Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ไตรลักษณ์ คืออะไร อยู่ที่ไหน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
น้อง
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 29 เม.ย. 2007
ตอบ: 3
ที่อยู่ (จังหวัด): นครปฐม

ตอบตอบเมื่อ: 29 เม.ย.2007, 5:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีใครรู้บ้างครับว่า ไตรลักษณ์ คืออะไร อยู่ที่ไหน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 29 เม.ย.2007, 8:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องไตรลักษณ์ ความหมายคำแปลก็คือ ลักษณะเครื่องหมาย 3 ประการ ลักษณ์ก็คือเครื่องหมาย ไตรก็คือ 3 ไตรลักษณะก็คือ ลักษณะ 3 ประการ

1) อนิจจลักษณะ คือ ลักษณะที่ไม่เที่ยง เครื่องหมายที่ไม่เที่ยง คือ เปลี่ยนแปลง ปรวนแปร เปลี่ยนแปลงไป

2) ทุกขลักษณะ คือ เครื่องหมายความเป็นทุกข์ คือ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ทุกข์ในที่นี้หมายถึงทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ทนในคุณลักษณะคุณสมบัติเดิมไม่ได้

3) อนัตตลักษณะ คือ เครื่องหมายที่บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีความเป็นตัวตน เป็นสัตว์เป็นบุคคล

ลักษณะเครื่องหมาย 3 ประการนี้ก็เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา คือ วิปัสสนา ที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องไปเห็นไตรลักษณ์ วิปสสนาคือความรู้แจ้งความรู้จริงตามความเป็นจริง ก็คือการเข้าไปรู้เห็นรูปธรรมนามธรรมที่มีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกว่าตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงของรูปนามก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าไปเห็นความจริงเข้าไปรู้เห็นความจริง ความจริงก็คือ รูปนามหมายถึง ปฏิเสธความเป็นสัตว์เป็นบุคคล ความจริงคือรูปธรรมนามธรรม ตามความเป็นจริงก็คือรูปนามนี้เกิดดับ เกิดดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา การเข้าไปรู้เห็นอันนี้แหละชื่อว่าวิปัสสนา ชื่อว่าความรู้แจ้งตามความเป็นจริงรู้ของจริง ตามความเป็นจริง ฉะนั้นการที่จะเกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริงก็ต้องอาศัยสติสัมปชัญญะ

คือตัวสติระลึกรู้ให้ตรง สัมปชัญญะก็พิจารณาให้ตรง พิจารณาให้ตรงตัวรูปนาม หากพิจารณาไม่ตรงตัวรูปนาม มันก็ไม่เห็นรูปนาม และก็ไม่เห็นลักษณะไตรลักษณ์ของรูปนาม คือ ไปพิจารณาดูไปเพ่งอยู่กับสมมุติบัญญัติ หรือรูปนามที่ดับไปแล้ว หรือรูปนามที่ยังไม่เกิด เป็นอดีต อนาคต ก็ไม่สามารถจะรู้แจ้งตาม ความเป็นจริงได้ สิ่งใดที่ดับไปแล้วก็ไม่เป็นเหตุปัจจัยที่จะให้รู้แจ้งเพราะมันพิสูจน์ไม่ได้ มันไม่มีหลักฐานที่จะแสดงให้เห็นสัจจธรรม ฉะนั้นการที่จะรู้แจ้งมันต้องมีหลักฐานที่อยู่ เฉพาะหน้า คือรูปนามที่อยู่เฉพาะหน้า ต่อหน้าต่อตา แสดงลักษณะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ยังไม่เกิดมันยังไม่ปรากฏขึ้นมันก็ไม่มีหลักฐานที่เพียงพอเป็นข้อมูล เพียงพอที่จะพิสูจน์ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงได้

วิปัสสนาภูมิ ตอนที่ 12 ไตรลักษณ์
โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

อ่านต่อตามลิ้งค์ด้านล่าง

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7073
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เพื่อนไตรลักษณ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 เม.ย.2007, 9:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไตรลักษณ์ คือ ความจริงสามอย่าง คือ สภาพที่ไม่เที่ยง สภาพที่ทนได้ยาก สภาพที่ไม่มีตัวตน
อันแท้จริง

อยู่ที่ไหน ไตรลักษณ์มีอยู่ทุกที่ เท่านี้แหละไม่มีอะไรมาก
 
ทำด้วยความรู้สึกเพื่อธรรม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 เม.ย.2007, 10:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุญาติเจ้าของกระทู้เข้ามาอนุโมทนาการให้ธรรมมะของคุณปุ๋ยครับเพราะมองว่าเป็นผู้มีความรู้ในธรรมที่กว้างขวางมากเข้าใจว่าที่เขาเรียกกันว่าพหูสูจน์คงลักษณะเดียวกันนี้กระมัง บังเอิญอ่านเจอความหมายทุกขลักษณะข้อสองไตรลักษณ์เข้าทำให้คิดถึงตอนที่ตัวเองเสาะแสวงหาแนวทางฝึกเวทนานุปัสนาแล้วหาหลักง่ายง่ายไม่เจอสักที จนทุกวันนี้ไม่ได้เน้นไปด้านนั้นด้านเดียวแล้ว แต่จากครั้งนั้นเป็นต้นมาก็ค่อยค่อยเกิดความเข้าใจจากการสังเกตมากมากเข้า จึงอนุญาตให้ความเห็นเผื่อใครอาจหันมาปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ดูเวทนาตัวเองกันบ้าง จากการสังเกตผมรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ค่อนข้างง่าย ปัญหาส่วนใหญ่คนฝึกจะไม่รู้อะไรคือเวทนาในตัวเองที่จะต้องไปจับความรู้สึก ก็เหมือนกับทุกขลักษณะที่ได้อธิบายเลย คือความรู้สึกใดใดก็ตามที่เกิดขึ้นมาในตัวเองเพราะอยากหนีจากสภาพเดิมหรือทนอยู่ในลักษณะเดิมเดิมไม่ได้ คือทุกขเวทนาในตัวเรานั่นเอง อย่างเช่นใครเคยนั่งคุกเข่าสวดมนต์ พอนานเข้าจะสังเกตเห็นจุดนึงที่รู้สึกว่าอยากจะเปลี่ยนอริยาบทมาก ช่วงนั้นแหละครับคือโอกาสที่ผู้ฝึกจะได้สังเกตทุกขเวทนาน้อยน้อยของแท้ในตัวเอง หรือยามกลับบ้านหลังเลิกงานมาเหนื่อยเหนื่อยดูความรู้สึกที่มีต่อสภาพเหนื่อยอยากหนีจากมันหรือเปล่าหากอยากนั่นก็เป็นทุกข์ พอเปิดตู้กลับข้าวไม่มีอาหารแม้นกระทั่งมาม่า หิวไส้จะขาด ก็เกิดความอยากจะหนีสภาพนั้นอีกแล้วหรือทุกขเวทนาอีกนั่นเองหากใครฝึกก็จะสัมผัสเห็นสภาพได้ชัดเจน เมื่อเข้าใจความหมายทุกขลักษณะก็จะทำให้การฝึกมองสภาพทุกข์ในตัวเองได้ง่ายอยู่ตลอดเวลา ในทางตรงข้ามสุขลักษณะเช่นเดียวกัน จากการสังเกตตามความเข้าใจตัวเองคือความรู้สึกอยากให้สภาพเดิมคงอยู่กับเรานานนาน หรือความไม่อยากปล่อยละจากสภาพเดิมเดิม เหมือนยามผู้ชายหลงผู้หญิงหรือผู้หญิงหลงผู้ชาย จะเกิดความรู้สึกยามใกล้ชิดไม่อยากให้ ณ เวลานั้นหมดลง นั่นคือสภาพสุข ที่เป็นโอกาสให้ผู้ฝึกสังเกตได้ค่อนข้างชัดหากมีสติ หรือยามนั่งสมาธิเกิดความสงบจิตไม่อยากหนีไปไหนอีกเช่นกัน ไม่อยากกลับสู่โลกความจริงสภาพรู้สึกนั้นก็เป็นสุขเวทนา หากสังเกตบ่อยบ่อยเข้าก็จะค่อยค่อยละเอียด บางครั้งกำลังสุขเพราะความรู้สึกไม่อยากหนีสภาพเดิมเกิดขึ้นแต่พอสภาพเดิมนั้นดับไปตามอนิจจังก็เป็นสภาพผิดหวังเข้ามาแทนคืออยากให้สภาพเดิมนั้นคงอยู่แต่ไม่สำเร็จแล้วความรู้สึกต่อมาก็คือความอยากหนีจากสภาพผิดหวังนั้นเกิดขึ้นก็เลยกลับเข้าสู่ทุกขเวทนาให้สังเกตได้อีก ส่วนสภาพเฉยยังไม่ได้มีจุดสังเกตที่ชัดเจนนักเพียงแต่ความรู้สึกใดไม่จัดอยู่ในทุกขลักษณะหรือสุขลักษณะก็จะมองว่าเป็นเวทนาเฉย เมื่อสามชนิดของความรู้สึกคือ ทุกข์ สุข และเฉยที่เกิดขึ้นในตัวเอง เป็นที่เข้าใจสำหรับท่านใด ผมเชื่อว่าการฝึกสติปัฏฐานสี่ในหมวดเวทนานุปัสนาจะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับท่านั้นเลย และผลที่ได้คุ้มค่ามากคือ ท่านที่เคยเสาะแสวงหาทางดับทุกข์ตัวเอง พอฝึกนานนานเข้าทุกวันสักวันนึงอาจจะรู้สึกขึ้นมาเองเลยว่าทำไมความทุกข์ที่เคยจับได้เวลาเหนื่อยเหนื่อยเวลาโดนคนหรือโชคชะตากลั่นแกล้งมันน้อยจังไม่รู้หายไปไหนหมดแทบไม่เคยโกรธเคืองใครเลยบางครั้งตัวเองเปลี่ยนไปให้เป็นสุขด้วยการหัวเราะให้กับชีวิตตัวเองเล่นด้วยซ้ำหรือไม่ก็วางเฉยด้วยสติกลายเป็นว่าจิตปล่อยวางทุกข์ได้เองโดยไม่รู้ตัวเลย หากใครรู้สึกตัวเองทำได้อยากให้ลองดูนานนานครับ บางครั้งทำต่อเนื่องได้ทุกนาที(ต่อเนื่องจริงจริง)ตั้งแต่ลืมตาตื่นนอนพอตกเย็นก็อาจเห็นอาการแปลกในลักษณะที่ดีแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อนอีกด้วย
 
น้อง
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 29 เม.ย. 2007
ตอบ: 3
ที่อยู่ (จังหวัด): นครปฐม

ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ค.2007, 10:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณทุกท่านที่กรุณาให้ความรู้ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
amarita
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 พ.ค. 2007
ตอบ: 25
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ค.2007, 8:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาทุกท่านคะ

เพื่อนไตรลักษณ์
ทำด้วยความรู้สึกเพื่อธรรม

คงได้สนทนาแลกเปลี่ยนกันนะคะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 06 พ.ค.2007, 1:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไตรลักษณ์ คือกฎเกณ์ความเป็นไปของสรรพสิ่ง
 
z
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ต.ค. 2007
ตอบ: 46
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ย.2007, 3:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

....ใช่ เป็นกฎ ของโลกย์....ให้เห็นเป็นเรื่องธรรมดา.....

..อนิจจัง ไม่เที่ยง มีเกิดขึ้น คงอยู่ และสลายตัวไป ตามลำดับ

..ทุกขัง ถ้าเอาจิตไปเกาะอาการที่ไม่เที่ยง จะทำให้เกิดทุกข์

..อนัตตา ไม่ช้าทุกสิ่ง ก็สลายตัวหมด ช้าเร็วต่างกัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
1เอง
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2007
ตอบ: 43
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2007, 8:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไตรลักษณ์ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างที่ญาติธรรมกล่าวมารวมทั้งความหมายด้วย
ซึ่งทั้งไตรลักษณ์ทั้ง 3 ข้อนี้ ก็ไม่ได้อยู่ที่ไหนหลอก มันอยู่ในกายในใจของเรานี่แหละ
เพียงแต่มันมีกิเลสเข้ามาปิดบังเราไว้ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นไตรลักษณ์ได้ง่ายๆ
เราต้องมีความเพียรปฏิบัติธรรมให้สามารถตัดกิเลส หรือให้รู้เท่าทันกิเลส
ก็จะสามารมองเห็นไตรลักษณ์ได้ไม่มากก็น้อยขึ้นอยู่กับความเพียรของแต่ละคน
และจะทำให้เห็นสภาวะตามความเป็นจริงที่มีอยู่โดยธรรมชาติ
เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นครับคุณน้อง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 12:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณ สำหรับความรู้ เจริญในธรรมค่ะ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง