ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
anny
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 6
ที่อยู่ (จังหวัด): bkk
|
ตอบเมื่อ:
02 มิ.ย.2007, 1:54 am |
  |
อยากทราบวิธีแก้อารมณ์ คือนั่งสมาธิเมื่อประมาณเดือนก่อนนี้ เคยนั่งตามที่แม่ชีท่านหนึ่งได้ ลองให้นั่งดูคือ นั่ง เดิน ตอนแรกกำหนด เพียง10 นาที แล้วให้ลืมตาออกจากสมาธิ ก็คือ ตั้งแต่เริ่มหลับตาจนกระทั่งลืมตา เวลาจะพอดีตลอด (ออกเองไม่ต้องเรียก) หลังจากนั้น ก็เพิ่มเป็น ครึ่งชั่วโมง แล้ว เมขึ้นเรื่อยๆ เป็น 1 ชม. ,2 ชม.,3ชม.,6ชม.,12ชม. แต่ตอนนี้มีปัญหาคือจะรู้สึกตัวเองหลับตลอดเวลาเลยค่ะ เวลานั่งสมาธิ จากเมื่อก่อนจะนั่งนิ่งๆ รู้สึกตัวตลอดแต่จะขยับไม่ได้ เหมื่อนตัวโดนล็อกไว้ จะขยับก็ไม่ได้ เหมือนถูกผีอำ มาตอนนี้ไม่รู้สึกเลย เพียงรู้สึกตัวขณะกำหนดแรกๆแล้วก็เหมือนหลับไปเลยรู้สึกตัวอีกทีก็เวลาผ่านไปหลายๆชั่วโมงค่ะ และคือ เมื่อก่อนออกสมาธิแล้ว จะไม่ง่วงนอน แต่ตอนนี้จะรู้สึกง่วงตลอดเวลา เหมือนคนขี้เกียจอยากจะหลับอย่างเดียวค่ะ พอถามแม่ชี ท่านก็บอกนั่งไปเรื่อยๆ ลองทำดูก็ยิ่งง่วงขึ้นมาก และเดี๋ยวนี้ เหมือนคนอดนอนตลอดจะง่วงนอนตลอดค่ะทั่งตอนนั่งสมาธิและไม่นั่งก็ตาม อยากให้ช่วยแก้ให้ด้วยนะคะทำยังไง scnanzy@yahoo.com |
|
_________________ จงตั้งใจทำทุกสิ่ง และ ทำทุกสิ่งด้วยความตั้งใจ |
|
   |
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
02 มิ.ย.2007, 9:29 am |
  |
พอถามแม่ชี ท่านก็บอกนั่งไปเรื่อยๆ
นี่เป็นคำอธิบายการทำกรรมฐานของผู้ไม่รู้เรื่องกรรมฐาน
แต่ก็พอรู้ๆ วิธีทำคือรู้รูปแบบในการทำกรรมฐานว่าทำอย่างนี้ๆ แต่ไม่ล่วงรู้อารมณ์ของผู้
ปฏิบัติ พูดตรงๆ แรงๆ ก็คือตนไม่เคยทำไม่เคยปฏิบัติ แต่อยากจะสอนให้เขาปฏิบัติ
และคนประเภทนี้แหละทำให้นักปฏิบัติเสียคน
ยังมีอีกหลายเว็บที่ทำๆ สอนๆ กันอยู่ |
|
|
|
|
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
02 มิ.ย.2007, 9:52 am |
  |
|
|
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
02 มิ.ย.2007, 1:07 pm |
  |
คุณ anny ใช้กรรมฐานอะไรครับ ใช้ลมหายหรืออะไร บริกรรมภาวนาอย่างไร ?
เคยนั่งทั้งวัน 12 ชม. หรือไม่
คิดว่าอายุคงไม่มากจนเป็นอุปสรรคในการนี้นะครับ
เดิน... บริกรรมภาวนาอย่างไร ?
ทำประเด็นเหล่านี้ให้กระจ่างก่อนครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
02 มิ.ย.2007, 5:29 pm |
  |
ถ้า คุณ ยังไม่บวช ขอแนะนำให้ออกกำลังกาย ด้วยนะครับ อย่างน้อยสุดอาทิตย์ละ 3 ครั้งก็ยังดี
เพราะว่า การฝึกสมาธิ มีผลต่อร่างกาย ครับ
พระ กับ ปุถุชนคนทั่วไป แตกต่างกันในหลายเรื่อง ความสงบในจิตใจจึงมีไม่เท่ากัน
การฝึกสมาธิให้เกิดผลดี ต้องประกอบด้วยใจที่ สงบ ด้วย ไม่งั้นสมาธิจะส่งผลเสียให้กับร่างกาย
พุทธมามกะ ควรใช้หลัก ทาน ศีล สมาธิ เพื่อให้เกิด ปัญญา ครับ
พระก็มีการให้ทานเช่นเดียวกัน
ทาน ของพระคือการแสดง ธรรมเทศนา ครับ |
|
|
|
|
 |
anny
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 6
ที่อยู่ (จังหวัด): bkk
|
ตอบเมื่อ:
04 มิ.ย.2007, 10:13 pm |
  |
ใช้คำภาวนา เมื่อก่อนคือพุทโธ ค่ะ แต่เดี๋ยวนี้ แม่ชี ท่านแนะนำให้ลองใช้ ยุบหนอ พองหนอค่ะ แล้วเกิด อาการดังกล่าวค่ะ การเดินจงกลมนั้น เดินสลับกับการนั่งตลอดค่ะ ล่าสุดก็นั่งแบบยาวๆนี่แหละค่ะ คือ 12 ช.ม. แต่อารมณ์ไม่ได้นั่งแบบทรมาณหรือฝืน ให้นั่งได้ทนได้นานๆหลายชั่วโมงนะคะ นั่งแบบไม่รู้สึกว่ามีตัวตน ต่อมาเหมือนคนหลับไปเลย รู้สึกตัวอีกที (ตอนลืมตาคือพอรู้สึกตัวก็ลืมตาเลยค่ะหรือกำหนดออกจากสมาธิเลย) ก็12 ช.ม.ค่ะ เพราะตอนนั่งมีแม่ชี ท่านนั่งเฝ้าตลอดและ มีนาฬิกาจับเวลาตลอดค่ะ ตอบไม่ถูกต้องตามคำบาลี ต้องขอโทษด้วยนะคะ |
|
_________________ จงตั้งใจทำทุกสิ่ง และ ทำทุกสิ่งด้วยความตั้งใจ |
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
05 มิ.ย.2007, 2:16 am |
  |
กราบสวัสดี คุณanny
ให้ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไว้ ให้มีสติรู้ขณะสัมผัสกับอากาศเย็นหรือกระแสลมเย็นที่พัดมากระทบกาย ให้ทำความรู้สึกเย็นเข้าไปทั่วทุกอณูของกาย จนเย็นลึกเข้าไปในจิต กล่าวง่ายๆก็คือ เมื่อลมพัดมาหรือเปิดแอร์นั่ง เรามีความรู้สึกว่าเย็นกายเย็นใจนั่นแหละค่ะ ให้ดูความกระเพื่อมไหวของกายขณะสัมผัสความรู้สึกเย็น สลับกับดูความรู้สึกตรงจิตเนืองๆ ดูสลับไปมา เป็นวิธีแก้ไขความง่วง และเชื่อมเข้าสู่วิปัสสนา และพัฒนากำลังสติ การมีสติระลึกรู้ตรงกาย สลับกับการดูอารมณ์ ความรู้สึกตรงจิต สลับไปมา ทำให้เราจะไม่ไปติดเพ่งตรงจิต เพราะการเพ่งตรงจิตทางเดียว จะทำให้เกิดสมาธิมากก็จริง แต่มันจะเคลิ้มลงไปแล้วเกิดขาดสติ ก็จะลงสู่ภวังค์ คือหลับอีก ทีนี้อีกสาเหตุนึงที่หลับคือ การเอาจิตไปเพ่งไว้แถวหน้าท้องต่ำๆ ทำให้จิตไม่เบิกบาน ไม่ผ่องใส
เจริญในธรรม
มณี ปัทมะ ตารา
 |
|
|
|
   |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 มิ.ย.2007, 7:45 pm |
  |
สวัสดีครับ คุณ anny รับทราบข้อมูลแล้วครับ
แต่กรัชกายจะตอบเป็นส่วนตัวแล้วส่งทาง E- mail คุณ ตามที่ปรากฏอยู่นั่นนะครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
15 มิ.ย.2007, 11:03 am |
  |
เคยแต่ได้ยินว่า จิตที่ถูกนิวรณ์ 5 ครอบงำแล้ว เป็นจิตที่หดหู่ท้อถอยไม่เบิกบานง่วงเหงาหาวนอน เซื่องซึมหงอยเหงา ไม่กระปรี้กระเปร่า ทำให้ปัญญาดับ เป็นต้น |
|
|
|
|
 |
z
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 23 ต.ค. 2007
ตอบ: 46
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
04 พ.ย.2007, 3:26 pm |
  |
|
  |
 |
1เอง
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2007
ตอบ: 43
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
05 พ.ย.2007, 9:04 am |
  |
ผมเห็นด้วยกับคุรปุ๋ยนะครับ พยายามให้มีสติให้มากๆ ในเวลาทำสมาธิ และใช้สติตามดูตามรู้แบบที่คุณปุ๋ยว่าไว้ แต่ถ้ายังไม่หายง่วงจริงๆ ก็เปลี่ยนเป็นเดินสมาธิบ้างก็ได้ครับ หรือที่เรียกกันว่าการเดินจงกรมไงครับ ให้ทำทุกอย่างเหมือนที่คุณปุ๋ยให้นั่งทำสมาธิครับ แต่เปลี่ยนจากนั่งมาเป็นเดินแทนครับ เจริญในธรรมครับ |
|
|
|
  |
 |
jojam
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 พ.ค. 2004
ตอบ: 62
|
ตอบเมื่อ:
05 พ.ย.2007, 9:56 pm |
  |
เราขอใช้ เป็น คำใหม่ ว่า จินตะคติ ละกัน เป็น เหมือนการ ฝึก การเคลื่อนไหว ให้เรียบร้อย และไม่เซ ไปเซมา ฝึกท่า การนั่ง ฝึกการถ่ายน้ำหนัก ตอนเดิน ให้ สบาย ฝึก ให้ ชำนาญเป็น ปกติ ช่วงแรกๆ อาจ จะ วางได้ช้า หรือ กังวล บ้าง แต่ นานไป จะ มี ความระมัด ระวังมากขึ้น เช่น ไม่หัดซ้าย ขวา ใน ขณะ เดิน ไวๆ
ฝึกโดย การ เดิน จงกรม ประมาณ 15-20 ก้าว ไม่ ช้า เร็ว จน เกิน ไป เริ่ม จาก เดินกำหนด ที ละก้าว จน เป็น ทีละ 20 ก้าว พร้อม ท่า กลับ ตัว มีสติ ระลึก ทุกความรู้สึก วาง จน ชำนาญ
ถ้าเมื่อย ก็ ให้ ออกแบบถ้า ไป นั่ง ซัก 3 นาที ระลึก ลมหายใจ ทุกความรู้สึก ไม่ออกจาก ที่ ออกแบบไว้ แล้ว เดินต่อ จน ไม่ต้องพักอีก โดยไม่จำเป็น
ปล. เลือกตามใจได้ แต่สิ่งที่เลือกแล้ว จะตามใจไม่ได้ (อย่าปล่อยให้ หลงไป กับ ความคิด มี สติระลึก กับ บริกรรม) -พุท โธ- /อย่าทิ้งกาย ทิ้งลม ทิ้งบริกรรม ทิ้งเหตุ ทิ้งฐาน ทิ้งทุน |
|
|
|
   |
 |
|