|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
mit
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 10 ก.ย. 2007
ตอบ: 14
ที่อยู่ (จังหวัด): บุรีรัมย์
|
ตอบเมื่อ:
12 ก.ย. 2007, 7:32 pm |
  |
วัดป่าศิริสมบูรณ์ มีท่านพระใบฎีกาวิศวาธานเป็นประธานสงฆ์ ได้ทำการก่อสร้างวิหารขึ้นหลังหนึ่ง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ศิลาทรายแดง และเป็นห้องสมุดเก็บพระไตรปิฎกขึ้น เป็นอาคาน 2 ชั้น
ชั้นล่างเป็นห้องกรรมฐาน สำหรับการฝึกกรรมฐานแก่ญาติโยมและพระภิกษุสงฆ์ ทางวัดเป็นวัดสายวิปัสสนาธุระ มีการปฏิบัติธรรมอยู่เนืองนิดตลอดทั้งปี
และมีการจัดกิจจะกรรมการเข้าค่ายอบรมกรรมฐานให้แก่ญาติโยมทั่วไป เป็นครั้งคลาว ในแต่ละครั้งจะมีผู้มาร่วมงานประมาณ 250 คน ท่านหลวงพอเจ้าอาวาสวัดจึงได้ริเลิ่มการก่อสร้างอาคานดังกล่าวมานั้นขึ้น แต่ยังขาดทุนในการก่อสร้างจึงขอแจ้งมายังท่านสาธุชนที่อยากร่วมเป็นเจ้าภาพ
่ในการสร้างอาคานหลังนี้ ก้บิจาคได้กับทางวัด หรือจะเป็นเจ้าภาพกฐินก็ได้
ติดต่อสอบถามได้ ที่ 081-0719326 หรือดทรไปที่ คุณโยม เมธชนัน อเนชากุล
ท่านหลวงพอพระใบฎีกาวิศวาธาน ปภสฺสโร ท่านเป็นพระในเครือของวัดหนองป่าพง ( สายหลวงปู่ชา สุภทฺโท ) และวัดศิริสมบูรณืก็เป็น วันในสาขาของวัดหนองป่าพง อยู่ ที่บ.ไร่สมบูรณ์
ต.โนนสุวรรณ อ.โนนสุวรรณ จ.บุรีรมย์ 31110 มาดุก่อนได้จะได้ก่อศรัทธาเพิมมากขึ้น |
|
_________________ ทำดีทุกสิ่งที่ทำได้ แต่อย่าหมายว่าเขาจะชมว่าตนดีเสมอ ทำทุกอย่างเพื่อให้ใครๆ เจอ พบเสมอคือท่านพุทโธคุณ |
|
  |
 |
mit
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 10 ก.ย. 2007
ตอบ: 14
ที่อยู่ (จังหวัด): บุรีรัมย์
|
ตอบเมื่อ:
12 ก.ย. 2007, 7:39 pm |
  |
รุปการปฏิบัติธรรม |
|
_________________ ทำดีทุกสิ่งที่ทำได้ แต่อย่าหมายว่าเขาจะชมว่าตนดีเสมอ ทำทุกอย่างเพื่อให้ใครๆ เจอ พบเสมอคือท่านพุทโธคุณ |
|
  |
 |
mit
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 10 ก.ย. 2007
ตอบ: 14
ที่อยู่ (จังหวัด): บุรีรัมย์
|
ตอบเมื่อ:
12 ก.ย. 2007, 7:50 pm |
  |
วิหารหอไตรที่กำลังก่อสร้าง |
|
_________________ ทำดีทุกสิ่งที่ทำได้ แต่อย่าหมายว่าเขาจะชมว่าตนดีเสมอ ทำทุกอย่างเพื่อให้ใครๆ เจอ พบเสมอคือท่านพุทโธคุณ |
|
  |
 |
mit
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 10 ก.ย. 2007
ตอบ: 14
ที่อยู่ (จังหวัด): บุรีรัมย์
|
ตอบเมื่อ:
17 ก.ย. 2007, 8:28 pm |
  |
ประวัติของธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ (วัดป่าไร่สมบูรณ์)
ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์
เป็นวัดป่าสายปฏิบัติ ซึ่งพระใบฎีกา ปภสฺสโร ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สำหรับประพฤติปฏิบัติ ฝึกฝน อบรมพระภิกษุ-สามเณร ผู้มุ่งสู่ความพ้นทุกข์ ให้เป็นผู้มักน้อย สันโดษ เสียสละ พากเพียรเพื่อมรรคผลนิพพาน และนำพาไปสู่การเป็นสมณะที่งดงาม ด้วยการรักษาวัตรปฏิบัติตามธรรมวินัย อันจะเป็นเหตุให้เกิดความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น ร่วมประคองค้ำชูพระศาสนาให้มีอายุยืนยาว เจริญรุ่งเรือง เพื่อหวังให้ต่อไปจะได้เป็นศูยน์กลางการอบรมสั่งสอน ตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา ให้กับนักปฎิบัติธรรมทั้งพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ที่สนใจทุกคนต่อไป
ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ ตั้งอยู่บ้านไร่สมบูรณ์ หมู่ที่ 10 ตำบลโนนสุวรรณ อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 150 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือ ประมาณ 1,000 เมตร จดที่ดิน-ที่สวนชาวบ้าน ทิศใต้ ประมาณ 1,000 เมตร จดที่ดินสาธารณประโยชน์-ถนนลูกรัง ทิศตะวันออก ประมาณ 400 เมตรจดที่ดินสาธารณะ ทิศตะวันตก ประมาณ 400 เมตร จดที่สวนชาวบ้าน
อาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ กว้าง 16 เมตร ยาว 36 เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ชั้นเดียว โปร่ง หอสวดมนต์ กว้าง 14 เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๔๙ แต่ยังไม่เสร็จ เป็นอาคารตึก ๒ ชั้น กุฏิสงฆ์ จำนวน ๑๑ หลัง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีห้องน้ำประจำกุฏิ โรงครัวสร้างด้วยปูนและอิฐ ห้องน้ำญาติโยมเป็นเรือนแถว จำนวน ๒๐ ห้อง
ปูชนียวัตถุ หลวงพ่อศิลาเขียว เป็นพระพุทธรูปหินทรายสีเขียวหน้าตัก 150 เซนติเมตร ปางชนะมาร ๑ องค์
พลวงพ่อศิลาแดง เป็นพระพุทธรูป หินทรายแดง หน้าตัก 120 เซนติเมตร ปาง คันธารราฏ ๑ องค์
ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศเหนือของหมู่บ้านไร่สมบูรณ์ และ หมู่บ้านน้อยอุบล โดย หลวงพ่อพระใบฎีกาวิศวาธาน ปภสฺสโร เป็นหัวหน้าสำนักสงฆ์และมีพระปฏิบัติธรรม ร่วมจำพรรษาในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า ๑๐ รูป มีทั้งธรรมยุต และมหานิกาย เพราะทางวัดมุ่งในการปฏิบัติธรรมเจริญกรรมฐาน จึงไม่ได้แบ่งแยกนิกาย
ข้อวัตรปฏิบัติอันเป็นกฎระเบียบ ข้อห้าม แบบแผนของ ธุดงค์สถานป่า ศิริสมบูรณ์ และสาขา ของวัดหนองป่าพง ทุกสาขา
ข้อวัตรปฏิบัติพระสงฆ์
การเป็นอยู่ที่ไม่เสื่อม
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันให้มากพอ อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักพร้อมเพรียงกันเข้าประชุมกัน จักพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม จักพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จักไม่สมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ภิกษุ พวกที่เป็นเถระ มีพรรษายุกาล บวชนาน เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ และตนจักต้องเข้าใจตัวว่าต้องเชื่อฟังถ้อยคำของท่านเหล่านั้น อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่ลุอำนาจแก่ตัณหา ซึ่งเป็นตัวเหตุก่อให้เกิดภพใหม่ ที่เกิดขึ้นแล้ว อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักมีใจจดจ่อในเสนาสนะป่า อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักเข้าไปตั้งสติไว้อย่างมั่นเหมาะว่า ทำไฉนหนอ ขอเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ซึ่งมีศีลเป็นที่รัก ยังไม่มาขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสุขเถิด ดังนี้ อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ภิกษุ ท.! ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมเจ็ดประการเหล่านี้ ยังคงดำรงอยู่ได้ในภิกษุทั้งหลาย และพวกเธอก็ยังเห็นพ้องต้องกันในธรรมเจ็ดประการเหล่านี้ อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ข้อกติกาสงฆ์ในสำนัก
1. พระเณรห้ามขอของแต่คนใช่ญาติใช่ปวารณา และห้ามติดต่อกับคฤหัสถ์ และนักบวชอันเป็นวิสภาคกับพุทธศาสนา
2. ห้ามบอกและเรียนติรัจฉานวิชา บอกเลข ทำน้ำมนต์ หมอยา หมอดู ทำและแจกจ่ายวัตถุมงคลต่าง ๆฯ
3. พระผู้มีพรรษาหย่อน 5 ห้ามไม่ให้เที่ยวไปแต่ลำพังตัวเอง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือมีอาจารย์ผู้สมควรติดตามไปด้วย
4. เมื่อจะทำอะไรให้ปรึกษาสงฆ์ หรือ ผู้เป็นประธานในสงฆ์เสียก่อน เมื่อเห็นว่าเป็นธรรม เป็นวินัย และจึงทำอย่าทำตามอำนาจตัวเองฯ
5. ให้ยินดีในเสนาสนะที่สงฆ์จัดให้ และให้ทำความสะอาดเก็บกวาดกุฏิ ถนนเข้าออกให้สะอาด
6. เมื่อกิจของสงฆ์เกิดขึ้นให้พร้อมกันทำ เมื่อเลิกให้พร้อมกันเลิก อย่าทำตนให้เป็นที่รังเกียจของหมู่คณะ คือ เป็นผู้มายาสาไถย หลีกเลี่ยง แก้ตัว
7. เมื่อฉันบิณฑบาต เก็บบาตร ล้างบาตร กวาดวัด ตักน้ำ สรงน้ำ จัดโรงฉัน ย้อมผ้า ฟังเทศน์เหล่านี้ ห้ามมิให้คุยกันพึงตั้งใจทำกิจนั้นจริงๆ
8. เมื่อฉันเสร็จแล้ว ให้พร้อมกันเก็บกวาดโรงฉันให้เรียบร้อยเสียก่อน แล้วจึงกราบพระพร้อมกัน และ นำบริขารของตนกลับกุฏิโดยสงบฯ
9. ให้ทำตนเป็นผู้มักน้อยในการพูด กิน นอน ร่าเริง จงเป็นผู้ตื่นอยู่ด้วยความเพียร และจงช่วยกันพยาบาล ภิกษุ สามเณร อาพาธด้วยความเมตตาฯ
10. ห้ามรับเงินและทอง และห้ามผู้อื่นเก็บไว้เพื่อตน ห้ามซื้อขายแลกเปลี่ยนฯ
11. เมื่อเอกลาภเกิดขึ้นในสงฆ์หมู่นี้ ให้เก็บไว้เป็นกองกลาง เมื่อท่านองค์ใดต้องการ ให้สงฆ์อนุมัติแก่ท่าน องค์นั้น โดยสมควร
12. ห้ามคุยกันเป็นกลุ่มก้อนทั้งกลางวันและกลางคืนในที่ทั่วไป หรือในกุฏิ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นถึงกระนั้นก็อย่าเป็นผู้คลุกคลีและเอิกเกริกเฮฮา ห้ามสูบบุหรี่ กินหมากฯ
13. การรับและส่งจดหมาย เอกสาร หรือวัตถุต่างๆ ภายนอกห้องแจ้งต่อสงฆ์ หรือผู้เป็นประธานสงฆ์รับทราบทุกคราวไป เมื่อสงฆ์หรือผู้เป็นประธานสงฆ์เห็นสมควรแล้ว จึงรับส่งได้ฯ
14. พระเณรที่มุ่งเข้ามาปฏิบัติในสำนักนี้ เบื้องต้นต้องได้รับใบฝากจากอุปัชฌาย์อาจารย์ของตน และย้ายสุทธิมาให้ถูกต้องเสียก่อนจึงจะใช้ได้ฯ
15. พระเณรที่เป็นอาคันตุกะมาพักอาศัย ต้องนำสุทธิแจ้งสงฆ์ หรือผู้เป็นประธานสงฆ์ในคืนแรก และมีกำหนดให้พักได้ไม่เกิน 3 คืน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นฯ
ข้อกติกาสงฆ์เหล่านี้เมื่อผู้ใดฝ่าฝืนสงฆ์มีอำนาจเต็มที่ที่จะบริหาร
ข้อปฏิบัติของแม่ชี ในธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์
1. ห้ามคลุกคลีหรือคุยกันเป็นกลุ่มก้อน ทั้งกลางวันและกลางคืน
2. เวลาฉัน ล้างภาชนะ กวาดกราด สรงน้ำ ให้พร้อมเพรียงกัน ทำด้วยความสงบเรียบร้อยและมีสติ
3. ให้รักษาความสะอาดบริเวณกุฏิ เช่นเก็บกวาด ไล่ปลวก ไล่มด เป็นต้น
4. เป็นผู้มีความสันโดษ มักน้อย ในการกิน การนอน การพูด การร่าเริง เอิกเกริกเฮฮา
5. เมื่อเวลาเอกลาภเกิดขึ้น ให้แบ่งกันบริโภคใช้สอยพอสมควร และเป็นธรรม
6. เมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นให้ช่วยกันรักษาพยาบาลด้วยความเมตตาจริงๆ
7. เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบด้วยเมตตาธรรมในเพื่อนชีด้วยกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
8. ต้องเคารพนับถือซึ่งกันและกันตามวัยวุฒิ
9. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอ อย่าให้เป็นที่รังเกียจของหมู่คณะ
10. ห้ามไม่ให้ชีคนใดคนหนึ่งมีอำนาจปกครองหรือตั้งกติกาใดๆ ด้วยอำนาจตนเอง
11. เมื่อเกิดความขัดข้องประการใดๆ รีบแจ้งให้ประธานสงฆ์ทราบเพื่อที่จะได้แก้ไข
12. เมื่อมาอยู่ในสำนักนี้แล้ว จะไปไหนมาไหนต้องบอกลาประธานสงฆ์ทุกครั้ง
13. กุฏิที่ตนสร้างขึ้น เมื่อจากไปห้ามไม่ให้ถือสิทธิ์ ต้องเป็นหน้าที่ของสงฆ์
14. ห้ามไม่ให้รับแขกที่เป็นเพศชายบนกุฏิของตน เว้นไว้แต่อาพาธเป็นบางครั้ง
15. ห้ามแสดงโฆษณาสิ่งอันไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัย เพื่อเห็นแก่อมิส ซึ่งเป็นมิจฉาชีพ เป็นเหตุนำความเสื่อม เสียมาสู่พระศาสนา
16. ห้ามทำตนเป็นผู้รับใช้คฤหัสถ์ ซึ่งจะเป็นการประทุษร้ายตระกูล
17. มีความเห็นร่วมกัน อย่าวิวาทกับใครๆ เพราะความเห็นผิด
18. ห้ามติดต่อกับภิกษุ สามเณร แม่ชี และคฤหัสถ์ ทั้งในและนอกวัดเว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นที่เป็นธรรม
19. ห้ามสัญจรไปมา เที่ยวเรี่ยไรต่างๆ
20. ห้ามชายที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปพันค้างคืนที่นี่ เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นจริงๆ
21. ผู้ประสงค์จะเข้ามาบวชหรือมาอยู่ในสำนักนี้ ต้องมีผู้ปกครองนำมาฝากเป็นหลักฐาน และมีผู้อุปัฏฐากพอสมควร
ถ้าผู้ใดฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามกติกานี้ สงฆ์มีอำนาจบริหารได้เต็มที่
ข้อปฏิบัติฆราวาส ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์
๑. มั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
๒. มีศีลห้าเป็นพื้น
๓. มีข้อปฏิบัติเป็นศีล๕ หรอศีล ๘
๔. ไม่ทำความสกปรกและช่วยกันรักษาความสะอาด ในที่อยู่ของตนและเขตส่วนรวม
๕. ตั้งใจทำความเพียร
๖. ช่วยเหลือกิจของสงฆ์ตามสมควรแก่กรณี
แดนเคารพ
พุทธศาสนิกชน ทุกเพศ ทุกวัย
เพื่อหายพยศ ลดมานะ ละทิฐิ
- ไม่มีกิจจำเป็น ห้ามเข้าไปคลุกคลีในกุฏิกับภิกษุและสามเณร
- ต้องถอดหมวก ถอดรองเท้าก่อน จึงเข้าไปในวัดด้วยอาการสำรวม
- จงสงบ กาย วาจา ใจ ให้มาก อย่าคะนองปาก มือ และเท้า
- ห้ามเปิดวิทยุ และ การละเล่นต่างๆ ภายในบริเวณวัด
- ห้ามนำสุราเข้ามาดื่ม และนำสัตว์มีชีวิตเข้ามาทำอาหารในบริเวณวัด
- ห้ามเก็บผลไม้ และเข้ามากินในวัด จะเป็นการก่อกวนความสงบ
- ห้ามขับรถเข้าออก เร็วเกินควร เพราะเสียงจะรบกวนผู้กำลังปฏิบัติ
- ต้นไม้ และสัตว์ป่า เป็นสมบัติอันล้ำค่า จงช่วยกันรักษาเพื่อลูกหลาน
วัตร ๑๔
วัตร ๑๔ คือ ระเบียบวิธีการปฏิบัติต่างๆในสังคมความเป็นอยู่ของภิกษุ อันส่งเสริมให้การบำเพ็ญสมณธรรม ดำเนินไปด้วยดีและเรียบร้อย
๑. อาคันตุกวัตร หน้าที่ของอาคันตุกะผู้เข้าไปสู่อาวาสอื่น ต้องมีความเคารพต่อสถานที่และประพฤติตัวให้เหมาะสม เช่น ถอดรองเท้า หุบร่ม ห่มเฉวียงบ่า เดินไปหาภิกษุผู้อยู่ในอาวาส ทำความเคารพท่าน ถามถึงที่พัก ห้องน้ำ ห้องส้วม น้ำใช้น้ำฉัน ทำความสะอาดที่พักอาศัย และประพฤติตนตามกฎกติกาของวัดเป็นต้น
๒. อาวาสิกวัตร หน้าที่ของเจ้าอาวาส(เจ้าถิ่น)ที่จะต้องปฏิบัติต่อพระอาคันตุกะ เช่น หากภิกษุอาคันตุกะพรรษาแก่กว่ามา ให้ปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ลุกไปรับบาตรจีวร ถวายน้ำฉันน้ำใช้ กราบไหว้ บอกเรื่องต่างๆ เช่นห้องน้ำ ห้องส้วม โคจรบิณฑบาต และกติกาสงฆ์...ฯลฯ
๓. คมิกวัตร หน้าที่ของผู้เตรียมจะไปที่อื่น ก่อนออกเดินทางพึงเก็บเครื่องใช้สอยเช่น เตียง เก้าอี้ เสื่อ หมอน ผ้าห่ม เป็นต้นไว้ให้ดี ปิดประตูหน้าต่าง ฝากหรือคืนเสนาสนะให้ภิกษุสามเณร อุบาสก หรือคนของวัด(ให้)ช่วยดูแลแล้วจึงเดินทาง...ฯลฯ
๔. อนุโมทนวัตร ทรงอนุญาตให้อนุโมทนาในที่ฉัน วิธีอนุโมทนา ให้พระภิกษุผู้เป็นเถระอนุโมทนา หากทายกนิมนต์ภิกษุหนุ่มให้อนุโมทนา ต้องบอกหรือขอโอกาสพระเถระก่อน ในขณะที่ภิกษุอื่นอนุโมทนาอยู่ หากมีเหตุจำเป็นเช่นปวดอุจจาระ ถ้าจะลุกไป ต้องลาพระภิกษุผู้นั่งใกล้ก่อน...ฯลฯ
๕. ภัตตัควัตร ธรรมเนียมในโรงฉัน หรือเมื่อไปฉันในบ้าน ต้องนุ่งห่มให้เรียบร้อย เดินไปตามลำดับอาวุโส ไม่เบียดกัน ปฏิบัติตามเสขิยวัตรทุกข้อ ไม่นั่งเบียดพระเถระ ฯลฯ
๖. บิณฑจาริกวัตร ระเบียบประพฤติในเวลาออกบิณฑบาต ให้ปฏิบัติตามเสขิยวัตร เช่น นุ่งห่มให้เรียบร้อย ซ้อนผ้าสังฆาฏิ ห่มคลุมกลัดรังดุม กลอกบาตร ถือบาตรในจีวร กำหนดทางเข้าออก ไม่ยืนใกล้หรือไกลจากผู้ให้นัก อย่ามองหน้าผู้ถวายรูปใดกลับก่อนปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน...ฯลฯ
๗. อรัญญิกวัตร ระเบียบของผู้อยู่ป่า ก่อนออกบิณฑบาตเก็บเครื่องใช้สอยไว้ในกุฏิ ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย จัดหาน้ำใช้น้ำฉันมาเตรียมไว้ เรียนรู้ทิศต่างๆและการเดินทางของดวงดาว เพื่อป้องกันการหลงทาง...ฯลฯ
๘. เสนาสนวัตร วิธีดูแลที่อยู่อาศัย ให้ทำความสะอาดอยู่เสมอ ให้เคลื่อนย้ายบริขารด้วยความระมัดระวังอย่าให้กระทบครูดสีพื้นประตูหน้าต่าง ถ้ากุฏิเก่าให้ซ่อมแซม หากมีลมฝนแรงต้องปิดประตูหน้าต่าง...ฯลฯ
๙. ชันตาฆรวัตร ข้อปฏิบัติในเรือนไฟที่อบกายระงับโรค ทำความสะอาด ตั้งน้ำ ไม่เบียดชิดพระเถระ ไม่กีดกันอาสนะภิกษุหนุ่ม บีบนวดและสรงน้ำแก่พระเถระ...ฯลฯ
๑๐. วัจกุฎีวัตร ระเบียบปฏิบัติในเวลาเข้าส้วม ถ่ายอุจจาระปัสสาวะแล้วต้องทำความสะอาดส้วมให้เรียบร้อย เข้าห้องส้วมตามลำดับที่มาถึงก่อนหลัง พาดจีวรไว้ที่ราวข้างนอก อย่าเลิกผ้าเข้าไป อย่าเบ่งแรง อย่าเลิกผ้าออกมา นุ่งห่มเรียบร้อยแล้วจึงออก ถ้าส้วมสกปรกให้ทำความสะอาด ตักน้ำใส่ไว้ให้เต็ม...ฯลฯ
๑๑. อุปัชฌายวัตร วิธีปฏิบัติของสัทธิงวิหาริก(ลูกศิษย์)ต่ออุปัชฌาย์ เข้าไปรับใช้ถวายน้ำล้างหน้าบ้วนปาก ช่วยนุ่งห่มจีวรให้ ซักผ้า ล้างบาตร ทำความสะอาดกุฏิ รับย่าม ถ้าเดินทางร่วมกับท่าน ไม่ควรเดินใกล้หรือไกลเกินไป ไม่พูดสอดแทรกขณะท่านพูดอยู่ จะทำอะไรต้องถามท่านก่อน จะไปไหนต้องกราบลา ป้องกันอาบัติให้ท่าน เอาใจใส่ยามอาพาธ...ฯลฯ
๑๒. สัทธิงวิหาริกวัตร ข้อที่อุปัชฌาย์จะพึงมีต่อศิษย์ เช่น อนุเคราะห์ด้วยพระธรรมวินัย อบรมสั่งสอนอยู่เนืองๆให้บริขารเครื่องใช้ ถ้าศิษย์อาพาธให้อุปัชฌาย์ปฏิบัติต่อศิษย์ดังในอุปัชฌาย์เช่นกัน เป็นต้น
๑๓. อาจริยวัตร วิธีปฏิบัติต่ออาจารย์ อันเตวาสิก(ศิษย์)ผู้ถือนิสัยอยู่ด้วยอาจารย์ พึงปฏิบัติต่ออาจารย์ดังอุปัชฌายวัตร
๑๔. อันเตวาสิกวัตร วิธีปฏิบัติต่อ อันเตวาสิก(ศิษย์) อาจารย์ผู้ให้นิสัยพึงปฏิบัติชอบ สงเคราะห์ศิษย์ดังสัทธิงวิหาริกวัตรทุกประการ
สำหรับรายละเอียดดูหนังสืออริยวินัย
พระวินัย - ศีลของสงฆ์
ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่าการสอนศิษย์ของหลวงพ่อเน้นเรื่องเอกภาพของมรรค อย่างที่ท่านย้ำอยู่เสมอว่า ศีล สมาธิ และปัญญา แยกออกจากกันไม่ได้ ในการอบรมพระภิกษุสงฆ์ที่เข้ามาบวชที่วัดหนองป่าพง ท่านจึงเอาศีลของสงฆ์ คือ พระวินัยเป็นหลักใหญ่
พระวินัยคืออะไร
พระวินัย คือ ระบบแบบแผนต่างๆ ที่กำหนดความประพฤติ ความเป็นอยู่ และกิจการของสงฆ์ทั้งหมด เป็นสิ่งที่ครอบคลุมชีวิตด้านนอกของภิกษุสงฆ์ทุกแง่ทุกมุม
พระวินัย ประกอบด้วยสิกขาบทต่างๆ มากมาย มีทั้งข้อกำหนด เกี่ยวกับความเป็นอยู่ส่วนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างพระภิกษุด้วยกัน ความสัมพันธกับคฤหัสถ์ทั้งหลาย ตลอดจนการปฏิบัติต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ระเบียบว่าด้วยการปกครอง และการดำเนินกิจการต่างๆของสงฆ์ ระเบียบเกี่ยวกับการแสวงหา การจัดทำ เก็บรักษา แบ่งสันปันส่วนปัจจัย ๔ ฉะนั้นเมื่อรวมข้อห้ามและข้ออนุญาตแล้วก็มีมาก จนกระทั่งหลวงพ่อเคยบอกว่านี้ มีเป็นโกฏิเป็นกือ
เหตุผลที่พระพุทธองค์ทรงปรารภในการบัญญัติสิกขาบทแก่สงฆ์มี ๑๐ ประการ
๑. เพื่อความเรียบร้อยดีงามแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อกำราบคนหน้าด้านไม่รู้จักอาย
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อน ที่จะมีในปัจจุบัน
๖. เพื่อบำบัดความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อน ที่จะมีในภายหลัง
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความดำรงมั่นแห่งสัทธรรม
๑๐. เพื่อส่งเสริมความเป็นระเบียบเรียบร้อย สนับสนุนวินัยให้หนักแน่น
พระวินัยจึงมีอานิสงส์ทั้งในแง่ของการปฏิบัติธรรมส่วนตัวของพระและในแง่ส่วนรวมของสงฆ์
กิจวัตรประจำวัน
ข้อวัตรปฏิบัติ
ข้อวัตรปฏิบัติ กฎกติกาที่ตั้งไว้ คือทางแห่งมรรคผลนิพพาน
ถ้าใครไปฝ่าฝืนข้อกติกานั้นแล้ว ก็ไม่ใช่พระ
ไม่ใช่คนที่ตั้งใจมาปฏิบัติ
เขาจะไม่ได้พบเห็นอะไรเลย
ถึงแม้จะอยู่กับผมทุกคืนทุกวันก็ไม่เห็นผม
จะอยู่กับพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้า...
ธุดงควัตร ( ธุดงค์ ๑๓ )
ข้อปฏิบัติเพื่อการขูดเกลาหรือกำจัดกิเลส เป็นข้อปฏิบัติอันบุคคลทำได้ยาก เป็นไปเพื่อการขูดเกลากิเลสอย่างยิ่ง (เป็นข้อปฏิบัติสำหรับผู้สมัครใจจะพึงสมาทานตามกำลัง)
หมวดเกี่ยวกับจีวร
๑. การทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร (ปังสุกูลิกังคะ) เรางดคฤหบดีจีวร สมาทานการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
๒. การทรงเพียงจีวรสามผืนเป็นวัตร ( เตจีวริกังคะ)ข้าพเจ้างดจีวรผืนที่ ๔ สมาทานการทรงเพียงจีวรสามผืนเป็นวัตร
หมวดเกี่ยวกับบิณฑบาตและการฉัน
๓. การเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ( ปิณฑปาติกังคะ)ข้าพเจ้างดอติเรกลาภ สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
๔. การเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร (สปทานจาริกังคะ) ข้าพเจ้างดการเที่ยวตามใจอยาก สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตไป ตามลำดับเป็นวัตร
๕. การนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร. (เอกาสนิกังคะ) คือฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีก ข้าพเจ้างดการฉัน ณ ต่างอาสนะ สมาทานการ...
๖. การฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร (ปัตตปิณฑิกังคะ) คือ ไม่ใช้ภาชนะใส่อาหารเกิน 1 อย่างคือบาตร ข้าพเจ้างดภาชนะที่สอง สมาทานการ...
๗. การห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร (ขลุปัจฉาภัตติกังคะ) คือเมื่อได้ปลงใจกำหนดอาหารที่เป็นส่วนของตน ซึ่งเรียกว่าห้ามภัต ด้วยการลงมือฉันเป็นต้นแล้ว ไม่รับอาหารที่เขานำมาถวายอีก แม้จะเป็นของประณีต คำสมาทานว่า อติริตฺตโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ, ขลุปจฺฉาภตฺติกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดโภชนะอันเกิดภายหลังปลงใจ สมาทานการ...
หมวดเกี่ยวกับเสนาสนะ
๘. การอยู่ป่าเป็นวัตร (อรารัญญิกังคะ) อยู่ห่างบ้านคนอย่างน้อย ๕๐๐ ชั่วธนู คือ ๒๕ เส้น คำสมาทานว่า คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ, อารญฺญิกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดเสนาสนะชายบ้าน สมาทานการ...
๙. การอยู่โคนไม้เป็นวัตร (รุกขมูลิกังคะ) คำสมาทานว่า ฉนฺนํ ปฏิกฺขิปามิ, รุกฺขมูลิกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดที่มุงบัง สมาทานการ...
๑๐. การถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร (อัพโภกาสิกังคะ) คำสมาทานว่า ฉนฺนญฺจ รุกฺขมูลญฺจ ปฏิกฺขิปามิ, อพฺโภกาสิกงฺคํ มาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดที่มุงบังและโคนไม้ สมาทานการ...
๑๑. การถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร (โสสานิกังคะ) คำสมาทานว่า อสุสานํ ปฏิกฺขิปามิ, โสสานิกงฺคํ สมาทิยามิแปลว่า ข้าพเจ้างดที่มิใช่ป่าช้า สมาทานการ...
๑๒. การถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้ (ยถาสันถติกังคะ) คำสมาทานว่า เสนาสน-โลลุปฺปํ ปฏิกฺขิปามิ, ยถาสนฺถติกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดความอยากเอาแต่ใจในเสนาสนะ สมาทานการ...
หมวดเกี่ยวกับความเพียร
๑๓. การถือยืน เดิน นั่ง เป็นวัตร (เนสัชชิกังคะ) คือเว้นนอน อยู่ด้วยเพียง ๓ อิริยาบถ คำสมาทานว่า เสยฺยํ ปฏิกฺขิปามิ, เนสชฺชิกงฺคํ สมาทิยามิแปลว่า ข้าพเจ้างดการนอน
กิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์และอุบาสก อุบาสิกา ของธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์
เวลา ๐๓.๐๐ น. สัญญาณระฆัง นั่งสมาธิ เตรียมตัวทำวัตรเช้า
เวลา ๐๔.๐๐ น. ทำวัตรเช้า
เวลา ๐๖.๐๐ น. สัญญาณระฆัง ออกรับบิณฑบาตร
เวลา ๐๘.๐๐ น. ถวายภัตตาหารพระภิกษุสามเณร รับประทานอาหาร
เวลา ๑๐.๐๐ น. พักผ่อน
เวลา ๑๓.๐๐ น. นั่งสมาธิ
เวลา ๑๔.๐๐ น. ฟังพระธรรมเทศนา
เวลา ๑๕.๐๐ น. ทำกิจวัตร ปัดกวาดลานวัด
เวลา ๑๖.๐๐ น. ดื่มปานะ
เวลา ๑๖.๔๕ น. เดินจงกรม
เวลา ๑๙.๐๐ น. นั่งสมาธิ
เวลา ๒๐.๐๐ น. ทำวัตรเย็น
เวลา ๒๑.๐๐ น. ฟังพระธรรมเทศนา การสอนพระวินัย
เวลา ๒๒.๐๐ น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
ตรวจสอบ สาขาหนองป่าพงทั้งหมดได้ที่ และอ่านธรรมะได้ที่ http://www.watnongpahpong.org/
อัตชีวประวัติของท่านพระใบฎีกาวิศวาธาน ปภสฺสโร ประธานสงฆ์ วัดป่าไร่สมบูรณ์ ( ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ )
ประวัติโดยย่อพระใบฎีกาวิศวาธาน ปภสฺสโร
ประธานสงฆ์ธุดงค์สถานป่าสิริสมบูรณ์
พระใบฎีกาวิศวาธาน นามเดิม ชื่อ วิศวาธาน โอทะเกตุ เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2510 ปี่มะแม สถานที่เกิด ณ ตำบลดงอีจาน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ โยมบิดาชื่อ นายมาย โยมมารดาชื่อ นางมีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน 6 คน พระใบฎีกาวิศวาธานป็นคนที่ 5 คือ
1. นางทองพูน โอทะเกตุ
2. นายสุดตา โอทะเกตุ
3. พระใบฎีกาวิศวาธาน ปภสฺสโร
4. นางลัดดา โอทะเกตุ
5. นายโสภา โอทะเกตุ
6. นาย สงกา โอทะเกตุ
การศึกษา
พระใบฎีกาวิศวาธาน ปภสฺสโรท่านจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนดงอีจาน บ้านดงบัง ตำบลโนนสุวรรณ อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบีรีรัมย์ 31110
บรรพชา
ก่อนที่ท่านจะอุปสมบทนั้น ท่านได้เป็นตาปะขาวอบรมบ่มนิสัย อยู่ที่วัดป่าเขาปลายบัด เป็นเวลา 8 เดือน จากนั้นท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเขาปลายบัด ต.เขาคลอก อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2524 โดยมีพระปลัดบัวหล้า คมฺภีรปญฺโญ ซึ่งเป็นศิษย์ ท่าน พระโพธิญาณเถร เป็นพระอาจารย์ ในสมัยนั้น
อุปสมบท
หลังจากนั้นอีก 6 ปีท่านจึงได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ วัดหนองกี่ ตำบล หนองกี่ อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อ อายุ 20 ปี บริบูรณ์ วันที่ 8 เดือน พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2530 เวลา 12.49 น.
โดยมี ท่านพระครู กิตตวโรภาส เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอธิการสำรอง อินฺทปญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระเสาร์ อินฺทวณฺโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า ปภสฺสโร แปลว่า ผู้มีความผ่องใส
สถานที่เคยจำพรรษา
ตอนเป็นสามเณร
พ.ศ. 2524 วัดเขปลายบัด อำเภอ ประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
พ.ศ. 2525 - 2527 วัด หนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. 2528 ถ้ำ ผาผึ้ง บ้านเปิ่งเคลิ่ง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ไม่มีวัดอยู่ป่าในทุ่งใหญ่นเรศวร
พ.ศ. 2529 วัดป่าประชามิตร อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ( ปัจจุบันคืออำเภอโนนสุวรรณ )
หลังจากอุปสมบทแล้ว
พ.ศ. 2530 วัดป่าประชามิตร
พ.ศ. 2531 วัดป่าเขาวันชัยนวรัตน์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. 2532-2533 วัดเขาถ้ำสหกรณ์นิคม อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
พ.ศ. 2534 ที่พักสงฆ์ถ้ำผาผึ้ง ในทุ่งใหญ่นเรศวร อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
พ.ศ. 2535 2536 วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวดอุบลราชธานี
พ.ศ. 2537 ที่พักสงฆ์ถ้ำตูม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. 2538 วัดเขาปลายบัด อำเภอประโคนชัย จังหวัด บุรีรัมย์
พ.ศ. 2539 วัดเขาถ้ำสหกรณ์นิคม อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
พ.ศ. 2540 ที่พักสงฆ์ม่องกั๊ว อำเภอ อุ้มผาง จังหวัดตาก ทุ่งใหญ่ฯ
พ.ศ. 2541 ที่พักสงฆ์คลีตี่บน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์
ปฏิปทา
ปฏิปทาของท่านพระใบฎีกาวิศวาธาน ปภสฺสโร นั้น ท่านเป็นผู้มักน้อย สันโดด บิณฑบาตเป็นวัตร เดินจงกรมเป็นวัตร ชอบให้ทานและเมตตาสูง อยู่ง่ายขบฉันง่าย ชอบกระทำให้เห็นมากกว่าการพูด ชอบฟังผู้ที่มาหาท่านพูด มากกว่าจะเป็นฝ่ายให้ท่านพูด ชอบธุดงค์ไปตามถ้ำเขาเพียง ผู้เดียว ไม่ชอบสะสมสิ่งอันไม่ใช่ของจำเป็นแก่สมณะ แม้อาหารบิณฑบาตที่มีอยู่แค่พออิ่มก็ยังสละได้ทุกเวลา และเคยมีผู้ขอท่านหลายครั้งทั้งๆที่ท่านยังไม่ได้ฉันท่านก็ยกให้เป็นทานได้
ประสบการในการธุดงค์และการฝึกสมาธิภาวนา
ในระยะยังเป็นสามเณรอยู่นั้นได้เคยธุดงค์ติดตามท่านพระอาจารย์ไปอยู่ตามป่าเขา บ้างแล้ว พอได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้อยู่ถือนิสัยกับครูบาอาจารย์ เพียง 3 พรรษาก็กราบลา ท่านพระอาจารย์เพื่อออกุดงค์เพียงลำพัง ในตอนนั้นท่านถือนิสัยอยู่กับท่านพระอาจารย์เผ่า จิตฺตคุโณ วัดเขาถ้ำสหกรนิคม ท่านพระอาจารย์เผ่าเห็นว่าท่านพระใบฎีกาวิศวาธาน นี้เป็นผู้สามารถที่จะรักษาตัวเองรอดจากภัยร้ายต่างๆได้แล้ว เพราะเป็นผู้ได้ฝึกหัดทางด้านการเจริญสมาธิภาวนามาหลายปี และความรู้ในทางปริยัติธรรมก็จบนักธรรมเอกแล้ว จึงอนุญาตให้ออกธุดงค์เพียงรำพังได้ เส้นทางที่ท่านได้เที่ยวจาริกไปนั้นเป็นเส้นทางตะเข็บชายแดน โดยตัดป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มุ่งตรงขึ้นสู่ภาคเหนือของประเทศไทย ผ่านทั้งป่าดงดิบ ภูเขา อดบ้างอิ่มบ้างไปจนถึง ถ้ำผาผึ่ง บ้าน เปลิ่งเคลิ่ง จึงหยุดพักทำความเพียรที่นั่น 1 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2534 ร่วมกับคณะสงฆ์ธรรมยุตที่ท่านพักภาวนาอยู่ก่อนแล้ว พอออดพรรษา ท่านก็ออกจาริกต่อไปทางเหนือมุ่งไปอย่างไม่ลดละไม่พักที่ใดเกินหนึ่งคืน และไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจของความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า รวมทั้งความกลัวต่างๆทั้งสัตว์ร้าย คนร้าย ผีร้าย จนบรรลุถึง อำเภอ ปางมะพร่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงได้หยุดพัก บำเพ็ญเพียรภาวนาในถ้ำแห่งหนึ่งอาศัยการบิณฑบาตจากชาวเขาเลี้ยงชีพ พอพักอยู่เป็นเวลานาพอสมควรแล้วจึงได้ออกจาริกต่อไปมุ่งตรงไป ทางตอนเหนือสุดของไทยคือจังหวัดเชียงราย แล้ววกกลับลงมา ทางเชียงใหม่ ได้ผ่าน อำเภอเชียงดาวจึงได้แวะไปพักภาวนาอยู่กับท่าน หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาป่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่และได้อุบายธรรมจากท่านหลวงปู่เป็นที่น่าพอใจแล้ว จึงได้เดินตอลงมาจนบรรลุถึงเขตของภาคอีสาน ในตอนนั้นมีอยู่คืนหนึ่งในระหว่างที่ท่านพักภาวนาอยู่นั้นจิตได้รวมลงสู่ความสงบดังเช่นเคยเพราะท่านได้เคยฝึกสมาธิจนจิตสงบมาแล้วจนชำนาญ ท่านได้เกิดภาพนิมิตขึ้นเห็น อุบาสกท่านหนึ่งมากราบแล้วอาราธนานิมนต์ให้ท่านให้รีบกลับวัดหนองป่าพง พอท่านออกจากสมาธิจึงใคร่ควรดุถึงนิมิตนั้น วันรุ่งขึ้นท่านจึงหลังจากทำภัตรกิจแล้วจึงได้จาริกมุ่งตรงสู่ วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กว่าที่ท่านจะไปถึงนั้นก็จวนจะเข้าพรรษาแล้ว ท่านจึงได้อยู่จำพรรษาที่วัดหนองป่าพง ซึ่งใน ตอนนั้นทางวัดหนองป่าพงได้ทำการเตรียมสถานที่เพื่อประกอบพีธีพระราชทานเพลิงศพ พระเดชพระคุณพระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภสฺสโท )ท่านพระใบฎีกาวิศาวาธานจึงได้อยู่ช่วยงานสงฆ์จนเสร็จกิจทั้งปวง เป็นเวลาเกือบ 8 เดือน หลังจากนั้นท่านจึงได้กราบลาพระราชภาวนาวิกรม เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง เพื่อจาริกแสวงหาวิโมกข์ธรรมต่อไป ทั่วราชอานาจักรไทย และได้พักบำเพ็ญภาวนา ตาม ในระยะนั้นท่านมีท่านพระอาจารย์รูปหนึ่งได้ขอติดตามท่านพระใบฎีกาวิสวาธานจาริกธุดงค์ด้วย ท่านมีนามว่า ท่านพระมหาเมธชนัน โกวิโท ท่านสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตนิกาย (แม้ในปัจจุบันนี้ท่านพระอาจารย์รูปนี้ก็ยังอยู่เพื่อช่วยงานท่านตลอดมา และเป็นผู้ที่เปนสักขีพยานในเรื่องการบำเพ็ญภาวนาของท่านพระใบฎีกาวิศวาธานรวมทั้งเรืองปาฏิหารต่างๆอันเกิดขึ้น ) สถานที่ต่างๆ และได้วกกลับขึ้นไปทางเหนืออีก ได้ไปพักอยู่ที่ถ้ำ พระ บ้านเมืองแพรม อำเภอปางมพร่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ท่านในเช้าวัด ขึ้น 15 ค่ำ เดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.2542 ในขนะที่ท่านได้นั่งทำสมาธิอยู่นั้นได้เกิดนิมิต เห็นอุบาสิกาผู้หนึ่งนุ่งห่มผ้าขาวร่างกายสะอาด ได้มากราบท่านแล้วกร่าวอาราธนานิมนต์ให้กลับไปยังภูมิลำเนาเดิม เพื่อได้โปรดญาติโยมผู้ที่เคยได้สร้างกรรมร่วมกันมาในอดีตชาติ และได้เกิดภาพเห็นผืนป่าแห่งหนึ่งเขียวขจีสวยงามมาก พอออกจากสมาธิท่านได้พิจารณาถึงการจาริกธุดงค์ของท่านและการบำเพ็ญบารมีต่างๆก็พอที่จะรักษาตัวเองให้อยู่รอดจากเหล่ามารร้ายได้แล้ว ท่านจึงตัดสินใจกลับสู่ถิ่นกำเนิดของตน โดยได้อธิฐานจิตไว้ว่าหากจะเป็นจริงดั่งนิมิตนั้นแล้วก็ให้เดินทางให้ถึง สถานที่นั่นก่อนเข้าพรรษาเถิดเราจะขอถอนการสมาทานการเดินเท้าหากมีใครขับรถมา แล้วมีผู้จอดรับ ก็จะขึ้นรถนั้นไปด้วย ( ท่านไม่รับปัจจัย การเดินทางเดินเท้า ) พอท่านเดินออกมาถึงถนนลาดยางสายเชียงใหม่แม่ฮ่องสอนก็มีรถจอดรับ ไปจนถึงเชียงใหม่และยังได้ซื้อตั๋วรถเชียงใหม่บุรีรัมย์ถวายอีก เป็นอันว่าท่านได้ใช้เวลาใน การเดินทางสู่บุรีรัมย์ เพียง 1 วัน กับอีก 1 คืน เท่านั้น พอถึงบุรีรัมย์ท่านจึงไป พักอยู่กับเพื่อนสหธรรมมิก ของท่านรูปหนึ่งซึ่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่ป่าช้าแห่งหนึ่งใกล้ๆกับอำเภอเมืองบุรีรัมย์ และได้ไปแวะพักกับเพื่อนสหธรรมิกอีกหลายท่าน บางท่านเห็นหน้า ท่านพระใบฏีกาวิศาวาธาน แล้วจำไม่ได้นึกว่าหลวงตาที่ไหนมาเพราะท่านผอมมากจนแก้มตอบลงไปลึกทีเดียว แต่พอถามไถ่กันแล้วจึงจำได้ต่างก็เอ่ยขึ้นทันทีว่านึกว่าตายแล้ว แล้วก็หัวเราะกันไป จนกระทั่งถึงเดือนมิถุนายน ปี เดียวกันนั้นท่านพร้อมกับพระมหาเมธชนัน โกวิโท จึงได้เดินเท้ามุ่งมาทางอำเภอ โนนสุวรรณ จนถึงวันที่ 9 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2542 จึงถึงป่าแห่งหนึ่ง มีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ เป็นป่าไม่รุ่น 2 แต่มีความสมบูรณืพอสมควร จึงได้หยุดพักปลักกลด ณ ที่ป่าแห่งนั้น ตกดึกมาใน ขณะ ที่ท่านพระใบฎีกาวิศวาธานได้นั่งสมาธิท่านได้เห็นนิมิตเป็นร่างชายกับหญิงแก่ นุ่งห่มผ้าขาว ถือจานใส่เครื่องบูชามาถวายท่านแล้วกราบลงกับพื้นดิน แล้วยิ้มและหายไป ท่านจึงออกจากสมาธิ เวลาประมาณ
00.36 น. ในทางทิศตะวันออกได้มีอะไรบางอย่างปรากฏขึ้นมา เป็นสิงอัศจรรย์ อย่างหนึ่งนั่นก็คือ มีดวงไฟดวงใหญ่ขนาดเท่ากับ โอ่งมังกรขนาดใหญ่ ลอยอยู่เหนือพื้นดินประมาณ 3 เมตร ซึ่งก้องไฟนี้ท่านพระมหาเมธชนัน ก็ เห็นเช่นเดียวกัน ลอยอยู่อย่างนั้นประมาณ 20 นาทีก็ได้แตกออก เป็น 7 สีเหมือนกับ พุที่เขาสุด แต่ไม่มีเสียงใดๆเลย พอรุ่งเช้ามาท่านพระใบฎีกาวิศวาทานจึงได้ออกไปโปรดสัตว์พร้อมกับท่านพระมหาเมธชนัน ญาติโยมพอได้เห็นพระไปรับบิณฑบาตก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาบางคนกล่าวว่าได้ฝันเห็นพระ 2 รูปมาโปรด หน้าตาเหมือนกับท่านทั้ง 2 รูปและได้บอกหวยอีก งวดนั้นเลยถูกกันทั้งหมู่บ้าน ในเช้านั้นชาวบ้านได้พร้อมใจกันอาราธนานิมนต์ให้พระใบฎีกาวิศวาธานอยู่ในป่าแห่งนั้นเพื่อเป็นผู้นำทางด้านจิตใจ ของชาวบ้านต่อไป จึงได้เกิดเป็น ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ขึ้นมา ในระยะแรกของการก่อตั้งวัดได้มีปัญหาเกิดขึ้น อยู่บ้างเช่นการไม่เข้าใจกันเกี่ยวกับประเพณีบางอย่าง ซึ่งท่านพระใบฎีกาวิศวาธาน ท่านไม่ยอมให้กระทำ เช่น การกินเหล่าในวัด การมีมหรสพเวลามีงานวัด การฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญ อย่างนี้ ท่านจะไม่อนุญาตให้ทำเป็นเด็จขาด คนที่จะมาเป็นทายกวัด หรือเป็นผู้นำทางด้านศาสนา ท่านจะให้เลิกอบายมุขเสียก่อนถ้าเลิกไม่ได้ก็ไม่ต้องมายุ่งเกี่ยวกับการดูแลกิจกรรมต่างๆของวัดเด็จขาด เพราะจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่ผู้อื่น ท่านพยายามคัดสรรค์บุคลากรที่มีคุณภาพทั้งทางความรู้และ คุณธรรม เข้ามาทำงานในส่วนที่ไม่ เหมาะสมกับ สมณะสารูป เช่นการดุ แลปัจจัยเงินทอง เป็นต้น สอนให้ชาวบ้าน ลด ละ เลิกอบายมุขทุกชนิด และมีเรื่องน่าอัศจรรย์อีกมากมายที่เกิดข้น จึงทำให้มีผู้เคารพ นับถือท่านพระอาจารย์ทั้ง 2 รูปเป็นอย่างมาก
กิจกรรมใหญ่ๆของทางธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ที่ทำติดต่อกันมา
1 การเข้าค่ายอบรม คุณธรรมจริยธรรม.ให้เด็กนักเรียนทุกชั้นปีที่มีโอกาสมา
2 การเข้าค่ายปฏิบัติธรรมของอุบาสกอุบาสิกา |
|
_________________ ทำดีทุกสิ่งที่ทำได้ แต่อย่าหมายว่าเขาจะชมว่าตนดีเสมอ ทำทุกอย่างเพื่อให้ใครๆ เจอ พบเสมอคือท่านพุทโธคุณ |
|
  |
 |
mit
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 10 ก.ย. 2007
ตอบ: 14
ที่อยู่ (จังหวัด): บุรีรัมย์
|
ตอบเมื่อ:
17 ก.ย. 2007, 8:39 pm |
  |
ประวัติของธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ (วัดป่าไร่สมบูรณ์)
ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์
เป็นวัดป่าสายปฏิบัติ ซึ่งพระใบฎีกา ปภสฺสโร ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สำหรับประพฤติปฏิบัติ ฝึกฝน อบรมพระภิกษุ-สามเณร ผู้มุ่งสู่ความพ้นทุกข์ ให้เป็นผู้มักน้อย สันโดษ เสียสละ พากเพียรเพื่อมรรคผลนิพพาน และนำพาไปสู่การเป็นสมณะที่งดงาม ด้วยการรักษาวัตรปฏิบัติตามธรรมวินัย อันจะเป็นเหตุให้เกิดความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น ร่วมประคองค้ำชูพระศาสนาให้มีอายุยืนยาว เจริญรุ่งเรือง เพื่อหวังให้ต่อไปจะได้เป็นศูยน์กลางการอบรมสั่งสอน ตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา ให้กับนักปฎิบัติธรรมทั้งพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ที่สนใจทุกคนต่อไป
ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ ตั้งอยู่บ้านไร่สมบูรณ์ หมู่ที่ 10 ตำบลโนนสุวรรณ อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 150 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือ ประมาณ 1,000 เมตร จดที่ดิน-ที่สวนชาวบ้าน ทิศใต้ ประมาณ 1,000 เมตร จดที่ดินสาธารณประโยชน์-ถนนลูกรัง ทิศตะวันออก ประมาณ 400 เมตรจดที่ดินสาธารณะ ทิศตะวันตก ประมาณ 400 เมตร จดที่สวนชาวบ้าน
อาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ กว้าง 16 เมตร ยาว 36 เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ชั้นเดียว โปร่ง หอสวดมนต์ กว้าง 14 เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๔๙ แต่ยังไม่เสร็จ เป็นอาคารตึก ๒ ชั้น กุฏิสงฆ์ จำนวน ๑๑ หลัง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีห้องน้ำประจำกุฏิ โรงครัวสร้างด้วยปูนและอิฐ ห้องน้ำญาติโยมเป็นเรือนแถว จำนวน ๒๐ ห้อง
ปูชนียวัตถุ หลวงพ่อศิลาเขียว เป็นพระพุทธรูปหินทรายสีเขียวหน้าตัก 150 เซนติเมตร ปางชนะมาร ๑ องค์
พลวงพ่อศิลาแดง เป็นพระพุทธรูป หินทรายแดง หน้าตัก 120 เซนติเมตร ปาง คันธารราฏ ๑ องค์
ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศเหนือของหมู่บ้านไร่สมบูรณ์ และ หมู่บ้านน้อยอุบล โดย หลวงพ่อพระใบฎีกาวิศวาธาน ปภสฺสโร เป็นหัวหน้าสำนักสงฆ์และมีพระปฏิบัติธรรม ร่วมจำพรรษาในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า ๑๐ รูป มีทั้งธรรมยุต และมหานิกาย เพราะทางวัดมุ่งในการปฏิบัติธรรมเจริญกรรมฐาน จึงไม่ได้แบ่งแยกนิกาย
ข้อวัตรปฏิบัติอันเป็นกฎระเบียบ ข้อห้าม แบบแผนของ ธุดงค์สถานป่า ศิริสมบูรณ์ และสาขา ของวัดหนองป่าพง ทุกสาขา
ข้อวัตรปฏิบัติพระสงฆ์
การเป็นอยู่ที่ไม่เสื่อม
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันให้มากพอ อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักพร้อมเพรียงกันเข้าประชุมกัน จักพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม จักพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จักไม่สมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ภิกษุ พวกที่เป็นเถระ มีพรรษายุกาล บวชนาน เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ และตนจักต้องเข้าใจตัวว่าต้องเชื่อฟังถ้อยคำของท่านเหล่านั้น อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่ลุอำนาจแก่ตัณหา ซึ่งเป็นตัวเหตุก่อให้เกิดภพใหม่ ที่เกิดขึ้นแล้ว อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักมีใจจดจ่อในเสนาสนะป่า อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักเข้าไปตั้งสติไว้อย่างมั่นเหมาะว่า ทำไฉนหนอ ขอเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ซึ่งมีศีลเป็นที่รัก ยังไม่มาขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสุขเถิด ดังนี้ อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ภิกษุ ท.! ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมเจ็ดประการเหล่านี้ ยังคงดำรงอยู่ได้ในภิกษุทั้งหลาย และพวกเธอก็ยังเห็นพ้องต้องกันในธรรมเจ็ดประการเหล่านี้ อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
ข้อกติกาสงฆ์ในสำนัก
1. พระเณรห้ามขอของแต่คนใช่ญาติใช่ปวารณา และห้ามติดต่อกับคฤหัสถ์ และนักบวชอันเป็นวิสภาคกับพุทธศาสนา
2. ห้ามบอกและเรียนติรัจฉานวิชา บอกเลข ทำน้ำมนต์ หมอยา หมอดู ทำและแจกจ่ายวัตถุมงคลต่าง ๆฯ
3. พระผู้มีพรรษาหย่อน 5 ห้ามไม่ให้เที่ยวไปแต่ลำพังตัวเอง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือมีอาจารย์ผู้สมควรติดตามไปด้วย
4. เมื่อจะทำอะไรให้ปรึกษาสงฆ์ หรือ ผู้เป็นประธานในสงฆ์เสียก่อน เมื่อเห็นว่าเป็นธรรม เป็นวินัย และจึงทำอย่าทำตามอำนาจตัวเองฯ
5. ให้ยินดีในเสนาสนะที่สงฆ์จัดให้ และให้ทำความสะอาดเก็บกวาดกุฏิ ถนนเข้าออกให้สะอาด
6. เมื่อกิจของสงฆ์เกิดขึ้นให้พร้อมกันทำ เมื่อเลิกให้พร้อมกันเลิก อย่าทำตนให้เป็นที่รังเกียจของหมู่คณะ คือ เป็นผู้มายาสาไถย หลีกเลี่ยง แก้ตัว
7. เมื่อฉันบิณฑบาต เก็บบาตร ล้างบาตร กวาดวัด ตักน้ำ สรงน้ำ จัดโรงฉัน ย้อมผ้า ฟังเทศน์เหล่านี้ ห้ามมิให้คุยกันพึงตั้งใจทำกิจนั้นจริงๆ
8. เมื่อฉันเสร็จแล้ว ให้พร้อมกันเก็บกวาดโรงฉันให้เรียบร้อยเสียก่อน แล้วจึงกราบพระพร้อมกัน และ นำบริขารของตนกลับกุฏิโดยสงบฯ
9. ให้ทำตนเป็นผู้มักน้อยในการพูด กิน นอน ร่าเริง จงเป็นผู้ตื่นอยู่ด้วยความเพียร และจงช่วยกันพยาบาล ภิกษุ สามเณร อาพาธด้วยความเมตตาฯ
10. ห้ามรับเงินและทอง และห้ามผู้อื่นเก็บไว้เพื่อตน ห้ามซื้อขายแลกเปลี่ยนฯ
11. เมื่อเอกลาภเกิดขึ้นในสงฆ์หมู่นี้ ให้เก็บไว้เป็นกองกลาง เมื่อท่านองค์ใดต้องการ ให้สงฆ์อนุมัติแก่ท่าน องค์นั้น โดยสมควร
12. ห้ามคุยกันเป็นกลุ่มก้อนทั้งกลางวันและกลางคืนในที่ทั่วไป หรือในกุฏิ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นถึงกระนั้นก็อย่าเป็นผู้คลุกคลีและเอิกเกริกเฮฮา ห้ามสูบบุหรี่ กินหมากฯ
13. การรับและส่งจดหมาย เอกสาร หรือวัตถุต่างๆ ภายนอกห้องแจ้งต่อสงฆ์ หรือผู้เป็นประธานสงฆ์รับทราบทุกคราวไป เมื่อสงฆ์หรือผู้เป็นประธานสงฆ์เห็นสมควรแล้ว จึงรับส่งได้ฯ
14. พระเณรที่มุ่งเข้ามาปฏิบัติในสำนักนี้ เบื้องต้นต้องได้รับใบฝากจากอุปัชฌาย์อาจารย์ของตน และย้ายสุทธิมาให้ถูกต้องเสียก่อนจึงจะใช้ได้ฯ
15. พระเณรที่เป็นอาคันตุกะมาพักอาศัย ต้องนำสุทธิแจ้งสงฆ์ หรือผู้เป็นประธานสงฆ์ในคืนแรก และมีกำหนดให้พักได้ไม่เกิน 3 คืน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นฯ
ข้อกติกาสงฆ์เหล่านี้เมื่อผู้ใดฝ่าฝืนสงฆ์มีอำนาจเต็มที่ที่จะบริหาร
ข้อปฏิบัติของแม่ชี ในธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์
1. ห้ามคลุกคลีหรือคุยกันเป็นกลุ่มก้อน ทั้งกลางวันและกลางคืน
2. เวลาฉัน ล้างภาชนะ กวาดกราด สรงน้ำ ให้พร้อมเพรียงกัน ทำด้วยความสงบเรียบร้อยและมีสติ
3. ให้รักษาความสะอาดบริเวณกุฏิ เช่นเก็บกวาด ไล่ปลวก ไล่มด เป็นต้น
4. เป็นผู้มีความสันโดษ มักน้อย ในการกิน การนอน การพูด การร่าเริง เอิกเกริกเฮฮา
5. เมื่อเวลาเอกลาภเกิดขึ้น ให้แบ่งกันบริโภคใช้สอยพอสมควร และเป็นธรรม
6. เมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นให้ช่วยกันรักษาพยาบาลด้วยความเมตตาจริงๆ
7. เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบด้วยเมตตาธรรมในเพื่อนชีด้วยกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
8. ต้องเคารพนับถือซึ่งกันและกันตามวัยวุฒิ
9. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอ อย่าให้เป็นที่รังเกียจของหมู่คณะ
10. ห้ามไม่ให้ชีคนใดคนหนึ่งมีอำนาจปกครองหรือตั้งกติกาใดๆ ด้วยอำนาจตนเอง
11. เมื่อเกิดความขัดข้องประการใดๆ รีบแจ้งให้ประธานสงฆ์ทราบเพื่อที่จะได้แก้ไข
12. เมื่อมาอยู่ในสำนักนี้แล้ว จะไปไหนมาไหนต้องบอกลาประธานสงฆ์ทุกครั้ง
13. กุฏิที่ตนสร้างขึ้น เมื่อจากไปห้ามไม่ให้ถือสิทธิ์ ต้องเป็นหน้าที่ของสงฆ์
14. ห้ามไม่ให้รับแขกที่เป็นเพศชายบนกุฏิของตน เว้นไว้แต่อาพาธเป็นบางครั้ง
15. ห้ามแสดงโฆษณาสิ่งอันไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัย เพื่อเห็นแก่อมิส ซึ่งเป็นมิจฉาชีพ เป็นเหตุนำความเสื่อม เสียมาสู่พระศาสนา
16. ห้ามทำตนเป็นผู้รับใช้คฤหัสถ์ ซึ่งจะเป็นการประทุษร้ายตระกูล
17. มีความเห็นร่วมกัน อย่าวิวาทกับใครๆ เพราะความเห็นผิด
18. ห้ามติดต่อกับภิกษุ สามเณร แม่ชี และคฤหัสถ์ ทั้งในและนอกวัดเว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นที่เป็นธรรม
19. ห้ามสัญจรไปมา เที่ยวเรี่ยไรต่างๆ
20. ห้ามชายที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปพันค้างคืนที่นี่ เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นจริงๆ
21. ผู้ประสงค์จะเข้ามาบวชหรือมาอยู่ในสำนักนี้ ต้องมีผู้ปกครองนำมาฝากเป็นหลักฐาน และมีผู้อุปัฏฐากพอสมควร
ถ้าผู้ใดฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามกติกานี้ สงฆ์มีอำนาจบริหารได้เต็มที่
ข้อปฏิบัติฆราวาส ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์
๑. มั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
๒. มีศีลห้าเป็นพื้น
๓. มีข้อปฏิบัติเป็นศีล๕ หรอศีล ๘
๔. ไม่ทำความสกปรกและช่วยกันรักษาความสะอาด ในที่อยู่ของตนและเขตส่วนรวม
๕. ตั้งใจทำความเพียร
๖. ช่วยเหลือกิจของสงฆ์ตามสมควรแก่กรณี
แดนเคารพ
พุทธศาสนิกชน ทุกเพศ ทุกวัย
เพื่อหายพยศ ลดมานะ ละทิฐิ
- ไม่มีกิจจำเป็น ห้ามเข้าไปคลุกคลีในกุฏิกับภิกษุและสามเณร
- ต้องถอดหมวก ถอดรองเท้าก่อน จึงเข้าไปในวัดด้วยอาการสำรวม
- จงสงบ กาย วาจา ใจ ให้มาก อย่าคะนองปาก มือ และเท้า
- ห้ามเปิดวิทยุ และ การละเล่นต่างๆ ภายในบริเวณวัด
- ห้ามนำสุราเข้ามาดื่ม และนำสัตว์มีชีวิตเข้ามาทำอาหารในบริเวณวัด
- ห้ามเก็บผลไม้ และเข้ามากินในวัด จะเป็นการก่อกวนความสงบ
- ห้ามขับรถเข้าออก เร็วเกินควร เพราะเสียงจะรบกวนผู้กำลังปฏิบัติ
- ต้นไม้ และสัตว์ป่า เป็นสมบัติอันล้ำค่า จงช่วยกันรักษาเพื่อลูกหลาน
วัตร ๑๔
วัตร ๑๔ คือ ระเบียบวิธีการปฏิบัติต่างๆในสังคมความเป็นอยู่ของภิกษุ อันส่งเสริมให้การบำเพ็ญสมณธรรม ดำเนินไปด้วยดีและเรียบร้อย
๑. อาคันตุกวัตร หน้าที่ของอาคันตุกะผู้เข้าไปสู่อาวาสอื่น ต้องมีความเคารพต่อสถานที่และประพฤติตัวให้เหมาะสม เช่น ถอดรองเท้า หุบร่ม ห่มเฉวียงบ่า เดินไปหาภิกษุผู้อยู่ในอาวาส ทำความเคารพท่าน ถามถึงที่พัก ห้องน้ำ ห้องส้วม น้ำใช้น้ำฉัน ทำความสะอาดที่พักอาศัย และประพฤติตนตามกฎกติกาของวัดเป็นต้น
๒. อาวาสิกวัตร หน้าที่ของเจ้าอาวาส(เจ้าถิ่น)ที่จะต้องปฏิบัติต่อพระอาคันตุกะ เช่น หากภิกษุอาคันตุกะพรรษาแก่กว่ามา ให้ปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ลุกไปรับบาตรจีวร ถวายน้ำฉันน้ำใช้ กราบไหว้ บอกเรื่องต่างๆ เช่นห้องน้ำ ห้องส้วม โคจรบิณฑบาต และกติกาสงฆ์...ฯลฯ
๓. คมิกวัตร หน้าที่ของผู้เตรียมจะไปที่อื่น ก่อนออกเดินทางพึงเก็บเครื่องใช้สอยเช่น เตียง เก้าอี้ เสื่อ หมอน ผ้าห่ม เป็นต้นไว้ให้ดี ปิดประตูหน้าต่าง ฝากหรือคืนเสนาสนะให้ภิกษุสามเณร อุบาสก หรือคนของวัด(ให้)ช่วยดูแลแล้วจึงเดินทาง...ฯลฯ
๔. อนุโมทนวัตร ทรงอนุญาตให้อนุโมทนาในที่ฉัน วิธีอนุโมทนา ให้พระภิกษุผู้เป็นเถระอนุโมทนา หากทายกนิมนต์ภิกษุหนุ่มให้อนุโมทนา ต้องบอกหรือขอโอกาสพระเถระก่อน ในขณะที่ภิกษุอื่นอนุโมทนาอยู่ หากมีเหตุจำเป็นเช่นปวดอุจจาระ ถ้าจะลุกไป ต้องลาพระภิกษุผู้นั่งใกล้ก่อน...ฯลฯ
๕. ภัตตัควัตร ธรรมเนียมในโรงฉัน หรือเมื่อไปฉันในบ้าน ต้องนุ่งห่มให้เรียบร้อย เดินไปตามลำดับอาวุโส ไม่เบียดกัน ปฏิบัติตามเสขิยวัตรทุกข้อ ไม่นั่งเบียดพระเถระ ฯลฯ
๖. บิณฑจาริกวัตร ระเบียบประพฤติในเวลาออกบิณฑบาต ให้ปฏิบัติตามเสขิยวัตร เช่น นุ่งห่มให้เรียบร้อย ซ้อนผ้าสังฆาฏิ ห่มคลุมกลัดรังดุม กลอกบาตร ถือบาตรในจีวร กำหนดทางเข้าออก ไม่ยืนใกล้หรือไกลจากผู้ให้นัก อย่ามองหน้าผู้ถวายรูปใดกลับก่อนปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน...ฯลฯ
๗. อรัญญิกวัตร ระเบียบของผู้อยู่ป่า ก่อนออกบิณฑบาตเก็บเครื่องใช้สอยไว้ในกุฏิ ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย จัดหาน้ำใช้น้ำฉันมาเตรียมไว้ เรียนรู้ทิศต่างๆและการเดินทางของดวงดาว เพื่อป้องกันการหลงทาง...ฯลฯ
๘. เสนาสนวัตร วิธีดูแลที่อยู่อาศัย ให้ทำความสะอาดอยู่เสมอ ให้เคลื่อนย้ายบริขารด้วยความระมัดระวังอย่าให้กระทบครูดสีพื้นประตูหน้าต่าง ถ้ากุฏิเก่าให้ซ่อมแซม หากมีลมฝนแรงต้องปิดประตูหน้าต่าง...ฯลฯ
๙. ชันตาฆรวัตร ข้อปฏิบัติในเรือนไฟที่อบกายระงับโรค ทำความสะอาด ตั้งน้ำ ไม่เบียดชิดพระเถระ ไม่กีดกันอาสนะภิกษุหนุ่ม บีบนวดและสรงน้ำแก่พระเถระ...ฯลฯ
๑๐. วัจกุฎีวัตร ระเบียบปฏิบัติในเวลาเข้าส้วม ถ่ายอุจจาระปัสสาวะแล้วต้องทำความสะอาดส้วมให้เรียบร้อย เข้าห้องส้วมตามลำดับที่มาถึงก่อนหลัง พาดจีวรไว้ที่ราวข้างนอก อย่าเลิกผ้าเข้าไป อย่าเบ่งแรง อย่าเลิกผ้าออกมา นุ่งห่มเรียบร้อยแล้วจึงออก ถ้าส้วมสกปรกให้ทำความสะอาด ตักน้ำใส่ไว้ให้เต็ม...ฯลฯ
๑๑. อุปัชฌายวัตร วิธีปฏิบัติของสัทธิงวิหาริก(ลูกศิษย์)ต่ออุปัชฌาย์ เข้าไปรับใช้ถวายน้ำล้างหน้าบ้วนปาก ช่วยนุ่งห่มจีวรให้ ซักผ้า ล้างบาตร ทำความสะอาดกุฏิ รับย่าม ถ้าเดินทางร่วมกับท่าน ไม่ควรเดินใกล้หรือไกลเกินไป ไม่พูดสอดแทรกขณะท่านพูดอยู่ จะทำอะไรต้องถามท่านก่อน จะไปไหนต้องกราบลา ป้องกันอาบัติให้ท่าน เอาใจใส่ยามอาพาธ...ฯลฯ
๑๒. สัทธิงวิหาริกวัตร ข้อที่อุปัชฌาย์จะพึงมีต่อศิษย์ เช่น อนุเคราะห์ด้วยพระธรรมวินัย อบรมสั่งสอนอยู่เนืองๆให้บริขารเครื่องใช้ ถ้าศิษย์อาพาธให้อุปัชฌาย์ปฏิบัติต่อศิษย์ดังในอุปัชฌาย์เช่นกัน เป็นต้น
๑๓. อาจริยวัตร วิธีปฏิบัติต่ออาจารย์ อันเตวาสิก(ศิษย์)ผู้ถือนิสัยอยู่ด้วยอาจารย์ พึงปฏิบัติต่ออาจารย์ดังอุปัชฌายวัตร
๑๔. อันเตวาสิกวัตร วิธีปฏิบัติต่อ อันเตวาสิก(ศิษย์) อาจารย์ผู้ให้นิสัยพึงปฏิบัติชอบ สงเคราะห์ศิษย์ดังสัทธิงวิหาริกวัตรทุกประการ
สำหรับรายละเอียดดูหนังสืออริยวินัย
พระวินัย - ศีลของสงฆ์
ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่าการสอนศิษย์ของหลวงพ่อเน้นเรื่องเอกภาพของมรรค อย่างที่ท่านย้ำอยู่เสมอว่า ศีล สมาธิ และปัญญา แยกออกจากกันไม่ได้ ในการอบรมพระภิกษุสงฆ์ที่เข้ามาบวชที่วัดหนองป่าพง ท่านจึงเอาศีลของสงฆ์ คือ พระวินัยเป็นหลักใหญ่
พระวินัยคืออะไร
พระวินัย คือ ระบบแบบแผนต่างๆ ที่กำหนดความประพฤติ ความเป็นอยู่ และกิจการของสงฆ์ทั้งหมด เป็นสิ่งที่ครอบคลุมชีวิตด้านนอกของภิกษุสงฆ์ทุกแง่ทุกมุม
พระวินัย ประกอบด้วยสิกขาบทต่างๆ มากมาย มีทั้งข้อกำหนด เกี่ยวกับความเป็นอยู่ส่วนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างพระภิกษุด้วยกัน ความสัมพันธกับคฤหัสถ์ทั้งหลาย ตลอดจนการปฏิบัติต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ระเบียบว่าด้วยการปกครอง และการดำเนินกิจการต่างๆของสงฆ์ ระเบียบเกี่ยวกับการแสวงหา การจัดทำ เก็บรักษา แบ่งสันปันส่วนปัจจัย ๔ ฉะนั้นเมื่อรวมข้อห้ามและข้ออนุญาตแล้วก็มีมาก จนกระทั่งหลวงพ่อเคยบอกว่านี้ มีเป็นโกฏิเป็นกือ
เหตุผลที่พระพุทธองค์ทรงปรารภในการบัญญัติสิกขาบทแก่สงฆ์มี ๑๐ ประการ
๑. เพื่อความเรียบร้อยดีงามแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อกำราบคนหน้าด้านไม่รู้จักอาย
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อน ที่จะมีในปัจจุบัน
๖. เพื่อบำบัดความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อน ที่จะมีในภายหลัง
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความดำรงมั่นแห่งสัทธรรม
๑๐. เพื่อส่งเสริมความเป็นระเบียบเรียบร้อย สนับสนุนวินัยให้หนักแน่น
พระวินัยจึงมีอานิสงส์ทั้งในแง่ของการปฏิบัติธรรมส่วนตัวของพระและในแง่ส่วนรวมของสงฆ์
กิจวัตรประจำวัน
ข้อวัตรปฏิบัติ
ข้อวัตรปฏิบัติ กฎกติกาที่ตั้งไว้ คือทางแห่งมรรคผลนิพพาน
ถ้าใครไปฝ่าฝืนข้อกติกานั้นแล้ว ก็ไม่ใช่พระ
ไม่ใช่คนที่ตั้งใจมาปฏิบัติ
เขาจะไม่ได้พบเห็นอะไรเลย
ถึงแม้จะอยู่กับผมทุกคืนทุกวันก็ไม่เห็นผม
จะอยู่กับพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้า...
ธุดงควัตร ( ธุดงค์ ๑๓ )
ข้อปฏิบัติเพื่อการขูดเกลาหรือกำจัดกิเลส เป็นข้อปฏิบัติอันบุคคลทำได้ยาก เป็นไปเพื่อการขูดเกลากิเลสอย่างยิ่ง (เป็นข้อปฏิบัติสำหรับผู้สมัครใจจะพึงสมาทานตามกำลัง)
หมวดเกี่ยวกับจีวร
๑. การทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร (ปังสุกูลิกังคะ) เรางดคฤหบดีจีวร สมาทานการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
๒. การทรงเพียงจีวรสามผืนเป็นวัตร ( เตจีวริกังคะ)ข้าพเจ้างดจีวรผืนที่ ๔ สมาทานการทรงเพียงจีวรสามผืนเป็นวัตร
หมวดเกี่ยวกับบิณฑบาตและการฉัน
๓. การเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ( ปิณฑปาติกังคะ)ข้าพเจ้างดอติเรกลาภ สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
๔. การเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร (สปทานจาริกังคะ) ข้าพเจ้างดการเที่ยวตามใจอยาก สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตไป ตามลำดับเป็นวัตร
๕. การนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร. (เอกาสนิกังคะ) คือฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีก ข้าพเจ้างดการฉัน ณ ต่างอาสนะ สมาทานการ...
๖. การฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร (ปัตตปิณฑิกังคะ) คือ ไม่ใช้ภาชนะใส่อาหารเกิน 1 อย่างคือบาตร ข้าพเจ้างดภาชนะที่สอง สมาทานการ...
๗. การห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร (ขลุปัจฉาภัตติกังคะ) คือเมื่อได้ปลงใจกำหนดอาหารที่เป็นส่วนของตน ซึ่งเรียกว่าห้ามภัต ด้วยการลงมือฉันเป็นต้นแล้ว ไม่รับอาหารที่เขานำมาถวายอีก แม้จะเป็นของประณีต คำสมาทานว่า อติริตฺตโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ, ขลุปจฺฉาภตฺติกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดโภชนะอันเกิดภายหลังปลงใจ สมาทานการ...
หมวดเกี่ยวกับเสนาสนะ
๘. การอยู่ป่าเป็นวัตร (อรารัญญิกังคะ) อยู่ห่างบ้านคนอย่างน้อย ๕๐๐ ชั่วธนู คือ ๒๕ เส้น คำสมาทานว่า คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ, อารญฺญิกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดเสนาสนะชายบ้าน สมาทานการ...
๙. การอยู่โคนไม้เป็นวัตร (รุกขมูลิกังคะ) คำสมาทานว่า ฉนฺนํ ปฏิกฺขิปามิ, รุกฺขมูลิกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดที่มุงบัง สมาทานการ...
๑๐. การถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร (อัพโภกาสิกังคะ) คำสมาทานว่า ฉนฺนญฺจ รุกฺขมูลญฺจ ปฏิกฺขิปามิ, อพฺโภกาสิกงฺคํ มาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดที่มุงบังและโคนไม้ สมาทานการ...
๑๑. การถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร (โสสานิกังคะ) คำสมาทานว่า อสุสานํ ปฏิกฺขิปามิ, โสสานิกงฺคํ สมาทิยามิแปลว่า ข้าพเจ้างดที่มิใช่ป่าช้า สมาทานการ...
๑๒. การถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้ (ยถาสันถติกังคะ) คำสมาทานว่า เสนาสน-โลลุปฺปํ ปฏิกฺขิปามิ, ยถาสนฺถติกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดความอยากเอาแต่ใจในเสนาสนะ สมาทานการ...
หมวดเกี่ยวกับความเพียร
๑๓. การถือยืน เดิน นั่ง เป็นวัตร (เนสัชชิกังคะ) คือเว้นนอน อยู่ด้วยเพียง ๓ อิริยาบถ คำสมาทานว่า เสยฺยํ ปฏิกฺขิปามิ, เนสชฺชิกงฺคํ สมาทิยามิแปลว่า ข้าพเจ้างดการนอน
กิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์และอุบาสก อุบาสิกา ของธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์
เวลา ๐๓.๐๐ น. สัญญาณระฆัง นั่งสมาธิ เตรียมตัวทำวัตรเช้า
เวลา ๐๔.๐๐ น. ทำวัตรเช้า
เวลา ๐๖.๐๐ น. สัญญาณระฆัง ออกรับบิณฑบาตร
เวลา ๐๘.๐๐ น. ถวายภัตตาหารพระภิกษุสามเณร รับประทานอาหาร
เวลา ๑๐.๐๐ น. พักผ่อน
เวลา ๑๓.๐๐ น. นั่งสมาธิ
เวลา ๑๔.๐๐ น. ฟังพระธรรมเทศนา
เวลา ๑๕.๐๐ น. ทำกิจวัตร ปัดกวาดลานวัด
เวลา ๑๖.๐๐ น. ดื่มปานะ
เวลา ๑๖.๔๕ น. เดินจงกรม
เวลา ๑๙.๐๐ น. นั่งสมาธิ
เวลา ๒๐.๐๐ น. ทำวัตรเย็น
เวลา ๒๑.๐๐ น. ฟังพระธรรมเทศนา การสอนพระวินัย
เวลา ๒๒.๐๐ น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
ตรวจสอบ สาขาหนองป่าพงทั้งหมดได้ที่ และอ่านธรรมะได้ที่ http://www.watnongpahpong.org/
อัตชีวประวัติของท่านพระใบฎีกาวิศวาธาน ปภสฺสโร ประธานสงฆ์ วัดป่าไร่สมบูรณ์ ( ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ )
ประวัติโดยย่อพระใบฎีกาวิศวาธาน ปภสฺสโร
ประธานสงฆ์ธุดงค์สถานป่าสิริสมบูรณ์
พระใบฎีกาวิศวาธาน นามเดิม ชื่อ วิศวาธาน โอทะเกตุ เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2510 ปี่มะแม สถานที่เกิด ณ ตำบลดงอีจาน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ โยมบิดาชื่อ นายมาย โยมมารดาชื่อ นางมีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน 6 คน พระใบฎีกาวิศวาธานป็นคนที่ 5 คือ
1. นางทองพูน โอทะเกตุ
2. นายสุดตา โอทะเกตุ
3. พระใบฎีกาวิศวาธาน ปภสฺสโร
4. นางลัดดา โอทะเกตุ
5. นายโสภา โอทะเกตุ
6. นาย สงกา โอทะเกตุ
การศึกษา
พระใบฎีกาวิศวาธาน ปภสฺสโรท่านจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนดงอีจาน บ้านดงบัง ตำบลโนนสุวรรณ อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบีรีรัมย์ 31110
บรรพชา
ก่อนที่ท่านจะอุปสมบทนั้น ท่านได้เป็นตาปะขาวอบรมบ่มนิสัย อยู่ที่วัดป่าเขาปลายบัด เป็นเวลา 8 เดือน จากนั้นท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเขาปลายบัด ต.เขาคลอก อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2524 โดยมีพระปลัดบัวหล้า คมฺภีรปญฺโญ ซึ่งเป็นศิษย์ ท่าน พระโพธิญาณเถร เป็นพระอาจารย์ ในสมัยนั้น
อุปสมบท
หลังจากนั้นอีก 6 ปีท่านจึงได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ วัดหนองกี่ ตำบล หนองกี่ อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อ อายุ 20 ปี บริบูรณ์ วันที่ 8 เดือน พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2530 เวลา 12.49 น.
โดยมี ท่านพระครู กิตตวโรภาส เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอธิการสำรอง อินฺทปญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระเสาร์ อินฺทวณฺโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า ปภสฺสโร แปลว่า ผู้มีความผ่องใส
สถานที่เคยจำพรรษา
ตอนเป็นสามเณร
พ.ศ. 2524 วัดเขปลายบัด อำเภอ ประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
พ.ศ. 2525 - 2527 วัด หนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. 2528 ถ้ำ ผาผึ้ง บ้านเปิ่งเคลิ่ง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ไม่มีวัดอยู่ป่าในทุ่งใหญ่นเรศวร
พ.ศ. 2529 วัดป่าประชามิตร อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ( ปัจจุบันคืออำเภอโนนสุวรรณ )
หลังจากอุปสมบทแล้ว
พ.ศ. 2530 วัดป่าประชามิตร
พ.ศ. 2531 วัดป่าเขาวันชัยนวรัตน์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. 2532-2533 วัดเขาถ้ำสหกรณ์นิคม อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
พ.ศ. 2534 ที่พักสงฆ์ถ้ำผาผึ้ง ในทุ่งใหญ่นเรศวร อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
พ.ศ. 2535 2536 วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวดอุบลราชธานี
พ.ศ. 2537 ที่พักสงฆ์ถ้ำตูม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. 2538 วัดเขาปลายบัด อำเภอประโคนชัย จังหวัด บุรีรัมย์
พ.ศ. 2539 วัดเขาถ้ำสหกรณ์นิคม อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
พ.ศ. 2540 ที่พักสงฆ์ม่องกั๊ว อำเภอ อุ้มผาง จังหวัดตาก ทุ่งใหญ่ฯ
พ.ศ. 2541 ที่พักสงฆ์คลีตี่บน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์
ปฏิปทา
ปฏิปทาของท่านพระใบฎีกาวิศวาธาน ปภสฺสโร นั้น ท่านเป็นผู้มักน้อย สันโดด บิณฑบาตเป็นวัตร เดินจงกรมเป็นวัตร ชอบให้ทานและเมตตาสูง อยู่ง่ายขบฉันง่าย ชอบกระทำให้เห็นมากกว่าการพูด ชอบฟังผู้ที่มาหาท่านพูด มากกว่าจะเป็นฝ่ายให้ท่านพูด ชอบธุดงค์ไปตามถ้ำเขาเพียง ผู้เดียว ไม่ชอบสะสมสิ่งอันไม่ใช่ของจำเป็นแก่สมณะ แม้อาหารบิณฑบาตที่มีอยู่แค่พออิ่มก็ยังสละได้ทุกเวลา และเคยมีผู้ขอท่านหลายครั้งทั้งๆที่ท่านยังไม่ได้ฉันท่านก็ยกให้เป็นทานได้
ประสบการในการธุดงค์และการฝึกสมาธิภาวนา
ในระยะยังเป็นสามเณรอยู่นั้นได้เคยธุดงค์ติดตามท่านพระอาจารย์ไปอยู่ตามป่าเขา บ้างแล้ว พอได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้อยู่ถือนิสัยกับครูบาอาจารย์ เพียง 3 พรรษาก็กราบลา ท่านพระอาจารย์เพื่อออกุดงค์เพียงลำพัง ในตอนนั้นท่านถือนิสัยอยู่กับท่านพระอาจารย์เผ่า จิตฺตคุโณ วัดเขาถ้ำสหกรนิคม ท่านพระอาจารย์เผ่าเห็นว่าท่านพระใบฎีกาวิศวาธาน นี้เป็นผู้สามารถที่จะรักษาตัวเองรอดจากภัยร้ายต่างๆได้แล้ว เพราะเป็นผู้ได้ฝึกหัดทางด้านการเจริญสมาธิภาวนามาหลายปี และความรู้ในทางปริยัติธรรมก็จบนักธรรมเอกแล้ว จึงอนุญาตให้ออกธุดงค์เพียงรำพังได้ เส้นทางที่ท่านได้เที่ยวจาริกไปนั้นเป็นเส้นทางตะเข็บชายแดน โดยตัดป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มุ่งตรงขึ้นสู่ภาคเหนือของประเทศไทย ผ่านทั้งป่าดงดิบ ภูเขา อดบ้างอิ่มบ้างไปจนถึง ถ้ำผาผึ่ง บ้าน เปลิ่งเคลิ่ง จึงหยุดพักทำความเพียรที่นั่น 1 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2534 ร่วมกับคณะสงฆ์ธรรมยุตที่ท่านพักภาวนาอยู่ก่อนแล้ว พอออดพรรษา ท่านก็ออกจาริกต่อไปทางเหนือมุ่งไปอย่างไม่ลดละไม่พักที่ใดเกินหนึ่งคืน และไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจของความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า รวมทั้งความกลัวต่างๆทั้งสัตว์ร้าย คนร้าย ผีร้าย จนบรรลุถึง อำเภอ ปางมะพร่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงได้หยุดพัก บำเพ็ญเพียรภาวนาในถ้ำแห่งหนึ่งอาศัยการบิณฑบาตจากชาวเขาเลี้ยงชีพ พอพักอยู่เป็นเวลานาพอสมควรแล้วจึงได้ออกจาริกต่อไปมุ่งตรงไป ทางตอนเหนือสุดของไทยคือจังหวัดเชียงราย แล้ววกกลับลงมา ทางเชียงใหม่ ได้ผ่าน อำเภอเชียงดาวจึงได้แวะไปพักภาวนาอยู่กับท่าน หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาป่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่และได้อุบายธรรมจากท่านหลวงปู่เป็นที่น่าพอใจแล้ว จึงได้เดินตอลงมาจนบรรลุถึงเขตของภาคอีสาน ในตอนนั้นมีอยู่คืนหนึ่งในระหว่างที่ท่านพักภาวนาอยู่นั้นจิตได้รวมลงสู่ความสงบดังเช่นเคยเพราะท่านได้เคยฝึกสมาธิจนจิตสงบมาแล้วจนชำนาญ ท่านได้เกิดภาพนิมิตขึ้นเห็น อุบาสกท่านหนึ่งมากราบแล้วอาราธนานิมนต์ให้ท่านให้รีบกลับวัดหนองป่าพง พอท่านออกจากสมาธิจึงใคร่ควรดุถึงนิมิตนั้น วันรุ่งขึ้นท่านจึงหลังจากทำภัตรกิจแล้วจึงได้จาริกมุ่งตรงสู่ วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กว่าที่ท่านจะไปถึงนั้นก็จวนจะเข้าพรรษาแล้ว ท่านจึงได้อยู่จำพรรษาที่วัดหนองป่าพง ซึ่งใน ตอนนั้นทางวัดหนองป่าพงได้ทำการเตรียมสถานที่เพื่อประกอบพีธีพระราชทานเพลิงศพ พระเดชพระคุณพระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภสฺสโท )ท่านพระใบฎีกาวิศาวาธานจึงได้อยู่ช่วยงานสงฆ์จนเสร็จกิจทั้งปวง เป็นเวลาเกือบ 8 เดือน หลังจากนั้นท่านจึงได้กราบลาพระราชภาวนาวิกรม เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง เพื่อจาริกแสวงหาวิโมกข์ธรรมต่อไป ทั่วราชอานาจักรไทย และได้พักบำเพ็ญภาวนา ตาม ในระยะนั้นท่านมีท่านพระอาจารย์รูปหนึ่งได้ขอติดตามท่านพระใบฎีกาวิสวาธานจาริกธุดงค์ด้วย ท่านมีนามว่า ท่านพระมหาเมธชนัน โกวิโท ท่านสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตนิกาย (แม้ในปัจจุบันนี้ท่านพระอาจารย์รูปนี้ก็ยังอยู่เพื่อช่วยงานท่านตลอดมา และเป็นผู้ที่เปนสักขีพยานในเรื่องการบำเพ็ญภาวนาของท่านพระใบฎีกาวิศวาธานรวมทั้งเรืองปาฏิหารต่างๆอันเกิดขึ้น ) สถานที่ต่างๆ และได้วกกลับขึ้นไปทางเหนืออีก ได้ไปพักอยู่ที่ถ้ำ พระ บ้านเมืองแพรม อำเภอปางมพร่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ท่านในเช้าวัด ขึ้น 15 ค่ำ เดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.2542 ในขนะที่ท่านได้นั่งทำสมาธิอยู่นั้นได้เกิดนิมิต เห็นอุบาสิกาผู้หนึ่งนุ่งห่มผ้าขาวร่างกายสะอาด ได้มากราบท่านแล้วกร่าวอาราธนานิมนต์ให้กลับไปยังภูมิลำเนาเดิม เพื่อได้โปรดญาติโยมผู้ที่เคยได้สร้างกรรมร่วมกันมาในอดีตชาติ และได้เกิดภาพเห็นผืนป่าแห่งหนึ่งเขียวขจีสวยงามมาก พอออกจากสมาธิท่านได้พิจารณาถึงการจาริกธุดงค์ของท่านและการบำเพ็ญบารมีต่างๆก็พอที่จะรักษาตัวเองให้อยู่รอดจากเหล่ามารร้ายได้แล้ว ท่านจึงตัดสินใจกลับสู่ถิ่นกำเนิดของตน โดยได้อธิฐานจิตไว้ว่าหากจะเป็นจริงดั่งนิมิตนั้นแล้วก็ให้เดินทางให้ถึง สถานที่นั่นก่อนเข้าพรรษาเถิดเราจะขอถอนการสมาทานการเดินเท้าหากมีใครขับรถมา แล้วมีผู้จอดรับ ก็จะขึ้นรถนั้นไปด้วย ( ท่านไม่รับปัจจัย การเดินทางเดินเท้า ) พอท่านเดินออกมาถึงถนนลาดยางสายเชียงใหม่แม่ฮ่องสอนก็มีรถจอดรับ ไปจนถึงเชียงใหม่และยังได้ซื้อตั๋วรถเชียงใหม่บุรีรัมย์ถวายอีก เป็นอันว่าท่านได้ใช้เวลาใน การเดินทางสู่บุรีรัมย์ เพียง 1 วัน กับอีก 1 คืน เท่านั้น พอถึงบุรีรัมย์ท่านจึงไป พักอยู่กับเพื่อนสหธรรมมิก ของท่านรูปหนึ่งซึ่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่ป่าช้าแห่งหนึ่งใกล้ๆกับอำเภอเมืองบุรีรัมย์ และได้ไปแวะพักกับเพื่อนสหธรรมิกอีกหลายท่าน บางท่านเห็นหน้า ท่านพระใบฏีกาวิศาวาธาน แล้วจำไม่ได้นึกว่าหลวงตาที่ไหนมาเพราะท่านผอมมากจนแก้มตอบลงไปลึกทีเดียว แต่พอถามไถ่กันแล้วจึงจำได้ต่างก็เอ่ยขึ้นทันทีว่านึกว่าตายแล้ว แล้วก็หัวเราะกันไป จนกระทั่งถึงเดือนมิถุนายน ปี เดียวกันนั้นท่านพร้อมกับพระมหาเมธชนัน โกวิโท จึงได้เดินเท้ามุ่งมาทางอำเภอ โนนสุวรรณ จนถึงวันที่ 9 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2542 จึงถึงป่าแห่งหนึ่ง มีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ เป็นป่าไม่รุ่น 2 แต่มีความสมบูรณืพอสมควร จึงได้หยุดพักปลักกลด ณ ที่ป่าแห่งนั้น ตกดึกมาใน ขณะ ที่ท่านพระใบฎีกาวิศวาธานได้นั่งสมาธิท่านได้เห็นนิมิตเป็นร่างชายกับหญิงแก่ นุ่งห่มผ้าขาว ถือจานใส่เครื่องบูชามาถวายท่านแล้วกราบลงกับพื้นดิน แล้วยิ้มและหายไป ท่านจึงออกจากสมาธิ เวลาประมาณ
00.36 น. ในทางทิศตะวันออกได้มีอะไรบางอย่างปรากฏขึ้นมา เป็นสิงอัศจรรย์ อย่างหนึ่งนั่นก็คือ มีดวงไฟดวงใหญ่ขนาดเท่ากับ โอ่งมังกรขนาดใหญ่ ลอยอยู่เหนือพื้นดินประมาณ 3 เมตร ซึ่งก้องไฟนี้ท่านพระมหาเมธชนัน ก็ เห็นเช่นเดียวกัน ลอยอยู่อย่างนั้นประมาณ 20 นาทีก็ได้แตกออก เป็น 7 สีเหมือนกับ พุที่เขาสุด แต่ไม่มีเสียงใดๆเลย พอรุ่งเช้ามาท่านพระใบฎีกาวิศวาทานจึงได้ออกไปโปรดสัตว์พร้อมกับท่านพระมหาเมธชนัน ญาติโยมพอได้เห็นพระไปรับบิณฑบาตก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาบางคนกล่าวว่าได้ฝันเห็นพระ 2 รูปมาโปรด หน้าตาเหมือนกับท่านทั้ง 2 รูปและได้บอกหวยอีก งวดนั้นเลยถูกกันทั้งหมู่บ้าน ในเช้านั้นชาวบ้านได้พร้อมใจกันอาราธนานิมนต์ให้พระใบฎีกาวิศวาธานอยู่ในป่าแห่งนั้นเพื่อเป็นผู้นำทางด้านจิตใจ ของชาวบ้านต่อไป จึงได้เกิดเป็น ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ขึ้นมา ในระยะแรกของการก่อตั้งวัดได้มีปัญหาเกิดขึ้น อยู่บ้างเช่นการไม่เข้าใจกันเกี่ยวกับประเพณีบางอย่าง ซึ่งท่านพระใบฎีกาวิศวาธาน ท่านไม่ยอมให้กระทำ เช่น การกินเหล่าในวัด การมีมหรสพเวลามีงานวัด การฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญ อย่างนี้ ท่านจะไม่อนุญาตให้ทำเป็นเด็จขาด คนที่จะมาเป็นทายกวัด หรือเป็นผู้นำทางด้านศาสนา ท่านจะให้เลิกอบายมุขเสียก่อนถ้าเลิกไม่ได้ก็ไม่ต้องมายุ่งเกี่ยวกับการดูแลกิจกรรมต่างๆของวัดเด็จขาด เพราะจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่ผู้อื่น ท่านพยายามคัดสรรค์บุคลากรที่มีคุณภาพทั้งทางความรู้และ คุณธรรม เข้ามาทำงานในส่วนที่ไม่ เหมาะสมกับ สมณะสารูป เช่นการดุ แลปัจจัยเงินทอง เป็นต้น สอนให้ชาวบ้าน ลด ละ เลิกอบายมุขทุกชนิด และมีเรื่องน่าอัศจรรย์อีกมากมายที่เกิดข้น จึงทำให้มีผู้เคารพ นับถือท่านพระอาจารย์ทั้ง 2 รูปเป็นอย่างมาก
กิจกรรมใหญ่ๆของทางธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ที่ทำติดต่อกันมา
1 การเข้าค่ายอบรม คุณธรรมจริยธรรม.ให้เด็กนักเรียนทุกชั้นปีที่มีโอกาสมา
2 การเข้าค่ายปฏิบัติธรรมของอุบาสกอุบาสิกา |
|
_________________ ทำดีทุกสิ่งที่ทำได้ แต่อย่าหมายว่าเขาจะชมว่าตนดีเสมอ ทำทุกอย่างเพื่อให้ใครๆ เจอ พบเสมอคือท่านพุทโธคุณ |
|
  |
 |
mit
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 10 ก.ย. 2007
ตอบ: 14
ที่อยู่ (จังหวัด): บุรีรัมย์
|
ตอบเมื่อ:
28 ก.ย. 2007, 5:36 pm |
  |
http://www.matchananking.com/ เข้าไปดูได้นะทดสอบดูครับ |
|
_________________ ทำดีทุกสิ่งที่ทำได้ แต่อย่าหมายว่าเขาจะชมว่าตนดีเสมอ ทำทุกอย่างเพื่อให้ใครๆ เจอ พบเสมอคือท่านพุทโธคุณ |
|
  |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |