Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อยากทราบปัญหาการนั่งสมาธิ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เพชร
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 12 ต.ค. 2007
ตอบ: 2
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 18 ต.ค.2007, 10:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมเริ่มปฎิบัติสมาธิมาระยะหนึ่งประมาณ 1 เดือนหรือประมาณ 30-40 ครั้ง ทำสมาธิช่วง 22.00-23.00 น. ถ้าวันไหนตื่นเช้าก็จะทำเพิ่ม ช่วง 5.30-6.30 น. ทำสมาธิครั้งละ 1 ชั่วโมง และ ในช่วงการใช้ชีวิตประจำวันนั้นจะกำหนด "สติ" รู้ลมหายใจ และ "สติ" กำหนดรู้ร่างกายสม่ำเสมอแต่ไม่ถึงกับ 100% แต่จะบังคับจิตไม่ให้ฟุ้งซานปรุงแต่งเกินควร แต่มีปัญหาหลายๆประการอยากจะปรึกษาเพื่อนๆสมาชิก ให้กรุณาช้วยแก้ไขปัญหาเพื่อเป็นธรรมทาน แน่ะแนวทางให้ผมปฏิบัติดำเนินต่อไปได้ เพราะปลายปีนี้ผมกำลังจะไปบวชพระจะได้ใช้ความรู้ช่วงนี้ปฏิบัติต่อไปได้เลย เพราะไม่แน่ใจว่าจะหาอาจารย์ถามได้ในสถาณที่นั้นหรือไม่ และคงไม่มีโอกาศตั้งกระทู้ถามท่านใดในช่วงนั้น โดยผมจะแยกออกเป็นช่วงๆ และ ส่วนของร่างกายและ ความรู้สึกเพื่อง่ายต่อการตอบ

ลักษณะการปฏิบัติตน ทางกาย วาจา ใจ ช่วงนี้ผมพยายามสำรวม กาย วาจา ใจ ตั้งจิตอธิฐานมั่นทั้ง กาย วาจา และใจ ในทั้ง ทาน และ ศีล บริสุทธของฆารวาส 5 ข้อ และ อะไรต่อมิอะไรที่เป็นการคิดดีทำดี ไม่เดือนร้อนผู้อื่นและตัวเอง
ก่อนนั่งสมาธิ
ตั้ง นะโม 3 จบ และกล่าวคำบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กราบ 3 ครั้งแล้ว เริ่มนั่งสมาธิ
ลักษณะท่านั่งที่ปฏิบัตินั่งท่าขัดสมาธิแบบเท้าขวาทับเท้าซ้ายมือขวาทับมือซ้าย หลังตรงพอประมาณโดยโน้มเอียงมาด้านหน้าเล็กน้อยเพราะการนั่งหลังตรงแน่วจะรู้สึกทรมารขาทั้งสองข้างมาก และปวดหลังเมื่อนั่งนานๆ
ลักษณะการภาวนาปฏิบัติและเริ่มโดย "พุธโธ ธัมโม สังโฆ" 3 ครั้ง หลังจากนั้นก็เริ่มภาวนาคำว่า "พุธโธ" กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกโดย ลมหายใจเข้าเข้าเป็น "พุธ" และ ลมหายใจออกออกเป็น "โธ" ไปเลยๆ
ลักษณะของจิตระหว่างภาวนา
ระยะแรกเมื่อเริ่มนั่ง 15-20 นาทีแรกจิตใจจะยังไม่สงบแต่กำหนดสติคอยรู้ทันอยู่เสมอ จิตจะแกว่งไปเรื่องโน้นเรื่องนี้ และจะกำหนดสติและให้รู้อยู่แต่ลมหายใจและคำภาวนาเมื่อเวลาผ่านไปซัก 20 นาทีจิตจะเริ่มนิ่งและลมหายใจเริ่มระเอียดและเบาลงตามลำดับ
ระยะกลาง ช่วงเวลา 20-40 นาที เมื่อลมหายใจเบาจนเหมือน จิตจะเป็นสมาธิ จะเกิดอาการรู้สึกหวิวๆไปทั้งร่างแต่ไม่มาก และร่างกายจะเกิดอาการสั่นน้อยๆเหมือนหวิวๆเหมือนกำลังจะเข้าสมาธิหรือเปล่าผมไม่ทราบ แล้วก็กระตุกหลุดออกมาเกือบทุกครั้ง ส่วนใหญ่จะกระตุกบริเวณขา และหวิวๆบริเวณใบหน้าจนหลุดสมาธิ ทำให้ต้องกลับมาเริ่มต้นที่ระยะกลางใหม่เกือบทุกครั้ง ซึ่งอาการนี้เป็นปัญหาของผมอย่างมากทำให้ผมเข้าสมาธิไม่ได้ซะส่วนมาก เคยอธิฐาณจิต ไม่ให้คิดไม่ให้เป็น ก็ไม่สำเร็จน้อยครั้งที่จะผ่านอาการนี้ไปได้
ระยะหลังเข้าสมาธิ(ไม่แน่ใจ)ช่วง 40-50 นาที น้อยครั้งที่จะผ่านระยะกลางมาได้ จนรู้สึกว่าบางเบาสบายสว่าง นิ่งๆอยู่อย่างนั้น แต่เมื่อ เบาสบายนิ่งอยู่อย่างนั้นก็ไม่สามารถ รักษาสมาธิช่วงนี้ไว้ได้นานจนเกิดปัญญาเพื่อพิจรณาธรรม คือเมื่อเริ่มจะพิจรณาก็จะเกิดอารมณ์ พุ้งซานกลัวจะหลุดสมาธิบ้าง คิดหัวข้อไม่ออกบ้าง จนมีเหตุให้หลุดจากสมาธิในเวลาอันสั้นเสมอ
ระยะสุดท้ายจากออกสมาธิเมื่อหลุดออกจากสมาธิจะนั่งอยู่อย่างนั้นเริ่มต้นที่ระยะกลางใหม่ แต่บ้างครั้งจะมีอาการใจเต้นแรงเพราะดีใจที่รู้สึกเบาสบายในช่วงอยู่ในสมาธิก็เลยต้องไปเริ่มระยะแรกโน้นเลย และ ส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถเข้าสมาธิได้อีก เพราะเริ่มรู้สึกเมื่อยมากๆขึ้นมาเฉยๆเสียอย่างนั้น จนทนไม่ไหว รวมเวลาทั้งหมดไม่เกิน 1 ชั่วโมงในการนั่งแต่ละครั้ง
ปัญหาของผม
1.การฝึกสามธิ ผู้ฝึกฝนเป็นประจำ มีระยะเวลาการฝึกโดยเฉลี่ยเท่าไหร่จึงจะสามารถเข้าสมาธิ ได้สม่ำเสมออย่างไม่อยากเย็นนัก(ขอคำตอบโดยเฉลี่ยของจิตบุคลทั่งไป)
2.อาการ หวิวๆ ในระยะกลางที่อธิบายไว้ และ อาการกระตุก จนไม่สามารถเข้าสมาธิได้นั้น จะต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง (ฐานสมาธิมีหรือไม่เป็นเพราะฐานสมาธิไม่มั่นคงหรือเปล่าท่านั่งหรือว่าร่างกายเกร็งเกินไปหรือไม่แข็งแรงหรือเปล่า) ข้อนี้คือปัญหาหลักของผมในการทำสมาธิ
3.เมื่อเข้าสมาธิได้แล้ว ควรฝึกประคองสมาธิไว้ให้คงที่ก่อน หลายๆครั้ง จนชำนาญ แล้วค่อยเริ่มพิจรณา หรือเปล่า
4.จิตของบุคลธรรมดา ควรอยู่ในสมาธิ อย่างน้อยเท่าไหร่ และ อย่างมาก เท่าไหร่
5.ถ้าจิตอยู่ในสมาธิได้จริงจะต้องไม่เมื่อยเมื่อเลิกสมาธิใช่หรือไม่
6.วันไหนเข้าสมาธิได้จะรู้สึกร่างกายเบาสบาย สัมผัสระหว่างพนมมือไหว้พระเปลี่ยนไปคือรู้สึกนุ่มละเอียดขึ้น แต่ บริเวณศีรษะจะมึนๆหัวแบบแปลกๆใช่หรือไม่ และ สายตาจะดีขึ้น หูดีขึ้นเล็กน้อยหรือเปล่า หรือผมรู้สึกไปเอง และ ว่างๆเบาๆมากอยู่ซัก 10-20 นาที นอกนั้นก็มีความอิ่มใจเล็กๆ หรือเปล่าครับ
7.อยากทราบเทคนิค และ วิธีแบบลัด แบบ Tip หรือ Shot Cut จากผู้มีประสบกราณ์ โดยมุ่งหวังทางธรรม เพราะ ขณะนี้ 35 ปี แล้วยังไม่ถึงไหนเลย
8.ท่านผู้ใดที่ลงทำภาคปฏิบัติแล้ว ช้วยเล่าประสบกราณ์ ในการเพรียนพยายาม ในแต่ล่ะช่วงเวลาความเป็นไปของผลลัพธ์ในแต่ล่ะช่วงของการฝึกปฏิบัติเพื่อเป็นธรรมทานด้วยเถิด สาธุ.....
ขออภัยที่ต้องตั้งคำถามแบบตรงๆ อาจดูจะขัดต่อการมีความพยายาม แต่การถามทางนั้นไกลก็กลายเป็นใกล้ได้ การไม่ถามใกล้ก็กลายเป็นไกลได้ การถามใกล้ก็กลายเป็นไกลได้เช่นกัน ทุกขขัง อนิจจัง อนัตตา

ขอบคุณครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 18 ต.ค.2007, 3:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำตอบ
1. คุณหากระทู้ "หลักการฝึกนั่งสมาธิของข้าพเจ้า" แล้วอ่านหลักการหรือหลักวิชา จนเกิดความเข้าใจ เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจก่อนที่จะฝึกปฏิบัติสมาธิ
2. การฝึกสมาธิ ไม่ว่าจะด้วยการนั่งหรือการนอน หรือด้วยวิธีอื่นใด ย่อมมีอุปสรรคอย่างหนึ่ง คือ สภาพสรีระร่างกาย
คุณจะมีสมาธิหนักแน่น ขนาดไหน ก็ย่อมต้องมีอาการปวดเมื่อย และอื่นๆ หากจัดท่านั่ง หรืออื่นใดไม่ดีพอ

ปัญหาของผม
1.การฝึกสามธิ ผู้ฝึกฝนเป็นประจำ มีระยะเวลาการฝึกโดยเฉลี่ยเท่าไหร่จึงจะสามารถเข้าสมาธิ ได้สม่ำเสมออย่างไม่อยากเย็นนัก(ขอคำตอบโดยเฉลี่ยของจิตบุคลทั่งไป)
คำตอบ,,,,,,,
ฝึกระยะเวลาเท่าไหร่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับฐานะ บทบาทหน้าที่ และเวลาจะอำนวย

2.อาการ หวิวๆ ในระยะกลางที่อธิบายไว้ และ อาการกระตุก จนไม่สามารถเข้าสมาธิได้นั้น จะต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง
(ฐานสมาธิมีหรือไม่เป็นเพราะฐานสมาธิไม่มั่นคงหรือเปล่าท่านั่งหรือว่าร่างกายเกร็งเกินไปหรือไม่แข็งแรงหรือเปล่า) ข้อนี้คือปัญหาหลักของผมในการทำสมาธิ
คำตอบ,,,,,,
คุณยังไม่ได้เข้าถึงสมาธิ ถ้าหากคุณอ่านกระทู้เรือ่ง"หลักการนั่งสมาธิของข้าพเจ้า" คุณก็จะเกิดดความเข้าใจในเรื่องนี้

3.เมื่อเข้าสมาธิได้แล้ว ควรฝึกประคองสมาธิไว้ให้คงที่ก่อน หลายๆครั้ง จนชำนาญ แล้วค่อยเริ่มพิจรณา หรือเปล่า
คำตอบ,,,,,อ่านกระทู้เรื่อง"หลักการฝึกนั่งสมาธิของข้าพเจ้า"

4.จิตของบุคลธรรมดา ควรอยู่ในสมาธิ อย่างน้อยเท่าไหร่ และ อย่างมาก เท่าไหร่
คำตอบ,,,,,,
ไม่มีมาตรฐานกำหนดไว้ ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลนั้นๆ

5.ถ้าจิตอยู่ในสมาธิได้จริงจะต้องไม่เมื่อยเมื่อเลิกสมาธิใช่หรือไม่
คำตอบ,,,, ไม่จริงถ้าคุณนั่งกดทับเส้นหรือนั่งไม่ถูกท่า ก็จะมีอาการปวด แต่อาการที่เกิดขึ้น จะทำให้เราละสมาธิจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง แต่อย่าละแบบสับสน เพราะถ้าละแบบสับสน เขาไม่เรียก สมาธิ

6.วันไหนเข้าสมาธิได้จะรู้สึกร่างกายเบาสบาย สัมผัสระหว่างพนมมือไหว้พระเปลี่ยนไปคือรู้สึกนุ่มละเอียดขึ้น แต่ บริเวณศีรษะจะมึนๆหัวแบบแปลกๆใช่หรือไม่ และ สายตาจะดีขึ้น หูดีขึ้นเล็กน้อยหรือเปล่า หรือผมรู้สึกไปเอง และ ว่างๆเบาๆมากอยู่ซัก 10-20 นาที นอกนั้นก็มีความอิ่มใจเล็กๆ หรือเปล่าครับ
คำตอบ,,,,,,,,
อ่านเรื่อง"หลักการฝีกนั่งสมาธิของข้าพเจ้า"แล้วคิดพิจารณาดูให้ดี ถ้าคุณคิดแบบนั้น เตรียมตัวไปพบจิตแพทย์ได้เลย

7.อยากทราบเทคนิค และ วิธีแบบลัด แบบ Tip หรือ Shot Cut จากผู้มีประสบกราณ์ โดยมุ่งหวังทางธรรม เพราะ ขณะนี้ 35 ปี แล้วยังไม่ถึงไหนเลย
คำตอบ,,,,,,
อ่านเรื่อง "หลักการนั่งสมาธิของข้าพเจ้า ก็จะรู้ว่า สิ่งที่คุณทำอยู่ก็คือทางธรรมะ

8.ท่านผู้ใดที่ลงทำภาคปฏิบัติแล้ว ช้วยเล่าประสบกราณ์ ในการเพียรพยายาม ในแต่ล่ะช่วงเวลาความเป็นไปของผลลัพธ์ในแต่ล่ะช่วงของการฝึกปฏิบัติเพื่อเป็นธรรมทานด้วยเถิด สาธุ.....
ขออภัยที่ต้องตั้งคำถามแบบตรงๆ อาจดูจะขัดต่อการมีความพยายาม แต่การถามทางนั้นไกลก็กลายเป็นใกล้ได้ การไม่ถามใกล้ก็กลายเป็นไกลได้ การถามใกล้ก็กลายเป็นไกลได้เช่นกัน ทุกขขัง อนิจจัง อนัตตา
ขอบคุณครับ
คำตอบ,,,,,,
คุณทำถูกแล้ว ไม่รู้ก็ถาม ได้คำตอบแล้ว ก็ต้องคิดพิจารณา
คิดพิจารณาแล้ว ก็ต้องให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
เมื่อเข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว ก็ปฏิบัติ
และที่สุด อย่าสนใจในเรื่อง " ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา"
เพราะมันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เชื่อหรือไม่เชื่อก็ตามแต่ เตือนแล้วนะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 ต.ค.2007, 6:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(คุณเพชร พิจารณความรู้สึกจากการฝึกจิตของคนๆหนึ่งดูก่อน นี้ของจริง) ดังนี้=>

-ผมอยู่ที่ญี่ปุ่น ก่อนหน้านี้ไม่เคยปฏิบัติธรรมจริงๆจังๆเลย จนกระทั่งไม่นานมานี้ วาสนาพาให้ได้พบกับพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่งที่ญี่ปุ่นนี่ ทราบว่าท่านน่าจะมาโปรดสัตว์
ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ ท่านก็ไม่ตอบอะไร ยื่นหนังสือของท่านให้สามเล่ม เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางในอานาปานสติสูตร

-หลังจากได้หนังสือสามเล่มนั้นมาแล้ว ผมก็อ่านแค่เล่มแรกก่อน ใจความในเล่มแรกคือ ให้กำหนดรู้ลมหายใจให้ตลอด ในชีวิตประจำวัน จะทำกิจกรรมอะไรก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจไปด้วย ยกเว้นเวลาขับรถ หรือเวลาอ่านหนังสือ แต่ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่าเราทำอะไรอยู่ ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่าลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้

หลังจากนั้นผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน เวลาเดิน ก็รู้สึกดีครับ รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ
หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ
(ก่อนหน้านี้ตอนเด็กๆ เวลาคุณครู ที่รร.สั่งให้นั่งสมาธิในห้องเรียน ให้พยายามตามดูลมหายใจ
จะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ น่าปวดหัวมาก แต่คาดว่าคงเป็นเพราะจากที่ได้ฝึกในชีวิตประจำวัน ทำให้ตั้งแต่นั่งครั้งนี้ก็ไม่รู้สึกเช่นนั้นอีก)

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่า
ผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นสมถะแบบอัปปมัญญา ๔
(ที่ผมเปลี่ยนเป็นวิธีนี้เพราะก่อนหน้านี้เคยอ่านหนังสือเรื่องสมถะ ๔o วิธีแล้วรู้สึกว่าเราน่าจะเหมาะกับวิธีนี้ คือเกิดความรู้สึกนี้ขึ้นเอง)

แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า
จากนั้นก็เบื้องหลัง จากนั้นก็เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย แล้วก็เบื้องขวา

พอครบทุกทิศแล้ว ก็กำหนดแผ่ไปในทุกทิศพร้อมกันไม่มีประมาณ กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น
จากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว กายขยายไปทุกทิศจนรู้สึกว่ากายหายไป คือไม่มีกาย เวลานี้รู้สึกว่าความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปีติ มีแต่ความสุขไปหมด

จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก (ส่วนใหญ่) มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คน (ส่วนใหญ่) ในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้นผมก็สังเกตลมหายใจก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปีติ คือปีติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้นเลยนะครับ แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้พร้อมอยู่ จากนั้นผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ"

จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง
(คาดว่าน่าจะดูบอล) ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

แต่หลังจากนั้นมาผมก็ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะดังกล่าวได้อีกเลย คือทำได้มากสุดก็แค่ทำปีติ
ให้เกิดขึ้นแวบหนึ่งเท่านั้น
(แต่ก็สามารถทำให้เกิดได้ตลอดเวลา ตามที่ต้องการทันที) แต่ไม่สามารถทำให้เกิดค้างไว้ จนรู้สึกเหมือนจุ่มลงในปีติ แล้วมีลมหายใจละเอียดแบบครั้งแรกได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 ต.ค.2007, 7:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การฝึกจิตให้เชื่องนั้นต้องค่อยๆฝึก จะเร่งร้อนเร่งรีบไม่ได้ ยิ่งเร่งยิ่งช้า
นึกถึงการฝึกสัตว์พาหนะไว้มั่ง เจ้าของขาดความอดทนฝึกมันก็ล้มเหลว ยิ่งหงุดหงิดใส่ ก็พาเราออกนอกนานอกที่ฝึก
สัตว์บางตัวใช้เวลาฝึกหลายๆเดือน บางตัวเป็นปี

เรื่องอายุไม่เกี่ยวว่าต้องอายุเท่านั้นเท่านี้จะต้องฝึกให้ได้ขั้นนั้นขั้นนี้
คนส่วนใหญ่ฟุ้งซ่านจนวันตาย
คุณโชคดีแล้วที่สนใจฝึกจิต ใจเย็นๆ ไม่ต้องเร่ง ค่อยๆทำไป เพิ่งทำได้ 30 ชั่วโมงเองนะครับ

ถามหน่อยคุณมีเจตนาอย่างไร ตั้งเป้าในการทำอย่างนี้ไว้ที่ไหน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 ต.ค.2007, 8:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(คุณเพชร ดูตัวอย่างอีกสองตัวอย่างต่อไปอีก นำมาเป็นอุทาหรณ์เพื่อให้รู้ว่าฝึกจิตแล้วมีความรู้สึกอย่างไร มีอุปสรรคอย่างไร แล้วทำไมเป็นอย่างนั้น ลองดูรายนี้เป็นตัวอย่างก่อน) ดังนี้ =>

-นั่งสมาธิมาหลายปีเวลาจิตรวมนิ่งสงบอยู่ก็มี
บางครั้งจิตออกข้างนอกแล้วไปดูกาย เห็นกายแสดงการตายเน่าเฟะให้เห็นก็มี
บางครั้งนั่งจะเห็นจิตมันวิ่งเข้าวิ่งออกในกายนี้
บางครั้งยังไม่ทันนั่งมองไปข้างผนังห้อง
จิตนิ่งสบายจิตรวมวูบมองผนังทะลุเป็นวงกลม
มองไปเห็นโลกอีกฝั่ง
เห็นฝรั่งนิโกรจีน
เสียงก็ได้ยิน
บางครั้งจิตจะรวมวูบพุ่งขึ้นข้างบน ตัวผู้รู้จะผละออกจากจิตเกิดเป็นดวงสว่างไสวลอยเด่นอยู่
จิตจะนุ่มนวลมีความสุขเกิดขึ้นจนเหลือคณา
จิตเกิดขึ้นอย่างนี้มาหลายครั้งแล้ว
ขอท่านผู้รู้ชี้ทางว่าควรจะเดินจิตต่อไปอย่างไร
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 ต.ค.2007, 8:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(อีกตัวอย่างหนึ่ง) =>

ปัจจุบันปฏิบัติในแนวดูจิตค่ะ
มีเรื่องแปลก 2 ครั้งที่เกิดขณะหลับค่ะ
1.กำลังฝัน บอกกับตัวเองว่าอยากตื่นแล้ว รู้สึกเหมือนถูกดูด2-3ครั้ง
แล้วก็ลืมตาตื่นได้ทันที

2.เกิดขึ้นเมื่อคืนค่ะ ตื่นมาเข้าห้องน้ำ แล้วก็นอนหลับตาเล่น
ครั้งสุดท้ายไม่แน่ใจว่าหลับไปอีกหรือไม่ แต่รู้สึกมีอาการเหมือนจิตพุ่งขึ้นไปทางศีรษะอย่างเร็ว ตัวกายยังอยู่บนเตียงรู้สึกตกใจ
ลองหายใจลึก1 ครั้ง
ความรู้สึกพุ่งช้าลงแป็บเดียว แล้วก็พุ่งไปอีกเหมือนจรวด
ตอนนี้รู้สึกกลัว หายใจยาวๆอีกครั้งและคิดถึงหลวงพ่อปราโมทย์ให้ช่วย และนึกได้ว่า
ท่านเคยสอนว่า ถ้ามีอะไรแปลกๆเกิดขึ้น ให้กลับมาดูที่จิต
ตอนนั้นยังคงพุ่งอยู่ จิตมีความกลัวแต่ไม่ขาดสติ
บอกตัวเองให้ลองขยับขา และงอเข่า พร้อมหายใจลึกๆ
สักพักความรู้สึกพุ่งก็ช้าและหยุดลง
ลืมตาตื่นขึ้นมา นอนอยู่ในท่าหงาย ขาเหยียดตรงมือวางอยู่บนหน้าอก
ตาค้างเลยค่ะ ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
ขอเรียนถามท่านผู้รู้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคืออะไร และถ้าเกิดอีกครั้งควรทำอย่างไรคะ
อาจเป็นเพียง "อาการของจิต" ที่เกิดขึ้นขณะที่สติเกิดขณะหลับ?
เช้านี้ฟุ้งซ่านจัง เพราะคิดถึงแต่เรื่องเมื่อคืน
ขอความเมตตาช่วยชี้แนะด้วยค่ะ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เพชร
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 12 ต.ค. 2007
ตอบ: 2
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 19 ต.ค.2007, 12:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณท่านทั้งหลายที่เสียสละเวลาในการตอบปัญหาของผม และ คุณ กรัชกาย ที่มาร่วมแชร์ เป็นอย่างมาก

ตอบที่ คุณ กรัชกาย ว่าผมมีเจตนาอย่างไร ตั้งเป้าในการทำอย่างนี้ไว้ที่ไหน
เรื่องมีอยู่ว่า 12 ปี หลังจากที่เรียนจบปริญาตรีผมก็ใช้ ปัญญา ทั้งหมดที่มีอยู่ต่อสู้กับโลกภายนอก ได้พบประเจอผู้คนมากมาย ทั้งดี และ เลว ประปนกันไปอย่างไม่มีทางเลือกเพื่อเงิน ผมใช้แต่ปัญญาทุกวิถีทางเพื่อจะเอาชนะโลกนอกกายอย่างเต็มกำลัง จนผมประสบความสำเร็จก้าวหน้าด้านการเงินในระดับพอสมควร แต่ผมก็ไม่เคยจะหยุดหรือพอใจ ผมนำเงินที่มีอยู่ลงทุนต่อไปทั้งในตลาดหุ้น และ การเกร็งกำไรหลายๆด้าน ซึ่งผมไม่เคยพอใจแม้นจะได้กำไรมากกว่าขาดทุน ความต้องการเอาชนะโลกภายนอกของผมมากขึ้น ตามสังคมเมือง และ ผมก็เป็นหนึ่งในประเภทวัตถุนิยม แต่มันก็ไม่ทำให้ผมอิ่มซักที กลับ มีความต้องการมากขึ้นไปเลย
ผมเริ่มรู้สึกเหนื่อย และย้อนคิดไปเมื่อ 12 ปีที่แล้วผมก็ไม่มีอะไรเลย ตอนนั้นผมดูมีความสุขมากกว่าปัจจุบัน ผมจึงเริ่มหันมามองตัวเอง และ โลกภายนอกอีกครั้ง ว่าผมกำลังทำอะไร เพื่อ อะไร เพื่อ จะเอาชนะ แข่งขันกันในสังคมวัตถุนิยม ผมกำลังเหมือน "กบอยู่ในกะลา" ผมไม่มีทางชนะกิเลสของโลกได้เลย ดังนั้นผมควรหันกับมามองที่กายใน และ กายนอกของผมเอง ผมมีโอกาสจะชนะโลกรอบๆตัวของผมได้ นั้นก็คือ การชนะใจตัวเองได้ ผมก็คงไม่พ้ายแพ้ ต่อกริยาของโลกภายนอกที่กำลังเล่นกลกับผมตลอดเวลา
เมื่อผมคิดได้ดังนี้ ประสงค์ของการทำสมาธิของผมเพื่อต้องการฝึกจิตใจของตัวเอง เพราะก่อนหน้านี้เมื่อ 15 ปีก่อนผมเคยนั่งสมาธิภาวนาเป็นประจำ และในช่วงนั้นผมทำสมาธิได้จนกายเบาและสว่างรอบตัวทั้งด้านหน้าและด้านหลังมองเห็นตัวเองรอบๆตัว แต่ไม่เคยมีนิมิตใดๆ แต่ เมื่อเริ่มทำงานประจำ และ ออกพบโลกภายนอกก็ละเลยไปอย่างน่าเสียดายและสิ่งที่ตามมาคือ จิตใจไร้การควบคุมด้วย ธรรม และ สติ ทำให้ชีวิตผมได้พบทั้งด้านดีสุดๆ และ ไม่เคยเตรียมใจไว้เจอกับด้านร้ายๆ เมื่อคิดได้ดังนั้นผมระลึกกับไป ว่าเมื่อก่อนผมเคยปฏิบัติตน ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ผมก็เลยเริ่มลงมือปฏิบัติ ซึ่งผมก็ยังไม่เคยทำได้เหมือนเมื่อก่อนอีกเลย
ซึ่งตอนนี้ ปัญหาข้อ 2. ของผมเองที่ได้ถามไปนั้น ผมได้แก้ไขได้แล้ว เช่น อาการ สั่น ของร่างกายเมื่อร่างกายรู้สึกเบา คือ ขณะผมนั่งสมาธิ ถ้ารู้สึกเบาและมีอาการ ขาสั่นกระตุก ตามที่ถาม ผมจะนั่งจับหัวเขาทั้งสองข้างในช่วงแรกๆพร้อม การกำหนดลมหายใจเข้าออกสักครูหนึ่ง และ ดึงมือกลับมาขวาทับซ้ายตามเดิม อาการนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกเลย จนตลอดการทำสมาธิ ซึ่งถ้าใครเป็นก็น่าจะใช้ได้เหมือนกันอาจจะเป็นการปรับสมดุลย์ของร่างกายในการถ่ายเทน้ำหนักซึ่งผมแก้ได้แล้ว
และ ช่วงระหว่างการทำสมาธิ ผมเริ่มเห็นการพัฒนาของจิตตามลำดับ คือ ความคิดสงบเร็วขึ้น ร่างกายนิ่งง่ายขึ้น สมาธิเกิดง่ายขึ้น ช่วง 1-3 วันนี้ ผมรู้สึกพัฒนาไปด้วยดี คือ ระหว่างทำสมาธิ จิตสงบ กายเบานิ่ง เหมือนไม่มีร่างกาย ไม่สว่าง แต่เหมือนอยู่ในที่โล่งๆสบายๆ และดำรงค์ อยู่อย่างนั้นสงบนิ่งได้นานขึ้นมากๆ และ ไม่เห็นหรือมีนิมิตใดๆเลยซึ่งผมว่าน่าจะเป็นเรื่องที่ดี สำหรับช่วงแรกๆ และ คิดว่าจะพัฒนาขึ้นไปเลยๆ และในชีวิตประจำวันก็ สบายๆนิ่งๆ มากกว่าแต่ก่อนไม่วูบวาบไปตามอารมณ์ และ รู้ทันความคิดตัวเองเร็วขึ้นมากๆ ก็เลือกเอาแต่ด้านดีๆมาคิดมาทำไม่ค่อยใจลอยฟุ่งซ่านวาดฝัน คือ พอกำหนดสติได้ ก็จะอยู่กับความเป็นจริงเอาไว้ก่อน ส่วน pland ต่างๆ ก็ไม่ได้ทอดทิ้งคือ ก้าวไปอย่างมีสติเสมอๆ
ที่ คุณ กรัชกาย บอกว่า จิตพุ่งขึ้นไปทางศีรษะอย่างเร็ว แล้วตกใจ นั้นผมก็เคยเป็นเหมือนกันครับ แต่เป็นขณะนั่งสมาธิ หรือ ก่อนนอนแล้วทำการกำหนดลมหายใจพร้อมๆกับหลับไป เป็นทั้ง จมลง และ พุ่งขึ้น หรือ ไปซ้ายไปขวาเฉพาะอาการที่ผมเป็นผมสังเกตุดูน่ะครับ คือ ขณะที่ผมเริ่มทำสมาธินั้น ถ้าผมกำหนดสติ หรือ จิต ให้นิ่งลงอย่างรวดเร็ว(โดยตั้งใจ)จะเกิดลักษณะที่เรียกว่า จิตวูบ อาจจะรู้สึกเหมือนกำลังดิ่งลงอย่างเร็ว หรือ พึ่งขึ้นอย่างเร็วเมื่อหายใจเข้า หรือ กำลังจะหมุนซ้าย หรือหมุนขวาซะงั้น ผมแก้ไขโดยการค่อยๆสงบลงตามอารมณ์(เป็นธรรมชาติ)ผมจะลดอาการวูบวาบลงไปได้เกือบทั้งหมด เป็นบางวันที่เรารู้สึกสบายว่างจิตจะรวมเร็วถ้าผมยิ่งตั้งใจมากก็วูบๆวาบๆกลายเป็นไม่ดีไป อันนี้ที่ผมเจอนะครับ คงต้องค่อยๆแบบมีสติอะไรประมาณนั้นน่ะครับ
อย่างไรก็คงมีผู้รู้มาตอบให้นะครับ แต่ผมว่าอย่าไปกังวลเป็นดีที่สุด เพราะมันเป็นได้มันก็หายได้ครับเรามาทางธรรมะ คงไม่มีอะไรที่เราต้องกลัวอยู่แล้วครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ต.ค.2007, 5:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-คุณเพชรเห็นทุกข์จากการดิ้นรนของจิตด้วยตนเอง จึงเริ่มฝึกจิตให้ซื่อตรง
ให้เป็นสุขเสพสุขได้ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่แสวงความสุขภายนอกเพียงด้านเดียว
ฉะนั้นฐานความคิดจึงมั่นคงกว่า คนฝึกด้วยสาเหตุอื่น เช่นมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ชราภาพ หรือเป็นโรครักแสลงจึงฝึก ฐานเช่นนี้ไม่ค่อยมั่นในการฝึกนัก ฝึกยาก พอยากก็ถอย
หรือปฏิบัติพอทุกข์ซาๆก็เหิรห่างการฝึกอีก

คุณเพชรกับคนตัวอย่างห้อง 3 ความคิดใกล้เคียงกัน เช่นว่า => (ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์...) ไม่ใช่เกิดจากความกดดันจากปัจจัยภายนอกจึงหันมาปฏิบัติกรรมฐาน ตนพร้อมที่จะฝึกเอง
ผลการกำหนดอารมณ์จึงมีอิทธิบาทเป็นต้นเป็นแรงชักนำ=> (ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน) จิตเป็นสมาธิได้ง่าย เพราะฐานความคิดพร้อมอยู่แล้ว

ผลของสมาธิ คือ => ("มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วย หรือความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก (ส่วนใหญ่) มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คน (ส่วนใหญ่) ในโลกกลับไม่รู้"

-เมื่อเทียบความรู้-เข้าใจเกี่ยวกับลมหายใจเข้า-ออกเป็นต้น จากประสบการณ์จริง กับคนอ่านหนังสือแล้วคิดเก็งเอากะนั้นต่างกัน เช่น => (จากนั้นผมก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก)

-ผู้ชำนาญท่านจะมุ่งต่ออารมณ์กรรมฐานตรงหน้า คือประคองจิตให้ดำเนินแน่วตามลมไป อุปมาเหมือนคนเดินไต่ลวดที่ขึงไว้ ไม่วอกแวก วอกแวกก็พลาดหล่น
ผู้นี้เกิดการยินดีต่อสภาวะนั้น จึงพลาดจากกรรมฐาน เช่น=> (ผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิเริ่มปั่นป่วน เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น)

ท่านว่าจะต้องฝึกเข้าฝึกเข้า-ออกจนชำนาญ พูดง่ายๆว่าสั่งได้ โดยเพ่งอารมณ์นั้นให้ลึกลงดิ่งลงโดยเกาะกรรมฐาน คือลมหายใจนั้นไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ต.ค.2007, 6:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ตอบให้แต่ละข้อดังนี้

1. ข้อนี้ตอบยากครับ คุณเพชรยกประเด็นคำถามนี้เทียบเคียงกับการฝึกเล่นกีฬาอย่างใดอย่างหนึ่งของนักกีฬาแต่ละคนๆ ดูว่าในแต่ละคนนั้นจะใช้เวลาฝึกเท่าไหร่จึงเกิดความชำนาญ และเล่นได้คล่อง

2. สภาวะต่างๆเป็นธรรมดา รู้แล้วปล่อย ไม่ต้องแก้อะไร รู้แล้ววาง ก็จะคืนสภาพปกติเอง กำหนดลมหายใจต่อไป ประคองให้จิตเกาะลมหายใจไปเรื่อยๆ
อาการกระตุก เพราะสมาธิยังข่มธรรมที่เป็นข้าศึกยังไม่เบ็ดเสร็จ จึงยังเดินไม่เรียบ จึงส่งผลออกมาทางกายในขณะนั้นๆด้วย เหมือนเครื่องยนต์เดินไม่สะดวกจะสะดุดๆยังไงยังงั้น เพราะสมาธิมีลักษณะบีบรัดกล้ามเนื้อ

3. เมื่อฝึกจนชำนาญแล้ว แค่กำหนดลมหายใจ จิตก็สงบทันที ก็ประคองให้อยู่กับลมนั้นเรื่อยไป โดยเพิ่มเวลาขึ้นอีกทีละน้อยๆ เหมือนต่อถนนต่อสะพานออกไปอีกฉะนั้น

4. อยู่ได้มากได้น้อยอยู่ที่การฝึกของคนๆนั้นเอง บางคนอยู่เป็นวันๆ หรือมากกว่านั้นก็มี

5.ขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกายส่วนหนึ่งด้วย ทั้งร่างกายและจิตใจต้องพร้อมไปด้วยกัน ฝึกสมาธิด้วยการจงกรมก็สำคัญ แม้คุณจะเน้นสมาธิก็ตาม ใช้อิริยาบถต่างๆฝึกได้ ไม่พึงมองข้ามเดินจงกรม

6 . ไม่รู้สึกไปเองหรอกครับ มันเป็นเช่นนั้นแหละ

7. ทางลัดไม่มีครับ มีแต่ฝึกจนชำนาญแคล่วคล่อง (วสี)

8. ไม่เล่าหรอกครับ แต่จะบอกว่า ต้องฝึกบ่อยๆ แล้วเปรียบเทียบความรู้สึกตนเองว่าก่อนทำ กับหลังทำเป็นอย่างไร สติสัมปชัญญะดีขึ้นไหม (รู้สึกตัวเร็วขึ้นว่ากำลังทำอะไรอยู่ คือรู้ตัวชัดแม้ยามใช้ชีวิตประจำวัน) ตัดอารมณ์ความรู้สึกที่เป็นโทษที่มากระทบทางอายตนะได้เร็วขึ้นไหม เทียบความรู้สึกการปฏิบัติเมื่อวานกับวันนี้เป็นอย่างไร ชั่วโมงที่แล้วกับชั่วโมงนี้เป็นอย่างไร หนักแน่นกว่าแต่ก่อนไหม สงบเย็นกว่าก่อนไหม...สังเกตจิตใจตนเองดู

-โดยภาพรวมพึงระลึกไว้ด้วยว่าสรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงเสมอ คือ ตกอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์ทั้งหมดทั้งสิ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mahapilot
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 24 ก.ย. 2007
ตอบ: 8
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 21 ต.ค.2007, 10:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ เรื่องของการฝึก ที่คุณว่า มาแล้ว บอกว่า เกิด ปัญหา น่ะนะ
ต้องถามก่อน คุณฝึก อะไร
คุณ ฝึกสติ ใช่ป่ะ
**** สติ ต่อเนื่อง มานจะเป็นสมาธิ ******
อันนี้เน้นนะ การจด จ่อ ของลมหายใจ ที่ตำแหน่งเดียว ก็ ตือ สติ เกิดการจดจ่อ ในระยะเวลา ต่อเนื่องมานก็ คือสมาธิ

และคุณ ฝึก สมาธิไปเพื่ออะไร เพื่อ คลายทุกข์ ใช่ หรือไม่

การคลายทุกข์ ตอนนั่ง จะไม่มีประโยชน์ เลยถ้าเอาไปใช้ในชีวิต ประจำวันไม่ได้
( พูดในฐานะ ฆารวาส...ผู้ครองเรือน นะ ไม่ได้ ยก มาจากคำภีร์)
เพราะ ตอนนั่งนะ มานปกติ อยู่แล้วหละ ที่มันจะสงบ แต่ ตอนถอนออกมาแล้วไป เจอ เรื่องราว ในโลก ที่ทำงาน คุณ ทนได้ แค่ไหน

สำคัญ อยู่ที่ว่า ไอ้ที่คุณฝึกฝน ตอนนั่งนะ เอามาใช้ประโยชน์ อะไรได้บ้างในชีวิตประจำวัน

คุณ จะนั่ง น้อย นั่งมาก มีศีล หรืออะไร ก็ตาม มันสำคัญ ที่ตัวคุณ
สังเกตุ ใจ คุณ และ ความคิดคุณ การฝึก สติ มีหลักเกณฑ์ ที่แน่นอน แต่ หัวข้อย่อย มันขึ้นอยู่กับนิสัยแต่ละคน แต่ที่สำคัญ คือ สติ ที่ฝึกแล้วนั้นเอาไปใช้อะไรได้บ้าง

คุณ เคยฟังเพลงรักแล้ว มัน อินหรือเปล่าหละ
ทุกอย่าง มานก็ คือ อารมณ์ ผล ของ ความคิด ต่อ อารมณ์ และ ผลของอารมณ์ต่อ ความคิด
ไม่อธิบายยุ่งยาก โดยยก บาลีหรอกนะ ไม่ต้องแปลไทยเป็นไทย

ลอง ทำเล่นๆ ดู จาก ที่อ่านข้อความคุณ คุณน่า จะใช้ ฐาน สติ ที่รูจมูก
ลองหายใจเข้าออก ยาวๆ ซัก แค่3 ครั้ง เป็นการเรียกสติ แล้วปล่อย
ปล่อย ไม่ต้องไปกำหนด ลองดูซิ ในหน้า อก คุณ รู้สึก อะไร และในหัวคุณ มี เสียงอะไร ดังอยู่

เฝ้าดู มันเกิดและดับไป คุณทำได้ไหมล่ะ

ลองทำดูนะ จิต ไม่ได้เกิดขึ้น แค่ดวงเดียว สติ ทำหน้าที่เฝ้าดู ปัญญา มานจะโผล่ ต้องดู และ พิจารณา ค่อยๆ พิจาณา เหมือน มองดู อะไรซักอย่างที่อยู่ในตัวเรา

ทุกข์ มานก็ ตัวเรา ไอ้ที่โผล่ ขึ้น ในหัว ในหน้าอก เราอาจ บังคับ มันได้บ้างไม่ได้บ้าง
แต่ สำคัญสติ ที่ฝึก มา รู้ว่า มานเกิด ขึ้น และ มันก็ จะดับไป และเกิดใหม่ วนเวียนอยู่เช่นนี้

พูดมากไป คงไม่ดี ลองทำ แบบนี้ดูละกัน อาจเจอ ไรดีๆ ก็ได้ สาธุ
 

_________________
ไม่มีใครใหญ่เกินกรรม
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
z
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ต.ค. 2007
ตอบ: 46
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 26 ต.ค.2007, 12:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

...สมาธิ เป็นฐาน เป็นกำลัง สูงสุดคือจิตสงบ ระงับกายสังขาร ขึ้น-ลง ตามสภาวะร่างกาย....

....ความก้าวหน้า ควรเป็นความก้าวหน้า ในการใช้กำลังของสมาธิเพื่อตัดกิเลส ตามกำลังแห่งปัญญาใจ....

....ศีล.ดี....สมาธิ.ตั้งมั่น......ปัญญา.แจ่มใส.ใช้ตัดกิเลส......
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
jinny95
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 07 พ.ย. 2007
ตอบ: 6
ที่อยู่ (จังหวัด): Ayutthaya

ตอบตอบเมื่อ: 07 พ.ย.2007, 6:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทำต่อไปคับ
 

_________________
สิ่งที่คุณหา มันก็อยู่ที่คุณนั่นแหล่ะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
วิชชา
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 พ.ย. 2007
ตอบ: 31
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 07 พ.ย.2007, 9:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัญญาเท่านั้นที่ดับกิเลสได้ การนั่งสมาธิโดยที่ปัญญาไม่ได้เจริญขึ้นเลย ย่อมดับกิเลสไม่ได้

ถ้าไม่ได้อบรมเจริญปัญญา โลภะที่สะสมมาก็จะติดตามไป และย่อมจะหนาแน่น

มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด คือปัญญาที่รู้สภาพธรรมตามความ

เป็นจริง นอกจากปัญญาแล้ว ไม่มีธรรมะใดที่จะมาดับกิเลสได้เลย ต้องเห็น

ประโยชน์สูงสุดของปัญญา ซึ่งเกิดจากการฟังพระธรรมแล้วเข้าใจสภาพธรรมมาก

ขึ้นโดยไม่หวังว่าจะรู้แจ้งอริยสัจธรรมเมื่อไร

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=5101

สมาธิเป็นสภาพธรรม ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไฉน เราจึงเป็นอัตตาไปนั่งทำสมาธิผิดๆ เล่า

สมาธิเป็นสภาพธรรมที่ตั้งมั่นในอารมณ์ ซึ่งได้แก่ เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง เมื่อจิต

ฝักใฝ่มีอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานๆ ลักษณะของเอกัคคตาเจตสิกก็ปรากฏเป็นสมาธิ คือ ตั้งมั่น

แน่วแน่อยู่ที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเพียงอารมณ์เดียว เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตเป็น...

มิจฉาสมาธิ เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิตจึงเป็นสัมมาสมาธิ

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=1466
 

_________________
ไม่มี
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMYahoo MessengerMSN Messenger
ประเด็จ
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 30 ส.ค. 2007
ตอบ: 12
ที่อยู่ (จังหวัด): เพชรบูรณ์

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2007, 8:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมกำหนด พองหนอ- ยุบหนอ ได้สติดีมากผมนั่ง 5 นาทีก็นิ่งกำหนดลมที่ท้องน้อยหายใจเข้าท้องพองหายใจออกท้องยุบหากหาจุดพองยุบไม่ได้ให้นอนเอามือวางที่ท้องแล้วหายใจตามปกติก็จะเจอส่วนอาการเจ็บปวดเป็นของธรรมดาให้เพ่งจุดที่ปวดแล้วกำหนดปวดหนอปวดมากๆ จนถึงกระดูกก็มีให้กำหนดไปเรื่อยๆ โดยที่เรากำหนดเวลาไว้สลับกับการเดินจงกลมทำครั้งละ15 นาที ถ้าคิดโน่นคิดนี่ก็กำหนดให้ทันความคิดว่าตอนนี้เราคิดหนอ 3 ครั้งเอาสติเพ่งลงไปที่ลิ้นปี่ ผมทำเรื่อยๆ ได้ 3 ปีแล้วครับตอนนี้ผมอายุ 21สนใจมากเลยเพราะได้อะไรมากมาย คุยแลกเปลี่ยนได้ทางเมลล์ nang-pradet@hotmail.com ครับ ยินดีแต่ไม่เก่ถึงกับเป็นที่ปรึกษาได้แต่แนะนำได้จ๊ะ
 

_________________
ง่ายอยู่ที่ปาก ยากอยู่ที่ทำ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messengerหมายเลข ICQ
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 02 เม.ย.2008, 10:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี
ท่านสอนให้กำหนดทุกอย่างครับ ยุบ พอง ถ้ามีเวทนาก็กำหนดเวทนาจนหายครับแล้วค่อยกลับมาที่ยุบพอง

สรุปก็คือ กำหนดทุกอย่าง ทุกอิริยาบท ทุกขณะจิต ถ้าทำได้ครับ
แรกๆจะคิดว่ายาก แต่ว่าที่จริงแล้วไม่ยากเลยครับ

ลองทำดู
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง