Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
อารมณ์พื้นฐานอันเกื้อกูลแก่การเข้าถึงมรรคถึงผล
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
พระธงชัย
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 16 พ.ย. 2007
ตอบ: 20
ที่อยู่ (จังหวัด): บุรีรัมย์
ตอบเมื่อ: 06 ม.ค. 2008, 8:13 pm
[
อารมณ์พื้นฐานอันเกื้อกูลแก่การเข้าถึงมรรคถึงผล
มนุษย์ควรมีเมตตาให้ทาน ปล่อยชีวิตสัตว์ เพื่อให้เขาอยู่รอด
มนุษย์ยังต้องการอิสรภาพฉันใด สัตว์ทั้งหลายก็ต้องการอิสรภาพฉันนั้น
การปล่อยสัตว์เหล่านี้เป็นการช่วยชีวิตสัตว์ให้ลอดตายและหลุดพ้นจากด่าน
มรณะ กลับคืนสู่ป่าเขาลำเนาไพร เมื่อเราทำด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ก็ย่อมได้บุญ
และบุญนั้นก็ย่อมสนองต่อผู้กระทำ ทำให้เรามีชีวิตยืนยาว ไปไหนมีแต่มิตร มี
แต่คนรักเมตตา ให้ความเห็นอกเห็นใจเราและศรัทธาเชื่อถือ จะทำสิ่งใดก็มีผู้ให้
ความร่วมมือจำสำเร็จด้วยดีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน เมื่อสุขภาพจิตดีก็ทำให้ร่าง
กายไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ไปด้วย ส่งผลให้มีสมองแจ่มใส สติปัญญาดี
ผิดกันกับคนที่ชอบรังแกสัตว์ฆ่าสัตว์ คนเหล่านั้นหากแม้ว่าในจิตของเขา ไม่มี
ธรรมอยู่บ้างแล้ว เขามักมีจิตวิปลาส จิตใจโหดเหี้ยมอำมหิต โรคภัยเบียดเบียน
อยู่เสมอ บั่นทอนชีวิตให้สั้นลง
มักตายด้วยอุบัติเหตุด้วยอาการต่างๆกัน
ถึงแม้ว่าจะกลับมาปฏิบัติธรรมก็มักจะพบกับอุปสรรคความยากลำบาก
กว่าคนธรรมดาเพราะมีเจ้ากรรมนายเวรที่ไปฆ่าเขาคอยจ่องขัดขวงและทำร้ายอยู่
ต้องฟันฝ่าอุปสรรคอย่างหนักหน่วงกว่าจะรอดไปได้แม้ประกอบการ
งานใดก็ไม่เจริญรุ่งเรือง เนื่องจากวิบากกรรมคอยขัดขวางอยู่อย่างนั้น
ดังนั้นเราท่านทั้งหลายควรหมั่นตรวจสอบจิตของตน ว่าเป็นเช่นใดอยู่
จงมองให้รู้ มองให้เห็นความชั่วอันฝังอยู่ในจิตของตนเอง อย่าไปหวง
ความชั่วเอาไว้ เมื่อรู้แล้วและสามารถแยกแยะให้จิตตนกับกิเลสร้าย
นั้น ให้รู้ว่ามันเป็นคนละอย่างกัน รู้ว่าตนได้ถูกอำนาจของกิเลส คือ
ความเศร้าหมองทั้งหลาย อันมีความโหดร้ายชอบทารุณ ความอิจฉา
พยาบาท และ สิ่งที่ทำให้จิตเราต้องขุ่นมัวทั้งหลาย ครอบงำอยู่ได้
แล้ว ไม่หวงกิเลสความเศร้าหมองนั้น หมั่นให้ทาน ให้อภัยแก่หมู่สัตว์
เห็นเขาเหล่านั้น เป็นดั่งเพื่อนร่วมโลก ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน
ทั้งหมดทั้งสิ้น หมั่นสร้างเหตุแห่งธรรม เหตุแห่งกุศลให้เกิดขึ้น
พยายามละความอหังการที่มีอยู่ในจิตเสีย ด้วยการข่มเอาไว้ ใช้ขันติ
ธรรม แล ทมะธรรม ข่มจิตข่มอารมณ์ ไม่ปล่อยให้กระทำตาม
อำนาจของกิเลสตัญหา อกุศลอันต่ำช้า แม้ในตอนแรกแห่งการกระทำ
นั้น เราอาจจะรู้สึกขัดเคืองในจิตขืนในใจ ก็ตาม เราจงน้อมจิตคิดถึง
ผลแห่งบาปอันจะได้รับ และผลแห่งบุญอันจะเกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเรา
กระทำกรรมอย่างนั้นๆขึ้นมา เมื่อเรากลัวบาปกลัวผลแห่งบาป อันเป็น
รูปธรรมที่เหล่าบันดาบัณฑิตทั้งหลาย ได้กล่าวเอาไว้ให้เห็น
เป็นรูปธรรม เช่น นรกขุมต่างๆ หรืออบายภูมิต่างๆเหล่านั้น แล้วเราก็
หมันบำเพ็ญเพียรพยายามสร้างกุศลด้วยประการต่างๆ แล้วนึกน้อมจิต
ให้ผ่องแผ้ว รำลึก ถึงกรรมดีที่กระทำนั้น คิดถึงความสุขของหมู่สัตว์
อันเราได้ให้ทานแล้วซึ่งชีวิตเขาอยู่เนืองนิจ วิถีแห่งการอบรมบ่มเพาะ
คุณธรรมนี้ จะแสดงผล ความอิ่มเอมเกิดขึ้นในจิตของเราโดยที่เราไม่
ได้คิด กลัวอบาย หรือ อยากขึ้นสวรรค์ แต่จิตใจของเราดวงนี้มันเป็น
ของมันเอง มันอิ่มเอมเกษมสุข โดย ไม่ต้องอาศัยการบังคับการ
พยายามนึกน้อมใดๆ ได้เกิดขึ้นแก่จิตใจเราเมื่อใด เมื่อนั้นแล
จิตของเราได้สัมผัสแล้วซึงรสแห่งธรรมปีติอันเป็นของทิพย์ ซึ่งใครๆ
อื่นที่มิได้กระทำย่อมไม่รับรู้รสแห่งกุศลธรรมนั้นได้เลย เราจะสัมผัสได้
ซึ่งสวรรค์อันเป็นทิพย์ด้วยจิตของเรา ความอึดอัดขัดเคืองในการ
กระทำบุญสร้างกุศลที่เคยมีในจิตใจของเรา ย่อมหดหายไป จนไม่มี
เหลือค้างอยู่ในจิต เป็นอันว่าเราได้เป็นผู้ฝึกตนให้ดีแล้ว ในระดับหนึ่ง
ความอ่อนโยนอ่อนน้อม ย่อมเกิดขึ้นมาแก่เรา จิตที่มีความอ่อนโยน
อ่อนน้อมนั้นนั่นแล จึงเหมาะควรแก่การบรรลุธรรมอันยิ่งใหญ่
และสูงค่ากว่าที่เป็น ความอ่อนโยนอ่อนน้อมนั้นแลจะเป็นตัวเอื้อ
เกื่อกูลแก่การปฏิบัติธรรม เพื่อมรรคเพื่อผล เพื่อการชำแหละกิเลส
สำรอกออกซึ่งอาสวะ ทั้งผองให้หมดสิ้นไป ได้ในที่สุด แม้จะนับถือ
ศาสตร์ใดๆก็ตาม เมื่อได้ดำเนินมาตามทางนี้แล้ว เขาทั้งหลายเหล่า
นั้นจะรวมเข้าเป็นเพียงหนึ่งศาสตร์ แลเขาเหล่านั้นจะทราบเองด้วย
จิตว่าผู้ใดกันลือคือศาสดา ผู้ประกาศศาสตร์นี้ ผู้ได้ถูกขนานนามว่า
เป็น ภควา อรหังสัมมาสัมพุทโธ วิชชาจรณะสัมปัณโณ
สุคโต โลกวิทู อนุตตโรปุริสทัมมะสารถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง
เพราะไม่มีผู้ใดนอกเหนือจากท่านผู้ประเสริฐสุดพระองค์นั้นแล้ว ที่จะ
กล่าวสอนสั่งศาสนธรรม ดั่งธรรม อันได้เกิดขึ้นแล้วแก่จิต แม้เพียง
สักเล็กน้อยนั้น ความได้ลิ้มรสแห่งธรรมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ผู้นั้นย่อมสิ้น
สงสัยในธรรมนั้น ธรรมนั้นอันใครอื่นไม่สามรถจะนำมายกให้แก่เราได้
มีเพียงเราเท่านั้นที่จะกระทำและดำเนินไปเพื่อให้ถึงธรรมเอง ความ
สิ้นสงสัยแห่งธรรมเกิดขึ้น ความสิ้นสงสัยแห่งศาสดาผู้ประกาศธรรม
ย่อมเกิดขึ้น ความได้ลิ้มรสแห่งธรรมได้เกิดขึ้น แก่ใคร ใครคนนั้น
ย่อมรับรู้รับทราบเองด้วยจิต สภาวะแห่งธรรมสภาวะแห่งอริยะเจ้า
เกิดขึ้นแก่ผู้ใดความสิ้นสงสัยในอริยะสาวกคือสงฆ์ ยอมเกิดขึ้น ความ
สงสัยทั้งหลายทั้งปวงย่อมดับมอดลงไป เมื่อดวงแห่งปัญญาได้เกิดขึ้น
แก่ผู้นั้นๆ เปรียบได้ดั่งนก มีความสงสัยในปลา ถึงนกตัวนั้นจะคิด
จนตัวตายแม้จะคิดออก คิดได้อยู่บ้าง นกตัวนั้นก็มิอาจจะทำความ
สงสัยนั้น ให้ดับสิ้นลงไปได้อย่างหมดจดแน่นอน จนกว่านกตัวนั้น
จะไปเป็นปลาเสียเอง มันจึงจะหมดสงสัย หมดคำถาม หมดปัญหา
ดังนั้น อาศัยเพียงศรัทธาในเบื้องต้นนั้น ยัง
ไม่อาจจะตัดความสงสัยใน พระรัตนตรัยไปได้เป็นแน่
จนกว่าศรัทธานั้นจะกลายเป็นปัญญา รู้แจ้งด้วยจิตน ดั่งนกกลายไป
เป็นปลาแล้วฉันนั้น สาธุ สาธุ สาธุ
ธรรมะบทนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น
ครูบา เมธชนัน โกวิโท ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์
p.somchai
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 22 พ.ย. 2007
ตอบ: 48
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี
ตอบเมื่อ: 07 ม.ค. 2008, 12:59 am
อนุโมทนาสาธุ
_________________
หนทางหมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th