Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สัทธา ที่ถูกต้อง อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2007, 9:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อะไรคือ "ศรัทธาที่ถูกต้อง"
สัทธา (บาลี)หมายถึง ความเชื่อ; ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก ท่านแสดงสืบ ๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
๑.กัมมสัทธา เชื่อกรรม
๒.วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓.กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔.ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;
เขียนอย่างสันสกฤตเป็น"ศรัทธา"
(จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก )
จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ก็ต้องขอเพิ่มเติมตามยุคสมัยและเพื่อให้อ่านแล้วเข้าใจง่ายขึ้นว่า ความเชื่อนั้น ต้องเชื่ออันเป็นไปตามหลักความจริง หลักวิทยาศาสตร์ หลักตรรกวิทยา
คือต้องเชื่อว่า สิ่งเหล่านั้น มีจริง เป็นจริง 1
ต้องเชื่อว่า สิ่งเหล่านั้นสามารถพิสูจน์ได้ 1
ต้องเชื่อว่า เป็นไปอย่างถูกต้องตามเหตุและผล 1

สัทธา(ภาษาบาลี) หรือ ศรัทธา(เขียนตามภาษาสันสกฤต) นั้น เกิดจาก การได้รับการขัดเกลาทางสังคม วัฒนธรรม จารีต ประเพณี และสิ่งแวดล้อม คือเชื่อตามๆกันมา ยึดถือเป็นคติ และประพฤติปฏิบัติสืบต่อต่อกันมา อย่างหนึ่ง
ความเชื่อ เกิดจากการ ได้รับการศึกษา ได้รู้ ได้เห็น ได้ฟัง สืบต่อต่อกันมา อย่างหนึ่ง
ความเชื่อที่เกิดขึ้นในกลุ่มคนใดใดนั้น ส่วนใหญ่มักไม่ได้คิดพิจารณาคือ เขาบอก เขาทำ ก็เชื่อๆทำตามกันมา อย่างนี้เป็นต้น


การเชื่อ หรือการสัทธา(ศรัทธา) นั้น ควรเชื่อ ในสิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้1
การเชื่อ หรือการสัทธา(ศรัทธา) นั้น ควรเชื่อ ในสิ่งที่ มีจริง เป็นจริง 1
การเชื่อ หรือการสัทธา(ศรัทธา) นั้น ควรเชื่อ ในสิ่งที่ถูกต้องตามเหตุและผล 1
การเชื่อ หรือความเชื่อ หรือสัทธา หรือศรัทธา นั้น เกิดจากความรู้ คือได้รู้ ได้เห็น ได้ฟัง ได้สัมผัส แล้วจึงเกิดความเชื่อ
ปัญญา ก็คือ ความรู้ หรือถ้าจะให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ปัญญา ก็เกิดจากความรู้ แต่เป็นความรู้ที่ได้ตริตรองกลั่นกรอง ตามหลักการต่างๆ
ปัญญา หรือความรู้ นั้น มีหลากหลาย แต่มีอย่างหนึ่งในภาษาไทยเรียกว่า ปฏิภาณไหวพริบ ตัวนี้เป็นผลแห่งความรู้ที่บุคคลสามารถรวบรวมความรู้ ปรุงแต่งความรู้ ให้สามารถนำออกมาใช้ในทันทีทันควันหรือใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้น ความเชื่อ ก็เกิดจากความรู้ ปัญญา ก็เกิดจากความรู้
ความรู้ทั้งสองอย่าง คือ สิ่งที่ทำให้เกิดความเชื่อ และสิ่งที่ทำให้กลายเป็นปัญญา ก็ต้องมีบรรทัดฐาน ว่า ความเชื่อ ควรเชื่ออย่างมีเหตุมีผล สามารถพิสูจน์ได้ ว่ามีจริงเป็นจริง แล้วจึงค่อยเชื่อ แต่เนื่องจากแต่ละบุคคลมีเวลาน้อยในการคิดพิจารณา จึงได้เชื่อตามๆกันมา เชื่อเพราะปฏิบัติตามกันมา
ส่วนปัญญานั้น เป็นความรู้ที่ส่วนใหญ่ได้คิดพิจารณาแล้ว พิสูจน์แล้ว ทำแล้ว มีบรรทัดฐานที่สังคมหรือสาขาวิชาเห็นดีแล้ว จึงทำให้เป็นผู้ที่คนทั่วไปเรียกว่า เป็นผู้มีปัญญา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ย. 2007, 9:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ย. 2007, 8:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศรัทธาควรใช้สำหรับการเริ่มต้น

ถ้าเริ่มต้นด้วยวิชชา

ศรัทธาจะส่งผลให้ปัญญาทำงานได้เต็มกำลัง

ไม่ต้องเกิดวิจิกิจฉาในเบื้องกลาง

แต่ในเบื้องปลายต้องถอนจากศรัทธาเป็นปัญญา

จึงจะเกิดผลในการปฏิบัติธรรม

ครับ คือศีล สมาธิ ปัญญา

อ้างจาก พุทธธรรม ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2007, 1:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อันธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดก็ตาม ย่อมมีความเชื่อเป็นสิ่งประกอบหรือเป็นปัจจัยในอันที่จะมีพฤติกรรมหรือการกระทำใดใดด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ถ้าจะกล่าวให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นแล้วละก้อ ความศรัทธาหรือความเชื่อนั้น เป็นเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรม เป็นเหตุที่ทำให้เกิดการกระทำ ทั้งทางใจ วาจา และกาย จงใช้สมองคิดพิจารณาดูเถิด
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง