Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
หลวงปู่มั่นให้โอวาทเตือนหลวงปู่ขาว เมื่อยามเจ็บไข้
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
วีรยุทธ
บัวทอง
เข้าร่วม: 24 มิ.ย. 2005
ตอบ: 1790
ที่อยู่ (จังหวัด): สกลนคร
ตอบเมื่อ: 03 ส.ค. 2007, 6:13 pm
ภาพหลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
เมื่อหลวงปู่มั่นเตือนหลวงปู่ขาวยามเป็นไข้
แรก ๆ ได้อาศัยท่านอาจารย์มั่นคอยให้อุบายเสมอในเวลาเป็นไข้ โดยยกเรื่องท่านขึ้นเป็นพยานว่า ท่านจะได้กำลังใจสำคัญ ๆ ทีไร ต้องได้จากการเจ็บป่วยแทบทั้งสิ้น เจ็บหนัก ป่วยหนักเท่าไร สติปัญญายิ่งหมุนตัวดีและรวดเร็วไปกับเหตุการณ์นั้นๆ ที่เกิดขึ้นในเวลาเจ็บป่วย โดยไม่ต้องถูกบังคับให้พิจารณาและไม่สนใจกับความหมายหรือความตายอะไรเลย นอกจากจะพยายามให้รู้ความจริงของทุกขเวทนาทั้งหลายที่เกิดขึ้นและโหมเข้ามาในเวลานั้น ด้วยสติปัญญาที่เคยฝึกหัดอยู่เป็นประจำจนชำนิชำนาญ
บางครั้งท่านอาจารย์มั่นมาเตือนขณะเป็นไข้ เป็นเชิงปัญหาเหน็บๆ ว่า
ท่านเคยคิดไหมว่า ท่านเคยทุกข์ก่อนจะตาย ทุกข์มากยิ่งกว่าทุกข์ที่กำลังเป็นอยู่ขณะนี้ในภพชาติที่ผ่าน ๆ มา เพียงทุกข์ในเวลาเป็นไข้ธรรมดา ซึ่งโลก ๆ เขาก็ได้เรียนธรรมเขายังพออดทนได้ บางรายเขายังมีสติดีมีมรรยาทงามกว่าพระเราเสียอีก คือเขาไม่แสดงอาการทุรนทุรายกระสับกระส่าย ร้องครางทึ้งเนื้อทึ้งตัว เหมือนพระบางองค์ที่แย่ ๆ สิ่งไม่น่าจะมีแฝงอยู่ในวงพุทธศาสนาเลย และไม่น่าจะมีเพราะจะทำศาสนาให้เปื้อนเปรอะไปด้วย แม้เจ็บมากทุกข์มากเขายังมีสติควบคุมมรรยาทให้อยู่ในความพอดีงามตาได้อย่างน่าชม
ผมเคยเห็นฆราวาสป่วยมาแล้ว โดยลูก ๆ เขามานิมนต์ผมเข้าไปเยี่ยมพ่อเขา เวลาจวนตัวจะไปไม่รอด พ่อเขาอยากพบเห็นและกราบไหว้ในวาระสุดท้ายพอเป็นขวัญใจระลึกได้ เวลาจะแตกดับจริง ๆ ขณะเราเข้าถึงบ้าน พ่อเขาพอมองเห็นเรากำลังก้าวเข้าไปที่เตียงนอนเท่านั้น ทั้งที่กำลังป่วยหนัก ปกติลุกนั่งคนเดียวไม่ได้ต้องช่วยพยุงกัน แต่ขณะนั้นเขายังสามารถลุกพรวดพราดขึ้นคนเดียวได้ด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสเต็มที่ ไม่มีอาการไข้และป่วยหนักใด ๆ ปรากฏเหลืออยู่พอให้ทราบได้ว่าเขาป่วยหนักเลย ทั้งกราบทั้งไหว้ด้วยความรื่นเริงบันเทิงในจิตใจและมรรยาทที่อ่อนน้อมสวยงาม จนใคร ๆ ในบ้านเกิดพิศวงงงงันไปตาม ๆ กันว่า เขาลุกขึ้นมาโดยลำพังคนเดียวได้อย่างไร เมื่อปกติแม้จะพลิกตัวเปลี่ยนการนอนท่าต่าง ๆ ก็ได้ช่วยกันอย่างเต็มไม้เต็มมือ เพราะความระมัดระวังกลัวจะถูกกระทบกระเทือนมากและอาจสลบหรือตายไปเสียในขณะนั้นแต่พอเห็นท่านเข้ามากลับเป็นคนใหม่ขึ้นมาจากคนไข้ที่จวนจะตายอยู่แล้ว จึงอัศจรรย์ไม่เคยเห็นดังนี้ และชาวบ้านพูดกับผมว่า เขาตายไปหลังจากเวลาที่ผมออกมาไม่นานนักเลย ด้วยความมีสติตลอดเวลาสิ้นลมหายใจ และไปอย่างสงบประสบสุคโตไม่ผิดพลาด
ส่วนท่านเองไม่เห็นเป็นไข้หนักถึงขนาดนั้น ทำไมนอนใจไม่พิจารณา หรือมันหนักด้วยความอ่อนแอทับถมจิตใจ จึงทำให้ร่างกายอ่อนเปียกไปด้วย พระกรรมฐานถ้าขืนเป็นกันลักษณะนี้มาก ๆ ศาสนาต้องถูกตำหนิ กรรมฐานต้องล่มจม ไม่มีใครสามารถทรงไว้ได้เพราะมีแต่คนอ่อนแอ กรรมฐานอ่อนแอ คอยแต่ขึ้นเพียงให้กิเลสมันสับเอายำเอา สติปัญญาพระพุทธเจ้าท่านมิได้ประทานไว้สำหรับคนขี้เกียจอ่อนแอโดยนอนเฝ้านั่งเฝ้าไข้อยู่เฉย ๆ ไม่คิดค้นพิจารณาด้วยธรรมดังกล่าวเลย
การหายไข้หรือทางตายของผู้อ่อนแอไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย สู้หนูตายตัวเดียวก็ไม่ได้ ท่านอย่านำลัทธิและวิชาหมูนอนคอยเขียงอยู่เฉย ๆ มาใช้ในวงศาสนาและวงพระกรรมฐาน ผมอายฆราวาสผู้เขาดีกว่าพระและอายหนูตัวที่ตายแบบเรียบ ๆ ซึ่งดีกว่าพระที่เป็นไข้แล้วอ่อนแอและตายไปด้วยความไม่มีสติปัญญารักษาตัว
ท่านลองพิจารณาดูว่าสัจธรรมมีทุกขสัจเป็นต้น ที่ปราชญ์ท่านว่าเป็นธรรมของจริงสุดส่วน นั้นจริงอย่างไรบ้าง และจริงอยู่ที่ไหนกันแน่ หรือจริงอยู่ที่ความประมาทอ่อนแอ ดังที่พากันเสริมสร้างอยู่เวลานี้ นั่นคือการเสริมสร้างสมุทัยทับลมจิตใจให้โงหัวไม่ขึ้นต่างหาก มิได้เป็นทางมรรค เครื่องนำให้หลุดพ้นแต่อย่างใดเลย
ผมที่กล้ายืนยันว่าเคยได้กำลังใจในเวลาป่วยหนักนั้น ผมพิจารณาทุกข์ที่เกิดกับตัว จนเห็นสถานที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ และดับไปของมันอย่างชัดเจนด้วยสติปัญญาจริง ๆ จิตที่รู้ความจริงของทุกข์แล้วก็สงบตัวลงไม่แสดงการส่ายแส่แปรสภาพไปเป็นอื่น นอกจากดำรงตนอยู่ในความจริงและเป็นหนึ่งอยู่เพียงดวงเดียว ไม่มีอะไรมารบกวนลวนลามเท่านั้น ไม่เห็นความแปลกปลอมใด ๆ เข้ามาเคลือบแฝงได้เลย ทุกขเวทนาก็ดับสนิทลงในเวลานั้น แม้ไม่ดับก็ไม่สามารถทับจิตใจเราได้ คงต่างอันต่างจริงอยู่เพียงเท่านั้น นี่แลที่ว่าสัจธรรมเป็นของจริงสุดส่วน จริงอย่างนี้เองท่าน คือท่านอยู่ที่จิตดวงมีสติปัญญารอบตัวเพราะการพิจารณา มิใช่เพราะอ่อนแอ เพราะนั่งทับนอนทับสติปัญญาเครื่องมือที่ทันกันกับทางแก้กิเลสอยู่เฉย ๆ
ผมจะเปรียบเทียบให้ท่านฟัง หินนั้นปาหัวคนก็แตก ทับหัวคนก็ตายได้แต่นำมาทำประโยชน์เช่นเป็นหินลับมีดหรืออะไร ๆ ก็ได้ ตามแต่คนโง่จะนำมาทำลายสังหารตน หรือคนฉลาดจะนำมาทำเป็นหินลับมีดหรืออื่น ๆ เพื่อประโยชน์แก่ตนตามต้องการ สติปัญญาก็เช่นกัน จะนำไปใช้ในทางผิดคิดไตร่ตรองในทางไม่ชอบ ฉลาดประกอบอาชีพในทางผิด เช่น ฉลาดหาอุบายฉกลักปล้นจี้เขา เร็วยิ่งกว่าลิงจนตามไม่ทัน ก็ย่อมเกิดโทษเพราะนำสติปัญญาไปใช้ในทางที่ผิด จะนำสติปัญญามาใช้เป็นการอาชีพในทางที่ถูก เช่น คิดปลูกบ้านสร้างเรือน เป็นช่างไม้ช่างเขียนช่างแกะลวดลายต่าง ๆ เป็นต้น หรือจะนำมาใช้แก้กิเลสตัณหาตัวเหนียวแน่นแก่นวัฏฏะ ที่พาให้เวียนเกิดเวียนตายอยู่ ไม่หมดจนหมดสิ้นไปจากใจ กลายเป็นความบริสุทธิ์ถึงวิมุตติพระนิพพานทั้งเป็น ในวันนี้ เดือนนี้ ปีนี้ ชาตินี้ ก็ไม่เหลือวิสัยของมนุษย์จะทำได้ ดังที่ท่านผู้ฉลาดทำได้กันมาแล้ว แต่ต้นพุทธกาลจนถึงปัจจุบันคือวันนี้
ปัญญาย่อมอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้สนใจใคร่ครวญไม่มีทางสิ้นสุด.เพราะสติกับปัญญาไม่เคยจนตรอกหลอกตัวเองแต่ไหนแต่ไรมา พอจะทำให้กลัวว่า ตนจะมีสติปัญญามากเกินไป จะกลายเป็นคนดีซ่านผลาญธรรมประคองตัวไปไม่รอด และจอดจมในกลางคัน
สติปัญญานี้ ปราชญ์ท่านชมว่า เป็นสิ่งที่เยี่ยมยอดอย่างออกหน้าออกตาแต่ดึกดำบรรพ์มาไม่เคยล้าสมัย ท่านจึงควรคิดค้นสติปัญญาขึ้นมาเป็นเครื่องป้องกันและทำลายข้าศึกอยู่ภายในให้สิ้นซากไป จะเห็นใจดวงประเสริฐว่ามีอยู่กับตัวแต่ไหนแต่ไรมา
การสอนท่านด้วยธรรมเหล่านี้ ล้วนเป็นธรรมที่ผมเคยพิจารณาและได้ผลมาแล้ว มิได้สอนแบบสุ่มเดาเกาหาที่คันไม่ถูก แต่สอนตามที่รู้ที่เห็นที่เคยเป็นมาไม่สงสัย ใครที่อยากพ้นทุกข์ แต่กลัวทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตนไม่ยอมพิจารณา ผู้นั้นไม่มีวันพ้นทุกข์ไปได้ เพราะทางไปนิพพานต้องอาศัยทุกข์กับสมุทัยเป็นที่เหยียบย่างไปด้วยมรรคเครื่องดำเนิน พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์ทุก ๆ พระองค์ ท่านสำเร็จมรรคผลนิพพานด้วยสัจธรรมสี่กันทั้งนั้น ไม่ยกเว้นแม้องค์เดียว ว่าไม่ได้ผ่านสัจธรรมสี่โดยสมบูรณ์
ก็เวลานี้มีสัจจะใดบ้างที่กำลังประกาศความจริงของตนอยู่ในกายในใจท่านอย่างเปิดเผย ท่านจงพิจารณาสัจจะนั้นด้วยสติปัญญาให้รู้แจ้งตามความจริงกองสัจจะนั้น ๆ อย่านั่งเข้านอนเฝ้ากันอยู่เฉย ๆ จะกลายเป็นโมฆบุรุษในวงสัจธรรม ซึ่งเคยเป็นของจริงมาดั้งเดิม
ถ้าพระธุดงคกรรมฐานเราไม่สามารถอาจรู้ความจริงที่ประกาศอยู่กับตนอย่างเปิดเผยได้ ก็ไม่มีใครจะสามารถอาจรู้ได้ เพราะวงพระกรรมฐานเป็นวงที่ใกล้ชิดสนิทกับสัจธรรมอยู่มากกว่าวงอื่น ๆ ที่ควรจะรู้เห็นได้ก่อนใครหมด วงนอกจากนี้แม้จะมีสัจธรรมประจำกายประจำใจด้วยกันก็จริง แต่ยังห่างเหินต่อการพิจารณาอันเป็นทางรู้แจ้งผิดกัน เนื่องจากเพศ และโอกาสที่จะอำนวยต่างกัน เฉพาะพระธุดงคกรรมฐานซึ่งพร้อมทุกอย่างแล้วในการดำเนินและเดินก้าวเข้าสู่ความจริงที่ประกาศอยู่กับตัวทุกเวลา ถ้าท่านเป็นเลือดนักรบสมนามที่ศาสดาทรงขนานให้ว่าศากยบุตรพุทธชิโนรสจริง ๆ แล้ว ท่านจงพยายามพิจารณาให้รู้แจ้งสัจจะคือทุกขเวทนาที่กำลังประกาศตัวอยู่อย่างโจ่งแจ้งเปิดเผยในกายในใจท่านเวลานี้ อย่าปล่อยให้ทุกขเวทนาเหยียบย่ำทำลายและกาลเวลาผ่านไปเปล่า
ขอให้ยึดความจริงจากทุกขเวทนาขึ้นสู่สติปัญญา และตีตราประกาศฝังใจลงอย่างแน่นหนา แต่บัดนี้เป็นต้นไปว่า ความจริงสี่อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ตลอดมานั้น บัดนี้ทุกขสัจได้แจ้งประจักษ์กับสติปัญญาเราแล้วไม่มีทางสงสัย นอกจากจะพยายามเจริญให้ความจริงนั้น ๆ เจริญยิ่งขึ้นโดยลำดับ จนหายสงสัยโดยสิ้นเชิงเท่านั้น
ถ้าท่านพยายามดังที่ผมสั่งสอนนี้แม้ไข้ในกายท่านจะกำเริบรุนแรงเพียงไร ท่านเองจะเป็นเหมือนคนมิได้เป็นอะไร คือใจท่านมิได้ไหวหวั่นสั่นสะเทือนไปตามอาการแห่งความสุขความทุกข์ที่เกิดขึ้นในกายนั่นเลย มีแต่ความภาคภูมิใจที่สัมผัสสัมพันธ์กับความที่ได้รู้แล้วเห็นแล้วโดยสม่ำเสมอ ไม่แสดงอาการลุ่ม ๆ ดอน ๆ เพราะไข้กำเริบหรือไข้สงบตัวลงแต่อย่างใด
นี่แลคือการเรียนธรรมเพื่อความจริง ปราชญ์ท่านเรียนกันอย่างนี้ ท่านมิได้ไปปรุงแต่งเวทนาต่าง ๆ ให้เป็นไปตามความต้องการ เช่นอยากให้เป็นอย่างนั้น อยากให้เป็นอย่างนี้ตามชอบใจ ซึ่งเป็นการสั่งสมสมุทัยให้กำเริบรุนแรงยิ่งขึ้น แทนที่จะเป็นไปตามใจชอบ ท่านจงจำไว้ให้ถึงใจ พิจารณาให้ถึงอรรถถึงธรรม คือความจริงที่มีอยู่กับท่านเอง ซึ่งเป็นฐานะที่ควรรู้ได้ด้วยตนเองแต่ละราย ๆ ผมเป็นเพียงผู้แนะอุบายให้เท่านั้น ส่วนความเก่งกาจอาจหาญ หรือความล้มเหลวใด ๆ นั้นขึ้นอยู่กับผู้พิจารณาโดยเฉพาะ ผู้อื่นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
เอานะท่าน จงทำให้สมหน้าสมตาที่เป็นลูกศิษย์มีครูสั่งสอน อย่านอนเป็นที่เช็ดเท้าให้กิเลสขึ้นย่ำยีตีแผ่ได้ จะแย่และเดือดร้อนในภายหลัง จะว่าผมไม่บอก
ที่มา
http://www.dharma-gateway.com
_________________
ท่านสามารถฟังวิทยุเสียงธรรมหลวงตามหาบัวได้ทั่วประเทศ
และโทรทัศน์ดาวเทียมเสียงธรรมทั้งภาพและเสียงได้แล้วที่
http://www.luangta.com
พิทรายา
บัวใต้น้ำ
เข้าร่วม: 12 ส.ค. 2007
ตอบ: 103
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี
ตอบเมื่อ: 11 ต.ค.2007, 1:25 pm
_________________
ความยึดมั่นถือมั่นทำให้เป็นทุกข์
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th