ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
05 มิ.ย.2007, 11:57 am |
  |
ละเว้นชั่วทำดีให้ใจผ่องแผ้ว
ครบถ้วนแล้วจึงงดงามตามคำสอน
ทำดีแต่ไม่ยึดมั่นหมั่นสังวร
พ้นทุกข์ร้อนสุขศานติ์เบิกบานใจ
ทำความดี...มอบแด่ธรรมชาติ
ธรรมประกาศความจริงอันยิ่งใหญ่
ทำดี...แล้วปล่อยวางทุกอย่างไป
อย่าเผลอไผลมี"ตัวกู...ผู้คนดี"
ตรงประเด็น
5 มิ.ย. 50 |
|
|
|
  |
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
07 มิ.ย.2007, 7:26 pm |
  |
ขอล่วงเกินถาม หน่อย นะครับ หลังจากที่ได้อ่านสำนวนกลอนของคุณ ตรงประเด็น มาพอสมควรแล้ว
อยาก ทราบว่า กาลต่อไป คุณตรงประเด็น จะเลือก พรหม หรือ นิพพาน ครับ
ถ้ามีเวลาลองไปอ่านธรรมเทศนาของ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ดูบ้างนะครับ
http://www.palungjit.com/smati/books/index.php?cat=3
ถ้าคุณตรงประเด็นศึกษามาก่อนแล้วผมต้องขอโทษด้วยที่บังอาจแนะนำนะครับ
คำถามที่ถามไปนี้มาจากการที่ได้อ่านสำนวนธรรมของหลวงพ่อฤาษีลิง ครับ
โดยส่วนตัวผมแล้ว บุคคลท่านใดถึงนิพพาน ผมถือว่าบุคคลท่านนั้นสามารถเป็นอาจารย์ของผมได้หมดทุกคน โดยเฉพาะนิพพานของเจ้าชายสิทธัตถะ
ถ้าไม่รู้สึกพอใจกับคำถาม ผมต้องขอประทานอภัยด้วยนะครับ |
|
|
|
|
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
07 มิ.ย.2007, 9:16 pm |
  |
นำมาจากพระไตรปิฎก
พรหม เป็น ภพ.....
ยังมีทุกข์ มีเกิดมีตาย
นิพพาน....
สิ้นทุกข์ ไม่เกิดไม่ตาย
ภพ ในพระไตรปิฎก(ส่วนพระอภิธรรม)
กล่าวไว้ทั้ง กัมมภพ และ อุปัตติภพ
กัมมภพ เป็นเหตุของอุปัตติภพ
หรือ กล่าวง่ายๆ จิต"เป็น"เช่นใด(กัมมภพ) ก็ไปเกิดเช่นนั้น(อุปัตติภพ)
หรือกัมมภพ จะตรงกับคำว่าภูมิจิต
ดังนั้นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญ กลับไม่ใช่ชีวิตหลังความตาย แต่เป็นปัจจุบันนี้ต่างหาก
เพราะอนาคตมันก็ไปจากปัจจุบันนี้ล่ะครับ
ถ้าจิตสงบระงับอย่างปราณีตก็เรียกว่ามีกัมมภพแบบรูปภพ..... ถ้าต้องเกิดอีกก็จะไปเกิดในพรหมโลก
นิพพาน คือสิ้นชาติ-ขาดภพ-จบพรหมจรรย์
ถ้ากิเลสสิ้นจากใจอย่างเด็ดขาดเมื่อใด แม้นขันธ์๕ยังดำรงอยู่ จิตก็สิ้นทุกข์อย่างเด็ดขาด(สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ)
เมื่อสิ้นเหตุ-ปัจจัย เรื่องทั้งหลายก็ยุติลงอย่างเด็ดขาด คือไม่มีการเกิดใหม่อีก ไม่ว่าจะในภพใดๆ(อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ)
แต่อย่าไปใช้คำว่า นิพพาน คือการตายแล้วขาดสูญเป็นอันขาด
เพราะพระสารีบุตรท่านเคยกล่าวไว้ชัดเจนแล้ว ใน ยมกสูตร |
|
|
|
  |
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
08 มิ.ย.2007, 6:48 pm |
  |
ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ ผมขอร่วมแสดงความคิดเห็นเล็กน้อยนะครับ
นิพพาน อยู่เหนือการ เกิด และ การดับ ปราศจากความเป็นของคู่ ดังนั้น
นิพพาน ไม่ขาดสูญจึงเป็นของคนบางกลุ่ม
นิพพาน ขาดสูญจึงเป็นของคนบางกลุ่ม
นิพพาน แบ่งเป็นกลุ่มได้ 4 กลุ่ม คือ
1.สุกขวิปัสสโก
2.ปฏิสัมภิทาญาน
3.เตวิชโช
4.อภิญญาหก
ท่านลองคิดดูเอานะครับว่า กลุ่มไหน ขาดสูญ กลุ่มไหน ไม่ขาดสูญ
สวัสดี ครับ |
|
|
|
|
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
08 มิ.ย.2007, 6:52 pm |
  |
ขอแถม สักนิด ครับ
4 กลุ่ม ดังกล่าวไป ขอจัดเป็น 4 ประเภทโดยประมาณ ครับ เพราะผมไม่รู้ว่าที่ไหนมีจัดโดยละเอียดกว่านี้
 |
|
|
|
|
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
08 มิ.ย.2007, 9:20 pm |
  |
นิพพานของพระอรหันต์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
มีหนึ่งเดียว
แต่มีจุดสังเกตุสำหรับชี้แนะผู้เดินตามไว้ หรือจะเรียกว่า"ภาวะแห่งนิพพาน" อยู่2จุด
ลองอ่านดูจาก ธาตุสูตร น่ะครับ
1.สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ คือ ดับสนิททั้งตัณหา และอุปาทาน แต่เบญจขันธ์ยังดำรงอยู่
(ตรงกับในธาตุสูตรที่ว่า ......สิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ)
2.อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ คือ จุดยุติอย่างสิ้นเชิงของการเกิด-การตาย
(ตรงกับในธาตุสูตรที่ว่า .....เป็นที่ดับสนิทของภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง)
ส่วน พระอรหันต์4ประเภทนั้น หาใช่แบ่งตามลักษณะนิพพานไม่
พระอรหันต์ทั้ง4ประเภทนั้น แบ่งตามจริตนิสัย และบารมีที่สะสมบำเพ็ญมา |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
08 มิ.ย.2007, 9:22 pm |
  |
เพราะไม่รู้ แจ้งทั่ว ในตัวตน
จึงเวียนวน ปรุงแต่ง แหล่งสังขาร
ก่อกำเนิด ตัณหา อุปาทาน
อหังการ มมังการ เผาผลาญใจ
ต่อเมื่อรู้ แจ้งทั่ว ในตัวตน
ไม่มืดมน ธรรมส่อง ใจผ่องใส
อาสวัก ขยญาณ เบิกบานใจ
ตลอดไป แสนสุข เพราะทุกข์คลาย
สอุปา ทิเสสะ นิพพานธาตุ
ธรรมประกาศ งดงาม ด้วยความหมาย
ดับกิเลส เย็นใจ ให้สบาย
ไม่วุ่นวาย สมุจเฉท กิเลสกาม
อนุปา ทิเสสะ นิพพานธาตุ
ไม่มีชาติ เพราะขาดจบ ภพทั้งสาม
อมตะธาตุ ปรากฏ สุดงดงาม
หยุดเวียนตาม ตาย-เกิด ประเสริฐเอย ฯลฯ
ตรงประเด็น |
|
|
|
  |
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
10 มิ.ย.2007, 1:36 pm |
  |
ขอบคุณครับ กลอนนี้เคยอ่านแล้วครับ |
|
|
|
|
 |
|