Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เปิดร่างพระราชบัญญัติ อุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 29 ต.ค.2007, 8:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2550 ที่ผ่านมา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีการประชุมพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ... เสนอโดย พล.อ.ปรีชา โรจนเสน สมาชิก สนช. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม และคณะ รวม 180 คน

สำหรับร่างดังกล่าว กำหนดให้มีคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พร้อมกับมีบทลงโทษผู้จาบจ้วงดูหมิ่นศาสนา นอกจากนี้ ยังมีบทบัญญัติครอบคลุมดูแลถึงแม่ชีด้วย

อย่างไรก็ตาม มีสมาชิก สนช.หลายคน แสดงความเป็นห่วงในเรื่องบทลงโทษที่รุนแรง หากไม่ปรับเนื้อหากฎหมายดังกล่าวให้เหมาะสม จะก่อให้เกิดความปั่นป่วนในสังคมได้ เพราะการตรากฎหมายเพื่อมุ่งคุ้มครองศาสนธรรม ศาสนบุคคล ฯลฯ อย่างสุดโต่ง ใครทำผิดต้องโทษรุนแรงนั้นเป็นอันตราย

อีกทั้ง เนื้อหาบางส่วนลักลั่น เช่น กำหนดว่าผู้ใดร่วมประเวณีไม่ว่าทางใดและวิธีการใดกับพระภิกษุ สามเณร หรือแม่ชี ต้องโทษจำคุก 5-10 ปี และปรับ 1 แสนบาทถึง 5 แสนบาทนั้น แต่กลับไม่มีการลงโทษพระภิกษุ สามเณร หรือ แม่ชี ซึ่งเป็นคู่ผู้ร่วมประเวณีอย่างรุนแรงเลย

นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ อภิปรายว่า ตามความผิดของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ อาจมีคนติดคุกกันครึ่งประเทศ เพราะแค่ปูเสื่อขายพระก็เข้าข่ายติดคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และปรับแสนบาท ถือเป็นกฎหมายเผด็จการทางความคิดและอันตรายมาก

ในที่สุด นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ ตัวแทนรัฐบาล ได้ขอรับร่างกลับไปพิจารณา 30 วัน ก่อนส่งกลับมาให้ สนช.พิจารณาอีกครั้ง

สำหรับรายละเอียดในร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ... แบ่งออกเป็น 5 หมวด จำนวน 24 มาตรา ประกอบด้วย หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 การอุปถัมภ์และคุ้มครอง หมวด 3 คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หมวด 4 แม่ชี และหมวด 5 บทกำหนดลงโทษ

Image

ส่วนเนื้อหาในแต่ละมาตรา โดยสรุปมีดังนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติ พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ....

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ตัวบทกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบและคำสั่ง อื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน

มาตรา 4 อธิบายความหมายศัพท์ที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ อาทิ พระศาสดา หมายความว่า พระพุทธเจ้า, ศาสนบุคคล หมายถึง พระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา, คณะกรรมการ หมายถึง คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นต้น

มาตรา 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง

มาตรา 6-7 การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ต้องเป็นไปเพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา ตามแนวทางศาสนธรรม และต้องเป็นไปเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารงานคณะสงฆ์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์

มาตรา 8 รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

มาตรา 9 การจาบจ้วง ละเมิด ลอกเลียน บิดเบือน หรือการกระทำอื่นใดให้พระศาสดา ศาสนธรรม ศาสนศึกษา ศาสนบุคคล ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนสมบัติ และศาสนพิธี ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสีย มัวหมอง หรือวิปริตผิดเพี้ยน จะกระทำมิได้

มาตรา 10-11 บรรยายถึงหน้าที่ที่รัฐต้องอุปถัมภ์และส่งเสริมในเรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

มาตรา 12 กำหนดให้นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประกอบด้วยกรรมการ จำนวน 21 รูป/คน โดยมีนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ

มาตรา 13 กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นตำแหน่งของคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เช่น การเป็นกรรมการมิใช่โดยตำแหน่ง อยู่ในวาระคราวละ 2 ปี เป็นต้น

มาตรา 14 บัญญัติถึงหน้าที่ของคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เช่น การวางนโยบาย กำหนดยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการและโครงการเกี่ยวกับการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารงานคณะสงฆ์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ เป็นต้น

มาตรา 15 ให้มีคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแห่งชาติระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล โดยมีองค์ประกอบ อำนาจและหน้าที่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 16 อธิบายความหมายของแม่ชี คือ อุบาสิกาประเภทอนาคาริกาผู้ไม่ครองเรือนที่ปฏิบัติธรรมของพระพุทธศาสนา เป็นนักบวชสตรี นุ่งขาว ห่มขาว โกนผม โกนคิ้ว ถือศีลแปด

มาตรา 17 แม่ชี ต้องผ่านพิธีกรรมการเป็นนักบวชในวัดพระพุทธศาสนา โดยมีเจ้าอาวาสหรือพระภิกษุที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นผู้ทำพิธีกรรม และต้องมีผู้รับรองในการเข้าเป็นแม่ชี

มาตรา 18 แม่ชีต้องสังกัดและพำนักอยู่ในวัด หรือในสำนักแม่ชีที่มีวัดหรือองค์กรนิติบุคคลทางพระพุทธศาสนาให้การรับรอง รวมทั้งแม่ชีต้องสังกัดสถาบันแม่ชีไทยและต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของสถาบันแม่ชีไทย

นอกจากนี้ ที่พักอาศัยของแม่ชี ต้องจัดให้เป็นสัดส่วนไม่ปะปนกับที่พักอาศัยของพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัด

มาตรา 19 แม่ชี มีหน้าที่ศึกษาพระธรรมวินัย ปฏิบัติธรรม เผยแผ่และรักษาหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ทำประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาและสังคม ตลอดถึงให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาชีวิตให้แก่ประชาชน

มาตรา 20 รัฐต้องส่งเสริมและพัฒนาแม่ชีให้มีศักยภาพและความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมและพัฒนาแม่ชีให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยคำแนะนำของสถาบันแม่ชีไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์

มาตรา 21 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 9 ในส่วนที่เกี่ยวกับพระศาสดาและศาสนธรรม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท

มาตรา 22 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 9 ในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนศึกษา ศาสนบุคคล ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนสมบัติ และศาสนพิธี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท

ผู้ใดร่วมประเวณีไม่ว่าทางใดและวิธีการใดกับพระภิกษุ สามเณร หรือแม่ชี ตลอดจนผู้ชักจูง จัดหา หรือจ้างวาน ให้มีการร่วมประเวณีดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท

มาตรา 23 ผู้ใดกระทำความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา ถ้าการกระทำความผิดนั้นเป็นการกระทำต่อพระภิกษุ สามเณร หรือแม่ชี ผู้นั้นต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ สามเท่า

มาตรา 24 เป็นบทเฉพาะกาล ระบุว่า ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการเป็นของผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

Image


หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน
คอลัมน์ สดจากหน้าพระ หน้า 30
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6177
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
montasavi
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84

ตอบตอบเมื่อ: 01 พ.ย.2007, 10:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าเป็นไป เพื่อส่งเสริมให้ผู้คน ศึกษาและปฏิบัติธรรมกันมาขึ้น กระผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง