Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 web คริสเตียนดูหมิ่นพุทธอีกแล้วครับ...?? ทำไมนะ... อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
montasavi
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2007, 12:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดูได้ใน http://www.gotquestions.org/Thai/Thai-Buddhist-Christian.html

คำถาม: ฉันเป็นพุทธศาสนิกชน, แล้วฉันจะต้องอยากเป็นคริสเตียนทำไม ?

คำตอบ: เมื่อเปรียบเทียบกับศาสนาพุทธกับความเชื่อของคริสเตียน มีข้อแตกต่างหลายอย่างที่น่าจะพิจารณา

ประการแรก ในขณะที่ทั้งในความเชื่อของคริสเตียน และ ศาสนาพุทธมีบุคคลในประวัติศาสตร์เป็นจุดศูนย์กลางเหมือนกัน คือพระเยซู และพระพุทธเจ้าตามลำดับ แต่พระเยซูพระองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย มีศาสดามากมายในประวัติศาสตร์ที่รอบรู้ และหลายองค์ทรงเป็นผู้ก่อตั้งศาสนา พระสิททัตถะ โคตะมะ หรือพระพุทธเจ้า ผู้ทรงมีอีกชื่อหนึ่งว่าพระศรีศากยมุนีทรงโดดเด่นยู่ท่ามกลางศาสดาทั้งหลายเพราะทรงมีสติปัญญาพิเศษและหลักปรัชญาชีวิตที่ล้ำลึก แต่พระเยซูก็ทรงโดดเด่นเช่นกัน และพระองค์ทรงยืนยันคำสอนฝ่ายวิญญาณของพระองค์ด้วยการทดสอบที่ฤทธิอำนาจจากสวรรค์เท่านั้นที่จะทำได้ นั่นคือการยืนยันด้วยการวายพระชนม์และฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์ – ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่พระองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้และถูกทำให้สำเร็จลงด้วยพระองค์เอง (มัทธิว 16:21; 20:18-19; มาระโก 8:31; 1 ลูกา 9:22; ยอห์น 20-21; 1 โครินธ์ 15) ดังนั้นพระเยซูจึงทรงสมควรที่จะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ

ประการที่สอง ข้อพระคัมภีร์ของคริสเตียนโดดเด่นทางประวัติศาสตร์ และสมควรที่จะได้รับการพิจารณาอย่างแท้จริง เราอาจถึงกับพูดได้ว่าประวัติศาสตร์ของพระคัมภีร์เป็นความจริงเสียจนกระทั่งการสงสัยพระคัมภีร์คือการสงสัยประวัติศาสตร์เสียเอง เนื่องจากพระคัมภีร์เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ จากหนังสือประวัติศาสตร์ทั้งหมดที่ สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ พันธสัญญาใหม่คือหนังสือเล่มเดียวที่พิสูจน์ได้ในทางประวัติศาสตร์ดียิ่งกว่าพันธสัญญาเดิม (พระคัมภีร์ของชาวฮีบรู) โดยการพิจารณาจากหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1) มีเอกสารตัวเขียนเกี่ยวกับเกี่ยวพันธสัญญาใหม่ที่ยังเหลืออยู่มากกว่าเอกสารใดในประวัติศาสตร์ - มีเอกสารที่เขียนด้วยมือเป็นภาษากรีกโบราณ 5,000 ฉบับ, และที่เป็นภาษาอื่น ๆ อีก รวมกันแล้วเป็น 24,000 ฉบับ ความหลายหลากของเอกสารดังกล่าวทำให้มันกลายเป็นแหล่งค้นคว้าอันมหึมาที่เราสามารถตรวจข้อความกลับไปกลับมาระหว่างเอกสารหนึ่งกับอีกเอกสารหนึ่งได้ เพื่อให้แน่ใจว่าต้นฉบับเขียนว่าอย่างไร

2) เอกสารตัวเขียนของพันธสัญญาใหม่มีอายุใกล้เคียงกับต้นฉบับมากกว่าเอกสารใดในประวัติศาสตร์ ต้นฉบับทั้งหมดถูกเขียนขึ้นในศตวรรษแรกโดยมีผู้เห็นเหตุการณ์เป็นพยาน และในปัจจุบันเรามีบางส่วนของเอกสารตัวเขียนที่มีอายุเก่าขนาดปี ค.ศ. 125 สำเนาของหนังสือทั้งเล่มถูกค้นพบในราวปีค.ศ. 200 และเราสามารถค้นพบได้ว่าพันธสัญญาใหม่ที่สมบูรณ์ลงวันที่ย้อนกลับไปถึงปี ค.ศ. 250 จากการที่หนังสือทุกฉบับถูกเขียนขึ้นมาตั้งแต่ดั้งเดิมโดยมีประจักษ์พยานร่วมสมัยเป็นพยาน นั่นหมายความว่ามันไม่ใช่เทพนิยายหรือนิทานชาวบ้านที่เล่าต่อ ๆ กันมา อีกทั้งสิ่งที่พระคัมภีร์ยืนยันว่าเป็นความจริงได้รับการยืนยันว่าเป็นความจริง โดยการถูกต่อต้านอย่างรุนแรง และโดยสมาชิกของคริสตจักรผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์เอง

3) เอกสารในพันธสัญญาใหม่ถูกต้องแม่นยำมากกว่าเอกสารใดในประวัติศาสตร์ จอห์น อาร์ โรบินสัน ผู้เขียนหนังสือชื่อ Honest To God รายงานว่าเอกสารในพันธสัญญาใหม่ถูกต้องแม่นยำ 99.9% (ถูกต้องมากกว่าหนังสือโบราณใด ๆ ทั้งสิ้น) ส่วน บรูซ เมทซเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพันธสัญญาใหม่ฉบับภาษากรีก ให้คะแนนอยู่ที่ 99.5% ประการที่สาม จริยธรรมของคริสเตียนมีพื้นฐานมั่นคงกว่าจริยธรรมของศาสนาพุทธ จริยธรรมของคริสเตียนมีพื้นฐานมาจากพระลักษณะส่วนตัวของพระเจ้า พระเจ้าทรงเป็นบุคคลและทรงชอบธรรม ธรรมชาติของพระองค์นั้นดี การกระทำซึ่งสอดคล้องกับความดีงามของพระองค์โดยปกติแล้วเป็นการกระทำที่ดี และการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับความดีงามของพระองค์โดยปกติแล้วเป็นการกระทำที่ไม่ดี แต่ตามความเห็นของพุทธศาสนิกชนความจริงนี้ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นบุคคล แต่ว่าความรู้สึกผิดและชอบต้องการความมีตัวตน เพื่อที่จะได้เห็นภาพชัดเจนให้เราพิจารณาความรู้สึกผิดชอมของก้อนหินกัน ไม่มีใครโทษก้อนหินว่ามันถูกใช้ในการฆาตกรรม เพราะมันไม่มีชีวิตจิตใจที่จะรู้ว่าอะไรดีหรืออะไรไม่ดี แต่ความรับผิดชอบนั้นตกอยู่กับคนที่ใช้มันเพื่อการร้าย เราจะเห็นว่าศาสนาพุทธขาดโครงสร้างที่มีชีวิตที่จะมารับผิดชอบการกระทำเกี่ยวกับคุณธรรมไป ในศาสนาพุทธ กรรมคือโครงสร้างทางด้านคุณธรรม แต่กรรมไม่มีชีวิต มันคล้ายกับกฎแห่งธรรมชาติ การทำผิด“กฎ” แห่งกรรม โดยเนื้อแท้แล้วจึงไม่ใช่เรื่องชั่วร้าย ดูเหมือนว่ามันจะไม่มีข้อแตกต่างอะไรมากมายนักระหว่างความผิดพลาด (ความผิดพลาดที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคุณธรรม) และความบาป (การกระทำที่ผิดคุณธรรม) ยิ่งไปกว่านั้นพุทธศาสนิกชนเป็นอันมากเชื่อว่าในที่สุด “ความดี” และ “ความชั่ว” ก็จะหักล้างกันไปเอง “ความดี” และ “ความชั่ว” เป็นเพียง มายา หรือภาพลวงตาของความจริงเท่านั้น คุณธรรมไม่ยิ่งใหญ่พอที่จะชี้ให้เห็นถึงความจริงได้ ผู้ที่มีความเข้าใจจะเห็นว่าตอนนี้ความดีและความชั่วเข้ามาปนเปกันจนกลายเป็นสิ่งเดียวกันไปเสียแล้ว แต่การเป็นเช่นนั้นทำให้หมายความว่าในที่สุดความจริงก็คงจะไม่ “ดี” นัก แต่ก็คงไม่ “ชั่วร้าย” นักเช่นกัน แล้วจะมีอะไรมายืนยันว่า “ความจริง” มีค่ามากพอให้เราแสวงหาเล่า แล้วเราจะมีหลักอะไรมายึดถือในการใช้ชีวิตที่ดีอย่างมีคุณธรรม หรือไม่มีคุณธรรม หากไม่มีข้อแตกต่างให้เห็น หรือเราจะอยู่เฉย ๆ โดยไม่ทำอะไรเลยเพื่อจะได้ไม่ต้องเลือกว่าอะไรดีหรือไม่ดี? หากศาสนาพุทธยืนยันว่าความจริงไม่มีตัวตน และข้อแตกต่างระหว่างความดีและความชั่วจริง ๆ แล้วก็ไม่ใช่ความจริง ดังนั้นศาสนาพุทธก็ไม่มีพื้นฐานที่แท้จริงทางด้านคุณธรรม ในทางกลับกันความเชื่อของคริสเตียนสามารถชี้ได้ทั้งสองประการไปถึงพระลักษณะของพระเจ้าในฐานะผู้ทรงวางรากฐานเกี่ยวกับคุณธรรม และผู้ทรงปูพื้นฐานข้อแตกต่างระหว่างความดีกับความชั่ว

ประการที่สี่ คริสเตียนเห็นคุณค่าที่ถูกต้องของ “ความปรารถนา” ส่วนคุณธรรมในศาสนาพุทธดูเหมือนว่าจะมีปัญหาในเรื่องนี้ พระศรีศากยะมุนี สอนว่า ตัณหา – “ความปรารถนา” หรือ “ความผูกติด” – คือรากเหง้าของความทุกข์และควรได้รับการจัดการให้หมดไป แต่เป็นที่ยอมรับว่าสิ่งดี ๆ บางอย่างมาจากแนวความคิดที่เกี่ยวกับความปรารถนาที่ว่านี้ ยกตัวอย่างเช่น ความรักคือ “ความปรารถนา” ที่จะให้สิ่งดีกับผู้อื่น (ดู ยอห์น 15:13; 1 ยอห์น 4:7-12) คนเราไม่สามารถรักได้หากเขาไม่มีความ ปรารถนา ในระดับหนึ่ง ที่จะให้คน ๆ นั้นได้รับแต่สิ่งที่ดี ๆ ความเชื่อของคริสเตียนสอนว่าความปรารถนาเป็นสิ่งที่ดีหากมันถูกใช้อย่างเหมาะสม ท่านเปาโลหนุนใจให้คริสเตียน “กระตือรือร้นอย่างจริงจังบรรดาของประทานอันดีที่สุดนั้น” (1 โครินธ์ 12:31; 14:1) ในหนังสือสดุดี เราได้เห็นภาพของผู้นมัสการโหยหาและปรารถนาที่จะมีความสัมพันธ์กับพระเจ้า (สดุดี 42:1-2; 84) และแน่นอนพระเจ้าทรงไม่ได้ทำเป็นว่ารัก แต่พระองค์ทรงเป็น ความรัก (1 ยอห์น 4:9; สดุดี 136; ยอห์น 3:16) การโยนความปรารถนาทิ้งไปโดยรวมแล้วเหมือนกับการโยนทารกที่น่ารักคนหนึ่ง (ความรัก) ทิ้งไปเพราะน้ำอาบสกปรก (ความทุกข์)

ประการที่ห้า เป็นคำถามที่ถามว่า “ท่านทำอะไรกับความบาปของท่าน?” ศาสนาพุทธมีแนวความคิดอย่างน้อยสองแนวเกี่ยวกับความบาป ความบาปบางครั้งถูกเข้าใจว่าเป็นความไม่ใส่ใจ มันเป็นความบาปหากเราไม่เห็นหรือเข้าใจความจริงอย่างที่ศาสนาพุทธให้คำจำกัดความไว้ แต่ศาสนาพุทธยังมีแนวความคิดอีกอย่างหนึ่งด้วยเกี่ยวกับความผิดพลาดทางคุณธรรมที่เรียกว่า “ความบาป” การทำความชั่วโดยตั้งใจ, การทำลายกฎฝ่ายวิญญาณหรือฝ่ายโลก, หรือการมีความปรารถนาในสิ่งผิด, สิ่งเหล่านี้เป็นความบาปแน่นอน แต่คำจำกัดความหลังสุดเกี่ยวกับความบาปชี้ไปถึงความผิดพลาดทางคุณธรรมที่ต้องมีการแก้ไขชดเชยอย่างแท้จริง แล้วเราจะเอาอะไรมาชดเชยบาป? การยึดหลักกฎแห่งกรรมชดเชยบาปได้ไหม? กรรมไม่มีชีวิตและไม่มีคุณธรรม คนเราสามารถทำความดีเพื่อถ่วงดุลกับความชั่วได้ แต่เราไม่สามารถขจัดความบาปออกไปได้ กรรมไม่ได้แม้แต่จะบอกว่าเราจะเปลี่ยนความผิดทางด้านคุณธรรมให้เป็นความถูกต้องได้อย่างไร แล้วเราทำความผิดต่อใครเล่าหากเราทำความผิดในที่ลับ? กรรมไม่ได้สนใจอะไรเลยไม่ว่าจะเป็นความผิดในที่ลับหรือที่แจ้งเพราะกรรมไม่มีชีวิต การแก้ไขชดเชยบาปเกิดขึ้นได้ด้วยการสวดมนตร์หรืออุทิศตัวให้กับพระโพธิสัตว์หรือพระพุทธเจ้าได้ไหม? แม้ว่าพระองค์อาจจะให้อภัยเราได้ แต่ความบาปก็ยังต้องมีการชดใช้อยู่ดี พระองค์อาจให้อภัยได้จึงทำให้ดูเหมือนว่าความบาปสามารถให้อภัยกันได้; มันไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร

แต่ในอีกมุมหนึ่งความเชื่อแบบคริสเตียนดูเหมือนว่าจะเป็นความเชื่อเดียวมีมุมมองทางด้านศาสนศาสตร์เกี่ยวกับความบาปที่พอเพียง ตามความเชื่อของคริสเตียนความบาปเป็นความผิดพลาดทางด้านคุณธรรม ตั้งแต่สมัยอาดัมเป็นต้นมา มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่มีความบาปติดตัว ความบาปเป็นเรื่องจริง และมันก่อให้เกิดช่องว่างที่ไม่มีที่สิ้นสุดระหว่างมนุษย์และความสุข ความบาปเรียกร้องความยุติธรรม แต่มันไม่สามารถ “หักลบ” กันได้กับการทำความดีที่เท่ากันหรือมากกว่า หากมีใครคนหนึ่งทำความดีมากกว่าความชั่ว 10 ครั้ง เขาก็ยังมีความชั่วอยู่ภายใต้จิตสำนึกของเขาอยู่นั่นเอง แล้วเกิดอะไรขึ้นสำหรับความชั่วที่ยังคงค้างคาอยู่? มันได้รับการให้อภัยเสมือนว่ามันไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรอย่างนั้นหรือ? มันได้รับอนุญาตให้อยู่ร่วมกับความสุขอย่างนั้นหรือ? มันเป็นเพียงแค่ภาพลวงตาโดยไม่มีปัญหาใด ๆ ทั้งสิ้นหรือ? คำตอบเหล่านี้ไม่มีคำตอบใดที่สมเหตุสมผล เมื่อพูดถึงภาพลวงตา ความบาปเป็นความจริงสำหรับเราเกินกว่าที่จะเป็นแค่ภาพลวงตาเท่านั้น เมื่อพูดถึงความบาปของเรา หากเราซื่อสัตย์กับตัวเองเรารู้ว่าเราทุกคนเคยทำบาปมาแล้วทั้งนั้น เมื่อพูดถึงการยกโทษ การยกโทษบาปง่าย ๆ โดยไม่ต้องเสียอะไรทั้งสิ้นทำให้ดูเหมือนว่าความบาปไม่มีผลเสียอะไรมากมายนัก แต่เรารู้ว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น เมื่อพูดถึงความสุข “ความสุข” ก็คงไม่ดีอะไรนักหากความบาปยังแอบเข้ามากวนใจเราอยู่เรื่อย ๆ มันดูเหมือนว่าตาชั่งแห่งกรรมจะทิ้งให้เราสำนึกถึงความบาปอยู่ในใจจนความสุขทนไม่ได้ หรือไม่มันก็ต้องหยุดความเต็มที่ของมัน เพื่อที่เราจะเข้ามาได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2007, 1:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มาก. พระองค์เป็นบุคคลที่มีตัวจริงทางประวัติศาสตร์
ฉะนั้น จึงเป็นการง่ายที่คนทั้งหลายจะเข้าใจ.
พระคริสต์เป็นบุคคลที่มีตัวจริงทางประวัติศาสตร์ และเป็นเทวดาในขณะเดียวกัน ฉะนั้น จึงยากมากที่จะเข้าใจได้.”

ศาสตราจารย์คาร์ล กุสตาฟ จุง (๑๘๗๕-๑๙๖๑)
นักจิตวิทยา ชาวสวิสส์

Professor Carl Gustav Jung

“Buddha is the more complete human being. He is a historical personality and therefore easier for men to understand. Christ is at once a historical man and god, and therefore more difficult to comprehend.”
 
kanawat_ny
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2007
ตอบ: 47

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2007, 3:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เคยศึกษาเกี่ยวกับคริสเตียนนและคาทอลิค (เข้าโบสถ์ เรียนพระธรรมวินัย อยู่โบสถ์ ร่วมกิจกรรมคริสตจักร วันเสาร์-อาทิตย์ ร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโบสถ์ ตั้งแต่สมัยเรียน ม. 3 อายุขณะนั้น 15 ปี อายุขณะนี้ 35 )...ก็ไม่เคยคิดว่าจะเปลี่ยนไปจากศาสนาพุทธ
 

_________________
กมฺมุนา วตฺตตี โลโก
ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์
(อิสระ ชีวา)
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2007, 7:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เราศรัทธากันคนละอย่าง เชื่อถือกันคนละอย่าง แต่เวลานี้เราอยู่บนโลกใบเดียวกัน อย่าให้ความศรัทธาที่แตกต่างกันของคนแต่ละฝ่าย มาทำลายไมตรีอันดีงามต่อกันเลย เอาไว้ตายเองแล้วค่อยพิสูจน์เองว่าตนจะไปที่ไหนต่อ ดีกว่า
 
ณพรหม
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 25 มิ.ย. 2007
ตอบ: 47
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2007, 10:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มีเหตุมีผล
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา มิใช่แค่มนุษย์ที่เป็นแค่ผู้ปดทุกห์ นำสุขมาให้
มิใช้แค่พระจักรพรรด์ที่ยิ่งด้วยบารมี
มิใช้แค่เทวดาที่ไม่ยินดีใน ยศ คำสรรเสริญ
มิใช้แค่พรหมที่ไม่ยินดีในเพลินกับความสุขในสมาธิ และ วิชชา
แต่เป็นพระบรมโพธิสัตว์ ที่มุ่งหวัง จะนำสัตว์ พ้นจาก 3 โลก
(อบายภูมิ สวรรค์ โลกมนุษย์)
สุ่พระนิพพาน ซึ่งท่านเป็นผู้สร้างทางสู่พระนิพพานให้แก่เรา
พระนิพพาน ไม่ใช่ความยินดีหรือความสุข
ไม่ใช่ความไม่ปราถนาหรือความทุกข์
แต่ธาตุสำเร็จ นำความสบายกายสบายใจ
ไม่มีโทษ มีแต่ความนิ่งๆๆ นุ่มๆๆ เบาๆๆ สบายๆๆ วางจากทุกสิ่งแล้ว
ซึ่งเป็นความสุขที่แท้จริงนะจ้ะ โดยการไม่ยินดี(ไม่ติด ไม่มีความห่วงห้อยคอ)
 

_________________
ตะวันที่ให้แสงสว่างแก่ สัตว์ทั้งหลายทุกโลกธาตุฉันใด
ตัวเราจะเป็นผู้ให้ความสว่างชี้ทางสู่ความเป็น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหัตถเจ้า ตลอดอนันต์โลกธาตุ จะรื้อสัตว์ขนสตัว์ให้หมดไปฉันนั้น
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
NongBua
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 10 ก.ค. 2007
ตอบ: 21

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ค.2007, 7:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ว่านับถือศาสนาใด ถ้าทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสงบได้ เราว่าก็น่าจะเพียงพอแล้ว
ไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบว่าใครดีกว่าใคร ใครใช่ใครไม่ใช่
เลือกนับถือแล้วสบายใจ ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

เราเคยถามเรื่องถารสารภาพบาปกับพระเจ้ากับเพื่อนที่เป็นคริส เขาบอกว่า
ถ้าเรารู้สึกผิดในบาปที่เราได้กระทำไว้จริง แล้วจะไม่ทำมันอีก
พระเจ้าถึงจะยอมรับความผิดนั้นไป
แต่ถ้าสักแต่ว่าจะมาสารภาพบาป ไม่ได้สำนึกผิดจริงๆ พระเจ้าก็จะไม่รับฟัง

ก็คงจะคล้ายๆ กับพุทธนั่นแหละ
ที่ขออโหสิกรรมจากเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย และอโหสิกรรมให้แก่กัน

ชีวิตอันเป็นนิรันดร์ของคริส ก็คงคล้ายกันกับ นิพพาน ของพุทธ

เราเปรียบเทียบให้เห็นถึงความคล้ายคลึงนะ ไม่ใช่ความต่าง เดี๋ยวจะหาว่ากลืนน้ำลายตัวเอง

ส่วนตัวเรา เคยเข้าไปศึกษาพระคริสต์เหมือนกัน เค้าก็สอนดีนะ
แต่เราชอบแนวทางแบบพุทธมากกว่า คงเพราะเราเติบโตมากับการสอนแบบนี้
บุญส่วนบุญ บาปส่วนบาป มันช่วยให้เรามีสติอยู่ทุกขณะจิต
ถึงแม้จะหลุดไปบ้าง แต่เราก็ต้องยอมรับผิดในสิ่งที่เรากระทำลงไป

แม่ของเพื่อนเรา เค้าติดการพนันมาก พอเค้าไปเข้าโบสถ์ (คริส) เค้าก็เลิกการพนันเลย
เค้าชอบการเข้ากลุ่มร้องเพลง อย่างน้อยเค้าก็เอาเวลาเล่นการพนันไปเข้าโบสถ์
เราก็เห็นดีด้วยนะ ไม่ว่าศาสนาใด ถ้ามันทำให้คนดีขึ้นได้ก็ดีทั้งนั้นแหละ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของแต่ละบุคคลด้วย ว่าจะเลือกแนวการสอนแบบไหนแล้วสบายใจ

ปล. เค้าชักจูงให้ไปเข้าศาสนาเค้า แค่เสนอทางเลือกให้เท่านั้นเองจ้า อย่าคิดมาก

"นางวิสาขาสามารถกลับใจมิคารเศรษฐี บิดาของสามี ซึ่งนับถือครนถ์ ให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา"

พุทธยังชักจูงผู้อื่นมาเข้าศาสนาเราเลย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม.
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 22 พ.ค. 2007
ตอบ: 95

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ค.2007, 8:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พุทธมี นิพพิทา เป็นเหตุให้แสวงหา นิพพาน ครับ

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจหลักคำสอน พระธรรมจึงกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ ไม่น่าศึกษา

เกิดเป็นมนุษย์ดีกว่าเกิดเป็นสัตว์ ให้ดียิ่งกว่านี้ชาติหน้าอย่ากลับมาแสวงทุกข์กับบัวเหล่า 4 อีกเลย

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
montasavi
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ค.2007, 1:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำสอนของพุทธศาสนาต่างจากศาสนาอื่น คือ คำสอนของศาสนาอื่นนั้นเป็นคำสั่งที่ต้องทำตาม ใครไม่ทำตามจะถูกทำโทษจากเทพเจ้า แต่คำสอนของพุทธศาสนานั้นเป็นเพียงการนำกฏธรรชาติมาบอก….เท่านั้น

พระพุทธเจ้าไม่ใช่ผู้สร้างกฏหรือผู้บังคับผู้คนให้ต้องทำตามกฏ พระองค์เป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่งที่เพียรพยายามจนเกิดความรู้แจ้งในกฏธรรมชาติว่า สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นมีอะไรเป็นสาเหตุ ( เช่น อยากร่ำรวยต้องทำอย่างไร?) และทรงรู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะหลุดพ้นไปจากกฏเกณฑ์ทั้งปวงของธรรมชาติได้

ศาสนาพุทธมิใช่ว่าปฏิเสธเรื่อง”พระผู้สร้าง” แต่ไม่ให้ความสำคัญและไม่ใส่ใจที่จะไปศึกษาในเรื่องนั้น เพราะเล็งเห็นว่า ถ้าไปหมกมุ่นอยู่กับ"ผู้สร้าง"มากเกินไป ก็จะก่อให้เกิดโทษภัยเสียมากกว่า เพราะย่อมไม่มีใครยอมใครอย่างแน่นอน ( ตีกันตายเพราะเรื่องนี้..กันซะเท่าไหร่แล้ว???)

ศาสนาพุทธศึกษาแต่ในประเด็นว่า ทำอย่างไรจึงจะหลุดพ้นไปจากกฏเกณฑ์ทั้งปวงได้ ไม่ต้องยอมสยบอยู่กับอำนาจใด ๆ ทั้งสิ้น ....แล้วในที่สุด พระพุทธเจ้าก็ทรงค้นพบวิธีการนั้น นั่นก็คือ..การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่สามารถปฏิบัติให้เห็นผลได้จริงในชาติปัจจุบัน..โดยไม่ต้องอาศัยความเชื่อ สามารถเห็นผลได้ด้วยตนเองในชาตินี้ ..ไม่ต้องรอให้ตายเสียก่อน....
สรุปว่า .....ศาสนาพุทธ มิใช่ศาสนาแห่งผู้สร้าง
.....แต่...เป็นศาสนาแห่งพระผู้แก้ ( แก้ทุกข์...ให้ถึงสุขอันถาวร)

พระพุทธเจ้าเปรียนเหมือนหมอผ่าตัดผู้ป่วยที่ถูกลูกศรปักอก หมอไม่จำเป็นต้องใส่ใจว่าคนยิงเป็นใคร ทำไมคนร้ายจึงยิง หมอทำหน้าที่เพียงเร่งผ่าตัดช่วยชีวิตให้เร็วที่สุด ....แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ยอมให้ผ่าตัด โดยตั้งเงื่อนไขว่า “ต้องหาคนยิงให้ได้ก่อน ..เขาหน้าตาเป็นอย่างไร? ผู้หญิงหรือผู้ชาย...ต้องให้เขาบอกเหตุผลที่ยิงให้ได้ก่อน...ผมจึงจะยอมให้หมอผ่าเอาลูกศรออก” ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็รับรองได้ว่า “ผู้ป่วยตายแหง๊แก๊!!!!???”


พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งกฎธรรมชาติว่า
“ สัตว์ทุกชีวิตเคยเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน(1) ผู้ที่ไม่เคยเกิดเป็นพ่อแม่กันมาก่อนหาได้ยาก(2) บางชาติเกิดเป็นเทวดา บางชาติเป็นมนุษย์ บางชาติเป็นสัตว์เดรัจฉาน บางชาติเกิดเป็นเปรต/อสุรกาย บางชาติต้องตกนรก ต้องเวียนว่ายตาย-เกิดอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ตามอำนาจบุญและบาปที่ตนเองได้ทำไว้ เหตุการณ์ทุกอย่างที่เราประสบอยู่ทุกวันนี้ไม่มีคำว่าโชคหรือบังเอิญ ทุกอย่างเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำของเราในอดีตทั้งสิ้น(3)
......อ้างอิง...ดูรายละเอียดใน พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงการราชิวิทยาลัย (เล่มที่ / หน้าที่ )
1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้า ๒๒๓
2. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้า ๒๒๗
3. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๕๐-๓๖๕


ถาม. วิปัสสนาคืออะไร? ทำไมต้องปฏิบัติ?
ตอบ. วิปัสสนา แปลว่า เห็น(รู้อย่างเข้าใจ)แจ่มแจ้งในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อาการที่เคลื่อนไหว ใจที่คิด เป็นต้น เป็นวิธีการปฏิบัติที่จะนำกายและใจ ของผู้ปฏิบัติให้เข้าถึงสภาวดับ สงบ เย็น(นิพพาน)ได้(1) ถ้าต้องการสุขแท้ สุขถาวร ที่ไม่กลับมาทุกข์อีกก็ต้องดำเนินไปตามหนทางนี้เท่านั้น ไม่มีทางอื่น
ความรู้สึกของผู้ปฏิบัติหลายท่าน คิดว่า “การปฏิบัติสมถกรรมฐาน ดีกว่า วิปัสสนากรรมฐาน เพราะสมถฝึกแล้วทำให้เหาะได้ รู้ใจคนอื่นได้ เสกคาถาอาคม ได้ ส่วนวิปัสสนาทำไม่ได้” แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานก็ยังเป็น เพียงปุถุชนที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภูมิ หาที่สุดของภพชาติไม่ได้ ยังต้อง ตกอบายทรมานในนรกอีก ส่วนผู้ปฏิบัติวิปัสสนานั้น ถึงแม้จะเหาะไม่ได้ เสกคาถา ไม่ขลัง แต่ก็เหลือภพชาติเพียงแค่ ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง และตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไปก็จะไม่ตกอบายอีกแล้ว ไม่ว่าอตีดจะเคยทำบาปอกุศลไว้มากมายปานใดก็ตาม
…อ้างอิง พระไตรปิฎกภาษาไทย แปลโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1. ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ หน้า ๓๐๑


ถาม. ปฏิบัติวิปัสสนาแล้วจะได้รับผลดีอย่างไรบ้าง?

ตอบ. ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมีมากมายยากที่จะอธิบายให้เห็นจริงได้ จนกว่าผู้นั้นได้ลงมือปฏิบัติจนได้เห็นผลจริงด้วยตนเอง แต่พอกล่าวเป็นตัวอย่างได้ดังนี้
๑. ทำให้บรรลุโสดาบันได้ภายใน ๓-๔เดือน ทั้งที่มีเวลาพักถึงวันละ ๗ ชั่วโมง
๒. เมื่อบรรลุโสดาบันแล้ว ถ้าหากต้องการมีฤทธิ์ มีเดช ก็สามารถฝึกสมถกรรมฐานต่อได้เลย จะสำเร็จได้ในระยะเวลาไม่นาน ในขณะที่การปฏิบัติสมถล้วนๆ ต้องใช้เวลาปฏิบัติกันถึง ๒-๓ปี หรือนานกว่านั้น จึงจะได้ผล
๓. เมื่อปฏิบัติวิปัสสนาถึงสังขารุเปกขาญาณ (ญาณที่ ๑๑) จนแก่กล้าแล้ว ทำให้โรคบางอย่างหายได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ต่อมไทรอย โรคเกี่ยวกับลม เส้นเอ็นและกระดูก (..นี้เป็นตัวอย่างจริงที่พบเห็นจากผู้ร่วมปฏิบัติ ) เป็นต้น
๔. ถ้ามีเหตุให้ปฏิบัติไม่สำเร็จ ไปติดอยู่เพียงแค่ญาณ ๑๑ ก็ไม่เสียเวลาเปล่า เพราะจะเกิดปัญญาญาณ ที่จะใช้ในการแก้ปัญหาทุกอย่างในโลกได้ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเป็นปัญหาทางโลกหรือทางธรรม โดยเฉพาะปัญหาครอบครัวระหว่างสามี ภรรยา ลูก หลาน ญาติพี่น้อง (คิดค้นวิธีเอายานไวกิ้งลงบนดาวอังคารได้ ก็ด้วยการนั่งสมาธินี่แหละ)
๕. ล้างอาถรรพ์ มนต์ดำได้ ไม่ว่าจะถูกของ หรือโดนยาพิษ ยาสั่งมา เมื่อปฏิบัติจนถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว อาถรรพ์จะหายไปจนเกลี้ยง ( เรื่องนี้ขอท้าให้พิสูจน์)


ถาม. มีวิธีการไหนบ้างที่ทำให้ไม่ต้องตกนรกอีก ทั้งที่ได้เคยทำบาปอกุศลไว้ มาก ?

ตอบ. มีซิ! ...ต้องบรรลุโสดาบันให้ได้ภายในชาตินี้(1) ต้องเจริญวิปัสสสนากรรมฐานจนผ่านญาณที่ ๑๓ ไปให้ได้...
…อ้างอิง พระไตรปิฎกภาษาไทย แปลโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1. ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ หน้า ๑๘๖


ถาม. พระโสดาบันทำให้ไม่ตกอบาย (เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก)อีกจริง หรือ? จะเป็นไปได้อย่างไร

ตอบ. จริง ..เมื่อเจริญวิปัสสนาจนวิปัสสนาญาณขึ้นถึงญาณที่ ๑๔ โสดาปัตติมรรคจะทำหน้าที่ประหารตัวมิจฉาทิฏฐิที่นอนเนื่องอยู่ในจิตสันดานได้อย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง มิจฉาทิฏฐินี่แหละที่เป็นตัวเชื้อให้เราต้องตกอบาย (คือ กำเนิดเตรัจฉาน เปรต อสุรกาย ตกนรก)อีก(1)
เมื่อเราบรรลุโสดาบันได้แล้ว ไม่ว่าในอดีตชาติหรือชาติปัจจุบัน เราได้เคย ทำบาปอกุศลไว้มากมายเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ต้องไปชดใช้กรรมในอบายภูมิอีก ต่อไป และจะเกิดในสุคติภูมิ (โลกมนุษย์,สวรรค์) ได้อีกไม่เกิด ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง สัตว์โดยทั่วไปต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๓๑ ภูมิ (คือ อรูปพรหม ๔ ชั้น รูปพรหม ๑๖ ชั้น เทวดา ๖ ชั้น มนุษย์ เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย และนรก(2) หาเบื้องต้นและที่สุดไม่พบ ต้องตกอบายทุกข์ทรมานในนรกอยู่เป็นอาจิณ เหมือนบ้านเก่าทีต้องแวะเวียนไปอยู่เสมอ แต่ถ้าเราสามารถบรรลุโสดาบันได้ภายในชาตินี้ ก็ไม่ต้องตกอบายอีก จะไปเกิดในสุคติภูมิอีกไม่เกิน ๗ ชาติแล้วบรรลุอรหันต์ เข้าถึงความดับภพชาติโดยสิ้นเชิง ไม่เกิดใหม่อีกต่อไป เมื่อไม่เกิดอีกก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย ไม่ต้องตกนรก, ตกอบาย และไม่ต้องเป็นทุกข์อีกแล้ว
…อ้างอิง พระไตรปิฎกภาษาไทย แปลโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1. ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ หน้า ๙๗
2. ดูรายละเอียดในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ หน้า ๖๗


ถาม. การปฏิบัติวิปัสสน มีวิธีการอย่างไรบ้าง?

..ตอบ มีขั้นตอนปฏิบัติเบื้องต้น ดังนี้

๑) เดินจงกรม เดินกลับไปกลับมา ก้มหน้าเล็กน้อย ส่งจิตกำหนดดูอาการของเท้าแต่ละจังหวะที่เคลื่อนไป อย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง รับรู้ถึงความรู้สึกของเท้าที่ค่อยๆยกขึ้น ค่อยๆย่างลง และความรู้สึกสัมผัสที่ฝ่าเท้า(อ่อน แข็ง เย็น ร้อน ฯลฯ) ส่งจิตดูอาการแต่ละอาการอย่างจรด แนบสนิทอยู่กับอาการนั้น ไม่วอกแวก จนรู้สึกได้ถึงอาการที่เปลี่ยนไป ดับไปของสภาวนั้นๆ เช่น ขณะย่างเท้า ก็รู้สึกถึงอาการลอยไปเบาๆ ของเท้า พอเหยียบลงอาการลอยๆ เบาๆ เมื่อ๒-๓ วินาทีก่อนก็ดับไป มีอาการตึงๆแข็งเข้าแทนที่ พอยกเท้าขึ้นอาการตึงๆแข็งๆด็ดับไป กลับมีอาการลอยเบาๆ โล่งๆเข้าแทนที่ เป็นต้น ยิ่งเคลื่อนไหวช้าๆ ยิ่งเห็นอาการชัด และในขณะที่กำลังเดินอยู่นั้น หากมีความคิดเกิดขึ้นให้หยุดเดินก่อน แล้วส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า “คิดหนอๆๆๆ” จนกว่าความคิดจะเลือนหายไป จึงกลับไปกำหนดเดินต่อ อย่ามองซ้ายมองขวา พยายามให้ใจอยู่กับเท้าที่ค่อยๆเคลื่อนไปเท่านั้น ถ้าเผลอหรือหลุดกำหนดให้เอาใหม่ เผลอเริ่มใหม่ ๆๆๆ ไม่ต้องหงุดหงิด การปฏิบัติเช่นนี้ เรียกว่า “เดินจงกรม” ต้องเดิน ๑ ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย

๒) นั่งสมาธิ นั่งตัวตรง แต่ไม่ต้องตรงมาก ให้พอเหมาะสมกับสรีระของตนเอง นั่งสงบนิ่ง ไม่ขยับเขยื้อนอวัยวะส่วนใดทั้งสิ้น จนสังเกตได้ว่าอวัยวะที่ยังไหวอยู่มีแต่ท้องเท่านั้น ให้ส่งจิตไปดูอาการไหวๆนั้นอย่างต่อเนื่อง แค่ดูเฉยๆ อย่าไปบังคับท้อง ปล่อยให้ท้องไหวไปเรื่อยๆ ตามธรรมชาติ นั่งกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง ไม่หลุด ไม่เผลอ ถ้ามีเผลอสติบ้างก็ไม่ต้องหงุดหงิด เผลอ..เอาใหม่ ๆ จนเห็นอาการพอง อาการยุบค่อยๆชัดขึ้น ขณะเห็นท้องพองกำหนดในใจว่า “พองหนอ” ขณะเห็นท้องยุบกำหนดในใจว่า “ยุบหนอ” บางครั้งท้องนิ่งพอง-ยุบไม่ปรากฏก็ให้กำหนดรู้อาการท้องนิ่งนั่น “รู้หนอๆๆ” หรือ “นิ่งหนอๆๆ” บางครั้งพอง-ยุบเร็วแรงจนกำหนดไม่ทัน ก็ให้กำหนดรู้อาการนั้น “รู้หนอๆๆ” ถ้าขณะนั่งกำหนดอยู่มีความคิดเข้ามาให้หยุดกำหนดพองยุบไว้ก่อน ส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า “คิดหนอๆๆ” แรงๆ เร็วๆ โดยไม่ต้องสนใจว่าคิดเรื่องอะไร พออาการคิดจางไปแล้ว หรือหายไปโดยฉับพลัน ให้กำหนดดูอาการที่หายไป “รู้หนอๆๆ” แล้วรีบกลับไปกำหนดพอง-ยุบต่อทันที อย่าปล่อยให้จิตว่างจากการกำหนดเด็ดขาด

ขณะที่กำหนดอยู่นั้น ถ้าเกิดอาการปวดขา หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นมา ให้ทิ้งพอง-ยุบไปเลย แล้วส่งจิตไปดูอาการปวดนั้น บริกรรมในใจว่า “ปวดหนอๆๆ” พยายามกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง แต่อย่าเอาจิตเข้าไปเป็นทุกข์กับอาการปวดนั้น ภายใน ๕ หรือ ๑๐ วันแรกให้กำหนดดูอาการปวดอย่างเดียว ไม่ต้องสนใจอารมณ์อื่นมากนัก จนกว่าอาการปวดจะหาย หรือลดลง วันแรกๆ อาการปวดจะไม่รุนแรงมากนัก นั่งได้ ๑ ชั่วโมงแบบสบายๆ พอเรามีสมาธิมากขึ้น มีญาณปัญญามากขึ้น อาการปวดจะค่อยๆรุนแรงขึ้น จนทนแทบไม่ไหว จากที่เคยนั่งได้ ๑ ชั่วโมง พอวันที่ ๕-๖ เป็นต้นไป นั่ง ๑๐ หรือ ๒๐ นาทีก็ทนแทบไม่ไหวแล้ว ให้พยายามนั่งกำหนดต่อไปจนกว่าจะครบชั่วโมง (เพื่อจะได้เป็นกำลังใจในการกำหนดบัลลังก์ต่อๆไป) ยิ่งปวดมากก็ยิ่งกำหนดถี่ๆเร็วๆ แรงๆ นั่นแสดงว่าสมาธิของเราก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ภายใน๑๐-๒๐ วันเวทนาก็จะหายขาดไปเอง หรืออาจจะมีอยู่บ้างเล็กน้อยช่วงท้ายบัลลังก์ ถึงต้อนนี้วิปัสสนาญาณของคุณก้าวเข้าสู่ขั้นที่ ๔ แล้ว ขั้นต่อไป ไม่ควร/ห้ามปฏิบัติด้วยตนเอง(อย่างเด็ดขาด) ต้องมีพระอาจารย์คอยควบคุมอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นแล้วจะเกิดผลเสียมากว่าผลดี ..ขอเตือน.. ที่อธิบายมานี้เป็นเพียงหลักปฏิบัติเบื้องต้น มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายที่จะต้องเรียนรู้ ผู้ต้องการปฏิบัติให้เห็นมรรคเห็นผลแสวงหาสำนักปฏิบัติที่เห็นว่าเหมาะสมกับตนเอาเองเถิด..

ทำไมพระพุทธเจ้าไม่สอนเรื่อง “พระเจ้า” และ “พระผู้สร้าง”
พระพุทธเจ้าเปรียนเหมือนหมอผ่าตัดผู้ป่วยที่ถูกลูกศรปักอก หมอไม่จำเป็นต้องใส่ใจว่าคนยิงเป็นใคร ทำไมคนร้ายจึงยิง หมอทำหน้าที่เพียงเร่งผ่าตัดช่วยชีวิตให้เร็วที่สุด ....แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ยอมให้ผ่าตัด โดยตั้งเงื่อนไขว่า “ต้องหาคนยิงให้ได้ก่อน ..เขาหน้าตาเป็นอย่างไร? ผู้หญิงหรือผู้ชาย...ต้องให้เขาบอกเหตุผลที่ยิงให้ได้ก่อน...ผมจึงจะยอมให้หมอผ่าเอาลูกศรออก” ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็รับรองได้ว่า “ผู้ป่วยตายแหง๊แก๊!!!!???”

ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์พระไตรปิฏก ดังนี้
“หากมีใครกล่าวว่า ‘ตราบใดที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ทรงตอบเราว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง? ฯลฯ (..โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร )’ ตราบนั้นเราก็จักยังไม่ปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระองค์ ต่อให้บุคคลนั้นสิ้นชีวิตไปตถาคตก็ไม่ตอบเรื่องนั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องลูกศรที่
อาบยาพิษอย่างร้ายแรง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของบุรุษนั้น พึงไปหาแพทย์ผู้ชำนาญในการผ่าตัดมารักษาบุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเรา เราก็จักไม่ให้ถอนลูกศรนี้ออกไป’ ฯลฯ

บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักลูกธนูที่เขาใช้ยิง เราว่า เป็นลูกศรธรรมดา ลูกศรคม ลูกศรหัวเกาทัณฑ์ ลูกศรหัวโลหะ ลูกศรหัวเขี้ยวสัตว์ หรือลูกศรพิเศษ ตราบนั้นเราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’ ต่อให้บุรุษนั้นตายไป เขาก็จะไม่รู้เรื่องนั้นเลย
อ้างอิง...พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย จูฬมาลุกยสูตร เล่ม ๑๓ ข้อ ๑๒๖ หน้า ๑๓๘

“เราไม่ตอบปัญหาว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง? ฯลฯ (..โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร )’ เราไม่ตอบเพราะเหตุไร? เราจึงไม่ตอบเพราะปัญหานั้นไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความคลายทุกข์ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้และเพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงไม่ตอบ
ปัญหาอะไรเล่าที่เราตอบ คือปัญหาว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
เราตอบเพราะเหตุไร? เราตอบเพราะปัญหานั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความคลายทุกข์ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อ
นิพพาน เหตุนั้นเราจึงตอบ
เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำปัญหาที่เราไม่ตอบว่าเป็นปัญหาที่เราไม่ตอบ และจงจำปัญหาที่เราตอบว่าเป็นปัญหาที่เราตอบเถิด”
อ้างอิง...พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย จูฬมาลุกยสูตร เล่มที่ ๑๓ ข้อ ๑๒๘ หน้า๑๔๑


พระพุทธเจ้าไม่ตอบเรื่อง “สร้างโลก” เพราะไม่มีความรู้..??

พระพุทธเจ้าทรงได้ชื่อว่าสัพพัญญู แปลว่า ทรงรู้เรื่องทั้งปวง คือรู้หมดทุกอย่าง ด้วยความที่พระองค์รู้ทุกอย่างนี่เอง ทำให้พระองค์ประมวลความรู้ทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้วมีพระดำริว่า ถ้าหากทรงสอนทั้งหมด หรือบอกทั้งหมดที่รู้ จะก่อให้เกิดโทษ เกิดหายนะแก่มวลสรรพสัตว์เสียมากกว่า พระองค์จึงเลือกที่จะสอนเฉพาะเรื่องที่เป็นไปเพื่อดับทุกข์ คล้ายโศกเพียงเท่านั้น ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ หน้า ๖๑๓ ดังนี้
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวันเขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงหยิบใบประดู่ลาย ๒-๓ใบขึ้นมา แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ใบประดู่ลาย๒-๓ใบที่เราหยิบขึ้นมากับใบที่อยู่บนต้น อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ใบที่อยู่บนต้นไม้นั้นแลมากกว่า ใบประดู่ลาย๒-๓ใบที่พระองค์ทรงหยิบขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้ว...แต่มิได้บอกเธอนั้นมีมาก เพราะเหตุไรเราจึงมิได้บอก? เพราะสิ่งนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้นเราจึงมิได้บอก
สิ่งอะไรเล่าที่เราบอกแล้ว คือ เราบอกว่า‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
เพราะเหตุไรเราจึงบอก เพราะสิ่งนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพิ่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานเพราะเหตุนั้นเราจึงบอก
อ้างอิง...พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สีสปาวนสูตร เล่มที่ ๑๙ ข้อ ๑๑๐๑ หน้า ๖๑๓
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 14 ส.ค. 2007, 12:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่ออ่านบทความแล้ว รู้สึกว่าเป็นเพียงความคิดเห็นของคนผู้หนึ่ง
ซึ่งกล่าวถึง อะไรดีกว่าอะไร

ซึ่งข้าพเจ้าเข้าใจดีว่า ศรัทธา เป็นเรื่องที่ขอร้องให้ศรัทธา ไม่ได้

ถ้านึกไม่ออก ก็ลองนึกถึง จำนวนคนหมู่มาก ๆ มารวมตัวกันเป็น หมื่น แสน ล้าน ตามศาสนพิธีสำคัญของเขาเหล่านั้น ข้าพเจ้าเชื่อว่า ถ้ามีใครที่นับถือศาสนาอื่น มาตะโกน ร้องกล่าวถึงสรรพคุณของศาสนาของตน ดีอย่างไร เชื่อว่า ไม่มีใครเชื่อถือท่าน รับฟังท่าน
ดีไม่ดี อาจถูกเขาทำร้ายด้วย

ข้าพเจ้าก็เชื่อว่า พระพุทธเจ้าไม่กังวลเรื่องนั้นเลย ว่าอะไรดีกว่าอะไร ใครดีกว่าใคร ใครควรได้รางวัลอันดับ 1

ในพุทธประวัติ ก็มีผู้เรียนรู้จากพระพุทธเจ้า แล้วก็ไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่องก็มี อยู่ใกล้พระพุทธเจ้าแล้วก็ไม่เห็นธรรมะของพระพุทธเจ้า เหมือนเด็กเรียนคณิตศาสตร์จากคุณครู เรียนอย่างไรก็ไม่เข้าใจ เหมือนเวรกรรมเก่าอะไร มาบังตา ทำให้ไม่เห็นธรรม ที่ร้ายแรงที่สุดคือ ผู้เรียนรู้นั้นกลับถูกธรณีสูบ เสียด้วยซ้ำ ด้วยว่าคิดทำร้ายพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าเหมือนจะตรัสให้ทุกคนให้ทราบว่า เมื่อรู้ทฤษฎีทางธรรม มากมายแล้ว จงไปทำให้มันดีขึ้น พิจารณา ทบทวน ตั้งใจตรวจสอบกิเลสในตัวของตนเอง ว่า หมดสิ้นแล้วหรือยัง พระสงฆ์หลายรูปก็กล่าวว่า อย่ามัวแต่จับผิดผู้อื่น จงจับผิดแต่ตนเองอยู่เสมอ ว่า หมดกิเลสแล้วหรือยัง

ทำให้ เรา ชาวพุทธต้องสำนึกว่า ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด ไม่ว่าพุทธบริษัท ไม่ว่าพระสงฆ์ พึงตรวจตราดูตนเองว่ามีกิเลสอยู่หรือไม่ เช่น ยังอยากได้ลาภ อยากได้ยศ อยากได้รับคำสรรเสริญ อยากได้รับความรัก อยากได้รับความนับถือ อยากได้รับความสุขสบาย อยากได้รับฐานะที่ดีขึ้นในชาติหน้า เมื่อตายไปอยากไปสู่สวรรค์ ฯลฯ อีกหรือไม่ ศีลบริบูรณ์หรือไม่ แบบอย่าง พระอรหันต์ เช่น หลวงปู่มั่น ฯลฯ ทำได้ถึงขั้นสุดแล้ว ตนเองทำเช่นนั้น ได้หรือไม่ ยังกังวลต่อความสะดวก สบาย ยังติดอยู่กับวัตถุนิยมอยู่หรือไม่ เชื่อว่า หลายท่านคงทำยังไม่ได้ ก็ไม่ต้องกลุ้มใจ ถ้าเมื่อใดท่านบรรลุธรรม ขั้นอรหันต์แล้ว คำถามข้างต้นเหล่านี้ ไม่ใช่ปัญหาของพุทธะเลย
โดยสรุป พระพุทธเจ้า กังวลว่าท่านจะบรรลุธรรม หมดทุกข์สิ้นเชิง ได้หรือไม่ มากกว่าปัญหา คำถามอื่นใดในโลก
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
nattakarn
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 01 ก.ค. 2007
ตอบ: 57

ตอบตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2007, 5:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปล่อยวางค่ะ ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
วัฒนา
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 08 ธ.ค. 2006
ตอบ: 8
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2007, 12:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีครับ ชาวลานธรรมจักรทุกท่าน

กระผมได้ถามและให้ความเห็นเกี่ยวกับการเปรียบเทียบศาสนา ที่ www.gotquestions.org
ไปแล้วครับ เขาให้ใช้ภาษาอังกฤษเขียนถาม เขากลัวคนไทยหรือยังไงไม่รู้ครับ ผมก็เขียนแบบงูๆ ปลาๆ แต่ก็มีเจตนาดีครับ ยิ้ม เขียนผิดก็ขออภัยครับ ลองอ่านดูครับ

Dear kind person who answer,

I don't understand why someone try to compare the religions. I think it 's no meaning to compare the teaching prophets, because the aim of each religion is not same. Some religion need to go their heaven as his concept, let they go. Some religion need to see their god, let they go to see. Some religion need to calm, let they do. Some religion need to escape the sorrow and sufferings, let they do. I think each religion originate from many rigions, evironments, and ways of life which are diffrent. I think, how to live together with peace and respect the difference is the major. Please consider if in garden or farm have only apple...what's happen to our body?...if a wild has only horse....what happen to animal food chain? The truth of nature and universe has many things to live together and rely on other's aid. If we try to make all people to do the same, that's we are resisting the truth or the nature. The truth and commandment of each religion is good if they strictly follow with understanding.

Your sincerely,

ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
 

_________________
รักตัวเองเป็นแล้ว ให้รักผู้อื่นด้วย
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
วัฒนา
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 08 ธ.ค. 2006
ตอบ: 8
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2007, 12:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตกใจ ลองให้เพื่อนอ่านแล้วครับ โอ้โห! เขียนผิดไวยากรย์เยอะเลยง่ะ
งานนี้ฝรั่งอ่านออกได้ไหมเนี่ย....
ตกใจ
 

_________________
รักตัวเองเป็นแล้ว ให้รักผู้อื่นด้วย
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เสกสรรค์
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 ส.ค. 2007
ตอบ: 22
ที่อยู่ (จังหวัด): นครพนม

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ย. 2007, 11:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้ม ขอแสดงความคิดเห็น ผิดถูกประการใดให้ใช้วิจารณญาณ
บทเกริ่นนำ............ในประเทศไทยมีคนแขวนจตุคาม......แล้วรอดตายจากอุบัติเหตุบ้าง.......อุบัติภัยต่างๆบ้าง.........ซึ่งเป็นเรื่องที่อัศจรรย์......ลงข่าวหน้าหนึ่งทุกฉบับ.....เห็นได้ด้วยตา.........คนเหล่านี้....สามารถเป้นศาสดาได้หรือไม่........เพราะเขาไม่ตาย......
ถ้าจะอาแบบตายแล้วฟื้นในประเทศไทยก็มีมากมายเป้นศาสนาได้หรือไม่..............?
..........ถ้าพูดถึงเรื่องการทำนาย.........คนไทยทางอิสานขอหวยจากต้นไม้......ศาลเจ้า.......ทางสามแพร่ง.......แล้วถูกหวยซึ๋งมีให้เห็นมากมายในสมัยปัจจุบัน.......ไม่ต้องค้นคว้าทางเอกสาร........หรือให้นักประวัติศาสตร์ยืนยัน.......เพราะเห็นกันโต้งๆ........เป้นศาสดาได้หรือไม่?
...........ในข้อที่1-3 พรรณาถึงนักประวัติศาสตร์ จะไม่ขอพูดถึง เนื่องจากมีเหตุผลดังข้างบนแล้ว
............ในข้อที่4 อ้างถึงภาวะอันเป้นลักษณะไร้การควบคุมของจิตใจ..........คลั่งไคล้.........ต้องการอำนาจจากภายนอกเพื่อช่วยเหลือจิตใจอันอ่อนแอของตนเอง.......ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากพุทธภาวะ..อันเต็มเปี่ยมไปด้วยสติ....การระลึกรู้.......และสมาธิ......ไม่ควรที่จะคิดแม้เพียงมาเปรียบเทียบ.........
.............ในข้อที่5...เปรียบเสมือนนิทานปรัมปรากับความเป้นจริง................

ครั้งหนึ่งเคยมีคนเข้ามาชักชวนข้าพเจ้าเปลี่ยนศาสนา........เขาเริ่มอธิบาย........พรรณาคุณความดีของการเปลี่ยน...........พอเขาพรรณาจบ............เข้าพเจ้าเริ่มถามเขา..........
..........
..........ถามคำถามแล้ว.......คำถามเหล่าจนเขาตอบไม่ได้......ในเหตุผล.........ที่ข้าพเจ้าถามไป.........เข้าเจ้าบอกว่า.......หากศาสนาของท่านไม่สามารถขจัดความสงสัยในส่งที่ข้าพเจ้าถามไม่ได้.........
เราคงไม่สามารถเปลี่ยนไปนับถือตามท่านได้...................
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
โลซก
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 25 มิ.ย. 2007
ตอบ: 14
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ย. 2007, 11:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

web คริสเตียน ดูหมิ่นพุทธ ...ก็ช่างเขา

เราชาวพุทธ อย่าดูหมิ่นกันเองก็พอ.

 

_________________
ทำความดีละเว้นความชั่ว
ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว....
.....แล้วทุกอย่างจะดีเอง !
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เศษพุทธทาส
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 08 เม.ย. 2007
ตอบ: 121

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ย. 2007, 9:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมไม่นับถือทั้งศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธ เพราะทั้งคู่ล้วนไม่ใช่ความปกติของจิต จิตแท้หนึ่งเดี๋ยวนั้นคือเอกภาวะ ฉะนั้นสิ่งที่ควรนับถือคือสัจจธรรม หากจะพูดถึงการนับถือแล้วละก็นะ

May the Dhamma be with you
 

_________________
ทำวันนี้ให้ดีและต้องรู้ไว้ว่า ทำดีเพื่อดี ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง