสิ่งก่อสร้าง
แล้วก็ไม่ได้สร้าง
ทำวิปัสสนา ทำอานาปานสติ แบบที่เขียนอยู่ในกระดานดำ เวลานี้
มีช่องทางที่จะเฟ้อ ในการมีสมาธิ ก็ได้ คือ มุ่งกันแต่เรื่อง มีสมาธิ
แล้วก็พยายาม ในขอบเขต ที่กว้างมากเกินไป แล้วมันก็ไม่ได้ง่ายๆ
ไม่พอง่ายๆ แล้วสมาธินั้น ก็ไม่มีวันที่จะได้ใช้ สำหรับเป็นวิปัสสนา
เพื่อพิจารณาให้เกิดญาณ อย่างนี้

ทีนี้ พวกคุ้มดีคุ้มร้าย พระคุ้มดีคุ้มร้าย เหล่านี้ ได้ยินแต่เรื่อง สมาธิ
แล้วกระท่อนกระแท่น จับหลักไม่ถูก มันก็ไปทำไม่ได้ แต่มันยังมี
อยาก อยากมาก อยากจะทำให้ได้ อยากจะทำสมาธิ ให้วิเศษวิโส
กว่าใครเลย แล้วมันก็ทำไม่ได้ ก็พยายามอยู่แต่อย่างนี้ ก็เลยไม่
ได้ทำส่วนที่เป็นปัญญาได้ คือโง่ ถึงขนาดที่จะฟังคำพูดเหล่านี้
ที่ตรงนี้ ไม่เข้าใจ เมื่ออาทิตย์ก่อนมีความโง่มากขนาดนั้น จึงฟัง
คำพูด ที่เราพูดตรงนี้ อาทิตย์ก่อนนั้น ไม่เข้าใจ
ทีนี้ย้อนไปดูถึงคนบางคน เป็นฆราวาสด้วยซ้ำไป ไปเฝ้าพระ
พุทธเจ้าแล้วก็บรรลุธรรมะที่ตรงนั้นเอง บรรลุมรรคผลที่ตรง
หน้าพระพุทธเจ้า ที่ตรงนั้นเอง ไม่ได้ไปทำสมาธิที่ไหน ไม่ได้
ไปทำวิปัสสนาที่ไหน ก็บรรลุมรรคผล ที่ตรงนั้นเลย อย่างนี้มัน
เป็นอย่างไร ลองคิดดู ไม่มีเวลา ที่เกิดอาการที่ว่าจะต้องไปหา
ไม้หาไร่มาสะสมมาปลูกเรือน มาอะไรทำนองนี้


แล้วยังมีวิธีที่จะรู้ธรรมะที่จะหลุดพ้นมากๆ วิธี อย่างที่กล่าวไว้
ใน นิมิตตายตนสูตร ขอให้ไปสนใจทำให้เข้าใจจนสามารถทำ
ให้มันเป็นเรื่อง ของปัญญา ของวิปัสสนา นี้อยู่เรื่อยไป โดยไม่
ต้องคำนึงถึง สมาธิหลับตา หรือ สมาธิที่มากมาย เกินความ
จำเป็น ก็ยังทำได้ ถ้าเราพิจารณา ด้วยความ ตั้งใจจริง จะให้
มันมีแรงมากจนถึงขนาดมันเป็นสมาธิอยู่ในตัวมันเอง เรื่องนี้
เคยพูด หลายแห่ง หลายหน หลายตัวอย่างแล้ว พอเราจะตั้งใจ
จะทำการพิจารณาคือ คิด สมาธิมันก็เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ
และอัตโนมัติด้วย นี่พอดีไม่มากไม่น้อย
เราเอาพวกที่เขาจัดไว้ว่า เป็น วิปัสสนาญาณิกะ ดีกว่า คือพวก
ที่เอาการพิจารณานำหน้าสมาธิ ถ้าทำเอาสมาธินำหน้าวิปัสสนา
อย่างนั้น เขาเรียกว่า สมถญาณิกะ คือทำสมาธิมากๆ มากๆ
หลายอย่างหลายแบบ จนเกิดสมาธิ จึงค่อยน้อมไปสู่ วิปัสสนา
ทีหลัง มันก็ใช้นิดเดียว นอกนั้นก็เหลือ เหลือใช้ อย่างนี้มันก็ได้
คือว่า ทำสมาธิให้มาก แล้วลากวิปัสสนาไปตาม เรียกว่า
สมถญาณิกะ นี่จัดแบ่งกันทีหลังให้ชื่อทีหลัง


ถ้าว่าเป็น วิปัสสนาญาณิกะ ก็คือเอาการคิดการพิจารณานำหน้า
เรื่อย ลงมือคิดพิจารณาเลย สมาธิถูกลากมาเอง การเพ่งพิจารณา
มันลากสมาธิตามมาเอง แล้วมันลากมาได้ เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
มันไม่อาจที่จะลากมาให้มากเกินกว่าที่จำเป็นได้ นี่คือแบบวิธีที่
ลัดที่สุดของพวกที่เป็นฆราวาสหรือพวกสมัยนี้ที่จะทนไหว เขาก็
ถือกันว่าทั้ง ๒ แบบนี้ใช้ได้ แม้แต่พวกพระ พวกพระจะเลือกเอา
แบบไหนก็ได้ ผมแนะว่า อย่าหามกัน มากเกินไป แบกหามกัน
มากมายเกินไป แล้วก็ไม่รู้จะใช้อะไร นี่คือ เราเรียกว่าพวกแบบ
กระได ก็ได้ เที่ยวแบกกระไดอยู่เรื่อย แต่ไม่รู้ว่าจะไปพาดขึ้น
บ้านเรือนใครที่ไหน ไม่รู้ว่า ปราสาทอยู่ที่ไหน เที่ยวแบกกระได
อยู่เรื่อย นี่พวกทำสมาธิล้วนๆ เป็นอย่างนี้ ไม่รู้ว่าจะไปจดเข้าที่
จุดไหนสำหรับการพิจารณา


นี้อยากจะใช้ วิธีวิปัสสนานำหน้า ลากสมาธิไป คือว่า พอเพ่งคิด
เท่าไร สมาธิจะเกิดขึ้น เท่านั้น เพ่งคิดให้แรงเข้า สมาธิก็เกิด
ขึ้นแรงเข้า ตามธรรมชาติ ธรรมดา เป็นเหตุให้เขาเรียกว่า
ปัญญาวิมุตติ หลุดพ้น ด้วยอำนาจปัญญา คือทำอย่างนี้ นี่มันมี
ผลเหมือนกัน คือว่า ทำลายกิเลส เหมือนกัน เราก็เอาอย่างนี้ดี
กว่า ที่เรียกว่า ทำอย่างร่ำรวย มีผลงานมาก เพราะ พวกที่บรรลุ
ธรรมะ ตรงที่ หน้าที่นั่งของพระพุทธเจ้า ชั่วไม่กี่นาทีนั้น ก็แบบ
นี้ ทั้งนั้น มันเป็นแบบคิดพิจารณา หรือ วิปัสสนานำหน้า แต่ว่า ถ้า
เขาเป็น คนมีนิสัย มีอุปนิสัย มีจิต ลักษณะเหมาะสม ที่เขาอาจจะ
มีสมาธิ มากมาย เต็มที่ก็ได้ เขาจึงไม่ต้องการ ถ้าบรรลุธรรมะ
เป็นที่พอใจ ไม่มีความทุกข์ อะไรเสียแล้ว ก็ไม่มีใครสนใจ ที่จะ
ไปหัดสมาธิ กันทำไมอีก ทั้งๆที่ คนนั้น ถ้าไปหัดสมาธิ แล้วก็จะ
ได้ มากมายทีเดียว คนได้บรรลุธรรมะ ชนิดที่ทำความดับทุกข์
ได้ จะสนใจที่จะไปหัดสมาธิ ทำไมอีก มันก็มี บ้านเรือน อยู่พอ
สมควร แก่อัตภาพแล้ว จะไปหาไม้ หาอิฐ หาปูน อะไรมากองไว้
ทำไมอีก เป็นอย่างนี้ เป็นต้น


แล้วก็มีกรณีพิเศษ คือว่า คนที่ได้บรรลุพระอรหันต์ โดยไม่ได้
ไปทำวิปัสสนา ที่ในป่า ที่ไหน บรรลุตรงหน้าพระพุทธเจ้านั้น
เขาแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ได้ มีปฏิสัมภิทา มีอะไรต่างๆ นี้ก็เป็น
ได้ เพราะว่า จิตใจคนนั้น พิเศษมาแต่เดิม พอรู้ธรรมะในส่วน
ดับทุกข์สิ้นเชิง แล้วก็รู้เรื่องอื่น ที่เกี่ยวข้องกัน แล้วก็มีจิตใจที่
เป็นสมาธิ ขนาดแสดงฤทธิ์ได้ โดยในตัวเองได้ ไม่ต้องไปฝึก
โดยเฉพาะ


เดี๋ยวนี้ คนเรามันหมดปัญญา หมดท่าเข้า ก็เลยคว้า คว้าไป
ตามเรื่อง คว้าไปตามเรื่อง คือว่า ตามที่มีสอน มีแนะ มีสอน
อยู่กันเป็นแบบพิธีรีตอง เป็นธรรมเนียมประเพณี ฉะนั้นจึง
เรียกว่า กระท่อนกระแท่น เหมือนที่ผมเรียกเมื่อตะกี้ มัน
กระท่อนกระแท่น, กระท่อนกระแท่น เหมือนอย่างว่าในราย
ที่หาไม้ หาปูน หาเหล็ก หาสัมภาระมากๆ อย่างนี้ แล้วมัน
กระท่อนกระแท่น ก็ตรงที่ว่า ไม่มีความรู้เลยว่า จะใช้ไม้
อย่างไหน สักกี่อัน จะใช้ปูนสักเท่าไร ใช้อิฐสักเท่าไร มัน
กระท่อนกระแท่นตรงที่ หาอันนั้น มากเกินไป หาอันนี้ น้อย
เกินไป บางอย่างไม่ได้หาเลย อย่างนี้เป็นต้น ความรู้ความ
เข้าใจ เกี่ยวกับการบรรลุธรรมะ กันจริงๆ เดี๋ยวนี้ มัน
กระท่อน กระแท่น แบบนี้


ความรู้ทางปริยัตินั้น ก็กำลังขยายกันออกไป ไม่มีที่สิ้นสุด
แม้แต่ จะทำวิปัสสนานี้ ก็ต้องเรียนอภิธรรม อภิธรรมนั้น คือ
ปริยัติอย่างยิ่ง ปริยัติแห่งปริยัติทีเดียว เพราะอธิบายคำมัน
มากไป นี่ทำวิปัสสนา ก็ต้องเรียนอภิธรรม อย่างนี้เป็นต้น
แล้ว หลักสำหรับวิปัสสนานั้น เท่าที่มีอยู่ ในพระไตรปิฎก ก็
เหลือเฟือ แสนจะเหลือเฟือ ที่แท้ต้องการเพียงหลัก ในบาง
สูตร เท่านั้นก็พอแล้ว ไม่ต้องการ คำอธิบาย ทำนองปริยัติให้
มาก ออกไป เรื่องภพ เรื่องภูมิ เรื่องโลก เรื่องส่วนแยกของ
ขันธ์ ของธาติ อายตนะ จนเป็นวิทยาศาสตร์ หลับหูหลับตา
ตัวเองก็ไม่เข้าใจ ได้แต่ท่องได้ เท่านั้นเอง


วิปัสสนาแบบสวนโมกข์

ทีนี้อยากจะพูดให้เข้าเรื่องเสียที ที่เป็นปัญหาเฉพาะสำหรับ
สมัยนี้ ที่จริง ก็เคยพูด มาคราวสองคราวแล้ว ผมจำได้ ว่าใช้
วิธีที่มันเหมาะ สำหรับ คนสมัยนี้ แล้วก็ย้ำ ย้ำเป็นหลัก เป็นคำ
สำคัญ ว่า พระเณร อย่าเลวกว่า ชาวบ้าน ยังจำได้หรือเปล่า?
ว่าพระเณร อย่าเลว อย่าเหลวไหลกว่า ชาวบ้าน หมายความว่า
เมื่อชาวบ้าน ต้องทำงาน เลี้ยงลูก เลี้ยงเมีย อย่างชาวบ้าน ก็
บรรลุธรรมะได้ ดังที่ปรากฏ อยู่ในพระคัมภีร์นั้นๆ มาเฝ้าพระ
พุทธเจ้า แล้วบรรลุธรรมะ ที่ตรงนั้นได้ ทั้งที่เป็นฆราวาส และ
ฆราวาสบางคน ก็เป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อยู่ในบ้านเรือน
นับจำนวนไม่ไหว เมื่อชาวบ้าน ที่ยังทำมาหากิน เลี้ยงลูกเลี้ยง
เมีย เป็นอย่างนี้ ได้แล้ว พระเป็นไม่ได้ มันก็เรื่อง เหลวไหล
สิ้นดี ฉะนั้น อย่าอวดดิบอวดดี ให้มันมากไป นักเลย เอาแต่พอ
เหมือน ที่ชาวบ้าน เขาได้กัน ก็ดีโขอยู่แล้ว


นี่จงเกิดความคิด ที่ฉวยโอกาส เอาการงาน เป็นวิปัสสนา หรือ
ว่า เอาวิปัสสนา ในการงาน มีวิปัสสนา ในการงาน หรือว่า ทำ
การงาน ให้เป็นวิปัสสนา เสีย นี้ตั้งชื่อเสียใหม่เลยว่า วิปัสสนา
กรรมกร หรือ วิปัสสนาแบบสวนโมกข์ วิปัสสนาของเรา วิปัสสนา
แบบกรรมกร ถ้าใครถามเมื่อไรที่ไหน ก็ตอบว่า วิปัสสนาสวน
โมกข์นี้ คือ วิปัสสนา แบบกรรมกร ทำการงาน ให้เป็นวิปัสสนา
มีวิปัสสนา ในการงานนั้น แต่ต้องการงาน อย่างแบบของผม
แล้วหลักใหญ่ๆ ก็พูดอยู่แล้วว่า ต้องเป็นความ ไม่เห็นแก่ตัว
ไม่ให้ยกหู ชูหาง อย่ามีความเห็นแก่ตัว ไม่ว่าอะไร มาช่วย
กำราบอันนี้ได้ อันนั้น ใช้ได้หมด ทีนี้ การงาน ความเหน็ด
เหนื่อย ความเสียสละ นี่เป็นพื้นฐาน ถ้ายังไม่ยอมเสียสละ
แล้วมันยังเลวเกินไป มันเป็นเรือโกลน ที่ใช้ไม่ได้ แม้แต่จะ
เป็น เรือโกลน คือโกลนมาไม่ดี


ฉะนั้น อย่างน้อย ต้องมีการแสดง ความไม่เห็นแก่ตัว หรือ
ความเสียสละ ความเห็นแก่ตัว ในระดับที่เพียงพอ ให้ดูก่อน
เป็นข้อแรก แล้วจึง ขยับขยาย ให้มันยิ่งขึ้นไป โดยแนวนั้น
โดยไม่ต้อง เปลี่ยนเรื่อง ให้มันหลายเรื่อง เมื่อถือเอา การ
งานเป็นวิปัสสนา แล้วก็ให้มันเป็น วิปัสสนา เรื่อยไป จากการ
งานนั้น
เราต้องการ ให้ทำงานชนิดที่เป็น การเสียสละ จริงๆ ฉะนั้น
จึงบัญญัติไว้ชัดว่า ต้องไม่หวังอะไรตอบแทน อย่าหวังจะได้
อะไรตอบแทน อย่าหวัง จะได้คำ ขอบใจ แม้แต่คำว่า ขอบใจ
ก็อย่าหวังจะได้ ความเอาอกเอาใจ พะเน้าพนอ อะไรบางอย่าง
ก็อย่าหวังจะได้ แล้วเวลาเจ็บไข้ ถ้าสำหรับผมนี้ เป็นเจ้าของ
งานจะมีการตอบแทน อะไรบ้าง ก็ขอให้คิดว่า มันเป็นหน้าที่
ตามวินัย ที่เพื่อนสหธรรมิกด้วยกัน จะต้องช่วยเหลือคนเจ็บไข้
แต่ไม่ใช่ธรรมะ ฉะนั้น ให้คงถือ อยู่ไปตามเดิมว่า พวกที่เหน็ด
เหนื่อยนั้น ไม่ได้รับอะไรตอบแทน แม้แต่สิ่งของ แม้แต่ขอบใจ
แม้แต่ การเอาอกเอาใจ การเอาใจใส่ อย่าหวังเลย ให้มันเป็น
การกระทำ เพื่อขูดเกลา ความเห็นแก่ตัว ไปโดยส่วนเดียว
ทำงานเพื่องาน ทำงานเพื่อหน้าที่ ตามหลักจริยธรรมสากล ไป
ท่าเดียว แต่ผมเรียกว่า ทำงานด้วยจิตว่าง ไปท่าเดียว
ทีนี้ พูดถึงงานที่ทำ ไม่ใช่ต้องเป็น งานแกะสลัก หรือวาดเขียน
เหมือนกับ พระคุ้มดีคุ้มร้าย องค์นั้นพูด งานอะไรก็ได้ งานอะไร
ก็ได้ ทั้งนั้น นี่มันเป็นหลักตายตัว งานอะไรก็ได้ ขนทรายขนดิน
ขนหิน ทำอะไรก็ได้ ใช้ได้ทั้งนั้น แล้วมีหลักว่า เอาเหงื่อล้างกิเลส
ก็แล้วกัน พอผมพูด ประโยคนี้ โปรเฟสเซอร์ฝรั่ง ชูมือสูง เต้น
เร่าๆ ไม่เข้าใจ ขอให้ทำชนิดที่เอาเหงื่อล้างกิเลส ก็แล้วกัน
หมายความว่า เอาความ ไม่เห็นแก่ตัว นี่ ล้างความ เห็นแก่ตัว
ก็แล้วกัน ไม่ใช่ต้องเป็นงานนั้นงานนี้ แต่ทีนี้เมื่อต้องทำงานแล้ว
ควรจะทำงานที่ถนัด ต้องทำงานที่ถนัด ดีกว่า ทำงานที่ไม่ถนัด
เพราะทำได้ดีกว่า มันไม่เหนื่อยเปล่า มันยังได้ผลดีกว่า แล้วงาน
ที่ถนัดนี้ มันขยับขยายได้ แต่ว่าเป็นไปในทางที่จะเป็นประโยชน์
แก่พระศาสนามากที่สุด ก็แล้วกัน มันอาจจะทำอย่างอื่นก็ได้ แต่
เราจะเน้นมันมา ปรับปรุงมันมา โยงมันมา ในลักษณะที่จะเป็น
ประโยชน์แก่ศาสนาได้มากที่สุด ก็แล้วกัน


ทีนี้คนอย่างเรายังไม่มีปัญญาทำอย่างอื่น จึงคิดว่าการแสดงภาพ
เขียน หรือ ภาพสลักนี้ ดีที่สุด สำหรับเรา เวลานี้ ใช้คำว่า เวลานี้
ช่วยจำไว้ด้วย เวลาอื่น ไม่รับรอง เวลานี้ ในสภาพที่ เหมาะสมที่
สุดนี้ งานนี้ จะช่วยเผยแผ่ สิ่งที่ควรจะเผยแผ่ ได้ผลมาก เกินค่า
ของเหงื่อที่เสียไป เพราะว่างานนี้จะมีประโยชน์ทั้งในทางธรรมะ
ในทางประวัติ ในทางโบราณคดี ในทางศิลป กระทั่ง ในทาง
วัฒนธรรมของคนไทย เพราะทำให้รู้อะไรทุกอย่าง ในแง่เหล่านี้
วัฒนธรรมไทยงอกออกมาจากวัฒนธรรมอินเดียอย่างไร ถ้าคน
มีหูตาฉลาด จะดูได้จากภาพหินสลักเหล่านี้ ดูในแง่ศิลปก็ได้ ถ้า
ดูในแง่ของพุทธประวัติ ก็เห็นได้ไม่น้อยกว่าที่มีอยู่ก่อนแล้ว ใน
ประเทศไทย เพราะอย่างนี้ ยังไม่มีในประเทศไทย มันเพิ่มส่วน
ที่แปลกเข้ามา


ดูในแง่ธรรมะ ก็เรื่องความว่างนี้ ดูได้ดีกว่า เพราะเขาไม่แสดง
รูป พระพุทธเจ้า คงทิ้งเป็น ความว่าง โดยหลักว่า พระพุทธเจ้า
ที่แท้จริง ไม่ใช่สิ่งที่แสดงได้ด้วยรูป ด้วยสิ่งที่มีรูป นี่อย่างนี้ เป็น
ไปในฝ่ายธรรมะนะ
ทีนี้ประวัตินั่นประวัตินี่ ที่เป็นเรื่องราวไม่มีในหนังสือพุทธประวัติ
ที่อ่าน นี่ดูซิ มาเพิ่มเข้าอีก ในส่วนที่เป็นพุทธประวัติ แล้วในทาง
โบราณคดีทางอะไรต่างๆ ซึ่งเราพิจารณาแล้ว เห็นว่ามีประโยชน์
มาก จึงปรับปรุง ให้เหงื่อนั้น เสียไปในลักษณะอย่างนี้ นี่เรียกว่า
ยิงทีเดียวได้นกหลายตัว ทำการงาน เอาเหงื่อล้างกิเลส แล้วผล
ของเหงื่อนั้น เป็นประโยชน์ แก่เพื่อนมนุษย์ด้วย ไม่ใช่ให้แก่ตัว
เองอย่างเดียว ฉะนั้น เราถือเอา ทั้งประโยชน์ตน และประโยชน์
ท่าน และเมื่อใช้วิธีนี้ ผมว่า เหมาะที่สุด แก่โลก แก่มนุษย์ ในยุค
ปรมาณู ยิ่งกว่าจะนั่งหลับหู หลับตา ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ไปนั่งหลับ
หูหลับตา แต่กลางคืน ก็พอแล้ว นี่กลางวัน ใช้วิธี เอาเหงื่อ ล้าง
กิเลสนี้ ก็ถมไปแล้ว มันลึกซึ้งกว่า มีประโยชน์ กว้างขวางกว่า
ฉะนั้น อย่าได้คิดว่า จะหัดเขียน หัดแกะ หัดทำ นี่เพื่อจะไปเป็น
อาชีพข้างหน้า อย่างนั้น มันทำลายตัวเอง ให้ตกต่ำลงไป แล้ว
เหงื่อนั้น จะไม่ล้างกิเลส เว้นไว้เสียแต่ว่า ทำเพื่อไม่ให้หวังอะไร
ตอบแทน หวังแต่จะ ให้ผู้อื่น ได้ตะพึด นี่เรียกว่า เหมือนกับตาย
แล้ว เรานี้ตายแล้ว ฉะนั้น คำกลอน บทนั้น ยังคงใช้ได้ อยู่เสมอ
ทำงานด้วยจิตว่าง ยกผลงาน ให้ความว่าง กินอาหาร ด้วยความ
ว่าง ตายแล้วตั้งแต่ทีแรก เป็นคนตาย อย่ามี หู หัว หาง ไว้ยกกัน
อีก นี่เรียกว่า คนตาย


ทีนี้ ปัญหามันที่อยู่ว่า หัวหางนี้ มันมีสลอนไป ยกกันสลอนไป มี
ปัญหาเท่านี้ ไม่มีทางอื่น ที่จะกำราบมัน นอกจากว่า มีหลักที่จะ
ทำลาย ความเห็นแก่ตัว โดยทำตน ให้เป็นคนต่ำ ทำตนให้เป็น
คนแพ้ แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร นี้ดีที่สุด ยกหูชูหาง เมื่อไรเป็น
มารเมื่อนั้น แพ้เมื่อไร เป็นพระเมื่อนั้น
นี่เห็นได้แล้วว่า มันเกินไป เกินกว่า พระคุ้มดีคุ้มร้าย ชนิดนี้ จะ
เข้าใจ อุดมคติของเราได้ มันก็ไม่มีปัญหาอะไร ที่จะต้องพูดกับ
แก ก็เลยไม่ได้พูดอะไรสักคำเดียว กับพระ ๒-๓ องค์นี้ เพราะ
มันไม่มี ประโยชน์อะไร จะพูด แต่ถ้าคุณยังอยากจะพูด ก็อย่า
พูดอะไรให้มากนัก เว้นแต่ว่า เราสมัครเป็น กรรมกร มีวิปัสสนา
ในการงาน ปรับปรุงการงาน ให้เป็นวิปัสสนา


คำว่า กัมมัฎฐาน ก็แปลว่า การงาน กัมมัฏฐาน แปลว่า การงาน
เพราะฉะนั้น การงาน ก็เป็น กัมมัฎฐาน ได้ด้วย ถ้าว่า การงาน
นั้น ไม่เพิ่ม ความเห็นแก่ตัว
นี่ ระวัง ๆ ๆ อย่าให้การงานอะไร เพิ่มความเห็นแก่ตัว เพิ่ม
ความหวัง ที่จะได้นั่นได้นี่ ยอมเป็นผู้ สิ้นเนื้อประดาตัว อยู่ตลอด
เวลา ให้เหมือนกับ ตายแล้ว เสร็จแล้ว อยู่ตลอดเวลา ยิ่งดี เป็น
หลักง่ายๆ ที่ถือปฏิบัติได้ว่า หูหาง มันจะไม่ชูขึ้นมาได้
นี่รวมความแล้ว ผมมองเห็นไปแต่ในลักษณะอย่างนี้ว่า วิธีนี้
เท่านั้น ที่ประหยัดที่สุด ประหยัดอะไรที่สุด แล้วก็รวดเร็วที่สุด
แล้วก็ง่ายดายที่สุด แล้วก็จะไม่ให้พระนี้ เลวกว่าชาวบ้าน เหมือน
ที่พูดแล้ว โดยวิธีนี้ ฉะนั้น จึงถือว่า วิธีนี้คงจะเหมาะแล้ว สำหรับ
มนุษย์ ในยุคปรมาณูนี้ ภิกษุสามเณร ในยุคปรมาณูนี้ ใช้ไฟฉาย
โก้ๆ แทนที่จะใช้ โคมผ้าใส่จอก น้ำมันเนย มันเปลี่ยนไปเท่าไร
ฉะนั้น การงาน มันก็ต้อง เปลี่ยน บ้างซิ ที่อยู่ เป็นอย่างไร มันก็
ผิดไปกับ ครั้งพุทธกาล ในกุฎิมีอะไร มีตำราท่วมหู ท่วมหัว
สารพัดอย่าง มีเครื่องใช้ บางอย่าง ซึ่งไม่ใช่ของพระ มันก็เรียก
ว่า ผิดไปมากแล้ว สำหรับมนุษย์ ในยุคปรมาณู แล้วไปดูกุฎิ กุฎิ
อะไร ของพระเถระ เจ้าใหญ่นายโต มีอะไรผิดไป จากครั้ง
พุทธกาล มากไปกว่า พวกเรา ที่นี่ อีก เรื่องมันไปกันใหญ่แล้ว
เป็นยุคจรวดดาวเทียม ไปด้วย เหมือนกัน เพราะว่า ผู้ปฏิบัติ
ที่จะทำลายกิเลสในจิตใจ น่าปรับปรุง ให้มันทันกัน กับยุค ที่
มัน พรวดพราด แบบนี้


ฉะนั้น จึงปรับปรุงในทาง เอา การงาน เป็นวิปัสสนา มีวิปัสสนา
ในการงาน เอาเหงื่อ ล้างกิเลส มีหลักสั้นๆ ๓ แบบ วิปัสสนาญาณิกะ
แม้แต่ จะหลุดพ้น ตามแบบ ปัญญาวิมุติ ล้วนๆ ก็ยังดี
อย่าไปหวัง ให้มากกว่านั้น แล้วอันนี้ มันเหมาะกับ ยุคดาวเทียม
มีปัญญาเพียงพอ ที่จะตัดกิเลส อยู่ทุกวัน ก็พอแล้ว การไปนั่ง
หลับตา ตามโคนต้นไม้นั้น มันก็ทำตามโอกาสเถอะ อย่าไป
มัวเมาแต่อย่างนั้นอย่างเดียว เหมือนกับพระที่ว่าแกไม่เข้าใจ
คำนี้ เราสนใจมาตั้ง ๔๐ ปี แล้ว เรื่องในคำนี้ คำคำนี้ ก่อนแก
เกิด ฉะนั้น เรื่องนี้ จึงไม่มีทางจะพูดกันรู้เรื่อง


การเป็นอยู่แบบวิปัสสนากรรมกร

วันนี้เราถือโอกาสตั้งชื่อ การเป็นอยู่แบบนี้ว่า วิปัสสนากรรมกร
คุณเห็นแล้วนี่ว่า คนที่มาที่นี่ โดยมากเขาถามว่า ที่นี่ทำ
วิปัสสนาไหม? ก็บอกเขาเลยว่า วิปัสสนากรรมกร เข้าใจ
ไม่เข้าใจ ก็ตามใจเขา เขาไม่มีเวลาที่จะฟังคำอธิบาย
เอาเหงื่อล้างกิเลส ไม่เอาเปรียบข้าวสุก ไม่เอาเปรียบข้าวสุก
ของชาวบ้าน ถ้าทำเนิบๆ นาบๆ เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ตลอดปี
ตลอดชาติ ก็ไม่เห็น ได้อะไรขึ้นมา ต้องทำจริง และรุนแรง
ทุกอย่าง ทั้งทางกาย ทั้งทางจิต ทางสติปัญญา มันจึงจะทันกัน
หรือสมกันกับ โลกในยุคดาวเทียม นี้ ขอแต่ว่า เป็นไปใน ทาง
ถูกต้อง ก็แล้วกัน เป็นไปในทาง ทำลาย ความเห็นแก่ตัว มี
เท่านั้น มีข้อเดียวเท่านั้น
ควบคุมทุกอย่าง ให้เป็นไปแต่ ในทาง ทำลาย ความเห็นแก่ตัว
นับตั้งแต่ จะกินอาหาร จะอาบน้ำ จะไปถาน ทุกอย่างแหละ ระมัด
ระวังตัว ให้ดี ให้เป็นการ ทำลายความเห็นแก่ตัว เข้าส้วมแท้ๆ
มันก็มีคนเห็นแก่ตัวแล้ว แล้วไม่ต้อง แก้ตัว พระเณร ทั้งนั้น ที่
ใช้ส้วม ไม่มีใครมาช่วย เข้าส้วม ให้เลอะเทอะ แล้วมันก็มีแต่
ความเห็นแก่ตัว เข้าแล้ว นี่เป็นตัวอย่างนะ แล้วอย่างอื่นๆ เช่น
ว่า ไม่มีความเป็น ระเบียบเรียบร้อย หรือมัน ไม่มีประโยชน์
หรืออะไร นี้ทางหนึ่ง


แล้วอีกทางหนึ่ง ทำลายประโยชน์ ให้หมดเปลืองไป โดยไม่
จำเป็น นี้ก็เป็นเรื่อง ความเห็นแก่ตัว ทางหนึ่งไม่สร้างประโยชน์
อะไรขึ้นมา ก็เป็นความเห็นแก่ตัว ทางหนึ่ง มันทำลายประโยชน์
ของผู้อื่น ที่เขาสร้างสรรค์ขึ้น หามาไว้ นี้ก็เป็นความเห็นแก่ตัว
จับจ่ายใช้สอย บางสิ่งบางอย่าง ในลักษณะที่จะยกหูชูหางของตัว
โดยไม่ประหยัด สิ่งเหล่านั้น นี่ก็เป็นเรื่อง ความเห็นแก่ตัว
ขอให้วัดทั้งวัด นี้เป็นลักษณะ เป็นนิมิต เป็นเครื่องหมายที่จะ
วัดว่า มีความเห็นแก่ตัว หรือไม่เห็นแก่ตัว แล้วให้รู้ไว้ว่า เรา
มีหลักใหญ่ๆว่า จะสร้างวัดนี้ให้พูดได้ ให้ก้อนหินพูดได้ ให้
ต้นไม้พูดได้ ให้อะไรๆ มันพูดได้ คือว่า ให้มันแสดงอะไร
ที่จับใจผู้เห็น และเกิดความรู้สึกในข้อนี้ เป็นความเงียบ
ความสงบ ความหยุด ความว่าง อะไรก็แล้วแต่


ฉะนั้น ถ้ามีทุกๆอย่าง ที่ส่อลักษณะ อย่างนั้น อย่าให้มี สกปรก
รกรุงรัง หรือเกิด ความคิดไปทางอื่น ที่เราให้ต้นไม้พูดได้ ให้
ก้อนหินพูดได้ มีความมุ่งหมายอย่างนี้ ฉะนั้น จะวางก้อนหิน
สักก้อน ก็วางให้มัน เกิดความหมาย ถ้าโง่เกินไป มันก็เป็น
บาป ของคนนั้น ไม่ใช่บาปของเรา เราวางไว้ ในลักษณะ ที่
มันจะ มีความหมาย แล้วเขา ไม่รู้ความหมาย นั้น มันไม่ใช่
บาปของเรา นั้นมันบาป ของคนที่มานั้นเอง
เดี๋ยวนี้คนส่วนมาก ก็ไม่ได้ประโยชน์ ถึงขนาดนี้ เห็นๆอยู่
แล้ว พันคน จะได้สักคนหนึ่ง เท่านั้น ที่จะรู้สึก เกิดประทับใจ
จากสิ่งต่างๆ ที่แสดงอยู่ แล้วรู้สึกว่า ความหยุด ความไม่ยึดมั่น
นี้มันดี ไม่ค่อยมีใครรู้ ไม่ใช่ว่า ก้อนหินจะมีจิต มีวิญญาณ ที่
จะคิดนึกรู้สึกอะไรได้ แต่ว่า ลักษณะบางอย่าง ที่เราอาจจะ
ถือเอาประโยชน์ได้ แล้วมันก็เป็น ประโยชน์


ในอรรถกถา มีภิกษุองค์หนึ่ง บรรลุพระอรหันต์ เพียงแต่
สักว่า เห็นดอกมะลิป่า ร่วงลงมาจากต้นนั้น ดอกมะลิป่า ไม่ใช่
มีชีวิตจิตใจ ร่วงตามธรรมดา ธรรมชาติ ของมัน แต่พระองค์นั้น
มองไปแง่ ที่มีความหมาย ไปในทางไม่เที่ยง ไม่มีความหวัง
อะไรเลยในสิ่งเหล่านี้ ในสิ่งที่เอร็ดอร่อย สวยงาม อะไรนี้
ฉะนั้นจึงเป็น พระอรหันต์ ได้ โดยเห็น สิ่งที่มันทำอะไรไป
ตามธรรมชาติ ของมัน ไม่มีจิต มีใจ อะไร
นี้เรามัน ไม่เป็นอย่างนั้น พอมีอะไรหล่น มีอะไร มันก็ไม่รู้สึก
เพราะว่า ใจเรา มันเตลิดเปิดเปิง ไปทางไหนเสียแล้ว ไม่มี
โอกาส ที่จะเห็น ดอกไม้ป่าร่วง แล้วเป็นพระอรหันต์ได้เสียแล้ว
เพราะว่า ใจของเรา กระด้าง และ เตลิดเปิดเปิง ไปไกลแล้ว
จึงเหมาะแล้ว ที่จะเอาเหงื่อ ล้างกิเลส เพราะมันมีแต่ ความ
กระด้าง มากเสียแล้ว ไม่ละเอียด ละมุนละไม เหมือนตัวอย่างนั้น
แต่ว่าโดยทั่วไปนี้ ให้มองดู มันเงียบ มันหยุด ต้นไม้นี้ มันกิน
อาหารอย่างนี้ มันกินอย่าง ไม่ยึดมั่นถือมั่น เรามันกินอาหาร
อย่างยึดมั่นถือมั่น วันนี้มีอย่างนี้ มีแกงมีกับอย่างนี้ ถึงปากไม่พูด
ก็นึกอยู่ในใจ ว่านี้อร่อย อยากจะได้อีก มีแต่กินอย่างนี้ทั้งนั้น ไม่
เหมือนต้นไม้ มันดูดซึม ไปตามธรรมชาติ ตามระเบียบ สม่ำเสมอ
ไม่มีตัวกู-ของกู เหมือนคน


ถ้าใครดูในแง่ ดังกล่าวนี้ออก ก็แปลว่า คนนั้นได้ฟัง ต้นไม้พูด
ได้ยินต้นไม้พูด นี้เป็นตัวอย่างเท่านั้น ยังมีอีกมากมาย เกี่ยวกับ
ต้นไม้ก็ดี ก้อนหินก็ดี มีอยู่มากมาย ฉะนั้นให้ดูๆ ไว้
เรามีหน้าที่ มากกว่าต้นไม้ เรามีอะไรมากกว่าต้นไม้ เราต้อง
ระมัดระวังกว่า ต้องใช้เวลา ให้มีค่ากว่า ใช้คำว่า ต้อง นี้ไม่ถูก
แต่มันก็ต้องใช้ คำ นี้ เพราะ มันกระด้าง เกินไปนัก เรียกว่า มัน
ควร "ควรกระทำ" ให้มากกว่าต้นไม้ ดีกว่าต้นไม้ อยู่ในป่า ก็ไม่
เห็นป่า ถ้าไม่มีสติปัญญา ไปนั่งโคนต้นไม้ ก็ไม่ได้ยินต้นไม้พูด
ฉะนั้น สร้างสติปัญญา ให้เพียงพอ อยู่ตรงนี้ก็จะได้ยินต้นไม้พูด
หรือว่า ได้เห็นอะไร เห็นต้นไม้ แสดงธรรม
ถ้าทำด้วย ความยึดมั่น ในรูปในแบบ ให้มันฝังตัวเข้าไปในต้นไม้
ขุดโพลง เข้าไปอยู่ มันก็ไม่รู้ ก็ไม่รู้จักต้นไม้ ไม่รู้จัก ประโยชน์
ที่จะได้จากต้นไม้


โคนไม้ หรือว่า ที่สงัดอื่นๆ ที่เขา รวมเรียกกันว่าที่ สงัด นี้ หมายถึง
สิ่งแวดล้อมจิตใจ ไปในทางหยุด ไปในทางว่าง ไปทางสงบสงัด
แต่เดี๋ยวนี้ เมื่อเรา อยู่ในป่าเสียเองแล้ว ก็ควรจะได้รับประโยชน์
อันนี้ อย่าเป็นเหมือนกับว่า มันไม่รู้สึกเสียอีก นี่เรียกว่า อยู่ในป่า
ก็ไม่เห็นป่า ฉะนั้น จงอยู่ในป่าเห็นลักษณะเห็นธรรมชาติ เห็น
ความจริงอะไรเกี่ยวกับป่า ก็เรียกว่า อยู่ในป่าแล้วก็เห็นป่า นี้ก็
ทำไปตามโอกาส

ส่วนแรงงานยังเหลือ ก็ใช้ไปในทาง ทำบทเรียน ที่ไม่เห็นแก่ตัว
นี่แรงงาน ที่เหลือ จะไปทิ้ง เสียที่ไหน? ค่าข้าวสุก ของชาวบ้าน
จะเอาไปทิ้ง เสียที่ไหน? ถ้าเรามีเวลา เหลือพอ ที่จะใช้มัน ก็ใช้
มัน ไปในทาง ที่เป็นประโยชน์ ของโลก เป็นส่วนรวม เวลาวันละ
๒-๓ ชั่วโมงก็ตามนี้ ทำสิ่งที่ มันเป็นประโยชน์ แก่โลก เป็นส่วน
รวม
การทำงานก็เพื่อประโยชน์ที่พอเหมาะพอดี
อยากจะยืนยันว่า การเขียนภาพ การสลักภาพนั้น ไม่ใช่การเขียน
ใหม่ ไม่ใช่สลักภาพ ของพระบ้าๆ บอๆ องค์ที่ว่านี้ ที่ใช้ชื่อว่า
ธรรมกาโม อย่าเห็น เป็นเพียง เรื่องเขียนภาพ หรือสลักภาพ ให้
เป็นเรื่องที่ว่า เสียสละ เพื่อประโยชน์ แก่เพื่อมนุษย์ อะไรก็ได้
อะไรถนัด ก็ทำอันนั้น ก็แล้วกัน อะไรมีค่าสูงกว่า เราเลือกเอา
อันนั้น อะไรที่เป็นประโยชน์โดยเร็ว เราเลือกเอา อันนั้นเอีก ผม
จึงบอกว่า จะเป็นงาน ทำให้มี สิ่งที่ ในประเทศไทย ยังไม่มี เพื่อ
ให้พุทธบริษัท ได้เห็น สิ่งเหล่านี้ ก็มีเท่านั้นเอง ไม่ได้หวังอะไร
มากไปกว่านั้น


ลำพังผมคนเดียว จะทำอะไรได้ หลายๆ คน ก็ช่วยกันทำ เป็น
การ ใช้แรงงาน ส่วนเหลือ ของร่างกาย ให้หมดไป แต่แล้วอย่า
ลืมว่า ในขณะนี้ ในเวลาอย่างนั้น แหละ มีวิปัสสนา ที่ต้องระวัง
ให้ดี คือ ระวังหู ระวังหาง ให้ดี อย่าให้ยกขึ้นมา เพราะเหตุนี้ มี
วิปัสสนา อยู่ที่เหงื่อไหล นั้นด้วย แล้วสำคัญเสียด้วย ดีกว่าที่ไป
นั่งตาก ลมเย็นๆ ที่โคนไม้ มันจะเคลิ้ม ไปในทางอื่น ไม่แน่นอน
ว่า มันขูดเกลา ความเห็นแก่ตัว ด้วยซ้ำไป เดี๋ยวไปหลงใหล ใน
ทางความสงบ เพลิดเพลิน แล้วนอนหลับ แบบหนึ่ง ไปเสีย ก็
ไม่ได้อะไร หรือจะทำสมาธิ กระทั่งเกิดฌาณ เกิดสมาบัติ แล้ว
มันก็จะเหลือใช้ ไม่ได้เป็นประโยชน์ ฉะนั้น เอาสมาธิ เท่าที่
จำเป็น แก่การงานของเรา

ยกตัวอย่าง เหมือนว่า เรามีเครื่องสีข้าว เล็กๆ เท่านี้ ซึ่งมัน
ต้องการ แรงฉุดสัก ๑๐ แรงม้า แล้วเราไปซื้อ เครื่องทำแรงม้า
มามาก นี้จะบ้าหรือจะดี คิดดูเท่านี้ ซื้อเครื่องทำแรงม้ามา ๑๒
แรง ที่ต้องการเพียง ๑๐ แรงม้า มันจะบ้า หรือ จะดี จึงว่า ทำให้
มันเหมาะพอดี ให้มันไปของมัน โดยธรรมชาติ แล้วมันก็พอเหมาะ
พอดี แล้วมีโอกาส ที่จะได้รับ ผลสูงสุดเต็มที่ แล้วก็เร็วกว่า จะหา
เงินไปซื้อ เครื่องทำแรงม้า มาได้ มันก็แย่นะ พอได้มา แล้วก็
ไม่มีประโยชน์อะไร ประโยชน์จริงๆ มันอยู่ตรงที่ มันสีข้าว นั้น
ให้ได้


ฉะนั้น เมื่อเรา ทำลายตัวกู-ของกู นี้ให้ได้ แม้ด้วยความรู้เท่านี้
แม้แต่ ด้วยสมาธิเท่านี้ แม้ด้วยอะไรเท่านี้ ทำไปให้ได้ นั่นแหละดี
นี่เพราะเหตุที่ ชาวบ้านเขามีสมาธิพอดี มีปัญญาพอดี เขาจึง
สามารถ บรรลุธรรมะได้ ในเพศฆราวาส เป็นพระโสดาบัน
พระสกิทาคามี ได้ หรือว่า พอไปเฝ้า พระพุทธเจ้า เดี๋ยวใจ
เป็นพระอรหันต์ได้ เพราะมันมี แรงงานพอดี มันไม่เหมือนกับ
คนบ้าๆ บอๆ มันมีอะไรแง่นี้ แง่นั้น ล้วนแต่เฟ้อ เดี๋ยวนี้ระวังให้ดี
กำลังจะเฟ้อเรื่องวิชาความรู้ ซึ่งไม่จำเป็นแล้ว แล้วเห่อตาม พวก
คนสมัยใหม่ รู้นั่น รู้นี่ มากไปแล้ว ไปรษณีย์ที่มา ผ่านผมนี้ รู้สึกว่า
เดี๋ยวนี้ กำลังจะมี เฟ้ออะไรบางอย่าง ในทางหนังสือ หนังหา
นั่นแหละ เป็นเรื่องทำลายตัว โดยที่ตัวคิดว่า จะส่งเสริมตัว แต่
เป็น เรื่องทำลายตัว โดยไม่รู้สึกตัว


เอาละ สรุปความทีว่า เราเรียก ระบบของเรา หรือ อุดมคติ
ของเรา ว่า วิปัสสนากรรมกร แต่ไม่ใช่ กรรมกรเหมือนคนอื่น
กรรมกร ที่ความว่างเลี้ยงไว้ กรรมกรของความว่าง เรียกร้อง
เอาอะไรไม่ได้ เรียกร้องเอาอะไรมาเป็น ตัวกู-ของกู ไม่ได้
เป็นของความว่างทั้งหมด แล้วอย่างน้อย ก็จะมีความเบาสบาย
ไม่แพ้ลูกสุนัข ลูกสุนัขที่กำลังเล่น มันไม่มีเป็นตัวกู-ของกู มัน
สบาย



ธ-ปาฎิ-๒ ๓๑.ก/๕๕-๗๑
คัดจาก หนังสือ ธรรมานุกรมธรรมโฆษณ์ ฉบับประมวลธรรม เล่ม ๒ เรียบเรียงโดย
นาย พินิจ รักทองหล่อ พิมพ์ ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๐ โดย ธรรมทานมูลนิธิ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ

แก้ไขล่าสุดโดย บัวหิมะ เมื่อ 04 ก.ย. 2008, 8:33 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มิตรตัวน้อย
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 พ.ค. 2008
ตอบ: 48

ตอบตอบเมื่อ: 27 ส.ค. 2008, 2:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สู้ สู้ สาธุ เจ๋ง

โมทนาจ้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 27 ส.ค. 2008, 10:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุค่ะ...คุณบัวหิมะ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง