Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนของพระภิกษุ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 23 เม.ย.2007, 12:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนของพระภิกษุ


ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 5 วรรคแรก กำหนดไว้ว่าผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชนทุกคน และหลังจากได้มีกฎกระทรวงกำหนดบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งปัจจุบันกฎกระทรวงฉบับใหม่ล่าสุดได้แก้ไขเพิ่มเติม เหลือบุคคลได้รับการยกเว้นเพียง 6 ประเภทด้วยกัน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2549 ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้

1. สมเด็จพระบรมราชินี

2. พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป

3. ภิกษุ สามเณร นักพรต และนักบวช

4. ผู้มีกายพิการเดินไม่ได้ หรือเป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง
หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

5. ผู้ที่อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย

6. บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ
และไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้

ถึงแม้ว่ากฎหมายจะกำหนดให้บุคคลทั้ง 6 ประเภท ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ตาม แต่หากบุคคลดังกล่าวประสงค์จะขอมีบัตร ให้เจ้าพนักงานออกบัตรทำบัตรให้ ตามมาตรา 5 วรรคท้าย ของพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526

กรณีพระภิกษุ ต้องการมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยให้เหตุผลว่า ต้องการใช้เป็นหลักฐานประกอบการสมัครเรียน หรือเพื่อความสะดวกในการติดต่อกับทางราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ธนาคาร กรณีเช่นนี้ พระภิกษุจะต้องยื่นคำขอมีบัตร (บ.ป.1) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และจะต้องลงลายมือชื่อในใบคำขอมีบัตร และต้องใช้ชื่อตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านซึ่งมีคำนำหน้านามว่า “นาย”

ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นการแสดงภาวะไม่แน่นอน อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศมหาเถรสมาคม เรื่องภิกษุ สามเณร ลงลายมือชื่อแสดงภาวะไม่แน่นอนว่าเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ โดยผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับโทษสึก ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่จะชี้แจงให้พระภิกษุทราบ หากพระภิกษุยังคงมีความประสงค์จะขอมีบัตรต่อไป ก็สามารถดำเนินการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ได้ ในส่วนของการถ่ายรูปนั้น ให้พระภิกษุห่มจีวรตามสภาพของพระภิกษุ และสำนักทะเบียนที่ดำเนินการจัดทำบัตร จะดำเนินการแจ้งกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อประสานการปฏิบัติต่อไป


หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 26 คอลัมน์ มุมบริการ
วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10633
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง