Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การหยุดเลิกสนทนาพุทธธรรมต่อผู้อื่น ควรกระทำเมื่อไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2007, 6:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มัทนา ณ หิมะวัน พิมพ์ว่า:
ใยต้องน้อยใจ
ใยต้องทดท้อ
ใยต้องเศร้าหมอง

ล่ะ..ท่านเลว-ดี!

ใยต้องปิดโอกาสตัวเองด้วยการสัญญาในข้อ ๒ และ ๓

ข้าพเจ้าว่า...ท่านกำลังจะชนะตัวเองอยู่แล้ว....นี่นา
ข้าพเจ้าว่า...ท่านกำลังจะแจ้งใจในการอุเบกขาอย่างถูกวิธี...มิใช่หรือ?

ทบทวนใหม่...ดีกว่ามั้ยท่าน สงสัย ยิ้ม
(ไม่เอาน่ะ ! อย่าคิดมาก...) สู้ สู้ ยิ้มเห็นฟัน


ข้อความข้างต้น มาจาก ท่าน มัทนา ณ หิมะวัน
เป็นการให้กำลังใจแก่ข้าพเจ้า ในกระทู้อื่น
ข้าพเจ้าจำเป็น ที่จะต้องนำมาตั้งเป็นกระทู้ใหม่
เพื่อไม่ให้เสียสัจจะของข้าพเจ้าเอง
...................................................................................
สวัสดีท่านมัทนา ณ หิมะวัน
ถ้าท่านตั้งใจอ่านสัญญาดังกล่าวนั้น
ท่านจะเข้าใจว่า ทำเพื่ออะไร ทำสำหรับใคร เพียงผู้เดียวเท่านั้น
และที่สำคัญ ทำเพื่อข้าพเจ้าเองด้วย เพื่อสัมมาวาจา ในครั้งต่อ ๆ ไป
...................................................................................
การรักษาสัจจะ
เป็นการรักษาเกียรติของตนเองด้วย ถ้าประกอบเป้าหมาย ดับกิเลส ไม่ทำให้เกิดกิเลส
ถือเป็นสัจจะ ที่ควรทำ(จะว่าเป็นกิเลส อย่างหนึ่ง ก็ไม่ว่ากะไร)
การฝึกให้ตนเอง มี สัมมาวาจา ต่อไป จึงถือเป็นเรื่องดีกว่า มิจฉาวาจา มิจฉาทิฎฐิ
....................................................................................
ในพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า
1. การสอนธรรม ก็เหมือนการฝึกสอนม้า จากม้าพยศ กลับกลายม้าที่เชื่อฟัง ทำตามคำสั่ง
2.ถ้าม้าพยศ นั้น ฝึกสอนอย่างไร ก็ไม่ได้ดีแล้ว ผู้ฝึกสอน จะฆ่าม้า นั้นทิ้งเสีย
พระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า พระองค์ก็ทำเช่นนั้น ต่อผู้ฝึกธรรมะ เช่นกัน คือ โดยหยุด สอน
ธรรมะ ไม่ตรัส ไม่สอน อะไร ต่อไป ปล่อยให้เป็นไปตามบุญ ตามกรรม ของผู้นั้น

ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินเรื่องนี้ มาก่อน
แต่ก็เข้าใจดีว่า เมื่อหมดทางเยี่ยวยาแล้ว คงต้องทำโทษแบบนี้

3.อีกตอนหนึ่ง ในพุทธประวัติ ได้กล่าวว่า พระพุทธเจ้าใช้เวลาสอนไม่กี่นาที ก็ทำให้ผู้อื่น
สามารถบรรลุ นิพพาน ได้ทันที เดี๋ยวนั้น
และอีกตอนหนึ่ง ในพุทธประวัติ ได้กล่าวว่า พระพุทธเจ้าใช้เวลาสอนธรรมะ ยาวนานมาก
ก็ไม่ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรู บรรลุนิพพานได้ สอนอย่างไร ก็ไม่ได้ เนื่องจากพระพุทธเจ้าเห็น
ว่าพระเจ้าอชาตศัตรู มีกรรมหนัก ฆ่าบิดาของตนเอง คือ พระเจ้าพิมพิสาร เพื่อขึ้นครองราชย์
เป็นกษัตริย์แทนบิดาของตนเอง กรรมหนักนั้น(คงดื้อรั้นมาก) เมื่อเป็นเครื่องกั้นประหลาด
ที่ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรู ไม่บรรลุนิพพาน แม้นพระเจ้าอชาตศัตรู ฟังแล้ว ตอบแล้วว่า เข้าใจ
แต่ยังคง ลังเลสงสัย(เกิสังโยชน์10) น่าจะ.....เช่นนี้ น่าจะ......เช่นนั้น คือ ไม่รู้จบ
ทั้งที่พระพุทธเจ้าเห็นว่า พระองค์ได้ตรัสจบแล้ว
4.อีกตอนหนึ่ง ในพุทธประวัติ มีกลุ่มพระสงฆ์ สองกลุ่ม มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ต่างฝ่าย
ต่างเห็นว่า วิธีการปฎิบัติธรรมของกลุ่มตนเองถูกต้อง ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตัดสิน ให้ต่าง
ฝ่ายต่างแยกไปทำวิธีของตนเอง (จำไม่ได้ว่า สุดท้าย พระสงฆ์เหล่านั้นมารวมตัวกันใหม่หรือ
ไม่)
5.เรื่องเหล่านี้ เป็นเรื่องของ กิเลส ด้านโมหะ ทั้งสิ้น
กิเลสโมหะ ว่าด้วย ความคิดเห็นขั้นสูง นั่นเอง (ซึ่งตีกันไม่แตกว่า มีกิเลสเจือปน หรือไม่)
เรื่องแบบนี้ แม้นไม่มีใครเสียเงิน ได้เงิน แต่อย่างไร
ไม่มีใครเสียอารมณ์โกรธ ได้อารมณ์โกรธ แต่อย่างไร
มีแต่ ไม่บรรลุนิพพาน เท่านั้น ซึ่งพระพุทธเจ้า ทรงทราบดีว่า โมหะยังคงค้างคาใจผู้นั้น

แต่จะทำอย่างไรได้ เมื่อตรัสอย่างไร ก็ไม่ได้ผล กลับก่อความไม่สงบ ต่อกลุ่มสังคมนั้น
ข้าพเจ้าจึงเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า หยุดสอนดีกว่า บางครั้งจะมีผู้อื่น คิดพิจารณาได้เอง
หรือ สำนึกเอง แล้วคงต้องวิงวอน พระพุทธเจ้า สอนธรรม ให้คำชี้แนะ เพื่อบรรลุ
เป้าหมายของผู้นั้น ต่อไป

6.สัมมาวาจา
เมื่ออ่านในพระไตรปิฎก จะเห็นว่า
บางครั้ง พระพุทธเจ้า ก็ได้เคยกล่าวต่อว่า พระสงฆ์ ผู้เห็นแก่การกิน ความอร่อยจากการ
ฉันอาหาร ความอร่อยของอาหารนั้นพร้อมที่จะไปรับบิณฑบาตรที่เดิมอีก ด้วยว่าความอร่อย
พระพุทธเจ้า จึงได้ตำหนิเรื่องนี้ และให้เข้าใจว่า อาหารเสมือนมูล(อึ) พระองค์ได้อธิบายอย่าง
ละเอียด ละออของความเป็นมูลนั้น อย่าได้ยึดติดในรส จนทำให้พระสงฆ์หลายรูป ถึงกับ
อาเจียร หรือ อาเจียรเป็นเลือด ก็มี

เมื่ออ่านบทความข้อ 6 นี้ ท่านทั้งหลาย เห็นว่า นั้น เป็นสัมมาวาจา หรือไม่
สิ่งหนึ่งที่ท่านทั้งหลาย ไม่เห็น คือ ไม่เห็นเป็น ภาพยนตร์ เป็น วีดีโอ จึงไม่เห็นว่า พระองค์
กล่าวด้วยเมตตาอย่างไร กล่าวด้วยสีหน้าท่าทางอย่างไร กล่าวด้วยสัมมา อย่างไร

ถามต่อไปว่า พระสงฆ์ผู้ที่สำนึกนั้น ผู้มีกิเลสอยู่นั้น เจ็บปวดหรือไม่ ต่อวาจา เหล่านั้น
ความสัมมาวาจา ทำไมจึงทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด
ดังนั้น ความสัมมาวาจา อาจไม่ใช่แปลว่า พูดแล้วทำให้จิตใจ รู้สึกดี ทุกครั้ง ตลอดไปใช่
หรือไม่

ถ้าสรุปว่า สัมมาวาจา พูดแล้วทำให้กิเลสท่านทั้งหลาย ลดน้อยลงจะดีหรือไม่
ถ้าสรุปว่า สัมมาวาจา ต้องรู้จักว่าพูดเมื่อไร พูดให้ถูกกาลเทศะ พูดให้รู้ว่าอยู่ในฐานะที่ควร
พูด พูดแล้วรู้ว่าตนเองก็ไม่ได้เกิดภัยแก่ตนเอง(ฝึกดูภัยรอบข้าง)
เพราะการพูด ดูเป็นเหมือนของฟรี ไม่ต้องเสียโลภะ เสียโทสะ เสียโมหะ อะไร แต่พูดโดย
ไร้สติ พูดโดยเพิ่มกิเลส พูดโดยตนมีอารมณ์โกรธ โดยความข่มความรู้ผู้อื่น
ภัยแห่งการพูด ก็จะมาถึงตนเอง แม้นจะเข้าใจว่า เป็นคำพูดไพเราะก็ตาม(คิดว่าเป็นสัมมา
วาจา ก็ตาม) เรื่องแบบนี้ วิชาการนักพูด ทราบดี
แต่วิชาการนักพูด ถ้าพูดแล้วเจือด้วยกิเลส หรือพูดเพื่อกิเลส สิ่งนั้นก็ไม่ใช่ สัมมาวาจา

7.เรื่องทั้งหมด เหล่านี้ ข้าพเจ้าเอง เป็นเพียงฆราวาส ไม่ใช่พระสงฆ์
ไม่ใช่ผู้หมดกิเลส
ไม่ใช่ผู้ที่ท่านB............... เห็นด้วย ตลอดกาล
ข้าพเจ้า จึงเห็นว่า ไม่มีประโยชน์ อะไร สำหรัฃบท่านผู้นั้น ที่จะกล่าวเรื่องอื่นต่อไป

8.การได้รู้จัก กำลัง และความสามารถ ของตนเอง
เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาตนเอง ว่า สามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร
เป็นการยากทีเดียว ที่จะทำให้ผู้อื่นเชื่อ บทความของตนเอง ได้
ด้วยว่า เงินเดือน หรือเงินประโยชน์อื่น ก็ไม่ได้ให้เขา(คือ ไม่ได้ให้ลาภ)
ยกยอ สรรเสริญ ให้ยศ ให้ถ้วยรางวัล ก็ไม่ได้ให้เขา (คือ ไม่ได้ให้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ)
ให้แต่ความรู้ ให้แต่ข้อคิด แห่ง พุทธธรรม ของพระพุทธเจ้า (คือให้แต่สุข
ถ้าผู้รับคิดไม่ได้ ก็เหมือนให้แต่ตัวอักษรตัวหนังสือ ก็เหมือนให้ลม ให้พร เช่นนั้น
กลับไม่คิดว่า นำไปปฎิบัติ นำไปคิดใหม่ ทำใหม่ กิเลสเพิ่มหรือไม่ )

การทำให้ผู้อื่นเชื่อตาม 2 คน ถือเป็นเรื่อง ยาก
การทำให้ผู้อื่นเชื่อตาม 20 คน ถือเป็นเรื่อง ยาก
การทำให้ผู้อื่นเชื่อตาม 200 คน ถือเป็นเรื่อง ยาก
การทำให้ผู้อื่นเชื่อตาม 2500 คน ถือเป็นเรื่อง ยาก
การทำให้ผู้อื่นเชื่อตาม 10,000 คน ถือเป็นเรื่อง ยาก
พระพุทธเจ้า ยุคองค์ที่ 3 สามารถทำให้พระสงฆ์ที่บวชโดยพระองค์เอง สามารถบรรลุ
นิพพาน เป็นพระอรหันต์ได้ถึง กว่า 10,000 รูป
ถือเป็นเรื่องที่ใช้ความสามารถกว่า
พระพุทธเจ้า องค์ปัจจุบัน (ข้าพเจ้าขออภัย พระพุทธเจ้า ที่มีการเปรียบเทียบเรื่องนี้
ตามพระไตรปิฎก ซึ่งพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้ตรัสไว้)
...........................................................................
ท่านมัทนา
เมื่อ ไก่ กับ หนู มันคุยกันไม่ได้เหมือนในการ์ตูน
เมื่อ มด กับ ปลา มันสื่อสารกัน ไม่ได้
ประโยชน์อะไร ที่สื่อสารกัน ต่อไป

เมื่อมนุษย์แบบที่ 1 กับ มนุษย์แบบที่ 2
ผ่านสื่อความรู้ทางโลก อนุบาล ถึง ปริญญาตรี โท เอก ก็ต่างกัน
ประสบการณ์งานอาชีพ ก็ต่างกัน
ผ่านชีวิตที่ลำบาก ลำเค็ญ
ผ่านชีวิตที่ฟุ่มเฟื่อย ฟุ้งเฟื้อ ก็ต่างกัน
ผ่านเห็น ชีวิตคนดี คนเลว คนเจ็บ คนป่วย คนตาย ก็ต่างกัน
ผ่านความคิดเห็นด้านธรรมะ สื่อพุทธธรรม สื่อจากพระสงฆ์ ก็ต่างกัน
ความเข้าใจในความหมายของ กามราคะ รูปราคะ อรูปราคะ ก็ต่างกัน
ความติดในสังโยชน์ 10 ก็ต่างกัน
ความเบื่อหน่าย ใน กิเลส ขั้นหยาบ ขั้นละเอียด ถึงขั้นอนุสัยกิเลส ก็ต่างกัน

ประโยชน์อะไรเล่า ที่จะสื่อสารให้เข้าใจกัน
ถ้าต่างฝ่าย ไม่รับฟังความเห็นกัน
หรือฝ่ายที่ด้อยกว่า ไม่รับฟังความเห็น
เชื่อว่า ผู้ด้อยกว่า คงไม่มี เพราะไม่มีใครเห็นว่า ด้อยกว่า
บางครั้งผู้ที่ไม่เข้าใจ กลับใช้ อิทธิฤทธิ์ ปาติหาริย์ อื่น เป็นเครื่องชี้วัด ถือเป็นความเด่นกว่า จึงจะยอมรับเขา
หรือ ผู้มีอิทธิฤทธิ์ ปาติหาริย์ มากกว่า เป็นผู้รอ ให้ผู้อื่นยอมรับเขา

ความมีอิทธิฤทธิ์ ปาติหาริย์ ที่ฝีกฝนมาได้ เป็นเพียงวิชาการหนึ่ง ไม่ว่าเป็นศาสตร์ที่ดี หรือเป็นไสยศาสตร์นั้น ข้าพเจ้ายังเห็นว่า ไม่ใช่ การลดกิเลส เพราะเป็นการหาวิชาอื่นนอกพุทธ มาใส่ตัว เป็นเพื่อเป้าหมายอื่น ไม่ใช่เพื่อลดกิเลส เพื่อใฝ่หา
การลดกิเลส ขั้นถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรให้ใฝ่หา จิตโปร่งใสไร้กิเลส เกาะติด
(ก็ไม่อยากให้คิดจิตนการมากขนาดนั้น ภาพรวมคือ ไม่มีอะไร คือ ว่างเปล่า คือ มีเพียง สัมมาสติ
คอยดูแลควบคุมจิต ให้อยู่ในอริยมรรค 8 ให้เกิดแต่ความสงบ เกิดแต่ความว่างเปล่าจากกิเลส ที่พร้อมจะเกิดขึ้นทุกเมื่อ)
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มัทนา ณ หิมะวัน
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 27 ก.ย. 2007
ตอบ: 34

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2007, 10:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โถ...โถ....โถ ท่านเลว-ดี

เป็นคนจริงจังน่ะดี..นะขอรับท่าน
แต่อย่าให้ถึงขั้นเคร่งเครียด...เลย
ท่านเองก็รู้มิใช่หรือ?

อะไรที่ตึงหรือหย่อนไป....หาใช่ดี

แต่ยังไงก็ตาม
ข้าพเจ้าขอชื่นชมและคารวะท่านจากใจจริง
ในการรักษาสัจจะวาจา
นับถือ...นับถือ สาธุ


เอาเป็นว่าข้าพเจ้าเคารพ และเข้าใจในการตัดสินใจของท่าน

และเชื่อว่า
ท่านเองก็คงหาได้ต้องการคำตอบ
จากคำถามบนกระทู้ที่ท่านตั้งอย่างแท้จริง

เพราะท่านเองก็ได้เป็นผู้ตอบคำถามเองเสีย....จนหมดสิ้นแล้ว ปรบมือ

ก็เป็นดังเฉกเช่น ดังที่ พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่า นั่นแล

" 1การสอนธรรม ก็เหมือนการฝึกสอนม้า จากม้าพยศ
กลับกลายม้าที่เชื่อฟัง ทำตามคำสั่ง

2.ถ้าม้าพยศ นั้น ฝึกสอนอย่างไร ก็ไม่ได้ดีแล้ว
ผู้ฝึกสอน จะฆ่าม้า นั้นทิ้งเสีย
พระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า พระองค์ก็ทำเช่นนั้น ต่อผู้ฝึกธรรมะ เช่นกัน
คือ โดยหยุด สอน ธรรมะ ไม่ตรัส ไม่สอน อะไร ต่อไป
ปล่อยให้เป็นไปตามบุญ ตามกรรม ของผู้นั้น


ข้าพเจ้าน่ะ เห็นด้วยกับข้อความข้างต้น (มานานแล้ว...คุ้นๆ อยู่นา) ขำ

และดีใจที่วันนี้....ท่านได้ประจักษ์กับตนเองอย่างถ่องแท้ (เสียที) ยิ้ม ยิ้มเห็นฟัน

ยินดีที่ได้สนทนาและรู้จักท่านผ่านตัวอักษรในเว็ปนี้

เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป นะขอรับ...ท่านเลว-ดีสาธุ สู้ สู้

ยิ้ม ยิ้มเห็นฟัน ยิ้ม ยิ้มเห็นฟัน

ป.ล ข้าพเจ้าว่าให้ท่านอื่นๆ แสดงความเห็นบ้างจะดีกว่า
ข้าพเจ้าขอพักไปทำภาระกิจอื่นชั่วคราวก่อน
โอกาสหน้าฟ้าใหม่ เมื่อชาติต้องการ
ข้าพเจ้าจะแวะเวียนมาสนทนาด้วย...อีกนะขอรับท่าน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง