ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
Tossapol
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 13 พ.ย. 2005
ตอบ: 8
|
ตอบเมื่อ:
30 ธ.ค.2007, 4:29 pm |
  |
รบกวนถามนิดนึงครับ เมื่อเราบวช เราต้องตามพระอุปัชฌาย์ไปอยู่ที่วัดเดียวกับท่านหรือเปล่าครับ กรณีที่วัดที่เราบวชไม่มีพระอุปัชฌาย์ เพราะต้องคอยรับใช้ท่าน ต้องขอโทษล่วงหน้าด้วยนะครับ หากใช้คำไม่ถูกต้อง |
|
|
|
  |
 |
ใบโพธิ์
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307
|
ตอบเมื่อ:
31 ธ.ค.2007, 8:45 am |
  |
เมื่อเราบวช เราไม่จำเป็นต้องตามพระอุปัชฌาย์ไปอยู่ที่วัดเดียวกับท่าน แม้จะต้องคอยรับใช้ท่านก็ตามอ่ะค่ะ |
|
_________________ ทำความดีทุกๆ วัน |
|
  |
 |
Tossapol
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 13 พ.ย. 2005
ตอบ: 8
|
ตอบเมื่อ:
31 ธ.ค.2007, 7:38 pm |
  |
แล้วไม่ต้องคอยรับใช้ท่านหรอครับ |
|
|
|
  |
 |
ใบโพธิ์
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307
|
ตอบเมื่อ:
31 ธ.ค.2007, 8:00 pm |
  |
วัตถุประสงค์ของการบวชที่แท้จริงควรเป็นไป เพื่อบวชเรียน เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย เพื่อปฏิบัติธรรม เป็นหลักอ่ะค่ะ ส่วนเรื่องต้องคอยรับใช้พระอุปัชฌาย์นั้น ควรเป็นเรื่องรอง ดังนั้น เมื่อบวชแล้ว ควรเลือกวัดที่จะไปพำนักอยู่ ที่มีความสัปปายะ (สัปปายะทั้งครูบาอาจารย์, สถานที่ และคน) และควรใช้เวลาขณะดำรงสมณเพศ เพื่อการศึกษาพระธรรมวินัย-ปฏิบัติธรรม เป็นหลัก โดยขอให้แสวงหาครูบาอาจารย์นำพาให้ดีๆ นะค่ะ
หนังสือที่พระบวชใหม่พึงอ่าน (เสฐียรพงษ์ วรรณปก)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6314 |
|
_________________ ทำความดีทุกๆ วัน |
|
  |
 |
สิริมงคล
บัวเริ่มพ้นน้ำ

เข้าร่วม: 26 ม.ค. 2007
ตอบ: 157
ที่อยู่ (จังหวัด): บุรีรัมย์
|
ตอบเมื่อ:
02 ม.ค. 2008, 8:43 am |
  |
ตามพระธรรมวินัยแล้ว กุลบุตรที่อุปสมบทแล้วมีพรรษายังไม่พ้นห้า ถือว่าเป็นพระบวชใหม่ ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของพระอุปัชฌาย์ จนกว่าจะมีพรรษาพ้นห้า เรียกว่าพ้น นิสสัยมุตตกะเสียก่อนจึงจะไปอยู่ที่อื่นได้ (สามารถมีธรรมมีวินัยคุ้มครองตนได้แล้วจึงจะปลีกตัวออกจากพระอุปัชฌาย์ได้) แต่ในปัจจุบันคงหาการปฏิบัติตามธรรมวินัยข้อนี้ยากสักหน่อย เพราะพระอุปัชฌาย์มักไม่ค่อยมีเวลาสอนสัทธิวิหาริก (ผู้ที่ตนบวชให้) เท่าไรนัก แต่ก็ยังต้องมีภาระต้องสอดส่องดูแลฟังข่าวคราว สัทธิวิหาริกของตนอยู่เสมอ หากไปอยู่ที่อื่นตามลำพัง โดยพระอุปัชฌาย์ไม่ฝากฝังกับครูบาอาจารย์รูปอื่น หากสัทธิวิหาริกไปกระทำความผิด พระอุปัชฌาย์ก็ผิดด้วย ทั้งทางธรรมวินัย และทางพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ซึ่งในข้อนี้ถ้าสิทธิวิหาริกนั้นไปทำความผิดไม่ว่าด้านใดก็ตาม พระอุปัชฌาย์ต้องสามารถเรียกมาว่ากล่าวตักเตือน มาอยู่ด้วย หรือลงโทษ ตามแต่กรณีได้ พระอุปัชฌาย์จึงจะได้ชื่อว่าเป็นพระอุปัชฌาย์โดยสมบูรณ์ หรือโดยสรุปก็คือ พระบวชใหม่ (พระนวกะ มีพรรษายังไม่พ้น ๕) ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของพระอุปัชฌาย์ ถ้าพ้นพรรษา ๕ แล้วแต่ไม่เกิน ๑๐ เรียกว่า พระมัชฌิมะ ไม่ต้องอยู่กับพระอุปัชฌาย์ (แต่ก็ยังต้องเคารพพระอุปัชฌาย์เยี่ยงบิดาทางสงฆ์ของตนอยู่เสมอ) พรรษาพ้น ๑๐-๒๐ เรียก พระเถระ เกินจากนี้ไปเรียก พระมหาเถระ
หมายเหตุ ให้ดูใน จริยาพระอุปัชฌาย์ แห่งกฎมหาเถรสมาคม และพระธรรมวินัยเป็นหลัก |
|
|
|
  |
 |
|