Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ชีวิตประจำวัน ทำวนเวียนซ้ำๆ ทุกวัน ถือเป็นสุขหรือทุกข์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2007, 12:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้าพเจ้าเกิดข้อสงสัย (ซึ่งอาจนอกเรื่องธรรมะ)
การดำรงชีวิตประจำวัน มีกิจกรรม ทำวนเวียนซ้ำๆ ทุกวัน ถือเป็นสุขหรือทุกข์ ควรเปลี่ยนแปลงอย่างไร

การทำกิจวัตรประจำวัน ซ้ำๆ ทุกวัน เช่น ตื่น 7:00 น รีดผ้า อาบน้ำ แปรงฟัน ซื้อข้าว เก็บรอไว้กินข้าวเที่ยง ทำงานด้วยความวุ่นวาย ช่วงเช้า ดื่มกาแฟ กินข้าวเที่ยง ทำงานด้วยความวุ่นวายช่วงบ่ายถึงเย็น ดื่มกาแฟ ถึงตอนเย็น ทำงานไปบ้าง เล่นอินเตอร์เน็ตโดยเฝ้ารอคอย ถาม-ตอบกระทู้ ทำงานสลับ ถาม-ตอบ กระทู้ จนถึง 22:00 น กลับบ้าน อาบน้ำ นอน

รุ่งเช้า ทำดังเดิม (ซึ่งข้าพเจ้าเข้าใจว่า ยังมีคนแบบนี้ อีกมาก ที่ตื่นขึ้นมา ทำงานด้วยความเหนื่อยยาก กินข้าว ผ่อนคลายกับบางกิจกรรม แล้วก็นอนหลับ วนเวียนซ้ำซากแบบนี้ทุกวัน)

เช่นนี้ ถือเป็นความทุกข์ หรือไม่ ถ้าชีวิตมันน่าเบื่อหน่าย ควรเปลี่ยนชีวิตอย่างไร จึงจะรู้สึกแจ่มใส แต่ไม่ทำผิดศีล ผิดธรรม
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2007, 10:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สิ่งที่คุณสงสัยนั้น เป็นเรื่องของธรรมะ ไม่ใช่เรื่องนอกธรรมะ ความจริงแล้วคุณได้อ่านกระทู้ที่ข้าพเจ้าเขียนและได้ตอบโต้กับข้าพเจ้าไปแล้วน่าจะมีความรู้ความเข้าใจในศาสนาเพิ่มขึ้น ถ้ารู้หลักการหรือหลักธรรมะที่ข้าพเจ้าได้เขียนไปและได้นำไปคิดพิจารณา ประกอบกับการอ่านกระทู้เรื่อง"กิเลสในแง่มุมหนึ่ง" ถ้าคุณไม่เอ๋อจนเกินไป น่าจะมีความเข้าใจเกิดขึ้นบ้าง
ข้าพเจ้าบอกแล้วว่า ไม่มีผู้ใด หรือใครในโลกนี้ หลีกหนี หรือหลบหลีก หลักการหรือหลักธรรมะของข้าพเจ้าไปได้ ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะใช้ศัทพ์ภาษาเช่นใด

และในเรื่องของ "กิเลสในแง่มุมหนึ่ง" ก็เป็นเพียงการขจัดอาสวะแห่งกิเลสให้สิ้นในแง่ของมนุษย์ปุถุชนคนทั่วไป
ยังมีการขจัดอาสวะแห่งกิเลสให้สิ้น ในแง่ของพระอริยะบุคคล หรือระดับอริยะบุคคล อีกซึ่งข้าพเจ้าไม่กล่าวถึงเพราะ ต้องถูกลบอย่างแน่นอน เนื่องจากเกี่ยวข้องกับหลักวิชาการในสาขาวิชาต่างๆอย่างมากมาย

"การดำรงชีวิตประจำวัน มีกิจกรรม ทำวนเวียนซ้ำๆ ทุกวัน ถือเป็นสุขหรือทุกข์ " นี้เป็นข้อสงสัยของคุณ เพราะคุณขึ้สงสัย ดีนะที่() ไม่เต็มสมอง ยังพออ่านอะไรได้เข้าใจบ้าง แม้จะเป็นเพียง 30ส่วน ใน100ส่วน
ข้อสงสัยของคุณ ถ้าคุณใช้หลักการหรือหลักธรรมะของข้าพเจ้าเข้าครอบคลุม คุณก็จะร้องอ๋อ......อย่างเกิดปิติ
เพียงแค่คุณต้องรู้ความหมายของภาษาที่เขียน ว่าแต่ละคำ แต่ละประโยคหมายถึงอะไร เช่น "การครองเรือน หรือบทบาท หมายถึงอะไร" ข้าพเจ้าเคยบอกไปแล้วว่า "สรรพสิ่ง ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ล้วนหนีไม่พ้นหลักการหรือหลักธรรมะของข้าพเจ้า
ในชั้นแรกนี้ คุณลองคิดพิจารณาด้วยตัวเอง โดยใช้หลักการหรือหลักธรรมะทั้ง 4 คู่ 8 ข้อ มาเป็นแม่บท เพราะหลักการหรือหลักธรรมะทั้ง 4 คู่ 8 ข้อนั้น เป็นแม่บทแห่งพระไตรปิฏก
ถ้าคุณไม่เข้าใจก็ถามได้อีก ถ้าข้าพเจ้ามีเวลาก็จะมาตอบให้คุณเป็นกรณีพิเศษ
และก็ต้องขอขอบคุณที่คุณได้ข้อสงสัยของคุณมาถาม ทำให้ข้าพเจ้าได้ข้อมูลในการเขียนตำราเพิ่มขึ้น ขอบคุณ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
nammo
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 31 ต.ค. 2007
ตอบ: 3
ที่อยู่ (จังหวัด): nonthaburi

ตอบตอบเมื่อ: 31 ต.ค.2007, 3:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เคยเป็นเหมือนกันค่ะ ทุกวันนี้ก้ยังเป็นอยู่เมื่อขาดสติ
มันเป็นธรรมดาของชีวิตที่ยังไม่พ้นทุกข์ ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสารนี้
พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่า การเกิด เป็นทุกข์ไงคะ

และเพราะเราไม่รู้ว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร จึงได้ทุกข์มาก ไม่รู้จุดเริ่ม ไม่รู้จุดจบของกิเลสที่ผลักดันให้เราเวียนวนอยู่อย่างนี้

ขอให้พบทางสว่างโดยเร็วนะคะ
 

_________________
I think therefore I am
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวYahoo MessengerMSN Messenger
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 31 ต.ค.2007, 7:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณต้องทำความเข้าใจไว้อย่างหนึ่งในเรื่องของคำว่าทุกข์
ความทุกข์นั้น หากจะอธิบายอย่างละเอียดและเข้าใจง่าย จำเป็นต้องแยกแยะรายละเอียดออกไป ไม่ใช่ว่า ความทุกข์ ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
สิ่งที่เกิดจากความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น อาจจะไม่ทำให้เกิดความทุกข์ ก็ได้ ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะ มนุษย์ เข้าใจว่า ความทุกข์ คือ ความจน ความไม่มีจะกิน ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีเครื่องนุ่งห่ม ไม่มียารักษาโรค ฯลฯ นี้เป็นความทุกข์ในความคิดของมนุษย์
ถ้าเราจะกล่าวให้เป็นไปในทางศาสนา ก็จะได้ความว่า ความทุกข์เกิดจากความหลง หลงในทรัพย์ หลงในตัวเอง และหลงอะไรต่อมิอะไร เยอะแยะ
การเกิดของมนุษย์ เป็นความทุกข์จริงหรือ การเจ็บป่วยของมนุษย์ เป็นความทุกข์จริงหรือ การแก่ชราของมนุษย์เป็นความทุกข์จริงหรือ การตายของมนุษย์เป็นความทุกข์จริงหรือ
คำตอบถ้าเป็นไปในทางศาสนาที่แท้จริงก็คือ ไม่จริง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ใช่ความทุกข์ แต่ตัวความทุกข์ที่แท้จริงคือ
ความคิดของมนุษย์
จบก่อน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
z
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ต.ค. 2007
ตอบ: 46
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 พ.ย.2007, 6:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

....ถ้าไม่ทำ ก็ทุกข์

...ทำ ก็ทุกข์

...ทุกข์ ตั้งแต่เกิด........ทุกข์เพราะการเกิด....

....แก้โดย การทำใจ ให้มีปัญญา รู้ เห็น เข้าใจ ยอมรับตามเป็นจริง ถึงโทษแห่งการเกิด...(ตามพระสัทธรรมคำสั่งสอนแห่งองค์พระบรมศาสดา)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 01 พ.ย.2007, 8:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

z พิมพ์ว่า:
....ถ้าไม่ทำ ก็ทุกข์

...ทำ ก็ทุกข์

...ทุกข์ ตั้งแต่เกิด........ทุกข์เพราะการเกิด....

....แก้โดย การทำใจ ให้มีปัญญา รู้ เห็น เข้าใจ ยอมรับตามเป็นจริง ถึงโทษแห่งการเกิด...(ตามพระสัทธรรมคำสั่งสอนแห่งองค์พระบรมศาสดา)


คุณเข้าใจผิดแล้วละคุณ

ถ้าไม่ทำ ก็อาจเป็นทุกข์ แต่ ถ้าไม่ทำก็หลุดพ้นจากความทุกข์ได้เช่นกัน
ถ้าทำ ก็จะทุกข์ แต่ถ้าทำ ก็หลุดพ้นจากความทุกข์ได้เช่นกัน

แล้วที่คุณว่า แก้โดยการทำใจ ให้มี ปัญญา

ขอถามนะคุณ อย่าหาว่าลองภูมิเลย คำว่า ปัญญา ที่คุณกล่าวมานั้น
มันคืออะไร ละ มันมาจากไหนกันละ และปัญญา ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
ลองบอกหน่อยเถอะ ถือว่า ลับสมองนะคุณ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Story Note
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2007
ตอบ: 97

ตอบตอบเมื่อ: 08 พ.ย.2007, 2:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

O^_^O

ปัญญา = ความรอบรู้เหตุผล รู้ชัด รู้ทัน รู้ประจักษ์ และรู้ถึงทั้งภายในและภายนอก

โลกิยปัญญา เป็นปัญญาของโลกิยชน

โลกุตตรปัญญา เป็นปัญญาของพระอริยบุคคล ปัญญามีไว้สำหรับปราบปรามกิเลสอย่างละเอียด คือ อวิชชา (ความหลง ความไม่รู้เท่า ความเห็นผิดว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งทั้งหลายเป็นสุข)

(เราก็เป็นแบบ คุณbad&good จนบางครั้งก็คิดว่าทำไมมันช่างน่าเบื่อ แล้ววันที่แสนเบื่อก็หายไป เมื่อขึ้นวันใหม่ ทำไมวันนี้สนุก แล้ววันแสนสนุกก็หายไป เกิดและดับ ไปต่อวัน มามองใกล้ตัว แม้แต่ลมหายใจ ก็เป็นเช่นนั้น )

ขอเพียงมีสติในแต่ละวัน.. หนักหนาแค่ไหน ก็เอาอยู่ค่ะ สู้ สู้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
วิชชา
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 พ.ย. 2007
ตอบ: 31
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 08 พ.ย.2007, 5:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าท่านมีความรู้สึกสับสนในชีวิต ลองคลิปไปอ่านตาม ลิงค์ ข้างล่างนี้

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=4079
 

_________________
ไม่มี
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMYahoo MessengerMSN Messenger
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 08 พ.ย.2007, 7:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Story Note พิมพ์ว่า:
O^_^O

ปัญญา = ความรอบรู้เหตุผล รู้ชัด รู้ทัน รู้ประจักษ์ และรู้ถึงทั้งภายในและภายนอก

โลกิยปัญญา เป็นปัญญาของโลกิยชน

โลกุตตรปัญญา เป็นปัญญาของพระอริยบุคคล ปัญญามีไว้สำหรับปราบปรามกิเลสอย่างละเอียด คือ อวิชชา (ความหลง ความไม่รู้เท่า ความเห็นผิดว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งทั้งหลายเป็นสุข)

(เราก็เป็นแบบ คุณbad&good จนบางครั้งก็คิดว่าทำไมมันช่างน่าเบื่อ แล้ววันที่แสนเบื่อก็หายไป เมื่อขึ้นวันใหม่ ทำไมวันนี้สนุก แล้ววันแสนสนุกก็หายไป เกิดและดับ ไปต่อวัน มามองใกล้ตัว แม้แต่ลมหายใจ ก็เป็นเช่นนั้น )

ขอเพียงมีสติในแต่ละวัน.. หนักหนาแค่ไหน ก็เอาอยู่ค่ะ สู้ สู้


ตอบ.......คุณยังมีความรู้ ความเข้าใจในทางศาสนาไม่มากนัก สิ่งที่คุณแสดงความคิดเห็นมานั้น แม้จะถูกต้อง แต่ก็เป็นความถูกต้องเพียวน้อยนิด คำว่า "ปัญญา" มีความหมาย ที่กว้างกว่านั้นมากมายนัก แม้คำตอบที่คุณตอบมานั้น จะดูเหมือนกว้าง แต่ความจริงแล้วมันแคบ เพราะความจริง แล้ว
"ปัญญา" แท้ที่จริงแล้วก็คือ ความรู้ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในด้านสาขาวิชาใดใดก็ตาม และความรู้นั้น บุคคลย่อมสามารถนำความรู้นั้นมาปฏิบัติได้ จึงจะเรียกว่า"ปัญญา"
คำว่า "ปฏิบัติ" ได้นั้น ก็ยังมีความหมายที่กว้างเอาการทีเดียวนะขอรับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ย.2007, 12:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำกล่าว ของ ท่านBuddha ดังนี้
คุณต้องทำความเข้าใจไว้อย่างหนึ่งในเรื่องของคำว่าทุกข์
ความทุกข์นั้น หากจะอธิบายอย่างละเอียดและเข้าใจง่าย จำเป็นต้องแยกแยะรายละเอียดออกไป ไม่ใช่ว่า ความทุกข์ ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
สิ่งที่เกิดจากความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น อาจจะไม่ทำให้เกิดความทุกข์ ก็ได้ ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะ มนุษย์ เข้าใจว่า ความทุกข์ คือ ความจน ความไม่มีจะกิน ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีเครื่องนุ่งห่ม ไม่มียารักษาโรค ฯลฯ นี้เป็นความทุกข์ในความคิดของมนุษย์
ถ้าเราจะกล่าวให้เป็นไปในทางศาสนา ก็จะได้ความว่า ความทุกข์เกิดจากความหลง หลงในทรัพย์ หลงในตัวเอง และหลงอะไรต่อมิอะไร เยอะแยะ
การเกิดของมนุษย์ เป็นความทุกข์จริงหรือ การเจ็บป่วยของมนุษย์ เป็นความทุกข์จริงหรือ การแก่ชราของมนุษย์เป็นความทุกข์จริงหรือ การตายของมนุษย์เป็นความทุกข์จริงหรือ
คำตอบถ้าเป็นไปในทางศาสนาที่แท้จริงก็คือ ไม่จริง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ใช่ความทุกข์ แต่ตัวความทุกข์ที่แท้จริงคือ
ความคิดของมนุษย์
จบก่อน

.............................................
ข้าพเจ้าต้องขออนุญาต แสดงความเห็นดังกล่าว
ความทุกข์ เกิดจาก กิเลส
ความทุกข์ เกิดจาก ความโลภ ความโกรธ ความหลง
นั้น ถูกต้องแล้ว อย่าได้บิด พลิ้ว บิด เล็ก บิดให้ลังเลสงสัย
แม้นเมื่ออ่านคำอธิบายทั้งหมด ไม่ว่า ความคิดของมนุษย์ สิ่งเหล่านั้นทั้งสิ้น คือ กิเลส หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
...................................................
ความหลง มีความหมายไปได้ไกลมาก ซึ่งอาจเรียกได้ว่า ถ้า จัด กิเลส ให้เป็นความโลภ ความโกรธไม่ได้แล้ว สิ่งอื่น ๆ นั้น คือ ความหลง
การอธิบายให้กับผู้อื่นซึ่งเข้าใจถูกต้องอยู่แล้วนั้น กลับกลายเป็นเข้าใจผิด คือ เข้าใจในความหมายที่ผิด หรือเข้าใจอย่างลังเลสงสัย จนไม่แน่ใจในความดีของตน ที่ไปได้ถูกทางแล้วนั้น ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้สร้างความหลงอย่างหนึ่ง ให้กับผู้อื่น
.......................................................
กิเลส หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
นั้นเป็นความรู้พื้นฐาน
ซึ่งสามารถทำให้ผู้ยึดอยู่ในฐานนี้ สามารถขยายความเข้าใจไห้ละเอียด ให้เข้าใจลึกซึ้งได้ในระดับหนึ่ง
หากแม้นจิต ยังคงอยู่ในข้างโลกกียะ คือ ยังคง ติดอยู่กับโลกธรรม 8 คือ
ติดอยู่กับ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ เสื่อมสรรเสริญ เสื่อมสุข
หากแม้นติดอยู่กับสิ่งเหล่านี้ การสร้างความเข้าใจกับ ความรู้ด้านกิเลส คงไม่มีประโยชน์อะไร
เพราะโลกธรรม 8 นั้น มีความหมายเดียวกับกิเลส มีความหมายเดียวกับ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่นั่นเอง
.......................................................
การทำอะไรซ้ำ ๆ วนเวียน เป็นเรื่องหนึ่งที่เตือนให้จิต ทราบเหมือนกัน ว่า นี้แล คือ ตัวอย่างหนึ่งที่ จิต ต้องรู้จัก เบื่อหน่าย แม้นท่านจะมีความรู้ ความเก่ง อย่างไร ก็ไม่พ้นความจำเจ จิตมักคิดหนีออกจากสิ่งที่ไม่ชอบใจ(ราคะ) ไปสิ่งที่ชอบใจ(ราคะ เช่นกัน)
........................................................
จิตจึงต้องมีสติ สร้างสัมมาทิฎฐิ อยู่เสมอว่า โลกนี้ไม่มีอะไรที่เป็นสุข เลย จิตจงจำไว้ให้มั่นว่า นี้แลคือทุกข์ จิตอย่าได้ อยากวนเกิดเป็นใช้เวร ใช้กรรม อีกเลย สาธุ
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ย.2007, 2:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำกล่าว ของ ท่านBuddha ดังนี้
คุณต้องทำความเข้าใจไว้อย่างหนึ่งในเรื่องของคำว่าทุกข์
ความทุกข์นั้น หากจะอธิบายอย่างละเอียดและเข้าใจง่าย จำเป็นต้องแยกแยะรายละเอียดออกไป ไม่ใช่ว่า ความทุกข์ ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
สิ่งที่เกิดจากความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น อาจจะไม่ทำให้เกิดความทุกข์ ก็ได้ ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะ มนุษย์ เข้าใจว่า ความทุกข์ คือ ความจน ความไม่มีจะกิน ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีเครื่องนุ่งห่ม ไม่มียารักษาโรค ฯลฯ นี้เป็นความทุกข์ในความคิดของมนุษย์
ถ้าเราจะกล่าวให้เป็นไปในทางศาสนา ก็จะได้ความว่า ความทุกข์เกิดจากความหลง หลงในทรัพย์ หลงในตัวเอง และหลงอะไรต่อมิอะไร เยอะแยะ
การเกิดของมนุษย์ เป็นความทุกข์จริงหรือ การเจ็บป่วยของมนุษย์ เป็นความทุกข์จริงหรือ การแก่ชราของมนุษย์เป็นความทุกข์จริงหรือ การตายของมนุษย์เป็นความทุกข์จริงหรือ
คำตอบถ้าเป็นไปในทางศาสนาที่แท้จริงก็คือ ไม่จริง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ใช่ความทุกข์ แต่ตัวความทุกข์ที่แท้จริงคือ
ความคิดของมนุษย์
จบก่อน

.............................................
ข้าพเจ้าต้องขออนุญาต แสดงความเห็นดังกล่าว
ความทุกข์ เกิดจาก กิเลส
ความทุกข์ เกิดจาก ความโลภ ความโกรธ ความหลง
นั้น ถูกต้องแล้ว อย่าได้บิด พลิ้ว บิด เล็ก บิดให้ลังเลสงสัย
แม้นเมื่ออ่านคำอธิบายทั้งหมด ไม่ว่า ความคิดของมนุษย์ สิ่งเหล่านั้นทั้งสิ้น คือ กิเลส หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
...................................................

วิเคราะห์,,,,,,,,,,,,,ไม่ใช่การคัดค้าน ความเห็นของคุณนะ แต่สอนคุณให้รู้ว่า
ความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้นมันคืออะไร
กิเลสเป็นคำศัพท์ปลายเหตุ ไม่คำศัพท์ต้นเหตุ คุณต้องทำความเข้าใจไว้อย่างหนึ่งว่า
พฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ ( ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์ ) เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ เป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่ทุกคนล้วนมีพฤติกรรมอย่างนั้น พฤติกรรมต่างๆ เหล่านั้น แม้ในทางพุทธศาสนาจะเรียกว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง แต่พฤติกรรมเหล่านั้น หาได้ทำให้บุคคลเกิดความทุกข์ ทุกทั่วตัวคน เหตุเพราะพฤติกรรมที่ถึงแม้จะเป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง ในทางศาสนา แต่เป็น สิ่งที่ทำให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งทางกาย วาจา และใจ ได้ อันนี้ไม่ยกตัวอย่าง เพราะมันจะยาว ถ้าสงสัยไม่เข้าใจ ก็ถามเป็นอย่างๆ จะได้ตอบจะได้แนะนำให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น

จบการวิเคราะห์,,,,,,,,,,,

คุณ bad&good กล่าวว่า

กิเลส หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
นั้นเป็นความรู้พื้นฐาน
ซึ่งสามารถทำให้ผู้ยึดอยู่ในฐานนี้ สามารถขยายความเข้าใจไห้ละเอียด ให้เข้าใจลึกซึ้งได้ในระดับหนึ่ง
หากแม้นจิต ยังคงอยู่ในข้างโลกกียะ คือ ยังคง ติดอยู่กับโลกธรรม 8 คือ
ติดอยู่กับ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ เสื่อมสรรเสริญ เสื่อมสุข
หากแม้นติดอยู่กับสิ่งเหล่านี้ การสร้างความเข้าใจกับ ความรู้ด้านกิเลส คงไม่มีประโยชน์อะไร
เพราะโลกธรรม 8 นั้น มีความหมายเดียวกับกิเลส มีความหมายเดียวกับ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่นั่นเอง
.......................................................
การทำอะไรซ้ำ ๆ วนเวียน เป็นเรื่องหนึ่งที่เตือนให้จิต ทราบเหมือนกัน ว่า นี้แล คือ ตัวอย่างหนึ่งที่ จิต ต้องรู้จัก เบื่อหน่าย แม้นท่านจะมีความรู้ ความเก่ง อย่างไร ก็ไม่พ้นความจำเจ จิตมักคิดหนีออกจากสิ่งที่ไม่ชอบใจ(ราคะ) ไปสิ่งที่ชอบใจ(ราคะ เช่นกัน)
........................................................

จิตจึงต้องมีสติ สร้างสัมมาทิฎฐิ อยู่เสมอว่า โลกนี้ไม่มีอะไรที่เป็นสุข เลย จิตจงจำไว้ให้มั่นว่า นี้แลคือทุกข์ จิตอย่าได้ อยากวนเกิดเป็นใช้เวร ใช้กรรม อีกเลย สาธุ

วิเคราะห์ ,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
คุณก็เป็นปุถุชนคนธรรมดาคนหนึ่ง ธรรมชาติของคุณย่อมมีความโลภ ความโกรธ ความหลง แต่สิ่งที่จะทำให้เกิด หรือสิ่งที่เป็นต้นตอแห่ง ความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น ก็คือ

1. การให้ทาน 2. การครองเรือน
3. การกตัญญู 4. การเจรจา
5. อาชีพต่างๆ (สรรพอาชีพ) 6.การประพฤติ (การปฏิบัติ หรือพฤติกรรม)
7. การคิด 8. การระลึกถึง(หมายถึงการนึกถึงประสบการณ์ต่างๆ

สิ่งที่ได้กล่าวไปแล้วนี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เกิด หรือเป็นตัวการที่ทำให้มนุษย์ มี ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ถ้าทุกคน รู้ และเข้าใจในความเป็นไปแห่งสิ่งที่ทำให้เกิด หรือสิ่งที่เป็นต้นตอ หรือเป็นตัวการ แห่ง ความโลภ ความโกรธ ความหลงแล้ว
ความโลภ ความโกรธ ความหลง ในตัวของตน ก็ย่อมลดน้อยลงไป ซึ่ง ก็ขึ้นอยู่กับ ความมีความรู้สึกตัว และระลึกได้ อันเป็นธรรมชาติ หรือได้รับการฝึกฝนการเอาใจจดจ่อ หรือการเอาใจฝักใฝ่ หรือการเอาใจเข้าไปผูกอยู่ในสิ่งนั้น เพิ่มเติม จากที่มีอยู่ อีกทั้งขึ้นอยู่กับ ความรู้ ประสบการณ์ สมองสติปัญญาของแต่ละบุคคลอีกด้วย

จบก่อน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 10 พ.ย.2007, 1:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดูก่อน ท่านBuddha
1.การให้ทาน เป็นการ ลด ละ เลิก เป็นการสลัดออก
การให้ทาน เป็นต้นตอแห่งกิเลส ได้อย่างไร
แม้นพระเวสสันดร ผู้เลิศแห่งการให้ทาน ได้ถือว่าเป็นผู้เลิศแห่งการ ลด ละ กิเลส มากกว่าคนที่มีปกติทั่วไป
..............................................................
2.การเจรจา (ถ้าแปลว่าการพูดคุยกัน) ไม่ได้หมายความว่า เป็นต้นตอแห่งกิเลส ทุกครั้งไป
คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำพูดทั้งสิ้น หากไม่ตรัสให้ผู้มีกิเลส ได้ทราบถึงกิเลส
ท่านBuddha คิดว่า ผู้นั้นจะทราบได้อย่างไรว่า ผู้นั้นยังมีกิเลส
หากท่านไม่กล่าวถึงเรื่อง 4คู่8ข้อ แล้ว ผู้อื่นจะทราบได้อย่างไรว่า สิ่งที่ท่านกล่าว ทำให้ผู้อื่น
ลดกิเลส ลงได้
ดั้งนั้น การเจรจา ไม่ได้หมายถึง ต้นตอแห่งกิเลส แต่กลับมีมุมมองอีกด้านหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ ว่า จงใช้คำพูด สอนธรรมะให้เข้าใจ มากกว่าการแสดงอิทธิฤทธิ์ ปาติหารย์
เพื่อให้ผู้คนเชื่อถือ ศรัทธา ศาสนาพุทธ นี้
...................................................................
3.การคิด ไม่ได้หมายความว่า เป็นต้นตอแห่งกิเลส ทุกครั้งไป
คำสอนของพระพุทธเจ้า ตรัสให้ผู้ศรัทธา ให้ได้คิด พิจารณา ไตร่ตรอง เดินตามเส้นทางที่พระองค์ได้ตรัสไว้ ว่า จงทำดี จงพูดดี จงทำให้จิตดีเถิด จิตจะสงบสุข เย็น
การมีเป้าหมายที่ดีงาม(สัมมาสังกัปโป)
ทราบถึงทุกแง่มุมของกิเลส เข้าใจดีและถูกต้องในธรรมะ(สัมมาทิฎฐิ)
ทำให้ จิต คิดได้ ตัดสินใจได้ ว่า จะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับ กิเลส อย่างไร

พระพุทธทาส จึงได้กล่าวว่า ความว่าง ไม่ได้หมายถึง ไม่ให้คิด การรู้จักคิด ตัดสินใจไม่ยุ่งกับ กิเลส ทำให้จิตว่างจากกิเลส ถือเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
ดังนั้น การคิด ทำแต่สิ่งดีไม่มีกิเลส ถือเป็นการ ลด กิเลส ไม่ได้เพิ่มกิเลส
........................................................................
4.การระลึก ไม่ได้หมายความว่า เป็นต้นตอแห่งกิเลส ทุกครั้งไป
ตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัดเจน คือ การระลึกถึงคุณงามความดี ของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เป็นเรื่องที่ดี ไม่ได้ทำให้กิเลส เพิ่ม กลับทำให้ผู้ศรัทธา พยายาม ทำตามแบบอย่างไตรรัตน์
การทำสมาธิ บางครั้งต้องภาวนาคำว่า "พูทโธ" ประกอบ เพื่อให้จิตหาที่เกาะเกี่ยว อยู่กับหลัก อยู่กับจิตที่สงบนิ่ง
แม้นในคำสอนของพระพุทธเจ้า ได้ตรัสถึง สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สองสิ่งนี้ เหมือนจะเตือนให้ผู้ศรัทธา อย่าได้ขาดจาก การระลึกถึง อย่าได้ขาดจาก การทำดี สม่ำเสมอ อย่าได้หยุดรำลึก ระลึกการทำความดี อย่าได้ไปข้องแวะกับกิเลสทั้งปวง
ดังนั้น การระลึกถึง การทำความดี ไม่ได้ทำให้กิเลส เพิ่มแต่อย่างไร
.........................................................................
คำสอนของพระพุทธเจ้า ทำให้ผู้ศรัทธา คิดได้ ระลึกได้ ให้ทานได้ ไม่ว่าทรัพย์และพุทธธรรม
การเจรจาหรือการสอนธรรมะ จึงเป็นเรื่องดี เผยแผ่ ให้ผู้ศรัทธา เข้าใจพุทธธรรม มากขึ้น ถือเป็นสิ่งดี สิ่งงดงาม

แม้นท่าน Buddha เอง ยังอยากที่จะสอนสั่ง อยากเจรจา ต่อผู้คนทั่วไป ไม่ใช่หรือ
............................
การฝึกทำความดี การฝึกคิดให้เป็นเหตุเป็นผล เพื่อให้ลดกิเลส
ไม่ว่า จะเป็น ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ นั้น
ถือเป็นเครื่องมือ จุดประกายความคิด อื่น ให้รู้จัก มอง กิเลส ได้หลายแง่มุม
การมองทุกสิ่งให้อยู่ ภายให้กิเลส เพียง 4 ข้อ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เท่านี้ คงมากพอแล้ว
การจัดกลุ่มกิเลส เข้าในเรื่อง ราคะ โลภะ โทสะ ไม่ได้ ที่เหลือคงต้องยกให้ โมหะ เพราะโมหะ เป็นเรื่องที่น่ากังขา ของผู้ที่เข้าไม่ถึงพุทธ เช่น
ผู้มีโมหะ คือ ผู้ไม่สนใจความรู้ในศาสนาพุทธ
ผู้มีโมหะ คือ ผู้ที่สนใจความรู้ในศาสนาพุทธ แต่ไม่เข้าใจในศาสนาพุทธ
ผู้มีโมหะ คือ ผู้ที่สนใจความรู้ในศาสนาพุทธ เข้าใจในศาสนาพุทธ แต่ติดใจในศาสนาพุทธ ยึดไว้ ถือไว้ ไม่ปล่อยวางความรู้ทางธรรมะ
ผู้มีโมหะ คือ ผู้ที่สนใจความรู้ในศาสนาพุทธ ไม่เข้าใจในศาสนาพุทธ แต่ติดใจในศาสนาพุทธ ยึดไว้ ถือไว้ ไม่ปล่อยวางความรู้ทางธรรมะที่ผิดเพี้ยน คิดเอง สังเคราะห์ขึ้นใหม่เอง

ความเป็นโมหะ ถือเป็นข้อโต้แย้งมากที่สุด จนไม่รู้ตัวว่า โต้แย้งมาก กิเลสของตนเริ่มพอกพูนมาก
................................................
ข้าพเจ้าหวังว่า ผู้ที่ทำความดี หวังให้กิเลส ของตนเอง ลดน้อยลงให้มากที่สุด จนรู้สึกร่างกาย สงบเย็นลงได้ ถือว่า ผู้นั้นได้ลิ้มรส พระธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
สาธุ สาธุ
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 10 พ.ย.2007, 3:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

[quote="bad&good"]ดูก่อน ท่านBuddha
1.การให้ทาน เป็นการ ลด ละ เลิก เป็นการสลัดออก
การให้ทาน เป็นต้นตอแห่งกิเลส ได้อย่างไร
แม้นพระเวสสันดร ผู้เลิศแห่งการให้ทาน ได้ถือว่าเป็นผู้เลิศแห่งการ ลด ละ กิเลส มากกว่าคนที่มีปกติทั่วไป
..............................................................


ตอบ.... คุณรู้ไหมว่า ทำไม การให้ทาน จึง คู่กับการครองเรือน คุณคิดว่า เมื่อให้ทานแล้วจะเป็นการ ขจัดออกซึ่งกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง กระนั้นหรือ คุณถามใจของคุณเถอะว่า ขณะคุณให้ทาน คุณหวังอะไร นั่นและความหลง และก่อจะก่อให้เกิด ความโลภ และความโกรธ ตามมา อันนี้ไม่อธิบายนะ เพราะตัวคุณควรได้พิจารณาด้วยตัวเอง


ตอบ...รวมทั้งหมดที่คุณอวดรู้ สิ่งที่คุณกล่าวมา แสดงให้เห็นว่า คุณไม่เข้าใจในบริบทของภาษา ในตอนก่อนนั้น เราเสวนากันแค่เรื่องการเกิด กิเลส หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่ได้เสวนากันในเรื่องความหลุดพ้น หรือขจัดกิเลส
คนละประเด็นกัน

และสิ่งที่คุณนำมากล่าวนั้น แท้จริง มันคือหลักความจริงทางศาสนา เป็นหลักความจริงทางธรรมชาติ
การให้ทาน การครองเรือน การรู้คุณท่าน การเจรจา อาชีพต่างๆ การประพฤติ การคิด การระลึกนึกถึง
ล้วนย่อมเป็นต้นตอ และเป็นสิ่งที่ทำให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง
และก็เช่นกัน ทั้ง 4 คู่ 8 ข้อ ก็ย่อมสามารถเป็นสิ่งที่ขจัดหรือทำให้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เบาบาง หรือหมดไปได้เช่นกัน
เมื่อเป็นเช่นนั้น หลักธรรมศรีอาริย์ จึงเกิดขึ้น และได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ เมื่อ 6-7 ปี ที่ผ่านมา

ข้าพเจ้าได้เขียนหลักธรรมศรีอาริย์ เป็นกระทู้ แล้ว แต่เวบมาสเตอร์ เขาไม่ยอมเขาลบ ไป
ซึ่งถ้าหากเวบมาสเตอร์ และทีมงาน รักศาสนา ควรรู้จักพัฒนาศาสนา ส่งเสริมให้ศาสนาเจริญก้าวหน้า ก็ควรได้สนับสนุนเผยแพร่หลักธรรมศรีอาริย์ ซึ่งหลักธรรมศรีอาริย์นั้น มีดังต่อไปนี้

หลักธรรมศรีอาริย์ นั้นในหมวดนี้(หมวดหลักธรรมหมวดที่ 6) แบ่งเป็น 2 บท คือ
บทธรรม อย่างหนึ่ง
และบทปฏิบัติ อีกอย่างหนึ่ง

หลักธรรมศรีอาริย์ บทแรก คือ บทธรรมะ หรือบทแห่งความรู้ข้อหลัก ได้แก่
“เครื่องดิ้นรนแห่งสรรพสิ่งอันมีองค์ 8 ล้วนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด สภาพสภาวะจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ในทางที่เรียกว่า ความทุกข์ หรือความสุข และสภาพสภาวะจิตใจในรูปแบบต่างๆ อันจักสามารถขจัดคลื่นแห่งสภาพสภาวะจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ที่เรียกว่า ความทุกข์ หรือความสุขได้”
ซึ่ง เครื่องดิ้นรนแห่งสรรพสิ่งประกอบไปด้วย
1. ทาน 2. การครองเรือน
3. กตัญญู 4. เจรจา
5. สรรพอาชีพ 6. ประพฤติ
7. ระลึก 8. ดำริ
ทั้ง 4 คู่ 8 ข้อ คือ หลักธรรม หรือหลักความรู้ เรียกว่า หลักธรรมศรีอาริย์
หากท่านทั้งหลายอ่านแล้วไม่เข้าใจก็กลับไปอ่านอีก และคิดพิจารณาให้ดี
และหลักธรรมศรีอาริย์นี้ ตอนแรก ข้าพเจ้าเคยอนุญาตให้นำไปบันทึกไว้เป็นหลักการทางศาสนาพุทธ แต่เนื่องจาก อำนาจเงินหรืออำนาจใดใด มีค่ามากกว่า "ข้าพเจ้าจึงยกเลิกคำอนุญาต ไม่อนุญาตให้นำไปบันทึกไว้ เว้นแต่จะติดต่อกับข้าพเจ้า และต้องตอบแทนค่าทำวิจัยให้กับข้าพเจ้า (นี้เขียนตรงๆนะขอรับ)
หลักธรรม ในหมวดนี้ บทที่ 2
คือหลักปฏิบัติ อันนับเข้าใน ข้อ ประพฤติ ได้แก่
1. การเอาใจจดจ่อในสิ่งนั้น หรือการเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น หรือการเอาใจไปผูกอยู่ในสิ่งนั้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกตัว และระลึกได้ (สมาธิ )
2. ความรู้ หมายถึง ความรู้ในทางหลักธรรมศรีอาริย์ และความรู้อื่นๆอันเกี่ยวข้องกับหลักธรรมศรีอาริย์
3. การแปลงความรู้ให้เป็นการปฏิบัติ หมายถึง การแปลงความรู้อันประกอบด้วย ความรู้สึกตัว และระลึกได้ (สมาธิ) ให้เป็นพฤติกรรม หรือสามารถขจัด คลื่นแห่งสภาพแห่งสภาวะจิตใจ ในรูปแบบต่างๆ หรือคลื่นแห่งอารมณ์ ความรู้สึก ให้ออกจากสรีระร่างกายได้

อ่านแล้วคิดพิจารณาให้ดี และที่สำคัญท่านทั้งหลายไม่ต้องเอาหลักการของข้าพเจ้าไปเทียบกับศาสนาอื่นๆ เพราะหลักธรรมศรีอาริย์นี้ เป็นหลักธรรมชาติแห่งจักรวาล หมายความว่า ทั่วทั้งจักรวาล ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน มีสภาพสรีระร่างกายเป็นอย่างไร ต้องมีต้องเป็นอย่างนั้น ไม่มีสิ่งใดหลีกพ้น

หลักธรรมนี้ เป็นหลักธรรมที่ได้จากการค้นคว้า ศึกษา และวิจัย
คำว่า วิจัย หมายรวมถึง การได้ปฏิบัติ จนได้ผล สำเร็จตามวัตถุประสงค์บุคคลใดจะยึดถือศาสนาใด จะเชื่อในศาสนาใด ก็เรื่องของแต่ละบุคคล บังคับกันไม่ได้


เมื่อข้าพเจ้าได้ประกาศธรรม ก็เท่ากับว่าได้ประกาศ ศาสนา เพียงแต่ยังไม่ได้ตั้งเป็นศาสนา เพราะการตั้งศาสนานั้น ยังต้องมีส่วนประกอบอื่นๆ อีกหลายอย่าง
ดังนั้นหลักธรรมศรีอาริย์นี้ จึงเป็น เพียง ประกาศหลักธรรม และเป็นการประกาศศาสนาศรีอาริย์ไปด้วย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 10 พ.ย.2007, 6:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีท่านBuddha ท่านผู้ไม่ยอมแพ้
................................................................
ความเป็น โมหะ ของแต่ละคน เป็นเรื่องที่อธิบาย ไม่รู้จบ
.................................................................
แม้น การให้ทาน ในความเข้าใจของท่าน ยังอยู่ในความลังเลสงสัย
ด้วยว่า ให้ทาน แล้วกลัวตนเองจะมีกิเลส ซ้อน
ข้าพเจ้าทราบดีว่า มีกิเลสซ้อน แต่จิตผู้นั้น เมื่อทราบแล้วว่า ไม่ได้ทำไปเพื่อกิเลส การให้ทาน จะเกิด อนิสงฆ์ มากกว่าเดิม (ซึ่งความเป็นอนิสงฆ์ ไม่ได้หมายความว่า ได้สิ่งใด อะไร อย่างไร มากขึ้น )
การให้ทาน เมื่อรู้สึกสุข เบิกบาน อิ่มเอมใจ สุขใจ ที่ได้เห็นฝูงชนมีความสุข ความสงบสันติ ไม่เบียดเบียนกัน นี้แลเป็นภาพที่ท่านควรได้เห็นอยู่บ่อย ๆ มากกว่า เห็นฝูงชนทะเลาะวิวาทกัน แย่งชิงของแจก ของเทกระจาด โยนสิ่งของให้แย่งชิงกัน ความสงบไม่มี การให้ทานแบบนี้ ไม่อิ่มสุข ไม่สวยงาม
...................................................................
ข้าพเจ้าเห็นท่าน วิเคราะห์เพียงแต่ เรื่อง การให้ทาน เท่านั้น (ที่เห็นว่าการให้ทาน อย่างไรก็มีกิเลสอยู่วันยังค่ำ)
หัวข้ออื่น ท่าน เห็นด้วยกับข้าพเจ้า หรือไม่ อย่างไร
ทำไมจึงไม่แสดงความเห็น
....................................................................
พระพุทธทาส เคยกล่าวว่า เพียงแค่ ทำทานเพียงอย่างเดียว เท่านั้น
กิเลสของผู้นั้นจะลดลงไปทุกวัน
จิตใจก็เบิกบาน อิ่มสุข อยู่ทุกวัน
(การให้ ดูเหมือนกับ การเสียทรัพย์ แต่กลับมีสุข ท่านไม่รู้สึกแปลกใจบ้างหรือ)
.....................................................................
การให้ทานนั้น พระพุทธเจ้าเอง ก็มีกุศลโลบายแรก ที่ ฝึกให้ชาวบ้าน รู้จักให้ทาน ใส่บาตรต่อนักบวช ทุกวัน
เพื่อรู้จัก แบ่งปัน ทรัพย์ และ อาหารให้กับผู้อื่นในสังคม
ให้รู้จัก ให้เข้าใจว่า สังคมจะสงบอยู่ได้ เพราะไม่เบียดเบียนกัน ไม่หวงทรัพย์มากเกินไป
กิเลสจึงเบาบางลง
ในทางกลับกัน ผู้รับ คือ พระสงฆ์ ได้รับประโยชน์อื่น นอกเหนือจากการได้ฉันอาหารแล้ว คือ ได้รู้จักดูอาการของกิเลสของพระสงฆ์เอง ว่ารู้สึกอย่างไร เมื่อได้รับอาหารน้อย และรู้สึกอย่างไรที่ได้รับอาหารมาก รู้สึกอย่างไรเมื่อไม่มีทรัพย์ซื้ออาหารตามใจตนเอง รู้สึกอย่างไร มีอาหารเหลือมากเกินไป

..................................................................
ผู้มีฐานะสูงศักดิ์ เมื่อบวชแล้ว ต้องรับ อาหาร ของให้ทาน จากชาวบ้าน
สำหรับฐานะกษัตริย์ หรือ เศรษฐี หรือ ผู้มีชื่อเสียง เป็นเรื่องที่น่าละอาย เป็นเรื่องที่เสียเกียรติ มารับอาหาร
แต่เหตุใดเล่า พระพุทธเจ้า จึงดำริ เช่นนั้น เพื่อ ลดกิเลส ไม่ใช่หรือ ท่านBuddha
......................................................................
ข้าพเจ้าเคยกล่าวต่อท่านBuddhaไว้ว่า ธรรมะใหม่ พระศรีอาริยเมตไตย นั้น ข้าพเจ้าขอตอบดัง ๆ ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้มีความสนใจเลย (ขออภัย และขออย่าได้โกรธ)
เพราะเหตุว่า ศาสนาพุทธ คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ถือเป็นธรรมะสูงส่ง ที่ข้าพเจ้าเห็น พระองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้ว สมบูรณ์แล้ว มีทั้งขั้นพื้นฐาน ขั้นกลาง ขั้นละเอียดลึกซึ้ง เพื่อใช้ให้เหมาะสมกับคนทุกระดับชั้น ได้ทั้งฆราวาส เด็ก คนหนุ่ม คนสาว ผู้ที่สมรสแล้ว คนชรา ได้ทั้งพระสงฆ์ ภิกษุณี
ความรู้นี้มีมากมายถึงขั้นเป็นพระไตรปิฎก หลายสิบเล่ม เชื่อว่า อ่านให้เข้าใจได้ไม่หมด ภายในชาติเดียว คงต้องใช้เวลา มากทีเดียว กว่าจะเข้าใจ
...........................................................................
ซึ่งเชื่อว่า พุทธธรรมนี้ เป็นความรู้ ที่มีเป้าหมายเพื่อลดละกิเลส ให้หมดทุกข์สิ้นเชิง
และเชื่อว่า มีอรรถะและพยัญชนะ(มีความรู้มากมาย) มากกว่า ธรรมะใหม่ของท่าน หลายร้อยเท่า
..........................................................................
ข้าพเจ้าจะรู้สึกผิดด้วยซ้ำว่า หากข้าพเจ้าคิดจะเปลี่ยน ธรรมะใหม่(คล้ายศาสนาพุทธ)
ด้วยว่า ข้าพเจ้าเองทราบดีอยู่ว่า พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ยังไม่หมดไปจากโลก
จึงไม่คิดจะเปลี่ยน
การเปลี่ยน เปรียบเสมือนทิ้งพ่อ ทิ้งแม่ ไปพึ่งพ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง ใหม่ น่าอดสู ยิ่งนัก

.........................................................................
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง คือ
ไม่มีพระสงฆ์ ใด กล่าวอ้างคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนของตนเอง
พระสงฆ์ยังคง อภิวาท ให้ความเคารพ ให้ความกตัญญู ต่อ พระพุทธเจ้า สมกับได้ปฏิญาณตนทุกวัน คือ ได้สวดมนต์สรรเสริญทุกวัน ต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ผู้ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ
..........................................................................
สิ่งสำคัญที่สุด
ถ้าท่านได้อ่านพุทธประวัติ
จะทราบดีว่า พระพุทธเจ้า จะเกิดขึ้นใหม่ ต่อเมื่อ ในโลก ไม่รู้จักคำว่า พระพุทธศาสนาเลย
เหมือนดังว่า ยุดสมัย ผ่านมาหลายร้อยชาติ หลายสงคราม จนความรู้ทางพุทธนี้ ไม่มีเหลือให้ได้รับรู้ อยู่ในโลก

การให้กำเนิด พระพุทธเจ้า ก็จะเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้คนได้พ้นทุกข์ ดับกิเลสให้หมดสิ้นเชิงได้ต่อไป
..........................................................................
สิ่งที่เราทั้งหลาย ยังไม่เคยพบเห็น คือ
ความมหัศจรรย์ ความไม่น่าเป็นไปได้ เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมรอบกายของพระพุทธเจ้า
จะมีปรากฎการณ์แปลกประหลาด มากมาย เช่น
-ต้นไม้ใบหญ้าบริเวณโดยรอบ ผลิดอก ออกผล ดูสวยงาม
-เมื่อพระองค์ตักน้ำขุ่น กลับได้น้ำใส ให้พระพุทธเจ้าได้ดื่ม
-การที่พระองค์ไม่ไหว้ ผู้อื่น เพราะ เห็นว่า ผู้นั้น จะเสียชีวิต
และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งถือเป็นว่า เป็นสิ่งที่ ธรรมะใหม่ ไม่มี
.................................................................................................
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง