Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิธีแก้การ “กลัวจนเกินเหตุ”....ด้วยธรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2007, 4:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เคยที่กลัวอะไร แบบฝังใจไหมครับ

กลัวมากๆ กลัวแบบไม่มีเหตุผล.....

กลัวบุคคล กลัวการเข้าสังคม กลัวสัตว์บางชนิด กลัวที่สูง ฯลฯ

ถ้ากลัวจนมากเกินเหตุอาจจะเข้าข่าย โรคประสาทกลัว หรือ PHOBIA น่ะครับ

ขอเสนอแนวทางรับมือภาวะเช่นนี้ ทั้งแง่จิตเวช และพุทธธรรม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2007, 4:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลองอ่านรายละเอียดก่อนน่ะครับ

ว่าคุณเคยเป็นเช่นนี้ไหม



วิธีเอาชนะความกลัว

หนังสือแปลจาก Living with fear ของ Isaac M. Marks
โดย นพ. สเปญ อุ่นอนงค์


http://www.geocities.com/spainpsy/lwf.htm

เท่าที่ทราบคร่าวๆ วิธีการทางจิตเวช คือว่า ถ้ากลัวสิ่งใด ให้หมั่นเข้าหาสิ่งนั้น





ทีนี้ ตามหลักพุทธธรรม



การกลัวนั้น ก็คือ การกังวลว่า ตัวตนที่เป็นเรา-ของเราในสิ่งต่างๆ(อุปาทานขันธ์ห้า) จะ เสื่อม(ชรา) หรือ แตกดับ(มรณะ) ในลักษณะใด-ลักษณะหนึ่ง....




วิธีการลดความกลัว ก็คือ ต้องมีสติ มีปัญญา

มีสติ

อย่างน้อยสุด ก็คือ รู้ว่า"จิตกำลังกลัว" ....คือว่า ให้รู้ว่าจิตกำลังกลัว(จิตตานุปัสสนา)
แทนที่จะกลัวจนสติแตก ก็กลายเป็นสังเกตุอาการกลัวแทน... คือ เห็นสักแต่ว่าเป็นอาการกลัวของจิต ไม่ใช่เห็นว่าเป็นคุณกลัว(อาจจะยากสักหน่อย)

ถ้ามีสติที่มากกว่านั้น ก็รู้ย้อนไปถึงว่า ทำไมถึงกำลังกลัว ?

ถ้ามีสติที่มากกว่านั้น ก็รู้ย้อนไปถึงว่า เพราะมี เรา หรือ ของเรา อยู่ในเรื่องที่กำลังกลัว(กลัวว่า เรา หรือ ของเรา จะเสื่อม จะแตกดับ) เรียกว่า มีอุปาทาน

ส่วนที่จะขจัดความกลัวได้ขาดนั้น ต้องไปแก้ถึงระดับจิตใต้สำนึก....

คือ ต้องอาศัย ทั้งสมถกรรมฐาน(ทำจิตให้สงบ) และ วิปัสสนากรรมฐาน(รู้ตามจริงจนปล่อยวางได้)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2007, 4:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อน่ะครับ...



ก่อนอื่น เวลาคุยกัยในเรื่องเหล่านี้ต้องแบ่งก่อนน่ะครับ

ว่าเป็นโรคจิต หรือ โรคประสาท



โรคจิต นั้น โดยเฉพาะถ้าเป็นโรคจิตเภท จะสูญเสียความสามารถในการแยกว่า สิ่งใดเกิดจริง-สิ่งใดจิตปรุงแต่งไปเอง ออกจากกัน..... ที่เรียกว่า อาการหลงผิด ที่พบบ่อย คือระแวงว่าผู้อื่นประสงค์ร้ายต่อตน หรือ ตนเองมีอำนาจวิเศษ โดยเจ้าตัวจะไม่รู้ว่าความคิดของตนเองผิดปกติ. หรืออาจจะมีประสาทหลอนในรูแบบต่างๆ
โรคจิต มีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ถ้าเป็นมาก เจ้าตัวก็จะไม่รู้ว่าตนเองเป็น
ซึ่งถ้าเป็นโรคจิตนี้ ควรขอความเห็นจากจิตแพทย์จะดีกว่า การหลับตาทำสมาธิครับ ซึ่งอาจทำให้โรครุนแรงขึ้น เพราะแทนที่จะสงบ กลายเป็นหลับตาแล้วทำให้ จิตแยกจากโลกภายนอก แต่มาฟุ้งซ่านสุดๆภายในแทน



โรคประสาท โดยเฉพาะโรคประสาทกังวล(น่าจะรวมโรคย้ำคิดย้ำทำ และ โรคประสาทกลัวไว้ด้วย)นั้น
มีผลวิจัยที่ยืนยันถึงประโยชน์ของการเจริญสติ

ลองอ่าน

Mindfulness-Based Stress Reduction and Anxiety Disorders

Kabat-Zinn, J., Massion, A. O., Kristeller, J., Peterson, L.G., Fletcher, K., Pbert, L., Linderking, W., Santorelli, S. F., Effectiveness of a meditation-based stress reduction program in the treatment of anxiety disorders. Am. J. Psychiatry (1992) 149:936-943.

Abstract:

Objective: This study was designed to determine the effectiveness of a group stress reduction program based on mindfulness meditation for patients with anxiety disorders.

Method: The 22 study participants were screened with a structured clinical interview and found to meet the DSM-III-R criteria for generalized anxiety disorder or panic disorder with or without agoraphobia. Assessments, including self-ratings and therapists’ ratings, were obtained weekly before and during the meditation-based stress reduction and relaxation program and monthly during the 3-month follow-up period.

Results: Repeated measures analyses of variance documented significant reductions in anxiety and depression scores after treatment for 20 of the subjects - changes that were maintained at follow-up. The number of subjects experiencing panic symptoms was also substantially reduced. A comparison of the study subjects with a group of nonstudy participants in the program who met the initial screening criteria for entry into the study showed that both groups achieved similar reductions in anxiety scores on the SCL-90-R and on the Medical Symptom Checklist, suggesting generalizability of the study findings.

Conclusions: A group mindfulness meditation training program can effectively reduce symptoms of anxiety and panic and can help maintain these reductions in patients with generalized anxiety disorder, panic disorder, or panic disorder with agoraphobia.


แปลตรงบทสรุปเลยน่ะครับ....ที่เหลือ อ่านเอาเองแล้วกัน....ถ้าแปลไม่ตรงประเด็น หรือคลาดเคลื่อนก็ขออภัยล่วงหน้าน่ะครับ....ผมเป็นมือสมัครเล่น

บทสรุป....การเข้ากลุ่มโปรแกรมเจริญสติ-สมาธิภาวนาสามารถลดอาการวิตกกังวล(anxiety) และอาการประสาทตื่นตระหนก(panic)อย่างมีประสิทธิภาพ.และช่วยที่จะคงสภาพการลดลงของอาการเหล่านี้ไว้.


และ


Mindfulness-Based Stress Reduction and Anxiety Disorders

Miller, J., Fletcher, K. and Kabat-Zin, J., Three-year follow-up and clinical implications of a mindfulness-based stress reduction intervention in the treatment of anxiety disorders. Gen. Hosp. Psychiatry (1995) 17:192-200.

Abstract:

A previous study of 22 medical patients with DSM-III-R-defined anxiety disorders showed clinically and statistically significant improvements in subjective and objective symptoms of anxiety and panic following an 8-week outpatient physician-referred group stress reduction intervention based on mindfulness meditation.

Twenty subjects demonstrated significant reductions in Hamilton and Beck Anxiety and Depression scores postintervention and at 3-month follow-up. In this study, 3-year follow-up data were obtained and analyzed on 18 of the original 22 subjects to probe long-term effects. Repeated measures analysis showed maintenance of the gains obtained in the original study on the Hamilton [F (2,32) = 13.22; p< 0.001] and Beck [F (2,32) = 9.83; p< 0.001] anxiety scales as well as on their respective depression scales, on the Hamilton panic score, the number and severity of panic attacks, and on the Mobility Index-Accompanied and the Fear Survey.

A 3-year follow-up comparison of this cohort with a larger group of subjects from the intervention who had met criteria for screening for the original study suggests generalizability of the results obtained with the smaller, more intensively studied cohort. Ongoing compliance with the meditation practice was also demonstrated in the majority of subjects at 3 years.

We conclude that an intensive but time-limited group stress reduction intervention based on mindfulness meditation can have long-term beneficial effects in the treatment of people diagnosed with anxiety disorders.


พารากาฟสุดท้าย.....เราสรุปว่า การเข้าร่วมกลุ่มเจริญสติ-สมาธิภาวนาเพื่อลดความเครียดแบบเข้มข้น โดยมีระยะเวลาจำกัด.....สามารถมีประโยชน์ในระยะยาวในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวล






ปล... ควรอ่าน บทความของคุณหมออติ ในเรื่องนี้ให้เข้าใจอย่างชัดเจน
แล้วจะเข้าใจว่า เมื่อใดที่ การฝึกสมาธิขะช่วยลดอาการผิดปกติทางจิต หรือ เมื่อใดที่ควรเลี่ยงการฝึกสมาธิ

การภาวนากับปัญหาสุขภาพใจ
http://dungtrin.com/mag/?17.doctor#
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2007, 4:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำถาม

แล้วจะทำอย่างไร...ถ้ารู้สึกกลัวมากเกินเหตุ เช่นนี้




1.คุณต้องทำให้มั่นใจก่อนว่า คุณไม่ได้เป็นโรคจิต....
แต่ เป็นกลุ่มโรคประสาทกลัว
ซึ่งการเจริญอานาปนสติช่วยให้อาการโรคนี้ลดลงได้มากครับ ....ขอยืนยัน มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจน


2.ประเด็นที่สำคัญคือ คุณต้องทำให้ความคิดปรุงแต่ง-ฟุ้งซ่าน มันลดลง หรือช้าลงๆ(สมาธิจะลดนิวรณ์ คือ อุทธัจจะ)จนสังเกตุเห็นความคิดปรุงแต่งมันได้ทันครับ....
เทคนิคที่ทำให้ความคิดช้าลงๆ นี้เรียกว่า สมถกรรมฐาน.
สมถกรรมฐานนอกจากจะมีประโยชน์ตรงทำให้ความคิดปรุงมันช้าลงแล้ว ยังช่วยเซ็ตระบบประสาทใหม่ เพราะเวลาจิตสงบจะมี่สารสื่อสารระหว่างประสาทที่ดีหลั่งออกมาในสมอง ช่วยให้ระบบประสาทและความคิดเป็นระบบ-ระเบียบ.....เวลาที่จะคิดภายใต้จิตที่สงบ จะชัดเจน และ เกิดปัญญาพ้นทุกข์ได้
แต่การเจริญสมถกรรมฐานนี้ ก็ไม่จำเป็นถึงขนาดจะต้องเป็นฌานหรอกน่ะครับ.... เอาเป็นแค่ระดับ จิตมันสดชื่น พอจะเห็นต้นเห็นปลาย ของทุกข์ได้..... คือ ใช้เพียงสมาธิระดับ เบื้องต้น หรือ ขั้นกลาง ก็เพียงพอ
และ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องระลึกรู้ไว้เสมอว่า เราเพียงต้องการใช้ประโยชน์ของสมถกรรมฐานมาช่วยให้ นิวรณ์ลดลง....
อย่าเข้าใจผิดว่า ผมกำลังบอกให้ฝึกสมถกรรมฐานอย่างเดียว หรือ ถือเอาจิตวิเวกจากสมาธิเป็นจุดหมายสุดท้ายน่ะครับ


3.การเจริญวิปัสสนาๆล้วนๆ....ในขณะที่จิตกำลังฟุ้งซ่านสุดๆนั้น ไม่มีทางครับ.....
มีแต่คิดวนเป็นมดแดงไต่ขอบกระด้ง.... วนไป-วนมา.... คิดเท่าไรก็คิดไม่ออก....
จะกำหนดรู้ ก็กำหนดไม่ทัน มันเครียด มันฟุ้งซ่าน ประสาทมันล้าไปหมด....
คิดจนม่อยหลับ ตื่นมาก็คิดฟุ้งซ่านต่อ


พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงสอนไว้ทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา

อย่าประเมินค่าของสมถกรรมฐาน ต่ำกว่าความเป็นจริง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2007, 5:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุญาต กล่าวต่อไปรวดเดียวให้จบเลย


ไม่เช่นนั้น อาจจะมีผู้เข้าใจผิดว่า ผมเพียงกล่าวแต่ให้เจริญเพียงสมถกรรมฐานอย่างเดียว
(ปัจจุบัน การกลัวการฝึกสมาธิอย่างไร้เหตุผล พบได้มากในหมู่ชาวพุทธ....ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่ คนเราจะกลัวในสิ่งที่ตนเองไม่รู้จริง)
และ ให้ครบถ้วนทั้ง สมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน


คือว่า หลังจากที่ทำให้จิตสงบ(calm down)ลงในระดับหนึ่งแล้ว
ระบบประสาทและสมองจะได้รับการทำให้สดชื่นใหม่(refresh)ด้วยกำลังของสมถกรรมฐานแล้ว
จิตจะเริ่มมีศักยภาพที่จะรู้ตามจริงได้ง่ายขึ้น
ไม่มึนงง ไม่เบลอร์ ไม่คิดวน เหมือนแต่แรกแล้ว



จากนั้น ก็ควรต่อยอดด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เป็นการแก้ปัญหาที่ระดับราก(จิตใต้สำนึก)

การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ก็ คือ กุศโลบาย หรือ เทคนิค ที่จะปลุกจิตให้ตื่น ให้รู้ตามจริงจนปล่อยวางทุกข์ได้.....

ประเภทไปเข้าคอร์สวิปัสสนากันนั้น มันก็ดีอยู่หรอกครับ
แต่วิปัสสนาจริงๆ ที่มันทำให้พ้นทุกข์ได้นั้น มันต้อง ที่นี่ และ เดี๋ยวนี้.....แบบ real time


ถ้ามีทุกข์ในใจ ต้องมีสติรู้ทันทีว่ากำลังทุกข์อยู่น่ะ
ต้องรู้ทันต่อไปว่า ทุกข์เกิดเพราะเหตุใด(เห็นทุกข์อริยสัจจ์)



อย่างเช่น การกลัวจนเกินเหตุอันควร นี้.....

ลึกๆแล้ว

มันก็ไม่พ้นถึง การกลัวจากการเสื่อม(ชรา) กลัวจากการพลัดพรากสูญเสีย(มรณะ) ในสิ่งที่เราเข้าไปหมายมั่นว่า เป็นเรา-ของเรา(อุปาทานขันธ์ห้า)


มำไมถึง กลัวจากการเสื่อม(ชรา) จากการพลัดพรากสูญเสีย(มรณะ) ในสิ่งที่เราเข้าไปหมายมั่นว่า เป็นเรา-ของเรา(อุปาทานขันธ์ห้า).....
ที่กลัวก็เพราะ มันเกิด(ชาติ) มี(ภพ) เรา หรือ ของเรา เข้าไปอยู่ในสิ่งที่เราเข้าไปหมายมั่น(อุปาทานขันธ์ห้า)



หลวงปู่ชา สุภัทโท

ท่านสอนให้ "เห็นแก้วแตก ก่อนที่แก้วจะแตกจริง....แล้วจะไม่ทุกข์เมื่อแก้วแตก"

ท่านกำลังสอนเรื่องนี้ล่ะครับ

การกลัวจนเกินเหตุ ลึกๆก็คือ การกลัวจากการเสื่อม(ชรา) กลัวจากการพลัดพรากสูญเสีย(มรณะ) ในสิ่งที่ท่านเข้าไปหมายมั่นว่า เป็นท่าน-ของท่าน(อุปาทานขันธ์ห้า)

แต่ถ้าท่าน เห็นว่าสิ่งที่ท่านเข้าไปหมายมั่นว่า เป็นท่าน-ของท่าน(อุปาทานขันธ์ห้า)นั้น จะอย่างไรก็ไม่พ้นจากการเสื่อม หรือ แตกดับ..... จนเห็นชัดเจนในระดับที่ละวางความยึดมั่น-ถือมั่นได้(ภาษาธรรมะ ว่า ละวาง หรือ ถอดถอนอุปาทาน)
เมื่อสิ่งที่ท่านเข้าไปหมายมั่นว่า เป็นท่าน-ของท่าน(อุปาทานขันธ์ห้า)แตกดับจริงๆ ท่านจะไม่ทุกข์.....

เพราะท่าน "เห็นแก้วแตก ก่อนที่แก้วจะแตกจริง" .....
พอแก้วแตกจริงๆ ก็ไม่ทุกข์.....

มิหนำซ้ำ ถ้าเห็นชัดว่า แก้วมันต้องแตกแน่ๆจนละวางความยึดมั่น-ถือมั่นลงได้ ท่านจะไม่กลัวว่ามันจะแตก...ใช่ไหมครับ....

จะมากังวลกลัวว่าแก้วจะแตกอีกทำไม
ถ้าเราเห็นชัดเจนจริงๆ ว่า อย่างไรเสียมันก็ต้องแตกแน่ๆ




อาจจะฟังดูยากน่ะครับ

แต่ถ้าเห็นได้จริง พ้นทุกข์แน่ๆ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
z
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 ต.ค. 2007
ตอบ: 46
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2007, 7:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

....ความกลัวที่สุด.....คือความกล้านั่นเอง.....

...กล่าวคือ เมื่อถึงที่สุดแห่งความกลัว สติจะระลึกรู้ จากนั้นก็จะรู้ ว่าไม่มีอะไร จึงไม่กลัว...

...กลัวที่สุดของมนุษย์ คือความตาย เมื่อศึกษาความตายจึงรู้ ว่าเป็นธรรมดา จึงไม่กังวลกลัว...

....กล้าต่อความตาย....จึงไม่กลัวทุกสิ่ง....สุดท้ายคือตาย.....

.......พึงใช้ มรณานุสสติกรรมฐาน........
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง