ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
26 ต.ค.2007, 2:11 pm |
  |
ข้าพเจ้าเคยได้ยินว่าหลักธรรมมีมากมายหลายข้อหลายหมวดหมู่ ซึ่งเราสามารถนำมาใช้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้ชีวิตมีเป้าหมายที่มั่นคงมากยิ่งขึ้น
แต่หลักธรรมที่มากหลาย ก็นำมาซึ่งการโต้แย้ง หาเหตุผลว่าหลักธรรมใดที่ดีที่สุด เพราะมนุษย์มาจากที่ๆแตกต่างกัน ต่างความคิด ต่างการดำเนินชีวิต หลักธรรมจึงมีความหลากหลายเพื่อรองรับสิ่งเหล่านี้
จึงใคร่ขอถามว่า
หลักธรรมข้อใด...ที่คุณใช้ในการดำเนินชีวิตมากที่สุด...เพื่อความสุขที่สุด...ทุกข์น้อยที่สุด
ตอบ.......
หลักธรรมที่มนุษย์ใช้ในการดำรงชีวิต และดำเนินชีวิต ตามหลักการของข้าพเจ้าก็คือ
1. ทาน 2. การครองเรือน
3. กตัญญู 4. เจรจา
5. สรรพอาชีพ 6. ประพฤติ
7. ระลึก 8. ดำริ
ทั้ง 4 คู่ 8 ข้อ เป็นเครื่องดิ้นรนแห่งสรรพสิ่ง ล้วนคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ทั้ง 4 คู่ 8 ข้อ เป็นปัจจัย ที่ทำให้มนุษย์ เกิด อารมณ์ ความรู้สึก สรรสร้าง นวัตกรรม และประดิษฐ์สิ่งต่างๆ รวมไปถึง การทำลาย และอื่นๆ
และหลักการหรือธรรมะในทุกข้อ มนุษย์ล้วนต้องใช้ ใน ข้อที่ 7 คือ ระลึก และข้อที่ 8 คือดำริ มากที่สุด และเป็นหลักธรรมที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติทุกข์น้อยที่สุด หากมีความพอดีในการ ระลึก และดำริ
การคิด และการคิดถึงสิ่งได้ผ่านไปในอดีต ล้วนย่อมเป็นสิ่งที่ทำให้มีความสุขได้ และเกิดความทุกข์น้อยที่สุดหรือไม่เกิดความทุกข์เลย ถ้ารู้จักใช้ความรู้ ประสบการณ์ เป็นเครื่องประกอบในการคิด และใช้เป็นปัจจัยในพฤติกรรมหรือการกระทำใดใด เพื่อก่อให้เกิดความสุข เพื่อมิให้เกิดความทุกข์
ถ้าไม่คิด ก็ไม่เกิดความทุกข์ ถ้าไม่คิดอะไรซะเลยก็อาจเกิดความทุกข์ได้เช่นกัน
ดังนั้นต้องรู้จักคิด ต้องรู้จักนึกถึงอดีตบ้าง เพื่อก่อให้เกิดพฤติกรรมหรือการกระทำอันจักทำให้เกิดความสุข หรือไม่เกิดความทุกข์
เพราะ ระลึก และดำริ เป็นเครื่องดิ้นรน ของมนุษย์ ฯ ไม่มีมนุษย์ฯ คนไหน ไม่คิด
คิดดี ก็ไม่เกิดความทุกข์ คิดไม่ดี ก็ย่อมเกิดความทุกข์
นึกถึงอดีตที่ดี ก็ไม่เกิดความทุกข์ คิดถึงอดีตที่ไม่ดี ก็ย่อมเกิดความทุกข์ |
|
|
|
  |
 |
bad&good
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115
|
ตอบเมื่อ:
26 ต.ค.2007, 9:49 pm |
  |
หลักธรรมที่เป็นทุกข์น้อยที่สุด คือ
ความไม่เป็นทุกข์ ด้วย
หลักธรรมที่ต้องใช้ในประจำวันมากที่สุด คือ
มีสติ ระลึกอยู่เสมอว่า ขออย่าได้มีกิเลสเลย |
|
_________________ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์ |
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
27 ต.ค.2007, 8:29 pm |
  |
คุณเข้าใจผิดแล้วนะ
สติ สัมปชัญญะ ไม่ใช่ข้อธรรมะ
แต่เป็นสภาพสภาวะจิตใจรูปแบบหนึ่งอันเกิดจากการได้รับการฝึกฝนเพื่อให้มีสมาธิ
สิ่งที่เป็นผลต่อจากสมาธิ คือ สติ สัมปชัญญะ
สติ สัมปชัญญะนั้น จะต้องประกอบไปด้วย ความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ อันได้รับการขัดเกลาทางสังคมอีกด้วย
คุณไปพิจารณาหรือสังเกตตัวคุณเอง แล้วก็จะเกิดความเข้าใจ |
|
|
|
  |
 |
bad&good
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115
|
ตอบเมื่อ:
27 ต.ค.2007, 8:57 pm |
  |
คำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งปวง คือ ธรรมะ
..................................................................................
ผู้ที่รู้จักใช้ ธรรมะ เพื่อดับกิเลส ของตนเอง
คือ ผู้ที่มีทุกข์น้อยที่สุด หรือ ผู้ที่มีแต่ ความสุข
อิ่มในสุข
พอใจในสุขของตน
พอใจในความดี ความสุขของผู้อื่น
ข้าพเจ้า ขออนุโมทนาบุญกุศล ต่อ ทุกสิ่งอันดีงาม ที่ทำให้ผู้อื่นกระทำตาม รู้สึกหน้าชื่นตาบาน (อิ่มสุข อิ่มบุญ) คือ ไม่มีทุกข์ คือ มีทุกข์น้อยที่สุด |
|
_________________ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์ |
|
  |
 |
โลซก
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 25 มิ.ย. 2007
ตอบ: 14
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
31 ต.ค.2007, 1:39 pm |
  |
ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส
สามข้อนี้ คือหัวใจของของพุทธศาสนา
ทำให้ได้สามข้อนี้ ไม่ต้องสนใจธรรมะข้อใดๆแล้วหละ |
|
_________________ ทำความดีละเว้นความชั่ว
ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว....
.....แล้วทุกอย่างจะดีเอง ! |
|
  |
 |
z
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 23 ต.ค. 2007
ตอบ: 46
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
01 พ.ย.2007, 6:28 am |
  |
...พรหมวิหาร4...ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุขในสังคม.. |
|
|
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
01 พ.ย.2007, 8:36 am |
  |
เครื่องดิ้นรนแห่งสรรพสิ่ง อันมี องค์ 8 ล้วนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก รวมไปถึง สภาพสภาวะจิตใจ ในรูปแบบต่างๆ
คุณต้องทำความเข้าใจว่า สภาพสภาวะจิตใจของมนุษย์ นั้น ได้ถูกนำมารวมไว้เป็นความจำกัดความ หรือย่อให้สั้นเพื่อง่ายต่อการเรียกหา
แต่แท้ที่จริง แล้วคือสภาพสภาวะจิตใจอย่างหนึ่ง ชนิดหนึ่ง ถ้ามี 4 ข้อ ก็เป็นสภาพสภาวะจิตใจ 4 ชนิด
เช่น สภาพสภาวะจิตใจ ที่มีแต่ความปรารถนาให้พบสุข
สภาพสภาวะจิตใจ ที่มีแต่ความไม่สนใจในสิ่งที่เห็น หรือได้ยิน หรือได้สัมผัส
ฯลฯ
ซึ่ง สภาพสภาวจิตใจต่างๆเหล่านั้น ล้วนมีต้นตอมาจาก ความคิด(1ในหลักธรรม เครื่องดิ้นรนแห่งสรรพสิ่ง อันมีองค์8) อันหมายถึงตัวเรา
แต่ถ้าจะนับต้นตอจริงๆแล้ว ย่อมมาจากการได้รับรู้ ได้เห็น พฤติกรรมต่างๆจากภายนอกร่างกายเรา ฉะนี้ |
|
|
|
  |
 |
1เอง
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2007
ตอบ: 43
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
05 พ.ย.2007, 9:15 am |
  |
ดับสังขารได้ทุกข์อื่นๆดับหมด
เจริญในธรรมครับ |
|
|
|
  |
 |
|